๗. เพ่งดูจิตอยู่เฉยๆ
- ถามว่า พระโยคาวจรย่อมเพ่งดูจิตอยู่เฉยๆ
ในสมัยที่จิตควรเพ่งดูอยู่เฉยๆ อย่างไร? วิสัชนาว่า ในกาลใด
จิตของเธอผู้ปฏิบัติอยู่อย่างนั้น เป็นจิตไม่หดหู่ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ปราศจากอัสสาทะ
เป็นไปสม่ำเสมอในอารมณ์
( กรรมฐาน ) ดำเนินอยู่ในวิถีแห่งสมถะ ในกาลนั้นเธอไม่ต้องขวนขวายในการยก การข่ม
และการทำให้ร่าเริง
ดุจสารถี เมื่อม้าทั้งหลายวิ่งไปเรียบร้อยแล้วก็ไม่ต้องขวนขวาย ( อะไร ) ฉะนั้น
พระโยคาวจรย่อมเพ่งดูจิตอยู่เฉยๆ
ในสมัยที่จิตควรจะเพ่งดูอยู่เฉยๆ อย่างนี้ ( แล )
๘. หลีกบุคคลผู้มีจิตไม่เป็นสมาธิ
- การสละเสียให้ไกลซึ่งบุคคลทั้งหลายผู้ไม่เคยขึ้นสู่เนกขัมมปฏิปทา
( เนขัมมะ ในที่นี้หมายเอาเพียงแค่ฌาน )
วุ่นอยู่แต่ในกิจมากหลาย มีใจซัดส่ายไป ชื่อว่าหลีกบุคคลผู้มีจิตไม่เป็นสมาธิ
๙. คบหาบุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิ
- การเข้าไปหาบุคคลทั้งหลายผู้ดำเนินเนกขัมมปฏิปทา ได้สมาธิอยู่โดยปกติ
ตามกาลอันควร ชื่อว่าคบหาบุคคล
ผู้มีจิตเป็นสมาธิ
๑0. ความน้อมใจไปในสมาธิ
- ความน้อมจิตไปในสมาธิ ชื่อว่า ตทธิมุตฺตตา หมายความว่า
หนักไปในสมาธิ หน่วงไปในสมาธิ โน้มไปในสมาธิ
-
- อัปปนาโกศล ๑0 อย่างนี้ พระโยคีพึงทำให้ถึงพร้อม
ด้วยประการฉะนี้เทอญ
- ด้วยเมื่อพระโยคาวจร ครั้นนิมิตเกิดแล้ว
ทำอัปปนาโกศลนี้ให้ถึงพร้อมอยู่อย่างนี้ อัปปนา ( ฌาน
สมาธิ ) จึงจะเป็นไป ถ้าเมื่อเธอแม้ปฏิบัติอย่างนี้แล้ว อัปปนานั้นก็ยังหาเป็นไปไม่
แม้เช่นนั้น เธอ
ผู้เป็นบัณฑิตก็ไม่ควรละความเพียรเสีย พึงพยายามอยู่นั่น เพราะขึ้นชื่อว่า คนละสัมมาวายามะเสีย
แล้ว จะพึงได้บรรลุคุณวิเสสแม้สักหน่อยหนึ่ง นั่นไม่ใช่ฐานะจะมีได้ เพราะเหตุนั้น
ผู้รู้กำหนดอาการ
เป็นไปแห่งจิตได้ พึงประกอบความเสมอกันแห่งวิริยะ ( กับสมาธิ ) ไว้ร่ำไป ( คือ
) พึงยกจิตซึ่ง
( มีความเพียร ) ย่อหย่อนไปแม้หน่อยหนึ่งไว้ พึงข่มจิตอัน ( มีความเพียร ) ปรารภเกินไปลง
ให้เป็น
ไปพอดี พึงเปลื้องจิตเสียจากความย่อหย่อน และความฟุ้งโดยประการทั้งปวงแล้ว ยังจิตอันมี
( ปฏิภาค )
