- นี้อนุสสติ ๑0 คือ พุทธานุสสติ
ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ จาคานุสสติ เทวตานุสสติ มรณานุสสติ
กายคตาสติ อานาปานสติ อุปสมนานุสสติ
- นี้พรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณา
มุทิตา อุเบกขา
- นี้อรูป ๔ คือ อากาสานัญจายตนะ
วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ
- อาหาเรปฏิกูลสัญญา ชื่อว่า สัญญา
๑ จตุธาตุววัฏฐาน ชื่อว่า ววัฏฐาน ๑ แล
- บัณฑิต พึงทราบวินิจฉัยโดยแสดงจำนวน
ดังนี้
อุปจารปฺปนาวหโต โดยเป็นกัมมฐานนำมาได้เพียง
อุปจารฌานหรือถึงอัปปนาฌาน
- บทว่า " โดยเป็นกรรมฐานนำมาได้เพียงอุปจารฌานหรือถึงอัปปนาฌาน
" มีวินิจฉัยว่า ก็ในกรรมฐานเหล่านั้น
- กรรมฐาน ๑0 ข้อ คือ อนุสสติ เว้นกายคตาสติ
และอานาปานสติ เหลือ ๘ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ จตุธาตุววัฏฐาน ๑
นี้เท่านั้นเป็นอุปจารวหะ ( เป็นกรรมฐานนำมาได้เพียงอุปจารฌาน )
- กรรมฐานนอกนั้นเป็นอัปปนาวหะ (
นำมาได้ถึงอัปปนา ) แล
- พึงทราบวินิจฉัย โดยเป็นกรรมฐานนำมาได้เพียงอุปจารฌานหรือถึงอัปปนาฌาน
ดังนี้แล
ฌานปฺปเภทโต โดยแตกต่างกันแห่งฌาน
- บทว่า " โดยแตกต่างกันแห่งฌาน
" มีวินิจฉัยว่า ก็ในกรรมฐาน ๒ อย่างดังที่กล่าวแล้วนั้น
- บรรดาอัปปนาวหกรรมฐานทั้งหลาย
กสิณ ๑0 กับอานาปานสติ เป็นจตุกฌานิกะ ( เจริญให้เกิดฌานได้ครบ ๔ )
- อสุภ ๑0 กับกายคตาสติ เป็นปฐมฌานิกะ
( เจริญให้เกิดฌานได้เพียงปฐมฌาน )
- พรหมวิหาร ๓ ข้างต้น ( เมตตา กรุณามุทิตา
) เป็นติกฌานิกะ ( เจริญให้เกิดฌานได้เพียง ๓ )
- พรหมวิหารที่ ๔ ( อุเบกขา ) และอรูป
๔ เป็น จตุตถฌานนิกะ ( เป็นไปในจตุตถฌาน ) แล
- พึงทราบวินิจัยโดยความแตกต่างแห่งฌาน ดังนี้
สมติกฺกมโต โดยการก้าวล่วง (
เลื่อนขั้นฌาน )
- บทว่า " โดยการก้าวล่วง " มีวินิจฉัยว่า การก้าวล่วงมี
๒ คือ ก้าวล่วงองค์ ๑ ก้าวล่วงอารมณ์ ๑
ในการก้าวล่วง ๒ อย่างนั้น
- การก้าวล่วงองค์ ย่อมมีในกรรมฐานทั้งหลายที่เป็นติกฌานิกะ
และจตุกกฌานิกะทั้งปวง เพราะฌานเบื้องสูง
มีตติยฌานเป็นต้น พระโยคาวจรจำต้องก้าวล่วงองค์ฌาน ( เบื้องต่ำ ) มีวิตกวิจารเป็นอาทิแล้วจึงจะบรรลุได้ใน
อารมณ์เหล่านั้นนั่นเอง
