นวตฺตํ ความเป็นวิหารใหม่ (
ยังไม่แล้วดี )
- ในวิหารใหม่ ( ยังไม่แล้วดี )
การก่อสร้างมีมาก ไม่ทำเขาก็โพทนาเอา แต่ในวิหารใหม่ใด ภิกษุทั้งหลายบอก
( เธอ ) ว่า " ขอท่านจงทำสมณธรรมตามสบายเถิด พวกข้าพเจ้าจักทำการก่อสร้างเอง
" ดังนี้ ในวิหารใหม่เช่น
นี้ควรอยู่ได้
ชิณฺณกตฺตํ ความเป็นวิหารเก่า
( ทรุดโทรมแล้ว )
- ส่วนในวิหารเก่า ( ทรุดโทรมแล้ว
) สิ่งที่จะต้องดูแลมีมาก ไม่ดูแลที่สุดแต่เสนาสนะสำหรับตน เขาก็จะโพทนาเอา
มัวดูแลกรรมฐานก็จะเสื่อม ( มหาฎีกาว่า แต่ในวิหารเก่าใด ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า
ขอท่านจงทำสมณธรรมตาม
สบายเถิด พวกข้าพเจ้าจะดูแลเอง ดังนี้ ในวิหารเก่าเช่นนี้ควรอยู่ได้
ปนฺถสนฺนิสฺสิตฺตํ ความเป็นวิหารติดทางเดิน
- ในวิหารติดทางเดิน คือวิหารติดทางหลวง
อาคันตุกะชุมทั้งกลางคืนและกลางวัน เมื่อพวกเขามากันในเวลาวิกาล
ก็จำต้องยกเสนาสนะสำหรับตน ( ให้เขาพัก ) แล้ว ( ตนเอง ) ไปอยู่ที่โคนไม้ หรือไม่ก็ที่ลานหิน
แม้วันรุ่งขึ้น ( ต่อไป )
ก็เป็นอยู่อย่างนั้นแหละ เพราะเช่นนี้ โอกาสสำหรับกรรมฐานก็จะไม่มี แต่ในวิหารติดทางเดินใด
ความคับคั่งด้วย
อาคันตุกะเช่นนั้นไม่มี ก็ควรอยู่ในวิหาร ( แม้ติดทางเดิน ) นั้นได้
โสณฺฑึ วิหารมีตระพังน้ำ
- สระโบกขรณีกรุด้วยหิน ชื่อว่า
ตระพัง ในวิหารมีตระพังนั้น ชนมากันมากเพื่อ ( ตัก ) น้ำดื่ม พวกอันเตวาสิก
ของพระเถระราชกุลุปกะทั้งหลาย ผู้อยู่วัดในพระนคร ก็จะพากันมาเพื่อประโยชน์ด้วยรชนกรรม
( การซักย้อม )
เมื่อพวกเธอถามถึงเครื่องใช้มีภาชนะฟืนและรางเป็นต้น ก็จำจะต้องชี้ให้ว่า ( สิ่งนั้นๆ
อยู่ ) ที่โน่นๆ การช่วยขวน
ขวายเป็นประจำย่อมจะมีไปตลอดกาลอย่างนี้
ปณฺณํ วิหารมีไม้ใบ ( ที่เป็นผัก
)
- ในวิหารใด ใบไม้ที่เป็นผักต่างๆ
มีอยู่ เมื่อเธอ ( พระโยคี ) แม้เรียนกรรมฐานแล้วนั่งพักกลางวันอยู่
ในวิหารนั้น พวกหญิงหาผักจะมาร้องเพลงพลางเลือกเก็บใบไม้อยู่ใกล้ๆ ย่อมจะทำอันตรายแก่กรรมฐานด้วยการ
รบกวนด้วยเสียงอันเป็นข้าศึกต่อกรรมฐานได้
ปุปฺผํ วิหารมีไม้ดอก
- ส่วนวิหารใด กอไม้ดอกนานาพรรณมีดอกบานสะพรั่งอยู่
แม้ในวิหารนั้น ก็ย่อมจะมีอันตราย ( ต่อกรรมฐาน )
เช่นนั้นเหมือนกัน ( เพราะย่อมจะมีพวกหญิงมาเที่ยวชมและเก็บดอกไม้อยู่ )
ผลํ วิหารมีไม้ผล
- ในวิหารใด ไม้ผลนานาชนิดเช่นมะม่วง
ชมพู่ ขนุนมีอยู่ ในวิหารนั้น พวกคนที่ต้องการผลไม้ก็จะพากันมาขอ
