ระบบการศึกษาในเยอรมัน Bildung in Deutschland
รัฐบาลเยอรมันมีการควบคุมโรงเรียนและระบบการศึกษาให้อยู่ภายใต้ กฏหมายรัฐธรรมนูญมาตราที่ 7 แต่มลรัฐแต่ละมลรัฐมีกระทรวงศึกษาธิการของรัฐ ที่มีหน้าที่รับผิดชอบบริหารงาน อย่างเสรีภาพ
ที่จะจัดการกับระบบการศึกษา ของ โรงเรียนสามัญศึกษา วิสามัญศึกษา และการศึกษาผู้ใหญ่ ดังนั้นระบบการศึกษาแต่ละรัฐจึงมีรายละเอี่ยดความแตกต่างกันออกไปบาง แต่เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา ความเหลื่อมล้ำกันในแต่ละรัฐ ในการณีมีนักเรียนต้องเปลี่ยนไปเรียนหนังสือที่รัฐอื่น ดังนั้นทุกรัฐจึงมี การเจรจากันตามข้อตกลงแฮมเบิร์ก (Hamburger Abkommen) ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันมี่ 14 ตุลาคม 1971
ที่กำหนดให้ทุกรัฐมีการศึกษาภาคบังคับ และจัดแบบแผนการเรียนการสอนเหมือนกันหมดทั่วประเทศ คือมีการศึกษาภาคบังคับ สำหรับเด็กที่มีอายุระหว่าง 6 ถึง 18 ปี (รวมทั้งหมด 12 ปี) มีหน้าที่ต้องไปเรียนหนังสือเต็มอัตราอย่างน้องที่สุด 9 ปีจาก 12 ปีการศึกษาภาคบังคับ
(บางรัฐอาจเป็น 10 ปี) และรับรองประกาศนียบัตรแต่ละโรงเรียนในทุกรัฐ
ระดับประถมศึกษา (Grundschule)
ในระดับระถมต้น(Primarstufe)จะเริ่มนับตั้งแต่ชั้นประถม 1 ถึง 4 (1.Klasse - 4.Klasse ในภาษาเยอรมัน(Klasse แปลได้ว่า ระดับชั้น))มีเรียน 14 รัฐ แต่อีก 2 รัฐ คือ ในรัฐเบอร์ลิน(Berlin) และ รัฐบรันเดนบวร์ก(Brandenburg) ที่เรียนเพิ่มมากกว่ารัฐอื่นๆ อีก 2 ปี ในระดับประถมปลาย (Orientierungsstufe) ร่วมเรียนระดับประถมเป็น 6 ปี คือมีเรียนที่กำหนดให้เป็นชั้นประถม 1 ถึง 6 จุดมุ่งหมายของรัฐ 2 รัฐนี้ ก็เพื่อครูผู้สอนจะได้สังเกตพฤติกรรมและความตั้งใจเด็ก และให้คำแนะนำที่ถูกต้องกับเด็กในการศึกษาในระดับต่อไป
ในการเรียนชั้นประถมศึกษาจะไม่มีการสอบให้คะแนน แต่มีรายงานผลของการเรียนซึ่งครูประจำชั้นจะเขียนเป็นใบรับรองตอนสิ้นปี เมื่อจบชั้นประถม 4 หรือ 6 ในรัฐเบอร์ลิน(Berlin) และ รัฐบรันเดนบวร์ก(Brandenburg) แล้วจะมีผลการเรียนออกมาว่าเด็กสามารถไปต่อสายใดได้บ้าง
ใช้เวลาเรียนทั้งหมด 27.5 ชั่วโมงเรียนต่อสัปดาห์ วิชาเรียนได้แก่ ภาษาเยอรมัน(Deutsch), คณิตศาสตร์(Rechnen), วิทยาศาสตร์(Technik), ชีววิทยา(Biologie), ภูมิศาสตร์(Erdkunde), ประวัติศาสตร์(Geschichte), สังคม(Sozialkunde), ดนตรี(Musik), วาดเขียน(Bildnerisches Gestalten), พละศึกษา(Leibeserziehung), ศาสนา(Religion), อังอักฤษ(Englisch) มี 6 รัฐที่เริ่มให้เรียนตั้งแต่ชั้นประถม 3 ได้แก่ รัฐซาร์ลันด์(Saarland) ,ซัคเซน(Sachsen) , แฮมบวร์ก(Hamburg) , เฮสเซน(Hessen), ไรน์ลันด์-ฟาลซ์(Rheinland-Pfalz, นอร์ดไรน์-เวสฟาเลน(Nordrhein-westfalen)
ระดับมัทธยมศึกษา
ในระดับมัทธยมต้น (Sekundarstufe I) บางรัฐที่มีระดับประถมต้น จะเริ่มจาก 5.Klasse ถึง 6.Klasse หรือรัฐที่มี Orientierungsstufe ก็จะเริ่มเรียนระดับมัทธยมต้นกันที่ 7.Klasse
