ทานในขอบเขตของพระพุทธศาสนา
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
วิเจยยะ ทานัง สุคะตัปปะสัตถัง การเลือกให้ อันพระสุคตทรงสรรเสริญ ข้อความที่กล่าวมานี้ เป็นพระ พุทธพจน์ในเรื่องพระสูตร อันเกี่ยวกับทาน ปัญหาในเรื่องนี้ของพุทธภาษิตดังกล่าวนี้ มีเรื่องที่เราจะต้องหยิบยกขึ้นมา พิจารณาเป็น 2 เรื่อง คือ คำว่า "การเลือกให้" 1 และคำว่า "พระสุคต" 1 พระสุคตในที่นี้ หมายถึง องค์สมเด็จพระ สัมมาสัมพุทธเจ้า ส่วนว่า คำว่า "เลือกให้" นั้น หมายถึง การเลือก ในการทำทาน ซึ่งอยู่ในบุญกิริยาวัตถุ 10 อัน ประกอบด้วยทิฏฐุชุกรรม ในการทำบุญนั้นๆ จึงได้แก่ คำว่า "เลือก" ดังต่อไปนี้
1 การเลือกประเภทของทาน อันควรแก่สมัย คำว่า "การเลือกตามประเภทของทาน อันควรแก่สมัย" นี้ สมมุติว่า
เราจะทำ อามีสทาน เช่น ปัจจัย 4 โดยเฉพาะ ปัจจัย 4 ในที่นี้ สมมติว่า เป็นเรื่องของอาหาร ซึ่งเป็น ปัจจัยตัวหนี่ง เราจะถวายอาหารแก่สงฆ์ ถ้าเราไปตอนบ่าย เราก็ไม่เป็นไปตามควรแก่สมัย ฉะนั้นถ้าเราจะถวายอาหาร แก่สงฆ์ เราก็ต้องไปก่อนที่สงฆ์จะฉัน นี่ หมายถึง ประเภทของทานอันควรแก่สมัย หรือ
เราจะ ให้ธรรมะกับบุคคล เราก็ต้องดูกาละเทศะว่า เป็นบุคคลที่สมควรจะได้รับหรือไม่่ ไม่ใช่ไปยัดเยียดให้ เขา โดยที่เขาไม่ได้ศรัทธา หรือ เขาไม่มีความต้องการ อย่างนี้ ก็ไม่มีประโยชน์ใดๆ ทั้งสิ้น
ประการที่ 2 หมายถึง การเลือกความไม่มีโทษของทานที่ให้ หมายถึงความบริสุทธิ์ที่ให้นั้น มีเป็นประการ ใด
ประการที่ 3 การเลือกในที่นี้ หมายถึง ประโยชน์อันพึงได้รับแก่ปฏิคาหก โดยไม่มีโทษ
ประการที่ 4 การเลือกประการที่ 4 คือ เจตนาในการทำทานด้วยความคิดชอบ ผมใช้คำว่า "ความคิดชอบ" นะ สัมมา สัมมา สัมมา ไม่ใช่ทิฏฐิ สัมมา ไม่ใช่มิจฉา ความคิดชอบ อันประกอบด้วยองค์ 4
ประการที่ 5 การเลือกในที่นี้ หมายถึง การเลือกมหากุศลจิต ในการทำทาน เป็นมหากุศลจิตดวงไหน ที่มัน ได้เกิดขึ้น ในมหากุศลจิต 8 ดวง
6 การเลือกในที่นี้ หมายถึง การเลือก ปฏิคาหก หรือผู้ได้รับอันสมควรแก่ทาน ที่กระทำนั้น
นี่ เป็นความหมายของพุทธภาษิตในที่นี้ ที่พระองค์ได้ตรัสว่า การเลือกให้ อันพระสุคตทรงสรรเสริญนั้น ก็หมายความว่า พระพุทธเจ้ายกย่องผู้ที่ทำทาน ซึ่งประกอบด้วยทิฏฐุชุกรรม ไม่ใช่หลับหูหลับตาทำ ดังที่พวกเราบางคนพูด แหมบอก ฉันทำทานตลอดชีวิต ลงทุนไป 10 บาท จะได้สักบาทหรือเปล่าไม่รู้ ฉะนั้นเรื่องการทำทาน ไม่ใช่เป็นเรื่อง ง่าย นี่เป็นเรื่อง ไม่ใช่ผมพูดขึ้นเองนะ พระพุทธเจ้าท่าน ตรัสไว้อย่างงั้นนะ แต่ทีนี้ คนส่วนใหญ่นี่ ฮึ พุทธภาษิตอันนี้ หมายความว่าอะไรก็ไม่รู้ ปัญหาเราต้องอ่านให้ออก คำว่า "การเลือกให้" ตัวเดียว เห็นไหม ที่นี้คำว่า "พุทธภาษิต" ในที่นี้ เห็นไหม ว่ากินความกว้างแค่ไหน และไม่ใช่แค่นี้ ประเดี๋ยวผมจะพูดให้ฟัง ว่าพูดเสร็จแล้ว บางคนอาจจะไม่อยาก ทำทาน เพราะว่า ทำไปแล้วมันไม่ได้คุ้มค่า เพราะมันเรื่องยาก ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ อย่างที่เข้าใจกันหรอก คิดว่า มีสตางค์ ในกระเป๋า หยิบยื่นให้เขาไป เป็นทาน ใช่ ทานแล้วทิ้ง
