- เพราะเหตุที่ในภาวนาจิตนั้น ญาณย่อมปรากฏด้วยอำนาจแห่งอุเบกขา
ดังพระบาลีว่า พระโยคาวจรย่อมเพ่ง
ดูอยู่เฉยๆ ด้วยดีซึ่งจิตที่ยกขึ้น ( ด้วยวิริยสัมโพชฌงค์ ) อย่างนั้นแล้ว ปัญญินทรีย์ย่อมเป็นคุณมีประมาณยิ่งด้วย
อำนาจแห่งอุเบกขาและด้วยอำนาจแห่งปัญญา จิตย่อมพ้นจากกิเลสอันมีสภาพต่างๆ ด้วยอำนาจแห่งอุเบกขา
ปัญญินทรีย์ย่อมเป็นคุณมีประมาณยิ่งด้วยอำนาจแห่งความพ้น และด้วยอำนาจแห่งปัญญา
เพราะพ้น ( จากกิเลส
ต่างๆ ชั่วคราว ) แล้ว ธรรมทั้งหลายเหล่านั้น ( มีศรัทธาเป็นต้น ) ย่อมเป็นธรรมมีรสเป็นอันเดียว
เพราะอรรถคือ
ความมีรสเป็นอันเดียว ( แห่งธรรมเหล่านั้น ) ภาวนาจึงมี " ดังนี้ เพราะเหตุนั้น
สมฺปหํสนา อันเป็นกิจแห่งญาณ
ท่านจึงกล่าวว่า เป็นที่สุด ( แห่งปฐมฌาน )
- บัดนี้พึงทราบวินิจฉัยในปาฐะว่า
" ปฐมํ ฌานํ อธิคตํ โหติ ปฐวีกสิณํ " ( ปฐมฌานปฐวีกสิณเป็นอันพระ
โยคาวจรได้บรรลุแล้ว ) นี้ ( ต่อไป )
ปฐมฌาน
- ฌานนี้ชื่อว่าปฐม เพราะมีลำดับแห่งจำนวน
บ้างว่า ชื่อว่าปฐมเพราะเกิดขึ้นเป็นทีแรก คุณอันนี้ได้ชื่อว่าฌาน
เพราะเข้าไปเพ่งอารมณ์ หรือว่าเพราะเผาเสียซึ่งธรรมอันเป็นข้าศึก ส่วนวงดินท่านเรียกว่า
ปฐวีกสิณ เพราะ
หมายถึงดินทั่วไป แม้นิมิตที่พระโยคาวจรอาศัยวงดินนั้นได้ขึ้นก็เรียกปฐวีกสิณ
ถึงฌานที่ได้ในเพราะนิมิตก็เรียกว่า
ปฐวีกสิณ ในอรรถว่าแห่งปฐวีกสิณ ๓ อย่างนั้น ในอรรถนี้บัณฑิตพึงทราบว่า ฌานชื่อว่าปฐวีกสิณ
ปาฐะว่า
" ปฐมํ ฌานํ อธิคตํ โหติ ปฐวีกสิณํ " นั้นท่านกล่าวหมายเอาอรรถนี้
- ก็แลครั้นได้บรรลุฌานอย่างนี้แล้ว พระโยคีนั้นพึงกำหนดจับอาการทั้งหลายในฌานนั้นให้ได้
เยี่ยงนักยิงขนทราย
และพ่อครัวฉะนั้น อันนายขมังธนูผู้ชาญฉลาด ทำงานในการยิงขนทรายอยู่ ยิงถูกขนทรายในวาระใด
พึงกำหนดจับ
อาการแห่งเท้าที่เหยียบยัน แห่งคันธนู แห่งสายธนู และแห่งลูกธนู ในวาระนั้นว่า
เรายืนด้วยอาการอย่างนี้ จับคัน
ธนูอย่างนี้ จับสายธนูอย่างนี้ จับลูกธนูอย่างนี้ จึงยิงถูกขนทราย ดังนี้
- แต่นั้นไปเขาทำอาการเหล่านั้นให้ถูกท่าอย่างนั้นอยู่
จะพึงยิงขนทรายไม่พลาดได้ ฉันใด แม้พระโยคีก็ฉันนั้นแล
ต้องกำหนดจับอาการทั้งหลายมีโภชนสัปปายะเป็นอาทิเหล่านี้ว่า " เราบริโภคโภชนะชื่อนี้แล้วคบบุคคลรูปนี้
อยู่ในเสนาสนะเช่นนี้ ได้บรรลุฌานนี้โดยอิริยาบถท่านี้ในกาลนี้ " ดังนี้
