อุชุ... ญาย... สามีจิปฏิปนฺโน
เนื่องด้วย สุปฏิปนฺโน
- ก็เพราะว่า สัมมาปฏิปทานั้น เป็นปฏิปทาตรง
คือไม่คด ไม่โกง ไม่งอ *
อนึ่ง ปฏิปทานั้นท่านเรียกว่า
อริยญายะบ้าง และถึงซึ่งความนับ ( ได้ชื่อ ) ว่า สามีจิ เพราะเป็นปฏิปทาอันสมควรบ้าง
เพราะเหตุนั้น พระ
อริยสงฆ์ผู้ดำเนินปฏิปทานั้น จึงได้ชื่อว่า อุชุปฏิปนฺโน ( ปฏิบัติตรง
) บ้าง ว่า ฌายปฏิปนฺโน ( ปฏิบัติเป็นญายะ )
บ้างว่า สามีจิปฏิปนฺโน ( ปฏิบัติควร ) บ้าง
ท่านผู้ตั้งอยู่ในผล ได้ชื่อ
สุปฏิปนฺโน อย่างไร
- ก็แลในบท สุปฏิปนฺโน เป็นต้นนั้น
บัณฑิตพึงทราบว่า พระอริยเจ้าเหล่าใดเป็นผู้ตั้งอยู่ในมรรค พระอริยเจ้า
เหล่านั้นชื่อว่าปฏิบัติดี เพราะความเป็นผู้เพียบพร้อมไปด้วยความปฏิบัติชอบ พระอริยเจ้าเหล่าใดเป็นผู้ตั้งอยู่
ในผล พระอริยเจ้าเหล่านั้น ก็ชื่อว่าปฏิบัติดี มุ่งเอาความปฏิบัติที่ล่วงไปแล้ว
เพราะท่านเหล่านั้นได้บรรลุธรรม
ที่พึงบรรลุ ก็ด้วยความปฏิบัติชอบนั่นแล
แก้ ๔ บท อีกนัยหนึ่ง
- อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่า สุปฏิปนฺโน
เพราะปฏิบัติไปตามอนุศาสนีที่พระศาสดาทรงสอนไว้ก็ได้ เพราะปฏิบัติอปัณณก
ปฏิปทา ( คือปฏิบัติไม่ผิด ) ก็ได้ ( เฉพาะ ) ในธรรมวินัยที่เป็นสวากขาตะ ชื่อว่า
อุชุปฏิปนฺโน เพราะปฏิบัติ
ตามมัชฌิมาปฏิปทา ไม่เข้าใกล้อันตะ ( ที่สุดโต่ง ) ทั้ง ๒ ข้าง และเพราะปฏิบัติเพื่อละโทษ
คือความคด ความโกง
และความงอ ทางกายวาจาใจ
- * มหาฎีกาเปรียบเทียบไว้ว่า
ไม่คดดังโคมูตร ( หมายถึงรอยมูตรที่ดิน ซึ่งโคเดินพลางถ่ายพลาง คดไปคดมา )
ไม่โกงดังความโก่งของวงเดือน ไม่งอดังหางไถ
- พระนิพพาน ตรัสเรียกว่า ญายะ
เพราะปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่พระนิพพานนั้น จึงชื่อ ญายปฏิปนฺโน
- บุคคลทั้งหลายปฏิบัติด้วยประการใด
จึงเป็นผู้ควรแก่สามีจิกรรม เพราะปฏิบัติด้วยประการนั้น จึงชื่อ
สามีจิปฏิปนฺโน
แก้ ยทิทํ ฯ เป ฯ
- คำว่า ยทิทํ ไขเป็น ยานิ
อิมานิ ( แปลว่า เหล่านี้ใด ) คำว่า จตฺตาริ ปุริสยุคานิ ความว่า
โดย ( นับเป็น )
คู่ เป็นบุรุษ ๔ คู่ คือพระผู้ตั้งอยู่ในปฐมมรรค ( โสดาปัตติมรรค ) พระผู้ตั้งอยู่ใน
( ปฐม ) ผล ( โสดาปัตติผล )
นี่เป็นคู่ ๑ ดังนี้ เป็นต้น คำว่า อฏฺฐ ปุริสปุคฺคลา ความว่า โดย ( นับ
) บุรุษ ( แยกเป็น ) บุคคล เป็นบุรุษบุคคล ๘
พอดี โดยนัยนี้ คือพระตั้งอยู่ในปฐมมรรค ๑ พระผู้ตั้งอยู่ใน ( ปฐม ) ผล ๑ เป็นต้น