- ในพรหมวิหารที่ ๔ ( อุเบกขา ) ก็เช่นนั้น เพราะแม้พรหมวิหารที่
๔ นั้นพระโยคาวจรก็จำต้องก้าวล่วง
โสมนัสแล้ว ในอารมณ์แห่งพรหมวิหาร ๓ ข้างต้น ( เมตตา กรุณา
มุทิตา ) จึงจะบรรลุได้
- ส่วนการก้าวล่วงอารมณ์ ย่อมมีในอรูป
๔ เพราะอากาสานัญจายตนะ พระโยคาวจรจำต้องก้าวล่วง
อารมณ์ในกสิณ ๙ ข้างต้น ( ปฐวีกสิณ อาโปกสิณ เตโชกสิณ วาโยกสิณ นีลกสิณ ปีตกสิณ
โลหิตกสิณ โอทาตกสิณ
อาโลกกสิณ ) อย่างใดอย่างหนึ่งแล้วจึงบรรลุได้
- และอรูปเบื้องสูง มีวิญญาณัญจายตนะเป็นอาทิ
พระโยคาวจรก็จำต้องก้าวล่วงอารมณ์ ( เบื้องต่ำ ) มีอากาศ
เป็นต้นเสีย จึงจะบรรลุได้
- ในกรรมฐานที่เหลือ ( ๒๑ ) การก้าวล่วง
( อะไร )หามีไม่ แล
- บัณฑิต พึงทราบวินิจฉัยโดยการก้าวล่วง ดังนี้
วฑฺฒนาวฑฺฒนโต โดยเป็นกรรมฐานควรขยายและไม่ควรขยาย
( นิมิต )
- บทว่า " โดยเป็นกรรมฐานที่ควรขยายและไม่ควรขยาย
( นิมิต ) " มีวินิจฉัยว่า
- ในกรรมฐาน ๔0 นี้ กสิณ ๑0 เท่านั้นควรขยาย ( นิมิต )
เพราะว่า พระโยคาวจรแผ่ไปด้วยกสิณตลอดโอกาส
( ช่องว่าง, ที่ว่าง ) เท่าใด ภายในโอกาสนั้น เธอย่อมเป็นผู้สามารถจะได้ยินเสียง
( ทุกอย่าง ) ด้วยโสตธาตุทิพย์
ที่จะเห็นรูปทั้งหลายด้วยจักษุทิพย์ และที่จะรู้จิตของสัตว์อื่นๆ ด้วยใจ ( ของตน
) ได้
- ส่วนกายคตาสติ และอสุภทั้งหลายไม่ควรขยาย ( นิมิต ) เพราะเหตุอะไร
เพราะกายคตาสติและอสุภนั้นถูก
จำกัดโดยโอกาส ( มหาฎีกาว่า จำกัด โดยโอกาส ที่จะยืน เช่นต้องยืนเหนือลม ) และเพราะไม่มีอานิสงส์ด้วย
ก็แล ความที่กรรมฐานเหล่านั้นถูกจำกัดโดยโอกาสนั้น จักมีแจ้ง ( ในตนว่า ) ด้วยภาวนามัย
อันกรรมฐานเหล่านั้น
ครั้นพระโยคาวจรขยาย ( นิมิต ) ไป ก็กองซากศพเท่านั้นเจริญ อานิสงส์น้อยหนึ่งหามีไม่
*
- * มหาฎีกาว่า ขยายนิมิตไปก็เจริญแต่ซากศพ
ถึงไม่ขยาย การข่มกามราคะก็มีได้อยู่แล้ว เพราะฉะนั้น จึงว่าไม่มี
อานิสงส์ ( หมายความว่า การทำกรรมฐานประเภทนี้ ก็เพียงข่มกามราคะได้เท่านั้น
จะขยายไปถึงอภิญญาหาได้ไม่ )
- จริงอยู่ แม้พระเถระโสปากะก็ได้กล่าวคำนี้
( กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ) ในโสปากปัญหาพยากรณ์ว่า
" ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า รูปสัญญาปรากฏชัด อัฏฐิกสัญญาไม่ปรากฏชัด "
