อาหารแห่งปีติสัมโพชฌงค์
- นัยเดียวกัน ตรัสว่า " ดูกรภิกษุทั้งหลาย
มีอยู่ ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งปีติสัมโพชฌงค์ การทำ
โยนิโสมนสิการให้มากในธรรมเหล่านั้น นี้เป็นอาหารเพื่อความเกิดขึ้นแห่งปีติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดบ้าง
เพื่อภิยโย
ภาพไพบูลย์เจริญเต็มที่แห่งปีติสัมโพชฌงค์ที่เกิดแล้วบ้าง ดังนี้
แก้อรรถปาฐะบางบท
- มนสิการอันเป็นไปโดยแทงตลอดซึ่งสภาวลักษณะและสามัญลักษณะ
ชื่อว่าโยนิโสนมนสิการในธรรมทั้งหลาย
มีธรรมเป็นกุศลเป็นต้น ในพระบาลีนั้น มนสิการอันเป็นไปโดยยังธาตุทั้งหลาย มีอารัมภธาตุ
( ธาตุคือความคิดริเริ่ม )
เป็นอาทิให้เกิดขึ้น ชื่อว่า โยนิโสมนสิการในอารัมภธาตุเป็นต้น ในธาตุทั้ง ๓
นั้น ความเพียรเริ่มแรกเรียกว่า
อารัมภธาตุ ความเพียรอันมีกำลังยิ่งกว่านั้น ( ขึ้นไป ) เพราะออกจากโกสัชชะ (
ความเกียจคร้าน ) ได้เรียกว่า
นิกกมธาตุ ( ธาตุคือความลงมือทำ ) ความเพียรมีกำลังยิ่งกว่านิกกมธาตุนั้น ( ขึ้นไป
) อีก เพราะก้าวย่างสู่ฐานะ
ยิ่งๆ ต่อไป เรียกว่า ปรักกมธาตุ ( ธาตุคือความบากบั่นไม่ท้อถอย ) ก็คำว่า "
ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งปีติ
สัมโพชฌงค์ " นั้น เป็นชื่อแห่งปีตินั่นเอง มนสิการที่ยังปีติแม้นั้นให้เกิดขึ้นนั่นแล
ชื่อว่าโยนิโสมนสิการ
ทางเกิดแห่งธัมมวิจยะ วิริยะ
ปีติ อักนัยหนึ่ง
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๗ ประการเป็นทางเกิดขึ้นแห่งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
คือ
- ปริปุจฺฉกตา ความเป็นผู้ไต่ถาม
- วตฺถุวิสทกิริยตา ความทำวัตถุให้สละสลวย
- อินฺทริยสมตฺตปฏิปาทนา การปรับอินทรีย์ให้เสมอกัน
- ทุปฺปญฺญปุคฺคลปริวชฺชนา การหลีกเว้นบุคคลปัญญาทราม
- ปญฺญวนฺตปุคฺคลเสวนา การคบหาบุคคลมีปัญญา
- คมฺภีรญาณจริยปจฺจเวกฺขณา พิจารณาสอดส่องด้วยปัญญาอันลึกซึ้ง
- ตทธิมุตฺตตา ความน้อมจิตไปในธัมมวิจยะนั้น
ธรรม ๑๑ ประการเป็นทางเกิดขึ้นแห่งวิริยสัมโพชฌงค์
คือ
- วิริยายตฺต ... วิเสสาธิคมานิสํสทสฺสิตา ความเป็นผู้มีปกติเห็นอานิสงส์
คือ การได้บรรลุคุณวิเศษที่เป็นโลกิยะ
และโลกุตตระอันเนื่องด้วยวิริยะ
- ... คมนวีถิปจฺจเวกฺขณตา ความพิจารณาเห็นวิถีทางดำเนินโดยนัยดังนี้ว่า
" มรรคาที่พระพุทธเจ้า พระปัจเจก
พุทธเจ้า และพระมหาสาวกทั้งหลายดำเนินไปแล้ว เราต้องดำเนิน ( ตาม ) ก็แต่ว่ามรรคานั้นคนเกียจคร้านหาอาจ
ไปได้ไม่ "
- ... ปิณฺฑาปจายนตา ความยำเกรงในการเที่ยวบิณฑบาต