นิมิตอยู่จำเพาะหน้าดำเนินไป เยี่ยงความเป็นไปแห่งแมลงและคน มีตัวผึ้งเป็นต้น
ในเกสรดอกไม้
ในใบบัว ในใยแมลงมุม ในเรือ ในกะโหลก ( น้ำมัน ) อันท่านพรรณนาไว้ ( ในอรรถกถา
) ฉะนั้นเถิด
อุปมาแห่งสัมมาวายามะ
- ( ต่อไป ) นี้ เป็นคำแสดงความในสองคาถาข้างท้าย
อุปมาเหมือนผึ้ง ( ตัวหนึ่ง ) โง่ รู้ว่าดอกไม้ต้นโน้น
บานแล้ว แล่นไปโดยความเร็วจัด ( จนยั้งไม่อยู่ ) เลยล่วงดอกไม้นั้นไปเสีย ย้อนกลับมาถึงต่อเมื่อเกสรมันสิ้น
( รส ) เสียแล้ว อีกตัวหนึ่งก็โง่ แล่นไปโดยความเร็วอ่อน ไปถึงเมื่อ ( เกสร )
มันสิ้น ( รส ) แล้วเหมือนกัน
ส่วนผึ้งตัวที่ฉลาดแล่นไปโดยความเร็วพอดี ถึงกลุ่มดอกไม้แล้ว เคล้าเอาเกสรเท่าที่ต้องการมาปรุงเป็นน้ำผึ้ง
ก็ได้
เสวยรสหวานสบายไป ฉันใด อนึ่งอุปมาเหมือนเมื่อพวกลูกศิษย์ช่างสลักใช้ ( ปลาย
) มีดสลัก ( ลวดลาย )
ลงที่ใบอุบลที่ลอยไว้ในอ่างน้ำกันอยู่ ศิษย์คนหนึ่งฉลาดเกินไปจดมีดลงเร็ว ( ทำให้
) ใบอุบลฉีกบ้าง จมน้ำไปบ้าง
อีกคนหนึ่งไม่ฉลาดเลย ไม่กล้าแม้แต่จะเอามีดถู ( ใบอุบล ) เพราะกลัวมันฉีกและจม
ส่วนคนฉลาดแสดงรอยมีด
( เป็นลวดลาย ) ในใบอุบลนั้นด้วยประโยค ( ประโยคะ = ความพยายาม ) ที่พอดี ก็เป็นผู้ได้ชื่อว่ามีศิลปะสำเร็จ
ทำงานในตำแหน่งทั้งหลาย ( ที่ต้องใช้ศิลปะ ) เช่นนั้นย่อมได้ลาภ ฉันใด อนึ่ง
อุปมาเหมือนพระราชาทรงประกาศว่า
" ผู้ใดนำใยแมลงมุมยาวประมาณ ๔ วามา ( ถวาย ) ได้ ผู้นั้นจะได้ทรัพย์ ๔,000
ดังนี้แล้ว
- บุรุษผู้หนึ่งฉลาดเกินไป ดึงใยแมลงมุมเร็ว
ใยก็ขาดทุกที ( ที่ดึง ) บุรุษอีกคนหนึ่งไม่ฉลาดเลย ไม่กล้าแม้จะเอา
มือถูก ( ใยแมลงมุม ) เพราะกลัวมันจะขาด ส่วนบุรุษผู้ฉลาดพัน ( ใย ) เข้าในท่อนไม้ตั้งแต่ปลายเข้าไปด้วยประโยค
( ความพยายาม ) ที่พอดี นำ ( ใย ) ไปถวายได้ ก็ได้ ( รับพระราชทาน ) ลาภ ฉันใด
อนึ่ง อุปมาเหมือนต้นหน
( คนหนึ่ง ) ฉลาดเกินไป กางใบเต็มในเมื่อลมแรง ทำให้เรือแล่นไปผิดที่ ต้นหนอีกคนหนึ่งไม่ฉลาดเลย
ในเมื่อลมอ่อน
( กลับ ) ลดใบเสีย จอดเรืออยู่ที่นั้นเอง " ส่วนต้นหนผู้ฉลาด กางใบเต็มที่ในเมื่อลมอ่อน
ลดใบเสียครึ่งหนึ่งเมื่อลมแรง
ย่อมไปถึงที่ที่ปรารถนา โดยสวัสดี ฉันใด อนึ่ง อุปมาเหมือนอาจารย์ประกาศแก่อันเตวาสิกทั้งหลายว่า
