- ลำดับนั้นพึงว่าในวักกปัญจกะ
( ๕ ทั้ง ไต ) ว่า " มํสํ นฺหารู อฏฺฐี อฏฺฐิมิญฺชํ วกฺกํ ( เนื้อ
เอ็น กระดูก
เยื่อในกระดูก ไต ) แล้วว่าโดยปฏิโลม ( ย้อนกลับ ) ว่า " วกฺกํ อฏฺฐิมิญฺชํ
อฏฺฐี นฺหารู มํสํ ( ไต
เยื่อในกระดูก กระดูก เอ็น เนื้อ ) " ต่อนั้นจึงว่าโดยอนุโลม ( ให้เชื่อมกับตอนแรกด้วย
) ว่า " เกสา โลมา นขา
ทนฺตา ตโจ มํสํ นฺหารู อฏฺฐี อฏฺฐิมิญฺชํ วกฺกํ " ( ผม ขน เล็บ ฟัน
หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต )
แล้วจึงว่าโดยปฏิโลม ( ย้อนกลับ ) อีกว่า " วกฺกํ อฏฺฐิมิญฺชํ อฏฺฐี
นฺหารู มํสํ ตโจ ทนฺตา นขา โลมา เกสา "
( ไต เยื่อในกระดูก กระดูก เอ็น เนื้อ หนัง ฟัน เล็บ ขน ผม )
- ต่อนั้นพึงว่าในปัปผาสปัญจกะ
( ๕ ทั้งปอด ) ว่า " หทยํ ยกนํ กิโลมกํ ปิหกํ ปปฺผาสํ ( หัวใจ ตับ
พังผืด
ม้าม ปอด ) แล้วว่าโดยปฏิโลมอีกว่า " ปปฺผาสํ ปิหกํ กิโลมกํ ยกนํ หทยํ
( ปอด ม้าม พังผืด ตับ หัวใจ )
ต่อนั้นจึงว่าโดยอนุโลม ( ให้เชื่อมกับที่ผ่านมาแล้วด้วย ) ว่า " เกสา
โลมา นขา ทนฺตา ตโจ มํสํ นฺหารู
อฏฺฐี อฏฺฐิมิญฺชํ วกฺกํ หทยํ ยกนํ กิโลมกํ ปิหกํ ปปฺผาสํ "
( ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก
เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ) แล้วจึงว่าโดยปฏิโลม ( ย้อนกลับ
) อีกว่า " ปปฺผาสํ ปิหกํ
กิโลมกํ ยกนํ หทยํ วกฺกํ อฏฺฐิมิญฺชํ อฏฺฐี นฺหารู มํสํ ตโจ ทนฺตา นขา โลมา เกสา
" ( ปอด ม้าม พังผืด
ตับ หัวใจ ไต เยื่อในกระดูก กระดูก เอ็น เนื้อ หนัง ฟัน เล็บ ขน ผม )
- ต่อนั้นพึงว่าในมัตถลุงคปัญจกะ ( ๕ ทั้งมันสมอง
) ว่า " อนฺตํ อนฺตคุณํ อุทริยํ กรีสํ มตฺถลุงฺคํ "
( ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า มันสมอง ) แล้วว่าโดยปฏิโลมอีกว่า "
มตฺถลุงฺคํ กรีสํ อุทริยํ อนฺตคุณํ
อนฺตํ " ( มันสมอง อาหารเก่า อาหารใหม่ ไส้น้อย ไส้ใหญ่ ) ต่อนั้นจึงว่าโดยอนุโลม
( ให้เชื่อมกับที่ผ่านมา
แล้วด้วย ) ว่า " เกสา โลมา นขา ทนฺตา ตโจ มํสํ นฺหารู อฏฺฐี อฏฺฐิมิญฺชํ
วกฺกํ หทยํ ยกนํ กิโลมกํ ปิหกํ
ปปฺผาสํ อนฺตํ อนฺตคุณํ อุทริยํ กรีสํ มตฺถลุงฺคํ " (
ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต
หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า มันสมอง
) แล้วจึงว่าโดยปฏิโลม ( ย้อนกลับ )
อีกว่า " มตฺถลุงฺคํ กรีสํ อุทริยํ อนฺตคุณํ อนฺตํ ปปฺผาสํ
ปิหกํ กิโลมกํ ยกนํ หทยํ วกฺกํ อฏฺฐิมิญฺชํ อฏฺฐี
นฺหารู มํสํ ตโจ ทนฺตา นขา โลมา เกสา "
( มันสมอง อาหารเก่า อาหารใหม่ ไส้น้อย ไส้ใหญ่ ปอด
ม้าม พังผืด
ตับ หัวใจ ไต เยื่อในกระดูก กระดูก เอ็น เนื้อ หนัง ฟัน เล็บ ขน ผม )
- ต่อนั้นไปพึงว่าในเมทฉักกะ
( ๖ ทั้งมันข้น ) ว่า " ปิตฺตํ เสมฺหํ ปุพฺโพ โลหิตํ เสโท เมโท "
( ดี เสมหะ
น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ มันข้น ) แล้วว่าโดยปฏิโลมอีกว่า " เมโท
เสโท โลหิตํ ปุพฺโพ เสมฺหํ ปิตฺตํ " ( มันข้น
เหงื่อ เลือด น้ำเหลือง เสมหะ ดี ) ต่อนั้นจึงว่าโดยอนุโลม ( ให้เชื่อมกับที่ผ่านมาแล้วด้วย
) ว่า " เกสา โลมา นขา
ทนฺตา ตโจ มํสํ นฺหารู อฏฺฐี อฏฺฐิมิญฺชํ วกฺกํ หทยํ ยกนํ กิโลมกํ ปิหกํ
ปปฺผาสํ อนฺตํ อนฺตคุณํ อุทริยํ
กรีสํ มตฺถลุงฺคํ ปิตฺตํ เสมฺหํ ปุพฺโพ โลหิตํ เสโท เมโท
" ( ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก
เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่
อาหารเก่า มันสมอง ดี เสมหะ
น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ มันข้น ) แล้วจึงว่าโดยปฏิโลม ( ย้อนกลับ ) อีกว่า "
เมโท เสโท โลหิตํ ปุพฺโพ เสมฺหํ
ปิตฺตํ มตฺถลุงฺคํ กรีสํ อุทริยํ อนฺตคุณํ อนฺตํ ปปฺผาสํ
ปิหกํ กิโลมกํ ยกนํ หทยํ วกฺกํ อฏฺฐิมิญฺชํ อฏฺฐี
นฺหารู มํสํ ตโจ ทนฺตา นขา โลมา เกสา "
( มันข้น เหงื่อ เลือด น้ำเหลือง เสมหะ ดี มันสมอง
อาหารเก่า
อาหารใหม่ ไส้น้อย ไส้ใหญ่ ปอด ม้าม พังผืด ตับ หัวใจ
ไต เยื่อในกระดูก กระดูก เอ็น เนื้อ หนัง ฟัน เล็บ ขน ผม )
- ต่อนั้นพึงว่าในมุตตฉักกะ ( ๖ ทั้งมูตร
) ว่า " อสฺสุ วสา เขโฬ สิงฺฆาณิกา ลสิกา มุตฺตํ " ( น้ำตา
มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ) แล้วว่าโดยปฏิโลมอีกว่า " มุตฺตํ
ลสิกา สิงฺฆาณิกา เขโฬ วสา อสฺสุ "
( มูตร ไขข้อ น้ำมูก น้ำลาย มันเหลว น้ำตา ) ต่อนั้นจึงว่าโดยอนุโลม
( ให้เชื่อมกับที่ผ่านมาแล้วด้วย ) ว่า " เกสา
