ถือโดยอาการ ๕ เพิ่มเติม
- ฝ่ายว่ากุลบุตรใด ( เคย ) เสพกรรมฐาน
บริหารธุดงค์ จตุธาตุววัฏฐาน จับสังขาร ( โดยลักขณญาณ )
กำหนดนามรูป เพิกสัตตสัญญา ทำสมณธรรม อบรมวาสนา บำเพ็ญภาวนามาแล้วในสำนักของพระพุทธเจ้า
ในปางก่อนทั้งหลาย เป็นผู้มีพืช ( คือกุศลอันเป็นอุปนิสัยทางวิวัฏฏะ ) เป็นผู้มีญานยิ่ง
มีกิเลสน้อย ปฏิภาคนิมิต
ย่อมปรากฏแก่กุลบุตรผู้นั้นได้ทุกที่ๆ เธอได้ดู ( อสุภ ) ถ้าไม่ปรากฏ ( โดยง่าย
) อย่างนั้น ครั้นเธอถือเอานิมิต
โดยอาการ ๖ ที่กล่าวมาแล้วนั้น ก็จะปรากฏได้ แต่แม้ ( ถือเอาโดยอาการ ๖ ) อย่างนั้น
ก็ยังไม่ปรากฏแก่กุลบุตรใด
กุลบุตรนั้นจึงควรถือเอานิมิตโดยอาการ ๕ ด้วยอีก คือ โดยที่ต่อ โดยช่อง โดยที่เว้า
โดยที่นูน โดยรอบตัว
โดยที่ต่อ
- ในข้อเหล่านั้น ข้อว่า โดยที่ต่อ
ได้แก่โดยที่ต่อ ๑๘0 แห่ง แต่ว่าพระโยคาวจรจักกำหนดดูที่ต่อ ( ตั้ง )
๑๘0 แห่งในอุทธุมาตกอสุภอย่างไรได้ เพราะฉะนั้นพึงกำหนดโดยที่ต่อแต่ตามที่ต่อใหญ่
๑๔ แห่ง ดังนี้ คือ ที่ต่อ
ทางมือขวา ๓ ที่ต่อทางมือซ้าย ๓ ที่ต่อทางเท้าขวา ๓ ที่ต่อทางเท้าซ้าย ๓ ที่ต่อคอ
๑ ที่ต่อสะเอว
โดยช่อง
- ข้อว่าโดยช่อง คือหว่างมือ หว่างเท้า
หว่างท้อง หว่างหู เป็นต้น ชื่อว่าช่อง พระโยคาวจรพึงกำหนดดูโดย
ช่องอย่างนั้นเถิด แม้ความที่ในตาหลับก็ดี เหลือก็ดี แม้ความที่ปากหุบก็ดี อ้าก็ดี
ก็พึงกำหนดดู ( ด้วย )
โดยที่เว้า
- ข้อว่าโดยที่เว้า คือ ที่ใดเป็นที่หวำลงในสรีระ
ได้แก่เบ้าตาก็ดี ข้างในปากก็ดี หลุมคอก็ดี พึงกำหนดดูที่นั่น อีก
นัยหนึ่งพึงกำหนดว่า " เรายืนอยู่ที่ลุ่ม ซากศพอยู่ที่ดอน "
โดยที่นูน
- ข้อว่าโดยที่นูน คือที่ใดเป็นที่สูงขึ้นในสรีระ
ได้แก่หัวเข่าก็ดี อกก็ดี หน้าผากก็ดี พึงกำหนดดูที่นั้น อีกนัยหนึ่ง
พึงกำหนดว่า " เรายืนอยู่ที่ดอน ซากศพอยู่ที่ลุ่ม "
โดยรอบตัว
- ข้อว่า โดยรอบตัว ความว่า พึงกำหนดดูร่างทั้งหมดโดยรอบ
คือพึงยังญาณให้ท่องเที่ยวไปในร่างทั้งสิ้น แห่งใด
ปรากฏเป็นอุทธุมาตกะชัด ก็ตั้งจิตบริกรรมว่า อุทฺธุมาตกํ อุทฺธุมาตกํ
ที่แห่งนั้น ถ้าแม้ว่ากำหนดดูโดยอาการ
อย่างนั้นแล้ว อุทธุมาตกภาวะ ก็ยังไม่ปรากฏไซร้ ร่าง ( ท่อนบน ) แค่ท้อง ย่อมจะขึ้นมากกว่า
( ท่อนล่าง ) พึง
ตั้งจิตบริกรรมว่า อุทฺธุมาตกํ อุทฺธุมาตกํ ที่ร่างท่อนนั้นก็ได้
วินิจฉัยอุคคหนิมิตเป็นอาทิ