" ผู้ใดไม่ทำ
น้ำมันหก ( รินน้ำมันลง ) ให้กระโหลก ( ปากเล็ก ) เต็มได้ ผู้นั้นจะได้ลาภ "
ดังนี้ อันเตวาสิกผู้หนึ่งฉลาดเกินไป
อยากได้ลาภ ( รินจะ ) ให้เต็มเร็วไปก็ทำน้ำมันหก อีกคนหนึ่งไม่ฉลาดเลย ไม่กล้าแม้แต่จะริน
เพราะกลัวน้ำมันหก
ฝ่ายอันเตวาสิกผู้ฉลาด ( ริน ) ให้เต็มด้วยประโยค ( ความพยายาม ) อันสมควร ก็ได้ลาภไป
ฉันใด อุปมัยก็ฉันนั้น
ภิกษุรูปหนึ่ง ครั้นเมื่อ ( ปฏิภาค ) นิมิตเกิดแล้วมุ่งว่าจะถึงอัปปนาโดยเร็วทีเดียว
ทำความเพียรอย่างหนัก จิตของเธอ
ก็ตกไปในอุทธัจจะ ( ความฟุ้งซ่าน ) เสีย เพราะปรารภความเพียรมากเกินไป เธอก็ไม่อาจถึงอัปปนาได้
ภิกษุรูปหนึ่ง
เห็นโทษในเพราะปรารภความเพียรเกินไป เลยคิดเสียว่า " เราจะมีความต้องการด้วยอัปปนาในเวลานี้ทำไม
" ดังนี้แล้วลดความเพียรเสีย จิตของเธอก็ตกไปในโกสัชชะ ( ความเกียจคร้าน
) เพราะมีความเพียรหย่อนไป แม้เธอ
( รูปนี้ ) ก็ไม่อาจถึงอัปปนาได้ ( เหมือนกัน )
- ส่วนว่าภิกษุใด ( ค่อย ) เปลื้องจิตที่หดหู่ไปแม้หน่อยหนึ่งเสียจากความหดหู่
ที่ฟุ้งซ่านไปแม้นิดหนึ่งเสียจาก
ความฟุ้งซ่านแล้ว ยังจิตอันมี ( ปฏิภาค ) นิมิตอยู่จำเพาะหน้าให้เป็นไปด้วยประโยค
( ความพยายาม ) อันสม่ำเสมอ
เธอย่อมถึงอัปปนาได้ อันพระโยคาวจรพึงเป็นเช่นภิกษุ ( รูปที่ ๓ ) นั้นเถิด ข้าพเจ้าหมายเอาความ
( ดังกล่าวมา )
นี้ จึงกล่าวคำประพันธ์ ( ๒ คาถาข้างท้าย ) นี้ไว้ว่า
- " พึงเปลื้องจิตเสียจากความย่อหย่อน
และความฟุ้งโดยประการทั้งปวงแล้ว ยังจิตอันมี ( ปฏิภาค )
นิมิตอยู่จำเพาะหน้าให้ดำเนินไป เยี่ยงความเป็นไปแห่งแมลงและคน มีตัวผึ้งเป็นต้น
ในเกสรดอกไม้
ในใบบัว ในใยแมลงมุม ในเรือ ในกระโหลก ( น้ำมัน ) อันท่านพรรณนาไว้ ( ในอรรถกถา
) ฉะนั้น
เถิด " ดังนี้
จิตในขณะที่อัปปนา
( ฌานจิต ) จะสำเร็จ
- ก็แล เมื่อพระโยคาวจรนั้น ทำจิตอันมี
( ปฏิภาค ) นิมิตอยู่จำเพาะหน้าให้ดำเนินไปอยู่ โดยประการดังกล่าว
มาฉะนี้ ในขณะที่ว่าอัปปนา ( ฌานจิต ) ว่าจักสำเร็จ มโนทวาราวัชชจิตย่อมตัดภวังค
ทำปฐวีกสิณซึ่งปรากฏด้วย
