- ฝ่ายอุบาสิกาหวังใจว่า หลวงพี่ของฉันจะพาพระลูกชายของฉันมาประเดี๋ยวนี้ละ
ก็เฝ้ายืนมองหนทางอยู่ทุกวี่วัน
( วันนั้น ) นางเห็นท่านมาองค์เดียว สำคัญเอาว่า ชะรอยบุตรของตัวตายเสียแล้ว
พระเถระนี้จึงมาแต่ผู้เดียว
ก็ฟุบลงร้องไห้คร่ำครวญอยู่แทบเท้าพระเถระ พระเถระนึกรู้ว่า " ภิกษุหนุ่ม
( มาแล้ว ) ไม่ให้ใครรู้จักตัว เพราะความ
มักน้อย ( กลับ ) ไปเสียแล้วละซิหนอ " จึงปลอบนาง ( ให้คลายปริเทวะ ) แล้วเล่าประพฤติเหตุทั้งปวง
( ให้ฟัง )
แล้วนำผ้าสาฎก ( ผืนนั้น ) ออกจากถลกบาตรแสดง ( ให้เห็นเป็นพยาน ) อุบาสิกา (
ทราบความจริงเช่นนั้น )
เกิดความเลื่อมใส หันหน้าไปทางทิศที่พระลูกชายไป ก้มลงนมัสการพลางกล่าวว่า "
พระผู้มีพระภาคเจ้า
คงทรงทำภิกษุผู้เช่นดังบุตรเรา ( นี่แหละ ) หนอ ให้เป็นกายสักขี ( ผู้ถูกชี้เป็นตัวพยาน
) ตรัส รถวินีตปฏิปทา
นาลกปฏิปทา ตุวัฏฏกปฏิปทา *
และมหาอริยวงสปฏิปทา
- * มหาฎีกาว่า วินีตปฏิปทา
หมายเอาการปฏิบัติวิสุทธิ ๗ อันมาในรถวินีตสูตร ( มัขฌิมนิกาย ) ซึ่งกล่าว
ถึงกถาวัตถุ ๑0 ( ถ้อยคำที่ควรพูด, เรื่องที่ควรนำมาสนทนากันในหมู่ภิกษุ มี ๑๐
อย่างคือ
- ๑. อัปปิจฉกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้มี
ความปรารถนาน้อย
- ๒. สันตุฏฐิกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความสันโดษ
- ๓. ปวิเวกกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความสงัดกาย
สงัดใจ
- ๔. อสังสัคคกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่
- ๕. วิริยารัมภกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ปรารภความเพียร
- ๖. สีลกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ตั้งอยู่ในศีล
- ๗. สมาธิกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำจิตมั่น
- ๘. ปัญญากถา ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิด
ปัญญา
- ๙. วิมุตติกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำให้พ้นจากกิเลสและความทุกข์
- ๑๐. วิมุตติญาณทัสสนกถา
ถ้อยคำที่ชักนำ ให้เกิดความรู้ความเห็นในภาวะที่หลุดพ้นจากกิเลสและความทุกข์
) มีความมักน้อยเป็นต้นไว้ตอนต้นสูตร
- นาลกปฏิปทา หมายเอา ( โมไนย
) ปฏิปทา ที่ตรัสแก่พระนาลกเถระ ในขุททกนิกาย
- ตุวฏฺฏกปฏิปทา หมายเอา
ในขุททกนิกาย สุตตนิบาต
- ทั้งหมดนี้ มุ่งหมายถึง อัปปิจฉกถา
คือ ความปรารถนาน้อย ความมักน้อย
- อันแสดงความสันโดษด้วยปัจจัย ๔
และความยินดีในภาวนา น่าสรรเสริญ แม้ฉันอาหารอยู่ในเรือนของมารดา
บังเกิดเกล้าแท้ๆ ถึง ๓ เดือน เธอก็มิได้ปริปากว่า ฉันเป็นบุตรของท่าน ท่านเป็นมารดา
โอ อัจฉริยมนุษย์ ! "
สำหรับภิกษุ ( ผู้มีจิตไม่ติดข้อง ) อย่างนี้แล แม้ ( แต่ ) มารดาบิดา ยังหาเป็นปลิโพธไม่
จะกล่าวไยถึงตระกูล
อุปฐากอื่น ด้วยประการฉะนี้
ลาภปลิโพธ
- ปัจจัย ๔ ชื่อว่า ลาภ ถามว่า ปัจจัย ๔ นั้นเป็นปลิโพธได้อย่างไร?