เมื่อไม่ให้เขาก็โกรธเอา มิฉะนั้นเขาก็ถือเอาโดยพลการ ตอนเย็นเธอเดินจงกรมอยู่กลางวิหารพบเขา
( ทำเช่นนั้น )
ทักขึ้นว่า " พวกอุบาสก ทำไมพวกท่านทำอย่างนั้นเล่า " เขาก็จะด่าเอาตามชอบใจ
( มิหนำ ) ซ้ำจะพยายาม
( หาเรื่อง ) เพื่อมิให้เธออยู่ ( ในวิหารนั้น ) เสียอีก
ปฏฺฐนียตา ความเป็นวิหารที่คนทั้งหลายมุ่งมั่น
- ส่วนภิกษุผู้อยู่ในวิหารที่คนทั้งหลายมุ่งมั่น
คือที่ชาวโลกแต่งตั้งให้ ( ว่าเป็นวิหารวิเศษ ) เช่นทักขิณาคิรีวิหาร
หัตถิกุจฉิวิหาร จิตตลบรรพตวิหาร คนทั้งหลายยกให้ว่าเป็นพระอรหันต์ ( เขา ) ใคร่จะได้ไหว้
( เธอ ) ก็มาออ
กันอยู่ให้รอบไป เพราะเหตุนั้น ความผาสุกก็ย่อมจะไม่มีแก่เธอ แต่ ( หาก ) วิหารนั้นเป็นสัปปายะ
สำหรับโยคีรูปใด
พระโยคีรูปนั้นก็พึงไป ( พัก ) เสียที่อื่นในตอนกลางวัน ต่อกลางคืนจึงมาอยู่เถิด
นครสนฺนิสฺสิตตา ความเป็นวิหารติดเมือง
- ในวิหารติดเมือง วิสภาคารมณ์ทั้งหลาย ( มหาฎีกาว่า อารมณ์อันเป็นข้าศึก
แก่กรรมฐาน ในที่นี้หมายเอาทั้ง
อิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ ) ย่อมมาสู่คลอง ( แห่งทวารมีจักษุทวารเป็นต้น ) พวกกุมภทาสี
( นางทาสตักน้ำ )
เล่าก็เดินหม้อน้ำกระทบกันไป ( เดินสวนกัน ) มันก็ไม่หลีกทางให้ ข้างพวกเจ้านายก็มาขึงม่านเป็นวงนั่งอยู่กลางวิหาร
( หมายถึงมีผู้คนพลุกพล่านไม่เงียบสงบ )
ทารุสนฺนิสฺสิตตา ความเป็นวิหารติดป่าไม้
- ส่วนวิหารติดป่าไม้ คือเป็นที่มีไม้แห้ง
และมีต้นไม้ที่ใช้เป็นเครื่องเรือนได้ พวกหาไม้แห้ง ( ไปทำฟืน )
จะทำความไม่ผาสุกให้ ดุจพวกหาผักและดอกไม้ที่กล่าวมาในข้อก่อน คนทั้งหลายคิดกันว่าจะต้องตัดไม้ที่มีอยู่ใน
วิหารมาทำเรือนกันเถิด ก็พากันมาตัดเอาตอนเย็น พระโยคีออกจากเรือนที่ทำความเพียร
( ไป ) จงกรม
อยู่กลางวิหาร เห็นคนเหล่านั้น ( ตัดต้นไม้อยู่ ) ถ้า ( เธอ ) ทักขึ้นว่า "
พวกอุบาสก ทำไมพวกท่านจึงทำอย่าง
นั้นเล่า " เขาก็จะด่าเอาจนจุใจ ( มิหนำ ) ซ้ำจะพยายาม ( หาเรื่อง ) เพื่อมิให้เธออยู่
( ในวิหารนั้น ) เสียอีก
เขตฺตสนฺนิสฺสิตตา ความเป็นวิหารที่ติดนา
( ของชาวบ้าน )
- ส่วนวิหารใดติดที่นา ( ของชาวบ้าน
) นาล้อมอยู่รอบ ในวิหารนั้น คนทั้งหลายจะทำลานนวดข้าวเข้าที่กลาง
วิหารนั่นเอง ( แล้วก็ ) ตากข้าวที่หน้าวิหาร ยังทำไม่ผาสุกอย่างอื่นอีกมาก แม้ในวิหารใด
มีโภคสมบัติของสงฆ์มาก
