ความชั่วทางกาย ๓ ประการ
๑. ปาณาติบาต ( ฆ่าสัตว์ , เบียดเบียนสัตว์ ) ที่จะให้ผลย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้ คือ
๑. สัตว์นั้นยังมีชีวิตอยู่จริงๆ
๒. เราก็รู้ว่าสัตว์นั้นมีชีวิตอยู่
๓. มีจิตหรือเจตนาที่จะฆ่าสัตว์นั้นให้ตาย
๔. ทำความเพียรเพื่อจะฆ่าสัตว์นั้น ( ความเพียรพยายามเพื่อฆ่าแบ่งออกเป็น ๖ ประการ )
๔.๑ ทำการฆ่าด้วยตนของตนเอง
๔.๒ ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า หรือใช้วาจาทำการฆ่า
๔.๓ ใช้อาวุธเป็นเครื่องทำการฆ่า
๔.๔ ฆ่าด้วยหลุมพราง ( มีการวางแผนนานาประการเพื่อให้สัตว์นั้นตาย )
๔.๕ สังหารด้วยวิชาคุณ ( พิธีทางไสยศาสตร์ )
๔.๖ สังหารด้วยฤทธิ
๕. สัตว์นั้นก็ตายเพราะความเพียรนั้นผลของ ปาณาติบาต
ปฏิสนธิกาล คือ ทุคติภูมิ ๔ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน
ปวัตติกาล
๑. ทุพพลภาพ
๒. รูปไม่งาม
๓. กำลังกายอ่อนแอ
๔. กำลังกายเฉื่อยชา
๕. กำลังปัญญาไม่ว่องไว
๖. เป็นคนขลาดหวาดกลัว
๗. ฆ่าตนเอง หรือถูกผู้อื่นฆ่า
๘. โรคภัยเบียดเบียน
๙. ความพินาศของบริวาร
๑0. อายุสั้น๒. อทินนาทาน ( ลักทรัพย์ ) ที่จะให้ผลย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้ คือ
๑. ทรัพย์นั้นเป็นทรัพย์ของผู้อื่น
๒. ผู้กระทำการลักทรัพย์ก็รู้โดยชัดแจ้งว่าทรัพย์นั้นเป็นทรัพย์ของผู้อื่น
๓. มีจิตหรือมีเจตนาพยายามที่จะลักทรัพย์นั้นให้ได้
๔. มีความเพียรพยายามที่จะลักทรัพย์นั้น ( ความเพียรที่จะลักทรัพย์แบ่งออกเป็น ๖ ประการ )
๔.๑ ทำการลักทรัพย์นั้นด้วยตนของตนเอง
๔.๒ ใช้ให้ผู้อื่นทำการลักทรัพย์นั้น
๔.๓ ทำการลักทรัพย์นั้นโดยใช้อาวุธเป็นเครื่องประกอบ
๔.๔ ทำการลักทรัพย์โดยใช้เครื่องปกปิดไม่ให้จำหน้าตาได้
๔.๕ ทำการลักทรัพย์โดยใช้วิชาคุณ ( ไสยศาสตร์ เช่น สะกดให้เจ้าของทรัพย์หลับ )
๔.๖ ทำการลักทรัพย์ด้วยฤทธิ์เดช ( เช่น ดำดินไปลักทรัพย์ )
๕. ได้ทรัพย์มาสำเร็จเพราะความเพียรที่จะลักทรัพย์นั้น
ผลของ อทินนาทาน
ปฏิสนธิกาล คือ ทุคติภูมิ ๔ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน
ปวัตติกาล
๑. ด้อยทรัพย์
๒. ยากจนค่นแค้น
๓. มีความอดอยาก
๔. ไม่ได้สิ่งที่ตนปรารถนา
๕. พินาศในการค้า การขาย
๖. ทรัพย์ของตนพินาศเพราะอัคคีภัย อุทกภัย ราชภัย และโจรภัย เป็นต้น๓. กาเมสุมิจฉาจาร ( ผิดประเวณี ) ที่จะให้ผลย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้ คือ
๑. วัตถุที่ไม่ควรไป ( ผู้ที่ไม่สมควรเสพตามกฏหมายหรือตามประเพณี )
๒. มีจิตคิดที่จะเสพ
๓. มีความพากเพียรพยายามที่จะเสพ ( กระทำเองด้วยความเพียรเพื่อได้เสพรสกามคุณ )
๔. พอใจในการทำมัคคให้ล่วงมัคค ( พอใจในการเดินทางที่ผิด )