แก้ว่า ก็ในที่ๆ ภิกษุผู้มีบุญไปๆ คนทั้งหลาย
ย่อมถวายปัจจัยมีของบริวารมาก เธอมัวอนุโมทนา มัวแสดงธรรมแก่คนเหล่านั้น ย่อมไม่ได้โอกาสจะทำสมณธรรม
ตั้งแต่อรุณขึ้นจนถึงปฐมยาม ( ต้อง ) เกี่ยวข้องกับคนมิได้ขาดสาย ซ้ำตอนเช้ามืดเล่า
พวกภิกษุผู้ถือบิณฑบาต
เป็นวัตรประเภทพาหุลลิกะ ( มักมากด้วยปัจจัย ) ก็พากันมาบอกว่า " ท่านผู้เจริญ
อุบาสกโน้น อุบาสิกาโน้น
อำมาตย์โน้น บุตรอำมาตย์โน้น ธิดาอำมาตย์โน้น ใคร่จะเห็นท่าน " เธอ ( ขัดเขาไม่ได้
) ก็บอกภิกษุเหล่านั้น
ให้ช่วยถือบาตรจีวรแล้ว เป็นผู้เตรียมที่จะไปทีเดียว เป็นผู้ ( ต้อง ) ขวนขวาย
( ในการสงเคราะห์ผู้อื่น )
อยู่เป็นนิจ ปัจจัยเหล่านั้นย่อมเป็นปลิโพธต่อภิกษุนั้นดังนี้ อันภิกษุ ( เช่น
) นั้น ต้องละทิ้งคณะเสีย จาริกไปแต่ผู้เดียว
ในถิ่นที่คนไม่รู้จักเธอ อย่างนี้เธอจึงจะตัดปลิโพธนั้นเสียได้
คณปลิโพธ
- คณะภิกษุผู้เรียนพระสูตรก็ดี คณะภิกษุผู้เรียนพระอภิธรรมก็ดี
ชื่อว่า คณะ ภิกษุใดมัวให้อุเทศบ้าง ปริปุจฉาบ้าง
แก่คณะนั้น ย่อมไม่ได้โอกาสสำหรับสมณธรรม คณะจึงเป็นปลิโพธต่อภิกษุนั้น คณปลิโพธนั้น
เธอพึงตัดเสียด้วย
อุบายดังต่อไปนี้ ถ้างาน ( เรียน ) ของภิกษุเหล่านั้นเสร็จไปแล้วมาก งานที่เหลือน้อยไซร้
เธอพึงทำงานนั้น
เสียให้เสร็จแล้วเข้าป่าไปเสียเถิด ถ้างานที่เสร็จแล้วน้อย ที่เหลือมากไซร้ เธอ
( พึงไปหาคณวาจก ( ผู้สอนหมู่ ) อื่น
ให้สอนแทน ) อย่างพึงไป ( ไกล ) เลย ๑ โยชน์ เข้าไปหาคณวาจกอื่น ( ซึ่งตั้งสำนักอยู่
) ภายในที่กำหนด ๑ โยชน์
ขอร้องให้ท่านช่วยสงเคราะห์ภิกษุในคณะของตน ด้วยสังคหวิธีมีให้อุเทศเป็นต้น (
แทนตน ) เถิด แม้นไม่ได้อย่างว่า
มานี้ ก็พึงบอก ( ภิกษุเหล่านั้น ) ว่า " อาวุโสทั้งหลาย กิจอย่างหนึ่งของข้าพเจ้ามีอยู่
( ไม่อาจสอนท่านทั้งหลายต่อ
ไปได้ ) เชิญท่านทั้งหลาย ( แยกย้าย ) ไปหาที่ ( เรียน ) ตามสะดวกเถิด "
ดังนี้แล้ว ละทิ้งคณะ ( ไป ) ทำงาน
ของตนเถิด
กัมมปลิโพธ
- นวกรรม ( การก่อสร้าง ) ชื่อว่า กัมมะ ( การงาน ) อันภิกษุผู้ทำนวกรรมนั้น
จำต้องรู้ทัพสัมภาระที่คนงาน
มีช่างไม้เป็นต้นได้ไว้แล้ว และยัง ( หา ) ไม่ได้ ต้องขวนขวาย ( ดูแล ) ในงานที่เขาทำเสร็จแล้วและยังไม่ได้ทำ
ผู้ทำนวกรรมต้องมีปลิโพธไปเสียทุกอย่างดังนี้แหละ แม้กัมมปลิโพธนั้น ก็พึงตัดเสียด้วยอุบายดังต่อไปนี้