ก็บทว่า บุรุษก็ดี ว่า บุคคล ก็ดี
ในคำว่า อฏฺฐ ปุริสปุคฺคลา นั้น มีอรรถอันเดียวกัน แต่บทว่า ปุริสปุคฺคลา
นั่น ตรัสด้วยอำนาจแห่งเวไนย
ข้อว่า เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ ความว่า โดย ( นับเป็น ) คู่ บุรุษ ๔ คู่
โดย ( นับ ) แยกเป็นองค์ๆ บุรุษบุคคล
๘ เหล่านี้ใด นี่คือหมู่สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
แก้บทอาหุเนยฺโย
นัยที่ ๑
- พึงทราบวินิจฉัยในบททั้งหลายมีบทว่า
อาหุเนยฺโย เป็นต้น ( ต่อไป )
- วัตถุใด อันเขานำมาบูชา เหตุนั้น
วัตถุนั้น ชื่อว่าอาหุนะ หมายความว่า วัตถุที่เขานำมาแม้แต่ไกลถวายในท่าน
ผู้มีศีลทั้งหลาย คำว่า อาหุนะ นั่น เป็นเชื่อแห่งปัจจัย ๔ พระสงฆ์เป็นผู้ควรที่จะรับ
อาหุนะนั้น เพราะทำ
อาหุนะนั้นให้มีผลมาก เหตุนั้นจึงชื่อ อาหุเนยยะ ( ผู้ควรรับของอันเขานำมาบูชา
)
นัยที่ ๒
- อีกนัยหนึ่ง แม้สมบัติทั้งปวง
อันบุคคลมาแม้แต่ไกลพึงบูชา ( คือถวาย ) ในพระสงฆ์นั้น เหตุนั้น พระสงฆ์นั้น
จึงชื่อ อาหวนียะ ( ผู้อันบุคคลควรบูชา ) หรือว่า พระสงฆ์ย่อมควรซึ่งอาหวนวัตถุ
แม้แห่งเทพเจ้าทั้งหลายมีท้าว
สักกะเป็นต้น ( ควรซึ่งของทานที่แม้เทพเจ้ามีสักกะเป็นต้นถวาย ) เหตุนั้นจึงชื่อ
อาหวนียะ ( ผู้ควรของที่เขา
มาบูชา ) อนึ่ง ไฟอันได้ชื่อว่า อาหวนียะ ของพราหมณ์ทั้งหลายนี้ใด ซึ่งลัทธิของพวกเขาว่าเป็นของที่ๆ
ของอันบูชาแล้วมีผลมาก หากว่าไฟนั้นชื่อว่าอาหวนียะ เพราะของที่บุคคลบูชาแล้ว
( ในไฟนั้น ) มีผลมากไซร้
ก็พระสงฆ์นี่แหละเป็นอาหวนียะ ( แท้ ) เพราะของที่บุคคลบูชา ( คือถวาย ) ในพระสงฆ์เป็นสิ่งมีผลมาก
( จริงๆ )
ดังพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
- " ก็ชนใด พึงบำเรอไฟอยู่ในป่าสิ้นร้อยปี
ส่วนชนใด พึงบูชาท่านผู้ที่อบรมตนสำเร็จแล้ว ผู้เดียวแม้
ครู่หนึ่ง การบูชานั้นแหละประเสริฐกว่า การบูชาไฟสิ้นร้อยปีจะประเสริฐอะไร "
( ขุ.ธ. ๒๕/๒๙ )
- บทว่า อาหวนียะ นี้นั้นเป็นคำในนิกายอื่น ( นิกายสัพพัตถิกวาที
) โดยอรรถก็อันเดียวกัน บทว่า อาหุเนยยะ
นี้ในที่นี้ แต่ใน ๒ บทนี้ ต่างกันนิดหน่อยโดยพยัญชนะเท่านั้น พระสงฆ์เป็น
อาหุเนยยะ ด้วยประการฉะนี้
แก้บท ปาหุเนยฺโย
- ส่วนในบทว่า ปาหุเนยฺโย ( พึงทราบวินิจฉัยต่อไปนี้
) อาคันตุกทาน ( ของรับแขก ) ที่เขาจัดอย่างเครื่อง
สักการะ ( คือจัดอย่างดี ) เพื่อประโยชน์แก่ญาติและมิตรทั้งหลายที่รักที่ชอบใจ
