อาวาส
- พึงทราบวินิจฉัยในบทมาติกาเหล่านั้น
ดังนี้ เมื่อพระโยคาวจรนั้นอยู่ในอาวาสใด นิมิตที่ยังไม่เกิดก็ไม่เกิดขึ้นก็ดี
ที่เกิดแล้วเสื่อมหายไปเสียก็ดี สติที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ตั้งมั่นด้วย จิตที่ยังไม่เป็นสมาธิ
ก็ไม่เป็นสมาธิด้วย อาวาส
นี้นับเป็นอสัปปายะ เมื่อเธออยู่ในอาวาสใด นิมิตเกิดและถาวรด้วย สติก็ตั้งมั่น
จิตก็เป็นสมาธิ ดุจพระปธานิตย
ติสสเถระผู้อยู่ ณ นาคบรรพต อาวาสนี้นับเป็นสัปปายะ เพราะเหตุนั้น ในวิหารใด
อาวาส ( ที่อยู่ ) มีหลายแห่ง
พระโยคาวจรพึง ( ลอง ) อยู่ในอาวาสเหล่านั้นแห่งละ ๓ วัน จิตของเธอเป็น เอกัคคะ
( ตั้งมั่นในอารมณ์เดียว )
ในอาวาสแห่งใด ก็อยู่ในอาวาสแห่งนั้น เพราะความที่มีอาวาสเป็นสัปปายะแท้ๆ ภิกษุ
๕00 รูปผู้อยู่ในถ้ำจูฬนาค
ในตัมพปัณณิทวีป ถือเอากรรมฐาน ( บำเพ็ญอยู่ ) ในถ้ำจูฬนาคนั้นแหละได้บรรลุพระอรหัต
( ทั้งหมด )
ส่วนพระอริยะบุคคลเบื้องต่ำมีพระโสดาบันเป็นอาทิ และท่านผู้ได้อริยภูมิในที่อื่นแล้ว
( มา ) บรรลุพระอรหัต
ในถ้ำจูฬนาคนั้นคณนามิได้ แม้ในอาวาสสัปปายะแห่งอื่นๆ เช่นจิตตลบรรพตวิหาร ก็เช่นกัน
โคจรคาม ( หมู่บ้านที่ภิกษุไปเที่ยวบิณฑบาต
)
- ส่วนโคจรคาม พึงทราบดังนี้ โคจรคามใดมีอยู่ในที่ไม่ไกลนัก
ไม่ใกล้นักในระยะประมาณโกสะกึ่ง ( ๑,000 ชั่วธนู )
แต่เสนาสนะทางทิศเหนือ หรือทางทิศใต้ เป็นที่มีภิกขาสมบูรณ์หาง่าย โคจรคามนั้นนับเป็นสัปปายะตรงกันข้าม
นับเป็นอสัปปายะ ( มหาฎีกาว่า ที่ท่านแนะนำให้เลือกโคจรคามที่อยู่ทางทิศเหนือหรือทิศใต้
แห่งที่อยู่ของตนนั้น
ก็เพื่อไม่ต้องหันหน้าสู้ตะวันในเวลาเดินไปมา )
การพูดคุย
- บทว่า การพูดคุย มีความว่า ถ้อยคำที่นับเนื่องในติรัจฉานกถา
๓๒ จัดเป็นอัสปปายะ เพราะมันเป็นไปเพื่อ
ความอันตรธานแห่งนิมิตของเธอ ถ้อยคำที่อิงกถาวัตถุ ๑0 *
จัดเป็นสัปปายะ แม้ถ้อยคำอิงกถาวัตถุนั้นเล่า ก็พึงพูด
แต่พอประมาณ
บุคคล
- แม้บุคคลที่เป็นผู้ไม่พูดติรัจฉานกถา
ถึงพร้อมด้วยสีลาทิคุณ ซึ่งพระโยคาวจรได้อาศัยแล้ว เป็นเหตุให้จิตที่ยัง
ไม่เป็นสมาธิย่อมจะเป็นสมาธิบ้าง จิตที่เป็นสมาธิแล้วจะตั้งมั่นยิ่งขึ้นบ้าง
เช่นนี้เป็นสัปปายะ ส่วนบุคคลผู้มากไปด้วย
การทำกายให้มั่นคง ( มหาฎีกาว่า คือแแทนที่จะมุ่งทำความตั้งมั่นทางจิต กลับไปสนใจทำความมั่นคงทางกาย
ขวนขวายแต่ปรนเปรอร่างกาย เช่น บริโภคจนเต็มท้องตามที่ต้องการแล้วประกอบความสุขในการนอนอยู่เป็นประจำ
