เรื่องกัป
กาลสมัยเริ่มแรกทีเดียว
คือ ในยุคต้น คนเราไม่ใช่มีอายุน้อยนิดหนึ่งเพียง ๗0 - ๘0 ปี แล้วตายลงอย่างทุกวันนี้เลย
ความจริง มนุษย์ในยุคนั้น เขามีอายุยืนนานถึงอสงไขยปี ที่ว่าอสงไขยปีนั้น
ก็คือจำนวนปีมนุษย์ที่มีเลขหนึ่งขึ้นหน้า แล้ว
ต่อด้วยเลขศูนย์หนึ่งร้อยสี่สิบตัว หรือจะว่าเป็นจำนวนปีที่นับด้วยเลขหนึ่งร้อยสี่สิบเอ็ดหลักก็ได้
อยากรู้ว่ามีจำนวนเท่าใด
ก็ลอง คำนวณดูเถิด คือ ตั้งเลขหนึ่งเข้าแล้วเติมศูนย์ลงไปให้ได้หนึ่งร้อยสี่สิบศูนย์
กาลเวลาตามจำนวนตัวเลขดังกล่าวนี้ เป็นจำนวน อสงไขยปี เพราะมันเป็นจำนวนปีที่มากมายเกือบจะนับไม่ได้อย่างนี้
จึงมีชื่อเรียกว่า อสงไขยปี = จำนวนปีที่
นับไม่ได้
ในยุคต้น มนุษย์มีอายุนานได้อสงไขยปีนี่แล
แล้วค่อยๆลดลงมา ร้อยปีลดลงหนึ่งปี ลดลงมาเรื่อยๆ ค่อยลดลงด้วย อาการอย่างนี้ จนกระทั่งอายุมนุษย์เหลือเพียงสิบปี
อาการที่อายุลดลงนี้ พึงเห็นตัวอย่าง เช่น ในสมัยที่สมเด็จพระสัมมาสัม พุทธเจ้าของเรายังทรงพระชนม์ชีพอยู่มนุษย์ในสมัยนั้นมีอายุหนึ่งร้อยปี
ตั้งแต่บัดนั้นมาจนถึงกาลทุกวันนี้ นับได้สองพันห้าร้อย ปีเศษ หรือจะพูดอีกทีว่านับได้ยี่สิบห้าร้อยปีเศษแล้ว
ทีนี้ ร้อยปีลดลงเสียปีหนึ่งก็คงเหลือเจ็ดสิบห้าปี (๑00-๒๕ = ๗๕) จึง เป็นอันยุติได้ว่า
ในสมัยทุกวันนี้ อายุมนุษย์มี ๗๕ ปี เป็นประมาณเท่านั้นเอง เมื่อลดลงไปจนกระทั่งเหลือนิดหน่อยเพียงสิบปี
แล้ว คราวนี้ไม่ลดไปอีกละ แต่จะเพิ่มขึ้น คือ ค่อยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ร้อยปีเพิ่มขึ้นปีหนึ่ง
เช่นเดียวกับตอนที่ลดลงนั่นเอง เพิ่มขึ้น ไปเรื่อยไม่หยุดยั้ง จนกระทั่งมนุษย์อายุยืนนานถึงอสงไขยปีตามเดิมอีก
เวลานานหนึ่งรอบอสงไขยปีนี่เองเรียกว่า อันตรกัป
เมื่อนับอันตรกัปที่ว่ามานี่ได้หกสิบสี่อันตรกัป
จึงเป็นหนึ่งอสงไขยกัป ก็อสงไขยกัปนี้มีอยู่ ๔ อสงไขยกัป คือ
๑. สังวัฏฏอสงไขยกัป ได้แก่ ตอนที่โลกกำลังถูกทำลาย ซึ่งได้แก่คำว่า
สงฺวฏฺฏตีติ สงฺวฏฺโฏ = กัปที่กำลังพินาศ
อยู่ เรียกว่า สังวัฏฏอสงไขยกัป
๒. สังวัฏฏฐายีอสงไขยกัป ได้แก่ ตอนที่โลกถูกทำลายเสร็จแล้ว ซึ่งได้แก่คำว่า
สงฺวฏฺโฏ หุตฺวา ติฏฐตีติ สงฺวฏฺฏฐายี = กัปที่มีแต่ความพินาศตั้งอยู่ เรียกว่า
สังวัฏฏฐายีอสงไขยกัป
๓. วิวัฏฏอสงไขย ได้แก่ ตอนที่โลกกำลังพัฒนาคือกำลังจะกลับคืนเป็นปกติ
ซึ่งได้แก่คำว่า วิวฏฺตีติ วิวฏฺโฏ =
กัปที่กำลังเจริญขึ้นเรียกว่า วิวัฏฏอสงไขยกัป
๔. วิวัฏฏฐายีอสงไขยกัป ได้แก่ ตอนที่โลกพัฒนาเรียบร้อยแล้วเป็นอันดีแล้วซึ่งได้แก่คำว่า
วิวฏฺโฏ หุตฺวา ติฏฐตีติ วิวฏฺฏฐายี = กัปที่เจริญขึ้นพร้อมแล้ว คือทุกสิ่งทุกอย่าง