โลมา นขา ทนฺตา ตโจ มํสํ นฺหารู อฏฺฐี อฏฺฐิมิญฺชํ วกฺกํ หทยํ ยกนํ กิโลมกํ
ปิหกํ ปปฺผาสํ อนฺตํ
อนฺตคุณํ อุทริยํ กรีสํ มตฺถลุงฺคํ ปิตฺตํ เสมฺหํ ปุพฺโพ
โลหิตํ เสโท เมโท อสฺสุ วสา เขโฬ
สิงฺฆาณิกา
ลสิกา มุตฺตํ " ( ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ
เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ไส้ใหญ่
ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า มันสมอง ดี เสมหะ น้ำเหลือง
เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก
ไขข้อ มูตร ) แล้วจึงว่าโดยปฏิโลม ( ย้อนกลับ ) อีกว่า
" มุตฺตํ ลสิกา สิงฺฆาณิกา เขโฬ วสา อสฺสุ เมโท
เสโท
โลหิตํ ปุพฺโพ เสมฺหํ ปิตฺตํ มตฺถลุงฺคํ กรีสํ อุทริยํ อนฺตคุณํ อนฺตํ
ปปฺผาสํ ปิหกํ กิโลมกํ ยกนํ หทยํ วกฺกํ
อฏฺฐิมิญฺชํ อฏฺฐี นฺหารู มํสํ ตโจ ทนฺตา นขา โลมา เกสา
" ( มูตร ไขข้อ น้ำมูก น้ำลาย มันเหลว น้ำตา
มันข้น เหงื่อ เลือด น้ำเหลือง เสมหะ ดี มันสมอง
อาหารเก่า อาหารใหม่ ไส้น้อย ไส้ใหญ่ ปอด ม้าม พังผืด
ตับ
หัวใจ ไต เยื่อในกระดูก กระดูก เอ็น เนื้อ หนัง ฟัน เล็บ ขน ผม )
- พึงทำสาธยายด้วยวาจาไปอย่างนี้
๑00 ครั้ง ๑,000 ครั้ง กระทั่ง ๑00,0000 ครั้งก็ดี ด้วยว่า ด้วยการสาธยาย
ทางปาก ( อย่างนั้น ) ระบบกรรมฐาน ย่อมจะคล่องตัว จิตจะไม่แล่นไปทางโน้นทางนี้
โกฏฐาส ( ส่วนของร่างกาย )
ทั้งหลายก็จะปรากฏ คือชัด ( เป็นถ่องแถว ) ดังแถวนิ้วมือ และดังแถวกระทู้รั้วฉะนั้น
ทางใจ สี สัณฐาน ทิศ โอกาส ตอน
- ก็ทางวาจา ทำสาธยายอย่างใด ถึงทางใจ ก็พึงทำสาธยาย (
ท่อง ) อย่างนั้นแหละ เพราะการสาธยายทาง
วาจา เป็นปัจจัยแห่งการสาธยายทางใจ การสาธยายทางใจ เป็นปัจจัยแห่งการแทงตลอดลักษณะ
( แห่งโกฏฐาส )
- คำว่า " โดยสี " คือพึงกำหนดดูสีของโกฏฐาส
( ส่วนของร่างกาย ) ทั้งหลายมีผมเป็นต้น
- คำว่า " โดยสัณฐาน " พึงกำหนดดูสัณฐานของโกฏฐาส
( ส่วนของร่างกาย ) เหล่านั้นนั่นแล
- คำว่า " โดยทิศ " อธิบายว่า ในสรีระนี้
เหนือสะดือขึ้นไป เป็นทิศบน ใต้สะดือลงไป เป็นทิศล่าง เหตุนั้น
พึงกำนดทิศว่า " โกฏฐาสนี้ ( อยู่ ) ในทิศชื่อนี้
- คำว่า " โดยโอกาส " ความว่า พึงกำหนดโอกาสของโกฏฐาสนั้นๆ
อย่างนี้ว่า " โกฏฐาสนี้ตั้งอยู่ในโอกาส
