ลักษณะโดยอาการมีการดูเป็นต้น
- ข้อว่า " โดยอาการมีการดูเป็นต้น
" นั้นมีนัยดังนี้ คนราคจริต เห็นรูปที่น่ารื่นรมย์ใจแม้สักหน่อย ก็จ้องดูเสียนาน
ราวกะว่าเกิดความพิศวงติดใจในส่วนดี ( ของรูปนั้น ) แม้เล็กน้อย ไม่ถือส่วนเสียของมัน
แม้ ( มองเห็น ) โต้งๆ
เมื่อจะจากไปเล่าก็ไม่ใคร่จะพ้นไปได้ จากทั้งที่มีความอาลัย
- คนโทสจริต เห็นรูปไม่รื่นรมย์ใจแม้สักหน่อย ก็ดูอยู่นานไม่ได้
ทำท่าราวกะเหน็ดเหนื่อย เดือดใจในส่วนเสีย
( ของรูปนั้น ) แม้นิดเดียว ไม่ถือส่วนดี ( ของมัน ) แม้ ( มองเห็น ) เด่นๆ เมื่อจะจากไปเล่า
ก็ใคร่จะพ้นไปเสีย
ทีเดียว จากไปไม่มีอาลัย
- คนโมหจริต เห็นรูปอย่างใดอย่างหนึ่งเข้า ก็สุดแต่คนอื่น
ได้ยินเขาติ ก็ติ ( บ้าง ) ได้ยินเขาชม ก็ชม ( บ้าง )
แต่ส่วนตนเป็นคนเฉยๆ โดยอญาณุเบกขา ( อุเบกขาที่ไม่มีปัญญาประกอบ หรือที่เรียกว่า
อุเบกขาโง่ ) นัยนี้พึงทราบ
แม้ในอาการทั้งหลายมีฟังเสียงเป็นต้น ส่วนบุคคล ๓ ที่เหลือมีคนสัทธาจริตเป็นต้น
พึงทราบตามแนวแห่งบุคคล
๓ ที่กล่าวมาแล้วนั่นเถิด เพราะมีส่วนเสมอกัน บัณฑิตพึงบอกจริยาโดยอาการมีการดูเป็นต้น
ด้วยประการฉะนี้
ลักษณะโดยธรรมประวัติ
- ข้อว่า " และโดยธรรมประวัตินั่นแล " นั้น มีนัยดังนี้
ก็ธรรมทั้งหลายคือ มายา สาเถยฺยะ มานะ ปาปิจฺฉตา
( เจ้าเล่ห์ , โอ้อวด , ถือตัว , ความปรารถนาลามก ) มหิจฺฉตา ( ความมักมาก
) อสนฺตุฏฐิตา ( ความไม่สันโดษ )
สิงคะ ( ความแง่งอน ) จาปลฺยะ ( ความโอ่อ่า ) อย่างนี้เป็นต้น
ย่อมเป็นไปมากแก่คนราคจริต
- ธรรมทั้งหลายคือ โกธะ อุปนาหะ
มกฺขะ ปลาสะ อิสฺสา มจฺฉริย ( โกรธ , ผูกโกรธไว้ , ลบหลู่คุณท่าน ,
ตีเสมอ , ริษยา , ตระหนี่ ) ดังนี้เป็นต้น ย่อมเป็นไปมากแก่คนโทสจริต
- ธรรมทั้งหลายคือ ถีนมิทธะ อุทฺธจฺจกุกกุจฺจะ
วิจิกิจฺฉา อาทานคาหิตา ( ความหดหู่และเซื่องซึม ,
ความฟุ้งซ่านและรำคาญ , ความลังเลสงสัย , ความถือผิด ) ทุปฺปฏินิสฺสคฺคิตา
( ความรั้น ) ดังนี้เป็นต้น
ย่อมเป็นไปมากแก่คนโมหจริต
- ธรรมทั้งหลายคือ มุตฺตจาคตา
( ความสละปล่อยเลย ) อริยานํ ทสฺสนกามตา ( ความใคร่ที่จะได้พบพระอริยะ
ทั้งหลาย ) สทฺธมฺมํ โสตุกามตา ( ความใคร่จะฟังพระธรรม ) ปาโมชฺชพหุลตา
( มีความชื่นบานในธรรมมาก )