ดังนี้ ก็ในสัญญา ๒ อย่างนั้น
รูปสัญญาท่านกล่าวว่าปรากฏชัด ก็เนื่องด้วยความขยายตัวแห่งนิมิต อัฏฐิกสัญญาท่านกล่าวว่าไม่ปรากฏชัด
ก็เนื่องด้วยความไม่ขยายตัว ( แห่งนิมิต ) ส่วนคำที่พระเถระกราบทูล ( ตอนหนึ่ง
)
ว่า " ข้าพระพุทธเจ้าได้แผ่ไปด้วยอัฏฐิกสัญญา ทั่วปฐพีนี้ " ดังนี้นั้น
ท่านกล่าวด้วยอาการที่มันเข้ามาปรากฏแก่
ตัวท่าน ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญ ( ในอัฏฐิกสัญญานั้น ) เหมือนอย่างใน ( รัช ) กาลของพระเจ้าธรรมาโศก
นกการะเวก
( ตัวหนึ่ง เขาขังไว้ในห้องแว่น ) เห็นเงาของตัวเองในฝาแว่นโดยรอบ ๑
ก็สำคัญว่า เงาของตัวเป็นนกการะเวก
( จริงๆ ) อยู่ทุกทิศ จึงส่งเสียงอันไพเราะขึ้น ฉันใดก็ดี แม้พระเถระก็ฉันนั้น
เพราะความที่ท่านชำนาญอัฏฐิกสัญญา
เห็นนิมิตอันปรากฏอยู่ทุกทิศ ก็คิดไปว่าปฐพีเต็มไปด้วยอัฏฐิสิ้นเชิง ๒
ฉะนี้แล
- ๑. แว่น คือแผ่นโลหะขัดให้เป็นเงาใช้ส่องหน้า
ในสมัยที่ยังไม่มีกระจกเงา นกการะเวกนั้นว่าร้องเพราะนัก
แต่จับมันขังไว้ตัวเดียว มันจะหงอยเหงา ไม่มีแก่ใจจะร้อง คนจึงลวงมัน โดยใช้แว่นมากรุฝาห้องไว้รอบ
มันมอง
ทางไหนก็เห็นเงาของตัว เข้าใจว่ามีพวกมาอยู่ด้วยจึงดีใจหายเหงา ส่งเสียงร้องขึ้นได้
- ๒. มหาฎีกาว่า พระเถระท่านเชี่ยวชาญนัก
นั่งที่ไหน หรือแม้ยืนที่ไหนก็เข้าฌานนั้นได้ นิมิตปรากฏแก่ท่าน
รอบตัว คล้ายนิมิตขยาย ( แต่ความจริงหาขยายไม่ )
- ถามว่า ถ้าอย่างนั้น ความที่อสุภฌานทั้งหลายเป็น
อัปปมาณารมณ์ ที่กล่าวไว้ ( ในธัมมสังคหะ ) มิผิดไปหรือ ?
ตอบว่า ความที่ว่านั้น ไม่ผิดดอก เพราะพระโยคาวจรลางท่าน ถือเอานิมิตในอุทธุมาตกอสุภ
หรือ...ในอัฏฐิกอสุภ
ก็ตามที่ใหญ่ ลางท่านก็ถือเอานิมิตในอสุภนั้นๆ ที่เล็กๆ *
โดยบรรยายนี้ ฌานของลางท่านจึงเป็นอัปปมาณารมณ์
( มีอารมณ์กว้างขวาง ) ของบางท่านจึงเป็นปริตตารมณ์ ( มีอารมณ์แคบสั้น ) อีกอย่างหนึ่งบุคคลใดไม่เห็นโทษ
ในการขยายอสุภนิมิตนั้น ขยาย ( มาก ) ไป ท่านหมายเอาฌานของบุคคลนั้น กล่าวว่า
อสุภฌานเป็นอัปปมาณารมณ์
( ก็เป็นได้ ) แต่ ( อย่างไร ) ก็ไม่ควรขยายไป เพราะไม่มีอานิสงส์ นั่นแล
- และแม้กรรมฐานที่เหลือ ก็ไม่ควรขยาย ดังกายคตาสติ และอสุภนั่นแหละ
