» เรื่องราวส่วนตัว
ประวัติส่วนตัว
คุณสามี
ลูกชาย
อาชีพ
» รางวัลการประกวด
คนไทยน้ำใจดี
ธิดาราตรีฟ้า-ขาว
» ผลงานเขียน
1. Zwiebel
      เจ้าหัวหอม
2. POGSAG
      เพจเจอร์
3. D-STAR
      วิทยุสื่อสารดิจิทัล
4. Sputnik 50
      ดาวเที่ยมสปุตนิก 50
5. Steuererklaerung
      ขอลดหย่อนภาษี
6. HTML
      การเขียนเพจ
7. Ueberweissung
       ส่งเงินไปเมืองไทย
8. Bundespräsidenten
      ประธานาธิบดี
9. Bundeskanzler
      นายกรัฐมนตรี
10. Bundeskabinett
        คณะรัฐบาล
11. Partei
        พรรคการเมือง
12. Ministerpräsidenten
        นายกรัฐมนตรีมลรัฐ
13. Wappen der Bundesländer
          เครื่องหมายประจำมลรัฐ
14. Bundesländ
         มลรัฐ
15. Bundesliga
        ฟุตบอลลีก้าเยอรมัน
16. Ostern Fest
         เทศกาลอีสเตอร์
» งานศิลป์
ภาพวานดินสอดำ
ภาพวาดสีน้ำ
ภาพวาดสีอคริลิท
งานศิลปะอื่น
» งานอดิเรกอื่นๆ
วิทยุสมัครเล่น
แฟนฟุตบอล Eintrachkt
ท่องเที่ยว
ห้องสนทนา Diary
กิจกรรมดูดาว
ล่ามกิตติมศักดิ์
» กลับไปหน้าแรก
ท่านผู้เยี่ยมชมที่
Web Counters
[aktuelle Uhrzeit]
ʁش?肁?Ц#034; border: 0px solid ;
Thank you
เดือนตุลาคม 2550

คือวิทยุสื่อสารระบบดิจิทัล (Digital) ที่มีการรับส่งข้อมูลด้วยการใช้ตัวเลขในเครื่องเดี่ยวกัน (VHF/UHF) ที่มีการทำงานคล้ายกับโทรศัพท์เคลื่อนที GSM จะมี (Controller) และ (Repeater Station) ทำหน้าที่เชื่อมโครงข่ายให้ครอบคลุมพื้นที่ ของเคลื่อข่ายนั้นๆ และสามารถเรียกเฉพาะเครื่องลูกข่ายที่ต้องการติดต่อได้ ใช้ Modolation 3 แบบ คือ GMSK,QPSK,4FSK และมีระบบ Digital scramble นอกจากนั้นยังสามารถรองรับโครงข่าย ATM ของข้อมูล Packet โดยผ่าน Gateway และถ่ายทอด จากข้อมูล GPS (D-GPRS)

  • ความหมายของ D-STAR ( Digital-Smart Technologz forAmateur Radio)

    Digital การรับส่งข้อมูลด้วยการใช้ตัวเลข
    Smart นำสมัย/เนี้ยบ/ฉลาด
    Technologz เทคโนโลยี
    Amateur สมัครเล่น
    Radio วิทยุ

    เบญแปลได้ว่า เทคโนโลยีรับส่งข้อมูลด้วยการใช้ตัวเลขที่นำสมัยของนักวิทยุสมัครเล่น
  • เป็นการร่วมเข้าด้วยกันของการส่งข้อมูลและการสนทนา
  • เปิดมาตราฐานสำหรับการรับส่งข้อมูลด้วยการใช้ตัวเลข
  • ถูกเผยแพร่จากสหพันธ์นักวิทยุสมัครเล่นญุ่ปุ่น (JARL) ในปี 2001
  • อีก 3 ปีต่อมา ได้มีการพัฒนาจนใช้งานได้จริงจาก JARL และรัฐบาลญี่ปุ่น
    โดยได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์จากบริษัท Icom
  • อัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลในช่องสัญญาณ 2 m (145 MHz) และ 70 cm (430 MHz)
    เท่ากับ 4.8 kbps "4800 ตัวอักษรต่อวินาที" หรือถ้าเทียบกับ FM มันใช้พื้นทีน้อยกว่า 3 เท่าคะ
    - ดิจิทัลเสียง (DV) กับความเร็ว 3600 bps, ร่วมระบบสำรองข้อมูล
    (คือเมื่อเราพูดไปเครื่องเราจะรับไปแปลเป็นโค๊ตดิจิทัล และจะทำสำเนาไว้ทั้ง หมด 3 ชุด และส่งไปให้ผู้รับ
    เมื่อผู้รับได้รับโค๊ตดิจิทัล ก็จะมีการเปิดสำเนาทั้ง 3 มาพร้อมกัน เพื่อความคมชัดของสัญญาณ)
    - ดิจิทัลข้อมูล (DV) กับความเร็ว 1200 bps[/li]

  • อัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลในช่องสัญญาณ 23 cm (1.2 GHz) 128 kbps
    (128,000 ตัวอักษรต่อวินาที) - High speed Data (DD) ข้อมูลความเร็วสูง กับความเร็ว 128 kbps (เชื่อมต่อ Ethernet)
    - ดิจิทัลเสียง (DV) กับความเร็ว 3600 bps, ร่วมระบบสำรองข้อมูล
    - ดิจิทัลข้อมูล (DV) กับความเร็ว 1200 bps
  • ใช้เครื่องกำเนิดเสียง Advanced Multi - Band Excitation
  • ในตอนนี้มีแต่เครื่องสื่อสาร D-STAR ของบริษัท ICOM
  • เครื่องสื่อสาร D-STAR ของ Kenwood ประกาศใช้ในรุ่น TMW-706
  • ระบบสถานีทวนสัญญาณ D-STAR

  • การติดต่อเชื่อมโยง D-STAR ต้องใช้สัญญาณเรียกขาน
  • เส้นทางสู่คู่สนทนา QSO ด้วยระบบเคลื่อข่าย D-STAR
  • กลุ่มเคลื่อข่ายสามารถขยายได้อย่างไม่จำกัด สามารถสร้างเคื่อข่ายได้กว้างไกล
  • แบนด์วิธ (ความถี่คลื่นกว้าง) ใน VHF/UHF ใช้น้อยกว่า 6 KHz
  • D-STAR ทำงานอย่างไร

  • D-STAR ติดต่อเชื่อมโยงด้วยสัญญาณเรียกขาน
  • ทุกๆ สถานีทวนสัญญาณต้องมีสัญญาณเรียกขาน
  • ทุกๆ เครื่องใช้ของนักวิทยุสมัครเล่น จะมีโปรแกรมที่แสดงสัญญาณเรียกขานของผู้ใช้
  • สัญญาณเรียกขานของนักวิทยุสมัครเล่นจะแสดงทุกครั้งที่มีการส่งสัญญาณ
  • ทุกๆ เครื่องรับส่งสัญญาณ จะมีให้ใส่ข้อมูล 4 สัญญาณ

    MyCall สัญญาณเรียกขานของตัวเอง
    UrCall สัญญาณเรียกขานที่จะเรียก (ถ้าไม่เจาะจงก็ใส่เป็น CQ CQ CQ )
    Rpt1 สถานีทวนสัญญาณที่ใช้เป็นประจำ ของเบญเป็น DB0DFT
    Rpt2 สถานีทวนสัญญาณ Gateway

  • ความประทับใจที่ได้ใช้ D-STAR มาเป็นเวลา 10 เดือน

    ชอบมากๆ เพราะใช้งานได้เกือบเหมือนโทรศัพท์เคลื่อนที มีสัญญาณที่ชัดเจน และที่หน้าจอวิทยุสื่อสาร มีการแจ้งรายละเอี่ยดต่างๆ เช่น ตอนนี้คู่สนทนา มีสัญญาณเรียกขานอะไร ใช้สถานีทวนสัญญาณ สถานีไหนในกรณีในการเดินทางและผ่านสถานีทวนสัญญาณ เครื่องสื่อสาร D-STAR จะเลือกช่องสัญญาณ ของสถานีทวนสัญญาณในข่ายนั้นๆ โดยอัตโนมัติ และใช้ส่ง SMS (ข้อความสั้นๆ) ผ่านเครื่องสื่อสารเหมือนกับโทรศัพท์เคลื่อนทีที่ทุกคนใช้งานกัน นอกจากนั้นยังนำเครื่องสื่อสาร D-STAR มาต่อกับคอมพิวเตอร์และใช้สนทนาหน้าแป้น(CHAT) ได้เหมือนกับ MSN การปรับแต่งเครื่องและลูกเล่นต่างๆ

