จาคานุสสติ
- ส่วนผู้ใคร่จะเจริญจาคานุสสติ
ต้องเป็นผู้ ( มีจิต ) น้อมไปในจาคะ มีการให้และการแบ่งเป็นไปอยู่เป็นนิตย์
หรือมิฉะนั้น เมื่อจะเริ่มเจริญ พึงทำสมาทานว่า " บัดนี้ จำเดิมแต่กาลนี้ไป
เมื่อปฏิคาหกมีอยู่ เรายังมิได้ให้ทาน
โดยที่สุดแม้ข้าวสักคำหนึ่งแล้ว จักไม่บริโภค " ดังนี้แล้ว ให้ทานตามสามารถตามกำลัง
ในปฏิคาหกทั้งหลาย
ผู้วิเศษโดยคุณ ( ให้ได้ ) ในวันนั้น แล้วถือเอานิมิตในทานนั้น ( คือ กำหนดเอาอาการอันเป็นไปแห่งเจตนาบริจาค
ในทานนั้น ) ไปในที่ลับ ( คน ) เร้นอยู่ ( ในเสนาสนะอันสมควร ) แล้ว ระลึกถึงจาคะของตนโดย
( ระลึกถึง )
คุณมีความปราศจากความตระหนี่ อันเป็นตัวมลทินเป็นต้น อย่างนี้ว่า " ( เป็น
) ลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้ว
หนอ ซึ่งเมื่อประชาชนถูกมลทินคือความตระหนี่กลุ้มรุมอยู่ เรา ( มา ) มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นตัว
มลทินอยู่ มีการสละปล่อยเลย ( ไม่เสียดายอาลัยหรือหวังผลตอบแทน ) มีมืออันล้างไว้
( คอยจะหยิบของให้
ทาน ) ยินดีในการเสียสละ ควรในการขอ พอใจในการให้และการแบ่ง "
แก้อรรถ อนุสสรณปาฐะ
- ในปาฐะเหล่านั้น ข้อว่า ลาภา
วต เม นั้น คือ มยฺหํ วต ลาภา ( ลาภของเราหนอ ) อธิบายว่า " ลาภทั้ง
หลายของผู้เป็นทายก ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพรรณนาไว้หลายนัยเป็นต้นว่า "
... ก็แลเป็นทายกนั้นครั้นให้
อายุแล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้อายุอันเป็นของทิพย์บ้าง เป็นของมนุษย์บ้าง "
( อง.ปญฺจก. ๒๒/๔๔ ) ดังนี้
เป็นอาทิก็ดี ว่า " ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ชนเป็นอันมากย่อมคบเขา "
ดังนี้ก็ดี ว่า " บุคคลเมื่อดำเนินตามธรรมของ
สัตบุรุษทั้งหลาย ให้ ( ทาน ) อยู่ ย่อมเป็นที่รัก " ( อง. ปญฺจก. ๒๒/๔๓
) ดังนี้ก็ดี เหล่านี้ใด ลาภทั้งหลาย
เหล่านั้นเป็นส่วนได้ของเราแน่นอน "
- ข้อว่า สุลทฺธํ วต เม ( เราได้ดีแล้วหนอ ) ความว่า
พระศาสนานี้ หรือว่าอัตภาพมนุษย์นี้ใดที่เราได้แล้ว
พระศาสนาหรืออัตภาพมนุษย์นั้น ชื่อว่าเราได้ดีแล้วหนอ ถามว่า เพราะอะไรแก้ว่า
เพราะ " เมื่อหมู่สัตว์ถูกมลทิน
คือความตระหนี่กลุ้มรุมอยู่ เรา ( มา ) มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นตัวมลทินอยู่
ฯลฯ พอใจในการให้และ
การแบ่ง "
- ในบทเหล่านั้น บทว่า มจฺเฉรมลปริยุฏฺฐิตาย