)
มักพูดติรัจฉานกถา เป็นอสัปปายะ เพราะว่าเขามีแต่จะทำให้เธอเศร้าหมอง ดุจน้ำโคลนทำน้ำใสให้ขุ่นไปฉะนั้น
และเพราะอาศัยบุคคลเช่นนั้น สมาบัติย่อมเสื่อม ดุจสมาบัติของภิกษุหนุ่มผู้อยู่
ณ โกฏิบรรพต ( วิหาร ) เสื่อม
เพราะอาศัยบุคคลเช่นนั้น ฉะนั้น จะกล่าวอะไรถึงนิมิตเล่า
- * ติรัจฉานกถา ถ้อยคำอันขวางต่อทางนิพพาน,
เรื่องราวที่ภิกษุไม่ควรนำมาเป็นข้อถกเถียงสนทนา
โดยไม่เกี่ยวกับการ พิจารณาสั่งสอนแนะนำทางธรรมอันทำให้คิดฟุ้งเฟ้อและพากันหลงเพลินเสียเวลา
เสียกิจหน้าที่
ที่พึงปฏิบัติตามธรรม เช่น เรื่องพระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ
เรื่องภัย เรื่องสงคราม
เรื่องข้าว เรื่องน้ำเรื่องผ้า เรื่องที่นอน เรื่องดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ
เรื่องยาน เรื่องบ้าน เรื่องนิคม เรื่องนคร
เรื่องชนบทเรื่องสตรี เรื่องบุรุษ เรื่องคนกล้า เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว
เรื่องเบ็ดเตล็ด
เรื่องโลกเรื่องทะเล เรื่องความเจริญและ ความเสื่อมด้วยประการนั้นๆ
- กถาวัตถุ ถ้อยคำที่ควรพูด,
เรื่องที่ควรนำมาสนทนากันในหมู่ภิกษุ มี ๑๐ อย่างคือ ๑. อัปปิจฉกถา ถ้อยคำที่ชัก
นำให้มี ความปรารถนาน้อย ๒. สันตุฏฐิกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความสันโดษ ๓. ปวิเวกกถาถ้อยคำที่ชักนำให้มีความ
สงัดกาย สงัดใจ ๔. อสังสัคคกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ๕. วิริยารัมภกถา
ถ้อยคำที่ชักนำให้ปรารภ
ความเพียร ๖. สีลกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ตั้งอยู่ในศีล ๗. สมาธิกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำจิตมั่น
๘. ปัญญากถา
ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิด ปัญญา ๙. วิมุตติกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำให้พ้นจากกิเลสและความทุกข์
๑๐. วิมุตติญาณทัสสนกถา ถ้อยคำที่ชักนำ ให้เกิดความรู้ความเห็นในภาวะที่หลุดพ้นจากกิเลสและความทุกข์
โภชนะ และ ฤดู
- ส่วนโภชนะ สำหรับลางคนรสหวาน ลางคนก็รสเปรี้ยว
เป็นสัปปายะ แม้ฤดู ลางคนก็หนาว ลางคนก็ร้อน เป็น
สัปปายะ เพราะฉะนั้น เมื่อพระโยคาวจรเสพโภชนะใดก็ดี ฤดูใดก็ดี ความผาสุกย่อมเกิดมี
( จิตของเธอ ) ที่ยังไม่
เป็นสมาธิย่อมเป็นสมาธิ หรือว่าจิตที่เป็นสมาธิแล้วย่อมตั้งมั่นยิ่งขึ้นก็ดี
โภชนะนั้นและฤดูนั้นนับเป็นสัปปายะ