เจตนาที่พูดในเรื่องนี้ขึ้นนี่ ความจริงผมไม่อยากจะพูดหรอก เพราะเรื่องทานนี่ เราสอนกันไป ตั้งดึกดำบรรพ์ แล้ว แต่เนื่องจากว่า มีสมาชิกบางท่านเรียกร้อง ในเรื่องนี้ ขอให้พูดเรื่องนี้ ผมก็นำมาพูด แต่การมาพูดในที่นี้นี่ ไม่มี ความต้องการที่จะให้เผยแพร่ออกไป ไม่ใช่ว่า ผมหวงพระธรรมคำสอนนะ ไม่ใช่ ผมไม่ได้หวง ในระหว่างหมู่พวกเรา เอาไงเอากัน แต่ไม่ต้องการ ที่จะให้เผยแพร่ออกไป เพราะเหตุไร เพราะ สังคมพุทธศาสนาเวลานี้ ขืนเผยแพร่ออกไป เรากลายเป็นคนบ้า ไม่มีใครเขายุ่งด้วยหรอก เขาบอกว่า ทำทานนี่ มันเป็นการง่าย เอาสตางค์มาให้ฉันสร้างโบสถ์ หลังหนึ่งเสร็จแล้ว สร้างเป็นหลังที่สอง ยิ่งได้บุญใหญ่ เป็นการง่าย เป็นการได้บุญเยอะ แต่บุญอย่างไร พิสูจน์กันได้ หรือไม่ แล้วประเดี๋ยว เราก็รู้กันว่า อะไรมันเป็นอะไร ฉะนั้นพวกเราทุกคน ควรจะได้ทำความเข้าใจ กันเสียให้ถูกต้อง แต่ความเข้าใจอันถูกต้องนี้ ผมไม่มีเจตนาจะให้พวกเรา ไปต่อสู้กับความคิดเห็นผิดๆ กับคนอื่นเขา เพราะ มันไม่มี ประโยชน์อะไร ผู้ที่เข้าธรรมะอย่างพวกเรา จะมีเพียงจุดศูนย์ กี่เปอร์เซนต์ไม่รู้ นิดเดียวเท่านั้น ไม่มีความหมาย เพราะ เวลานี้เขาเข้าธรรมะกันด้วยสิ่งที่เป็นมงคล ที่เราเข้ากันนี่ ไม่เห็นมันมีมงคลที่ตรงไหน มีแต่ความตำหนิติเตียนกัน ว่ากัน อย่างโง้น ว่ากันยังงี้ แม้แต่การจะทำทานซักตัว ยังไปงัดเอาจิตตั้ง 7 8 ดวงมาพูดกัน พูดทำไม
นอกจากนั้น ก็เพื่อปรับความเข้าใจ สำหรับบุคคลบางคน ที่เข้าใจในทานในขอบเขตพุทธศาสนานั้น เป็นเรื่อง ที่ผิดไปจากพระธรรมคำสอน เพราะยังมีบางคนเข้าใจ บอกว่า ทำทานนี่ เพื่อลดวัฏฏะ ให้น้อยลง อ้ายผมก็เกิดทีหลัง ไม่รู้ น้อยเหรอไม่รู้ เพราะว่า ถ้าผมจะเชื่อ ผมก็ต้องเชื่อตามพระพุทธเจ้า เพราะว่า ทานอันนี้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บอกว่า เป็นกามาวจรกุศลนี่ เป็นกุศล ที่ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ แล้วมันจะลดวัฏฏะได้ยังไงล่ะ นี่ ทำให้ผมสงสัย ในความคิดผิดๆ เช่นนั้น แล้วเมื่อเรามาคิดผิดๆเช่นนี้ กุศลมันจะเกิดขึ้นได้อย่างไร
ประการสุดท้าย เพื่อให้สมาชิกของพวกเราทุกคน ได้พิจารณาตนเองว่า เป็นผู้ที่สมควรจะได้รับทาน ที่เขา บริจาคมาหรือไม่ สิ่งนั้นคือ เรากินของเขาเข้าไป ได้คุ้มกับราคาอาหาร ที่เขาให้เรากินไหม ถ้าเราทำตัวไม่คุ้ม ก็เตรียม ตัวเถอะ ที่เราจะต้องไปชดใช้ให้เขา เพราะ เขาเจตนามาอย่างนั้น อย่าลืมว่า แม้แต่พระสงฆ์ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสไว้ว่า สัมมาอาชีวะ นั่นคือ การถือบาตร ออกไปบิณฑบาตเขา สิ่งที่เขาใส่มาในบาตรนั้น คือ ทาน ถ้าประพฤติปฏิบัติ ไม่สมควรแก่การเป็นสงฆ์ พวกเราทุกคนได้กันมาแล้วฌานจิต ลงไปเยี่ยมพระบ้างซิ ว่าเป็นยังไง อยู่ข้างล่างหรืออยู่ข้าง บนกันแน่ เรื่องนี้ผมไม่พูด เพราะผมไม่รู้ คนไหนที่ได้มา ก็ลองไปดูแล้วกัน เพราะผมไม่ได้อะไรมา
นี่ เป็นเจตนาที่ผมต้องพูดในเรื่องนี้
เมื่อเราพูดกัน เรื่อง เจตนา และ พุทธพจน์ มาเช่นนี้แล้ว เราก็วกมาเข้าเรื่องของเรากันเสียทีนึงว่า อ้ายเรื่อง ทานนั้นน่ะ มันมีความหมายอย่างไร ความหมายของทาน ก็คือการให้ หรือการเสียสละ อันประกอบไปด้วยทิฏฐุชุกรรม คือ การทำความเห็นให้ถูก ในกรรมนั้นๆ ซึ่งอยู่ในประเภทบุญกิริยาวัตถุ 10 พวกเราบางคนอาจจะข้องใจว่า เอ๊ะ ทำไม ให้ทาน จะต้องเอาทิฏฐุชุกรรมนี่ มาประกอบด้วย ถ้าเราศึกษา ในเรื่องบุญกิริยาวัตถุ 10 แล้ว เราจะเห็นได้ว่า ทิฏฐุชุกรรม นี่ เป็นตัวสุดท้าย ไม่ว่าทานก็ดี ไม่ว่าศีลก็ดี หรือภาวนาก็ดี เราจะต้องทำความเห็นให้ถูกต้อง ถ้าเราไม่ถูก ผลแห่งทานนั้น มันก็ไม่บังเกิด ผมว่านะ ไม่บังเกิด และเพราะว่า ที่ผมว่านี่ ไม่บังเกิดนี่ ผมว่าตามพระพุทธเจ้า ผมไม่ได้ว่าตามเกจิอาจารย์ ใครๆ เขาสั่งสอนกันในสังคมปัจจุบันนี้ ผมไม่รู้ เพราะเขาบอกว่า ทำอย่างนั้นนะถึงจะเกิด ทำอย่างนั้น วิมานถึงจะยื่นออก ไป ทำอย่างนั้น วิมานจึงต่อเติมเสริมแต่งขึ้นไป ผมไม่รู้หรอก อ้ายนี่ผมไม่รู้