- คำต่อไปนี้ เป็นคำวินิจฉัยในอรรถกถาปาฐะมีคำว่า
" เธอย่อมทำนิมิตนั้นให้เป็นสิ่งที่ถือเอาได้อย่างดีแล้ว "
ดังนี้เป็นอาทิ อันพระโยคีนั้นพึงถือเอานิมิตในซากนั้นให้ดี โดย ( วิธี ) ถือเอานิมิตตามที่กล่าวแล้ว
พึงทำสติให้มั่น
ดีแล้วนึกหน่วงไป เธอผู้ทำ ( ความนึกหน่วง ) อย่างนั้นอยู่แล้วๆ เล่าๆ พึงจดจำและกำหนดเอาไว้ให้แม่นด้วย
เธอผู้ยืนก็ดี นั่งก็ดี ในที่ไม่ไกลนักไม่ใกล้นักแต่ซากศพ พึงลืมตาแลดูถือเอานิมิต
( ให้ได้ ) พึงบริกรรมว่า
อุทฺธุมาตกํ ปฏิกูลํ อุทฺธุมาตกํ ปฏิกูลํ ลืมตาแลดู หลับตานึกหน่วงไป
๑00 หน ๑,000 หน เมื่อเธอทำอยู่
อย่างนั้นเรื่อยไป อุคฺคหนิมิต ก็จะเป็นสิ่งที่เธอถือเอาได้อย่างดี
- ถามว่า อุคฺคหนิมิต จะเป็นสิ่งที่พระโยคาวจรถือเอาได้อย่างดีในกาลไร?
ตอบว่า ในกาลใด เมื่อเธอลืมตา
แลดูก็ดี หลับตานึกหน่วงก็ดี นิมิต ( ปรากฏ ) เป็นอย่างเดียวกัน ( กับรูปอสุภที่เพ่งดู
) มาสู่คลอง ( จักษุ )
ในกาลนั้น อุคฺคหนิมิต ชื่อว่าเป็นสิ่งที่เธอถือเอาได้อย่างดีแล้ว
- พระโยคาวจรนั้น ครั้นทำนิมิตนั้นให้เป็นสิ่งที่ถือเอาอย่างดี
จดจำไว้อย่างดี กำหนดไว้อย่างดีดังนี้แล้ว ถ้าไม่
อาจถึงที่สุดแห่งภาวนาในที่นั้นเลยไซร้ เมื่อเช่นนั้น เธอแต่ผู้เดียว ไม่ ( ต้อง
) มีสหาย มนสิการกรรมฐานนั้นแหละ
พลาง
- ทำสติให้ตั้งมั่นดี มีอินทรีย์ทั้งหลายอยู่กับตัว
( คือสำรวม ) มีความคิดไม่ไปนอกตัว ( คือไม่คิดกลัวอะไรไป
ต่างๆ ) โดยนัยที่กล่าวแล้วในเวลามานั่นแล ( กลับ ) ไปสู่เสนาสนะของตนเถิด อนึ่ง
เมื่อออกจากป่าช้านั้น พึงกำหนด
ดูทางมาด้วยว่า " เราออกทางใด ทางนี้ตรงไปทิศตะวันออก หรือว่าตรงไปทิศตะวันตก
เหนือ ใต้ หรือว่าตรงไปทิศ
เฉียง หรืออนึ่ง ตรงนี้ไปทางซ้าย ตรงนี้ไปทางขวา ตรงนี้มีก้อนหิน ตรงนี้มีจอมปลวก
ตรงนี้มีไม้ต้น ตรงนี้มีไม้กอ
ตรงนี้มีไม้เถา " เธอผู้กำหนดดูทางมาอย่างนี้ มา ( ถึงเสนาสนะของตน ) แล้ว
แม้นจะจงกรมก็พึงอธิษฐานจงกรม
อันเป็นการเกื้อกูลแก่ฝ่ายอสุภนั้นเท่านั้น หมายความว่าพึงจงกรมในภูมิประเทศอันหันหน้าไปทางทิศแห่งอสุภนิมิต
แม้จะนั่งก็พึงลาดอาสนะอันเกื้อกูลแก่ฝ่ายอสุภนั้นเหมือนกัน แต่ถ้าในทิศนั้น
บ่อก็ดี เหวก็ดี ต้นไม้ก็ดี รั้วก็ดี หล่มก็ดี
มีอยู่ เธอไม่อาจจงกรมในภูมิประเทศอันหันหน้าไปทางทิศนั้น แม้อาสนะก็ไม่อาจลาดได้เพราะไม่มีโอกาส