อำนาจแห่งการอนุโยค ( ภาวนา ) ว่า ปฐวี ปฐวี นั่นแลให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น
- แต่นั้นชวนจิต ๔ หรือ ๕ ดวงย่อมแล่นไปในอารมณ์นั้นนั่นแหละ
ในที่สุด ในชวนจิตเหล่านั้น ดวงหนึ่งเป็น
รูปาวจรจิต ( หรือฌานจิต ) ที่เหลือ ( ๓ หรือ ๔ ดวง ) เป็นกามาวจรจิต มีจิตมีวิตก
วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา
มีกำลังกว่าปกติ ( กามาวจร ) จิตซึ่งท่านเรียกว่า บริกรรมจิต เพราะเป็นจิตแต่งอัปปนา
( ฌานจิต ) บ้าง เรียกว่า
อุปจารจิต เพราะเป็นจิตใกล้ต่ออัปปนา ( ฌานจิต ) หรือท่องเที่ยวอยู่ในที่ใกล้แห่งอัปปนา
( ฌานจิต ) ดุจ ( ภูมิ )
ประเทศใกล้ต่อสถานที่มีหมู่บ้านเป็นต้นก็เรียกว่าอุปจารบ้าน อุปจารเมืองฉะนั้นบ้าง
เรียกว่าอนุโลมจิต เพราะเป็นจิต
อนุโลม ( ไปกันได้ ) แก่บริกรรมจิต ( ในนานาวัชชนวิถี ) ทั้งหลายก่อนนี้ และแก่อัปปนา
( ฌานจิต ) ข้างหน้าด้วยบ้าง
อนึ่ง ในบรรดาจิต ( ที่ได้ชื่อว่า บริกรรม อุปจาร และ อนุโลม ) เหล่านี้ ดวงใดเป็นที่สุดเขาหมด
ดวงนั้นท่านเรียกว่า
โคตรภู บ้าง เพราะครอบงำปริตตโคตรได้ และทำมหัคคตโคตรให้เป็นขึ้น ( ปริตตโคตร
= โคตรน้อย หมายถึง กามภูมิ ,
มหัคคโคตร = โคตรใหญ่ หมายถึง ฌานภูมิ หรือพรหมภูมิ )
- ว่าโดยลำดับแห่งชวนจิต ที่ท่านยังมิได้จัดไว้ในชวนจิตเหล่านั้น
ดวงที่หนึ่งเป็นบริกรรม ดวงที่สองเป็นอุปจาร
ดวงที่สามเป็นอนุโลม ดวงที่สี่เป็นโคตรภู อีกนัยหนึ่ง
ดวงที่หนึ่งเป็นอุปจาร ดวงที่สองเป็นอนุโลม ดวงที่สามเป็นโคตรภู
ดวงที่สี่หรือที่ห้าเป็นอัปปนาจิต ( ฌานจิต ) แท้จริงชวนจิตที่สี่เท่านั้น หรือไม่ก็ที่ห้า
ย่อมเป็นอัปปนา ( ฌานจิต )
ข้อนั้นก็เป็นด้วยอำนาจแห่งขิปปาภิญญาและทันธาภิญญา ชวนะต่อแต่นั้นไปย่อมตกเป็นวาระแห่งภวังคไป
( มหาฎีกาว่า สำหรับ ขิปปาภิญญา ( ติกขบุคคล คือบุคคลผู้รู้เร็ว ) ชวนะที่สี่เป็นอัปปนา
( ฌานจิต ) สำหรับ
ทันธาภิญญา ( มันทบุคคล คือบุคคลผู้รู้ช้า ) ก็ชวนะที่ห้าเป็นอัปปนา ( ฌานจิต
)
- อันอัปปนา ( ฌานจิต ) ( นั้น )
ย่อมมีในชวนะที่สี่หรือที่ห้าเท่านั้น ชวนะต่อนั้นไปนับได้ว่าตกแล้ว เพราะใกล้
( จะตก ) ภวังค " ดังนี้ แท้จริง จิตย่อมไม่อาจเป็นอัปปนา ( ฌานจิต ) ได้ในชวนะที่หกหรือที่เจ็ดก็ตาม