ประการที่ 2 ทานนั้นเราจะต้องรู้ด้วยว่า มันเป็นกุศลประเภทไหน เราจงรู้กันซะบัดนี้ว่า ทานนั้นเป็นกุศลประเภท กามาวจรกุศล ซึ่งอยู่ในบุญกิริยาวัตถุ 10 คำว่า "กามาวจรกุศล" ในที่นี้หมายถึง กุศลที่มีผลตอบแทน เมื่อตอบแทนแล้ว กุศลนั้นมันก็หมดไป ส่วนการตอบแทนนั้นจะตอบแทนกันเมือไหร่ ในปัจจุบันชาติ หรืออนาคตชาตินั้น แล้วแต่ความรุนแรง ของกรรมที่เรากระทำลงไป ความรุนแรงของกรรมที่กระทำลงไปนั้น ก็คือเจตนา 4 ครบถ้วนหรือไม่ และประกอบด้วยหลักการ อื่นๆด้วย นอกจากนี้แล้ว ทานซึ่งเป็นกามาวจรกุศลนั้น เมื่อให้ผลตอบแทน จะเป็นปัจจุบันชาติหรืออนาคตชาติก็แล้วแต่เถอะ ให้ผลตอบแทน ในความสุขความสบาย พูดทำไมมีล่ะ คือให้ผลในวัตถุกาม 5 ดี ก็แล้วกัน วัตถุกาม 5 ดียังไง ดีไหน
ดียังไง ดีตามฐานะ ของแต่ละภพภูมิ ที่เราไปบังเกิดนั้น อย่างเราอยู่อย่างคนจนๆ เรามีข้าวกิน มีที่อยู่อาศัย เราก็บอกว่าดีแล้ว แต่ชนชั้นกลางเขายังไม่ยังงั้น เขายังจะบอกว่า กับข้าวนั้น มันต้องอร่อยด้วย บ้านนั้นมันต้องกว้าง ขวางซักหน่อยหนึ่ง มันถึงจะดี ดีเท่านั้น นั่นเป็นชนชั้นกลาง ถ้าคนชั้นสูงเขาบอกว่ายังไม่ดีอย่างงั้น เราจะกินอะไร ต้องมี คนมาหมอบกราบให้เรากิน มานั่งปฏิบัติวัตถาก มานั่งเคารพนบนอบ ในการกินของเรา นี่ ฉะนั้นแล้วแต่ฐานะ ประเดี๋ยวว่า ขนาดขอทานบอกว่า ฉันทำบุญฉันทำทานมาแล้ว ทำไมฉันไม่ได้กินอย่างพระเจ้าแผ่นดินล่ะ อ้ายอย่างนี้พูดไม่ได้ เพราะว่า มัน อฐานะ มันไม่ใช่ ฐานะ เราต้องทำความเข้าใจกันอย่างนี้ ประเดี๋ยวว่าประเดี๋ยวพูด ทำไปทำมา จะตกนรกกันไป เพราะเหตุอะไร ประเดี๋ยวจะหาว่าพระพุทธเจ้าโกหก เราต้องใช้ปัญญาพิจารณา
นอกจากนี้แล้ว เราจะต้องรู้ต่อไปว่า ชนิด และประเภทของทานนี่ มันมีอย่างไรกันบ้าง ทานนั้นที่จริงนี่ คำว่า "ทาน" ในที่นี้ มันมีอยู่มากมายหลายชนิด ซึ่งเป็นทานโดยตรงก็มี เป็นทานโดยอ้อมก็มี หรือ พฤติการณ์ที่เป็นทานมัน ก็มี ทำไม มันถึงได้เป็นเช่นนั้น ทั้งนี้เพราะว่า พฤติการณ์บางอย่างมันสงเคราะห์เข้าไปอยู่ในลักษณะของทาน ซึ่งผมจะนำ มาแยกแยะ ให้พวกเราฟังเท่าที่นึกได้ ดังนี้คือ
1 อามิสทาน คำว่า "อามิส" นี่ หมายถึง สิ่งของ สิ่งของในที่นี้ ผมจะไม่พูดในสังคมปัจจุบันนี้แหละ ผมจะ พูดสมัยเมื่อ 2500 กว่าปีมาแล้ว อามิสในที่นี้ หมายถึง ปัจจัย 4 นั่นเอง เพราะสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บอกว่า ความจำเป็นในชีวิตนั้น คือ ปัจจัย 4 อันได้แก่
อาหาร 1 เพราะว่าเป็นเครื่องยังชีวิตให้คงอยู่
2 เครื่องนุ่งห่ม 1 เพราะเป็นเครื่องป้องกันอุณหภูมิ ทำอุณหภูมิให้เหมาะสมกับที่เราจะทนได้
ประการที่ 3 ก็คือ ที่อยู่อาศัย ที่จะบังแดดบังฝน ให้ร่างกายนั้นทนอยู่ได้ ไม่เจ็บไม่ป่วย
ประการที่ 4 ก็คือ ยารักษาโรค
นี่ สิ่งทั้ง 4 เหล่านี้ เป็นอามิสทานทั้งสิ้น
นอกจากอามิสทานแล้ว ก็ยังมี ธรรมทาน ซึ่งหมายความถึง การให้ความรู้เป็นทาน ความรู้ในที่นี้ ไม่ว่า จะเป็นความรู้ ในทางโลกก็ดี หรือทางธรรมะก็ดี จัดอยู่ในประเภทธรรมทานทั้งสิ้น แต่ขอให้พวกเราใช้ปัญญาพิจารณา ไตร่ตรอง ในเรื่องนี้ ไม่ว่าธรรมะก็ดี หรือวิชาการก็ดี มันแบ่งไปเป็น 2 ประเภท
ธรรมะซึ่งเป็นธรรมะแท้ๆ เป็นธรรมในขอบเขตของพระพุทธศาสนา หรือวิทยาทานนั้น ไม่ขัดต่อศีลธรรม อันดี นั่น เป็นทางที่ถูกที่ต้อง ซึ่งเข้าลักษณะของธรรมทาน ที่ถูกต้อง เป็นบุญเป็นกุศล
แต่ยังมีธรรมะอีกประเภท วิทยาการอีกบางประการซึ่งอยู่นอกขอบเขตพุทธศาสนา ซึ่งเรา เรียกว่า อธรรม ความไม่เป็นธรรมนั่นเอง และวิทยาการ ซึ่งขัดต่อศีลธรรมอันดี ซึ่งเราจะเห็นได้ ในปัจจุบันนี้ ในสังคมสมัยนี้ มันมี อะไรเกิดขึ้น พวกเราทั้งหลายคงจะได้รู้กันอยู่แล้ว โดยเฉพาะธรรมนอกพุทธศาสนานั้น พวกเราบางคนคงจะเข้าใจดี ไม่ว่ามงคลตื่นข่าวก็ดี วัตถุมงคลก็ดี ความหลงใหลยึดมั่นถือมั่นในตัวบุคคลก็ดี เหล่านี้ ไม่ใช่ธรรมะขององค์สมเด็จพระ สัมมาสัมพุทธเจ้า เราจำเอาไว้