ก็ไม่ ( ต้อง )
เหลียวไปทางทิศนั้น พึงจงกรมและนั่งในที่อันควรแก่โอกาสก็ได้ แต่พึงทำจิตให้มุ่งต่อทิศนั้นไว้เท่านั้น
อธิบายคำแก้ปัญหาว่า การกำหนดจำนิมิตโดยรอบมีประโยชน์อะไร
- คำต่อไปนี้เป็นอธิบายคำแก้ ( ปัญหา
) มีคำว่า ( การกำหนดจำนิมิตโดยรอบ ) มีความไม่หลงเป็นประโยชน์
เป็นต้น แห่งปัญหาทั้งหลาย มีข้อว่า การกำหนดจำนิมิตโดยรอบมีประโยชน์อย่างไร
เป็นอาทิ
- ก็เมื่อพระโยคาวจรผู้ใด ไปสู่ที่ตั้งอุทธุมาตกนิมิตในเวลาไม่บังควร
( เช่นเวลาโพล้เพล้ ) ทำการกำหนดนิมิตแม้
โดยรอบแล้วลืมตาแลดู เพื่อถือเอานิมิตอยู่นั่นแล ซากนั้นจะปรากฏเป็นเหมือนลุกขึ้นยืน
เหมือนจะจับเอา และเหมือน
จะไล่เอา พระโยคาวจรนั้นเห็นซากนั้นเป็นอารมณ์พิลึกสะพึงกลัว ( เช่นนั้น ) แล้ว
ก็จะใจหายเหมือนจะเป็นบ้าไป
ถึงซึ่งความกลัว ความสยอง ความขนพอง จริงอยู่ ในอารมณ์ ๓๘ ที่ท่านจำแนกไว้ในบาลี
อารมณ์อื่นที่จัดว่าเป็น
อารมณ์น่ากลัวเห็นปานนี้หามีไม่ เพราะในกรรมฐานนี้ พระโยคาวจร ( ถึงกับ ) ได้ชื่อว่า
ฌานวิพภันตกะ ( สึกจาก
ฌาน ) ก็มี เพราะเหตุอะไร เพราะความที่กรรมฐาน ( นี้ ) เป็นกรรมฐานมีอารมณ์น่ากลัวยิ่ง
เพราะเหตุนั้น พระ
โยคาวจรผู้นั้น พึงแข็งใจทำสติให้ตั้งมั่นด้วยดี ปลงใจลงว่า " อันร่างที่ตายแล้วจะลุกขึ้นไล่
( คนเป็น ) ได้ไม่มี ก็ถ้า
ว่าก้อนหินหรือ ... ไม้เถา ที่อยู่ใกล้ๆ ร่างนั้นมันจะพึง ( เคลื่อน ) มาได้ไซร้
เจ้าร่าง ( นั่น ) ก็จะพึง ( ลุก ) มาได้บ้าง
แต่ก้อนหินหรือ ... ไม้เถานั้นหา ( เคลื่อน ) มาได้ไม่ฉันใด
- แม้เจ้าร่าง ( นั่น ) ก็ ( ลุก
) มาไม่ได้ฉันนั้น อันอาการที่ปรากฏแก่ท่านนี้ เป็นอาการเกิดแต่สัญญา ( ความจำ
)
เป็นขึ้นเพราะสัญญาดอก ( สัญญาในบริกรรม ) กรรมฐานจะปรากฏแก่ท่านในวันนี้แล้ว
ท่านอย่ากลัวเลยนะ ภิกษุ "
ดังนี้แล้ว บรรเทาตาสะ ( ความสะดุ้งกลัว ) เสีย ยังหาสะ ( ความร่าเริงยินดี )
ให้เกิดขึ้นแล้ว ยังจิตให้เพ่งทั่ว
ไปในนิมิตนั้นเถิด ( เมื่อทำได้ ) อย่างนี้ เธอก็จะได้บรรลุธรรมวิเสส ข้อว่าการกำหนดจำนิมิตโดยรอบ
มีความไม่หลง
เป็นประโยชน์นั้น พระอรรถกถาจารย์กล่าวหมายเอาคำ ( ที่อธิบายมา ) นี้
อธิบายคำแก้ปัญหาว่า การถือเอานิมิตโดยอาการ
๑๑ มีประโยชน์อย่างไร
- ก็พระโยคาวจร เมื่อยังการถือเอานิมิตโดยอาการ