( ถูกมลทินคือความตระหนี่กลุ้มรุม ) หมายความว่า ถูกมลทิน
คือความตระหนี่ครอบงำ บทว่า ปชาย ( เมื่อประชาชน ) ความว่า สัตว์ทั้งหลายท่านเรียก
ปชา โดยความที่ได้
กำเนิดมา ( ตามกรรมของตน ) เพราะฉะนั้น ในข้อนี้จึงมีเนื้อความ ( ดัง ) นี้ว่า
" เมื่อสัตว์ทั้งหลาย ถูกมลทิน
คือความตระหนี่ อันมีความทนไม่ไหวซึ่งความที่สมบัติทั้งหลายของตน ( มา ) เป็นของสาธารณแก่คนอื่นๆ
ไปเป็น
ลักษณะ เป็นจำพวกธรรมดำอันเป็นเครื่องประทุษร้ายความเป็นประภัสสร ( ผ่องใส )
แห่งจิตอย่างใดอย่างหนึ่ง
ครอบงำเอาแล้ว "
- บทว่า วิคตมลมจฺเฉเรน ความว่า ชื่อว่า ปราศจากมลทินและความตระหนี่
เพราะความที่มลทินอื่นๆ เช่น
ราคะ โทสะ และความตระหนี่ด้วยปราศไปแล้ว คำว่า เจตสา วิหรามิ ความว่า
เราเป็นผู้มีจิตมีประการดัง
กล่าวแล้วอยู่ ส่วนในพระสูตรตรัสว่า อคารํ อชฺฌาวสามิ ( เรา ... อยู่ครองเรือน
) เพราะเมื่อเจ้ามหานาม
ศากยะผู้เป็นพระโสดาบันทูลถามถึงนิสสัยวิหาร ( ธรรมที่พึงอาศัยอยู่ของพระโสดาบัน
) ก็ทรงแสดงไปโดยแนว
นิสสัยวิหารด้วยกัน ความในบท อชฺฌาวสามิ นั้นว่า อภิภวิตฺวา วสามิ
เราอยู่ครอบครอง ( เรือน )
- บทว่า มุตฺตจาโค แปลว่า มีการสละปล่อยเลย
- บทว่า ปยตปาณี หมายความว่า มีมือสะอาด มีคำอธิบายว่า
มีมืออันล้างไว้ทุกเมื่อ เพื่อจะให้ไทยธรรมด้วย
มือตนโดยเคารพ
- บทว่า โวสฺสคฺครโต อธิบายว่า
การเสียสละ ชื่อว่าโวสสัคคะ ความก็คือ บริจาค ( นั่นเอง ) บุคคลชื่อว่า
โวสฺสคฺครต เพราะยินดีโดยประกอบอย่างยิ่งเนืองๆ ในโวสสัคคะนั้น
- บทว่า ยาจโยโค อธิบายว่า เป็นผู้ควรในการขอ เพราะคนอื่นๆ
ขอสิ่งใดๆ ก็ให้สิ่งนั้นๆ ปาฐะว่า ยาชโยโค
ก็มี แปลว่า ผู้ประกอบด้วยยาชะ กล่าวคือการบูชา ( การให้ )
- บทว่า ทานสํวิภาครโต แปลว่า ยินดีในการให้และในการแบ่งด้วย
ความว่า พระโยคาวจรผู้ทายกย่อมระลึก
( ในข้อนี้ ) อย่างนี้ว่า เราแหละ ให้ทานด้วย ทำการแบ่งแม้จากของที่ตนจะพึงบริโภคด้วย
เป็นผู้ยินดีในการให้และ
การแบ่งทั้งสองอย่างนั้นแลด้วย
จาคานุสสติฌาน
- เมื่อพระโยคาวจรนั้นระลึกถึงจาคะของตน โดย ( ระลึกถึง
) คุณมีความเป็นผู้ปราศจากความตระหนี่ อันเป็นตัว
มลทินเป็นอาทิอย่างนี้อยู่ ในสมัยนั้น จิต ( ของเธอ ) ย่อมไม่เป็นจิตที่ราคะกลุ้มรุม
ไม่เป็นจิตที่โทสะกลุ้มรุม ไม่เป็น
จิตที่โมหะกลุ้มรุมเลยทีเดียว ในสมัยนั้นจิตของเธอย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงแน่วปรารภจาคะแล