พวกคนวัดกันฝูงโคของตระกูลทั้งหลาย ( มิให้เข้ามาหากินที่วัด ) กั้นทางน้ำ (
กักน้ำไว้ใช้ในที่ของวัด น้ำไม่
ไหลไปสู่นาของชาวบ้าน ต้นข้าวของชาวบ้านก็เหี่ยวแห้ง )
- คนทั้งหลายพากันถือเอารวงข้าวที่เหี่ยวแห้งไปแสดงแก่สงฆ์
ร้องทุกข์ว่า " พระคุณท่านทั้งหลาย ดูเอาเถิด
การกระทำของพวกคนวัดของพระคุณท่าน " เพราะเหตุ ( ที่เกิดขึ้น ) นั้น ( เมื่อสงฆ์ไม่สามารถจะจัดการให้เป็นที่
พอใจของพวกเขาได้ เขาก็จะร้องทุกข์ถึงเจ้าถึงนายทีนี้ ) พระโยคีนั้นก็จำต้องไปสู่ทวารพระราชนิเวศน์
หรือประตูบ้าน
ท่านราชมหาอำมาตย์ ( ซึ่งเป็นที่รับเรื่องราวร้องทุกข์ เพื่อให้ถ้อยคำแก่เจ้าหน้าที่
) แม้วิหารที่มีโภคสมบัติ
ของสงฆ์มากนี้ ก็สงเคราะห์เข้าด้วยวิหารติดที่นาได้เหมือนกัน
วิสภาคานํ ปุคฺคาลนํ อตฺถิตา
ความเป็นวิหารมีบุคคลผู้ไม่ถูกกันอยู่
- ข้อว่า " ความเป็นวิหารมีบุคคลผู้เป็นวิสภาคกันอยู่
( บุคคลที่ไม่ถูกกันอยู่ ) " มีวินิจฉัยว่า ในวิหารใด
ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นวิสภาค คือ เป็นข้าศึกกันและกันอยู่ ( ร่วมกัน ) ภิกษุพวกใดทะเลาะกันอยู่
เมื่อพระโยคีห้ามว่า
" ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ขอท่านทั้งหลายอย่าทำอย่างนั้นเลย " ภิกษุพวกนั้น
( กลับ ) จะเป็นผู้ว่าเอาว่า
" ตั้งแต่ภิกษุถือบังสุกุลรูปนี้มา พวกเรา ( กลาย ) เป็นคนเสียไปเสียแล้ว
( มหาฎีกาว่า วิหารนั้นภิกษุทั้งหลาย
ระหองระแหงกัน ทะเลาะกัน ทำความไม่ผาสุกแก่เธอผู้เป็นพระโยคาวจร ครั้นขอร้องห้ามปรามเขา
เขากลับว่า
กระทบกระแทกให้เสียอีก )
ปฏฺฏสนฺนิสฺสิตตา ความเป็นวิหารติดท่า
- ฝ่ายวิหารใดติดท่าน้ำหรือท่าบก
( มหาฎีกาว่า ได้แก่ด่านขนอน เป็นที่เก็บภาษีสินค้าที่มาทางบก ) ในวิหาร
นั้นพวกคนที่มาทางเรือก็ดี ทางหมู่เกวียนก็ดี เนืองๆ ย่อมจะรบกวนทำความไม่ผาสุกให้
ด้วยการออกปากขอ
โอกาส ขอน้ำดื่ม ขอเกลือ
ปจฺจนฺตสนฺนิสฺสิตตา ความเป็นวิหารติดปลายแดน
- ส่วนในวิหารติดปลายแดน ( พึงทราบว่า
) คนทั้งหลาย ( ในบ้านปลายแดน ) เป็นคนไม่เลื่อมใสในพระรัตนตรัย
มีพุทธรัตนะเป็นต้น ( แม้หากไม่ทำอันตรายเอา ก็ไม่อุปถัมภ์บำรุง จะอยู่ผาสุกที่ไหน
)
รชฺชสีมนฺตรสนฺนิสฺสิตตา ความเป็นที่วิหารติดที่ระหว่างพรมแดน
- ในวิหารติดที่ระหว่างพรมแดน ราชภัย
( มัก ) จะมี เพราะพระราชาองค์หนึ่งก็ว่าที่ตรงนี้ยังไม่ได้อยู่ในอำนาจ
