บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง
- ชื่อว่า บริบูรณ์สิ้นเชิง เพราะความเป็นธรรมเต็มเปี่ยมทั่วถึงโดยที่ไม่มีข้อที่จะต้องเติมเข้า
ชื่อว่า บริสุทธิ์
เพราะความเป็นธรรมหาโทษมิได้ โดยที่ไม่มีข้อที่จะต้องตัดออก
ความหมายอีกนัยหนึ่ง
- อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่า สาตฺถะ
เพราะมีประสบการณ์ในอธิคม ( ปฏิเวธ ) ด้วยปฏิบัติ ชื่อว่า สพฺยญฺชนะ เพราะ
มีความกระจ่างในอาคม ( ปริยัติ ) ด้วยการเล่าเรียน *
ชื่อว่า บริบูรณ์สิ้นเชิง เพราะประกอบด้วยธรรมขันธ์ ๕
มีสีลขันธ์เป็นต้น ชื่อว่า บริสุทธิ์ เพราะไม่มีอุปกิเลส เพราะเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่การถอนออก
( จากวัฎฎทุกข์ )
และเพราะไม่มีความใยดีในโลกามิส แล
- ปริยัติธรรม ชื่อว่า สฺวากขาตะ
เพราะประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์
สิ้นเชิง ด้วยประการฉะนี้
ปริยัติธรรมเป็นสฺวากฺขาตะอีกนัยหนึ่ง
- หรืออีกนัยหนึ่ง ปริยัติธรรมนั้น
ชื่อว่า ตรัสด้วยดี เพราะไม่มีอรรถวิปลาส เพราะเหตุนั้น จึงชื่อ สฺวากฺขาตะ
( ตรัสดี ) เหมือนอย่างอรรถแห่งธรรมของพวกเจ้าลัทธิอื่น จัดว่าถึงความวิปลาส
- *
หมายความว่า พรหมจรรย์นี้มีสารัตถะ ปฏิบัติไปไม่ไร้ผล มีปฏิเวธประจักษ์อยู่ การเล่าเรียนปริยัติเล่า
ก็หาโทษมิได้ ยิ่งเรียนยิ่งกระจ่างหายโง่หายหลง
- เพราะความที่ธรรมที่เขากล่าวว่าเป็นอันตรายิกธรรมทั้งหลาย
หามีความเป็นธรรมทำอันตรายไม่ และเพราะ
ความที่ธรรมที่เขากล่าวว่าเป็นนิยยานิกธรรมทั้งหลายก็หามีความเป็นธรรมนำออก (
จากทุกข์ ) ไม่ เพราะเหตุ
นั้น เจ้าลัทธิอื่นเหล่านั้น จึงเป็นผู้มีธรรมเป็นทุรักขาตะ ( กล่าวชั่ว ) แท้ฉันใด
อรรถแห่งธรรมของพระผู้มีพระ
ภาคเจ้า หาถึงความวิปลาสฉันนั้นไม่ เพราะธรรมที่พระองค์ตรัสว่า ธรรมเหล่านี้เป็นอันตรายิกธรรม
ธรรมเหล่า
นี้เป็นนิยยานิกธรรมดังนี้แล้ว หาล่วงความเป็นอย่างนั้นไปไม่ แล
- ปริยัติธรรมเป็นสวากขตะ โดยนัยดังกล่าวมาฉะนี้
เป็นอันดับแรก
โลกุตตรธรรมเป็นสฺวากฺขาตะ
- ส่วนโลกุตตรธรรม ชื่อว่า สฺวากฺขาตะ
เพราะตรัสข้อปฏิบัติอันสมควรแก่พระนิพพาน และพระนิพพาน
สมควรแก่ข้อปฏิบัติ ดังสักกเทวราชทรงกล่าว ( ในมหาโควินทสูตร ) ว่า "