สิ่งใดที่เป็นธรรมะ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เราสามารถพิสูจน์ข้อเท็จจริงได้ทุกเมื่อว่า ผลแห่ง การประพฤติปฏิบัตินั้น มันเป็นผลบวก หรือผลลบ ในเรื่องธรรม หรืออธรรมในที่นี้ อย่าว่าพวกเราหัวดำๆ อยู่เลย แมั ผู้ที่หัวโล้นๆ ห่มผ้าเหลืองๆ ก็ยังเดินทางผิดๆกันเยอะแยะ ถ้าสนใจอ่านดูได้จากข่าวหนังสือพิมพ์บ้าง ข่าววิทยุบ้าง สนุก ดีพิลึก นี่ ฉะนั้นคนส่วนใหญ่เขาเข้าใจอย่างนั้น ผมจึงไม่อยากไม่ต้องการ ให้พวกเราเอาความรู้ ไปพูดกะเขา อะไรกะเขา เพราะเหตุไร เราส่วนน้อย เราประพฤติปฏิบัติเพื่อตัวของเรา อย่าไปนึกเลยเรื่องสังคม ถ้านึกเรื่องสังคม สมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้ายกสัตว์ไปหมดทั้งโลกแล้ว ไม่อยู่กันป่านนี้ จำไว้ ว่าธรรมของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ไม่ใช่รับกันได้ ทุกคนทั่วไป เราต้องดูคน เราจะให้ธรรมะ เราก็ดูบุคคลที่สมควรแก่ธรรม จะประพฤติธรรมปฏิบัติธรรม ก็ให้สมควรแก่ ธรรม ไม่ใช่ว่าทุกคนจะปฏิบัติกันได้ทั้งหมด ไม่ใช่ว่าทุกคนจะหลุดพ้นไปได้ทั้งหมด แม้แต่เราจะทำความสงบกัน เห็นไหม แม้แต่พวกเราบางคน บางคนก็ได้สูงบ้าง ต่ำบ้าง เหล่านี้ บางคนก็ได้ง่ายบ้าง บางคนก็ได้ยากบ้าง ไม่ใช่ว่าพวกเรามากีด กันหรือหวงห้าม ไม่ใช่เช่นนั้น ทุกคนปฏิบัติสม่ำเสมอกันหมด แต่อะไรล่ะมันแตกต่างกันเช่นนั้น เพราะว่า การสะสมหรือ " อินทรีย์" ของเขา ไม่แก่กล้า อ่อนแก่ แตกต่างกันนั่นเอง ฉะนั้นเราไม่ต้องไปห่วงคนอื่นเขาหรอก เราห่วงตัวของเราเอง เท่านั้นก็พอแล้ว
นอกจากธรรมทานแล้ว มันก็มาถึงทานอีกตัวหนึ่ง นั่นเรียกว่า อภัยทาน ซึ่งหมายถึง การให้อภัย ในการกระทำความผิดต่อผู้อื่น ที่มีการให้เป็น 2 นัย อภัยทานนี่นะ ฟังให้ดีนะ
1 เป็นการให้ในหลักของพุทธศาสนา คือให้ด้วยกุศลจิตคือมหากุศลจิต 8 ดวงนั่นเอง โดยประกอบไปด้วย เจตนา 4 ให้ครบองค์ นี่เป็นการให้ที่ถูกต้อง ซึ่งพวกเราแก้กรรมกันอยู่ อะไรกันอยู่ แผ่กุศลให้คนโน้นให้คนนี้ นั่นเป็น การให้ตัวนี้ และ
ประการที่ 2 เป็นการแสดงออกทางสังคม คือเป็นการให้อภัยกันโดยมารยาทในทางสังคม เช่น พูดผิดไปนิดหนึ่ง หรือกิริยาวาจาไม่ดีซักหน่อย ก็ โดยมารยาทก็ ขออภัยค่ะ อีกคนหนึ่งก็บอก ไม่เป็นไรหรอก แต่ความจริงจิตใจก็ มึง ฮื่อ ไม่ถึงทีอั้วมั่งก็แล้วไปวะ ฮื่อ มันจะเหยียบให้แหลกเชียว นี่ มันเรื่องของสังคม อันนี้ไม่มีผลในทางกุศล ไม่เกี่ยวข้อง ฉะนั้นเราต้องแยกแยะกันให้ดี ว่ามันเป็นเรื่อง อภัยทานทางพุทธศาสนา หรือเป็นอภัยทานทางสังคม
นอกจาก อามิสทาน ธรรมทาน อภัยทาน ดังกล่าวแล้ว ยังมีสิ่งที่สงเคราะห์ เข้าเป็นทานอีกตัวหนึ่ง ซึ่งอยู่ในบุญกิริยาวัตถุ 10 ซึ่งเราเรียกว่า ปัตติทานมัย หรือ การอุทิศส่วนกุศล ให้แก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย
ไม่ว่า ปู่ ย่า ตา ยาย ญาติ พี่ น้อง ทั้งปวง ตลอดจนผู้ที่มีพระคุณทั้งหลาย นี่ การให้เช่นนี้ เป็นการให้ตามหน้าที่ และความกตัญญูของบุคคลผู้นั้น ทำไม บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย ญาติ พี่ น้อง และท่านผู้มีพระคุณทั้งหลาย เขาไม่มีพระคุณกะเราเรอะ การที่เราให้เขาเช่นนั้น เป็นการแสดงความกตัญญู แก่เขา เป็นคุณธรรมอันหนึ่ง นี่ เป็นการให้