โภชนะนอกนี้และฤดูนอกนี้นับเป็นอสัปปายะ
อิริยาบถ
- ในอิริยาบถทั้งหลายเล่า ลางคน
จงกรม เป็นสัปปายะ ลางคนก็นอน ยืน นั่ง อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสัปปายะ
เพราะฉะนั้น พึงลองดู ( สัก ) ๓ วัน ดุจลองดูอาวาส ( ที่กล่าวแล้ว ) นั้น ในอิริยาบถใด
จิต ( ของพระโยคาวจร )
ที่ยังไม่เป็นสมาธิเป็นสมาธิขึ้นก็ดี จิตที่เป็นสมาธิแล้วยิ่งตั้งมั่นขึ้นก็ดี
อิริยาบถนั้นนับเป็นสัปปายะ อิริยาบถนอกนี้
( ที่จิตไม่เป็นสมาธิ ) นับเป็นอสัปปายะ
- พระโยคาวจรพึงเว้น ๗ สิ่งนี้ที่เป็นอสัปปายะ
แล้วเสพ ( ๗ สิ่งนั้น ) ที่เป็นสัปปายะ ดังนี้เถิด ด้วยเมื่อปฏิบัติ
ไปอย่างนี้มีการส้องเสพในนิมิตมากเข้า อัปปนาจะเกิดมีได้สำหรับลางคนโดยกาลไม่นานเลย
แต่เมื่อผู้ใดแม้ปฏิบัติ
อยู่อย่างนั้น อัปปนาก็หาเป็นไม่ ผู้นั้นพึงทำอัปปนาโกศล ๑0 ประการให้ถึงพร้อม
( ต่อไป ) เถิด
มาติกาแห่งอัปปนาโกศล
- นี้เป็นนัยในอัปปนาโกศลนั้น พระโยคาวจรพึงปรารถนาอัปปนาโกศล
โดยอาการ ๑0 คือ
- ๑. โดยทำวัตถุให้สละสลวย
- ๒. โดยทำอินทรีย์ให้ถึงความเสมอกัน
- ๓. โดยฉลาดในนิมิต
- ๔. โดย ยกจิตในสมัยที่ควรยก
- ๕. โดย ข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม
- ๖. โดย ทำจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรให้ร่าเริง
- ๗. โดย เพ่งดูจิตอยู่เฉยๆ ในสมัยที่ควรจะเพ่งดูจิตอยู่เฉยๆ
- ๘. โดยหลีกบุคคลผู้มีจิตไม่เป็นสมาธิเสีย
- ๙. โดยเสพแต่บุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิ
- ๑0. โดยน้อมจิตไปในสมาธินั้น
- ดังนี้แล
ขยายความมาติกาแห่งอัปปนาโกศล
๑. การทำวัตถุให้สละสลวย
- ในอาการ ๑0 นั้น การทำภาวะคือความสดใสแห่งวัตถุทั้งหลายทั้งภายในและภายนอก
ชื่อว่า ทำวัตถุให้สละสลวย
ก็เมื่อใด ผม เล็บ ขน ของพระโยคาวจรนั้นยาว
- หรือว่าร่างกายมีเหงื่อไคลจับก็ดี
เมื่อนั้น ชื่อว่า วัตถุภายในไม่สดใส คือไม่หมดจด ส่วนว่าเมื่อใดจีวรของเธอ
คร่ำคร่า เปื้อนเปรอะ เหม็นสาบ หรือว่าเสนาสนะรกเรื้อก็ดี เมื่อนั้นชื่อว่าวัตถุภายนอกไม่สดใส
คือ ไม่สะอาด ก็แล
เมื่อวัตถุภายในและภายนอกไม่สดใส แม้ญาณในจิตเจตสิกทั้งหลายที่เกิดขึ้น ก็พลอยไม่หมดจดไปด้วย
ดุจแสงของ
เปลวประทีบที่อาศัยโคม ไส้ และน้ำมันอันไม่สะอาดเกิดขึ้น ก็ไม่สดใสด้วยฉะนั้น
และเมื่อพระโยคาวจรพิจารณาสังขาร
ด้วยญาณ อันไม่หมดจดเล่า สังขารทั้งหลายก็จะไม่ปรากฏชัด แม้นประกอบกรรมฐานไป