๑๑ ให้สำเร็จชื่อว่านำกรรมฐานเข้าไปผูกไว้ได้ เพราะ
อุคคหนิมิตย่อมเกิดขึ้นแก่เธอ เพราะการลืมตาแลดู ( นิมิต ) เป็นปัจจัย เมื่อเธอยังมานัส
( ภาวนาจิต ) ให้เพ่ง
ทั่วไปในอุคคหนิมิตนั้น ปฏิภาคนิมิตจึงเกิด ยังมานัสให้เพ่งทั่วไปในปฏิภาคนิมิตนั้น
จึงถึงอัปปนา ตั้งอยู่ในอัปปนา
ยังวิปัสสนาให้เจริญแล้ว จึงทำให้แจ้งซึ่งพระอรหัตได้
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า การถือเอานิมิตโดยอาการ ๑๑
มีอันนำ ( กรรมฐาน ) เข้าไปผูกไว้ได้เป็นประโยชน์
อธิบายคำแก้ปัญหาว่า การพิจารณาดูทางไปมามีประโยชน์อย่างไร
- ส่วนในข้อว่า การพิจารณาดูทางไปมามีอันยังกรรมฐาน ( ที่เสื่อม
) ให้ ( กลับ ) ดำเนินสู่วิถีเป็นประโยชน์นั้น
- ความว่า การพิจารณาดูทางไปด้วยทางมาด้วยที่กล่าวแล้วอันใด
การพิจารณาอันนั้น มีประโยชน์ คือยัง
กรรมฐาน ( ที่เสื่อม ) ให้ดำเนินไปตามวิถีแห่งกรรมฐาน ความพิสดารว่า ถ้าใครๆ
ถามวันกะภิกษุนี้ผู้ถือเอา
กรรมฐานได้แล้ว ( กลับ ) มาว่า " ท่านเจ้าข้า วันนี้ดิถีที่เท่าไหร่ "
ก็ดี ถามปัญหาก็ดี ทำปฏิสันถารก็ดี ใน
ระหว่างทางไซร้ อันเธอจะนิ่งด้วยไว้ตัวว่า ฉันเป็นพระกรรมฐาน ( เดิน ) ไปเสีย
ก็ไม่ควร จำต้องบอกวัน ต้อง
แก้ปัญหา ถ้าไม่รู้ ก็ต้องพูดว่า อาตมาไม่ทราบ ต้องทำปฏิสันถารอันชอบธรรม เมื่อเธอมัวทำอยู่อย่างนั้น
นิมิต
อันอ่อนที่ติดตามาก็จักเสื่อม แม้เมื่อนิมิตกำลังเสื่อม เธอถูกถามวัน ก็ต้องบอกอยู่นั่น
ไม่รู้ปัญหา ก็ต้องพูดว่า
อาตมาไม่ทราบ แม้นรู้ก็ชอบที่จะบอกโดยส่วนเดียว ปฏิสันถารเล่าก็จำต้องทำ อนึ่ง
พบภิกษุอาคันตุกะ ก็ต้อง
ทำอาคันตุกปฏิสันถารอยู่นั่นแหละ แม้วัตรที่ยังเหลือ คือวัตรอันมาในขันธกวินัยทั้งหลายทั้งปวง
มีเจติยังคณวัตร
( วัตรอันพึงบำเพ็ญที่ลานพระเจดีย์ ) โพธิยังคณวัตร ( วัตรอันพึงบำเพ็ญที่ลานต้นโพธิ์
) อุโปสถาคารวัตร ( วัตร
อันพึงบำเพ็ญที่เรือนอุโบสถ ) โภชนสาลาวัตร ( วัตรอันพึงบำเพ็ญที่หอฉัน ) ชันตาฆรวัตร
( วัตรอันพึงบำเพ็ญ
ในเรือนไฟ ) อาจริยวัตร ( วัตรอันพึงบำเพ็ญต่ออาจารย์ ) อุปัชฌายวัตร ( วัตรอันพึงบำเพ็ญต่ออุปัชฌาย์
)
อาคันตุกวัตร ( วัตรอันพึงบำเพ็ญต่ออาคันตุกะ ) คมิกวัตร ( วัตรอันพึงบำเพ็ญต่อภิกษุผู้เตรียมจะไป
) เป็นต้น
ก็จำต้องบำเพ็ญทั้งนั้น แม้เมื่อเธอมัวบำเพ็ญวัตรเหล่านั้นเสีย