องค์ฌานทั้งหลาย
ย่อมเกิดขึ้นในขณะเดียวกัน แก่เธอผู้ข่มนิวรณ์ได้แล้ว โดยนัยก่อน ( ที่กล่าวในพุทธานุสสติ
) นั่นแล แต่เพราะ
ความที่จาคคุณทั้งหลายเป็นอารมณ์ลึกซึ้ง หรือเพราะความที่จิตน้อมไปในการระลึกถึงจาคคุณนานาประการ
ฌานนี้จึงเป็นฌานที่ไม่ถึงอัปปนา ถึงเพียงอุปจารเท่านั้น ( และ ) ฌานนี้นั้น
ก็ถึงซึ่งความนับ ( ชื่อ ) ว่า จาคา
นุสสตินั่นเอง เพราะเป็นฌานที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจการระลึกถึงจาคคุณ
อานิสงส์เจริญจาคานุสสติ
- ก็แลภิกษุผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งจาคานุสสตินี้
ย่อมเป็นผู้น้อมไปในการสละโดยประมาณยิ่ง มีอัธยาศัยไม่โลภ
ทำสมควรแก่เมตตาอยู่โดยปกติ กล้าหาญ ( ในชุมนุมชน ) มากไปด้วยปีติและปราโมช อนึ่ง
เมื่อยังไม่บรรลุคุณ
อันยิ่งขึ้นไป เธอย่อมเป็นผู้มีสุคติที่ไปในเบื้องหน้า
- เพราะเหตุนั้นแล ผู้มีปัญญาดี
พึงทำความไม่ประมาทในจาคานุสสติ อันมีอานุภาพมากอย่างนี้
ทุกเมื่อเทอญ
- นี้เป็นกถามุข ( คำแก้ข้อที่สำคัญ
) อย่างพิสดาร ในจาคานุสสติ
เทวตานุสสติ
- ส่วนว่า พระโยคาวจรผู้ใคร่จะเจริญเทวตานุสสติ
ด้องเป็นผู้ประกอบด้วยคุณทั้งหลายมีศรัทธาเป็นต้น อัน
( เกิด ) ขึ้มาอย่างดีด้วยอำนาจอริยมรรคแล้ว แต่นั้น พึงไปในที่ลับ ( คน ) เร้นอยู่
( ในเสนาสนะอันสมควร )
แล้ว ตั้งเทวดาไว้ในฐานะแห่งพยาน ระลึกถึงคุณมีศรัทธาเป็นต้นของตนอย่างนี้ว่า
" เทวดาเหล่าจาตุมหาราชิกา
มีอยู่ เทวดาเหล่าดาวดึงส์ เหล่ายามา เหล่าดุสิต เหล่านิมมานรดี เหล่าปรนิมมิตวสวัตตี
ก็มีอยู่ เทวดาจำพวก
รูปพรหมก็มีอยู่ เทวดาที่ชั้นสูงกว่าจำพวกรูปพรหมนั้นก็มีอยู่ เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศรัทธาอย่างใด
จุติจากภพนี้แล้ว ( ไป ) เกิดในภพนั้นๆ ศรัทธาอย่างนั้น แม้ของเราก็มีอยู่ เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศีลอย่างใด
สุตะอย่างใด จาคะอย่างใด ปัญญาอย่างใด จุติจากภพนี้แล้ว ( ไป ) เกิดในภพนั้นๆ
ศีลอย่างนั้น สุตะอย่างนั้น
จาคะอย่างนั้น ปัญญาอย่างนั้น แม้ของเราก็มีอยู่ " ดังนี้ แต่ในพระสูตรตรัส
( สองฝ่ายเสมอกัน ) ว่า " ดูกร
มหานาม ในสมัยใด อริยสาวกระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญของตนและของเทวดา
ทั้งหลายเหล่านั้นด้วย ในสมัยนั้น จิตของเธอย่อมไม่เป็นจิตที่ราคะกลุ้มรุมเลย...