ด้วยเมื่อกำหนดจับได้อย่างนั้น ครั้นฌาน
( อ่อนๆ ) นั้นเสื่อมไปเสียก็ดี เธอก็จักอาจเพื่อจะทำอาการเหล่านั้นให้ถึงพร้อมแล้วยังฌานนั้นให้เกิดขึ้นได้อีก
เมื่อจะทำฌานนั้นอันยังไม่คล่องแคล่วให้คล่องแคล่วก็ดี เธอก็อาจจักทำให้ถึงอัปปนาได้บ่อยๆ
อนึ่ง เปรียบเหมือน
พ่อครัวผู้ฉลาด ปรนเปรอนายจ้างอยู่ นายจ้างบริโภคอาหารใดๆ ด้วยความพอใจ สังเกตอาหารนั้นๆ
ไว้แล้ว
แต่นั้นไปก็น้อมนำอาหารอย่างนั้นแลเข้าไปให้นายจ้างนั้น ย่อมได้รางวัล ฉันใด
แม้พระโยคีนี้ก็ฉันนั้น จับอาการ
ทั้งหลายมีการบริโภคโภชนะเป็นต้นในขณะที่ได้บรรลุ ( ฌาน ) แล้วทำอาการเหล่านั้นให้ถึงพร้อมก็ย่อมเป็นผู้ได้
อัปปนาบ่อยๆ
- เพราะเหตุนั้น อาการทั้งหลาย ( ดังกล่าวมา ) พระโยคีนั้น
ต้องกำหนดจับให้ได้ดุจนักยิงขนทราย และดุจ
พ่อครัวฉะนั้น จริงอยู่ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสความข้อนี้ไว้ว่า "
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พ่อครัวผู้ฉลาด
เชี่ยวชาญพึงเป็นผู้ปรนนิบัติพระราชาบ้าง ราชมหาอำมาตย์บ้าง ด้วยแกงอันปรุงรสต่างๆ
คือรสค่อน
ข้างเปรี้ยวบ้าง รสค่อนข้างขมบ้าง รสค่อนข้างเผ็ดบ้าง รสค่อนข้างหวานบ้าง รสกร่อยบ้าง
รสชืดบ้าง
รสเค็มบ้าง รสจืดบ้าง
- ภิกษุทั้งหลาย พ่อครัวผู้ฉลาดเชี่ยวชาญนั้นแล
ย่อมเรียนอาการ แห่งนายจ้างของตนว่า " วันนี้แกง
นี้ชอบใจนายจ้างของเรา หรือว่า นายจ้างของเรายื่น ( มือ ) จำเพาะเพื่อแกงนี้
หรือว่านายจ้างของ
เราตักแกงนี้มาก หรือว่า หรือว่าวันนี้แกงรสเปรี้ยวชอบใจนายจ้างของเรา หรือว่านายจ้างของเรายื่น
( มือ ) จำเพาะเพื่อแกงรสเปรี้ยว หรือว่านายจ้างของเราตักแกงรสค่อนข้างเปรี้ยวมาก
หรือว่านาย
จ้างของเราชมแกงรสค่อนข้างเปรี้ยว ฯลฯ หรือว่านายจ้างของเราชมแกงรสจืด "
ภิกษุทั้งหลาย พ่อครัว
ผู้ฉลาดเชี่ยวชาญนั้นแล ย่อมเป็นผู้ได้เครื่องนุ่งห่ม ได้บำเหน็จและได้รับคำยกย่อง
นั่นเพราะเหตุไร
เพราะพ่อครัวผู้ฉลาดเชี่ยวชาญนั้น เรียนอาการแห่งนายจ้าง ของตนไว้ได้ดังกล่าวนั้น
ฉันใดก็ดี ภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุผู้บัณฑิตเฉลียวฉลาดลางรูปในธรรมวินัยนี้ตามดูกายในกายอยู่ ตามดูเวทนาใน
เวทนาทั้งหลายอยู่ ตามดูจิตในจิตอยู่ ตามดูธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ พึงเป็นผู้มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ เมื่อเธอตามดูกายในกาย ตามดูเวทนาใน