ในระดับมัทธยมต้นนี้จะมีโรงเรียนให้เลือกมากมายหลายประเภทแล้วแต่รัฐแต่ละรัฐจะกำหนด แต่โดยหลักๆแล้วทุกรัฐต้องมีโรงเรียน 3 ประเภทนี้คือ
- มัธยมสายการช่าง Secondary General School (Hauptschule) เป็นโรงเรียนมัทธยมต้นแบบกลางๆ มีทั้งวิชาสายอาชีพ และ วิชาสายสามัญให้เลือกเรียน เรียนทั้งหมด 5 ปี (5.Klasse ถึง 9.Klasse) ขอบข่ายของวิชาที่เรียนเพื่อเตรียมตัวนักเรียนให้เข้าไปเรียนวิชาชีพสาขาอุตสาหกรรมและสาขาการช่าง วิชาที่เรียนมีภาษาเยอรมันและภาษาต่างประเทศ(อังกฤษ) คำนวณ วิทยาศาสตร์ และสังคมศาสตร์
- มัธยมสายสามัญ Intermediate School (Realschule) เป็นโรงเรียนมัทธยมต้นที่เน้นการเรียนการสอนทางด้านสายอาชีพ เพื่อเตรียมตัวเด็กสำหรับฝึกงานวิชาชีพ (Ausbildung) ต่อไป เรียน 6 ปี (5.Klasse ถึง 10.Klasse) สอนความรู้ทั่วไปมากกว่าสายมัธยมสายการช่าง เมื่อจบจะได้ใบประกาศนียบัตร(Mittlere Reife) เพื่อไปเรียนต่อในโรงเรียนอาชีวศึกษาระดับกลางและสูงต่อไป เหมาะแก่ผู้ที่ต้องการมีอาชีพทางด้านธุรกิจหรือบริการ เช่น อาชีพค้าขาย ศิลปาชีพ และเครื่องยนต์ใหญ่
- มัธยมสายวิสามัญ Grammar School (Gymnasium) เป็นโรงเรียนมัทธยมต้นที่เน้นที่เน้นการสอนสายสามัญ อย่างลึกซึ้งเพื่อจะไปศึกษาต่อขั้นอุดมศึกษา(วิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย) เหมาะกับผู้ที่จะเป็นนักวิชาการระดับปริญญา ซึ่งบางโรงเรียนอาจสอนหนักไปทางแขนงใดแขนงหนึ่งเพื่อกำหนดแนวทางอาชีพของนักเรียนไปเลยก็มี เช่น ทางด้านดนตรี(Musisches Gymnasium), ทางเศรษฐศาตร์ (Wirtschaftsgymnasium) หรือทางเทคโรโลยี(Technisches Gymnasium) เป็นต้น การเข้าเรียนมัธยมสายสามัญ ไม่ต้องสอบเข้าถ้าทำคะแนนในชั้นประถม 4 ดีพอ ครูประจำชั้นจะเขียนลงในใบรับรองผลการเรียนว่ามีสิทธิขึ้นไปเรียนมัธยมสายสามัญได้ สำหรับผู้ที่คะแนนไม่มีก็จะต้องขอสอบเข้า ส่วนมากการเรียนมัทธยมต้นจะจบที่ 10.Klasse อาจมี Hauptschule ในบางรัฐเท่านั้นที่จบที่ 9.Klasse
สำหรับเด็กที่จบจาก Gymnasium ในการเรียนมัทธยมต้น สามารถศึกษาต่อในระดับมัทธยมปลาย (Sekundarstufe II)ได้ ซึ่งในระดับมัทยมปลายนี้จะ เรียนจนถึง 12.Klasse และเมื่อจบ 12.Klasse จะได้วุฒิการศึกษาที่เรียกว่า Abitur (อาบิทัว) ผู้ที่มีวุฒิการศึกษา Abitur จะมีสิทธิสอบเข้าสถาบันอุดมศึกษา และมหาวิทยาลัยได้ทุกแห่ง แต่ถ้าสถาบันอุดมศึกษาและมหาวิทยาลัยมีที่เรียนไม่ พอสำหรับนักเรียนก็จะมี การคัดเลือกจากการดูคะแนนจากระดับมัทธยมปลาย
- มัธยมผสม Comprehensive School (Gesamtschule) เป็นโรงเรียนมัทธยมต้นที่ใช้ระบบร่วมคือ ร่วมเอา มัธยมสายการช่างมัธยมสายสามัญและมัธยมสายวิสามัญเข้าด้วยกันทั้งในด้านแผนการเรียนการสอนและการจัดระบบการสอน
โรงเรียนสายอาชีพ (Ausbildung)