นอกจากนั้นแล้ว ยังมีอีกประเภทหนึ่ง เป็นการให้ เพื่อลดอกุศลธรรม ที่เราได้สะสมไว้ในวัฏฏะ คนหนึ่งมากหรือน้อย ก็แล้วแต่กิเลสของตัว ที่สะสมเอาไว้ การให้อย่างนี้ ก็คือ การแผ่ให้แก่เจ้าเวรนายกรรม ทั้งๆ ที่แม้แต่เขา จะไม่ได้มาทวงเราก็ตาม เราก็ให้เขา อันนี้ เป็นการให้เพื่อลดอกุศลกรรม ซึ่งผมเคยพูดกัน มาแล้ว ในเรื่องช่วยกันผ่าท้องของท่านเอง ในเรื่องถังขยะ นี่ เป็นการลดถังขยะลงไป
อีกประการหนึ่ง เป็นการให้ด้วยมหากุศลจิต คือการให้ที่เราแผ่กันนี่ เพื่อนร่วมเกิดแก่เจ็บตาย ก็หมายความว่าให้หมดในสัตว์ 31 ภูมิ เพราะ คำว่า "เพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตาย" นั้น สัตว์ทั้ง 31 ภูมิ ยังเกิดตายอยู่ด้วย ยังไม่ได้นิพพาน เราให้เขาเช่นนี้ แม้เขาจะไม่ได้ มีความสัมพันธ์อะไรกับเรา เราก็ให้ เขา ให้ด้วยไง ให้ด้วยจิตเป็นกุศล ผลที่ได้รับตอบแทนกุศลที่เราให้เขา มันก็เพิ่มขึ้น นี่ เห็นไหม ถ้าเราจะให้กัน
นอกจากนี้ ยังมี อีกตัวหนึ่ง ซึ่งสงเคราะห์ เข้าในทาน เรียกว่า เวยยาวัจจมัย คือ การช่วยเหลือในกิจที่ชอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อส่งเสริมธรรม หรือพุทธ ศาสนาในทางที่ถูกที่ควร เช่น ช่วยเหลือในการจัดการบ้าง ช่วยเหลือในการรักษาบ้าง ช่วยเหลือในการให้ความ สะดวกความสบายบ้าง อันนี้ เรียกว่า เวยยาวัจจมัย
ตามที่ผมกล่าวมานี้ เป็นลักษณะของทาน ในขอบเขตของพุทธศาสนา ถ้านอกจากนี้แล้ว คงไม่ใช่ ทานแน่ๆ ทีนี้ไหนๆเรากล่าวกันมา ถึงเรื่องประเภทของทานแล้ว เราก็ควรจะได้รู้ถึง ผล ที่มันจะตอบสนอง กันบ้างว่าทานอะไร มันถึงจะให้ผลตอบสนองอย่างไร อันนี้อย่าเข้าใจว่าผมยกเมฆขึ้นมาด้วย ตัวผมเองนะ เพราะว่า เรื่องนี้ในพระอภิธรรมก็ปรากฏ และผลทางปฏิบัติมันก็ปรากฏเช่นนั้น และในหมู่พวกเราก็ได้รับกัน เช่นนั้น เมื่อเราจะมาพูดกันถึง ผลที่เราจะได้รับ จากทานนี้ ผมขอแยกแยะออกไปเป็นประเภทๆ
ประการแรก ก็คือ อามิสทาน
อันที่ 1 ได้แก่ อาหาร ผล ก็คือ ความสมบูรณ์ในทรัพย์สิน ไม่อดไม่อยาก
ประเภทที่ 2 เครื่องนุ่งห่ม ก็ได้แก่ ความสมบูรณ์ในทรัพย์สิน ความสง่างาม นั่นเอง แต่ผู้หญิง อย่าไปทำเข้าบ่อยๆ ไม่ดี
ประการที่ 3 เรื่องยารักษาโรค ก็ความเป็นผู้แข็งแรง ปราศจากโรคาพยาธิ
ประการที่ 4 เรื่องที่อยู่อาศัย หรืออาคาร พวกกฏิพระ พวกกฏิพระ พวกโบสถ์ อะไรพวกนี้ ไม่ รู้นะ ก็คือ ความมั่งคงในฐานะความเป็นอยู่
นอกจากอามิสทานที่ผมได้กล่าวมาแล้ว ประเภทที่ 2 ก็ได้แก่ ธรรมทาน
ธรรมทาน ถ้าเป็นธรรมทานในขอบเขตพระพุทธศาสนา หรือ วิทยาการที่ไม่ขัดต่อศีลธรรม ผล ก็คือ ความเฉลียวฉลาด รอบรู้ในวิทยาการ และธรรมะ มีความเห็นที่ถูกต้อง ที่เราเรียกว่า สัมมาทิฏฐิ นั่น แหละ และเข้าถึงธรรมได้โดยง่าย
ประเภทที่ 2 ธรรมนอกพุทธศาสนา หรือวิทยาการที่ขัดต่อศีลธรรม ผล ที่ได้รับ ก็คือ ความโง่ ความอับเฉาปัญญา ความหลงผิด ซึ่งเรียกว่า โมหะ และการเข้าถึงธรรมได้โดยยาก
นอกจาธรรมทานแล้ว สิ่งที่สงเคราะห์เข้าเป็นทาน นั่นคือ ปัตติทานมัย หรือการแผ่กุศลนั้น ผล ก็คือความเจริญรุ่งเรือง และการเป็นมิตรของอมนุษย์และมนุษย์ทั้งหลาย สังเกตดูเหอะ เรายิ่งมีกุศลแก่กล้า มากเท่าใด เราแผ่ให้เขามากขึ้นเท่าใด ความเป็นมิตร ปราศจากศัตรู มันจะเกิดขึ้นได้อย่างง่ายดาย บางทียัง ไม่ทันออกปากเลย เขากระโดดโลดเต้นเข้ามาช่วยเหลือกันแล้ว มันเป็นอย่างนี้ นี่ เป็นผลของปัตติทานมัย
ทีนี้ ผล ของ อภัยทาน มีอย่างไร ก็คือ การไม่มีศัตรู และการไม่มีเวรต่อกันและกันนั่นเอง ไม่มี ผูกเวรกันต่อไป นอกจากนี้แล้วสิ่งที่อัศจจรย์ที่สุด ถ้าเราเข้าถึงที่อับจนแล้ว ไม่รู้มันรอดออกไปได้ยังไง ซึ่ง ไม่น่าจะรอดได้เลย นี่ มันรอด ออกจากตัวนี้ ถ้าเราสร้างเอาไว้เถอะ ไม่เสียหายหรอก