อสถตา ( ความไม่โอ้อวด ) อมายาวิตา ( ความไม่มีมายา ) ปสาทนีเยสุ
ฐาเนสุ ปสาโท ( ความเลื่อมใสในฐานะ
ทั้งหลายที่ควรจะเลื่อมใส ) ดังนี้เป็นต้น ย่อมเป็นไปมากแก่คนสัทธาจริต
- ธรรมทั้งหลายคือ โสวจสฺสตา
กลฺยาณมิตฺตตา โภชเนมตฺตญฺญุตา สติสมฺปชญฺญะ ชาคริยานุโยค
สํเวชนีเยสุ ฐาเนสุ สํเวโค ( ว่าง่าย , มีมิตรดีงาม , รู้ประมาณในโภชนะ ,
มีสติและสัมปชัญญะ , ประกอบ
ความเพียร , สังเวชในฐานะทั้งหลายอันควรจะสังเวช ) สํวิคฺคสฺส โยนิโส ปธานํ
( เมื่อสังเวชแล้วควรทำความเพียร
อย่างแยบคาย ) ดังนี้เป็นต้น เป็นไปมากแก่คนพุทธิจริต
- ธรรมทั้งหลาย ภสฺสพหุลตา (
พูดมากกว่าทำ ) คณารามตา ( ชอบคลุกคลีในหมู่คณะ ) กุสลานุโยเค อรติ
( หน่ายทำกุศล ) อนวฏฺฐิตกิจฺจตา ( จับจด ) รตฺติธุมายนา (
กลางคืนบังหวนควัน ) ทิวาปชฺชลนา
( กลางวันไม่ลุกเป็นเปลว )*
หุราหุรํ ธาวนา ( พลุ่งพล่าน ) ดังนี้เป็นต้น เป็นไปมากแก่คนวิตกจริต
บัณฑิตพึงบอกจริยาโดยธรรมประวัติ ด้วยประการฉะนี้เทอญ
- แต่เพราะว่า วิธีบอกจริยานี้ มิได้มาในพระบาลี
มิได้มาในอรรถกถาทุกอาการ ข้าพเจ้า ( พระพุทธโฆสะ )
ว่าไปตามแนวอาจริยมัติเท่านั้น เพราะเหตุนั้น บัณฑิตจึงไม่จำเป็นต้องเชื่อเอาเป็นสาระ
ด้วยว่า แม้คนจริต
ต่างๆ มีโทสจริตเป็นต้น ที่ไม่เผลอตัว ก็อาจ ( ฝืน ) ทำอะไรต่างๆ มีอิริยาบถเป็นอาทิ
ที่กล่าวไว้สำหรับคนราคจริตได้
- * ตอนกลางคืนครุ่นคิดไปว่า
พรุ่งนี้จะทำกิจอย่างนั้นๆ เปรียบได้กับสุมไฟแต่พอเป็นควันกรุ่นอยู่
ครั้นถึงกลางวันลุกขึ้นประกอบกิจนั้นๆ ตามที่คิดไว้เปรียบได้กับไฟที่สุมมาแต่ตอนกลางคืนนั้นลุกเป็นเปลวขึ้น
- แต่ในคนวิตกจริต กลางวันไม่ลุกเป็นเปลว
เป็นลักษณะคนวิตกจริต ซึ่งได้แต่คิดๆ แล้วไม่ค่อยทำตามที่คิด
- และอาการทั้งหลายมีอิริยาบทเป็นอาทิ
ที่มีลักษณะแตกต่างกัน จะเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีจริตระคนคนเดียวไม่ได้
เลยทีเดียวแหละ ส่วนวิธีบอกจริตอันใดที่กล่าวไว้ในอรรถกถาทั้งหลาย วิธีบอกจริยานั้นเท่านั้นควรเชื่อถือเป็นสาระได้
จริงอยู่ ท่านกล่าวไว้ ( ในอรรถกถา ) ว่า อาจารย์ผู้ได้เจโตปริยญาณ ( ปัญญาที่กำหนดรู้ใจผู้อื่นได้
) รู้จริยา
( ของอันเตวาสิก ) แล้วจึงบอกกรรมฐานให้ อาจารย์นอกนั้น ( ผู้ไม่ได้เจโตปริยญาณ