- นิมิตอันอ่อนนั้นก็จักเสื่อมไป
เมื่อเธอคิดว่าจักไปถือเอานิมิตอีก แม้เป็นผู้ใคร่จะไป ก็ไม่อาจแม้แต่จะเข้าไปสู่ป่า
ช้าได้ เพราะถูกอมนุษย์หรือสัตว์ร้ายขวางเสียบ้าง ( หากเข้าป่าช้าได้ ) นิมิตก็กลายไปเสียบ้าง
จริงอยู่ อุทธุมาตก
อสุภ คง ( สภาพ ) อยู่วัน ๑ หรือ ๒ วัน เท่านั้น ก็ถึงความเป็นอสุภอย่างอื่นมีวินีลกอสุภเป็นต้นไปเสีย
ในกรรม
ฐานทั้งหมด ชื่อว่ากรรมฐานที่หาได้ยากเสมอด้วยอุทธุมาตกอสุภนั้นไม่มี เพราะเหตุนั้น
เมื่อนิมิตเสื่อมไปเสียแล้ว
อย่างนี้ ภิกษุนั้นพึงนั่งในที่พักกลางคืนหรือในที่พักกลางวันก็ตาม แล้ว ( ย้อน
) พิจารณาถึงทางไปทางมา ( ตั้ง
แต่ต้น ) จนถึงที่ๆ ตนนั่งคู้บัลลังก์ ( อยู่เวลานี้ ) อย่างนี้ว่า " เราออกจากวิหารโดยประตูชื่อนี้
เดินไปทางที่ตรง
ไปทิศโน้น แล้วถือเอา ( เลี้ยว ) ซ้ายในที่ชื่อโน้น ถือเอาขวาที่โน่น ในที่แห่งอสุภนั้น
ก้อนหินอยู่ตรงโน้น หรือจอม
ปลวก ไม้ต้น ไม้กอ ไม้เถา อย่างใดอย่างหนึ่ง อยู่ตรงโน้นๆ เรานั้น ( เข้า ) ไปโดยทางนั้น
จึงได้เห็นอสุภในที่ชื่อ
โน้น ในที่นั้นเรายืนหันหน้าไปทางทิศโน้น สังเกตจำนิมิตทั้งหลายโดยรอบอย่างนั้นๆ
ถือเอาอสุภนิมิต ( เป็นอุคคห
นิมิต ) ขึ้นได้อย่างนั้น แล้ว ( กลับ ) ออกจากป่าช้าทางทิศโน้น ทำกิจนี้ๆ ตามทางเช่นนั้นๆ
พลางมาถึง ( ที่อยู่ )
แล้วนั่งอยู่นี่ " เมื่อเธอ ( ย้อน ) พิจารณาไปอย่างนี้ นิมิตนั้นจะปรากฏขึ้น
คือเข้ามาตั้งอยู่ ( เป็นอารมณ์ที่เกิด
ทางใจ ) ราวกะวางไว้ข้างหน้า ( ต่อนั้น ) กรรมฐานจะดำเนินไปสู่วิถีด้วยอาการดุจอาการครั้งแรก
เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า การพิจารณาทางไปมา มีประโยชน์คือยังกรรมฐาน ( ที่เสื่อม ) ให้
( กลับ ) ดำเนินสู่วิถีได้ ดังนี้
อธิบายข้อว่า อานิสํสทสฺสาวี
ฯ เป ฯ จิตฺตํ อุปนิพนฺธติ
- บัดนี้ บัณฑิตพึงทราบอรรถาธิบายในอรรถกถาปาฐะข้อว่า
" พระโยคาวจรนั้นเป็นผู้เห็นอานิสงส์อยู่โดยปกติ
มีความสำคัญ ( ในอสุภ ) ว่าเป็นดังแก้ว เข้าไปตั้งความยำเกรงไว้ ( ในอสุภนั้น
) ประพฤติดังว่า ( อสุภนั้น )
เป็นที่รักอยู่ นำจิตเข้าไปผูกไว้ในอารมณ์นั้น " นี้ ( ต่อไป ) อันพระโยคาวจรผู้ยังมานัส
( คือภาวนาจิต ) ให้
ท่องเที่ยวไป ในอุทธุมาตกอสุภอันปฏิกูล ( จน ) ยังฌานให้เกิดแล้ว เจริญวิปัสสนาอันมีฌานเป็นบาทฐานอยู่