กรรมฐานก็ไม่ถึงความงอกงาม
ไพบูลย์ด้วย แต่เมื่อวัตถุภายในและภายนอกสดใส แม้ญาณในเจตสิกทั้งหลายที่เกิดขึ้นก็พลอยหมดจดไปด้วย
ดุจแสง
ของเปลวประทีบที่อาศัยโคม ไส้และน้ำมันสะอาดเกิดขึ้น ก็สดใสไปด้วยฉะนั้น และเมื่อพระโยคาวจรพิจารณาสังขาร
ด้วยญาณอันหมดจดเล่า สังขารทั้งหลายก็จะปรารกฏชัด แม้ประกอบกรรมฐานไป กรรมฐานก็จะถึงความเจริญงอก
งามไพบูลย์ด้วย
๒. การปรับอินทรีย์ให้เสมอกัน
- การทำความเสมอภาคกันแห่งอินทรีย์ทั้งหลายมีศรัทธาเป็นต้น
ชื่อว่า การปรับอินทรีย์ให้เสมอกัน เพราะว่าถ้า
สัทธินทรีย์ของเธอกล้า อินทรีย์นอกนั้นอ่อนไซร้ ทีนั้น วิริยินทรีย์ ก็ไม่อาจจะทำปัคคหกิจ
( กิจคือการยกจิตไว้ )
สตินทรีย์ ไม่อาจทำอุปัฏฐานกิจ ( กิจคือ การดูแลจิต ) สมาธินทรีย์ ไม่อาจทำอวิกเขปกิจ
( กิจคือทำจิตไม่ให้
ซัดส่าย ) ปัญญินทรีย์ ไม่อาจทำทัสสนกิจ ( กิจคือการเห็นตามความเป็นจริง )
- เพราะเหตุนั้น สัทธินทรีย์อันกล้านั้น
พระโยคาวจรต้องทำให้ลดลงเสียด้วยพิจารณาสภาวะแห่งธรรม หรือด้วย
ไม่ทำในใจอย่างที่เมื่อทำเข้า สัทธินทรีย์เกิดมีกำลังขึ้นเสียได้ จริงอยู่ เรื่องพระวักกลิเถระย่อมเป็นตัวอย่างในข้อ
( สัทธินทรีย์กล้าเกินไป ) ได้ แต่ถ้าวิริยินทรีย์กล้าไซร้ ทีนี้สัทธินทรีย์ก็ไม่อาจทำกิจอธิโมกขกิจ
( กิจคือการน้อมใจเชื่อ )
อินทรีย์นอกนี้ก็ไม่อาจทำกิจนอกนั้นแต่ละข้อ เพราะฉะนั้น วิริยินทรีย์อันกล้านั้น
พระโยคาวจรจำต้องทำให้ลดลงด้วย
เจริญสัมโพชฌงค์มีปัสสัทธิ ( ความสงบ ) เป็นต้น ความที่เมื่อความกล้าแห่งอินทรีย์อันหนึ่งมีอยู่
อินทรีย์นอกนั้นไม่
สามารถในกิจของตนๆ ได้ ( นั้น ) บัณฑิตพึงทราบแม้ในอินทรีย์ที่เหลือ ( คือ สติ
สมาธิ ปัญญา ) โดยนัยที่กล่าว
แล้วนั้นเทอญ
ทำอินทรีย์ ๒ คู่ให้เสมอกัน
- แต่ ( เมื่อจะว่า ) โดยพิเศษ ในอินทรีย์
๕ นั้น บัณฑิตทั้งหลายสรรเสริญความเสมอกันแห่งสัทธากับปัญญา
และสมาธิกับวิริยะ เพราะว่าบุคคลผู้มีสัทธาแก่กล้าแต่ปัญญาอ่อน ย่อมเป็นผู้เลื่อมใสในที่อันไม่เป็นวัตถุ
( แห่งความ
เลื่อมใส ) บุคคลผู้มีปัญญากล้าแต่สัทธาอ่อน ย่อมตกไปข้างอวดดี เป็นคนแก้ไขไม่ได้
เหมือนโรคที่เกิดแต่ยา รักษา
ไม่ได้ ฉะนั้น ต่อธรรมทั้ง ๒ เสมอกัน บุคคลจึงจะเลื่อมใสในวัตถุ ( แห่งความเลื่อมใส
) แท้ โกสัชชะ ( ความเกียจ
คร้าน ) ย่อมครอบงำบุคคลผู้มีสมาธิกล้าแต่วิริยะอ่อน เพราะสมาธิเป็นฝักฝ่ายโกสัชชะ
( ความเกียจคร้าน ) อุทธัจจะ