    สามารถปรับแต่งผ่านโปรแกรมในคอมพิวเตอร์ ซึ่งง่ายและสะดวก เบญสามารถเลือกเรียกผู้ที่ใช้งานในระบบ D-STAR ในสถานีทวนสัญญาณในต่างประเทศไกลๆ ได้ เช่น อเมริกา (ให้นึกถึง Echolink) แต่ D-STAR จะมีส่วนที่ดีกว่า เดี่ยวมาอถิบายต่อทีหลัง ตอนนี้ก็กำลังเรียนรู้อยู่จ๊ะว่าความแตกต่างมันอยู่ตรงไหน เอาทีรู้ๆ คือ D-STAR ไม่จำเป็นต้องรู้ ID ของคนนั้นๆ เพียงแต่รู้สัญญาณเรียกขานเป็นพอ เดี่ยวเครื่องสื่อสารD-STAR จัดการหาติดต่อให้

    ส่วนเครื่องสื่อสาร D-STAR (IC-2820H)ที่ติดตั้งในรถ ก็มีระบบ GPS อันเนียะเบญชอบมากๆ เพราะว่าไม่ว่าคุณสามีจะขับรถไปไหน เบญสามารถดูได้จากอินเตอร์ที่บ้าน ว่าขับรถออกจากเส้นทางไปทำงานหรือเปล่า หุหุ ตอนนี้ บริษัท ICOM ได้ผลิตเครื่องสื่อสารมือถือรุ่นใหม่ โดยมีระบบ GPS อยู่ตรงลำโพง แม้.....อยากซื้อให้คุณสามีจัง เพราะว่าเขาไปไหนก็จะติดวิทยุสื่อสารเหมือนกับโทรศัพท์เคลื่อนที ทีนี้หละ ไม่ว่าไปอยู่ตรงไหน ตามได้ถูก ฮิฮิ

    ไปดูแผนที่ GPS (D-Star "APRS"-Karte) คลิกนี้เลยจ๊ะ

    ตัวอย่างหน้าเพจ Chat

    ตัวอย่างการตั้งสถานี D-STAR และทำการ Chat

    ชอบคุณ Tom อถิบายได้เหมือนง่ายสุดๆ ;D

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (เปลี่ยนทางมาจาก ดิจิตัล)

    ดิจิทัล [1] (digital, อาจจะมีสะกดเป็น ดิจิทอล หรือ ดิจิตอล) เป็นระบบที่ใช้ค่าตัวเลข โดยเฉพาะเลขฐานสอง สำหรับการส่งผ่านข้อมูล ประมวลผล เก็บข้อมูล หรือการแสดงผล แตกต่างกับระบบแอนะล็อกที่ใช้ค่าต่อเนื่องของข้อมูลในการทำงาน ข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัดของระบบดิจิทัลและระบบแอนะล็อก สามารถกล่าวถึงได้จากการส่งผ่านข้อมูลและการจัดเก็บข้อมูล

    คำว่า "ดิจิทัล" มาจากภาษาละติน digit มีความหมายว่านิ้ว ซึ่งหมายถึงการนับนิ้วซึ่งเป็นค่าที่ไม่ต่อเนื่อง

    คำว่าดิจิทัลมักจะใช้ในทางคอมพิวเตอร์และทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำค่าใด ๆ เก็บเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์หรืออิเล็กทรอนิกส์ในสื่อต่าง ๆ เช่น ภาพถ่าย เสียง หรือวิดีโอ โดยค่าในการจัดเก็บของดิจิทัลจะเก็บเป็นค่าใดค่าหนึ่งในระหว่างสองค่า คือ ค่า 1 (ค่าสัญญาณ) และ ค่า 0 (ค่าไม่มีสัญญาณ) และหลาย ๆ ครั้งคำว่า ดิจิทัล จะถูกเรียกแทนที่ด้วยคำว่า "อี" (e-) ที่ย่อมาจากอิเล็กทรอนิกส์ เช่น อีเมล อีบุ๊ก (ebook) อย่างไรก็ตามระบบอิเล็กทรอนิกส์ทุกค่าไม่จำเป็นเสมอไปที่จะต้องเป็นระบบดิจิทัล

    หมายเหตุ

    ^ การสะกด ดิจิทัล เป็นการสะกดตามศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน อย่างไรก็ตามถ้ามีชื่อเฉพาะที่ใช้คำว่า "ดิจิทอล " หรือ "ดิจิตอล" ควรใช้ชื่อตามต้นฉบับเดิม
    ^ คำอ่านของ digital ตามภาษาอังกฤษ เสียงอ่านใกล้เคียงกับ ดิ-จิ-ตอว หรือ ดิ-จิ-ตาว