ถ้างาน
เหลือน้อย พึงทำเสียให้เสร็จ ถ้าเหลือมาก หากเป็นนวกรรมของสงฆ์ไซร้ พึงมอบหมายแก่สงฆ์
หรือภิกษุผู้นำภาระ
( ในสังฆกิจ ) ทั้งหลาย " หากนวกรรมส่วนตัว พึงมอบแก่ผู้นำภาระของตน ไม่มีภิกษุผู้นำภาระเช่นนั้น
ก็พึงสละ
( งาน ) ให้แก่สงฆ์แล้วไปเถิด
อัทธานปลิโพธ
- การเดินทาง ( หมายเอาการเดินทางไปทำกิจ เช่น เป็นอุปัชฌายะ
ไปทำการบรรพชาอุปสมบท ไปในกิจนิมนต์
ไม่ใช่เดินทางไปจาริก ) ชื่อว่า อัทธานะ ก็บรรพชาเปกขะของภิกษุใดมีอยู่ ที่ไหนก็ดี
ปัจจัยชนิดไรๆ อันภิกษุใดจะ
พึงได้อยู่ที่ไหนก็ดี ถ้าภิกษุนั้นยังไม่ได้ ( พบ ) บรรพชาเปกขะและปัจจัยนั้น
เธอไม่อาจหยุดยั้งอยู่ได้ อันคมิกจิต
( ความคิดจะไป ) แม้แห่งภิกษุผู้เข้าป่าทำสมณธรรมอยู่ ก็เป็นของยากที่จะบรรเทาได้
เพราะฉะนั้น เธอพึงไปจัด
ทำกิจนั้นให้เสร็จแล้ว จึงทำความขวนขวายในสมณธรรมเถิด
ญาติปลิโพธ
- บุคคลทั้งหลายที่จำต้องรู้จัก
มีดังนี้คือ ใน ( ฝ่าย ) วัด พระอาจารย์ พระอุปัชฌายะ สัทธิวิหาริก อันเตวาสิก
ภิกษุร่วมอุปัชฌายะ ภิกษุร่วมอาจารย์ ใน ( ฝ่าย ) บ้านเรือน มารดา บิดา พี่น้องหญิง
พี่น้องชาย เป็นต้น ชื่อว่า
ญาติ บุคคลเหล่านั้น ( เกิด ) เป็นไข้ขึ้น จึงเป็นปลิโพธแก่ภิกษุนี้ เพราะเหตุนี้
ปลิโพธนั้น เธอพึงตัดด้วยการ
อุปัฏฐาก ทำบุคคลเหล่านั้น ( ผู้เป็นไข้ ) ให้ ( หาย ) เป็นปกติเสีย
- ในบุคคลเหล่านั้น ( ว่าถึง ) พระอุปัชฌายะเป็นไข้ก่อน
ถ้าท่านไม่หายเร็ว พึงปรนนิบัติท่านตลอดชีวิตเถิด
พระบรรพชาจารย์ พระอุปสัมปทาจารย์ สัทธิวิหาริก อันเตวาสิกที่ตน ( สวดกรรมวาจา
) ให้อุปสมบทและให้
บรรพชา และภิกษุร่วมอุปัชฌายะ ( เป็นไข้ ) ก็พึงปรนนิบัติอย่าง ( อุปัชฌายะ ) นั้นเถิด
ส่วนพระนิสยาจารย์
พระอุเทสาจารย์ นิสยันเตวาสิก อุเทสันเตวาสิก และภิกษุร่วมอาจารย์ พึงปรนนิบัติเพียงที่นิสัยและอุเทศยัง
ไม่ขาด ( แต่ ) เมื่อสามารถ ก็ควรปรนนิบัติต่อไปอีกแท้
- ในมารดาบิดา พึงปรนนิบัติเหมือนในอุปัชฌายะเถิด
จริงอยู่ มารดาบิดานั้น แม้หากท่านเป็นผู้สถิตอยู่ใน
ราชสมบัติ ถ้าท่าน ( ประชวร ) หวังได้รับการอุปัฏฐากแต่บุตรไซร้ ภิกษุก็ควรทำ
( ให้ท่าน ) แท้ อนึ่ง ยาของ
ท่านไม่มี ก็พึงให้ยาอันเป็นของๆ ตน เมื่อยาของตนไม่มี ก็ควรแม้แสวงหาด้วยภิกขาจารมาให้
( ท่าน ) จงได้เถิด