เวทนาทั้งหลาย ตามดูจิตในจิต ตามดูธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ จิตย่อมเป็นสมาธิ อุปกิเลสทั้งหลาย
เธอละได้ เธอก็เรียนอาการนั้นไว้ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้บัณฑิตเฉลียวฉลาดนั้นแล
ย่อมเป็นผู้ได้ทิฏฐธรรม
สุขวิหาร ( ฌาน ) ทั้งหลายได้สติสัมปชัญญะ นั่นเพราะเหตุไร ภิกษุทั้งหลาย เพราะภิกษุผู้บัณฑิตเฉลียว
ฉลาดนั้นเรียนอาการแห่งจิตของตนไว้ได้ดังกล่าวนั้น "
ดังนี้
- ก็แล เมื่อพระโยคีนั้นใช้วิธีจับอาการ
( แห่งจิตของตนเป็นร่องรอย ) ทำอาการเหล่านั้นให้ถึงพร้อมได้อีก
ก็ชั่วแต่อัปปนา ( ฌานจิต ) สำเร็จ ความตั้งอยู่นานหามีไม่ อันความตั้งอยู่นานจะมีได้ก็เพราะธรรมทั้งหลายที่
เป็นข้าศึกแห่งสมาธิถูกชำระไปอย่างดีแล้ว แท้จริงภิกษุใดมิได้ข่มกามฉันท์เสียอย่างดีด้วยปัจจเวกขณวิธีมี
พิจารณาโทษของกามเป็นต้น มิได้บรรเทาถีนมิทธะเสียอย่างดีด้วยอำนาจแห่งมนสิการวิธี
มีมนสิการถึงอารัมภ
ธาตุ ( ธาตุริเริ่ม ) เป็นต้น มิได้ทำอุทธัจจกุกกุจจะให้ถอนขึ้นเสียอย่างดีด้วยอำนาจแห่งมนสิการวิธี
มีมนสิการ
ถึงสมถะนิมิตเป็นต้น มิได้ชำระธรรมที่เป็นข้าศึกแห่งสมาธิอื่นๆ อีกเสียด้วยดีแล้วเข้าฌาน
ภิกษุนั้นจะออก
( จากฌาน ) เร็วโดยแท้ ดังแมลงภู่ที่เข้าสู่ ( ปล่อง ) ที่อาศัยอันมิได้ทำให้หมดจด
ย่อมออกมาเร็ว และดังพระราชา
ผู้เสด็จเข้าสู่อุทยานอันไม่สะอาด ย่อมเสด็จออกโดยเร็ว ฉะนั้น
- ส่วนภิกษุใดยังธรรมทั้งหลายที่เป็นข้าศึกแห่งสมาธิให้หมดจดด้วยดีแล้วเข้าฌาน
ภิกษุนั้นจะอยู่ภายในสมาบัติ
ได้ตลอดทั้งวัน ดังแมลงภู่เข้าสู่ ( ปล่อง ) ที่อาศัยอันทำให้หมดจด ( อยู่ภายในปล่องที่อาศัยได้นาน
) และดังพระราชา
ผู้เสด็จเข้าสู่อุทยานที่สะอาดดี ( เสด็จอยู่ในอุทยานนั้นนาน ) ฉะนั้น เพราะเหตุนั้น
พระโบราณจารย์ทั้งหลายจึง
กล่าวไว้ว่า
- " พระโยคาวจรพึงถ่ายถอนเสียซึ่งฉันทะในกามทั้งหลาย
ซึ่งปฏิฆะ ( ความไม่พอใจ ) ซึ่งอุทธัจจะ
( กุกกุจจะ )และ ( ถีนะ ) มิทธะ ครบ ๕ ทั้งวิจิกิจฉา ( เข้าฌาน ) มีใจอันทำความบันเทิงในวิเวกยินดี
อยู่ในฌานนั้น ดุจพระราชาผู้เสด็จไปสู่อุทยานอันสะอาดทั่วถึงแล้ว ทรงยินดีอยู่ในอุทยานนั้น
ฉะนั้น "
- เพราะเหตุนั้น พระโยคาวจรผู้ปรารถนาความตั้งอยู่นาน
( แห่งฌานจิต ) พึงยังธรรมอันเป็นข้าศึกทั้งหลาย