) จำต้องซักถามอันเตวาสิกเอา
( ให้รู้จริยาแล้วจึงบอกกรรมฐานให้เขา ) ดังนี้ เพราะฉะนั้น จะรู้ว่าบุคคลนี้เป็นราคจริต
บุคคลนี้เป็นคนจริตอย่างใด
อย่างหนึ่งในจริตที่เหลือ มีโทสจริตเป็นต้นได้ ก็ด้วยเจโตปริยญาณ หรือมิฉะนั้นก็ซักถาม
( เจ้าตัว ) บุคคลนั้นเอา
จึงจะรู้ ด้วยประการฉะนี้
สัปปายะของบุคคลจริตต่างๆ
- ส่วนวินิจฉัยในปัญหาข้อว่า "
และอะไรเป็นสัปปายะของบุคคลจริตอะไร " นั้น พึงทราบต่อไปนี้
สัปปายะของคนราคจริต
- สำหรับคนราคจริต อันดับแรก เสนาสนะ
เป็นเสนาสนะที่มียกพื้นอันมิได้เช็ดล้าง เสนาสนะที่ตั้งอยู่กะพื้นดิน
เงื้อมเขาที่มิได้ตกแต่ง บรรดาเสนาสนะเลวๆ ทั้งหลาย มีกุฏิหญ้าละโรงใบไม้เป็นต้น
อย่างใดอย่างหนึ่ง เสนาสนะ
อันเกลื่อนไปด้วยฝุ่นละออง เต็มไปด้วย ( มูล ) ค้างคาว หักๆ พังๆ สูงเกิน หรือไม่ก็เตี้ยเกิน
แห้งแล้ง น่าระแวงภัย
ทางเดินก็ไม่สะอาดและขรุขระ ในเสนาสนะใด แม้เตียงตั่งก็โย้เย้คร่ำคร่า เต็มไปด้วยเรือด
คนมองเห็นเสนาสนะใดเข้า
เท่านั้น ความเกลียดก็เกิดขึ้น เสนาสนะเช่นนั้น ( แล ) เป็นสัปปายะ
- ผ้านุ่งห่มที่ริมขาดแล้ว ( ทอหยาบๆ
) เกลื่อนไปด้วยเส้นด้าย ห้อยอยู่รุ่งริ่งไปอย่างกับขนมร่างแห สัมผัสหยาบ
ราวกะป่านดิบ คร่ำหนัก ใช้ลำบาก ( นั่นแล ) เป็นสัปปายะ
- แม้บาตร ก็เป็นบาตรดินสีเลอะๆ
หรือมิฉะนั้นก็บาตรเหล็กที่พรุนไปด้วยลิ่มและหมุด หนัก ทรวดทรงเลว
น่าเกลียด ดูประหนึ่ง กะโหลกศีรษะ ( นั่นแหละ ) เหมาะ
- แม้ทาง ( เดินไป ) ภิกขาจาร ก็เป็นทางไม่น่าชอบใจ
ไม่ใกล้หมู่บ้าน ขรุขระ ( นั่นแล ) เหมาะ
- หมู่บ้านที่ภิกขาจารเล่า ก็เป็นหมู่บ้านชนิดที่ภิกษุทั้งหลายเที่ยว
( ภิกขาจาร ) ไป ( ไม่มีวี่แววว่าใครจะถวาย
ภิกษา ) ราวกะว่า คนทั้งหลายไม่เห็น เป็นหมู่บ้านชนิดที่คนทั้งหลายนิมนต์ภิกษุผู้ไม่ได้รับภิกษาในตระกูลเดียวแล้ว
( กลับ ) ออกไป ให้เข้าโรงฉันด้วยคำ ( ห้วนๆ ) ว่า " มานี่ ท่าน "
ถวายข้าวยาคูและภัตรแล้ว เมื่อจะไปก็ไป ( อย่าง )
ไม่แยแส คล้ายต้อนนางโคเข้าคอกแล้วก็ไปเสีย ไม่แลเหลียว ฉะนั้น ( นั่นแล ) เหมาะ
- แม้พวกคนอังคาส ก็เป็นพวกทาส หรือกรรมกรที่ผิวดำไม่น่าดู
ผ้านุ่งห่มสกปรกเหม็นสาบ น่าเกลียดจริงๆ
อังคาสด้วยอาการไม่ยำเกรง ดุจ ( เท ) ทิ้งยาคูและภัตรเสียฉะนั้น พวกคนอังคาสเช่นนั้น