โดยทำให้มีการมีผลมากแก่ทายกทั้งหลาย
- ... สตฺถุมหตฺตปจฺจเวกฺขณตา
ความพิจารณาเห็นความเป็นใหญ่แห่งพระศาสดา โดยนัยดังนี้ว่า " พระศาสดา
ของเราทรงมีปกติตรัสสรรเสริญวิริยารัมภะ พระองค์มีคำสอนอันใครๆ ไม่พึงละเมิดด้วยพระองค์มีพระอุปการะมากแก่
เราทั้งหลายด้วย พระองค์ เมื่อเราบูชาด้วยการปฏิบัติ จึงเป็นอันบูชา มิใช่ด้วยประการอื่นด้วย
"
- ... ทายชฺชมหตฺตปจฺจเวกฺขณตา
ความพิจารณาเห็นความเป็นใหญ่แห่งมรดก โดยนัยดังนี้ว่า " มรดกกองใหญ่
กล่าวคือพระสัทธรรม เราจะพึงได้รับ ก็แต่ว่ามรดกใหญ่นั้น คนเกียจคร้านหาอาจรับได้ไม่
"
- ... ถีนมิทฺธวิโนทนตา ความบรรเทาถีนมิทธะเสียด้วยข้อปฏิบัติทั้งหลาย
มีการทำอาโลกสัญญาไว้ในใจ การ
เปลี่ยนอิริยาบถ และการเสพอัพโภกาส ( ที่ว่างกลางแจ้ง ) เป็นต้น
- กุสีตปุคฺคลปริวชฺชนตา ความหลีกเว้นบุคคลเกียจคร้าน
- อารทฺธวิริยปุคฺคลเสวนตา ความคบหาบุคคลปรารภความเพียร
- สมฺมปฺปธานปจฺจเวกฺขณตา ความพิจารณาเห็น (
อานุภาพ ) สัมมัปปธาน
- ตทธิมุตฺตตา ควมน้อมใจไปในวิริยะนั้น
ธรรม ๑๑ ประการเป็นทางเกิดขึ้นแห่งปีติสัมโพชฌงค์
คือ
- พุทฺธานุสฺสติ ระลึกพระพุทธคุณ
- ธมฺมานุสฺสติ ระลึกพระธรรมคุณ
- สงฺฆานุสฺสติ ระลึกพระสังฆคุณ
- สีลานุสฺสติ ระลึกถึงศีลที่รักษา
- จาคานุสฺสติ ระลึกถึงการบริจาค
- เทวตานุสฺสติ ระลึกถึงเทวดาและเทวธรรม
- อุปสมานุสฺสติ ระลึกถึงคุณพระนิพพาน
- ลูขปุคฺคลปริวชฺชนตา ความหลีกเว้นบุคคลผู้เศร้าหมอง
- สินิทฺธปุคฺคลเสวนตา ความคบหาผู้แจ่มใส
- ปสาทนียสุตฺตนฺตปจฺจกเวกฺขณตา
ความพิจารณาความในพระสูตร เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส
- ตทธิมุตฺตตา ความน้อมใจไปในปีตินั้น
- พระโยคาวจร เมื่อยังธรรมเหล่านั้นให้เกิดขึ้นด้วยอาการเหล่านี้ดังกล่าวมา
ชื่อว่าทำสัมโพชฌงค์ ๓ มีธัมมวิจย
สัมโพชฌงค์เป็นต้นให้เจริญ พระโยคาวจรยกจิตในสมัยที่ควรยก อย่างนี้แล
๕ ข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม
- ถามว่า " พระโยคาวจรข่มจิตในสมัยที่ควรข่มอย่างไร
" วิสัชนาว่า ในกาลใดจิตของเธอฟุ้งซ่านเพราะเหตุมีความ
เป็นผู้ปรารภความเพียรเกินไปเป็นต้น ในกาลนั้นอย่าเจริญสัมโพชฌงค์ ๓ มีธรรมวิจยสัมโพชฌงค์เป็นอาทิ
แล้วเจริญ
สัมโพชฌงค์ ๓ มีปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นต้น จริงอยู่ ข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสไว้ว่า
" ดูกรภิกษุทั้ง
หลาย ต่างว่าบุรุษใคร่จะดับกองไฟใหญ่ ( หาก ) เขาใส่หญ้าแห้งๆ ลงไป ใส่มูลโคแห้งๆ