ตั้งอยู่ตามปกติ เรียกว่า วิวัฏฏฐายีอสงไขยกัป
สัตว์โลกทั้งหลายเช่นมนุษย์เรานี้เป็นต้น จะมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ได้ ก็เฉพาะตองอสงไขยกัปสุดท้าย คือ วิวัฏฏฐายี อสงไขยกัป นี่เท่านั้น ส่วนตอนทั้งสามกัปข้างต้นนั้น ไม่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่เลย ก็จะอยู่ได้อย่างไรเล่า เพราะเป็นตอนที่โลก กำลังพินาศ และผลมาเป็นปกติเอาเมื่อตอนอสงไขยกัปสุดท้ายนี่เอง
อสงไขยกัปหนึ่งๆ นั้นนับเป็นเวลานานมาก ดังกล่าว คือ
๑. สังวัฏฏอสงไขยกัป นานถึง
๖๔ อันตรกัป
๒. สังวัฏฏฐายีอสงไขยกัป นานถึง ๖๔ อันตรกัป
๓. วิวัฏฏอสงไขยกัป นานถึง ๖๔ อันตรกัป
๔. วิวัฏฏฐายีอสงไขยกัป นานถึง ๖๔ อันตรกัป
รวมทั้ง ๔ อสงไขยกัป ก็เป็น ๒๕๖ อันตรกัป เวลาทั้งหมดนี้ เรียกว่า ๑ มหากัป
ที่พรรณนามาทั้งหมดนี้ รู้สึกว่าจะเข้าใจยากอยู่สักหน่อย แต่ก็เป็นการจนใจเหลือวิสัยแท้ ไม่ทราบว่าจะทำอย่างไร จึงจะอธิบายให้ง่ายกว่านี้ได้อีกแล้ว ความจริง การรจนาเรียบเรียงหนังสือเรื่องนี้ ตั้งใจจะให้อ่านเข้าใจกันง่ายๆ เพราะโดย มากเป็นเรื่องราวนอกโลกมนุษย์ ใครที่เป็นคนเชื่อยาก เป็นผู้ที่มากไปด้วยจินตมัยปัญญา ก็อาจทึกทักเอาว่าเป็นเรื่องไม่เข้าท่า ไม่น่าเชื่อฟัง แต่ว่าความจริงไม่ใช่ เพราะเป็นเรื่องดีที่ควรรู้ไว้นักหนา รับฟังไว้พิจารณาเถิด วันนี้ไม่ศรัทธา แต่ว่าภายหน้าจะ ต้องเชื่อในเมื่อจิตใจเจริญขึ้นด้วยธรรมปฏิบัติ ฉะนั้น ขณะนี้ไม่ต้องคิดอะไรมาก อ่านฟังกันต่อไปดีกว่า
ลำดับนี้ จะว่าด้วยเรื่องกัปซ้ำอีกที
เพราะเท่าที่ว่ามาแล้วรู้สึกว่ายังขัดๆ อยู่ ยังไม่โล่งใจนัก เรื่องกัปนี้ เมื่อจะว่าซ้ำ
อีกที ก็นับได้ดังนี้
๑ มหากัป เท่ากับ ๔
อสงไขยกัป
๑ อสงไขยกัป เท่ากับ ๖๔ อันตรกัป
๑ อันตรกัป เท่ากับ ๑ รอบอสงไขยปี
หรือ
๑ รอบอสงไขยปี เป็น ๑
อันตรกัป
๖๔ อันตรกัป เป็น ๑ อสงไขยกัป
๔ อสงไขยกัป เป็น ๑ มหากัป
เอาละ หวังว่า คงเป็นที่เข้าใจได้ง่ายขึ้นแล้ว
พระไตรปิฎก และอรรถกถาแปล
ของมหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ เล่มที่ 15 ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ตั้งแต่หน้า
138 อรรถกถา จักกวัตติสูตร
----------------------------------------------------------------------------------
บทว่า สตฺถนฺตรกฺปโป
ความว่า กัปที่พินาศในระหว่างด้วยศาสตรา คือยังไม่ทันถึงสังวัฏฏกัป โลกก็พินาศเสียใน
ระหว่าง ก็ชื่อว่า อันตรกัป นี้มีอยู่ ๓ อย่างคือ ทุพภิกขันตรกัป กัปที่โลกพินาศในระหว่างด้วยทุพภิกขภัย
๑ โรคันตรกัป กัป
ที่พินาศในระหว่างด้วยโรค ๑ สัตถันตรกัป กัปที่พินาศในระหว่างด้วยศาสตรา ๑ ในกัปเหล่านั้นทุพภิกขันตรกัป
