ถามมหตฺตโต
- ( พึงระลึก ) โดยความมีเรี่ยวแรงมากอย่างไร
? พึงระลึกโดยความมีเรี่ยวแรงมากอย่างนี้ว่า
- พระวาสุเทพ พระพลเทพ พระภีมเสน
พระยุทธิฏฐิละ แม้หนุระ นักมวยปล้ำใหญ่ ก็ ( ตก )
ไปสู่อำนาจของความตาย ( สิ้น ) แล้ว แต่บุคคลเหล่านั้นผู้เลื่องชื่อในโลกว่า
เป็นคนมีกำลังเรี่ยว
แรงอย่างนี้ ก็ยังถึงซึ่งความตายกล่าวอะไรในคนทั้งหลายเช่นเราเล่า
อิทฺธิมหตฺตโต
- ( พึงระลึก ) โดยความมีฤทธิ์มากอย่างไร
? พึงระลึกโดยความมีฤทธิ์มากอย่างนี้ว่า
- พระอัครสาวกที่ ๒ ใด ผู้ได้ชื่อว่า
( มีฤทธิ์ ) ประเสริฐสุดแห่งผู้มีฤทธิ์ทั้งหลาย ( สามารถ )
ยังไพชยนต์ ( เทพปราสาท ) ให้ไหวได้ ด้วยอวัยวะเพียงนิ้วแม่เท้า แม้พระอัครสาวกที่
๒ นั้นก็ยัง
( ตก ) เข้าสู่ปากของมฤตยูอันน่าสะพึงกลัวไปพร้อมกับฤทธิ์ทั้งหลาย ( ของท่าน
) ดั่งมฤคเข้าปากสีหะ
กล่าวอะไรในคนทั้งหลายเช่นเราเล่า
ปญฺญามหตฺตโต
- ( พึงระลึก ) โดยความมีปัญญามากอย่างไร
? พึงระลึกโดยความมีปัญญามากอย่างนี้ว่า
- ยกเว้นพระโลกนาถเจ้าแล้ว ก็สัตว์ทั้งหลายอื่นใดมีอยู่
สัตว์เหล่านั้น ( ว่า ) โดยปัญญาย่อม ( มีค่า )
ไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งพระสารีบุตร พระอัครสาวกที่ ๑ ได้ชื่อว่ามีปัญญามากอย่างนี้
ยังถึงซึ่งอำนาจของ
ความตาย กล่าวอะไรในคนทั้งหลายเช่นเราเล่า
ปจฺเจกพุทฺธโต
- ( พึงระลึก ) โดยความเป็นพระปัจเจกพุทธะอย่างไร
? พึงระลึกโดยความเป็นพระปัจเจกพุทธะอย่างนี้ว่า
แม้พุทธบุคคลทั้งหลายเหล่านั้นใด ทำความย่ำยีเสียซึ่งศัตรูคือสรรพกิเลส ด้วยพละคือญาณและวิริยะ*ของตนๆ
( จน ) ได้บรรลุปัจเจกสัมโพธิเป็นพระสยัมภู ( มีจริยา ) เยี่ยงนอแรด แม้พุทธบุคคลเหล่านั้น
ก็มิได้พ้นความ
ตาย ก็ที่ไหนตัวเราจักพ้นเล่า
- * ญาณ ได้แก่สัมมาทิฏฐิ
วิริยะ ได้แก่สัมมาวายามะ ท่านว่าเมื่อองค์ทั้งสองนี้สำเร็จแล้ว อริยมรรคย่อม
เป็นอันสำเร็จพร้อมทั้ง ๘ องค์
- พระมหาฤษี *เหล่าใดอาศัย
( จับเอา ) นิมิตนั้นๆ มาพิจารณาสอบสวนไป ( จน ) ได้บรรลุ
อาสวักขัยด้วย ( ลำพัง ) ญาณอันกล้า ( ของตน ) เป็นพระสยัมภูเปรียบเสมอด้วยนอแรด
เพราะเที่ยว
ไปและพักอยู่ผู้เดียว แม้พระมหาฤษีเหล่านั้น ก็หาล่วงความตายไปได้ไม่ กล่าวอะไรในคนทั้งหลาย