( ความฟุ้งซ่าน ) ย่อมครอบงำบุคคลผู้มีวิริยะกล้าแต่สมาธิอ่อน เพราะวิริยะเป็นฝักฝ่ายอุทธัจจะ
( ความฟุ้งซ่าน )
แต่สมาธิที่มีวิริยะประกอบเข้าด้วยกันแล้ว เป็นไม่ตกไปในโกสัชชะ วิริยะที่มีสมาธิประกอบพร้อมกัน
แล้วเป็นไม่ตกไปใน
อุทธัจจะ เพราะฉะนั้นอินทรีย์ทั้ง ๒ คู่นั้น พระโยคาวจรต้องทำให้เสมอกัน ด้วยว่าอัปปนาจะมีได้ก็เพราะความเสมอกัน
แห่งอินทรีย์ทั้ง ๒ คู่
อินทรีย์มีกำลังแต่ละข้อควรแก่กัมมิกะต่างกัน
- อีกนัยหนึ่ง สัทธาแม้มีกำลังก็ควรสำหรับสมาธิกัมมิกะ
( ผู้บำเพ็ญสมถกรรมฐาน ) ( ด้วย ) เมื่อสัทธามีกำลัง
อย่างนั้น เธอเชื่อดิ่งลงไป จักบรรลุอัปปนา ( ฌานสมาธิ ) ได้ ในสมาธิและปัญญาเล่า
เอกัคคตา ( ความตั้งมั่นใน
อารมณ์เดียว คือ สมาธิ ) มีกำลัง ก็ควรสำหรับสมาธิกัมมิกะ ด้วยเมื่อเอกัคคตามีกำลังอย่างนั้น
เธอย่อมจะบรรลุ
อัปปนาได้ ปัญญามีกำลังย่อมควรสำหรับวิปัสสนากัมมิกะ ( ผู้บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน
) ด้วยเมื่อปัญญามีกำลัง
อย่างนั้น เธอย่อมจะบรรลุลักขณปฏิเวธ ( เห็นแจ้งไตรลักษณ์ได้ ) แต่แม้เพราะสมาธิและปัญญาทั้ง
๒ เสมอกัน
อัปปนาก็คงมีได้
สติเป็นสพฺพตฺถิกา
- ส่วนสติ มีกำลังในที่ทั้งปวงย่อมควร เพราะสติรักษาจิตไว้แต่
ความตกไปในอุทธัจจะ เพราะอำนาจแห่งสัทธา
วิริยะ และปัญญา อันเป็นฝักฝ่ายอุทธัจจะ และรักษาจิตไว้แต่ความตกไปในโกสัชชะ
เพราะสมาธิอันเป็นฝักฝ่ายโกสัชชะ
เพราะเหตุนั้น สตินั้นจึงจำปรารถนาในที่ทั้งปวง ดุจเกลือสะตุเป็นสิ่งพึงปรารถนาในกับข้าวทั้งปวง
และดุจสรรพา
กรรมิกอำมาตย์ ( ผู้รอบรู้ในการงานทั้งปวง ) เป็นผู้พึงปรารถนาในสรรพราชกิจ ฉะนั้น
เพราะฉะนั้น พระอรรถกถา
จารย์จึงกล่าวไว้ว่า " ก็แลสติ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเป็นคุณชาติจำปรารถนาในที่ทั้งปวง
เพราะเหตุไร
เพราะจิตมีสติเป็นที่อาศัยไป และสติมีการรักษาเอาไว้ได้เป็นเครื่องปรากฏ การยกและข่มจิต
เว้นสติเสีย หามีได้ไม่ "
๓. ความฉลาดในนิมิต
- ความฉลาดในการทำนิมิตแห่งจิตเตกัคคตา ( จิตที่ตั้งมั่นในอารมณ์เดียว
) มีปฐวีกสิณ ( เป็นอารมณ์ ) เป็นต้น
ที่ยังมิได้ทำ ความฉลาดในอันยังนิมิตที่ทำแล้วให้เจริญ และความฉลาดในการักษานิมิตที่ได้แล้ว
ด้วยภาวนา ชื่อว่า
ความฉลาดในนิมิต ในที่นี้ท่านประสงค์เอาความฉลาดในการักษานั้น ( แล )
๔. ยกจิตในสมัยที่ควรยก
- ถามว่า ก็พระโยคาวจรยกจิตในสมัยที่ควรยก อย่างไร ?