ลงไป ใส่
ฟืนแห้งๆ ลงไป เป่าเข้าไป และไม่เอาฝุ่นโปรยลงไปที่กองไฟนั้น ภิกษุทั้งหลาย บุรุษนั้นจะอาจดับไฟกอง
ใหญ่ ( นั้น ) ได้หรือหนอ " ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า " ข้อนั้นหามิได้
พระพุทธเจ้าข้า " ตรัสต่อ
ไปว่า " ฉันนั้นนั่นแล ภิกษุทั้งหลาย ในสมัยใดจิตฟุ้งซ่านอยู่ ในสมัยนั้น
( กาลนั้น ) มิใช่กาลที่จะเจริญ
ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลที่จะเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลที่จะเจริญปีติสัมโพชฌงค์
นั่นเพราะ
เหตุอะไร ภิกษุทั้งหลาย ( เพราะ ) จิตฟุ้งซ่านอยู่ อันจิตฟุ้งซ่านนั้นยากที่จะทำให้สงบลงได้ด้วยธรรม
เหล่านั้น ภิกษุทั้งหลาย ก็แลในสมัยใดจิตฟุ้งซ่านอยู่ ในสมัยนั้น ( กาลนั้น )
เป็นกาลที่จะเจริญปัสสัทธิ
สัมโพชฌงค์ เป็นกาลที่จะเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ เป็นกาลที่จะเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
- นั่นเพราะเหตุอะไร ภิกษุทั้งหลาย
( เพราะ ) จิตฟุ้งซ่านอยู่ อันจิตฟุ้งซ่านนั้น พระโยคาวจรพึงทำ
ให้สงบได้โดยง่ายด้วยธรรมเหล่านั้น เปรียบเหมือนบุรุษใคร่จะดับไฟกองใหญ่ ต่างว่าเขาใส่หญ้าสดๆ
ลงไป ใส่มูลโคสดๆ ลงไป ใส่ฟืนสดๆ ลงไป ให้ลมเจือด้วยน้ำเข้าไป และเอาฝุ่นโปรยลงไปที่กองไฟนั้น
ภิกษุทั้งหลาย บุรุษนั้นจะอาจดับไฟกองใหญ่ ( นั้น ) ได้หรือไม่ " ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า
" ได้
พระพุทธเจ้าข้า " ( สํ มหาวาร ๑๙/๑๓๑ ) ดังนี้
อาหารแห่งปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
- แม้ในอธิการนี้ ก็พึงทราบการเจริญสัมโพชฌงค์
๓ มีปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นอาทิ โดยเนื่องด้วยธรรมอันเป็น
อาหารของโพชฌงค์นั้นๆ จริงอยู่ ข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสไว้ว่า "
มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย กายปัสสัทธิ
( ความสงบระงับแห่งกาย ) จิตตปัสสัทธิ ( ความสงบระงับแห่งจิต ) ความทำโยนิโสมนสิการ
ให้มากในปัสสัทธินั้น นี้เป็นอาหารเพื่อความเกิดขึ้นแห่งปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดบ้าง
เพื่อ
ภิยโยภาพไพบูลย์เจริญเต็มที่แห่งปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่เกิดแล้วบ้าง "
ดังนี้
อาหารแห่งสมาธิสัมโพชฌงค์
- นัยเดียวกัน ตรัสว่า "
มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย สมถนิมิต ( นิมิตสงบ ) อัพยัคคนิมิต ( นิมิตไม่ซัดส่าย