อันมาแต่ทิศใหญ่น้อย เรียกว่า
ปาหุนะ แม้อาคันตุกทานนั้น เว้นญาติมิตรที่รักที่ชอบใจเหล่านั้นและแขก ( อื่น
) อันมีฐานะอย่างนั้นเสีย ก็ควร
ถวายแก่พระสงฆ์เท่านั้น พระสงฆ์เท่านั้นควรรับอาคันตุกทานนั้น เพราะว่าแขก (
ผู้ทรงคุณ ) เช่นดังพระสงฆ์หา
มีไม่ จริงอย่างนั้น พระสงฆ์นั่นต่อพุทธันดรหนึ่งจึงจะได้พบ และท่านประกอบด้วยธรรมทั้งหลายที่ทำความที่เป็นที่
รักที่ชอบใจล้วนๆ ด้วย พระสงฆ์ชื่อว่า ปาหุเนยยะ เพราะของรับแขกควรถวายแก่ท่าน
และท่านก็ควรรับของ
รับแขก ดังนี้แล
- ส่วนบาลีของชนเหล่าใดว่า ปาหวนีโย บาลีของชนเหล่านั้นมีอธิบายว่า
เพราะเหตุที่พระสงฆ์ย่อมควรซึ่ง
บุพการ ( การทำให้ก่อน ) เพราะฉะนั้น ทานวัตถุ บุคคลควรนำมาบูชาในพระสงฆ์นั้นก่อนใครหมด
เหตุนั้น
พระสงฆ์จึงชื่อ ปาหวนียะ ( ผู้ที่ควรนำของมาบูชาก่อน ) นัยหนึ่ง พระสงฆ์ควรซึ่งอาหวนะโดยประการทั้งปวง
เหตุนั้นจึงชื่อ ปาหวนียะ ( ผู้ควรของอันเขานำมาบูชาโดยประการทั้งปวง ) ศัพท์
ปาหวนียะ นี้นั้น ในที่นี้กล่าวว่า
ปาหุเนยยะ โดยอรรถ ( ก็อันเดียวกัน ) นั้นแล
แก้บท ทกฺขิเณยฺโย
- ก็ทานที่บุคคลพึงเชื่อปรโลกแล้วจึงให้
เรียกว่า ทักขิณา พระสงฆ์ย่อมควรซึ่งทักขิณานั้น หรือว่าเกื้อกูลแก่
ทักขิณา เพราะว่าทำทักขิณาให้หมดจด โดยภาวะคือทำทักขิณานั้นให้มีผลมาก เหตุนั้นพระสงฆ์จึงชื่อว่า
ทักขิเณยยะ ( ผู้ควรซึ่งทักขิณาหรือผู้เกื้อกูลแก่ทักขิณา )
แก้บท อญฺชลีกรณีโย
- พระสงฆ์ย่อมควรซึ่งอัญชลีกรรม
อันชาวโลกทั้งปวงวางหัตถ์ทั้งสองไว้เหนือเศียรกระทำอยู่ เหตุนั้นจึงชื่อว่า
อัญชลีกรณียะ ( ผู้ควรซึ่งการทำอัญชลี )
แก้ อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ
โลกสฺส
- บทว่า อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ
โลกสฺส ความว่า พระสงฆ์เป็นที่เพาะปลูกบุญของชาวโลกทั้งปวง ไม่มีที่เสมอ
เหมือน อย่างว่าที่เพาะปลูกข้าวสาลีก็ดี ข้าวเหนียวก็ดี ของพระราชาหรือของอำมาตย์ก็ตาม
เขาก็เรียก รญฺโญ
สาลิกฺเขตฺตํ รญฺโญ ยวกฺเขตฺตํ นาข้าวสาลีของพระราชา นาข้าวเหนียวของพระราชา
ดังนี้เป็นต้นฉันใด
- พระสงฆ์ก็เป็นที่เพาะปลูกบุญทั้งหลายของชาวโลกทั้งปวงฉันนั้น
แท้จริง เพราะอาศัยพระสงฆ์ บุญทั้งหลาย
อันเป็นเครื่องบันดาลประโยชน์เกื้อกูล และความสุขนานาประการของชาวโลกจึงได้งอกขึ้น
เพราะเหตุนั้น
พระสงฆ์จึงชื่อว่าเป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาอื่นยิ่งกว่า แล