เพราะ
ใกล้ ( จะตก ) ภวังค เปรียบเหมือนบุรุษวิ่งตรงไปลงเหวชัน แม้ใคร่จะหยุดก็ไม่อาจยั้งเท้าหยุดที่ริม
( เหว ) ได้
ย่อมจะตกลงไปในเหวจนได้ฉะนั้น เพราะเหตุนั้น อัปปนา ( ฌานจิต ) ( นั้น ) บัณฑิตพึงทราบว่า
ย่อมมีได้ ในชวนะ
ที่สี่หรือที่ห้าเท่านั้น
- ก็แลอัปปนา ( ฌานจิต ) นั้น เป็นไปในขณะจิตเดียวเท่านั้น
จริงอยู่ ชื่อว่ากำหนดกาลในสถาน ๗ หามีไม่
คือในปฐมอัปปนา ( วิถีจิตของผู้ที่ได้ฌานขั้นนั้นๆ เป็นครั้งแรก หรือเรียกว่า
อาทิกัมมิกฌานวิถี ) ๑ ในโลกียอภิญญา
ทั้งหลาย ๑ ในมรรคสี่ ๑ ในผลอันเป็นลำดับแห่งมรรค
๑ ในภวังคฌานในรูปารูปภพ ๑ ๑ในเนวสัญญานาสัญญายตนะ
อันเป็นปัจจัยแห่งนิโรธ ๑ ในผลสมาบัติแห่งท่านผู้ออกจากนิโรธ
๑
- ในสถานเหล่านั้น ผลอันเป็นลำดับแห่งมรรคาหามีเหนือ
๓ ชวนะไปไม่ เนวสัญญานาสัญญายตนะอันเป็นปัจจัย
แห่งนิโรธก็หามีเหนือ ๒ ชวนะไม่ ภวังคฌานในรูปารูปภพนับประมาณ ( ขณะจิต ) ไม่ได้
ในสถานที่เหลือ ( ๔ ) มี
( ขณะ ) จิตเดียวเท่านั้นแล ๒
อัปปนาเป็นไปในขณะจิตเดียวดังกล่าวมาฉะนี้ ต่อนั้นก็เป็นภวังคบาต
ครั้นแล้ว
อาวัชชนะจึงตัดภวังคเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ฌานปัจจเวกขณต่อนั้นไปก็ฌานปัจจเวกขณแล
ปฐมฌาน
- ก็ด้วยลำดับแห่งภาวนาเพียงเท่านี้
พระโยคาวจรนั้น ชื่อว่าสงัดจากกามทั้งหลายเทียว สงัดจากธรรมทั้งหลาย
ที่เป็นอกุศลเทียว เข้าถึงฌานที่ ๑ อันมีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวกอยู่
ปฐมฌานปฐวีกสิณอันละ
องค์ ๕ ประกอบด้วยองค์
๕ มีความงาม ๓ ประการถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑0 เป็นอันพระโยคาวจรนั้นได้บรรลุ
แล้ว ด้วยประการฉะนี้
- ๑. ภวังคจิตในรูปภพ
จะเป็น รูปาวจรวิบากจิต ดวงใดดวงหนึ่ง ใน ๕
ดวง เพราะในรูปภพ ปฏิสนธิจิต ได้แก่
รูปาวจรวิบากจิต ดวงใดดวงหนึ่ง ใน ๕ ดวง และ ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต จุติจิต จะเป็นจิตประเภทเดียวกัน
ในชาติ
เดียวกัน ดังนั้น ภวังคจิตในรูปภพจึงเป็นรูปาวจรวิบากจิต ดวงใดดวงหนึ่ง ใน ๕
ดวง ด้วย
- ๒. มหาฎีกาว่า ที่ว่ากำหนดกาลในสถาน