    เลขฐานสอง (อังกฤษ: binary numeral system) หมายถึง ระบบเลขที่มีสัญลักษณ์เพียงสองตัวคือ
    0 (ศูนย์) กับ 1 (หนึ่ง) บางครั้งอาจหมายถึงการ
    ที่มีโอกาสเลือกได้เพียง 2 ทาง เช่น ปิดกับเปิด,
    ไม่ใช่กับใช่, เท็จกับจริง, ซ้ายกับขวา เป็นต้น

    ในปัจจุบันเลขฐานสองเป็นพื้นฐานในการทำงานของคอมพิวเตอร์
    โดยนำเอาหลักการของเลขฐานสอง (สถานะไม่มีไฟฟ้า และ สถานะมีไฟฟ้า)
    มาใช้ในการสร้างไมโครโปรเซสเซอร์ที่มีหน่วยประมวลผลแบบ 32 หรือ 64 บิต
    หรือมากกว่านั้น ซึ่งสามารถเรียกได้ว่าเป็นการประมวลผลแบบดิจิทัล

    บิต (bit)

    เป็นหน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุด ใช้ระบบคอมพิวเตอร์แบบดิจิทัล และทฤษฎีข้อมูล
    ข้อมูลหนึ่งบิต มีสถานะที่เป็นไปได้ 2 สถานะ คือ
    ? 0 (ปิด)
    ? 1 (เปิด)

    เคลาด์ อี แชนนอน (Claude E. Shannon) เริ่มใช้คำว่า บิต ในงานเขียนของเขาในปี พ.ศ. 2491 โดยย่อจากคำเต็มคือ binary digit (หรือ binary unit) แชนนอนได้กล่าวถึงที่มาของคำนี้ว่ามาจาก จอห์น ดับบลิว ทูคีย์ (John W. Tukey)ไบต์ (byte) เป็นกลุ่มของบิต ซึ่งเดิมมีได้หลายขนาด แต่ปัจจุบัน มักเท่ากับ 8 บิต ไบต์ขนาด 8 บิต มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า ออกเท็ต (octet) สามารถเก็บค่าได้ 256 ค่า (28 ค่า, 0 ถึง 255) ส่วนปริมาณ 4 บิต เรียกว่านิบเบิล (nibble) สามารถแทนค่าได้ 16 ค่า (24 ค่า, 0 ถึง 15)เวิร์ด (word) เป็นคำที่ใช้เรียกจำนวนบิตที่มากขึ้น แต่ก็ไม่มีขนาดเป็นมาตรฐานตายตัว บนเครื่องคอมพิวเตอร์สถาปัตยกรรม IA-32 จำนวน 16 บิตจะเรียกว่าเวิร์ด ในขณะที่ 32 บิตเรียกว่า ดับเบิลเวิร์ด (double word) หรือ dword ในขณะที่สถาปัตยกรรมอื่น ๆ หนึ่งเวิร์ดมีค่าเท่ากับ 32 บิต, 64 บิต หรือค่าอื่น ๆ

    ในระบบโทรคมนาคม หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ความเร็วในการส่งนิยมใช้หน่วยในรูปของ บิตต่อวินาที (bps - bits per second)

    บิตเป็นหน่วยวัดข้อมูลเล็กที่สุดที่ใช้กันทั่วไป แต่ในขณะนี้มีการวิจัยกันในเรื่องการคำนวณทางควอนตัม (quantum computing) ซึ่งใช้หน่วยวัดข้อมูลเป็น คิวบิต (qubit) (quantum bit)

    หน่วยนับ

    ? 1 กิโลบิต(Kb) = 1000 บิต หรือ 1024 บิต
    ? 1 เมกะบิต(Mb) = 1000 กิโลบิต หรือ 1024 กิโลบิต
    ? 1 จิกะบิต(Gb) = 1000 เมกะบิต หรือ 1024 เมกะบิต
    ? 1 เทราบิต(Tb) = 1000 จิกะบิต หรือ 1024 จิกะบิต

    ปล. พูดถึงเมืองไทยกับวิทยุสื่อสารระบบดิจิทัล เบญว่าความหวังยังมีนะ อันดับแรกไปของความถี่ UHF 10 ช่อง ที่นักวิทยุสมัครทั่วโลก เขาใช้กันเพื่อวงการวิทยุสมัคร จากกรมไปรษณีย์คืมมาก่อนแล้วกัน

    อ้างอิง
    www.youtube.com
    www.hamradio.arc.nasa.gov
    www.icomamerica.com
    www38.quickweb.kunde.sserv.de
    www.trg-radio.de
    www.wikimedia.org