การฝึกงานวิชาชีพ(Ausbildung)นั้น ไม่ว่าจะจบจากโรงเรียนระดับมัทธยมต้นประเภทใดก็สามารถฝึกได้ ระยะเวลาในการฝึกงานก็แตกต่างกันไปตามสาขาอาชีพ เป็นการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐบาลและภาคเอกชน วิชาชีพที่เลือกเรียนมีมากมาย เช่น พนักงานบริษัทห้างร้าน การค้าด้านธุรกิจค้าส่งและค้าปลีก ช่างฟิต ช่างไฟฟ้า ช่างกลอุตสาหกรรม ผู้ช่วยแพทย์ เคมี ช่างทำผม ฯลฯ หลักเกณฑ์การเรียนมีทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติควบกันไปเป็นเวลา 2 ถึง 3 ปี แล้วแต่ประเภทของอาชีพที่เลือก ในการเรียนจะแบ่งเป็นเรียนที่โรงเรียน 40 เปอร์เซ็น และที่บริษัทหรือโรงงานที่ฝึกงาน 60 เปอร์เซ็น ระหว่างฝึกงานผู้ฝึกงานที่เรียกว่า เลร์ลิง (Lehrling) ฝึกงานอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 6 ชม. ต่อวัน และจะได้รับเงินค่าตอบแทนจากนายจ้างด้วย
| ส่วนผู้ที่มีวุฒิ Abitur แล้วจะได้รับการลดเวลาเรียนลงไปตั้งแต่ครึ่งปี จนถึง 1 ปี ส่วนการฝึกวิชาอะไร อย่างไร เป็นเวลาเท่าไรนั้น ขึ้นอยู่กับสมาคมอาชีพสหภาพแรงงานและกระทรวงที่รับผิดชอบ จะเป็นผู้กำหนดขึ้น เมื่อจบแล้วจะทำการสอบโดยคณะกรรมการสมาคมอุตสาหกรรมและหอการค้า (Industrie- und Handelskammer) หรือ IHK และจะได้รับใบประกาศนียบัตรจากหอการค้าของอาชีพแต่ละแขนงไป
ส่วนโรงเรียนมัทธยมต้นประเภทอื่นๆ ที่ไม่ได้มีในทุกรัฐได้แก่
- Erweiterte Realschule
โรงเรียนมัทธยมขั้นสูง(เฉพาะรัฐ Saarland)
- Mittelschule โรงเรียนมัทธยม(เฉพาะรัฐ Sachsen)
- Regelschule โรงเรียนมัทธยม(เฉพาะรัฐ Thueringen)
- Oberschule โรงเรียนมัทธยม(เฉพาะรัฐ Brandenburg)
-
- Sekundarschule โรงเรียนมัทธยม(เฉพาะรัฐ Bremen und Sachsen-Anhalt)
- Regionale Schule โรงเรียนมัทธยมภูมิภาค(เฉพาะรัฐ Rheinland-Pfalz und Mecklenburg-Vorpommern)
- Duale Oberschule โรงเรียนมัทธยม(อยู่ในขั้นทดลองในรัฐ Rheinland-Pfalz)
|
โรงเรียนพิเศษ (Sonderschule, Foerderzentrum)
การศึกษาภาคบังคับมีผลบังคับสำหรับเด็กพิการด้วย โรงเรียนพิเศษสำหรับเด็กที่มีปัญหา และแต่ละปัญหาก็แย่ได้คือ
- - โรงเรียนพิเศษสำหรับเด็กที่มีปัญหากับผู้ปกครอง และเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือด้านการพัฒนาทักษะ Foerderschule Schwerpunkt emotionale und soziale Entwicklung เด็กกลุ่มนี้จะมีปัญหาด้านอารมณ์และความรู้สึกนึกคิดที่ซับซ้อน ขึ้นอยู่กับปัญหาบรรทัดฐานพฤติกรรมและสังคมสิ่งแวดล้อมและคุณธรรมที่เด็กได้รับมา ทางด้านสุขภาพจิต เด็กอาจอยู่ในสภาพที่หวาดกลัว ไม่เชื่อมั่นในตนเอง เกิดความทุกข์ ความกังวล หรือตั้งเงื่อนไขให้กับตัวเอง ทำให้การพัฒนาการทางด้านทักษะมีปัญหาและไม่สามารถความคุมอารณ์ตัวเองได้ และมีอารมณ์ที่รุนแรง เด็กกลุ่มนี้ต้องการ การพัฒนาการมีชีวิตตามวิวัฒนาการทางสังคมที่เปลี่ยนแปลง ทั้งในด้านจิตวิทยาและบุคลิกภาพ
- -โรงเรียนพิเศษสำหรับเด็กที่มีปัญหาเกี่ยวกับการเรียน Foerderschule fuer Lernbehinderte
การจำแนกประเภทจาก ICD-10 เป็น
- F81 Umschriebene Entwicklungsstoerungen schulischer Fertigkeiten ความพัฒนาการด้าน ทักษะผิดปกติที่โรงเรียนไม่สามารถรับได้
- F81.0 Lese- und Rechtschreibstoerung การอ่านและสะกดมีปัญหา
- F81.1 Isolierte Rechtschreibstörung การเขียนสะกดคำมีปัญหา