( แล ) เป็นสัปปายะ
- ยาคู ภัตรและของขบเคี้ยวเล่า ก็เป็นของปอนๆ
สีเลอะๆ ล้วนไปด้วยอปรัณณชาติ ( ของที่ควรกินทีหลัง )
มีข้าวฝ้าง และลูกเดือย และปลายข้าวเป็นต้น เครื่องแกงประกอบด้วยเปรียงเก่า น้ำผักดอง
และผักแก่ๆ อย่างใดอย่าง
หนึ่งก็ได้ พอทำท้องให้เต็มก็แล้วกัน ( นั่นแล ) เหมาะ
- แม้อิริยาบถสำหรับคนราคจริตนั้น
ก็เป็นการยืน หรือจงกรม ( นั่นแล ) ควร
- อารมณ์ ( กรรมฐาน ) เล่า ก็เป็นบรรดาวรรณกสิณ
( กสิณสีต่างๆ ) มีนีลกสิณ ( กสิณสีเขียว ) เป็นต้นอย่างใด
อย่างหนึ่ง ที่สีไม่สด ( นั่นแล ) ควร
- นี้แล เป็นสัปปายะของคนราคจริต
( มหาฎีกาว่า สัปปายะ ไม่ใช่หมายความว่า สุขสบาย แต่หมายความว่า
เหมาะแก่การที่จะกำหราบกิเลสของเขาไม่ให้ฟุ้งขึ้น )
สัปปายะของคนโทสจริต
- สำหรับคนโทสจริต เสนาสนะ เป็นเสนาสนะที่ไม่สูงนัก
ไม่เตี้ยนัก มีร่มเงาและน้ำพร้อม ฝาเสาและบันไดได้
สัดส่วน มีการแต่งด้วยไม้ดอกและไม้เถาไว้งดงาม เรียบร้อย พราวไปด้วยจิตรกรรมต่างๆ
อย่าง พื้นที่เรียบสนิท
และนุ่ม ประดับเพดานด้วยพวงดอกไม้และผ้าสีวิจิตร มีเครื่องลาดและเตียงตั่งอันสะอาดน่ารื่นรมย์ใจ
ที่เขาปูลาด
ไว้ดี มีดอกไม้เครื่องอบและเครื่องหอม วางไว้เพื่ออบกลิ่นในที่นั้นๆ ราวะพรหมวิมาน
เสนาสนะไรเล่า เพียงแต่เห็น
เท่านั้น ก็ยังปีติปราโมชให้เกิดได้ เสนาสนะเช่นนี้ ( แล ) เป็นสัปปายะ
- ส่วนทาง ( เข้าไป ) แห่งเสนาสนะนั้น
ควรเป็นทางปลอดอันตรายทั้งปวง พื้นสะอาดเรียบ ( มีคนคอย ) ตก
แต่งไว้
- ส่วนเครื่องบริขารสำหรับเสนาสนะ
ในเสนาสนะนั้น ควรมีไม่มากนัก มีเตียงหรือตั่งสักตัวหนึ่งเท่านั้นก็พอ
เพื่อตัดความป็นที่อาศัยแห่งตัวแมลง เรือด งู และหนูทั้งหลาย
- แม้ผ้านุ่งห่ม สำหรับคนโทสจริตนั้นเล่า
ก็ควรเป็นบรรดาผ้าเช่น ผ้าจีน ผ้าโสมาระ ผ้าไหม ผ้าด้ายเนื้อละเอียด
และผ้าใยไม้ ( ลินิน ) เนื้อละเอียดใดๆ ที่เนื้อดี ( ทำเป็น ) จีวรชั้นเดียวหรือสองชั้นก็ตาม
( แต่ก็ ) เบาดี ย้อม
อย่างดี สีหมดจด ตามสมณสารูป
- แม้บาตร ก็ควรเป็นบาตรเหล็กที่ทรงงามดุจต่อมน้ำ
เกลี้ยงเกลา ไม่มีสนิมดุจแก้ว ระบมอย่างดี มีผิวหมดจดตาม
สมณสารูป
- ทางภิกขาจาร ควรเป็นทางปลอดอันตราย
เรียบน่าชื่นใจ ไม่ไกลไม่ใกล้หมู่บ้านนัก