ทีนี้ ประเภท เวยยาวัจจมัย หรือ การช่วยเหลือ ในสิ่งที่ชอบที่ควรนั้น ก็ถึงพร้อมด้วยบริวาร และการช่วยเหลือของมนุษย์และอมนุษย์ทั้งหลาย นี่ นี่ เป็นเรื่องที่เราพูดกันมาคร่าวๆ
ทีนี้เราก็เข้ามาถึงองค์ทานที่แท้จริงนั้น องค์ทานที่ประกอบในขอบเขตของพุทธศาสนานั้น เรามีอย่าง ไร เราก็เข้ามาในพุทธพจน์ประการแรก
1 การเลือประเภททาน อันควรแก่สมัย นั้น กาลใดสมัยใดควรจะให้ ทานประเภทไหน อย่างไร อันนี้เรียกว่า ญาณสัมปยุตต์ คือประกอบด้วยปัญญา
ซึ่งมันจะปรากฏ ในมหากุศลจิตดวงที่ 1 โสมะนัสสะหะคะตัง ญาณสัมปะยุตตัง ตัวนี้แหละ ถ้าเราไม่ใช้ปัญญา ถือ ว่ามีเงินก็ควักกระเป๋า จ่ายไปๆ มันจะได้อะไร เช่น
อามิสทาน เราก็ดูเวลา อันไหนควรจะให้อามิสทาน เวลาไหน กาละไหนเราก็ควรจะให้อย่างไร การให้ ทานต่อมนุษย์นั้น เราควรให้อย่างไร อย่างการให้ทานต่อมนุษย์ เอาข้าวมาให้กินกัน อ้ายนี่ ก็เป็นการให้ทาน ถ้า เธอจะเอาข้าวไปให้เทวดากิน อย่างที่เขาเซ่นเขาสรวงกันทั่วๆไป อะไรล่ะ เขาเรียกว่าอะไรล่ะ ฮ่ะ ฮ่ะ ฮ่ะ คือ อ้าย ลักษณะเหมือนม้าน่ะ แต่ตัวเล็กกว่าม้า ถ้านึกไม่ออกจะบอกให้ เขาเรียกว่าลาจ๊ะ คือความโง่นั่นเองน่ะ เพราะเหตุไร เราต้องรู้อมุนษย์เขากินข้าวไม่ได้เหมือนอย่างเรานี่ ก็ถ้าเราจะให้เขาให้ทานเขา ทำไมไม่ให้กุศลเขาล่ะ ฉะนั้นคนที่ เซ่นวักตั๊กแตนน่ะ เป็นยังไง นึกดูเอาเองก็แล้วกัน
ประการที่ 3 การให้ธรรมเป็นทาน เราต้องดูว่าผู้ที่เขาต้องการ เราค่อยให้นะ คนที่เขาไม่ต้องการ อย่าไปให้เขาเลย นี่
ทีนี้มาถึงพุทธพจน์ข้อที่ 2 ผมว่าเมื่อกี้ การเลือกประโยชน์อันพึงเกิดแก่ปฏิคาหก เราต้องเลือก เช่น
อาหารที่เราจะถวายต่อสงฆ์ ก็ต้องเป็นอาหารที่ไม่มีอาบัติ ทำไมผมถึงได้พูดเช่นนั้น ก็เธอลองเอาเนื้อ มนุษย์ไปผัดถวายให้สงฆ์ท่านกินซิ ท่านไม่รู้ ท่านฉันเข้าไป ความจริงท่านไม่อาบัติหรอก แต่เราน่ะตกนรก เพราะ ว่าพระพุทธเจ้าบัญัญติไว้นี่ในสิกขา ไม่ให่ฉันเนื้อมนุษย์ แต่ท่านฉันโดยไม่รู้ แต่ถ้าท่านรู้ บอกว่า อร่อย ท่านก็เสร็จ ไปอีกองค์เหมือนกัน นี่
ทีนี้ การให้ธรรมเป็นทาน ก็ต้องให้ธรรมในขอบเขตพระพุทธศาสนา ไม่ใช่ ออกไปนอกขอบเขต และ ขอบเขตในพุทธศาสนานั้น ก็ต้องเหมาะสมกับปฏิคาหก ผู้ที่เขาจะได้รับด้วย นอกจากนั้นแล้วการให้วิทยาการ เรา ก็ต้อง เป็นวิทยาการ ที่ไม่ขัดต่อศีลธรรม และเป็นประโยชน์กับผู้รับ นี่ เป็นการเลือกประโยชน์ให้แก่ปฏิคาหก
ต่อไป การเลือกความไม่มีโทษ หรือ ความบริสุทธิ์ของทานนั้น
ถ้าเป็นอามิสทาน เราก็ต้องได้มาด้วยความสุจริต ไม่ใช่เราไปขโมยเขามาแล้ว ก็บอกว่า เอ้า มากินกันซิ ฉันขโมยเขามาให้กิน ไม่ใช่อย่างนี้ ไม่ใช่ทานนะ พูดกันซะก่อน
ทีนี้ถ้าเป็นทาน ธรรมทาน ก็ต้องเป็นธรรมทานในพุทธศาสนา อันถูกต้อง
ถ้าเป็น การช่วยเหลือ ก็ต้องเป็นความช่วยเหลือแบ่งเบา ที่จะได้ประโยชน์อันชอบ ไม่ใช่ เห็นเขาทะเลาะกัน เราช่วยเขาตีกระบาลหัว อ้ายอย่างนี้ ส่วนมากสังคมปัจจุบันนี้ เขาทำกันเช่นนั้น ผลเขาจะได้รับเป็นยังไง ก็คิดเอาเถอะ นอกจากนี้แล้ว ก็มาถึง การเลือกเจตนาในการทำทาน ด้วยความเป็น สัมมา อะไร อ้ายความคิดชอบน่ะ ความคิดชอบ ความคิดชอบ เจตนาในความคิดชอบนี่ ยังมียังไง
ประการที่ 1 เจตนาก่อนที่จะทำทานนั้นๆ
ประการที่ 2 เจตนาที่กำลังทำทานนั้น
ประการที่ 3 เจตนาเมื่อทำทานนั้นเสร็จสิ้นแล้ว
ประการที่ 4 เจตนาเมื่อเวลาผ่านการทำทานนั้นไปแล้ว
เจตนานี่ ต้องประกอบด้วยองค์ 4 และเป็นมหากุศลจิตด้วย แต่ข้อเท็จจริงนั้น เจตนา ในการทำทานทั่วไป ส่วนใหญ่ประกอบ ด้วยเจตนา ตามที่ปรากฏอยู่ใน ทานสูตร หรือทานวัตถุสูตร คือ
ทำทาน เพราะต้องการบุญบ้าง