ก็แลปฏิปทาอันให้ถึงพระ
นิพพาน พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นได้ทรงบัญญัติไว้ดีแล้วแก่สาวกทั้งหลาย พระนิพพานและปฏิปทา
ย่อมเข้ากันได้ อุปมาเหมือนน้ำในแม่น้ำคงคา ย่อมเข้ากันย่อมสมกันกับน้ำในแม่น้ำยมุนา
ฉันใดก็ดี
ก็แลปฏิปทาอันให้ถึงพระนิพพาน พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ได้ทรงบัญญัติไว้ดีแล้วแก่สาวกทั้งหลาย
พระนิพพานและปฏิปทาย่อมเข้ากันได้ ฉันนั้นนั่นแล " ( ที.มหา ๑0/๒๖๑ )
ดังนี้ อนึ่ง ในโลกุตตรธรรมนั้น
อริยมรรคอันเป็นทางสายกลาง
- ไม่ไปใกล้อันตะ ( ที่สุดโต่ง )
ทั้ง ๒ ข้างนั้นเอง *
ชื่อว่า สวากขาตะ เพราะอริยมรรคนั้นแหละ ที่ตรัสว่าเป็น
มัชฌิมาปฏิปทา สามัญผลทั้งหลายอันมีกิเลสระงับแล้วนั่นเอง ชื่อว่า สวากขาตะ เพราะสามัญผลนั้นแหละ
ที่ตรัส
ว่าเป็นธรรมชาติมีกิเลสระงับแล้ว พระนิพพานอันเป็นสภาพเที่ยง สภาพไม่ตาย สภาพต้าน
( ทุกข์ ) และ
สภาพที่ลี้ ( ทุกข์ ) นั่นเอง ชื่อว่า สวากขาตะ เพราะพระนิพพานนั้นแหละ ที่ตรัสโดยเป็นสภาพเที่ยงเป็นอาทิแล
แม้โลกุตตรธรรมก็เป็น สวากขาตะ โดยนัยดังกล่าวมาฉะนี้
แก้บท สนฺทิฏฺฐิโก
- ส่วนวินิจฉัยในบทว่า สนฺทิฏฺฐิโก
นี้ พึงทราบ ( ต่อไปนี้ )
นัยที่ ๑ แปลว่า " พึงเห็นเอง
"
- ก่อนอื่น อริยมรรคชื่อว่า สนฺทิฏฺฐิโก
เพราะเป็นธรรมอันพระอริยบุคคลผู้ทำความไม่มีกิเลสมีราคะเป็นต้น
ในสันดานของตนอยู่พึงเห็นเอง ดังพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า " ดูกรพราหมณ์
บุคคลผู้กำหนัดแล้ว
ถูกความกำหนัดครอบงำแล้ว มีจิตอันราคะยึดไว้รอบแล้วนั่นแล ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง
ย่อม
คิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนและคนอื่นทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง
- * อันตะ ๒ คือ กามสุขัลลิกานุโยค
และ อัตตกิลมถานุโยค คู่หนึ่ง และ สัสสตะ และ อุจเฉทะ อีกคู่หนึ่ง
- ย่อมได้เสวยทุกขโทมนัสทางใจบ้าง
ครั้นความกำหนัดเขาละเสียได้แล้ว เขาย่อมไม่คิดเพื่อเบียด
เบียนตนบ้าง ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่นทั้ง
๒ ฝ่ายบ้าง
เขาย่อมไม่ได้เสวยทุกขโทมนัสทางใจ ดูกรพราหมณ์ ธรรมเป็นสันทิฏฐิกะอย่างนี้ประการ
๑ " ( อง.ติก.