สังฆานุสสติฌาน
- เมื่อพระโยคาวจรระลึกถึงพระสังฆคุณทั้งหลาย
อันต่างโดยคุณ มีความเป็นผู้ปฏิบัติดีเป็นต้น ดังกล่าวมาฉะนี้อยู่
ในสมัยนั้นจิต ( ของเธอ ) ย่อมไม่เป็นจิตที่ราคะกลุ้มรุม ไม่เป็นจิตที่โทสะกลุ้มรุม
ไม่เป็นจิตที่โมหะกลุ้มรุมเลยทีเดียว
ในสมัยนั้น จิตของเธอย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงแน่วปรารภพระสงฆ์แล องค์ฌานทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นในขณะเดียวกัน
แก่เธอผู้ข่มนิวรณ์ได้แล้วโดยนัยก่อน ( ที่กล่าวในพุทธานุสสติ ) นั่นแล แต่เพราะความที่พระสังฆคุณทั้งหลายเป็น
อารมณ์ลึกซึ้ง หรือเพราะความที่จิตน้อมไปในการระลึกถึงพระคุณมีประการต่างๆ ฌานนี้จึงเป็นฌานที่ไม่ถึงอัปปนา
ถึงเพียงอุปจารเท่านั้น ( และ ) ฌานนี้นั้น ก็ถึงซึ่งความนับ ( ชื่อ ) ว่า สังฆานุสสตินั่นเอง
เพราะเป็นฌานที่เกิด
ขึ้นด้วยอำนาจการระลึกถึงพระสังฆคุณ
อานิสงส์เจริญสังฆานุสสติ
- ก็แลภิกษุผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งสังฆานุสสตินี้
ย่อมเป็นผู้มีความเคารพยำเกรงในพระสงฆ์ ได้ความไพบูลแห่ง
คุณมีศรัทธาเป็นอาทิ
- เป็นผู้มากไปด้วยปีติและปราโมช
ทนต่อความกลัวและความตกใจ สามารถอดกลั้นทุกข์ มีความรู้สึก ( เสมือน )
ว่าได้อยู่กับพระสงฆ์ อนึ่ง แม้สรีระของเธออันสังฆคุณานุสสติประทับอยู่ ย่อมเป็นร่างควรแก่การบูชา
ดุจโรงอุโบสถ
อันมีสงฆ์ประชุมกันอยู่ฉะนั้น จิตของเธอย่อมน้อมไปในอันจะบรรลุถึงพระสังฆคุณ
อนึ่ง ในเมื่อมีการประจวบ
เข้ากับวัตถุที่จะพึงล่วงละเมิด ( ศีล ) หิริโอตตัปปะย่อมจะปรากฏแก่เธอผู้ (
รู้สึก ) ราวกะเห็นพระสงฆ์อยู่ต่อหน้า
อนึ่งเล่า เมื่อยังไม่บรรลุคุณอันยิ่งขึ้นไป เธอย่อมเป็นผู้มีสุคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้า
- เพราะเหตุนั้นแล ผู้มีปัญญาดี
พึงทำความไม่ประมาทในสังฆานุสสติ อันมีอานุภาพมากอย่างนี้
ทุกเมื่อเทอญ
- นี้เป็นถกามุข ( คำแก้ข้อที่สำคัญ
) อย่างพิสดาร ในสังฆานุสสติ
สีลานุสสติ
- ส่วนว่า พระโยคาวจรผู้ใคร่จะเจริญสีลานุสสติ
พึงเป็นผู้ไปในที่ลับ ( คน ) เร้นอยู่ ( ในเสนาสนะอันสมควร )
แล้ว ระลึกถึงศีลทั้งหลายของตน โดย ( ระลึกถึง คุณ ( สมบัติแห่งศีล ) มีความเป็นศีลไม่ขาดเป็นอาทิ
โดยนัยว่า
" โอ ! ศีลทั้งหลายของเราไม่ขาดหนอ โอ ! ศีลทั้งหลายของเราไม่ทะลุหนอ ไม่ด่างหนอ
... ไม่พร้อยหนอ ...