ทำทาน เพราะกลัวบาป ที่ตนมีอยู่บ้าง
ทำทาน เพราะต้องการตอบแทน ที่เราได้รับเขาบ้าง
ทำทาน เพราะต้องการผลตอบแทน ที่ปฏิคาหกจะพึงให้บ้าง หรือ
ทำทาน เพราะคิดว่าการให้ทานเป็นการดีบ้าง
ทำทาน เพราะคิดว่าเรามี เขาไม่มี เราก็ให้เขาบ้าง
ทำทาน เพราะคิดว่ารู้ไปถึงไหน ก็มีเกียรติยศชื่อเสียงแพร่สะพัดไปถึงนั้นบ้าง
ทำทาน เพราะปฏิคาหกผู้นั้นเป็นญาติชอบพอกันบัาง
ทำทาน เพราะความรำคาญใจ ที่เขามากวนใจขออยู่เสมอๆบ้าง
ทำทาน เพราะความเชื่อ ในโฆษณาวิทยุบ้าง หนังสือพิมพ์บ้าง เอ้า เชื่อว่า จะเกิดผลเช่นนั้น เราก็ทำไป อ้ายนี่เขาเรียกว่า ลักษณะของความงมงาย หรือ
ทำทาน เพราะว่าบรรพบุรุษเคยทำ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย เคยทำมายังไง เราก็ทำไปยังงั้นบ้าง
ทำทาน เพราะคิดว่าพวกตนทำมานานแล้ว ทุกข์ภัย ทุกข์กาย ทุกข์ใจจะได้หมดสิ้นหายไป คือ ทำทานแบบสะเดาะเคราะห์น่ะ
นี่ เจตนาดังกล่าวนี้ เป็นเจตนาที่ให้ผลและอานิสงส์ที่มีน้อย ซึ่งไม่ใช่เจตนาในหลักการของพระพุทธศาสนา ซึ่งไม่ใช่เป็นความคิดชอบ
ความถูกต้องของเจตนา ในการทำทานนั้นในพุทธศาสนานั้น ก็คือ ศรัทธาในการตรัสรู้ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และประกอบด้วย หิริ เจตสิก คือ ความละอายนั่นเอง นั่น เป็น เจตนาที่ถูกต้อง
นอกจากนี้แล้ว เจตนาแต่ละตัวจะต้องประกอบไปด้วย มหากุศลจิต คำว่า "มหากุศลจิต" นี่ พอผมพูดขึ้น ทุกๆ คนก็บอกว่า ฉันมีมหากุศลจิตแล้ว แต่ ความเป็นจริง มันไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆ มหากุศลจิตนั่นน่ะ
ตัวที่ 1 โสมะนัสสะหะคะตัง ญาณสัมปะยุตตัง อะสังขาริกัง หมายความว่า ความอิ่มเอมปราโมช ที่จะทำทานด้วยศรัทธานั้น ประกอบด้วยปัญญาในการพิจารณาตามผมได้กล่าวมาแล้วข้างต้น โดยไม่มีสิ่งใดกระตุ้นเตือน มันเกิดขึ้นในใจของมันเอง มีเหรออย่างนี้
ตัวที่ 2 โสมะนัสสะหะคะตัง ญาณสัมปะยุตตัง สะสังขาริกัง หมายความถึง ความศรัทธา โสมนัสปีติ ประกอบด้วยปัญญา แต่มีสิ่งกระตุ้นเตือน ที่จะให้เราทำเช่นนั้น มันก็ด้อยลงมาหน่อย
ประการที่ 3 โสมะนัสสะหะคะตัง ญาณวิปปะยุตตัง อะสังขาริกัง หมายความว่า มีศรัทธา แต่ปราศจากปํญญา ไม่ได้ใช้ปัญญานึกคิดในเรื่องนั้นๆ และเป็นอะสังขาริกัง คือไม่มีใครกระตุ้นเตือน จิตใจมันนึกอยากจะทำเอง แต่ไม่ได้ประกอบด้วยปัญญา
ตัวที่ 4 โสมะนัสสะหะคะตัง ญาณวิปปะยุตตัง แต่ สะสังขาริกัง ต้องมีสิ่งกระตุ้นเตือนจึงจะทำ ถ้าไม่มีสิ่งกระตุ้นเตือนหรือไม่มีใครเตือนก็ไม่ทำ
ประเภทที่ 5 จิตดวงที่ 5 ก็คือ อุเบกขาสะหะคะตัง ญาณสัมปะยุตตัง อะสังขาริกัง หมายความว่า มีความวางเฉยๆ ในการทำทานนั้น มีปัญญาประกอบ โดยไม่มีใครกระตุ้นเตือนก็ทำเอง แต่ไม่มีความโสมนัสปิติยินดีในการทำทานนั้น
ประการที่ 6 จิตดวงที่ 6 ก็คือ อุเบกขาสะหะคะตัง ญาณสัมปะยุตตัง สะสังขาริกัง หมายความ มีจิต เป็นอุเบกขา ในการวางเฉย ในการทำทานนั้น มีปัญญาประกอบ ในการทำทานนั้น แต่ต้องมีสิ่งกระตุ้นเตือน จึงได้ทำขึ้น
จิตดวงที่ 7 ก็คือ อุเบกขาสะหะคะตัง ญาณวิปปะยุตัง อะสังขาริกัง หมายความว่า มีจิตเป็นอุเบกขา และปราศจากปัญญา ในการทำทานนั้น โดยเกิดขึ้นเอง แน่ะ เป็นจิตดวงที่ 7
จิต มหากุศลดวงที่ 8 ดวงสุดท้าย ก็คือ อุเบกขาสะหะคะตัง ญาณวิปยุตตัง สะสังขาริกัง คือ มีจิตเป็นอุเบกขา ในการทำทานนั้น และไม่มีปัญญาประกอบในทานนนั้น ทั้งต้องมีสิ่งจูงใจถึงจะทำ