ผลของ กาเมสุมิจฉาจาร
ปฏิสนธิกาล คือ ทุคติภูมิ ๔ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน
ปวัตติกาล
๑. มีผู้เกลียดชังมาก
๒. มีผู้ปองร้ายมาก
๓. ขัดสนในทรัพย์
๔. ยากจนอดอยาก
๕. เป็นผู้หญิง
๖. เป็นกะเทย
๗. เป็นชายในตระกูลต่ำ
๘. ได้รับความอับอายเป็นอาจิณ
๙. ร่างกายไม่สมประกอบ
๑0. มากไปด้วยความวิตกห่วงใย
๑๑. พลัดพรากจากผู้ที่ตนรักการดื่มสุรา หมายถึงการเสพของมึนเมา จัดอยู่ในอกุศลกรรมประเภท " กาเมสุมิจฉาจาร "
องค์ประกอบของการดื่มสุรา
๑. สิ่งนั้นเป็นของมึนเมา
๒. มีเจตนาเพื่อที่จะดื่มหรือเสพหรือกิน
๓. กระทำการดื่ม การเสพ การกิน
๔. สุรานั้นล่วงลำคอลงไปแล้ว
ผลของ การดื่มสุรา หรือการเสพของมึนเมา
ปฏิสนธิกาล คือ ทุคติภูมิ ๔ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน
ปวัตติกาล
๑. ทรัพย์ถูกทำลาย
๒. เกิดวิวาทบาดหมาง
๓. เป็นบ่อเกิดของโรค
๔. เสื่อมเกียรติ
๕. หมดยางอาย
๖. ปัญญาเสื่อมถอยความชั่วทางวาจา ๔ ประการ
๔. มุสาวาท ( พูดโกหก ) ที่จะให้ผลย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้ คือ
๑. เรื่องที่พูดนั้นเป็นเรื่องที่ไม่จริง ( วัตถุเทียม )
๒. มีจิตหรือเจตนาที่คิดจะพูดโกหก
๓. ประกอบด้วยความเพียรที่โกหกให้คนเชื่อ ( โดยหลักการที่จะให้คนเชื่อ ๓ ประการ )
๓.๑ พูดมุสาด้วยตนของตนเอง
๓.๒ ให้ผู้อื่นกล่าวคำโกหกแทนตัว
๓.๓ พูดหรือโฆษณาคำโกหกออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร
๔. ผู้ที่ได้ฟังหรืออ่านลายลักษณ์อักษรแล้วก็มีความเชื่อตามนั้น
ผลของ มุสาวาท
ปฏิสนธิกาล คือ ทุคติภูมิ ๔ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน
ปวัตติกาล
๑. พูดไม่ชัด
๒. ฟันไม่มีระเบียบ
๓. ปากเหม็นมาก
๔. ไอตัวร้อนจัด
๕. ตาไม่อยู่ในระดับปกติ
๖. พูดด้วยปลายลิ้น หรือปลายปาก
๗. ท่าทางไม่สง่าผ่าเผย
๘. จิตไม่เที่ยงคล้ายวิกลจริต๕. ปิสุณาวาท ( พูดส่อเสียด ) ที่จะให้ผลย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้ คือ
๑. มีคนหมู่มากหรือน้อยที่ต้องการให้เขามีความแตกแยกซึ่งกันและกันเกิดขึ้น
๒. มีความปรารถนาหรือเจตนาต้องการให้คนหมู่นั้นแตกแยกกัน
๓. เพียรพยายามที่ให้เขาแตกแยกกัน ( โดยหลักการทำได้ ๒ ประการ )
๓.๑ วจีปโยค คือ กล่าวด้วยวาจาให้เขามีความแตกแยกกัน
๓.๒ กายปโยค คือ การแสดงกิริยาบุ้ยใบ้ให้เขาแตกแยกกันโดยไม่ออกเสียง
๔. คนในหมู่คณะนั้นก็ปักใจเชื่อใน " วจีปโยค หรือ กายปโยค " ที่แสดงออกไป
ผลของ ปิสุณาสวาท
ปฏิสนธิกาล คือ ทุคติภูมิ ๔ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน
ปวัตติกาล
๑. ตำหนิตนของตนเอง
๒. แตกมิตรสหาย
๓. มักถูกลือโดยไม่มีความจริง
๔. ถูกบัณฑิตตำหนิติเตียน