- แต่สำหรับพี่น้องชายหญิง ( เป็นไข้
) พึงประกอบยาอันเป็นของๆ เขานั้นแหละให้ ( เขา ) ถ้า ( ของๆ เขา )
ไม่มี จึงให้ของๆ ตน เป็นของยืม เมื่อ ( หา ) ได้ภายหลัง จึงถือเอา ( คืน ) เมื่อ
( หา ) ไม่ได้ ก็อย่าทวงเลย
จะทำยา จะให้ยาแก่สามีของพี่น้องหญิงผู้มิใช่ญาติ ย่อมไม่ควร แต่พึงให้แก่พี่น้องหญิง
บอก ( เขา ) ให้ให้แก่
สามีของเขา นัยแม้ในภริยาของพี่น้องชาย ก็ดุจนัยนี้ ส่วนบุตรทั้งหลายของเขา เป็นญาติของเธอแท้
เพราะฉะนั้น
ทำ ( ยา ) ให้บุตรทั้งหลายของเขาเหล่านั้น ย่อมควร
อาพาธปลิโพธ
- โรคชนิดใดชนิดหนึ่ง ชื่อว่า อาพาธ
โรคนั้นมันเบียดเบียนเอา จึงชื่อว่า ปลิโพธ เพราะเหตุนั้น พึงตัดมันเสีย
ด้วยการทำเภสัช แต่ถ้าแม้เมื่อภิกษุทำเภสัช ( รักษาอยู่ ) สองสามวัน อาพาธไม่สงบไซร้
ก็พึงติเตียนร่างกาย
ว่า ข้าไม่ใช่บ่าว ไม่ใช่ลูกจ้างของเจ้า ก็ข้าเลี้ยงเจ้านี้แหละ จึงได้รับทุกข์ในสังสารวัฏอัน
( ยาวนาน ) ไม่ปรากฏ
เงื่อนต้น เงื่อนปลาย ( นี้ ) ดังนี้แล้ว ทำสมณธรรมเถิด
คันถปลิโพธ
- การบริหารปริยัติ ชื่อว่า คันถะ
การบริหารปริยัตินั้น ย่อมเป็นปลิโพธแก่ภิกษุผู้ขวนขวายอยู่เป็นนิจ ด้วยกิจ
มีการสาธยายเป็นต้นเท่านั้น หาเป็นปลิโพธแก่ภิกษุนอกนี้ไม่ เรื่องเหล่านี้ ( เป็นนิทัศนะ
) ในความที่คันถะไม่เป็น
ปลิโพธสำหรับภิกษุผู้ไม่ขวนขวาย
- ได้ยินมาว่า พระเทวเถระผู้เป็นมิชฌิมภาณกะ
( สวดมัชฌิมนิกาย ) ไปสู่สำนักของพระเทวะเถระชาวมลัย
ขอ ( เรียน ) กรรมฐาน พระเถระถามว่า อาวุโส ท่านเป็นผู้ ( ได้ ) ขนาดไหนในปริยัติ
พระมิชฌิมภาณกะตอบว่า
ท่านผู้เจริญ มัชฌิมนิกาย ข้าพเจ้าชำนาญ พระเถระกล่าวว่า อาวุโส อันมัชฌิมนิกายนั้นบริหารยาก
เมื่อสาธยาย
มูลปัณณาสกะ มัชฌิมปัณณาสกะก็มา ( คละ ) สาธยายมัชฌิมปัณณาสกะเล่า อุปริปัณณาสกะก็มา
( ปน )
( เมื่อยุ่งอยู่ไม่รู้จบเช่นนั้น ) ที่ไหนกรรมฐานจักมีแก่ท่านได้เล่า พระมิชฌิมภาณกะปฏิญญาว่า
ท่านผู้เจริญ
ข้าพเจ้าได้กรรมฐานในสำนักของพระคุณท่านแล้ว จักไม่เหลียวแล ( คันถะนั้น ) ต่อไปละ
ดังนี้แล้ว รับเอากรรมฐาน
( ไปทำความเพียร ) มิได้ทำการสาธยายถึง ๑๙ ปี ต่อปีที่ ๒0 ได้บรรลุพระอรหัตแล้ว
( วันหนึ่ง ) กล่าวแก่ภิกษุ
ทั้งหลายผู้พากันมาเพื่อจะสาธยาย ( สอบ ) ว่า อาวุโสทั้งหลาย เมื่อเรามิได้เหลียวแลปริยัติมาถึง
