banner

What's newSunhot

The Aim and How to Use this Web Site

The author intends to use this electronic law web site as an online educational tool for the public with free of charge. Although the author is a lawyer, there is no any material in this web site that aims to give any legal advice other than general information. The web site is bilingual: Thai and English versions. The author tries to update the Thai version more often than the English version. The Thai part also focuses on overseas information regarding foreign IT laws, news and overseas judgments related to Internet and technology matters. However, the English part concentrates on IT laws and policy in Thailand . Please, feel free to use this material and information from this web site . Anybody who would like to use information for commercial purposes needs to ask for the author's permission at nop_elaw@hotmail.com It is important to read our disclaimer carefully.

ฉบับที่หนึ่ง

เรียน ท่านผู้เยี่ยมชม

ผู้จัดทำได้จัดทำเว๊บไซต์อิเล็กทรอนิกส์ลอว์นี้ ก็ด้วยต้องการที่จะเปิดประเด็น และมุมมองใหม่ ๆ เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวกับ เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวกับการกระทำบนอินเทอร์เน็ต ด้วยผู้จัดทำเองขณะนี้ศึกษาปริญญาโททางด้าน กฎหมายอิเล็กทรอนิกส์ อยู่ณ มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ขณะที่ศึกษาอยู่ที่ต่างประเทศนี้ ก็เห็นว่าน่าจะเป็นสิ่ง ที่ดี ถ้าหากได้นำความรู้กฎหมายสมัยใหม่ที่เรียนอยู่นี้มาเผยแพร่ และแลกเปลี่ยนกับผู้ที่สนใจในกฎหมายอิเล็กทรอนิกส์ ในประเทศไทย โดยเฉพาะผู้ที่กำลังศึกษา หรือกำลังทำวิทยานิพนธ์ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายไอทีเหล่านี้อยู่ ก็อาจจะเห็นประเด็นได้ชัดเจน ขึ้นอีกระดับหนึ่ง ซึ่งผู้จัดทำได้รวบรวมและทำไฮเปอร์ลิงค์ไปยังบทความ หรือเว๊บไซต์ที่เห็นว่าน่าสนใจ และน่าจะมีประโยชน์ ทางวิชาการ หากได้มีผู้ทำการศึกษาต่อ หรือทำการเปรียบเทียบกับกฎหมายไทย

นอกจากนั้น ผู้จัดทำยังได้เขียนบทความทางกฎหมาย นำเสนอข่าวคราวความเคลื่อนไหวในวงการกฎหมายอิเล็กทรอนิกส์ต่างประเทศ ซึ่งพยายามจะอัพเดทอาทิตย์ละครั้ง นับตั้งแต่จัดทำเว๊บไซต์มาตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน 2544 ก็ได้มีผู้สนใจเยี่ยมชมเว๊บไซต์ พอสมควรเฉลี่ย 400 ฮิตต่อเดือน ซึ่งผู้จัดทำก็ต้องขอขอบพระคุณท่านผู้เยี่ยมชมมา ณ โอกาสนี้ด้วย หากท่านมีคำถามอันเกี่ยวข้อง กับเนื้อหาในเว๊บไซต์ หรือบทความของเรา ก็ขอให้ติดต่อมาได้ตามอีเมล์ที่ให้ไว้ข้างล่างนี้ ผู้จัดทำจะพยายามหาคำตอบ และติดคำตอบ ให้ท่าน ในหน้าดัชนีบทความ อย่างไรก็ตามขอท่านแจ้งชื่อ สกุลและหน่วยงานที่สังกัดมาด้วยนะคะ

อย่างไรก็ดี หากท่านมีคำแนะนำ ติชมหรือ ต้องการจะแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประการใดเกี่ยวกับเว๊บไซต์นี้ ผู้จัดทำก็ยินดีรับฟังและจะนำไปแก้ไขปรับปรุงต่อไป