ให้หมดจดแล้วจึงเข้าฌานเถิด
- อนึ่ง เพื่อความไพบูลย์แห่งจิตตภาวนา
พระโยคาวจรพึงขยาย ( ส่วน ) ปฏิภาคนิมิตตามที่ได้ไว้แล้ว ภูมิแห่ง
การขยายปฏิภาคนิมิตนั้นมี ๒ คือ ( ขั้น ) อุปจารก็ได้ ( ขั้น ) อัปปนาก็ได้ แท้จริง
แม้นถึง ( ขั้น ) อุปจารแล้ว
จะขยายปฏิภาคนิมิตนั้นก็ควร แต่แม้นถึง ( ขั้น ) อัปปนาแล้ว ก็จำต้องขยายในฐานะ
( จุด ) หนึ่งเป็นแน่แท้ เพราะ
เหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า " พึงขยาย ( ส่วน ) ปฏิภาคนิมิตตามที่ได้ไว้แล้ว
"
- ( ต่อไป ) นี้เป็นนัยในการขยายปฏิภาคนิมิตนั้น
พระโยคีนั้นไม่พึงขยายนิมิตนั้นโดยทำนองขยายบาตร ( ดิน )
ทำนองขยายขนม ทำนองขยายข้าว ทำนองขยายตัวแห่งเถาวัลย์และทำนองขยายผ้า พึงนึกกำหนด
( ขยาย )
ขนาดแห่งนิมิตที่ได้ไว้อย่างไรนั้นว่า ( จงขยาย ) ประมาณ ๑ องคุลี ( องคุลี =
นิ้ว ) ๒ องคุลี ๓ องคุลี ๔ องคุลี
... โดยลำดับ แล้วจึงขยายเท่าที่กำหนดไว้ หากมิได้กำหนด ( ดังกล่าว ) ไม่ควรขยาย
เปรียบเหมือนชาวนา
กำหนดที่ๆ จะพึงไถด้วย ( รอย ) ไถแล้วจึงไถไปภายในที่กำหนดไว้ ฉะนั้น อนึ่งเหมือนภิกษุทั้งหลายจะผูกสีมา
กำหนดนิมิตทั้งหลายก่อนแล้วจึงผูกภายหลัง ฉะนั้น แต่นั้นเมื่อจะขยาย ( ต่อไป
) ก็พึงกำหนดโดยขนาดคืบ ๑ ศอก
๑ เท่าบริเวณด้านหน้า ( แห่งวิหาร ) เท่าแดนวิหาร และแล้ว เท่าแดนหมู่บ้าน แดนนิคม
แดนชนบท แดนราช
อาณาเขต และแดนสมุทร หรือโดยขนาดเท่าจักรวาล หรือแม้ยิ่งกว่านั้น ก็ขยายไปได้
เปรียบเหมือนลูกหงส์ ตั้งแต่
กาลที่ ( ขน ) ปีกงอกไป ( มันหัด ) โผไปทีละน้อยๆ กล้าแข็งเข้า ก็ ( บิน ) ไปสู่ที่ใกล้พระจันทร์พระอาทิตย์ได้โดย
ลำดับ ฉันใดภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อกำหนด ( ขนาด ) แล้วขยายนิมิตไปโดยนัยที่กล่าวแล้ว
ก็ย่อมขยายไปจน
เท่าขนาดจักรวาล หรือยิ่งกว่านั้นได้ ทีนี้นิมิตนั้นย่อมเป็น ( ปรากฏ ) แก่เธอ
ดุจหนังโคตัวผู้ที่ถูกสับด้วยขอตั้ง ๑00
( แผล ) ในเพราะที่สูงๆ ต่ำๆ เป็นแม่น้ำเป็นหล่มเลน เป็นภูเขาขรุขระแห่งแผ่นดินในที่ๆ
ขยายไปๆ
- ก็แลพระอาทิกัมมิกะ ( ผู้ได้ปฐมฌานเป็นครั้งแรก
) ผู้ได้ปฐมฌานในเพราะนิมิตนั้นแล้ว พึงเป็นผู้เข้า ( ฌาน )
ให้มาก ไม่พึงปัจจเวกขณ์มาก เพราะเมื่อเธอปัจจเวกขณ์มากไป องค์ฌานทั้งหลายจะปรากฏเป็นหยาบและมี