" ( อง.ฉกฺก. ๒๒/๓๒0 )
ดังนี้ ตรัส ( สองฝ่ายเสมอกันเช่นนั้น ) ก็จริง แต่ที่แท้ บัณฑิตพึงทราบว่าคำ
( ในพระสูตร ) นั้น พระผู้มีพระภาค
เจ้าตรัสเพื่อแสดงคุณของเทวดา ที่พึงตั้งไว้ในฐานแห่งพยานทั้งหลาย เสมอกันกับคุณทั้งหลายมีศรัทธาเป็นต้นของตน
เพราะในอรรถกถาแก้ไว้เป็นมั่นเหมาะว่า " ตั้งเทวดาไว้ในฐานแห่งพยาน ระลึกถึงคุณทั้งหลายของตน
" ดังนี้
เทวตานุสสติฌาน
- เพราะเหตุนั้น เมื่อพระโยคาวจรนั้น
แม้ระลึกถึงคุณของเทวดาทั้งหลายในเบื้องแรกแล้ว ระลึกถึงคุณมีศรัทธา
เป็นต้นที่ตนมีอยู่ในเบื้องปลายนั่นแล ( เบื้องแรกคือเริ่มภาวนา เบื้องปลาย คือในเวลาจะสำเร็จอุปจาร
) ในสมัยนั้น
จิตของเธอจึงไม่เป็นจิตที่ราคะกลุ้มรุม ไม่เป็นจิตที่โทสะกลุ้มรุมไม่เป็นจิตที่โมหะกลุ้มรุมเลยทีเดียว
ในสมัยนั้น
จิตของเธอย่อมดำเนินไปตรงแน่วปรารภเทวดาแล องค์ฌานทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นในขณะเดียวกัน
แก่เธอผู้ข่มนิวรณ์
ได้แล้ว โดยนัยก่อน ( ที่กล่าวในพุทธานุสสติ ) นั่นแลแต่เพราะความที่สัทธาธิคุณทั้งหลายเป็นอารมณ์ลึกซึ้ง
หรือเพราะความที่จิตน้อมไปในการระลึกถึงคุณมีประการต่างๆฌานนี้จึงเป็นฌานที่ไม่ถึงอัปปนา
ถึงเพียงอุปจาร
เท่านั้น ( และ ) ฌานนี้นั้นก็ถึงซึ่งความนับ ( ชื่อ ) ว่า เทวตานุสสติ นั่นเอง
เพราะเป็นฌานที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจการ
ระลึกถึงสัทธาทิคุณ ( ของตน ) อันเป็นเช่นกับคุณของเทวดาทั้งหลาย
อานิสงส์เจริญเทวตานุสสติ
- ก็แลภิกษุผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งเทวตานุสสตินี้
ย่อมเป็นที่รักที่ชอบใจของเทวดาทั้งหลาย ได้บรรลุความไพบูลย์
แห่งสัทธาทิคุณโดยประมาณยิ่ง เป็นผู้มากไปด้วยปีติและปราโมชอยู่ อนึ่ง เมื่อยังไม่บรรลุคุณอันยิ่งขึ้นไป
เธอ
ย่อมเป็นผู้มีสุคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้า
- เพราะเหตุนั้นแล ผู้มีปัญญาดี
พึงทำความไม่ประมาทในเทวตานุสสติ อันมีอานุภาพมากอย่างนี้
ทุกเมื่อเทอญ
- นี่เป็นกถามุข ( คำแก้ข้อที่สำคัญ
) อย่างพิสดาร ในเทวตานุสสติ
แก้อรรถบท อตฺถเวทํ เป็นต้นในมหานามสูตร
- ก็แล ในการทรงแสดงอนุสสติเหล่านั้นโดยพิสดาร
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำว่า " ในสมัยนั้น จิตของเธอ
เป็นจิตดำเนินไปตรงแน่วปรารภตถาคต " ดังนี้เป็นต้น แล้วตรัสพุทธวจนะใดว่า
" ดูกรมหานาม ก็อริยสาวก
ผู้มีจิตดำเนินไปตรงแล้วนั่นแล ย่อมได้รสอรรถ ย่อมได้รสธรรม ย่อมได้ความปราโมชอันประกอบด้วยธรรม
เมื่อเธอปราโมชปีติย่อมเกิด " ดังนี้ ในพุทธวจนะนั้นพึงทราบว่า คำว่าได้รสอรรถตรัสหมายเอาความยินดี
อัน
อาศัยอรรถแห่งอนุสสรณบาลี มีบทว่า อิติปิ โส ภควา เป็นต้นเกิดขึ้น คำว่า ได้รสธรรม
ตรัสหมายเอา