ถามว่า เพราะเหตุอะไร ตอบว่า
เพราะบรรดากรรมฐานที่เหลือนั่น ก่อนอื่น เมื่อบุคคลขยายอานาปานนิมิต ก็กองลมเท่านั้นเจริญ
และอานาปานนิมิตนั้น
ก็ถูกจำกัดโดยโอกาสด้วย ( มหาฎีกาว่า เช่นจำกัดอยู่ที่ช่องปลายจมูก ) เพราะมีโทษ
และเพราะถูกจำกัดโดยโอกาส
ดังนี้ อานาปานสติ จึงไม่ควรขยาย ( นิมิต )
- พรหมวิหาร ก็มีสัตว์เป็นอารมณ์ เมื่อพระโยคาวจรขยายนิมิตแห่งพรหมวิหารนั้น
ก็กองสัตว์เท่านั้นพึงเจริญ
แต่ว่าประโยชน์ด้วยการเจริญกองสัตว์นั้นก็หามีไม่ เพราะเหตุนั้น แม้พระหมวิหารนิมิตนั้นก็ไม่ควรขยาย
*
มหาฎีกาว่า เมือถือเอานิมิตซากศพหมดทั้งตัวก็เป็นนิมิตใหญ่ ถ้าถือเอานิมิตเป็นส่วนใดส่วนหนึ่งแห่งซากนั้น
ก็เป็นนิมิตเล็ก อีกนัยหนึ่ง ถือเอานิมิตในซากที่ใหญ่หรือในซากของคนผู้ใหญ่ ก็เป็นนิมิตใหญ่
ถ้าถือเอานิมิตในซาก
ที่เล็ก หรือในซากทารก ก็เป็นนิมิตเล็ก
- ส่วนคำบาลีที่กล่าวว่า "
ภิกษุมีใจสหรคต ( ประกอบ ) ด้วยเมตตา แผ่ไปตลอดทิศ ๑ " ดังนี้เป็นอาทินั้น
ท่านกล่าวด้วยอำนาจการจำกัด ( เขตสัตว์เป็นอารมณ์ ) แท้จริง พระโยคาวจรผู้จำกัดเอาสัตว์ทั้งหลายในทิศ
๑
ภาวนา ( เมตตา ) ไปโดยลำดับ ( หมู่ ) เช่น วัดหนึ่ง สองวัด ( นั่นแหละ ) พระบาลีเรียกว่า
" ผู้ ... แผ่ไปตลอด
ทิศ ๑ " หาใช่ขยายนิมิตไม่ ด้วยปฏิภาคนิมิตซึ่งพระโยคาวจรควรทำให้เจริญนั่น
หามีในพรหมวิหารภาวนานั้นไม่
ส่วนความเป็นปริตตามรมณ์ และอัปปมาณารมณ์ในพรหมวิหารนี้ ก็พึงทราบว่า เนื่องด้วยจำกัด
( เขตสัตว์เป็นอารมณ์ )
นั่นเอง *
- แม้ในอารมณ์แห่ง อรูปทั้งหลาย อากาศก็ไม่ควรขยาย เพราะทำให้กสิณเพิก
แท้จริง อากาศนั้น จะต้อง
มนสิการก็เนื่องด้วยการเลิกกสิณเท่านั้น เมื่อทำให้เจริญมากไปกว่านั้น ก็หามีผลอะไรๆ
ไม่
- วิญญาณ ก็ไม่ควรขยาย เพราะเป็นสภาวธรรม แท้จริง ใครๆ
ก็ไม่อาจทำสภาวธรรมให้เจริญได้
- การหายไปแห่งวิญญาณก็ไม่ควรขยาย เพราะก็เป็นแต่เพียงความไม่มี
( ปรากฏ ) แห่งวิญญาณ
- อารมณ์แห่งเนวสัญญานาสัญญายตนะ ก็ไม่ควรขยาย เพราะเป็นสภาวธรรมเหมือนกัน
- * มหาฎีกาว่า พรหมวิหารที่จำกัดสัตว์เป็นอารมณ์
จำนวนเล็กน้อย ก็เป็นปริตตามรมณ์ ถ้าขยายเขตสัตว์
เป็นอารมณ์มากออกไป ( จนไม่มีสิ้นสุด ) ก็เป็นอัปปมาณารมณ์