ของเรา ก็ ( มา ) ตีเอาที่นั้น ข้างพระราชาอีกฝ่ายหนึ่งก็ว่าที่ตรงนี้ยังไม่ได้อยู่ในอำนาจของตน
ก็ ( มา )
ตีเอาที่นั้น ภิกษุนี้ ( อยู่ ) ในวิหารนั้น ลางครั้งก็เที่ยวไปในแว่นแคว้นของพระราชาองค์นั้น
ลางคราวก็เที่ยวไปใน
แว่นแคว้นของพระราชาอีกองค์หนึ่ง เมื่อเป็นเช่นนั้น ทางการ ( อาจ ) สำคัญว่าเธอเป็นจารบุรุษ
ก็จะทำเอาเธอ
ป่นปี้ไป
อสปฺปายตา ความเป็นวิหารไม่เป็นสัปปายะ
- ข้อว่า " ความเป็นวิหารไม่สัปปายะ
" มีวินิจฉัยว่า " ความที่วิหารได้ชื่อว่า ไม่เป็นสัปปายะ ก็เพราะเป็นที่
ชุกชุมไปด้วย อารมณ์ที่เป็นข้าศึกแก่กรรมฐาน มีรูปเป็นต้นบ้าง เพราะเป็นที่ๆ
อมนุษย์หวงแหนบ้าง เรื่อง
( ต่อไป ) นี้ ( เป็นตัวอย่าง ) ในความเป็นวิหารที่อมนุษย์หวงแหนนั้น
- มีเรื่องเล่าว่า พระเถระรูปหนึ่งอยู่ในป่า
อยู่มายักษิณีตนหนึ่ง ( หวังจะล่อให้พระเถระนั้นไปตกเหวตาย ตัวจะ
ได้กินเนื้อพระเถระเป็นภักษาหาร หนแรกมา ) ยืนขับร้องขึ้นที่ใกล้ประตูบรรณศาลาของท่าน
ท่านออกไปยืน ( ดู )
ที่ประตู ( ไม่เห็นอะไร ) มัน ( เลื่อนที่ ) ไปขับร้องขึ้นที่หัวที่จงกรม พระเถระก็
( ตาม ) ไป ( ดู ) ที่หัวที่จงกรม
( อีกก็ไม่เห็นอะไร ) มัน ( เห็นว่าล่อพระเถระออกมาได้สองทอดแล้ว ทีจะได้การ
คราวนี้ ) จึงไปยืนขับร้องขึ้นที่
( ปาก ) เหวอันลึกตั้งร้อยชั่วคน
- พระเถระ ( ทีจะได้สติ ) กลับมาเสีย
( ไม่ตามไปอีก ) ทีนี้มัน ( เห็นว่าล่อพระเถระไม่สำเร็จดังใจนึก ) ก็โลด
แล่นมาจับ ( ตัว ) ท่าน ร้องตะคอกว่า " เฮ้ยพระ คนเช่นแก ( นี่ ) ข้ากินเสียไม่ใช่
คนหนึ่งสองคนแล้ว "
กลฺยาณมิตฺตานํ อลาโภ วิหารที่หากัลยามิตรไม่ได้
- ข้อว่า " วิหารที่หากัลยาณมิตรไม่ได้
" ความว่าในวิหารใด พระโยคาวจรไม่อาจหาอาจารย์หรือภิกษุปูน
อาจารย์ก็ดี อุปัชฌาย์หรือภิกษุปูนอุปัชฌาย์ก็ดีเป็นกัลยาณมิตรได้ ความไม่ได้กัลยาณมิตรนั้นในวิหารนั้นมีโทษมาก
ทีเดียว
- วิหารที่ประกอบด้วยโทษ ๑๘ อย่างนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง
พึงทราบว่าเป็นวิหารไม่เหมาะสม จริงอยู่ แม้ใน
อรรถกถาทั้งหลาย ท่านก็ได้กล่าวคำประพันธ์นี้ไว้ว่า
คาถาสรูปโทษ ๑๘
- บัณฑิตรู้จักที่ ( อันประกอบด้วยโทษ
) ๑๘ อย่าง คือ อาวาสใหญ่ ๑ อาวาสใหม่ ๑ อาวาสเก่า ๑
อาวาสติดทาง ๑ อาวาสมีตระพังน้ำ ๑ อาวาสมีใบ้ไม้ ๑ ( ที่ใช้เป็นผักได้ ) ๑ อาวาสมีไม้ดอก
๑
อาวาสมีไม้ผล ๑ อาวาสที่คนทั้งหลายมุ่งมั่น ๑ อาวาสติดเมือง ๑ อาวาสติดป่าไม้