๒0 ปี แต่ว่า
เรามีการสั่งสมได้ทำไว้ในปริยัตินั้น เชิญท่านทั้งหลายเริ่ม ( สาธยายไป ) เถิด
( เมื่อภิกษุเหล่านั้น สาธยายไป
ปรากฏว่า ท่านยังจำปริยัตินั้นได้ดี ) ท่านมิได้มีความเคลือบแคลงแม้ในพยัญชนะสักตัวเดียว
ตั้งแต่ต้นจนจบ
- แม้พระนาคเถระ ผู้อยู่ ณ ภูเขากุรุนธิยคิรี
ทอดทิ้งปริยัติถึง ๑๘ ปี แล้วมาแสดงธาตุกถาแก่ภิกษุทั้งหลาย
เมื่อภิกษุเหล่านั้น ( จำเอาไป ) สอบเทียบกับพระเถระคามวาสิก ( มหาฎีกาว่า หมายถึงพระเถระทั้งหลายที่อยู่วัด
ในกรุงอนุราธปุระ ) ทั้งหลาย ปรากฏว่า ปัญหาแม้ข้อหนึ่งซึ่งมาผิดลำดับ ก็ไม่มี
- แม้ในมหาวิหาร พระเถระชื่อจูฬาภัยผู้เป็นติปิฏกะ
( ทรงปิฎกทั้ง ๓ ) มิได้เรียนอรรถกถาเลย ให้คนตีสุวรรณ
เภรีร้องป่าวไปว่า จักปริวัตร ( แปล ) ปิฎก ๓ ในวง ( ผู้ศึกษา ) ปัญจนิกาย (
๕ นิกายของพระไตรปิฎกมีทีฆนิกาย
เป็นต้น ) หมู่ภิกษุด้วยกัน ( ทราบว่า พระจูฬาภัยไม่มีครูอาจารย์ ) จึงแสร้งกล่าว
( ค้าน ) ว่า " ได้เรียนต่ออาจารย์
ไหนมา พระจูฬาภัยก็จงว่าแต่ที่ได้เรียนต่ออาจารย์ของตนเถิด เราทั้งหลายไม่ย่อมให้ว่าไปนอกนี้
" แม้พระอุปัชฌาย์
ก็ได้ถามเธอมาอุปฐากตนว่า อาวุโส เธอหรือให้ตีเภรี เธอรับว่า ใช่ พระอุปัชฌาย์จึงถามอีกว่า
เพราะเหตุอะไร
เธอกราบเรียนว่า เธอจักปริวัตรธรรม ( ให้คนฟัง ) พระอุปัชฌาย์ ( ลอง ) ถามว่า
แน่ะอาวุโสอภัย อาจารย์ทั้งหลาย
กล่าวบทนี้อย่างไร เธอตอบ ( ทันที ) ว่า กล่าวอย่างนี้ พระอุปัชฌาย์แสร้งปฏิเสธด้วยเสียงว่า
หึหึ เธอก็ตอบใหม่
โดยปริยายอื่นๆ ว่า กล่าวอย่างนี้ๆ ถึง ๓ ครั้ง พระเถระก็ปฏิเสธด้วยเสียง หึหึ
ทั้งหมด แล้วกล่าวว่า แน่ะอาวุโส
ทางที่เธอกล่าวตอบครั้งแรกนั่นแหละเป็นอาจริยมรรค ( กถามรรคของอาจารย์ ) แต่เพราะเธอไม่ได้เรียนต่อ
อาจริยมุข ( ปากของอาจารย์ )
- จึงไม่อาจยืนยันว่า อาจาย์ทั้งหลายกล่าวอย่างนี้
( เพราะฉะนั้น ) เธอจงไปฟังในสำนักแห่งอาจารย์ทั้งหลาย
( ที่ควรจะเป็นอาจารย์ ) ของตนเถิด เธอกราบเรียนถาม ( หารือ ) ว่า จะไปที่ไหน
( ดี ) พระอุปัชฌาย์จึงบอกว่า
พระเถระชื่อ มหาธรรมรักขิต ผู้เชี่ยวชาญปริยัติทั้งปวง อยู่ประจำ ณ วัดเขาตุลาธารบรรพตในโรหณชนบท
ฟากแม่น้ำข้างโน้น เธอจงไปสู่สำนักของท่านเถิด
- พระจูฬาภัยรับคำ กราบพระเถระแล้ว
( ต่อมา ) ไปสู่สำนักพระ ( ธรรมรักขิต ) เถระ พร้อมด้วยภิกษุ