ตรงนี้ "
- คำว่า " โดยตัดตอน " มีอรรถาธิบายว่า
ตัดตอนมี ๒ คือ ตัดตอนด้วยส่วนของตน ตัดตอนด้วยส่วนที่ผิดกับ
ตน
- ใน ๒ อย่างนั้น ตัดตอนด้วยส่วนของตน
พึงทราบอย่างนี้ว่า " โกฏฐาสนี้ กำหนดตัดตอนด้วยส่วนชื่อนี้
ทั้งเบื้องล่างเบื้องบนเบื้องขวาง " ตัดตอนด้วยส่วนที่ผิดกับตน พึงทราบโดยความไม่ปนกันอย่างนี้ว่า
" ผม
คือสิ่งที่มิใช่ขน ขนเล่าก็คือสิ่งที่มิใช่ผม ดังนี้เป็นตัวอย่าง
ข้อควรทราบก่อนจะบอกอุคคหโกศล
- ก็แลอาจารย์เมื่อจะบอกอุคคหโกศล
๗ วิธีดังกล่าวมานี้ พึงทราบ ( ก่อน ) ว่า กรรมฐานนี้ ตรัสในสูตรโน้น
โดยเป็นสิ่งปฏิกูล ในสูตรโน้นโดยความเป็นธาตุ ดังนี้แล้วจึงบอก แท้จริง กรรมฐานนี้
ในมหาสติปัฏฐานสูตร
ตรัสโดยเป็นสิ่งปฏิกูล ในมหาหัตถิปโทปมสูตร มหาราหุโลวาทสูตร และธาตุวิภังคสูตร
ตรัสโดยเป็นธาตุ ส่วน
ในกายคตาสติสูตร ทรงจำแนกฌาน ๔ มุ่งถึงบุคคลผู้ที่โกฏฐาสมีผมเป็นต้นปรากฏ ( แก่เขา
) โดยสี ในกรรมฐาน
๒ ฝ่ายนั้น ที่ตรัสโดยเป็นธาตุเป็นวิปัสสนากรรมฐาน ที่ตรัสโดยเป็นสิ่งปฏิกูลเป็นสมถกรรมฐาน
กรรมฐานใน
ปฏิกูลมนสิการบรรพนี้นั้น เป็นสมถกรรมฐานแท้แล
- อุคคหโกสัลละ ๗ วีธี อาจารย์พึงบอกโดยนัยดังกล่าวมาฉะนี้
มนสิการโกสัลละ
- อาจารย์พึงบอกมนสิการโกสัลละ ๑0
วิธี อย่างนี้ คือ โดยลำดับ โดยไม่เร่งนัก โดยไม่ช้านัก โดยป้องกัน
ความฟุ้งซ่าน โดยล่วงเสียซึ่งบัญญัติ โดยปล่อยลำดับ โดยอัปปนา และสุตตันตะ ๓
มนสิการโดยลำดับ
- ในมนสิการโกศล ๑0 นั้น ข้อว่าโดยลำดับ
อธิบายว่า กรรมฐานนี้ เริ่มแต่ทำสาธยาย ต้องมนสิการไปตาม
ลำดับ ( อาการ ๓๒ ) อย่ามนสิการโดยข้ามเสียบทหนึ่งๆ เพราะพระโยคาวจรมนสิการโดยข้ามระหว่างบท
เสียบท ๑ จะเหนื่อยใจ ( จน ) ตกไปจากความได้รับส่วนดี อันจะพึงได้ด้วยอำนาจความถึงพร้อมแห่งภาวนาเสีย
ไม่ยังภาวนาให้สำเร็จได้ เปรียบเหมือนคนที่ไม่ฉลาดขึ้นบันได ๓๒ ขั้นโดยเว้นเสียขั้น
๑ ก็จะเหนื่อยกาย ( จน )
ตก ไม่ยังการขึ้นให้สำเร็จได้ฉะนั้น
มนสิการโดยไม่เร่งนัก
- แม้เมื่อมนสิการโดยลำดับ ก็พึงมนสิการ
โดยไม่เร่งนักด้วย เพราะเมื่อมนสิการเร่งนัก กรรมฐานคงถึงที่สุด
เป็นแท้ก็จริง แต่ว่าไม่จะแจ้ง ไม่นำคุณวิเสสมาให้ เปรียบเหมือนเมื่อบุรุษ (