ความยินดีอันอาศัย ( ตัว ) บาลีเกิดขึ้น คำว่าได้ความปราโมชอันประกอบด้วยธรรม
ตรัสโดย ( หมายถึง )
ความยินดีทั้ง ๒ อย่าง
- ส่วนคำใดที่ตรัสในเทวตานุสสติว่า
" ปรารภเทวดา " คำนั้นพึงทราบว่าตรัสโดย ( หมายถึง ) จิตอันปรารภ
เทวดาเป็นไป หรือโดย ( หมายถึง ) จิตที่ปรารภคุณทั้งหลาย ( ของตน ) อันยังความเป็นเทวดาให้สำเร็จ
ซึ่งเป็นคุณเช่นเดียวกับคุณของเทวดา เป็นไปในเบื้องแรก ( แห่งการภาวนา )
อนุสสติ ๖ สำเร็จแก่อริยสาวกเท่านั้น
- ก็แลอนุสสติ ๖ นี้ ย่อมสำเร็จแก่อริยสาวกทั้งหลายเท่านั้น
เพราะคุณของพระพุทธเจ้า และพระธรรม พระสงฆ์
ย่อมปรากฏ ( ชัด ) แก่ท่าน และท่านประกอบพร้อมไปด้วยศีลทั้งหลายอันทรงคุณมีความไม่ขาดเป็นต้น
ด้วย
จาคะที่ปราศจากความตระหนี่ อันเป็นตัวมลทินและด้วยคุณทั้งหลายมีศรัทธาเป็นอาทิ
อันเสมอเหมือนกับคุณของ
ทวยเทพผู้มีอานุภาพมาก อนึ่ง ในมหานามสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้าอันเจ้ามหานามศากยะทูลถามถึงนิสสัยวิหาร
( ธรรมที่พึงอาศัยอยู่ ) ของพระโสดาบัน ก็ตรัสอนุสสติ ๖ นั้นโดยพิสดาร เพื่อแสดงนิสสัยวิหารของพระโสดาบัน
นั่นเอง แม้ในเคธสูตรก็ตรัส ( อนุสสติ ๖ นั้น ) เพื่อประโยชน์แก่การทำจิตให้หมดจดด้วยอำนาจอนุสสติ
แล้วได้
บรรลุปรมัตถวิสุทธิยิ่งขึ้นไปแห่งอริยสาวก อย่างนี้ว่า " ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อม
ระลึกถึงตถาคตว่า แม้เพราะอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ฯลฯ ในสมัยนั้น จิตของเธอย่อมเป็นจิต
ดำเนินไปตรงแน่ว เป็นจิตออกไป พ้นไป เลิกไปจากเคธะ ( ด้วยวิกขัมภนวิมุติ ) ภิกษุทั้งหลาย
คำว่า
เคธะ นั้นแลเป็นชื่อแห่งกามคุณ ๕ ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ลางพวกในโลกนี้ ทำอนุสสติฌานนี้
ให้เป็น
อารมณ์แล้ว ย่อมหมดจดได้อย่างนี้ประการหนึ่ง " ( อง. ฉกฺก. ๒๒/ ๓๔๗ )
ดังนี้เป็นต้น แม้ใน
สัมพาโธกาสสูตรที่ท่านมหากัจจานะแสดง ก็กล่าว ( อนุสสติ ๖ นี้ ) โดยเป็นธรรมเครื่องได้ช่องว่าง
( ในที่คับแคบ )
เพื่อความเป็นผู้มีปรมัตถวิสุทธิเป็นธรรมแห่งอริยสาวกนั่นเอง อย่างนี้ว่า
- " ดูกรอาวุโส ข้อนี้เป็นอัศจรรย์
ดูกรอาวุโส ข้อนี้ไม่เคยมี มามีแล้ว ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้รู้
ผู้เห็นผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธะ ได้ตรัสรู้ธรรม เครื่องได้ช่องว่างในที่คับแคบ
เพื่อความหมด
จดแห่งสัตว์ทั้งหลายฯลฯ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน ธรรมเครื่องได้ช่องว่างในที่คับแคบนี้คืออะไร
คือ อนุสตติฐาน ๖ อนุสสติฐาน ๖ คืออะไรบ้าง ดูกรอาวุโสอริยสาวกในธรรมวินัยนี้
ระลึกถึงพระ
ตถาคต ฯลฯ สัตว์ลางพวกในโลกนี้... ย่อมเป็นผู้มีวิสุทธิเป็นธรรมอย่างนี้ประการ
๑ " ( อง. ฉกฺก.