กำลังเพลา ( มหาฎีกาว่า หยาบเพราะปัจจเวกขณ์เสียจนชัด กำลังเพลาเพราะไม่เชี่ยวชาญในการเข้าฌาน
)
ทีนี้ เพราะปรากฏเสียอย่างนั้นแล้ว องค์ฌานเหล่านั้นก็จะไม่สำเร็จเป็นปัจจัยแห่งความขวนขวายในเบื้องสูงของ
เธอ ( ต่อไป ) เธอขวนขวายไปในฌานอันไม่คล่องแคล่ว ( ในการเข้า ก็กลับ ) จะเสื่อมจากปฐมฌาน
และไม่อาจ
บรรลุทุติยฌานได้เสียด้วย เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ว่า "
ดูกรภิกษุทั้งหลายเปรียบเหมือน
แม่โคที่หากินบนภูเขา ( แต่มัน ) เป็นสัตว์โง่เซอะ ไม่รู้จักเขต ( ที่จะไปได้ไม่ได้
) ไม่ฉลาดที่จะเที่ยว
ไปบนภูเขาอันขรุขระ มันมีความรำพึงไปว่า ไฉนมันจะได้ไปทางทิศที่ไม่เคยไปบ้าง
จะได้กินหญ้าที่ไม่
เคยกินบ้าง จะได้ดื่มน้ำดื่มที่ไม่เคยดื่มบ้าง ดังนี้แล้วมัน ( จะออกเดินไป ) ยังมิได้ตั้งเท้าหน้าให้มั่น
ยกเท้าหลังขึ้น มัน ( ก็จะพลาด ) ไม่ได้ไปทางทิศที่ไม่เคยไปด้วย ไม่ได้กินหญ้าที่ไม่เคยกินด้วย
ไม่ได้
ดื่มน้ำที่ไม่เคยดื่มด้วย ทั้งไม่ได้กลับไปสู่ที่ๆ มันยืน รำพึงว่าไฉนมันจะได้ไปทางทิศที่ไม่เคยไป
ฯลฯ
โดยสวัสดีด้วย
- นั่นเพราะเหตุอะไร ภิกษุทั้งหลาย
เพราะแม่โคนั้นเป็นสัตว์หากินบนภูเขา แต่โง่เซอะไม่รู้จักเขต
ไม่ฉลาดที่จะเที่ยวไปบนภูเขาอันขรุขระฉันใดก็ดี ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุลางรูปในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้นเหมือน
กัน เป็นคนโง่งุ่มง่ามไม่รู้จักเขต ( แห่งภาวนา ) ไม่ฉลาดที่จะสงัดจากกามทั้งหลาย
ฯลฯ เข้าถึงปฐมฌาน
อยู่ เธอไม่ส้องเสพ ไม่เจริญ ไม่ทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น และไม่ตั้งนิมิตนั้นไว้ให้มั่นดีแล้ว
จะมีความคิด
รำพึงว่า ไฉนหนอเราจะพึงเข้าถึงทุติยฌาน ฯลฯ เพราะวิตกวิจารสงบไปอยู่ ดังนี้
เธอก็ไม่อาจเข้า
ถึงทุติยฌาน ฯลฯ เพราะวิตกวิจารสงบไปอยู่ได้ ( ครั้นเข้าทุติยฌานไม่ได้ ) เธอจะ
( หวน ) รำพึง
ว่า ไฉนหนอเราจะพึงสงัดจากกามทั้งหลายแล้ว ฯลฯ เข้าถึงปฐมฌาน อยู่ ดังนี้ เธอก็หาอาจที่จะสงัดจาก
กามทั้งหลาย ฯลฯ เข้าถึงปฐมฌาน ... อยู่ได้ไม่ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เราเรียกว่าพลาดทั้งสองข้าง
เสื่อมทั้งสองทาง เปรียบเหมือนแม่โคตัวนั้นที่หากินบนภูเขา แต่โง่เซอะซะไม่รู้จักเขต
ไม่ฉลาดที่
จะเที่ยวไปบนภูเขาอันขรุขระฉะนั้น ( นวกังคุตตระ ๒๓/๔๓๓ ) ดังนี้