- กรรมฐานที่เหลือ ( อนุสสติ ) ก็ไม่ควรขยาย
เพราะไม่มี ( ปฏิภาค ) นิมิต แท้จริง ปฏิภาคนิมิตเป็นนิมิตที่จำ
ต้องทำให้เจริญโดยแท้แต่ว่า อารมณ์แห่งอนุสสติทั้งหลายมีพุทธานุสสติเป็นต้น หาเป็นปฏิภาคนิมิตไม่
เพราะฉะนั้น
อนุสสติกรรมฐานนั้นจึงไม่ควรขยาย ( นิมิต ) แล
- บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยโดยเป็นกรรมฐานที่ควรขยายและไม่ควรขยาย
( นิมิต ) ดังนี้
อารมฺมณโต โดยอารมณ์
- บทว่า " โดยอารมณ์ " มีวินิจฉัยว่า ก็ในกรรมฐาน
๔0 นี้
- กรรมฐาน ๒๒ คือ กสิณ ๑0 อสุภ ๑0 อานาปานสติ ๑ กายคตาสติ
๑ นี้ มีอารมณ์เป็นปฏิภาคนิมิตได้
- กรรมฐานที่เหลือ ๑๘ หามีอารมณ์เป็นปฏิภาคนิมิตได้ไม่
- โดยนัยนั้นกรรมฐาน ๑๒ คือในอนุสสติ ๑0 อนุสสติเว้นอานาปานสติและกายคตาสติเหลือ
๘ และ อาหารเรปฏิกูล
สัญญา ๑ จตุธาตุววัฏฐาน ๑ วิญญาณัญจายตนะ ๑ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ๑ นี้มีสภาวธรรม
( ปรมัตถธรรม )
เป็นอารมณ์
- กรรมฐาน ๒๒ คือ กสิณ ๑0 อสุภ ๑0 อานาปานสติ ๑ กายคตาสติ
๑ นี้มีนิมิต ( บัญญัติธรรม ) เป็นอารมณ์
- กรรมฐานที่เหลือ ๖ ( คือ พรหมวิหาร ๔ อากาสานัญจายตนะ
๑ อากิญจัญญายตนะ ๑ ) มีอารมณ์ไม่พึงกล่าว
- อนึ่ง กรรมฐาน ๘ คือ วิปุพพกะ โลหิตกะ ปุฬูวกะ อานาปานสติ
อาโปกสิณ เตโชกสิณ วาโยกสิณ และลำแสง
แห่งตะวันเป็นต้น ( ที่ส่องเข้ามาตามช่อง ) อันเป็นอารมณ์ในอาโลกกสิณ ( กสิณแสงสว่าง
) เหล่านี้ ( เป็นจลิตารมณ์ )
มีอารมณ์ไหว แต่ว่าอารมณ์ไหวเหล่านั้นก็เป็นในตอนต้น ( เท่านั้น ) พอเป็นปฏิภาคก็แนบนิ่ง
- กรรมฐานที่เหลือ ๓๒ ( เป็น นจลิตารมณ์ ) มีอารมณ์ไม่ไหว
แล
- บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยโดยอารมณ์ ดังนี้
ภูมิโต โดยภูมิ
- บทว่า " โดยภูมิ " มีวินิจฉัยว่า ก็ในกรรมฐาน
๔0 นี้
- กรรมฐาน ๑๒ คือ อสุภ ๑0 กายคตาสติ ๑ อาหาเรปฏิกูลสัญญา
๑ นี้ ย่อมไม่เป็นไปในหมู่เทวดา ( มหาฎีกาว่า
เพราะในเทวภูมิ ไม่มีอสุภและอาหารที่เป็นปฏิกูล เพราะมีแต่กายอันเป็นทิพย์ และอาหารทิพย์
)
- กรรมฐาน ๑๓ คือ กรรมฐาน ๑๒ นั้น และอานาปานสติ นี้ไม่เป็นไปในพรหมโลก
( มหาฎีกาว่า ที่อานาปานสติ