เช่นเราเล่า
สมฺมาสมฺพุทฺธโต
- ( พึงระลึก ) โดยความเป็นพระสัมมาสัมพุทธะอย่างไร
? พึงระลึกโดยความเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ
อย่างนี้ว่า แม้พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นใด มีพระรูปวิจิตรไปด้วยมหาบุรุษลักษณะ
๓๒ มีอนุพยัญชนะ ๘0
ประการประดับ มีพระธรรมสัมฤทธิ์ด้วยพระคุณรัตนะ มีสีลขันธ์อันบริสุทธิ์ด้วยอาการทั้งปวงเป็นอาทิ
ทรงถึง
ฝั่ง ( คือชั้นยอด ) แห่งความมียศใหญ่ ความมีบุญมาก ความมีกำลังมาก ความมีฤทธิ์มาก
และความมี
ปัญญามาก หาผู้เสมอมิได้ ทรงเสมอกับผู้ที่ไม่มีใครเสมอ ( คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยกันเอง
)
- * หมายความว่า พระปัจเจกพุทธะนั้น
เกิดนอกพุทธกาล ไม่ได้ฟังธรรมพุทธโอวาทและคำสอนใครอื่นเลย
แต่เพราะมีบารมีญาณแก่กล้าควรจะตรัสรู้ได้ ได้เห็นอะไรก็เก็บเอามาเป็นนิมิต พิจารณาสอบสวนทบทวนไป
จนเกิดยถาภูตญาณทัสสนะปหานกิเลสได้
- มหาฎีกา ให้ตัวอย่างนิมิตที่พระปัจเจกพุทธะจับมาพิจารณาว่า
เช่นเห็นความกระทบเสียดสีกันแห่งกำไลที่
สวมไว้หลายๆ อัน
- หาผู้เปรียบมิได้ หาคนเทียบมิได้
เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นก็ยังทรง
รำงับ ( ดับขันธ์ ) ไปโดยพลัน ด้วยหยาดฝนมรณะ ดุจกองไฟใหญ่ที่มอดไปด้วยหยาดน้ำฝนฉะนั้น
- อันความตายนั้นใด ( มัน ) แผ่อำนาจมาถึงองค์พระมหาบุรุษผู้ทรงอานุภาพใหญ่อย่างนี้ได้
โดยไม่
กลัวโดยไม่อาย ไฉนเจ้าความตายนี้นั้นซึ่งไร้ความอายปราศจากความกลัว มุ่งแต่จะย่ำยีสัตว์ทุกถ้วนหน้า
จักไม่ ( มา ) ครอบงำเอาสัตว์เช่นเราเข้าเล่า
- เมื่อพระโยคาวจรนั้น เปรียบเทียบตนกับคนอื่นๆ
ผู้ถึงพร้อมด้วยความใหญ่มีความเป็นผู้มียศใหญ่เป็นต้น
โดยภาวะ คือความมีมรณะเสมอกันอย่างนี้แล้ว ระลึกไปว่า " ความตายจะต้องมีแก่เราแน่
ดุจมีแก่สัตว์วิเศษ
ทั้งหลายเหล่านั้น " ดังนี้ กรรมฐานจะถึงอุปจารแล พระโยคาวจรพึงระลึกถึงความตายโดยเปรียบเทียบ
ด้วย
ประการฉะนี้
อธิบายอาการที่ ๔ กายพหุสาธารณโต
- บทว่า กายพหุสาธารณโต มีอธิบายว่า
กายนี้เป็นสาธารณแก่สัตว์มากชนิด คือประการแรกก็เป็นสาธารณ