นพมาศ ประสิทธิ์มณฑล
Editor 06/04/02

ฉบับที่สอง

สัวสดีปีใหม่ค่ะผู้อ่านทุกท่าน ปี2546 นี้ผู้เขียนหวังว่าเราคงจะได้เห็นกฎหมายไทยที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศกันอีกหลายฉบับ เพราะปีที่แล้ว มีเพียงพระราชบัญบัติว่าด้วยธุรกรรมาทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544เท่านั้น ที่ผ่านสภา ซึ่งมีผลใชับังคับในวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2545 มาให้นักกฎหายเราได้ใช้ ได้ศึกษากัน มาสร้างความมั่นใจกับภาคธุรกิจในการใช้ สื่ออินเทอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์ในการประกอบการ แน่นอนว่า กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ฉบับนี้คงไม่พอรับมือกับปัญหาทางกฎหมายอื่น ๆ ที่เกิดจากการสื่อและเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์นี้ และตามที่รัฐบาลไทยได้มีเป้าหมายที่จะให้มีกฎหมายที่เกี่ยวเทคโนโลยีสารสนเทศ 6 ฉบับ ซึ่งได้แก่ กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ แต่ต่อมาได้รวมเป็นส่วนด้วยกับกฎหมายฉบับแรก และเรียกรวมกันว่า กฎหมายว่าด้วยการทำธุรกรรมทางธุรกิจ ซึ่งก็คือพระราชบัญญัติที่เรากล่าวถึงข้างต้น กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึง และเท่าเทียมกัน สืบเนื่องมาจากบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 78 กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งบางประเทศเรียกว่า Data Protection Law หรือบางครั้งก็เรียกว่า Privacy Law กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Computer Related Crime or CyberCrime Law) กฎหมายฉบับนี้น่าจะผ่านได้ในปีนี้ เพราะผ่านการพิจารณาจากสภาไปบ้างแล้ว กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Fund Transfer Law) กฎหมายฉบับนี้เป็นเรื่องใหญ่อีกเรื่องหนึ่งที่กว้างมากเรียกว่า ตั้งแต่เรื่องบัตรเอทีเอ็ม ไปถึงการชำระเงินด้วย เงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-Cash, E-Payment and Micro Payment) กฎหมายEFT นี้ถ้าร่างกันดี ๆ และต้องการคุ้มครองผู้บริโภคจริง ๆ จะทำให้การพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ในเมืองไทยโตกว่านี้แน่นอน อย่างไรก็ตาม เป็นไปได้ว่ากฎหมายEFT นี้จะเป็นกฎหมายที่อาจจะยังไม่เห็นในปี 46 นี้ เนื่องจากดูเหมือนว่า หลายฝ่ายกำลังให้ความสนใจกับการออกพระราชกฤษฏีกาเกี่ยวกับแบบลายมือชื่อดิจตอล และกฎหมายลูกอื่นในรายละเอียดเพิ่มเติมจากพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และกฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการโทรคมนาคมนั้นเอง อย่างไรก็ดี ผู้เขียนหวังว่า กระทรวงไอทีซี ซึ่งเป็นกระทรวงใหม่ที่เข้ามารับงานดูแลเรื่องกฎหมายและเทคโนโลยีสารสนเทศของประทศจะไม่ทำให้ เรา ๆ ท่าน ๆ ผิดหวัง ด้วยการพยายามออกกฎหมายไอทีให้ทันรับมือกับปัญหากฎหมายที่เกิดจากการใช้สื่อไอทีเหล่านี้ ทั้งเป็นการสร้างความมั่นใจ ให้กับภาคธุรกิจ และเป็นการให้ความคุ้มครองผู้บริโภค ในปัจจุบันนี้ด้วย

นพมาศ ประสิทธิ์มณฑล 06/01/03

ฉบับที่สาม

สวัสดีท่านผู้อ่านและผู้ติดตามเว๊บ E-Law ทุกท่านค่ะ จดหมายฉบับที่สามนี้ทิ้งช่วงนานพอสมควรเกือบสามปีเห็นจะได้ ต้องขอโทษมา ณ ที่นี้ด้วยที่ไม่ได้ทำการอัพเดทข้อมูลใหม่ ๆ ในเวลาที่มา เนื่องจากผู้เขียนติดภาระกิจงานประจำทีทำอยู่ แต่อย่างไรก็ดี ผู้เขียนก็ได้มีงานเขียนบทความในหนังสือพิมพ์ไทยและต่างประเทศบ้างเป็นระยะ ๆ ก็เป็นบทความกฎหมาย E-Law และกฎหมายอื่น ๆ ด้วย และผู้เขียนตั้งใจว่าจะนำบทความเหล่านี้มาโพสต์ไว้ในเว๊บไซต์นี้เร็ว ๆ นี้

นอกจากนั้น ผู้ที่ต้องการติดต่อผู้เขียนกรุณาติดต่อผู้เขียนที่ cyberlaw191@yahoo.com ซึ่งเป็นอีเมล์แอดเดรสใหม่ หากมีโอกาสคงได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางกฎหมายกับท่าน

นพมาศ ประสิทธิ์มณฑล 14/03/06 View in English (click here)| หน้าหลัก/ไทย| เกียวกับผู้จัดทำ| มีอะไรใหม่?| Links มีประโยชน์| Disclaimer|


Date Created: 11-Nov-2001
Last Modified: 14-Mar-2006
Author: Noppramart Prasitmonthon
Email: cyberlaw191@yahoo.com
ยฉ Copyright Noppramart Prasitmonthon 2001-2006