- หมู่บ้านที่ภิกขาจารเล่า ก็ควรเป็นชนิดที่คนทั้งหลายดีใจว่า
พระคุณเจ้าจักมาเดี๋ยวนี้ แล้วให้ลาดอาสนะ
( เตรียม ) ไว้ ณ ที่ๆ ราดน้ำ ( กันฝุ่น ) และปัดกวาดแล้ว ( เมื่อภิกษุไปถึง
) ก็ไปรับ รับบาตรนิมนต์ให้เข้าสู่เรือน
ให้นั่ง ณ อาสนะที่ลาดไว้ แล้วอังคาสโดยเคารพด้วยมือตน
- ส่วนพวกคนอังคาส เป็นจำพวกคนสวยงาม
น่าเลื่อมใส ให้อาบน้ำลูบไล้ ( ร่างกาย ) ดีแล้ว ( ตัว ) หอมกรุ่น
ไปด้วยกลิ่นธูปอบและดอกไม้ แต่งกายด้วยพัสตราภรณ์หลากๆ สี และสะอาดน่าพึงใจ ทำ
( การอังคาส ) โดยเคารพ
เช่นนั้น ( แล ) เป็นสัปปายะของคนโทสจริต
- แม้ยาคู ภัตร และของขบฉัน ก็ควรเป็นของมีกลิ่นรสพร้อมมีโอชะประณีตไปทุกท่า
น่าชอบใจ มี ( มากพอ )
ตามที่ต้องการ
- แม้อิริยาบถสำหรับคนโทสจริตนั้น
ก็ควรเป็นนอน หรือนั่ง
- อารมณ์ ควรเป็นบรรดาวรรณกสิณมีนีลกสิณเป็นต้น
อย่างใดอย่างหนึ่งที่มีสีสดใส
- นี้แล เป็นสัปปายะของคนโทสจริต
สัปปายะของคนโมหจริต
- สำหรับคนโมหจริต เสนาสนะ ก็ควรเป็นเสนาสนะที่หันหน้าสู่ทิศ
( คือที่โล่งแจ้ง ) ไม่คับแคบ เป็นที่ซึ่งทิศ
ทั้งหลายย่อมปรากฏโล่งสำหรับคนที่นั่งอยู่ ในอิริยาบถทั้งหลาย การจงกรมเป็นเหมาะ
ส่วนอารมณ์สำหรับคน
โมหจริต ไม่ควรเป็นปริตกสิณ ( กสิณวงเล็ก ) ขนาดครกหรือขนาดขัน เพราะในโอกาสที่คับแคบ
จิต ( ของเขา )
จะถึงความหลงยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้น จึงควรเป็นกสิณที่วงกว้างเป็นมหากสิณ สัปปายะที่เหลือก็เช่นเดียวกับ
ที่กล่าวแล้วสำหรับคนโทสจริต
- นี้แล เป็นสัปปายะสำหรับคนโมหจริต
สัปปายะของคนสัทธาจริต และพุทธิจริต
- วิธีที่กล่าวแล้วใน ( ตอนว่าด้วย ) คนโทสจิรตทั้งหมด
ก็เป็นสัปปายะของคนสัทธาจริต และในอารมณ์ทั้งหลาย
แม้อนุสสติกัมมฐาน ก็เหมาะแก่เธอด้วย
- คำที่จะพึงกล่าวว่า บรรดาวัตถุทั้งหลายมีเสนาสนะเป็นต้น
วัตถุชื่อนี้เป็นสัปปายะของคนพุทธิจริตดังนี้ หามีไม่
สัปปายะของคนวิตกจริต
- สำหรับคนวิตกจริต เสนาสนะ ไม่ควรเป็นเสนาสนะที่เปิดเผย
หันหน้าสู่ทิศ ซึ่งเป็นที่ๆ สวน วนะ และสระโบกขรณี
อันน่ารื่นรมย์ ตามนิคมและชนบทเป็นลำดับกันไป และภูเขาสีเขียวคราม ย่อมปรากฏแก่คนผู้นั่งอยู่
( ที่เสนาสนะ