แก่กิมิชาติ ๘0 จำพวก ( กิมิชาติ = หมู่หนอน, ในปัจจุบันเรียกว่า เชื้อโรค ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอุตุชรูปที่ไม่มีวิญญาณ
ครอง แต่บางอย่างก็เป็นรูปที่มีวิญญาณครอง เช่นพวกพยาธิต่างๆ ) ในกิมิชาติเหล่านั้น
จำพวกที่เป็นสัตว์อาศัย
ผิวหนังก็กัดกินผิวหนัง จำพวกที่อาศัยหนังก็กัดกินหนัง จำพวกที่อาศัยเนื้อก็กัดกินเนื้อ
จำพวกที่อาศัยเอ็นก็กัดกินเอ็น
จำพวกที่อาศัยกระดูกก็กัดกินกระดูก จำพวกที่อาศัยเยื่อ ( ในกระดูก ) ก็กัดกินเยื่อ
มันเกิด แก่ ตาย ถ่ายอุจจาระ
ปัสสาวะอยู่ในนั้นเอง และร่างกายก็ ( นับว่า ) เป็นเรือนคลอดด้วย เป็นโรงพยาบาลด้วย
เป็นสุสานด้วย เป็นส้วมด้วย
เป็นรางปัสสาวะด้วย ของพวกมัน อันว่าร่างกายนี้นั้น เพราะความกำเริบแห่งกิมิชาติแม้เหล่านั้น
ก็ถึงซึ่งความตาย
ได้ประการหนึ่งโดยแท้
- อนึ่ง กายนี้เป็นสาธารณแก่เหล่ากิมิชาติ ๘0 จำพวก ฉันใด
ก็ย่อมเป็นสาธารณแก่ปัจจัยแห่งความตาย ทั้งที่เป็น
ภายใน ได้แก่โรคหลายร้อยอย่างทีเดียว ทั้งที่เป็นภายนอก ได้แก่สัตว์มีพิษ เช่นงูและแมลงป่อง
ฉันนั้น อุปมาดังอาวุธ
ทั้งหลายมีลูกศร หอกแทง หอดซัด และก้อนหินเป็นต้น อัน ( บุคคลซัด ) มาแต่ทิศทั้งปวงตกลงที่เป้า
อันเขาตั้งไว้ ณ
สี่แยกถนนใหญ่ ฉันใด แม้อุปัทวะทั้งปวงก็ตกลงมาที่ร่างกาย
ฉันนั้น
- อันว่าร่างกายนี้นั้น เพราะความตกลงแห่งอุปัทวะเหล่านั้น
ก็ถึงซึ่งความตายได้ประการหนึ่งเหมือนกัน
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ว่า " ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ครั้นกลางวันผ่าน
ไปแล้ว กลางคืนย่างเข้ามา ย่อมพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า " ปัจจัยแห่งความตายของเรามีมากนะ
คืองูพึงขบเอาเราก็ได้ แมลงป่องพึงตอดเอาเราก็ได้ ตะขาบพึงกัดเอาเราก็ได้ เพราะปัจจัยมีงูขบ
เป็นต้นนั้น กาลกิริยาพึงมีแก่เราได้ ภาวะคือกาลกิริยานั้น พึงเป็นอันตรายแก่เรา
( อนึ่ง ) เราพึงพลาด
ตกก็ได้ ภัตรที่เรากินแล้วพึงเกิดเป็นพิษก็ได้ น้ำดีของเราพึงกำเริบก็ได้ เสมหะของเราพึงกำเริบก็ได้
ลมสัตถกะ ( ตัดความสืบต่อแห่งชีวิต ) ของเราพึงกำเริบก็ได้ เพราะปัจจัยมีพลาดตกเป็นต้นนั้น
กาล
กิริยาพึงแก่เราได้ ภาวะคือกาลกิริยานั้น พึงเป็นอันตรายแก่เรา " ( อง.อฏฺฐก.