คนส่วนใหญที่ว่า เป็นจิตเป็นมหากุศล เป็นมหากุศลดวงนี้ครับ ไม่ใช่มหากุศลจิตดวงที่ 1 หรอกครับ นอกจากนั้นแล้ว ก็ทำกันด้วย จิตเป็นโลภะมั่ง ถ้าหลวงพ่อองค์นั้นศักดิ์สิทธิ์ฉันก็ทำกะท่าน เรียกว่าโมหะ ถ้าท่านองค์นั้นจะสะเดาะห์เคราะห์รดน้ำมนต์ให้ฉัน ได้ลาภนมัสการก็ทำไป ด้วยความโลภะ เวลานั่งกินอยู่ดีๆ "ผมขอเงินสักบาทเถอะครับ ซื้ออาหารกิน " พิโธ่ อ้ายนี่ มากวนใจกู เอ้า เอาไป 10 บาทกูให้ อ้ายนี่โทสะมูลจิตมันเกิดขึ้น เอาตัวที่ไหนล่ะว่าเป็นมหากุศลจิต มีเหรอ นี่ อย่างนี้
นอกจากนั้น องค์ประกอบในการทำทาน ตัวสุดท้าย สิ่งที่สำคัญยิ่ง ก็คือ ปฏิคาหกหรือผู้รับ ผู้รับนั้นย่อมมีส่วนสำคัญยิ่ง ในการที่กุศลเราจะได้มากหรือน้อย สิ่งนั้น ก็คือ
ผู้รับเบอร์ 1 ซึ่งเราหาไม่ได้แล้วในขณะนี้ พวกเราน่ะหาไม่ได้ แต่คนอื่นเขาหาได้ นั่นคือ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าใครไปทำทานแก่พระองค์โดยตรง กุศลได้ บุญแรง ปฏิคาหกดีที่ 1
ดีที่ 2 คือ พระปัจเจกโพธิพุทธเจ้า ดีที่ 2
ดีที่ 3 คือ พระอรหันต์ เป็นตัวที่ 3
ตัวที่ 4 ก็คือ พระอนาคามี นี่ เป็นอริยบุคคลนะ
ตัวที่ 5 พระสกิทาคามี ตัวที่ 5
ตัวที่ 6 ตัวโหล่หน่อย ตัวสุดท้าย ก็คือ พระโสดาบัน
นอกจากอริยบุคคลแล้ว ก็ยังมีบุคคลที่ไม่ใช่พระอริยบุคคล ซึ่งเป็น
ตัวที่ 7 ก็คือ ผู้ที่ฌานสมาบัติ หมายถึง ผู้ที่ทรงไว้ซึ่งรูปฌาน และ อรูปฌานอันสมบูรณ์นั่นเอง เป็นตัวที่ 7
ตัวที่ 8 ก็ได้แก่ ผู้ที่ได้วิปัสสนาฌาน หรือปัญญาชน ซึ่งเห็นถูกในทางพุทธศาสนา
บุคลลประเภทที่ 9 ก็คือ ผู้ที่ได้รูปฌาณ
บุคคลประเภทที่ 10 ก็คือ ผู้ที่มีศีลอันบริสุทธิ์ หลวงพี่ ที่ถูกยิงตาย เมื่อ 2 3 วันนี่ พกปืนด้วย เนื่องจากไปคุยกะผู้หญิง ศีลบริสุทธิ์ ไม่บริสุทธิ์ ผมไม่รู้ด้วยนะ เพราะพวกเราไม่มีปืนพกกัน นี่
บุคคลประเภทที่ 11 คือ สัตบุรุษ
บุคคลประเภทที่ 12 ก็คือ ผู้เป็นสัมมาทิฏฐิ
บุคคลประเภทที่ 13 ก็คือ ปุถุชนทั่วๆไป
ตามที่ผมได้กล่าวมานี้ เห็นหรือยังล่ะว่า ทานนั้นน่ะมันเป็นเรื่องยาก หรือ เรื่องง่าย ในขณะที่เรามีสตางค์อยู่ในกระเป๋า จิตมันไม่เป็นมหากุศล ทำไปก็ไม่มีผลประการใด หรือจิตเป็นมหากุศล สตางค์มีอยู่ มีแต่มหาโจรทั้งหลาย ทำไปมันก็ไม่ได้ผล เราจะหาอย่างไร สตางค์ก็มีพร้อม องค์ทานก็บริสุทธิ์ จิตก็เป็นมหากุศลเกิดขึ้น ปฏิคาหกหาได้ง่ายๆ หรือขอรับ ที่ผมพูดมานี้ไม่ต้องการให้ผู้ใดมาเชื่อผม ปล่อยให้ผมงมงายอยู่คนเดียวเถอะ งมงายอย่างไร งมงายกับพุทธพจน์ และคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ว่า " การเลือกให้อันพระสุคตสรรเสริญ" นั้นเถิดครับ ขี้ต๊อกมันถึงได้ออกมาเป็นอย่างนี้ ผมถึงได้บอกว่า มันยากเหลือเกิน ไม่ใช่ของง่ายๆในเรื่องการทำทาน
และประการสำคัญที่สุด ขอให้พวกเราเข้าใจกันไว้ว่า ทานนั้นเมื่อให้ผลแล้ว มันก็หมดไป เหมือนสตางค์ที่เรามีอยู่ในกระเป๋า เมื่อควักออกมาใช้จ่ายบ่อยๆเข้า นั่นคือ กุศลวิบากกรรมมันก็หมดไป ฉะนั้นการทำกามาวจรกุศล ไม่ใช่ทำหนเดียว มันต้องหมั่นทำเป็นนิจ หรือเรียกว่าทำเป็นประจำน่ะ ที่ทางธรรมะเขาเรียกว่า นิจกรรม หรืออะไรล่ะ ผมจำไม่ได้ เราสังเกตคนบางคนรุ่งเรือง แล้วอยู่ๆ ก็ตกตูมมา เพราะเหตุไร เพราะเขาทำกรรมไม่สม่ำเสมอกัน มันหมด และพวกเราบางคน ที่ได้ฌานจิตไปแล้ว เราจะเห็นได้ว่า เทวดาบางองค์นี่ ทำไมอยู่ๆ เป็นเทวดา ได้เกิดความเศร้าหมอง นั่นเพราะอะไร นั่นเพราะว่า เขาหมดบุญ เขาจะจุติ เช่นเดียวกับมนุษย์เหมือนกัน แต่มนุษย์ การหมดบุญของมนุษย์นั้น มันไม่ใช่ว่าตาย มันตายเพราะว่า เรายังมีร่างเราอยู่ ก็คือความลำบากกาย และลำบากใจนั่นเองละ มันเกิดขึ้น เพราะว่าบุญมันหมดไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนสมัยนี้ ซึ่งไม่ใช่พวกเรา เขากินบุญเก่ากันครับ เขาสะสมเฉพาะอกุศลกรรม เขาไม่ได้สะสมกุศลกรรม