๒0/๑๙๙ ) ดังนี้ อนึ่ง แม้โลกุตตรธรรมทั้ง
๙ ก็ชื่อสันทิฏฐิกะ เพราะเป็นธรรมที่บุคคลใดๆ ได้บรรลุแล้ว บุคคลนั้นๆ
พึงละความที่จะพึงถึงด้วยความเชื่อผู้อื่นเสียแล้ว เห็นเองด้วยปัจจเวกขณญาณ
นัยที่ ๒ แปลว่า " ชนะ
( กิเลส ) ด้วยสันทิฏฐิ "
- นัยหนึ่ง ทิฏฐิอันพระอริยเจ้าสรรเสริญ
ชื่อว่า สันทิฏฐิ โลกุตตรธรรมย่อมชำนะ ( กิเลส ) ด้วยสันทิฏฐิ
เหตุนั้นจึงชื่อ สันทิฏฐิกะ จริงอย่างนั้น ในโลกุตตรธรรมนั้น อริยมรรคย่อมชำนะกิเลสทั้งหลายด้วยสันทิฏฐิ
อันสัมปยุต อริยผลย่อมชำระกิเลสทั้งหลายด้วยสันทิฏฐิ อันเป็นเหตุ พระนิพพานย่อมชำนะกิเลสทั้งหลายด้วย
สันทิฏฐิ อันเป็นวิสัย เพราะเหตุนั้นโลกุตตรธรรมทั้ง ๙ จึงชื่อว่าสันทิฏฐิกะ
เพราะชำนะ ( กิเลส ) ด้วยสันทิฏฐิ
ประดุจนักรบได้ชื่อว่า รถิกะ เพราะ ( รบ ) ชนะด้วย รถ ฉะนั้น
นัยที่ ๓ แปลว่า " ควรซึ่งการเห็น
"
- อีกนัยหนึ่ง การเห็น เรียกว่า
ทิฏฐะ ทิฏฐะนั่นเองเป็นสันทิฏฐะแปลว่า การเห็น โลกุตตรธรรมย่อมควรซึ่ง
สันทิฏฐะ ( การเห็น )
- เหตุนั้นจึงชื่อว่า สันทิฏฐะ เพราะว่าโลกุตตรธรรม
เมื่อบุคคลเห็นอยู่ด้วยอำนาจภาวนาภิสมัย ( รู้โดยทำให้
มีขึ้น ) และด้วยอำนาจสัจฉิกิริยาภิสมัย ( รู้โดยทำให้แจ้ง ) นั่นแล จึงยังวัฏฏภัย
( ภัยคือวัฏฏะ ) ให้กลับได้ *
เพราะเหตุนั้น โลกุตตรธรรมนั้นจึงชื่อ
สันทิฏฐิกะ เพราะควรซึ่งสันทิฏฐะ ( การเห็น )
แก้บท อกาลิโก
นัยที่ ๑ แปลว่า ไม่มีกาล
- ธรรมนั้น มุ่งการให้ผล หามีกาลไม่
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอกาโล อกาลิโก ก็ อกาโล นั่นเอง มีอธิบายว่า
" ธรรมนั้นหาได้รอกาลอันต่างโดยการกำหนดมีปัญจาหะ ( ๕ วัน ) และสัปดาหะ
( ๗ วัน ) เป็นต้นให้ผลไม่
แต่ย่อมให้ผลติดต่อกันไปกับความเป็นไปของธรรมนั้นทีเดียว " ( หมายเอาเฉพาะ
มรรค ๔ ผล ๔ เท่านั้น
เพราะเมื่อมรรคจิต ๔ เกิดขึ้นแล้ว ผลจิต ๔ จะเกิดติดต่อกันไปไม่มีระหว่างคั่น
คือให้ผลทันทีเดี๋ยวนั้นเลยทีเดียว
ไม่ต้องมีการรอเวลาของการให้ผลเลย )
นัยที่ ๒ แปลว่า " มิใช่ธรรมมีกาล
"
- นัยหนึ่ง กาลในอันให้ผลแห่งธรรมนั้น
ยังไกลที่จะถึง ( หมายความว่าให้ผลเวลาอื่น )
- * มหาฎีกาว่า ที่เห็นโดยภาวนาภิสมัย
หมายถึงมรรค ที่เห็นโดยสัจฉิกิริยาภิสมัย หมายถึงนิพพาน และยังว่า
แม้ผลเบื้องต่ำก็กล่าวได้ว่า " เมื่อบุคคลเห็นอยู่ ย่อมยังวัฏฏภัยให้กลับได้
" โดยอ้อม เพราะผลเบื้องต่ำนั้นเป็น
อุปนิสัยแห่งการบรรลุมรรคเบื้องสูง โดยเป็นปัจจัยแห่งวิปัสสนาเพื่อสกทาคามิผลเป็นต้น
- เหตุนั้น ธรรมนั้น จึงชื่อว่า