มีขึ้นได้แก่หมู่
สัตว์ที่หนาด้วยความโลภ โรคันตรกัป มีขึ้นได้แก่หมู่สัตว์ที่หนาด้วยความโมหะ สันถันตรกัป
มีขึ้นได้แก่หมู่สัตว์ที่หนาด้วยโทสะ
ในกัปเหล่านั้น เหล่าสัตว์ที่ฉิบหาย
เพราะทุพภิกขันตรกัป ย่อมเกิดในปกติวิสัยแห่งเปรตเสียโดยมาก เพราะอะไร? เพราะมีความอยากได้อาหารเป็นกำลัง
เหล่าสัตว์ที่ฉิบหายเพราะโรคันตรกัป บังเกิดในสวรรค์โดยมาก เพราะอะไร? เพราะ สัตว์เหล่านั้นเกิดเมตตาจิตขึ้นว่าโอหนอ
โรคเห็นปานนี้ ไม่พึงมีแก่สัตว์เหล่าอื่น เหล่าสัตว์ที่ฉิบหายเพราะสัตถันตรกัป
ย่อม เกิดในนรกโดยมาก เพราะอะไร? เพราะมีความอาฆาตกันและกันอย่างรุนแรง บทว่า มิคสญฺญํ
ความว่ามนุษย์เกิดสำคัญขึ้น
ว่า ผู้นี้เป็นเนื้อ ผู้นี้เป็นเนื้อ
พระไตรปิฎก
และอรรถกถาแปล ของมหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ เล่มที่ 55 ขุททกนิกาย
เอกนิบาตชาดก ตั้งแต่หน้า 81 อรรถกถา อปัณณากชาดก
----------------------------------------------------------------------------------
อรรถกถา อปัณณากชาดก
อทูเรนิทาน (นิทานที่ไม่ไกล)
ว่าด้วยอายุมนุษย์ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสมควรจะมาอุบัติในโลก (ชมพูทวีป)
ลำดับนั้น
พระมหาสัตว์ยังไม่ให้ปฏิญาณแก่เทวดาทั้งหลาย จะตรวจดูมหาวิโลกนะ คือที่จะต้องเลือกใหญ่
๕ ประการ
คือ กาล ทวีป ประเทศ ตระกูล และการกำหนดอายุของมารดา ใน ๕ ประการนั้น พระโพธิสัตว์จะตรวจดูกาลก่อนว่า
เป็นกาล สมควรหรือไม่สมควร ในข้อนั้นกาลแห่งอายุที่เจริญขึ้นถึงแสนปีจัดว่า เป็นกาลไม่สมควร
เพราะเหตุไร เพราะในกาลนั้น
ชาติชราและมรณะไม่ปรากฏแก่สัตว์ทั้งหลาย และพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ที่จะพ้นจากไตรลักษณ์ไม่มี เมื่อพระองค์ตรัสว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พวกเขาจะคิดว่า
พระองค์ตรัสข้อนั้นทำไม แล้วจะไม่เห็นเป็นสำคัญว่าควรจะฟัง ควรจะเชื่อ ต่อนั้นก็จะไม่มีการตรัสรู้
เมื่อไม่มีการตรัสรู้ศาสนาก็จะไม่เป็นสิ่งที่นำออกจากทุกข์ เพราะฉะนั้น จึงเป็นกาลที่ยังไม่
ควร แม้กาลอายุหย่อนกว่าร้อยปี ก็จัดเป็นกาลไม่ควร เพราะเหตุไร เพราะในกาลนั้น
สัตว์ทั้งหลายมีกิเลสหนา และโอวาทที่ ให้แก่ผู้มีกิเลสหนาจะไม่ตั้งอยู่ในที่เป็นโอวาทนั้น
ก็จะพลันปราศไปเร็วพลันเหมือนรอยไม้เท้าในน้ำฉะนั้น เพราะฉะนั้น แม้กาล นั้นก็จัดได้ว่าเป็นกาลไม่ควร
กาลแห่งอายุต่ำลงมาตั้งแต่แสนปี สูงขึ้นไปตั้งแต่ร้อยปี จัดเป็นกาลอันควร และในกาลนั้นก็เป็น
กาลแห่งอายุร้อยปี ทีนั้นพระมหาสัตว์ก็มองเห็นว่าเป็นกาลที่ควรจะเกิดได้แล้ว