๗ ไม่มีนั้น ก็เพราะว่า ในสถาน ๗ นั้น ลางสถานนับประมาณขณะจิต
ไม่ได้เอาทีเดียว ลางสถานก็นับได้เป็นขณะสั้นเต็มที เป็นว่าจะหาสถานไหนได้ชวนะเต็มวิถีไม่มีเลย
-
- คำแนะนำ ในหัวข้อ
จิตในขณะที่อัปปนา ( ฌานจิต ) จะสำเร็จ นี้เป็นเรื่องของ วิถีจิต ท่านใดศึกษา
แล้วไม่เข้าใจควรศึกษาพระอภิธัมมัตถสังคหะปริจเฉทที่
๔ วิถีสังคหวิภาค ทั้งหนังสือและเทปที่มีในโฮมเพจห้องสมุด
ธรรมะนี้ก่อน ถึงจะเข้าใจความหมายของเนื้อหาในเรื่องวิถีจิต ในวิสุทธิมรรคนี้ได้
และถ้าท่านยังไม่เข้าใจ
พระอภิธัมมัตถสังคหะปริจเฉทที่ ๔ ก็ควรศึกษา พระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่
๑ , ๒ , ๖
และ ๓ เป็นพื้นเสียก่อน
หรือจะผ่านหัวข้อนี้ไปก่อนก็ได้ครับ
แก้อรรถ วิวิจฺเจว กาเมหิ...
- ในฌานปาฐะ ( ปาฐะ = บาลี ) เหล่านั้น
ปาฐะว่า วิวิจฺเจว กาเมหิ ความว่าสงัด คือพรากไป หลีกไปจากกาม
ทั้งหลาย ส่วนเอวศัพท์ที่ประกอบในปาฐะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่าเป็นศัพท์จำกัดความ
มันส่องถึงความที่กาม
ทั้งหลาย แม้ไม่มีอยู่ในสมัยที่เข้าถึงปฐมฌานอยู่นั้น ก็เป็นปฏิปักษ์ต่อปฐมฌานนั้น
และความจะลุถึงปฐมฌานนั้น
ได้ก็ด้วยสละกามทั้งหลายนั้นเสียเท่านั้น คืออย่างไร ? คือเมื่อทำความจำกัดลงไปด้วยปาฐะว่า
" วิวจฺเจว กาเมหิ
สงัดจากกามทั้งหลายเทียว " ดังนี้ คำอธิบาย ( ต่อไป ) นี้ก็รู้ได้ชัดว่า
- " กาม ( กาม = กามฉันทนิวรณ์
คือความติดใจในกามคุณอารมณ์ อันมี รูป เสียง กลิ่น รส และ
การสัมผัสถูกต้อง) ทั้งหลายเป็นปฏิปักษ์ต่อฌานนี้แน่แท้ซึ่งเมื่อมันมีอยู่
ฌานนี้ย่อมเป็น
ไปไม่ได้ ดุจเมื่อความมืดมีอยู่ แสงประทีบก็ไม่มี ฉะนั้น และความบรรลุฌานนั้น
จะมีได้ก็ด้วยสละกามทั้งหลายนั้นเสียเท่านั้น ดุจความลุถึงฝั่งนอกจะมีได้ด้วย
สละฝั่งในไปเท่านั้น *
เพราะเหตุนั้นเอวศัพท์นั้น จึงชื่อว่าทำความจำกัด
( ความ ) " ดังนี้
- ในปาฐะนั้น ปัญหาพึงมีว่า "
ก็เพราะเหตุไฉน เอวศัพท์นั้น ท่านจึงกล่าวไว้แต่ในบทหน้า หากล่าวในบทหลังไม่
แม้นบุคคลไม่สงัดจากธรรมทั้งหลายอันเป็นอกุศลแล้ว จะพึงเข้าถึงฌานอยู่ได้ละหรือ? คำเฉลยพึงมีว่า