ไม่เป็นไปในพรหมโลกนั้น เพราะในพรหมโลก ไม่มีลมหายใจเข้า-ออก )
- แต่ในอรูปภพ กรรมฐานอื่นเว้น อรูป ๔ ย่อมเป็นไปมิได้
- ในหมู่มนุษย์ กรรมฐาน ย่อมเป็นไปได้ทุกข้อ แล
- พึงทราบวินิจฉัยโดยภูมิ ดังนี้
คหณโต โดยการถือเอา ( นิมิต
)
- บทว่า " โดยการถือเอา ( นิมิต ) " มีวินิจฉัยว่า
- ก็การวินิจฉัยในบทนี้ บัณฑิตพึงทราบโดยการถือเอา
( นิมิต ๓ ทางคือ ) ทางดู ทางกระทบถูก และทางฟัง
- ใน ๓ ทางนั้น กรรมฐาน ๑๙ คือ กสิณเว้นวาโยกสิณ เหลือ
๙ อสุภ ๑0 นี้ต้องถือเอา ( นิมิต ) ทางดู
หมายความว่า นิมิตของกรรมฐานเหล่านั้น เบื้องแรกต้องดูด้วยตา ( เป็นบริกรรมนิมิต
) แล้วจึงถือเอา
( เป็นอุคคหนิมิต ) ได้
- ในกายคตาสติ อารมณ์ของกายคตาสตินั้น ถือเอาได้ทั้งทางดูและทางฟัง
ดังนี้ คือ ส่วนที่เป็นตจปัญจกะ ๑
ถือเอา
ทางดู ส่วนที่เหลือ ( เช่น กระดูก , เยื่อในกระดูก เป็นต้น ) ถือเอาทางฟัง (
เพราะเป็นอวัยวะภายในเห็นด้วยตาไม่ได้ )
- อานาปานสติ ถือเอาทางกระทบถูก
- วาโยกสิณ ถือเอาได้ทั้งทางเห็นและทางกระทบถูก
- ที่เหลือ ๑๘ ถือเอาทางฟัง
- แต่ในกรรมฐาน ๔0 นั้น กรรมฐานคือ อุเบกขาพรหมวิหาร (
และ ) อรูป ๔ นี้ พระโยคาวจรผู้เป็นอาทิกัมมิกะ
( ผู้เริ่มต้นเจริญกรรมฐาน ) ไม่ควรถือเอา๒
( ไม่ควรนำไปเจริญ ) ที่เหลือ ๓๕ จึงควรถือเอา ( ควรเจริญ ) แล
- บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยโดยการถือเอา ( นิมิต ) ดังนี้
ปจฺจยโต โดยเป็นปัจจัย
- บทว่า " โดยเป็นปัจจัย " มีวินิจฉัยว่า
- ก็ในกรรมฐานเหล่านี้ กสิณเว้นอากาสกสิณ เหลือ ๙ ย่อมเป็นปัจจัยแห่ง
อรูป ( กรรมฐาน ) ทั้งหลาย
- กสิณทั้ง ๑0 เป็นปัจจัยแห่งอภิญญา
- พรหมวิหาร ๓ ( เมตตา กรุณา มุทิตา
) เป็นปัจจัยแห่งพรหมวิหารที่ ๔ ( อุเบกขา )
- อรูปชั้นต่ำๆ เป็นปัจจัยแห่งอรูปชั้นสูง ๆ
- ๑. ตจปัญจกกัมมัฏฐาน
กัมมัฏฐานมีหนังเป็นที่คำรบห้า, กัมมัฏฐานอันบัณฑิตกำหนดด้วยอาการมีหนังเป็น
ที่ ๕ เป็น อารมณ์ คือ กัมมัฏฐานที่ท่านสอนให้พิจารณาส่วนของร่างกาย ๕ อย่าง
คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง โดย
ความเป็นของ ปฏิกูล หรือโดยความเป็นสภาวะอย่างหนึ่ง ๆ ตามที่มันเป็นของมัน ไม่เอาใจเข้าไปผูกพันแล้วคิดวาด