๒๔/๓๓๑ ) ดังนี้
พระโยคาวจรพึงระลึกถึงความตาย โดยร่างกายเป็นสาธารณแก่สัตว์และปัจจัยแห่งความตายมาชนิด
โดยนัยที่กล่าว
มาฉะนี้
อธิบายอาการที่ ๕ อายุทุพฺพลโต
- บทว่า อายุทุพฺพพลโต อธิบายว่า อันอายุนั้นไม่แข็งแรงอ่อนแอ
- จริงอย่างนั้น ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายผูกพันอยู่กับลมหายใจเข้าออก
๑ ผูกพันอยู่กับอิริยาบถ ๑ ผูกพันอยู่กับ
ความเย็นความร้อน ๑ ผูกพันอยู่กับมหาภูต ( มหาภูตรูป ๔ คือ ดิน, น้ำ , ไฟ , ลม
) ๑ ผูกพันอยู่กับอาหาร ๑
- ชีวิตนี้นั้น ได้ความเป็นไปสม่ำเสมอแห่งลมหายใจเข้า
และลมหายใจออกอยู่เท่านั้น จึงเป็นไปได้ แต่เมื่อ
ลมหายใจที่ออกไปข้างนอกแล้วไม่เข้าข้างในก็ดี ที่เข้าไปแล้วไม่ออกก็ดี บุคคลก็ได้ชื่อว่าตาย
- อนึ่ง ชีวิตนั้นได้ความเป็นไปสม่ำเสมอแห่งอิริยาบถ
๔ อยู่เท่านั้นจึงเป็นไปได้ แต่เพราะอิริยาบถอย่างใด
อย่างหนึ่งเกินประมาณไปอย่างใดอย่างหนึ่ง อายุสังขารย่อมขาด
- อนึ่ง ชีวิตนั้นได้ความเป็นไปพอสมควรแห่งความเย็นและความร้อนเท่านั้นจึงเป็นไปได้
แต่เมื่อบุคคลถูกความ
เย็นเกินก็ดี ความร้อนเกินก็ดี ครอบงำเอา ย่อมวิบัติไป
- อนึ่ง ชีวตินั้นได้ความเป็นไปสม่ำเสมอแห่งมหาภูต
( คือธาตุ ๔ ) ทั้งหลายเท่านั้นจึงเป็นไปได้ แต่เพราะ
ปฐวีธาตุ หรือธาตุที่เหลือมีอาโปธาตุเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่งกำเริบไป บุคคลแม้สมบูรณ์ด้วยกำลัง
ก็ ( สลาย )
เป็นคนมีกายแข็งกระด้างไปบ้าง มีกายเน่าเหม็นเปรอะเปื้อนด้วยอำนาจแห่งโรคอติสาร
( ลงแดง ) เป็นต้นบ้าง
มีอาการร้อนหนัก ( คือร้อนไม่ลด ) บ้าง ข้อและเส้นขาดไปบ้าง ถึงสิ้นชีวิต
- อนึ่ง เมื่อบุคคลได้กวฬิงการาหาร
( อาหารคือคำข้าว ได้แก่อาหารที่กลืนกินเข้าไปหล่อเลี้ยงร่างกาย )
ในกาลอันควรเท่านั้น ชีวิตจึงเป็นไปได้ แต่เมื่อไม่ได้อาหาร มันก็สิ้นกันแล
- พระโยคาวจรพึงระลึกถึงความตายโดยอายุเป็นของอ่อนแอ
โดยนัยดังกล่าวมาฉะนี้
อธิบายอาการที่ ๖ อนิมิตฺตโต
- บทว่า อนิมิตฺตโต คือ โดยไม่มีกำหนด
หมายความว่า โดยไม่มีขีดคั่น จริงอยู่
- ธรรม ๙ ประการนี้คือ ชีวิต
พยาธิ กาล สถานที่ทอดร่าง และคติ ของสัตว์ทั้งหลายในชีวโลก