ผู้หนึ่ง ) เดินทางประมาณ ๓ โยชน์
- มิได้สังเกตจำทางที่พึงเดิน และทางที่พึงเว้น
ทำการคมนาคมด้วยฝีเท้าอันเร็วตั้ง ๗ เที่ยว ทางไปสุดก็จริง
แต่ ( เขาจำทางไม่ได้ ) ต้องถาม ( ผู้อื่น ) ไป ( ทุกเที่ยว ) ฉะนั้น เพราะเหตุนั้น
พระโยคาวจรพึงมนสิการอย่า
เร่งนัก
มนสิการโดยไม่ช้านัก
- อนึ่ง แม้มนสิการโดยไม่ช้านัก
ก็ฉันเดียวกับมนสิการโดยไม่เร่งนัก เพราะว่าเมื่อมนสิการช้านัก กรรมฐานจะ
ไม่ถึงที่สุด ไม่เป็นปัจจัยแห่งความได้คุณวิเสส เปรียบเหมือนเมื่อบุรุษผู้ใคร่จะเดินทาง
๓ โยขน์ ( ให้ถึง ) ในวัน
เดียวนั้น มัวโอ้เอ้อยู่ตามที่ต่างๆ เช่นต้นไม้ ภูเขา และบึง ในระหว่างทางเสีย
ทางก็ไม่เปลือง ต่อ ๒-๓ วันจึง
สุดฉะนั้น
มนสิการโดยป้องกันความฟุ้งซ่าน
- ข้อว่าโดยป้องกันความฟุ้งซ่าน
ความว่าการที่จิตปล่อยกรรมฐานเสียแล้วฟุ้งไปในอารมณ์หลากหลายใน
ภายนอก ( นั้น ) พระโยคาวจรต้องป้องกัน เพราะเมื่อไม่ป้องกัน ครั้นความฟุ้งไปข้างนอกมีอยู่
กรรมฐานย่อม
เสื่อมหายทลายไป เปรียบเหมือนเมื่อบุรุษผู้เดินทางเลียบเหวอันเป็นทางแคบเต็มที
วางเท้าได้ทีละข้าง ไม่สังเกต
รอยที่จะเหยียบให้แม่น มัวเหยียบข้างนั้นข้างนี้ ก้าวเท้าพลาด ( รอย ) ก็จะต้องตกจากทางนั้นลงไปในเหว
อันลึก ๑00 ชั่วตัวคนฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระโยคาวจรจึงควรมนสิการโดยป้องกันความฟุ้งซ่าน
( ด้วย )
มนสิการโดยล่วงเสียซึ่งบัญญัติ
- ข้อว่าโดยล่วงเสียซึ่งบัญญัติ
ความว่า บัญญัติว่า เกสา โลมา ( ผม ขน ) เป็นอาทินี้ใด พระโยคาวจรพึง
ก้าวล่วงเสียซึ่งบัญญตินั้นแล้วจึงตั้งจิตไว้แต่ว่า " ปฏิกูล "
เหมือนอย่างว่า ในคราวน้ำหายาก คนทั้งหลายพบ
บ่อน้ำในป่าแล้ว ผูกสิ่งอะไรๆ มีใบตาลเป็นต้นเป็นเครื่องหมายไว้ในที่นั้นแล้ว
มาตามเครื่องหมายนั้น อาบและ
ดื่มได้ แต่เมื่อใด ด้วยการเที่ยวไปเนืองๆ แห่งคนเหล่านั้น รอยของคนที่มาๆ ย่อมจะปรากฏ
เมื่อนั้น กิจด้วย
เครื่องหมายหามีไม่ คนทั้งหลายย่อมไปอาบและดื่มได้ทุกขณะที่ต้องการ ฉันใด เมื่อพระโยคาวจรมนสิการไป
ตามบัญญัติว่า เกสา โลมา ... ในเบื้องแรก ( จน ) ความเป็นปฏิกูลปรากฏ
ภายหลังจึงเลิกบัญญัติว่า