นั้น ) เพราะเสนาสนะ ( เช่น ) นั้น ย่อมเป็นปัจจัยแห่งความท่องเที่ยวแห่งวิตกโดยแท้
เพราะเหตุนั้น อันคนวิตกจริต
ควรอยู่ในซอกเขาอันลึก ในเสนาสนะที่มีป่าบัง เช่น เงื้อมท้องช้าง และถ้ำพระมหินท์
แม้อารมณ์สำหรับเธอ
ก็ไม่ควรเป็นวิบูลกสิณ ( กสิณวงกว้าง ) เพราะกสิณเช่นนั้น เป็นปัจจัยแห่งความพล่านด้วยอำนาจแห่งวิตก
แต่ควร
เป็นปริตกสิณ ( กสิณวงเล็ก ) สัปปายะที่เหลือ ก็เช่นเดียวกับที่กล่าวแล้วสำหรับคนราคจริต
- นี้แล เป็นสัปปายะของคนวิตกจริต
- ความที่กล่าวมานี้ เป็นความพิสดารแห่งจริยาอันมาในคำว่า
" ( กรรมฐาน ) อันอนุกูลแก่จริยาของตน " นั้น
โดยกำหนดประเภทเหตุ วิธีบอก และวัตถุที่เป็นสัปปายะ
- แต่ว่ากรรมฐานอันอนุกูลแก่จริยา ยังมิได้ทำให้แจ้งด้วยอาการทั้งปวงก่อน
เพราะว่ากรรมฐานนั้นจักมีแจ้งโดยแท้
ในความพิสดารแห่งบทมาติกอันจะกล่าวเป็นลำดับ เพราะเหตุนั้น บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยในกรรมฐาน
ในคำที่ข้าพเจ้า
กล่าวแล้วว่า " ถือเอากรรมฐาน ในกรรมฐาน ๔0 ข้อใดข้อหนึ่ง " นั้น โดยอาการ
๑0 เหล่านี้ก่อน คือ
- ๑. สงฺขาตนิทฺเทสโต โดยการแสดงจำนวน
( กรรมฐาน )
- ๒. อุปจารปฺปนาวหโต โดยเป็นกัมมฐานนำมาได้เพียงอุปจารฌานหรือถึงอัปปนาฌาน
- ๓. ฌานปฺปเภทโต โดยแตกต่างกันแห่งฌาน
- ๔. สมติกฺกมโต โดยการก้าวล่วง
( เลื่อนขั้นฌาน )
- ๕. วฑฺฒนาวฑฺฒนโต โดยเป็นกรรมฐานควรขยายและไม่ควรขยาย
( นิมิต )
- ๖. อารมฺมณโต โดยอารมณ์
- ๗. ภูมิโต โดยภูมิ
- ๘. คหณโต โดยการถือเอา
( นิมิต )
- ๙. ปจฺจยโต โดยเป็นปัจจัย
- ๑0. จริยานุกูลโต โดยอนุกูลแก่จริยา
สงฺขาตนิทฺเทสโต โดยการแสดงจำนวน
( กรรมฐาน )
- ในบทมาติกาเหล่านั้น บทว่า "
โดยแสดงจำนวน " มีวินิจฉัยว่า ก็แล คำที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ว่า
" ในกรรมฐาน ๔0 " ดังนี้นี่
นี้กรรมฐาน ๔0 ในคำนั่น คือ กสิณ ๑0 อสุภ ๑0 อนุสสติ ๑0 พรหมวิหาร ๔
อารูป ๔ สัญญา ๑ ววัฏฐาน ๑
- ในกรรมฐานเหล่านั้น นี้กสิณ ๑0
คือ ปฐวีกสิณ อาโปกสิณ เตโชกสิณ วาโยกสิณ นีลกสิณ ปีตกสิณ โลหิตกสิณ
โอทาตกสิณ อาโลกกสิณ ปริจฉินนากาสกสิณ ( หรือเรียกว่า อากาสกสิณ )
- นี้ อสุภะ ๑0 อุทธุมาตกะ วินีลกะ
วิปุพพกะ วิจฉิททกะ วิกขายิตกะ วิกขิตตกะ หตวิขิตตกะ โลหิตกะ ปุฬูวกะ
อัฏฐิกะ