ไม่มีนิมิต รู้ไม่ได้
- ในธรรม ๕ ประการนั้น อันชีวิตชื่อว่าไม่มีนิมิต
เพราะไม่กำหนดว่า จะพึงเป็นอยู่เพียงเท่านี้ ไม่เป็นอยู่ต่อ
แต่นี้ไป ( ดังนี้เป็นต้น ) ด้วยว่าสัตว์ทั้งหลาย ย่อมตายเสียแต่ในกาลที่ยังเป็นกลละก็มี
ในกาลที่ยังเป็นอัมพุทะ
เป็นเปสิ เป็นฆนะ *
อยู่ในครรภ์ได้เดือน ๑ ได้ ๒ เดือน ได้ ๓ เดือน ได้ ๔ เดือน ได้ ๕ เดือน ได้
๑0 เดือน
ก็มี ในสมัยที่ออกจากท้องก็มี ต่อนั้นก็ตายภายใน ๑00 ปีก็มี เกิน ๑00 ปีก็มีเหมือนกัน
- พยาธิเล่า ชื่อว่าไม่มีนิมิต
เพราะไม่มีกำหนดว่า สัตว์ทั้งหลายจะตายด้วยพยาธินี้เท่านั้น ไม่ตายด้วย
พยาธิอื่น ด้วยว่าสัตว์ทั้งหลายตายด้วยโรคตาก็มี ด้วยโรคนอกนี้มีโรคหูเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่งก็มี
- กาลเล่า ก็ชื่อว่าไม่มีนิมิต
เพราะไม่มีกำหนดอย่างนี้ว่า จะต้องตายในกาลนี้เท่านั้น ไม่ตายในกาลอื่น
ด้วยว่าสัตว์ทั้งหลายย่อมตายในตอนเช้าก็มี ในตอนอื่นมีตอนเที่ยงเป็นต้นตอนใดตอนหนึ่งก็มี
- *
การเกิดขึ้นของรูปของมนุษย์ในครรภ์มารดาหลังปฏิสนธิ
- ๑. กลละ เป็นน้ำใส เป็นหยาดน้ำใส
เหมือนน้ำมันงา ใน สัปดาห์ที่ ๑ หลังปฎิสนธิ
- ๒. อัมพุทะ เป็นฟองน้ำ
(มีลักษณะเป็นฟอง สีเหมือน น้ำล้างเนื้อ) ใน สัปดาห์ที่ ๒ หลังปฎิสนธิ
- ๓. เปสิ เป็นเมือกไข (มีลักษณะ
เหมือนชิ้นเนื้อเหลว ๆ สีแดง) ใน สัปดาห์ที่ ๓ หลังปฎิสนธิ
- ๔. ฆนะ เป็นก้อนไข (มีลักษณะเป็นก้อน
มีสัณฐาน เหมือนไข่ไก่) ใน สัปดาห์ที่ ๔ หลังปฎิสนธิ
- ๕. ปัญจสาขา เกิดปุ่มทั้งห้า(ได้แก่
แขน๒ ขา๒ ศีรษะ๑) ใน สัปดาห์ที่ ๕ หลังปฎิสนธิ
- สถานที่ทอดร่างเล่า ก็ชื่อว่าไม่มีนิมิต
เพราะไม่มีกำหนดอย่างนี้ว่า เมื่อสัตว์ทั้งหลายตาย ร่างจะต้อง
ตกอยู่ที่นี่เท่านั้น ไม่ตกอยู่ที่อื่นด้วยว่าร่างของบุคคลทั้งหลายผู้เกิดภายในบ้าน
( ไปตาย ) ตกอยู่ภายนอก
บ้านก็มี ร่างของบุคคลทั้งหลายผู้เกิดภายนอกบ้าน ( มาตาย ) ตกอยู่ภายในบ้านก็มี
โดยนัยเดียวกันนั้น
บัณฑิตพึง ( พรรณนา ) ให้กว้างไปหลายๆ ประการ เป็นต้นว่า ร่างของสัตว์ทั้งหลายผู้เกิดบนบก
( ไปตาย )
ตกอยู่ในน้ำ หรือว่าร่างของสัตว์ทั้งหลายผู้เกิดในน้ำ ( มาตาย ) ตกอยู่บนบก ...
