> SCHIZAEACEAE > Lycodium || Back

สกุล Lygodium Sw.
วงศ์ SCHIZAEACEAE

[ลิเภา]

ชื่อสกุล Lygodium (อ่านว่า ly-GO-dee-um) มาจากคำในภาษากรีก lygodes หมายถึง its twisting shoots และได้ชื่อสามัญว่า Climbing Ferns หรือ String Ferns เป็นเฟินที่มีลักษณะเป็นเถาปีนเลื้อยเกี่ยวพันตามกิ่งไม้ ต้นไม้ โดยเริ่มต้นจากพื้นดินขึ้นไป ใบที่เปลี่ยนรูปร่างขึ้นไปเป็นเถาเลื้อย อาจยาวได้ถึง 5 ม. แต่โดยทั่วไป ยาวราว 1-2 ม. ลักษณะใบปกติ เป็นแฉกรูปมือ เป็นลักษณะเด่นของเฟินชนิดนี้ ส่วนใบสปอร์ เกิดที่ปลายหรือส่วนบนของต้น มีลักษณะเรียวผอมกว่าใบปกติ เฟินชนิดนี้ ชอบขึ้นอยู่บนดินทราย ที่ชุ่มชื้น มีฤทธิ์เป็นกรด ต้องการแสงมากพอสมควร

สกุลนี้ เป็นเฟินที่กระจายพันธุ์อยู่ในเขตร้อนและกึ่งร้อนทั่วโลก จำนวนชนิดที่ค้นพบประมาณ 34 ชนิด และเป็นลูกผสมอีก 2 ชนิด

เฟินสกุลนี้ ในไทยพบมี 7 ชนิด ได้แก่

Lygodium circinnatum (Burm. F.) Sw.
ชื่ออื่น : ลิเภาใต้ ลิเภาหางไก่ รีบู (มาเลย์)

พบที่กระบี่ พังงา พัทลุงยะลา
ในมาเลย์ แพทย์แผนโบราณ นำใบอ่อนของลิเภาชนิดนี้นำมาแช่น้ำ แล้วห่อด้วยผ้าสะอาด จากนั้นบีบเอาน้ำออกมาใช้หยอดแก้ตาเจ๊บ หรือนัยตาเป็นแผล เถาของลิเภาชนิดนี้มีความเหนียวคงทน สามารถนำมาใช้ประดิษฐ์เป็นงานหัถกรรมประเภทจักสานได้ดี



fertile frond


Sporangia on small lobes

Lygodium flexuosum (L.) Sw.
ชื่อสามัญ : String Fern
ชื่ออื่น :  กูดจ้อง กูดดอย กูดงอดแงด กูดแพะ กูดย่อง กะฉอด (ราชบุรี) กระฉอก(ปราจีนบุรี) ตะเภาขึ้นหน (ใต้) ตีนมังกร (กทม) ตีนตะขาบ ลิเภาใหญ่ กูดก้อง กูดเครือ สายพานผี  รีบูบะซา (มลายู) หมอยยายชี ผักตีนต๊กโต หมอยแม่ม่าย (ราชบุรี นครพนม) หลีเภา ย่านลิเภาบองหยอง หรือย่านบองหยอง (ใต้)

ลักษณะทั่วไป มีเหง้าสั้นอยู่ในดิน มีขนสีน้ำตาลปกคลุม ใบเป็นเถากลม เส้นเล็ก ประมาณก้านไม้ขีดไฟ เหนียวแข็งแรง สีดำมันเมื่อแก่ เลื้อยพันได้ยาวหลายเมตร ใบประกอบแบบขนนก ใบประกอบย่อยแยกออกจากกิ่งเป็นคู่ ใบย่อยมีหลายรูปร่าง เช่น ขอบขนาน ถึงรูปสามเหลี่ยม กว้าง 7-12 ซ.ม. ยาว 10-25 ซ.ม.ขอบใบหยักเป็นซี่ฟัน ใบสปอร์ มีลักษณะผอมเรียวกว่าใบปกติที่ไม่มีสปอร์ มี ขอบใบหยักฟันเลื่อย กลุ่มอับสปอร์เกิดที่ขอบตามรอยหยัก

ลิเภาชนิดนี้ พบทั่วไปทุกภาคในไทย า ลิเภาชนิดนี้มักระบาดเป็นวัชพืชอยู่ใสสวนยางพารา แพร่กระจายพันธุ์ด้วยสปอร์ได้อย่างรวดเร็ว ในฤดูแล้งจะพักตัวแห้งโทรม เมื่อได้ฝน จะแตกงอกงามใหม่

ลิเภาชนิดนี้ นิยมนำมาใช้ในงานหัตกรรม ทำเครื่องจัสาน เช่น กระเป๋า ภาชนะใส่ของ กำไล สร้อย การนำมาทำเครื่องจักสาน นำเถามาลอกเอาเฉพาะเปลือกมาจักเป็นเส้น แล้วสานหุ้มโครงที่เป็นไม้หรือหวาย
นอกจากนี้ ยังมีสรรพคุณทางยารักษาโรค รากและใบ สามารถนำมาใช้รักษาโรคผิวหนัง แผลกลากได้อีกด้วย


Lygodium giganteum Tagawa & K. Iwats.
ชื่อไทย : ลิเภาเชียงใหม่

ถูกค้นพบและรายงานไว้เป็นครั้งแรกในปี 2510 ก้านมีขนาดใหญ่แตกต่างจากชนิดอื่น ที่มีขนขึ้นตามก้านเห็นได้ชัด ที่นับว่าเป็นลักษณะเด่น คือ มีเถายาวที่สุดในบรรดาลิเภาชนิดต่างๆ แต่มีคุณภาพในการใช้ถักต่ำมาก
พบที่เชียงใหม่ ในป่าผลัดใบเชิงดอยสุเทพ ระดับ 260-300 เมตร และพบที่เชิงดอยอินทนนท์ในระดับ 500 เมตร และที่เชียงราย แม่ฮ่องสอน ตาก