ภาพใฝ่ฝันตาม อำนาจกิเลส พจนานุกรมเขียน ตจปัญจกกรรมฐาน เรียกอีกอย่างว่า มูลกัมมัฏฐาน
(กัมมัฏฐานเบื้องต้น)
- ๒. มหาฎีกาว่า ผู้เริ่มทำกรรมฐานจะไปคว้าเอา
อุเบกขากับอรูป ๔ มาเริ่มทำหาได้ไม่ เพราะอุเบกขานั้นต้อง
บรรลุพรหมวิหาร ๓ ข้างต้น ( เมตตา กรุณา มุทิตา ) ก่อนจึงจะทำให้เกิดขึ้นได้
และอรูปเล่าก็ต้องบรรลุ
รูปาวจรจตุตถฌาน ในกสิณ ( กสิณทั้ง ๙ เพราะเว้น อากาสกสิณ ) ก่อน จึงจะทำให้เกิดขึ้นได้
- เนวสัญญานาสัญญายตนะ เป็นปัจจัยแห่งนิโรธสมาบัติ
( หรือเรียกอีกอย่างว่า สัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะดับสัญญา
และเวทนา เป็นสมาบัติ )
- กรรมฐานทั้งหมด เป็นปัจจัยแห่ง ( ทิฏฐิธรรม ) สุขวิหาร
( ความสุขในปัจจุบัน ) , แห่งวิปัสสนา และภพสมบัติแล
- บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยโดยปัจจัย ดังนี้
จริยานุกูลโต โดยอนุกูลแก่จริยา
- บทว่า " โดยอนุกูลแก่จริยา " มีวินิจฉัยว่า
- ก็การวินิจฉัย ในบทนี้ บัณฑิตพึงทราบตามกรรมฐานอันอนุกูลแก่จริยาทั้งหลาย
- กรรมฐานอันอนุกูลแก่จริยานี้เป็นอย่างไร
- ก่อนอื่น ในกรรมฐาน ๔0 นั้น กรรมฐาน ๑๑ คือ อสุภ ๑0 กายคตาสติ
๑ อนุกูลแก่คนราคจริต
- กรรมฐาน ๘ คือ พรหมวิหาร ๔ วัณณกสิณ ๔ ( นีลกสิณ ปีตกสิณ
โลหิตกสิณ โอทาตกสิณ ) อนุกูลแก่คนโทสจริต
- อานาปานสติกรรมฐานอย่างเดียวเท่านั้น อนุกูลแก่คนโมหจริตและคนวิตกจริต
- อนุสติ ๖ ข้างต้น ( พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ
สีลานุสสติ จาคานุสสติ เทวตานุสสติ ) อนุกูลแก่
คนสัทธาจริต
- กรรมฐาน ๔ คือ มรณสติ อุปสมานุสติ จตุธาตุววัฏฐาน อาหาเรปฏิกูลสัญญา
อนุกูลแก่คนพุทธิจริต
- กสิณที่เหลือ ( ปฐวีกสิณ อาโปกสิณ เตโชกสิณ วาโยกสิณ
อาโลกกสิณ ปริจฉินนากาสกสิณ ( หรือเรียกว่า
อากาสกสิณ ) ) และ อรูป ๔ อนุกูลแก่คนทุกจริต
- อนึ่ง ในกสิณทั้งหลาย กสิณอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นปริตตารมณ์
( มีอารมณ์แคบสั้น ) อนุกูลแก่คนวิตกจริต
ที่เป็นอัปปมาณารมณ์ ( มีอารมณ์กว้างขวาง ) อนุกูลแก่คนโมหจริต แล
- บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยในกรรมฐานเหล่านี้ โดยอนุกูลแก่จริยา
ดังนี้แล