- วิสัชนา ในกาลใด จิตของเธอหดหู่เพราะเหตุมีความเพียรย่อหย่อนนักเป็นต้น
ในกาลนั้นอย่าเจริญสัมโพชฌงค์
๓ มีปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นอาทิแล้วเจริญสัมโพชฌงค์ ๓ มีธัมมวิจยสัมโพชฌงค์เป็นต้น
จริงอยู่ ข้อนี้พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าก็ได้ตรัสไว้ว่า " ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต่างว่าบุรุษใคร่จะก่อไฟ
( ซึ่งติดอยู่ ) น้อยหนึ่งให้โพลงขึ้น
( หาก )เขาใส่หญ้าสดๆ ลงไป ใส่มูลโคสดๆ ลงไป ใส่ฟืนสดๆ ลงไป ให้ลมเจือน้ำเข้าไป
และเอาฝุ่น
โปรยลงไปที่ไฟนั้น ภิกษุทั้งหลาย บุรุษนั้นจะอาจก่อไฟน้อยหนึ่ง ( นั้น ) ให้โพลงขึ้นได้หรือหนอ
"
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า " ข้อนั้นหามิได้ พระพุทธเจ้าข้า " ตรัสต่อไปว่า
" ฉันนั้นนั่นแล ภิกษุทั้งหลาย
ในสมัยใดจิตหดหู่อยู่ ในสมัยนั้น ( กาลนั้น )มิใช่กาลที่จะเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
มิใช่กาลที่จะเจริญ
สมาธิสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลที่จะเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ นั่นเพราะเหตุไร ภิกษุทั้งหลาย
( เพราะ ) จิต
หดหู่อยู่ จิตหดหู่นั้นยากที่จะทำให้ฟื้นขึ้นได้ด้วยธรรมเหล่านั้นภิกษุทั้งหลาย
ก็แลในสมัยใดจิตหดหู่อยู่
ในสมัยนั้น ( กาลนั้น ) เป็นกาลที่จะเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นกาลที่จะเจริญวิริยสัมโพชฌงค์
เป็นกาลที่จะเจริญปีติสัมโพชฌงค์ นั่นเพราะเหตุอะไร ภิกษุทั้งหลาย ( เพราะ )
จิตหดหู่อยู่ จิตหดหู่นั้น
พระโยคาวจรพึงทำให้ฟื้นขึ้นได้โดยง่ายด้วยธรรมเหล่านั้น เปรียบเหมือน บุรุษใคร่จะก่อไฟน้อยหนึ่ง
ให้โพลงขึ้น เขาพึ่งใส่หญ้าแห้งๆ ลงไป ใส่มูลโคแห้งๆ ลงไป ใส่ฟืนแห้งๆ ลงไป เป่าเข้าไป
และไม่เอาฝุ่น
โปรยลงไปที่ไฟนั้น ภิกษุทั้งหลาย บุรุษนั้นจะอาจก่อไฟน้อยหนึ่ง ( นั้น ) ให้โพลงขึ้นได้หรือไม่
"
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า " ได้ พระพุทธเจ้าข้า " ดังนี้ ( สํ มหาวาร
๑๙/๑๓0 )
อาหารแห่งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
- ก็ในอธิการนี้ พึงทราบการเจริญสัมโพชฌงค์ ๓ มีธัมมวิจยสัมโพชฌงค์เป็นต้น
โดยเนื่องด้วยธรรมอันเป็นอาหาร
ของโพชฌงค์นั้นๆ จริงอยู่ ข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสไว้ว่า "
มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายที่
หยาบและประณีต ธรรมทั้งหลายที่มีส่วนเปรียบด้วยดำและขาว การทำโยนิโสมนสิการให้มากในธรรม
เหล่านี้ เป็นอาหารเพื่อความเกิดขึ้นแห่งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดบ้าง
เพื่อภิยโยภาพไพบูลย์
เจริญเต็มที่แห่งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่เกิดแล้วบ้าง " ดังนี้ (
สํ มหาวาร ๑๙/๘๓ )
อาหารแห่งวิริยสัมโพชฌงค์
- นัยเดียวกัน ตรัสว่า " ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีอยู่
อารัมภธาตุ ( ธาตุคือความคิดริเริ่ม ) นิกกมธาตุ
( ธาตุคือความลงมือทำ ) ปรักกมธาตุ ( ธาตุคือความบากบั่นไม่ท้อถอย ) การทำโยนิโสนมนสิการให้
มากในธาตุเหล่านั้น นี้เป็นอาหารเพื่อความเกิดขึ้นแห่งวิริยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดบ้าง
เพื่อภิยโยภาพ
ไพบูลย์เจริญเต็มที่แห่งวิริยสัมโพชฌงค์ที่เกิดแล้วบ้าง " ดังนี้