( บริวาร ) ๕00 ( ครั้นไปถึงแล้วเข้าไป ) กราบแล้ว นั่งลง พระเถระถามว่า มาทำไม
ก็ทราบเรียนว่า มาเพื่อฟัง
ธรรม พระเถระจึงว่า อาวุโสอภัย ภิกษุทั้งหลายมาถามฉัน ในทีฆนิกายและมัชฌิมนิกาย
( บ้าง ) เป็นครั้งเป็นคราว
ส่วนสูตรที่เหลือฉันไม่เคยเหลียวแลมาประมาณ ๓0 ปีแล้ว เอาอย่างนี้เถิด กลางคืนเธอ
( มา ) ปริวัตรในสำนัก
ของฉัน กลางวันฉันจักกล่าวแก่เธอ ( ให้ฟังว่าผิดถูกอย่างไร ) พระจูฬาภัยตกลงทำอย่างนั้น
- พวกชาวบ้านให้ทำปะรำใหญ่ที่ข้างประตูบริเวณแล้ว
มาฟังธรรมกันทุกวัน พระเถระเอาสูตรที่พระจูฬาภัย
ปริวัตรในกลางคืน มากล่าว ( สอบ ) ในกลางวัน ( ไม่มีผิด ) เรื่อยๆ ไปจนจบ ( พระสูตร
) แล้ว ( คงจะสังเกต
เห็นว่าพระจูฬาภัยมีปฏิภาณสูงกว่าตน จึงวันหนึ่งเข้าไป ) นั่งบนเสื่อ ( มหาฎีกาว่า
ทีแรกนั่งบนตั่ง ในฐาน
เป็นอาจารย์แล้วทีนี้จะขอเป็นศิษย์บ้างก็ต้องลด ลงนั่งบนเสื่อที่พื้น ให้เสมอกับอาจารย์
) ใกล้ๆ พระอภัยเถระ
กล่าวว่า " อาวุโส ท่านจงบอกกรรมฐานแก่ฉันด้วยเถิด " พระจูฬาภัยจึงว่า
" พระคุณท่านพูดอะไร เจ้าข้า
กรรมฐานนั้น ข้าพเจ้าก็ฟังมาในสำนักของพระคุณท่านนั่นเอง มิใช่หรือ ข้าพเจ้าจักบอกกรรมฐานอะไร
( อีก )
เล่า ที่พระคุณท่านยังไม่รู้ " ทราบกันว่า เวลานั้นพระอภัยเถระ เป็นพระโสดาบัน
- ครั้งนั้น พระจูฬาภัยให้กรรมฐานแก่พระเถระแล้ว ก็ ( กลับ
) มาปริวัตรธรรมที่โลหประสาท ( กรุงอนุราธปุระ )
( ต่อมา ) ได้ยินข่าวว่า พระเถระ ( สำเร็จพระอรหัต ) ปรินิพพานแล้ว ครั้นได้ยิน
( เช่นนั้น ) จึงบอก ( ศิษย์ )
ให้หยิบจีวรมาให้ ห่มจีวร ( เป็นปริมณฑล มหาฎีกาว่า ก่อนจะพูดถึงอาจารย์ ห่มจีวรให้เรียบร้อยเสียก่อน
เพื่อแสดงความเคารพยำเกรง ) แล้ว กล่าวสรรเสริญพระเถระ ( ในท่ามกลางภิกษุทั้งหลาย
) ว่า " อาวุโสทั้งหลาย
พระอรหัตมรรคควรแก่ท่านอาจารย์ของเราแล้วละ ท่านอาจารย์ของเราเป็นผู้ซื่อตรง
เป็นอาชาไนยบุคคล
( มหาฎีกาว่า ท่านเป็นผู้ซื่อตรง เพราะไม่มีสาไถย คือไม่อวดดี นับเป็นอาชาไนย
เพราะรู้เหตุที่ควรรู้ ไม่มัวงมอยู่ )
ท่านจึงยอมนั่งบนเสื่อใกล้ธัมมันเตวาสิกของตน กล่าวว่า " เธอจงบอกกรรมฐานแก่ฉันด้วยเถิด
" อาวุโสทั้งหลาย
พระอรหัตมรรค สมควรแก่พระเถระท่านแล้ว "
- คันถะ ย่อมไม่เป็นปลิโพธแก่ภิกษุทั้งหลายผู้มีคุณธรรมเช่นนี้