เพราะฉะนั้นพระโยคาวจรนั้น
พึงเป็นผู้บำเพ็ญวสี ( ความชำนาญ ) โดยอาการ ๕ ในปฐมฌานนั้นแลก่อน
วสี ๕
- ในอาการเหล่านั้น นี้ วสี
๕ คือ
- อาวัชชนวสี ชำนาญในการนึกหน่วง
- สมาปัชชนวสี ชำนาญในการเข้า
- อธิฏฐานวสี ชำนาญในการดำรงอยู่
- วุฏฐานวสี ชำนาญในการออก
- ปัจจเวกขณวสี ชำนาญในการพิจารณา
- พระโยคาวจรนึกหน่วงเอาปฐมฌานได้ในสถานที่ๆ
ต้องการ ในกาลที่ต้องการ ในระยะที่ต้องการ ความชักช้า
แห่งการนึกหน่วงหามีไม่ เพราะฉะนั้น อาการเช่นนั้นจึงชื่อ อาวัชชนวสี (
ชำนาญในการนึกหน่วง ) พระโยคาวจร
เข้าปฐมฌานได้ในสถานที่ๆ ต้องการ ฯลฯ ความชักช้าแห่งการเข้าหามีไม่ เพราะฉะนั้น
อาการเช่นนั้นจึงชื่อว่า
สมาปัชชนวสี ( ชำนาญในการเข้า ) แม้วสีที่เหลือ ก็พึงขยายความโดยนัยเดียวกันนี้
- ( ต่อไป ) นี้เป็นคำชี้แจงในวสี
๕ นั้น เมื่อใดพระโยคาวจรอาจส่งจิตไปในองค์ฌาน ๕ มิให้มีระหว่างได้
อย่างนี้คือ เมื่อเธอออกจากปฐมฌานแล้วนึกหน่วงเอาวิตกเป็นวาระแรก ชวนะอันมีวิตกเป็นอารมณ์นั้นแลแล่น
ไป ๔ หรือ ๕ วาระในลำดับแห่งอาวัชชนะที่ตัดภวังคเกิดขึ้น แต่นั้นภวังค์ ( เกิด
) ๒ วาระ ต่อนั้นอาวัชชนะ
อันมีวิจารณ์เป็นอารมณ์ ( ตัดภวังค์เกิดขึ้น ) อีก ( แล้ว ) ชวนะ ( ก็แล่นไป
) โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล
เมื่อนั้นอาวัชชนะวสีก็เป็นอันสำเร็จแก่เธอ ก็แล วสีนี้ที่ถึงความเป็นยอด ได้มีในยมกปาฏิหาริย์ของพระผู้มีพระ
ภาคเจ้า หรือของท่านผู้อื่น ( มีพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระเป็นอาทิ ) ในกาล
( แสดงปาฏิหาริย์ทันทีทันใด )
เช่นนั้น ขึ้นชื่อว่าอาวัชชนวสีรวดเร็วยิ่งกว่านี้หามีไม่ *
ส่วนความเป็นผู้สามารถในการเข้า ( ฌาน ) ได้เร็ว
ดุจการเข้าเมื่อครั้งทรมานนันโทปนันทนาคราช แห่งท่านพระมหาโมคคัลลานะ ชื่อว่าสมาปัชชนวสี
ความเป็น
ผู้สามารถที่จะยั้ง ( ฌานจิตให้เกิดดับต่อเนื่อง ) ไว้ได้ขณะหนึ่ง ชั่วลัดนิ้วมือทีเดียวก็ดี
ชั่วลัดนิ้วมือ ( อย่างมาก )
ถึง ๑0 ทีก็ดี ชื่อว่า อธิฏฐานวสี ความเป็นผู้สามารถที่จะออก ( จากฌาน
) ได้เร็วเช่นเดียวกันนั้นชื่อว่า
วุฏฐานวสี
- * มหาฎีกาว่า อาวัชชนวสี
ของท่านผู้อื่นนั้นถึงแม้จะรวดเร็ว แต่ก็ชั่วกาลอันสั้น ไม่เหมือนของพระศาสดา
ดังในคราวยมกปาฏิหาริย์ ซึ่งทรงทำได้ต่อกันไปนาน เป็น อสาธารณปาฏิหาริย์ ไม่มีผู้ใดทำได้