Lygodium japonicum (Thumb. ex Murray) Sw.
ชื่ออื่น : งอแง ลิเภางอแง, Japanese Climbing Fern


ลักษณะทั่วไป ใบประกอบขนนก รูปสามเหลี่ยม ใบย่อยขอบหยัก ใบเถาปีนเลื้อยไปอย่างอิสระไกลได้ถึง 30 ม. ใบแตกกิ่งจากเถาเป็นระยะ 4-8 นิ้ว ก้านใบย่อยยาว ขอบใบย่อยมีทั้งที่เป็นขอบหยักตื้นถึงหยักลึกสุดเส้นกลางใบ ใบย่อยที่ปลายสุดเป็นใบประกอบ อับสปอร์เกิดที่ขอบใบหยัก เรียงตัวเป็น 2 แถว พบที่ เชียงใหม่ ตาก เลย กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์

เฟินลิเภาชนิดนี้ เป็นวัชพืชในรัฐฟลอลิดา มันสามารถปีนเลื้อยขึ้นไปได้ถึงเรือนยอดไม้ใหญ่ ปกคลุมจนเกิดร่มเงาทำให้ต้นไม้ใหญ่ตาย เพราะไม่ได้รับแสงแดด ทั้งยังเติบโตเกี่ยวพันไปตามแนวรั้ว และไม้พุ่มจนยุ่งเหยิง ปกคลุมพื้นดินตามแนวราบ อีกทั้งยังทนต่อสภาพอากาศหนาวเย็น แม้ใบจะถูกทำลายเมื่ออุณหถูมิต่ำ แต่เหง้าที่ฝังตัวอยู่ใต้ดินสามารถเจริญเติบดตขึ้นมาได้ใหม่ เมื่ออุณภูมิอุ่นมากขึ้น



Lygodium microphyllum
climbing along hanging wire
ลำเภาหนู

Lygodium microphyllum (Cav.) R. Br.
ชื่ออื่น : กระฉอดหนู ลิเภายุ่ง,Climbing maidenhair, Snake fern, Small-leaved Climbing Fern, Old World climbing fern

ลิเภาชนิดนี้ ใบเป็นเถา แตกกิ่งได้อิสระ เถายาวได้ถึง 30 ม. ใบย่อยแยกออกจากเถาทุกระยะ 2-5 นิ้ว ใบมี 2 แบบ ใบปกติ ขอบเรียบ กับใบที่สร้างสปอร์ขอบหยัก พบในป่าที่เชียงใหม่ ลำปาง หนองคาย ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนล่างสุด
ยอดอ่อนของเฟินชนิดนี้นำมากินเป็นผักได้
ลิเภาชนิดนนี้ มีถิ่นกำเนิดใน Africa, Asia and Australia แต่ไปแพร่ระบาดกลายเป็นวัชพืชอยู่ในรัฐฟลอลิดา ตามที่ มหาวิทยาลัย Florida Herbarium ได้บันทึกไว้ ว่า ได้มีการนำเข้าไปปลูกเลี้ยงครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2501 จากนั้นมา สปอร์ของเฟินลิเภาได้แพร่กระจายออกไปงอก ทำให้เกิดการระบาด สร้างความเสียหายอย่างหนัก เพราะลิเภาชนิดนี้ ทำให้ต้นไม้ชนิดต่างๆ ในป่าธรรมชาติต้องตายไปเป็นจำนวนมาก ทั้งไม้ยืนต้น ไม้เกาะอาศัยอย่างพวก กล้วยไม้ หรือสัปรดสี แม้กระทั่งพันธุ์ไม้หายากบางชนิด ต้องตายไปด้วยเช่นกัน การระบาดทำลายของลิเภาชนิดนี้ ด้วยการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เป็นเถาปีนเลื้อยขึ้นไปปกคลุมจนมิด ตั้งแต่ระดับพื้นดิน ไม้พุ่มเตี้ย ไปถึงเรือนยอดไม้สูงใหญ่ทั่วทั้งผืนป่า อีกทั้งในหน้าแล้ง ใบและเถาโทรมแห้ง เมื่อเกิดไฟป่า จึงเป็นเชื้อไฟอย่างดี ทำให้ไฟไหม้ลุกลามไปได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย จากการสำรวจในปี 2542 พบว่า การแพร่ระบาดกินพื้นที่ไปถึง 107000 เอเคอร์แล้ว


Lygodium microphyllum
[ Image : Visuvat - Ban Klang Suan ]

Lygodium microphyllum
[ Image : Visuvat - Ban Klang Suan ]

Lygodium polystachym Wall. ex. T. Moore
ชื่ออื่น : กูดก๊อง กูดเคือ ลิเภา ลิเภาย่อง
พบในป่าเชียงใหม่ ลำปาง เพชรบูรณ์ ชลบุรี ภาคใต้

Lygodium salicifolium C. Prresel.
ชื่ออื่น : กูดคือ สายพานผี อู่ตะเภา กะฉอด กะฉอดหนู ย่านอีเภา ย่านยายเภา ลิโบ
พบในป่าเชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง หนองคาย กาญจนบุรี ปราจีนบุรี ตราด ประจวบคีรีขันธ์ ภาคใต้

> SCHIZAEACEAE > Lycodium || Back