เป็นไทยหนอ ... ผู้รู้สรรเสริญหนอ ... ไม่ถูกปรามาสหนอ ... เป็นทางสมาธิหนอ "
ดังนี้ ก็แลศีลเหล่านั้น ผู้เป็น
คฤหัสถ์พึงระลึกถึงศีลที่เป็นของคฤหัสถ์ บรรพชิตก็พึงระลึกถึงศีลที่เป็นของบรรพชิต
จะเป็นศีลของคฤหัสถ์หรือ
ศีลของบรรพชิตก็ตามแต่ สิกขาบทแม้ข้อเดียวในเบื้องต้น หรือในเบื้องปลายของศีลเหล่าใดไม่แตก
ศีลเหล่านั้น
ชื่อว่า อขัณฑะ เพราะไม่ขาดเหมือนผ้าอันขาดที่ชาย
- สิกขาบทแม้ข้อเดียวในท่ามกลางของศีลเหล่าใดไม่แตก
ศีลเหล่านั้นชื่อว่า อัจฉิททะ เพราะไม่ทะลุเหมือน
ผ้าทะลุกลางผืน
- สิกขาบท ๒ หรือ ๓ ข้อโดยลำดับของศีลเหล่าใดไม่แตก
ศีลเหล่านั้นชื่อว่า อสพละ เพราะไม่ด่างเหมือนแม่
โคซึ่งมีสีตัวดำหรือแดงเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง มีสีที่ตัดกับสีตัวมีสัณฐาน
( ต่างๆ ) เช่นยาวหรือกลม ผุดขึ้นที่
หลังบ้างที่ท้องบ้างฉะนั้น
- ศีลเหล่าใดไม่แตกในระหว่างๆ ไป
ศีลเหล่านั้นชื่อว่า อกัมมาสะ เพราะไม่พร้อย เหมือนแม่โคอันลายพร้อยไป
ด้วยจุดสีอันตัดกับสีตัวฉะนั้น ๑
- นัยหนึ่ง โดยอรรถอันไม่แปลกกัน
ศีลทั้งปวงชื่อว่าไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เพราะไม่ถูกเมถุนสังโยค ๗
ประการ และบาปธรรมทั้งหลายมีโกธะ อุปนาหะเป็นต้นเข้ามาทำลาย
- ศีลเหล่านั้นแหละ ชื่อว่า ภุชิสสะ
เพราะพ้นจากความเป็นทาสแห่งตัณหาแล้ว ทำความเป็นไทยได้
- ชื่อว่า วิญญุปสัตถะ เพราะเป็นศีลอันท่านผู้รู้ทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นสรรเสริญ
- ชื่อว่า อปรามัฏฐะ เพราะเป็นศีลอันตัณหาและทิฏฐิไม่ปรามาส
( แตะต้อง ) ๒
หรือว่าเพราะความเป็นศีล
อันใครๆ ไม่พึงอาจปรามาส ( ตำหนิ ) ได้ว่า " นี่เป็นความเสียในศีลทั้งหลายของท่าน
"
- ชื่อว่า สมาธิสังวัตตนิกะ เพราะยังอุปจารสมาธิหรืออัปปนาสมาธิให้เป็นไป
หรือมิฉะนั้น ยังมรรคสมาธิและผล
สมาธิให้เป็นไปก็ได้
สีลานุสสติฌาน
- เมื่อพระโยคาวจรนั้นระลึกถึงศีลทั้งหลายของตน
โดยคุณมีความเป็นศีลไม่ขาดเป็นต้นดังนี้อยู่
- ๑. เรื่อง ขาด ทะลุ ด่าง
พร้อย ที่ท่านอธิบายนี้ ได้ความว่าขาดทั้งนั้น ต่างกันด้วยอาการที่ขาดเท่านั้น
พิจารณาดูศัพท์แล้วเห็นว่าน่าจะเป็นโทษลดหลั่นกัน คือมีเจตนาล่วงศีลจนถึงที่สุดเป็นขาด
มีเจตนาล่วงศีล แต่