" ก็ข้อ
ที่เอวศัพท์ท่านกล่าวไว้แต่ในบทหน้าไม่กล่าวในบทหลังนั้น บัณฑิตไม่พึงเห็นเช่นนั้น
อันเอวศัพท์นั้น ท่านกล่าวไว้ใน
บทหน้า
- *
กามฉันทนิวรณ์ทั้งหลายเป็นปฏิปักษ์ต่อ ปฐมฌาน และฌานทั้งหมด ความติดใจในรูปอันน่ารัก
น่าชอบใจ
ก็เป็นกามฉันทะนิวรณ์ นั่นเอง ดังนั้นถ้าสมาธิใดที่ พูดล่อให้อยากเห็น นิมิต
สวยๆ ใสๆ ไปดู นรก สวรรค์
อย่างนู้นอย่างนี้ แสดงให้เห็นว่า สมาธินั้นไม่ถึงปฐมฌานแน่นอน เพราะยังละกามฉันทนิวรณ์ไม่ได้
และไม่ใช่
สัมมาสมาธิแน่นอน เพราะเต็มไปด้วยอกุศลจิต ( กามฉันทนิวรณ์ ) ดังนั้นไม่ควรไปทำมิจฉาสมาธิเช่นนั้น
เพราะมีแต่โทษอย่างเดียวเท่านั้น
- ก็เพราะฌานเป็นนิสสรณะ ( เครื่องสลัดออก
) แห่งกามนั้น แท้จริง ฌานนี้ชื่อว่าเป็นเหตุออกไปแห่งกามทั้งหลาย
เท่านั้น *
เพราะเป็นทางก้าวล่วงกามธาตุ และเพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อกามราคะ ดังพระสารีบุตรกล่าวไว้
( ใน
ปฏิสัมภิทา ) ว่า " ธรรมชาตินั่นเป็นนิสสรณะแห่งกามทั้งหลาย ธรรมชาตินี้คืออะไร
? ธรรมชาตินี้คือเนกขัมมะ
( เนกขัมมะในที่นี้ หมายเพียง ฌานเท่านั้น ) " ดังนี้ แต่ทว่า เอวศัพท์ในปาฐะนี้
ควร ( นำมา ) กล่าวแม้ในบทหลัง
ด้วย เพราะว่าใครๆ หาอาจที่จะไม่สงัดจากธรรมทั้งหลายอันเป็นอกุศล กล่าวคือ นิวรณ์ข้ออื่นๆ
แต่กามฉันท์นี้แล้ว
เข้าถึงฌานอยู่ได้ไม่ เพราะเหตุนั้น เอวศัพท์นั้น บัณฑิตพึงเห็น ( ว่าท่านกล่าว
) ในบททั้ง ๒ ว่า " วิวิจฺเจว กาเมหิ
วิวิจฺเจว อกุสเลหิ ธมฺเมหิ " ดังนี้เถิด
- อนึ่ง วิเวกทั้งหลาย ( ประเภท ๕ ) มีตทังควิเวกเป็นต้นก็ดี
( ประเภท ๓ ) มีจิตตวิเวกเป็นอาทิก็ดี ย่อมสงเคราะห์
เข้าได้ทั้งหมดด้วยสาธารพจน์ ว่า " วิวิจฺจ " นี้ทั้ง ๒ บทก็จริงอยู่
ถึงอย่างนั้นบัณฑิตก็พึงเห็น ( ว่า ) ในฌานกถานี้
( ได้แก่ ) วิเวก ๓ คือ กายวิเวก จิตตวิเวก วิขัมภนวิเวก ( วิขัมภนวิเวก = ความสงัดจาก
นิวรณธรรม ชั่วขณะ
ที่เจริญฌานอยู่เท่านั้น พอออกจากฌาน นิวรณธรรมและ อกุศลธรรมต่างๆ ก็กลับมาเหมือนเดิม
) เท่านั้น
- * ฌานนี้เป็นข้าศึกโดยตรงต่อกามราคะ
เช่นเดียวกับเมตตา เป็นข้าศึกโดยตรงต่อพยาบาท เป็นต้น