)
ความทำโยนิโสมนสิการให้มากในนิมิตนั้น นี้เป็นอาหารเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่
เกิดบ้าง เพื่อภิยโยภาพไพบูลย์เจริญเต็มที่แห่งสมาธิสัมโพชฌงค์ที่เกิดแล้วบ้าง
" ดังนี้
อาหารแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์
- นัยเดียวกัน ตรัสว่า "
มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ความ
ทำโยนิโสมนสิการให้มากในธรรมเหล่านั้น นี้เป็นอาหารเพื่อความเกิดขึ้นแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยัง
ไม่เกิดขึ้นบ้าง เพื่อภิยโยภาพไพบูลย์เจริญเต็มที่แห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดแล้วบ้าง
" ดังนี้
แก้อรรถปาฐะบางบท
- มนสิการอันเป็นไปโดยกิริยาที่พระโยคีกำหนดอาการอันเคยเป็นเหตุเกิดขึ้นแห่งธรรมทั้ง
๓ มีปัสสัทธิเป็นต้นได้แล้ว
ยังธรรมทั้ง ๓ นั้นให้เกิดขึ้นนั่นแล ชื่อว่าโยนิโสมนสิการในบททั้ง ๓ ในพระบาลีนั้น
คำว่า " สมถนิมิต " นั่นเป็นชื่อ
แห่งสมถะนั่นเอง และคำว่า " อัพยัคคนิมิต " ก็เป็นคำเรียกสมถะนั้นเหมือนกัน
โดยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน
ทางเกิดแห่งปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา
อีกนัยหนึ่ง
- อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๗ ประการเป็นทางเกิดขึ้นแห่งปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
คือ
- ปณีตโภชนเสวนตา เสพโภชนะอันประณีต
- อุตุสุขเสวนตา เสพฤดูเป็นที่สบาย
- อิริยาปถสุขเสวนตา เสพอิริยาบถเป็นที่สบาย
๑
- มชฺฌตฺตปฺปโยคตา ประกอบความเพียรปานกลาง
- สารทฺธกายปุคฺคลปริวชฺชนตา
หลีกเว้นบุคคลผู้ไม่สงบกาย
- ปสฺสทฺธกายปุคฺคลเสวนตา คบหาบุคคลผู้มีกายสงบ
- ตทธิมุตฺตตา น้อมจิตไปในปัสสัทธินั้น
ธรรม ๑๑ ประการเป็นทางเกิดขึ้นแห่งสมาธิสัมโพชฌงค์
คือ
- วตฺถุวิสทตา ความสละสลวยแห่งวัตถุ
- นิมิตฺตกุสลตา ความฉลาดในนิมิต
- อินฺทฺริยสมตฺตปฏิปาทนตา ความปรับอินทรีย์ให้เสมอกัน
- สมเย จิตฺตสฺส นิคฺคหณตา ความข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม
- สมเย จิตฺตสฺส ปคฺคหณตา ความยกจิตในสมัยที่ควรยก
- นิรสฺสาทสฺส จิตฺตสฺส ... สมฺปหํสนตา
ความทำจิตที่ไม่มีอัสสาทะ ( ความพอใจ ) ให้ร่าเริงขึ้นด้วยอำนาจ
สัทธาและสังเวช ๒
- สมฺมาปวตฺตสฺส อชฺฌุเปกฺขณตา
เพ่งดูอยู่เฉยๆ ซึ่งจิตที่เป็นไปโดยชอบแล้ว ๓
- ๑. มหาฎีกาว่า อาหารประณีต
ที่พระโยคีบริโภคแต่พอประมาณแล้ว ย่อมเป็นปัจจัยแห่งปัสสัทธิ เพราะทำให้