พึงเป็นผู้เห็นอานิสงส์อย่างนี้ว่า " เราจักพ้นจากชรามรณะด้วยปฏิปทานี้เป็นแน่แท้
" เหมือนอย่างคนตกยาก
ได้แก้วมณีมีค่ามากแล้ว ดีใจว่าตัวเองได้ของหายาก จะพึงเป็นผู้มีความสำคัญในแก้วมณีนั้นว่าเป็นรัตนะ
ยังคารวะ
( ความตระหนัก ) ให้เกิดดื่มด่ำอยู่ด้วยความรักมากยิ่ง รักษาแก้วมณีนั้นไว้ฉันใด
พระโยคาวจรก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ยินดีว่าตัวได้กรรมฐานข้อนี้ อันเป็นกรรมฐานที่ได้ยากเช่นกับแก้วมณีมีค่ามากของคนทุคตะ
เพราะว่าท่านผู้
บำเพ็ญจตุธาตุกรรมฐาน ก็กำหนดเอามหาภูตรูป ๔ ของตน ผู้บำเพ็ญอานาปานกรรมฐาน ก็กำหนดเอาลมที่จมูก
ของตน ผู้บำเพ็ญกสิณกรรมฐานก็แต่ง ( วง ) กสิณเอา บำเพ็ญตามสบาย กรรมฐานทั้งหลายนอกนี้
ก็หาได้ง่าย
เช่นกัน แต่อุทธุมาตกอสุภกรรมฐานนี้ ( นิมิต ) คง ( สภาพ ) อยู่วัน ๑ หรือ ๒
วันเท่านั้น ต่อนั้นไปก็ถึงความเป็น
อสุภอื่นมีวินีลกอสุภเป็นต้นไปเสีย
- เพราะเหตุนั้น กรรมฐานที่หาได้ยากยิ่งกว่าอุทธุมาตกกรรมฐานนี้จึงไม่มี
" ดังนี้ จะพึงเป็นผู้มีความสำคัญใน
อุทธุมาตกอสุภนั้นว่าเป็นดังรัตนะ เข้าไปตั้งความยำเกรงไว้ ( ในอสุภนั้น ) ประพฤติดังว่า
( อสุภนั้น ) เป็นที่รักอยู่
รักษานิมิตนั้นไว้ พึงนำจิตเข้าไปผูกพันในอสุภนั้นร่ำไป ด้วยบริกรรมว่า อุทฺธุมาตกํ
ปฏิกูลํ อุทฺธุมาตกํ ปฏิกูลํ
พึงนึกหน่วง ( อุคคห ) นิมิตนั้นไว้ ทำนิมิตนั้นไว้ในใจแล้วๆ เล่าๆ ทำจนเป็นสิ่งตรึกมาได้
นึกมาได้ เมื่อเธอทำ
อยู่อย่างนั้น ปฏิภาคนิมิตย่อมจะเกิดขึ้น
นิมิต ๒ อย่างต่างกัน
- นี่เป็นความต่างกันแห่งนิมิตทั้งสอง
ในอุทธุมาตกอสุภนั้น คือ อุคคหนิมิตปรากฏเป็นรูปพิกลดูพิลึกสะพึงกลัว
ส่วนปฏิภาคนิมิตปรากฏเป็นเหมือนคนผู้มีองคาพยพใหญ่น้อยอ้วนพี ที่บริโภคอาหารจนหนำแล้วนอนอยู่
ได้ปฏิภาคนิมิต ละนิวรณ์ได้
องค์ฌานเกิด
- พร้อมกับกาลที่ได้ปฏิภาคนิมิตนั่นเอง
เพราะไม่ใส่ใจถึงกามทั้งหลายในภายนอก กามฉันทะ พระโยคาวจรนั้น
ก็ละได้ด้วยอำนาจวิกขัมภนปหาน เพราะละความยินดีได้นั้นแหละ พยาบาทเธอก็ละได้ด้วย
เปรียบเสมือนว่า
เพราะละโลหิตได้ น้ำเหลืองน้ำหนองก็เป็นอันละได้ด้วยฉะนั้น โดยนัยเดียวกัน เพราะความที่เป็นผู้มีความเพียร
อันปรารภแล้ว ถีนมิทธะก็ละได้ อุทธัจจกุกกุจจะละได้ด้วยอำนาจการตามประกอบธรรมอันสงบที่ทำความไม่
ต้องร้อนใจ ( ในภายหลัง )