- คติเล่า ก็ชื่อว่าไม่มีนิมิต
เพราะไม่มีกำหนดอย่างนี้ว่า อันสัตว์ผู้จุติจากคตินี้ จะต้อง ( ไป ) เกิดในคตินี้
ด้วยว่าสัตว์ทั้งหลายผู้จุติจากเทวโลก ( มา ) เกิดในพวกมนุษย์ก็มี ผู้จุติจากมนุษยโลก
( ไป ) เกิดในโลกอื่นมี
เทวโลกเป็นต้นที่ใดที่หนึ่งก็มี เพราะอย่างนี้ ( สัตว์ ) โลกจึงหมุนเวียนไปใน
๕ คติ *
ดุจโคที่เขาเทียมไว้ในยนต์
เดินเวียนอยู่ฉะนั้น
- พระโยคาวจรพึงระลึกถึงความตาย
โดยชีวิตไม่มีนิมิต ดังกล่าวมาฉะนี้
อธิบายอาการที่ ๗ อทฺธานปริจฺเฉทโต
- บทว่า อทฺธานปริจฺเฉทโต อธิบายว่า
อัน ( ระยะ ) กาลแห่งชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายในบัดนี้สั้น
* คติ
๕ = ที่ไปเกิดของสัตว์, ภพที่สัตว์ไปเกิด ๕ คือ ๑. นิรยคติ คือ นรก ๒. ติรัจฉานคติ
คือ เดรัจฉาน
๓. เปตติคติ คือ เปรต และอสุรกาย ๔. มนุษยคติ คือ มนุษย์ ๕. เทวคติ คือ เทวดา
และพรหม
- ผู้ใดเป็นอยู่ยืน ผู้นั้นก็เป็นอยู่สัก
๑00 ปี เกินนั้นไปก็มีบ้าง แต่ ( เป็นส่วน ) น้อย เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าจึงตรัสว่า " ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายุของมนุษย์ทั้งหลายนี้น้อย
สัมปรายภพ ( เล่า ) ก็จะต้องไป
จึงควรทำกุศล ประพฤติพรหมจรรย์ ความไม่ตายแห่งสัตว์ผู้เกิดแล้วหามีไม่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ผู้ใด
เป็นอยู่ยืน ผู้นั้นก็เป็นอยู่สัก ๑00 ปี เกินนั้นไปก็มีบ้าง แต่ ( เป็นส่วน
) น้อย " ( สํ.ส. ๑๕/๑๕๘ )
นิคมคาถา
- อายุของมนุษย์ทั้งหลายน้อย
คนดีพึงดูหมิ่นมันเสีย พึงประพฤติดังคนที่มีศีรษะถูกไฟไหม้เถิด
ไม่มีละ ที่มฤตยูจะไม่มา ( ขุ.มหา. ๒๙/๕๑ )
- ตรัสไว้อื่นอีกว่า " ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรื่องเคยมีมาแล้ว มีศาสดาชื่ออรกะ " ( อง. สตฺตก ๒๓/๑๓๘ )
ดังนี้เป็นต้น พระสูตรอันประดับด้วยอุปมา ๗ ข้อทั้งปวง *
บัณฑิตพึง ( นำมากล่าว ) ให้พิสดาร
- * อุปมา ๗ ข้อ คือ
- ๑. เหมือนหยาดน้ำค้างบนยอดหญ้า
พอต้องแสงอาทิตย์พลันเหือดไป
- ๒. เหมือนฟองน้ำในน้ำประเดี๋ยวก็แตกๆ
- ๓. เหมือนรอยไม้ขีดน้ำประเดี๋ยวก็หาย
- ๔. เหมือนธารน้ำหลั่งลงมาจากภูเขา
มีแต่ไหลไปท่าเดียว
- ๕. เหมือนคนแข็งแรงจะบ้วนน้ำลายที่ปลายลิ้นก็ถุยออกไปได้ทันที
- ๖. เหมือนชิ้นเนื้อที่คนวางลงในกะทะเหล็กที่ร้อนจัด
ก็ไหม้ไปโดยเร็ว
- ๗. เหมือนโคที่เขาจะฆ่า เขาจูงเดินไปก็ใกล้คนฆ่าและใกล้ที่ฆ่าเข้าไปทุกที