เกสา โลมา ... เสีย ตั้งจิตไว้ในความเป็นปฏิกูลแต่อย่างเดียว ฉันนั้นแล
มนสิการโดยปล่อยลำดับ
- ข้อว่าโดยปล่อยลำดับ มีอรรถาธิบายว่า โกฏฐาสใดๆ ไม่ปรากฏ
พระโยคาวจรผู้ปล่อยโกฏฐาสนั้นๆ เสีย
มนสิการไป ชื่อว่า มนสิการโดยปล่อยลำดับ ก็เมื่อผู้ที่เริ่มต้นมนสิการ ( โดยอนุโลมเริ่ม
) ว่า เกสา มนสิการ
ดำเนินไปจนสุดจดโกฏฐาสปลาย คือ มุตฺตํ นี้ทีเดียว และเมื่อมนสิการ ( โดยย้อนกลับ
) ว่า มุตฺตํ มนสิการก็
ดำเนินไปจนสุดโกฏฐาสต้น คือ เกสา นี้เหมือนกัน
- ทีนี้เมื่อมนสิการไปๆ โกฏฐาสลางเหล่าก็ปรากฏ
ลางเหล่าก็ไม่ปรากฏ โกฏฐาสเหล่าใดๆ ปรากฏ เธอพึง
ทำงาน ( มนสิการ ) ในโกฏฐาสเหล่านั้นๆ ไปจนกว่าเมื่อโกฏฐาสปรากฏ ( แต่ ) ๒ แล้ว
๒ นั้นเล่า อันหนึ่ง
ย่อมปรากฏดีกว่า ( อีกอันหนึ่ง ) ก็แลผู้เริ่มต้นผู้มนสิการโกฐาสอันนั้นที่ปรากฏ
( ดีกว่า ) อย่างนั้นนั่นแลซ้ำ
แล้วซ้ำเล่า จะพึงยังอัปปนาให้เกิดขึ้นได้
- ( ต่อไป ) นี้เป็นอุปมาในข้อนั้น เหมือนอย่างว่าพราน
( ผู้หนึ่ง ) ใคร่จะจับลิง ( ตัวหนึ่ง ) ซึ่งอยู่ในดงตาล
อันมีต้นตาล ๓๒ ต้น พึงใช้ศรยิงใบตาลต้นที่ยืนอยู่ต้นเพื่อนแล้วทำเสียงตะเพิด
ทีนี้ ลิงนั้นก็จะพึงโผนไปที่ต้นตาล
นั้นๆ ตามลำดับจนถึงต้นท้ายเพื่อนทีเดียว ครั้นพรานไปทำอย่างเดียวกันนั้นเข้าที่ต้นท้ายเพื่อนนั้นอีกเล่า
มันก็
จะพึง ( โผนกลับ ) มาท่านั้นแหละจนถึงต้นเพื่อนอีก มันโผนไปตามลำดับต้นบ่อยๆ
เข้าอย่างนั้น ( ก็ล้า ทีนี้มัน )
จะพึงโผล่ขึ้นแต่ในที่ๆ พรานทำเสียงตะเพิดไล่เท่านั้น แล้วไปๆ ก็จะหลบอยู่ที่ต้นตาลต้นหนึ่ง
ยึดยอดตาลตูม
อันสะอาด ( ซึ่งอยู่ ) ตรงกลางต้นมันไว้มั่น แม้ถูกยิงก็ไม่โผล่ ฉันใด คำอุปไมยนี้ก็พึงเห็นฉันนั้น
( ต่อไป ) นี้
เป็นคำเปรียบเทียบอุปมาอุปไมย
- โกฏฐาส ๓๒ ในกายนี้เปรียบเหมือนตาล
๓๒ ต้นในดงตาล จิตเหมือนลิง พระโยคาวจรเหมือนพราน การ
ที่จิตของพระโยคี ท่องเที่ยวไปในกายอันมีโกฏฐาส ๓๒ โดย ( ทำให้ ) เป็นอารมณ์เหมือนการที่ลิงอาศัยอยู่ใน
ดงตาลอันมีตาล ๓๒ ต้น การที่เมื่อพระโยคีเริ่มมนสิการว่า เกสา แล้ว (
มนสิการ ) จิตดำเนินไป ( จนสุด )
หยุดลงที่โกฐาสปลายทีเดียว เหมือนการที่พรานใช้ศรยิงใบตาลต้นที่ยืนต้นอยู่ต้นเพื่อนแล้วทำเสียงตะเพิด
ลิงก็โผน