๑ อาวาสติดนา ๑
อาวาสที่มีภิกษุไม่ถูกกันอยู่ ๑ อาวาสติดท่า ๑ อาวาสติดชายแดน ๑ อาวาสติดที่ระหว่างพรมแดน
๑
อาวาสไม่เป็นที่สัปปายะ ๑ อาวาสที่หากัลยาณมิตรไม่ได้ ๑ เหล่านี้ ( ว่าเป็นที่ไม่เหมาะสม
) ดังนี้แล้วพึง
หลีกเสียให้ห่าง ดุจหลีกทางอันมีภัยปรากฏอยู่ ฉะนั้นเถิด
ลักษณะวิหารอันเหมาะสม
- ส่วนว่าวิหารใดประกอบด้วยองค์ ๕ มีความเป็นวิหารที่ไม่ไกลนัก
ไม่ใกล้นักแต่โคจรคาม เป็นอาทิ วิหารนี้
ชื่อว่าวิหารเหมาะสม จริงอยู่ คำนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็เสนาสนะประกอบด้วยองค์
๕ เป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย เสนาสนะในศาสนานี้เป็นที่ไม่ไกลนักไม่ใกล้นัก ไปมาสะดวก
กลางวันไม่พลุกพล่าน
กลางคืนไม่มีเสียงอึกทึก ปราศจากสัมผัสแห่งเหลือบยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน
- ก็แลเมื่อภิกษุพำนักอยู่ในเสนาสนะนั้น
จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารทั้งหลาย
ย่อมเกิดขึ้นโดยไม่ฝืดเคืองเลย อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระ เป็นพหูสูตร ทรงธรรม
ทรงวินัย ทรงมาติกา
ย่อมอยู่ในเสนาสนะนั้น ภิกษุเข้าไปหาพระเถระเหล่านั้นตามกาลอันควร ได้สอบถาม
( ข้อธรรม ข้ออรรถ ) ว่า
" ท่านเจ้าข้า บทนี้เป็นอย่างไร " ท่านเหล่านั้นย่อมจะเปิดข้อที่ยังไม่ได้เปิด
ทำให้ตื้นข้อที่ยังมิได้ทำให้ตื้น
และบรรเทาความสงสัยในธรรมทั้งหลายอันน่าจะสงสัยได้หลายๆ อย่าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เสนาสนะประกอบ
ด้วยองค์ ๕ เป็นอย่างนี้แล " นี้เป็นความพิสดารในข้อว่า " ละวิหารอันไม่เหมาะสมแก่การบำเพ็ญสมาธิเสีย
แล้วพำนักอยู่ในวิหารที่เหมาะสม "
ตัดปลิโพธเล็กน้อย
- พึงทราบวินิจฉัยในข้อว่า " ทำการตัดปลิโพธเล็กน้อยเสีย
" ( ต่อไป ) พระโยคาวจรผู้ได้อยู่ในวิหารอันเหมาะสม
อย่างนี้ ปลิโพธทั้งหลายแม้ที่เล็กน้อยซึ่งเธอมีอยู่ ก็พึงตัดเสียด้วย ปลิโพธเล็กน้อยคืออะไรบ้าง
คือ ผมยาว เล็บยาว
แลขน ( คือขนจมูกหนวดเครา ) ยาว พึงโกนเสีย พึงทำทัฬหีกรรม ( ปะ ดาม ) หรือตุนนกรรม
( ชุน ) ในจีวรเก่าๆ
หรือว่าจีวร ( สี ) หมองไปก็ย้อมเสีย ถ้าสนิมในบาตรมี ก็พึงระบมบาตรเสีย เครื่องเสนาสนะมีเตียงตั่งเป็นต้น
ก็พึงทำเสียให้สะอาด
- นี้เป็นพิสดารในข้อว่า " ทำการตัดปลิโพธเล็กน้อยเสีย
"