กาลิกะ ถามว่า ธรรมนั้นคืออะไร ตอบว่า ธรรมนั้น คือกุศลธรรมที่เป็นโลกิยะ
ส่วนโลกุตตรธรรมนี้มิใช่กาลิกะเพราะมีผลต่อเนื่องทันที เหตุนั้นจึงชื่อว่า อกาลิกะ
- บทว่า อกาลิโก นี้ ตรัสหมายเอามรรคเท่านั้น
( หมายเอาเฉพาะ มรรค ๔ ผล ๔ เท่านั้น เพราะเมื่อมรรคจิต ๔
เกิดขึ้นแล้ว ผลจิต ๔ จะเกิดติดต่อกันไปไม่มีระหว่างคั่น คือให้ผลทันทีเดี๋ยวนั้นเลยทีเดียว
ไม่ต้องมีการรอเวลา
ของการให้ผลเลย )
แก้บท เอหิปสฺสิโก
- ธรรมชื่อ เอหิปสฺสิกะ เพราะควรซึ่งเอหิปัสสวิธีอันเป็นไปโดยความว่า
" ท่านจงมาดูธรรมนี้ " ดังนี้ ถามว่า
ก็เพราะเหตุไร ธรรมนั้นจึงควรซึ่งวิธีนั้น ตอบว่า เพราะธรรมนั้นเป็นสภาพมีอยู่ด้วย
เพราะธรรมนั้นเป็นสภาพ
บริสุทธิ์ด้วย แท้จริง ใครๆ แม้จะพูด ( ลวง ) ได้ว่า เงินหรือทองก็ตามมีอยู่ในกำมือเปล่า
( แต่ ) ก็ไม่กล้าเรียก
( ผู้อื่น ) ว่า " จงมาดูเงินหรือทองนี้ซิ " เพราะอะไร เพราะเงินหรือทองนั้นไม่มีอยู่
และคูถหรือมูตรก็ตามแม้
มีอยู่ ใครๆ ก็หาอาจเรียก ( ผู้อื่น ) ว่า " จงมาดูคูถหรือมูตรนี้ เพื่อ
( ให้ ) ร่าเริงใจซิ " โดยเผยความที่มันเป็น
ของน่าฟูใจ ( ให้เขาดู ) ได้ไม่ เพราะอะไร เพราะคูถหรือมูตรนั้น เป็นของโสโครก
ส่วนโลกุตตรธรรมทั้ง ๙ นี้
โดยสภาพ เป็นของมีอยู่ด้วย เป็นของบริสุทธิ์ดุจดวงจันทร์เพ็ญ ในอากาศอันปราศจากเมฆ
และเปรียบดุจแก้ว
มณีแท้อันเขาวางไว้ที่ผ้ากัมพลเหลืองฉะนั้นด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเอหิปัสสิกะ
เหตุว่าควรซึ่งเอหิปัสสวิธี
เพราะความที่เป็นสภาพมีอยู่ และเพราะความเป็นสภาพบริสุทธิ์ด้วย
แก้บท โอปนยิโก
- ธรรมชื่อ โอปนยิกะ เพราะควรนำเข้าไป ก็แลความ ( ต่อไป
) นี้ เป็นวินิจฉัยในบทนี้
- คือการนำเข้าไป ชื่อ อุปนยะ ธรรมย่อมควรซึ่งการที่บุคคลแม้ผ้าหรือศีรษะไฟไหม้ก็เฉย
( คง ) นำเข้าไป
ในจิตโดยทำให้มีขึ้นจนได้ เพราะเหตุนั้น ธรรมนั้นจึงชื่อ อุปนยิกะ อุปนิยกะนั้นเองเป็นโอปนยิกะ
คำวิเคราะห์
นี้ใช้ได้ในโลกุตตรธรรมที่เป็นสังขตะ ส่วนในโลกุตตรธรรมที่เป็นอสังขตะ ( วิเคราะห์ว่า
) ธรรมนั้นควรซึ่ง
การนำเข้าไปด้วยจิต เหตุนั้นจึงชื่อ โอปนยิกะ หมายความว่าควรซึ่งการผนึกเข้าโดยทำให้แจ้ง
หรือมิฉะนั้น
( ธรรม คือ ) อริยมรรค ชื่อว่า อุปเนยฺย เพราะนำ ( พระอริยบุคคล ) เข้าไปถึงพระนิพพาน
ธรรมคือผล แลพระ
นิพพานชื่อว่า อุปเนยฺย เพราะเป็นธรรมที่บุคคลพึงนำเข้าไปถึงความที่จะพึงทำให้แจ้ง
โอปนิยกะ ก็ อุปเนยฺย
นั่นเอง
แก้บท ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ
- บทว่า ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ
ความว่า อันวิญญูชนทั้งหลายมีอุคฆติตัญญูบุคคลเป็นต้นทั้งปวงพึง *
รู้ว่า " มรรคเราเจริญแล้ว ผลเราบรรลุแล้ว
นิโรธเราทำให้แจ้งแล้ว " เพราะว่ากิเลสทั้งหลายของสัทธิวิหาริก
จะละด้วยมรรคที่พระอุปัชฌายะเจริญหาได้ไม่ เธอจะอยู่เป็นผาสุกด้วยผลสมาบัติของท่านก็ไม่ได้
จะทำให้แจ้ง
ซึ่งพระนิพพานที่ท่านทำให้แจ้งก็ไม่ได้ เพราะเหตุนั้น จึงมีคำอธิบายว่า โลกุตตรธรรมนั่น
บุคคลไม่พึงเห็นดัง
เช่นเครื่องประดับที่ศีรษะของคนอื่น ( ซึ่งจะฉวยเอามาประดับที่ศีรษะของตัวเองได้
) แต่พึงเห็นว่าธรรมอันวิญญูชน
ทั้งหลายจะพึงเสวยอยู่ในจิตของตัวเองเท่านั้น แท้จริง โลกุตตรธรรมนั้น ไม่เป็นวิสัยของพวกคนโง่เลยทีเดียว
- * บุคคล ๔ จำพวก คือ
๑. อุคฆฏิตัญญู ผู้รู้เข้าใจได้ฉับพลัน แต่พอท่านยกหัวข้อขึ้นแสดง ๒.
วิปจิตัญญู
ผู้รู้เข้าใจต่อเมื่อ ท่านขยายความ ๓. เนยยะ ผู้ที่พอจะแนะนำต่อไปได้
๔. ปทปรมะ ผู้ได้แค่ตัวบทคือถ้อยคำ
เป็นอย่างยิ่ง ไม่อาจเข้าใจความหมาย
อีกนัยหนึ่ง ธรรมคุณบทหลังๆ
เป็นเหตุของบทหน้าๆ
- อีกนัยหนึ่งเล่า ธรรมนี้เป็น สฺวากฺขาตะ
ถามว่าเพราะเหตุอะไร ( จึงเป็น สฺวากฺขาตะ ) แก้ว่า เพราะธรรม
นี้เป็นสันทิฏฐิกะ ธรรมนี้ได้ชื่อว่า สันทิฏฐิกะ ก็เพราะเป็นอกาลิกะ ธรรมนี้ได้ชื่อว่า
อกาลิกะ ก็เพราะเป็นเอหิปัสสิกะ
และธรรมใดได้ชื่อว่า เอหิปัสสิกะ ธรรมนั้นก็ย่อมเป็น โอปนยิกะ แล
ธรรมานุสสติฌาน
- เมื่อพระโยคาวจรนั้น ระลึกถึงพระธรรมคุณทั้งหลาย
อันต่างโดยคุณมีความเป็นสวากขาตะเป็นต้น ดังกล่าว
มาฉะนี้อยู่ ในสมัยนั้นจิตของเธอย่อมไม่เป็นจิตที่ราคะกลุ้มรุม ไม่เป็นจิตที่โทสะกลุ้มรุม
ไม่เป็นจิตที่โมหะกลุ้มรุม
เลยทีเดียว ในสมัยนั้นจิตของเธอย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงแน่วปรารภพระธรรมแล องค์ฌานทั้งหลายย่อมเกิดขึ้น
ในขณะเดียวกัน แก่เธอผู้ข่มนิวรณ์ได้แล้วโดยนัยก่อน ( ที่กล่าวในพุทธานุสสติ
) นั่นแล แต่เพราะความที่พระธรรม
คุณทั้งหลายเป็นอารมณ์ลึกซึ้ง หรือเพราะความที่จิตน้อมไปในการระลึกถึงพระคุณหลายอย่างต่างประการ
ฌานนี้จึงเป็นฌานไม่ถึงอัปปนา ถึงเพียงอุปจารเท่านั้น ( และ ) ฌานนี้นั้น ก็ถึงซึ่งความนับ
( ชื่อ ) ว่า ธรรมา
นุสสตินั่นเอง เพราะเป็นฌานที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจการระลึกถึงพระธรรมคุณ
อานิสงส์เจริญธรรมานุสสติ
- ก็แลภิกษุผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งธรรมานุสสตินี้
ย่อมเป็นผู้มีความเคารพมีความยำเกรงในพระศาสดา ทำ
ความตระหนัก และอ่อนน้อมในพระธรรม ด้วยระลึกถึงพระธรรมคุณโดยนัย ( สักกภาษิต