พยายามไม่สำเร็จ เช่น ฆ่าเขา แต่เขาไม่ตาย เป็นทะลุ มีเจตนาเป็นแต่เจตนาตลกคะนอง
หรือไม่เอื้อเฟื้อ สำรวม
ทำ พูดอะไรเฉียดความล่วงศีล จะว่าไม่เป็นความเสียทีเดียวก็ว่าไม่ได้ นับเป็นความเสียนิดหน่อย
นี้เป็นพร้อย หรือ
มิฉะนั้น ล่วงถึงปาราชิกเป็นขาด ล่วงสังฆาทิเสส เป็นทะลุ ล่วงปาจิตตีย์ เป็นด่าง
ล่วงทุกกฏ ทุพภาสิต เป็นพร้อย
ดังนี้จะเข้าใจง่ายขึ้น
- ๒. เช่นรักษาศีลตั้งปรารถนาจะเป็นเทพเจ้าหรือเทพเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
หรือยึดมั่นด้วยความเห็นว่า
ความบริสุทธิ์จักมีได้ด้วยศีลอย่างนั้นอย่างนี้
- ในสมัยนั้น จิต ( ของเธอ ) ย่อมไม่เป็นจิตที่ราคะกลุ้มรุม
ไม่เป็นจิตที่โทสะกลุ้มรุม ไม่เป็นจิตที่โมหะกลุ้มรุม
เลยทีเดียว ในสมัยนั้นจิตของเธอย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงแน่วปรารภศีลแล องค์ฌานทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นในขณะ
เดียวกันแก่เธอผู้ข่มนิวรณ์ได้แล้ว โดยนัยก่อน ( ที่กล่าวในพุทธานุสสติ ) นั่นแล
แต่เพราะความที่สีลคุณทั้งหลาย
เป็นอารมณ์ลึกซึ้ง หรือเพราะความที่จิตน้อมไปในการระลึกถึงคุณนานาประการ ฌานนี้จึงเป็นฌานที่ไม่ถึงอัปปนา
ถึงเพียงอุปจารเท่านั้น ( และ ) ฌานนี้นั้นก็ถึงซึ่งความนับ ( ชื่อ ) สีลานุสสติ
นั่นเอง เพราะเป็นฌานที่เกิดขึ้น
ด้วยอำนาจการระลึกถึงสีลคุณ
อานิสงส์เจริญสีลานุสตติ
- ก็แลภิกษุผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งสีลานุสสตินี้
ย่อมเป็นผู้มีความเคารพในสิกขา มีความประพฤติเหมาะสม
ไม่ประมาทในการปฏิสันถาร ปราศจากภัย มีอัตตานุวาทภัย ( ภัยคือตนติตนเองได้ )
เป็นต้น *
มีปกติเห็นเป็น
ภัยในโทษทั้งหลายมาตรว่าเล็กน้อย ได้ความไพบูลแห่งคุณมีศรัทธาเป็นอาทิ เป็นผู้มากไปด้วยปีติและปราโมช
อนึ่ง เมื่อยังไม่บรรลุคุณอันยิ่งขึ้นไป เธอย่อมเป็นผู้มีสุคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้า
- เพราะเหตุนั้นแล ผู้มีปัญญาดี
พึงทำความไม่ประมาทในสีลานุสสติ อันมีอานุภาพมากอย่างนี้
ทุกเมื่อเทอญ
- นี้เป็นกถามุข ( คำแก้ข้อที่สำคัญ
) อย่างพิสดาร ในสีลานุสสติ
- * หมายเอาภัย ๔ คือ อัตตานุวาทภัย
( ตนติตนเอง ) ปรานุวาทภัย ( คนอื่นติ ) ทัณฑภัย ( ถูกจับลงอาชญา )
ทุคคติ ( ตายไปแล้วไปทุคติ )