- F81.2 Rechenstoerung การคำนวนมีปัญหา
- F81.3 Kombinierte Stoerungen schulischer Fertigkeiten ทักษะการเข้ากลุ่มของโรงเรียนมี ปัญหา
- F81.8 Sonstige Entwicklungsstoerungen schulischer Fertigkeiten ความผิดปกติด้าน าการทักษะอื่นๆที่มีปัญหากับโรงเรียน
- F81.9 Entwicklungsstörung schulischer Fertigkeiten, nicht näher bezeichnet ความผิด ปกติด้านพัฒนาการทักษะที่มีปัญหากับโรงเรียนที่ไม่สามารถระบุได้
- -โรงเรียนการศึกษาพิเศษสำหรับคนตาบอด Foerderschule fuer Blinde
- -โรงเรียนการศึกษาพิเศษสำหรับเด็กที่มีปัญหากับการมองเห็น Foerderschule fuer Sehbehinderte
- -โรงเรียนการศึกษาพิเศษสำหรับเด็กปัญญาอ่อน Schule mit dem Foerderschwerpunkt Geistige Entwicklung
- -โรงเรียนการศึกษาพิเศษสำหรับคนหูหนวก Foerderschule fuer Gehörlose
- -โรงเรียนการศึกษาพิเศษสำหรับเด็กที่มีปัญหากับการฟัง Foerderschule fuer Schwerhoerige
- -โรงเรียนการศึกษาพิเศษสำหรับเด็กร่างกายพิการ Foerderschule fuer Koerperbehinderte
- -โรงเรียนการศึกษาพิเศษสำหรับเด็กที่มีปัญหาเกี่ยวกับการพูด Foerderschule fuer Sprachbehinderte
- -โรงเรียนการศึกษาพิเศษสำหรับเด็กใบ้ Foerderschule fuer Taubblinde
- -โรงเรียนการศึกษาพิเศษสำหรับเด็กที่มีปัญหาเรื่องเจ็บป่วย หรือต้องรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลเป็กนเวลานาน Schule fuer Kranke bzw. Kinder in laengerer Krankenhausbehandlung
- -โรงเรียนการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความสามารถพิเศษ Foerderschulen fuer Hochbegabung เด็กที่มีพรสรรค์เป็นพิเศษ เช่นมี IQ มากกว่า 130 หรือมากกว่านั้น
ระดับอุดมศึกษา
การเรียนในระดับอุดมศึกษาของเยอรมันนั้น ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนในสถาบันต่างๆ 5 ประเภทด้วยกันคือ
- Universität หรือ มหาวิทยาลัยทั่วไป ที่เน้นการเรียนการสอนทางด้านทฤษฏี
- Fachhochschule หรือ มีชื่อภาษาอังกฤษว่า University of Apply Science เป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นในทางปฎิบัติมากกว่าทางทฤษฏี
- Paedagogische Hochschule หรือ วิทยาลัยครู
- Gesamthochschule ที่รวมเอา Universitaet และ Fachhochschule รวมกันไว้ในสถาบันเดียว
- Kunsthochschule หรือวิทยาลัยศิลปะ
หลักสูตร
สำหรับระบบการศึกษา หรือหลักสูตรในประเทศเยอรมันนั้นสามารถแบ่งแยกคราวๆ ตามระดับการศึกษาได้ดังนี้
Diplom : หลักสูตรเดิมของทางเยอรมัน กล่าวได้ว่าเป็นหลักสูตรที่เรียนปริญญาตรีควบโท ระยะเวลาหลักสูตร 5 ปี
Bachelor : หลักสูตรปริญญาตรี ระยะเวลาหลักสูตร 3 ปี
Master : หลักสูตรปริญญาตรี ระยะเวลาหลักสูตร 2 ปี
Ph.D. : หลักสูตรด๊อกเตอร์ ระยะเวลาหลักสูตร ไม่มีกำหนด
อ้างอิง: ข้อความบางตอนและรูปภาพในบทความ ตัดตอนจาก
http://de.wikipedia.org
www.germaneducationthailand.net
www.thai-students.de
www.biolawcom.de
Suchavadee Wagner,Leben in Deutschland : 2001