เกิดกายลหุตาเป็นต้น ฤดูและอิริยาบถที่เป็นสัปปายะก็เช่นกัน
- ๒. มหาฎีกาว่า อัสสาทะในที่นี้
หมายเอาความสุขที่เกิดแต่ความสงบ ภาวนาจิตที่ไม่ได้ความสุขอย่างนั้น
ต้องแก้ด้วยทำให้เกิดสังเวชแล้วปลูกศรัทธาเลื่อมใสขึ้น
- ๓. มหาฎีกาว่า ภาวนาจิตที่ดำเนินอยู่ในสมถวิถีเรียบร้อยสม่ำเสมอ
ไม่มีอาการหดหู่ และอาการฟุ้งซ่าน เรียกว่า
จิตเป็นไปโดยชอบ ไม่ต้องยก ไม่ต้องข่ม ไม่ต้องปลุก
- อสมาหิตปุคฺคลปริวชฺชนตา หลีกเว้นบุคคลผู้มีจิตไม่เป็นสมาธิ
- สมาหิตปุคฺคลเสวนตา คบหาบุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิ
- ฌานวิโมกฺขปจฺจเวกฺขณตา พิจารณาวิโมกข์ในฌาน
( ฌานชื่อว่าวิโมกข์ เพราะพ้นจาก ธรรมอันเป็นข้าศึก คือ
นิวรณ์ ๕ ชั่วขณะที่ดำรงฌานสมาธิอยู่ )
- ตทธิมุตฺตา น้อมจิตไปในสมาธินั้น
ธรรม ๕ ประการ เป็นทางเกิดขึ้นแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์
คือ
- สตฺตมชฺฌตฺตตา ความวางเฉยในสัตว์
- สงฺขารมชฺฌตฺตตา ความวางเฉยในสังขาร
- สตฺตสงฺขารเกลายนปุคฺคลปริวชฺชนตา
ความหลีกเว้นบุคคลผู้พัวพันอยู่ในสัตว์และสังขาร
- สตฺตสงฺขารมชฺฌตฺตปุคฺคลเสวนตา
ความคบหาบุคคลผู้วางเฉยในสัตว์และสังขาร
- ตทธิมุตฺตตา ความน้อมจิตในอุเบกขานั้น
- พระโยคาวจร เมื่อยังธรรมเหล่านั้นให้เกิดขึ้นด้วยอาการเหล่านี้
ดังกล่าวมาแล้ว ชื่อว่าทำสัมโพชฌงค์ ๓ มี
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นต้นให้เจริญ พระโยคาวจรย่อมข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม อย่างนี้แล
๖. ทำจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรร่าเริง
- ถามว่า พระโยคาวจรทำจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรให้ร่าเริงอย่างไร?
วิสัชนาว่า ในกาลใด จิตของเธอเป็นจิต
ไม่มีอัสสาทะ ( ความพอใจ ) เพราะความพยายามทางปัญญา อ่อนไปก็ดี เพราะไม่ได้ความสุขอันเกิดแต่ความสงบ
ก็ดี ในกาลนั้นพระโยคาวจรย่อมยังจิตนั้นให้สังเวช ด้วยการพิจารณาสังเวควัตถุ
๘ วัตถุทั้งหลาย คือ ชาติ ชรา พยาธิ
มรณะ เป็น ๔ อบายทุกข์เป็นที่ ๕ วัฏฏมูลกทุกข์ ( ทุกข์มีวัฏฏะเป็นมูล ) ในอดีต
๑ วัฏฏมูลกทุกข์ในอนาคต ๑
อาหารปริเยฏฐิมูลกทุกข์ ( ทุกข์มีการแสวงหาอาหารเป็นมูล ) ในปัจจุบัน ๑ ชื่อว่า
สังเวควัตถุ ๘ อนึ่ง เธอย่อม
ยังความเลื่อมใสให้เกิดแก่จิตนั้น ด้วยระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ด้วย
พระโยคาวจรย่อมยังจิต
ให้ร่าเริงในสมัยที่ควรให้ร่าเริง ด้วยประการฉะนี้