ไปที่ต้นตาลนั้นๆ ( จน ) ถึงต้นท้ายเพื่อน แม้ในเที่ยวกลับอีกก็นัยเดียวกันนั้น
การที่เมื่อพระโยคาวจรมนสิการ
( อย่างนั้น ) บ่อยเข้า ครั้นโกฏฐาสลางเหล่าไม่ปรากฏ ลางเหล่าปรากฏ ก็ปล่อยโกฏฐาสทั้งหลายที่ไม่ปรากฏเสีย
ทำบริกรรม ( แต่ ) ในโกฏฐาสทั้งหลายที่ปรากฏ เหมือนการที่ลิงโผนไปตามาลำดับต้นบ่อยๆ
เข้า ( ก็ล้า )
โผล่ขึ้นแต่ในที่ๆ พรานทำเสียงตะเพิดไล่ ( ถ้าไม่ตะเพิดก็ไม่โผล่ ) การที่เมื่อในที่สุดโกฏฐาสปรากฏ
( แต่ ) ๒
ในโกฏฐาส ๒ นั้น โกฏฐาสใดปรากฏดีกว่า พระโยคาวจรมนสิการโกฏฐาสนั้นนั่นแหละ แล้วๆ
เล่าๆ ยังอัปปนา
ให้เกิดได้ เหมือนการที่ลิงไปๆ ก็หมอบอยู่ที่ต้นตาลต้นหนึ่ง ยึดยอดตาลตูมอันสะอาด
( ซึ่งอยู่ ) ตรงกลางต้นมัน
ไว้มั่น แม้ถูกยิงก็ไม่โผล่ฉะนั้น
- อีกอุปมาหนึ่ง เหมือนปิณฑปาติกภิกษุ
( ผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นปกติ ) อาศัยหมู่บ้านอันมีตระกูล ๓๒
ตระกูล ( เป็นที่โคจรบิณฑบาต ) อยู่ ( ไปบิณฑบาต ) ต่างว่าได้ภิกษา ๒ ที่ ในเรือนหลังแรกทีเดียวแล้ว
ก็สละ
เรือนหลัง ๑ ข้างหน้าเสีย ( ไม่เข้าไปรับภิกษา ) วันรุ่งขึ้นต่างว่าได้ ๓ ที่
( ในเรือนหลังแรก ) แล้วก็สละเรือน ๒
หลังข้างหน้าเสีย ในวันที่ ๓ ต่างว่าได้ภิกษุเต็มบาตรในเรือนหลังต้นที่เดียวแล้วก็
( ไม่ไปบิณฑบาตต่อไป ) ไป
โรงฉัน ฉันเสียเลยฉันใด คำอุปไมยนี้ก็พึงเห็นฉันนั้น อันอาการ ๓๒ ก็เหมือนหมู่บ้านมีตระกูล
๓๒ ตระกูล
พระโยคาวจรเหมือนปิณฑปาติกภิกษุ การที่พระโยคาวจรทำบริกรรมในอาการ ๓๒ เหมือนการที่ปิณฑปาติกภิกษุ
นั้นอาศัยหมู่บ้านนั้น ( เป็นที่โคจรบิณฑบาต ) อยู่ การที่พระโยคีมนสิการไปๆ
สละโกฏฐาสทั้งหลายที่ไม่ปรากฏเสีย
ทำบริกรรม ( แต่ ) ในโกฏฐาสทั้งหลายที่ปรากฏๆ ไปจน ( เหลือแต่ ) ๒ โกฏฐาส ก็เหมือนการที่ปิณฑปาติกภิกษุได้
ภิกษา ๒ ที่ ในเรือนแรกแล้วสละเรือนหลังหนึ่งข้างหน้าเสีย และเหมือนในวันที่
๒ ได้ ๓ ที่แล้วสละเรือน ๒ หลัง
ข้างหน้าเสีย การที่ในโกฏฐาส ( ที่ปรากฏแต่ ) ๒ โกฏฐาสใดปรากฏดีกว่า พระโยคีมนสิการโกฏฐาสนั้นแหละ
แล้วๆ เล่าๆ ยังอัปปนาให้เกิดขึ้นได้ ก็เหมือนในวันที่ ๓ ได้เต็มบาตรในเรือนหลังต้นทีเดียวแล้ว
( ไป ) นั่งฉันเสียใน
โรงฉันฉะนั้น