๒๒/๓๕0 ) ดังนี้เป็นต้น แม้ในอุโบสถสูตร
ก็ตรัส ( อนุสสติ ๖ นี้ ) โดยเป็นกรรมฐานเครื่องชำระจิตของอริยสาวก
ผู้จำอุโบสถศีลนั่นแล อย่างนี้ว่า " ดูกรวิสาขาก็แลอริยอุโบสถเป็นอย่างไร
ดูกรวิสาขา การทำจิตที่เศร้า
หมองให้ผ่องแผ้ว ย่อมมีได้ด้วยความพยายาม ก็การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้ว
ย่อมมีได้ด้วย
ความพยายามอย่างไร ดูกรวิสาขา อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมระลึกถึงตถาคต... "
( อง. ติก.
๒0/ ๒๖๕ ) ดังนี้เป็นต้น เพื่อทรงแสดงความมีผลมากแห่งอุโบสถ แม้ในเอกาทสกนิบาต
( อังคุตตรนิกาย ) เมื่อเจ้ามหานามทูลถามว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
เมื่อข้าพระองค์ทั้งหลายนั้นอยู่กันด้วยวิหารธรรม
ต่างๆ กัน ข้าพระองค์จะพึงอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไร " ดังนี้ ก็ตรัส (
อนุสสติ ๖ นี้ ) เพื่อแสดงวิหารธรรม
แห่งอริยสาวกนั่นเองอย่างนี้ว่า " ดูกรมหานาม ผู้มีศรัทธาแหละเป็นผู้ทำให้สำเร็จได้
ผู้ไม่มีศรัทธาหาเป็น
ผู้ทำให้สำเร็จได้ไม่ ผู้ปรารภความเพียร ผู้มีสติตั้งมั่น ผู้มีจิตเป็นสมาธิ
- ผู้มีปัญญา เป็นผู้ทำให้สำเร็จได้
ผู้เกียจคร้าน ผู้มีสติหลงลืม ผู้มีจิตไม่เป็นสมาธิ ผู้มีปัญญาทราม
หาเป็นผู้ทำให้สำเร็จได้ไม่ ดูกรมหานาม เธอพึงตั้งอยู่ในธรรม ๕ นี้แล้ว เจริญธรรม
๖ ต่อไป ( คือ )
ในการเจริญธรรม ๖ นี้ เธอพึงระลึกถึงตถาคตว่า " แม้เพราะอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น...
"
( อง. เอกาทสก.๒๔/๓๕๕ ) ดังนี้เป็นต้น
ปุถุชนบำเพ็ญก็สำเร็จประโยชน์
- ถึงเป็นอย่างนั้น ( อนุสสติ ๖
นี้ ) แม้ปุถุชนผู้ประกอบด้วยคุณมีศีลบริสุทธิเป็นต้น ก็ควรมนสิการได้
เพราะว่าแม้ด้วยอำนาจแห่งความระลึก จิตของบุคคลผู้ระลึกถึงคุณของอนุสรณวัตถุมีพระพุทธเจ้าเป็นอาทิอยู่
ย่อม ( เกิดความ ) เลื่อมใสได้แท้ ด้วยอานุภาพแห่งความเลื่อมใสไรเล่า พระโยคาพจรเจ้าจะพึงข่มนิวรณ์
ทั้งหลายเสียได้แล้วเป็นผู้มีปราโมชเหลือล้น เริ่ม ( ทำ ) วิปัสสนาไป
ก็ทำให้แจ้งซึ่งพระอรหัตได้เหมือนกัน
ดุจพระปุสสเทวเถระผู้อยู่ ณ กัฏฐอันธการวิหาร
- ได้ยินว่า ท่านผู้นั้นได้เห็นพระพุทธรูปที่มารนิรมิตแล้วรำพึงไปว่า
" มารนี่ ยังมี ราคะ โทสะ โมหะอยู่แท้ๆ
ยัง ( นิรมิตพระพุทธรูปได้ ) งามถึงปานนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าซึ่งปราศจากราคะ
โทสะ โมหะ โดยประการ
ทั้งปวงแล้วจะงามปานไหนเล่าหนอ " ดังนี้แล้ว ได้ปีติอันมีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์
เจริญวิปัสสนาบรรลุ
พระอรหันตได้แล
ปริจเฉทที่ ๗ ชื่อ ฉอนุสสตินิเทศ
ในอธิการแห่งสมาธิภาวนา ในปกรณ์วิสุทธิมรรค
อันข้าพเจ้าทำเพื่อประโยชน์แก่ความปราโมชแห่งสาธุชน
ดั่งนี้