ในมหาโควินทสูตร ) ว่า
" เราไม่พิจารณาเห็นศาสดาผู้แสดงธรรมอันเป็นโอปนยิกะอย่างนี้ ผู้แม้ประกอบด้วยองค์นี้
ในกาลส่วนที่เป็นอดีตเลย ในกาลบัดนี้เล่า เราก็ไม่พิจารณาเห็น เว้นแต่พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
"
( ที.มหา ๑0/๒๖๑ ) ดังนี้ ย่อมได้ความไพบูลย์แห่งคุณมีศรัทธาเป็นต้น
เป็นผู้มากไปด้วยปีติปราโมทย์ ทนต่อ
ความกลัวและความตกใจ สามารถอดกลั้นทุกข์ มีความรู้สึก ( เสมือน ) ว่าได้อยู่กับพระธรรม
อนึ่ง แม้สรีระ
ของเธออันธรรมคุณานุสสติประทับอยู่ ย่อมเป็นร่างควรแก่การบูชาดุจเรือนพระเจดีย์
จิต ( ของเธอ ) ย่อมน้อม
ไปในอันจะบรรลุ ( ให้ถึง ) อนุตตรธรรม อนึ่ง ในเมื่อมีการประจวบเข้ากับวัตถุที่จะพึงล่วงละเมิด
หิริโอตตัปปะ
ย่อมปรากฏแก่เธอผู้ระลึกถึงความเป็นธรรมดีแห่งพระธรรมได้อยู่ อนึ่ง เมื่อยังไม่บรรลุคุณอันยิ่งขึ้นไป
เธอย่อม
เป็นผู้มีสุคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้า
- เพราะเหตุนั้นแล ผู้มีปัญญาดี
พึงทำความไม่ประมาทในธรรมานุสสติ อันมีอานุภาพมากอย่างนี้
ทุกเมื่อเทอญ
- นี้เป็นกถามุข ( คำแก้ข้อที่สำคัญ
) อย่างพิสดาร ในธรรมานุสสติ
สังฆานุสสติ
- แม้พระโยคาวจรผู้ใคร่จะเจริญสังฆานุสสติ
ก็พึงเป็นผู้ไปในที่ลับ ( คน ) เร้นอยู่ ( ในเสนาสนะอันสมควร )
แล้ว ระลึกถึงคุณพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย อย่างนี้ว่า สุปฏิปนฺโน
ภควโต สาวกสงฺโฆ อุชุปฏิปนฺโน
ภควโต สาวกสงฺโฆ ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ
ยทิทํ
จตฺตาริ ปุริสยุคานิ อฏฺฐ ปุริสปุคฺคลา เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ อาหุเนยฺโย ปาหุเนยฺโย
ทกฺขิเณยฺโย
อญฺชลิกรณีโย อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺส
แก้บท สุปฏิปนฺโน
- ในบทเหล่านั้น บทว่า สุปฏิปนฺโน
แปลว่า ปฏิบัติดี มีคำอธิบายว่า ปฏิบัติเป็นสัมมาปฏิปทา ( คือปฏิบัติชอบ
)
เป็นอนิวัตติปฏิปทา ( ปฏิบัติไม่กลับ ) เป็นอนุโลมปฏิปทา ( ปฏิบัติสมควรแก่พระนิพพาน
) เป็นอปัจจนีกปฏิปทา
( ปฏิบัติไม่เป็นข้าศึกแก่ธรรมและบุคคล ) เป็นธรรมานุธรรมปฏิปทา ( ปฏิบัติธรรมอันสมควรแก่ธรรม
)
- บุคคลเหล่าใด ฟังพระโอวาทานุสาสนีของพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยเคารพ
เหตุนั้น บุคคลเหล่านั้นจึงชื่อว่า
สาวก ( ผู้ฟัง ) หมู่แห่งสาวกทั้งหลายชื่อว่า สาวกสงฆ์ หมายความว่า ชุมนุมแห่งสาวกผู้ถึงซึ่งความเป็นกลุ่มก้อนกัน
ด้วยความเป็นผู้เสมอกันโดยศีลและทิฏฐิ