๖. ผรุสวาท ( กล่าวคำหยาบ ) ที่จะให้ผลย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้ คือ
๑. มีคนอื่นที่จะพึงด่าว่าให้เขามีความเจ็บช้ำน้ำใจ
๒. เหตุที่จะกล่าวให้เขามีความเจ็บช้ำน้ำใจนั้น เพราะเหตุว่ามีจิตโกรธเคืองเขา
๓. จึงแสดงคำหยาบหรือแสดงอาการหยาบ เพื่อให้เขาเจ็บช้ำใจ ( โดยหลักการทำได้ ๒ ประการ )
๓.๑ วจีปโยค คือ การกล่าวทางวาจาให้เขามีความเจ็บช้ำน้ำใจ
๓.๒ กายปโยค คือ การแสดงอาการกิริยาบุ้ยใบ้ให้เขามีความเจ็บช้ำน้ำใจ
ผลของ ผรุสวาท
ปฏิสนธิกาล คือ ทุคติภูมิ ๔ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน
ปวัตติกาล
๑. พินาศในทรัพย์
๒. มีกายวาจาหยาบ
๓. ได้ยินเสียง เกิดความไม่พอใจ
๔. ตายด้วยอาการงงงวย
๗. สัมผัปปลาปะ ( กล่าวคำเพ้อเจ้อ )ที่จะให้ผลย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้ คือ
๑. มุ่งกล่าวคำที่ไร้แก่นสารไม่มีประโยชน์ หรือเจตนานั่นเอง
๒. กล่าวคำที่ไม่มีประโยชน์นั้นออกไป
ผลของ สัมผัปปลาปะ
ปฏิสนธิกาล คือ ทุคติภูมิ ๔ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน
ปวัตติกาล
๑. เป็นอธัมมวาทบุคคล
๒. ไม่มีอำนาจ
๓. ไม่มีผู้เลื่อมใสในคำพูด
๔. จิตไม่เที่ยง คือวิกลจริตความชั่วทางใจ ๓ ประการ
๘. อภิชฌา ( อยากได้ของผู้อื่น ) ที่จะให้ผลย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้ คือ
๑. ทรัพย์หรือของเหล่านั้นเป็นของผู้อื่น
๒. มีความเพ่งเล็งที่จะให้ได้ทรัพย์หรือของเหล่านั้นมาเป็นของตน
ผลของ อภิชฌา
ปฏิสนธิกาล คือ ทุคติภูมิ ๔ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน
ปวัตติกาล
๑. ปฏิสนธิในตระกูลต่ำ
๒. มักได้รับคำติเตียน
๓. ขัดสนในลาภสักการะ
๔. เสื่อมในทรัพย์และคุณงามความดี
๙. พยาบาท ( ผูกใจเจ็บ )ที่จะให้ผลย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้ คือ
๑. มีสัตว์อื่นเพื่อทำลาย
๒. มีจิตหรือเจตนาคิดทำลายเพื่อให้สัตว์นั้นประสพความพินาศ
ผลของ พยาบาท
ปฏิสนธิกาล คือ ทุคติภูมิ ๔ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน
ปวัตติกาล
๑. มีรูปทราม
๒. อายุสั้น
๓. มีโรคภัยเบียดเบียน
๔. ตายโดยถูกประทุษร้าย
๑0. มิจฉาทิฏฐิ ( ความเห็นผิด )ที่จะให้ผลย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้ คือ
๑. มีความตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ที่ผิด
๒. เชื่อและยินดีพอใจในอารมณ์ที่ผิดนั้น
ผลของ มิจฉาทิฏฐิ
ปฏิสนธิกาล คือ ทุคติภูมิ ๔ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน
ปวัตติกาล
๑. มีปัญญาทราม
๒. เป็นผู้มีฐานะไม่เทียมคน
๓. ปฏิสนธิในพวกคนป่าที่ไม่รู้อะไร
๔. ห่างไลกแห่งรัศมีแห่งพระธรรม