ลำดับเหตุการณ์เขื่อนปากมูล

ธันวาคม 2510 

สำนักงานพลังงานแห่งชาติ โดยความร่วมมือของรัฐบาลฝรั่งเศส ได้เช้ามาศึกษาและ สำรวจเบื้องต้นเพื่อพัฒนาแห่งน้ำมูล ในเขตพื้นที่ อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี พ.ศ.2513-2521 สำนักงานพลังงานแห่งชาติ ร่วมกับรัฐบาลฝรั่งเศส ดำเนินการศึกษาตามความเหมาะสม ของโครงการฯ เน้นวัตถุประสงค์ ทางด้านการผลิตกระแสไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว เกิดเป็น โครงการเขื่อนปากมูลโดยสร้างเขื่อนจากลำน้ำมูลขึ้นบริเวณแก่งตะนะห่างจากปากแม่มูล 4 กม. มีขนาดกำลังผลิตติดตั้ง 108 MW ตัวเขื่อนสูง 23 ม.ระดับกักเก็บน้ำ(+)112 ม.รทก.เก็บกักน้ำได้ 600 ล้านลบ.ม. พื้นที่ผิวอ่างเก็บน้ำ 185 ตารางกม. ใช้งบประมาณก่อนสร้าง 648 ล้านบาท

พ.ศ.2522-2523 

การพลังงานแห่งชาติได้ดำเนินการศึกษาเพิ่มเติมถึงการชดใช้ และอพยพราษฏรในเขตน้ำท่วมของโครงการฯการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) รับโอนโครงการฯจากการ พลังงานแห่งชาติ ภายใต้การเห็นชอบของคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กฟผ. ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลฝรั่งเศส โดยบริษัทที่ปรึกษา SOGREAH ทำการศึกษาเพิ่มเติมเป็นโครงการเอนกประสงค์ ซึ่งจะให้ประโยชน์ทางด้านการไฟฟ้า ชลประทาน และประมง และเพิ่มกำลังการผลิตติดตั้งเป็น 136 MW ใช้งบประมาณก่อสร้างเพิ่มขึ้นเป็น 4,226 ล้านบาท

พ.ศ.2524-2525 

กฟผ.ว่าจ้างบริษัททีม คอนซัลติ้ง เอ็นจีเนียร์จำกัด ทำการศึกษาทางด้านนิเวศน์วิทยาและสิ่งแวดล้อม พบว่าโครงการจะมีผลกระทบสูง โดยเฉพาะด้านการอพยพราษฎรประมาณ 4,000 ครอบครัว กฟผ.จึงระงับโครงการไว้ก่อน

พ.ศ.2525-2528 

รัฐบาลฝรั่งเศสให้ความช่วยเหลือผ่านทางบริษัทที่ปรึกษา SOGREAH ทำการทบทวนงานพัฒนาโครงการเขื่อนปากมูลร่วมกับกฟผ.อีกครั้งเพื่อพัฒนาความเหมาะสมในด้านวิศว กรรมสิ่งแวดล้อมและเศรษฐศาสตร์ตามลักษณะโครงการที่แตกต่าง โดยผนวกการศึกษาเพิ่มเติมทางนิเวศน์วิทยาและสิ่งแวดล้อมเฉพาะบางสาขาของบริษัทที่ปรึกษาทีมฯไปพร้อมๆ กันซึ่งมีผลให้ กฟผ.ตัดสินใจเปลี่ยนแปลงลักษณะโครงการปากมูลใหม่เป็นลักษณะเขื่อนเช่นปัจจุบัน

พ.ศ.2530-2531 

กฟผ.ตอบรับความช่วยเหลือจากรัฐบาลฝรั่งเศส โดยบริษัทSOGREAH ทำการศึกษาในขั้นรายละเอียด(Definite Study-phase l) เน้นเฉพาะด้านการออกแบบอุปกรณ์ไฟเครื่องกล และการทำแบบจำลองทางชลศาสตร์เขื่อนปากมูลได้ย้ายที่ตั้งโครงการจากบริเวณเห่งชาดิ (แก่งตะนะ) ขึ้นมา ทางเหนือของลำน้ำอีก 1.5 กม. ตรงบริเวณบ้านหัวเหว่และลดระดับกัก เก็บน้ำเหลือ (+)108 ม.รทก.

1-15 มค. 2532 

วารสารข่าวกรมประมง ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 คอลัมน์ ‘เรื่องน่ารู้’ ลงบทความ “ความสำคัญของบันไดปลาโจนทางเดินของสัตว์น้ำไปสู่ความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ” โดยนายเสน่ห์ ผลประสิทธิ์ วิทยากรและนายนภา รายะนาค พิธีกรได้กล่าวถึงการสร้างเขื่อนปากมูลในด้านที่จะก่อผลกระทบต่อพันธุ์ปลาจากแม่น้ำโขงที่ไม่สามารถขึ้นมาวางไข่ในแม่น้ำมูลและส่งผลให้พันธุ์ปลาต้องสูญพันธุ์ไปจากแม่น้ำมูล และสาขาอีกหลายสาขาด้วย หากไม่มีการสร้างบันไดปลาโจน ซึ่งจะมีผลส่งให้ประชาชนใน 10 จังหวัด ไม่สามารถจับปลาได้อีกต่อไป

15 ม.ค.2532 

กฟผ.ได้นำชาวคณะเรือตรีดนัย เกตุศิริ ผวจ.อุบลราชธานี นายศุนัย ณ อุบล รองผู้ว่าฯ พร้อมด้วยกรรมการหอการค้าและผู้นำท้องถิ่นเช่น นายสมชาย สุรพัฒน์ รองประธานหอการค้า นายสวาด แก้ววรรณา นายกเทศมนตรีเทศบาลพิบูลมังสาหาร เดินทางไปชมเขื่อนปากมูลจำลองที่ AIT และชมเขื่อนศรีนครินทร์ และเขื่อนท่าทุ่งนา จ.กาญจนบุรี

8 เม.ย.2532 

กฟผ.นำโครงการเขื่อนปากมูล ซึ่งเป็นโครงการเขื่อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า เข้าไปในโครงการอีสานเขียว (โขง-ชี-มูล) ซึ่งเป็นโครงการชลประทานเสนอขออนุมัติต่อ ครม.สัญจรที่ จ.อุบลราชธานีและได้รับอนุมัติในหลักการ

13 เม.ย.2532 

กลุ่มคัดค้านการสร้างเขื่อนปากมูล ประกอบด้วย กลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอุบลราชธานี กลุ่มพิทักษ์แก่งสะพือ กลุ่มหนุ่มสาวลำน้ำมูล กลุ่มพ่อค้าแม่ค้าแก่งสะพือ ชมรมพ่อค้าแม่ค้าแก่งสะพือ ชมรมพ่อค้าชาวพิบูลฯ ชมรมนักเรียนนักศึกษาอุบลฯ กลุ่มพิทักษ์ความยุติธรรมอำเภอพิบูลฯ ได้เคลื่อนไหวโดยการแจกใบปลิว-แถลงการณ์ทั่วอ.พิบูลฯ และยื่นหนังสือร้องเรียนนายกรัฐมนตรี พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ผ่าน รมช.สุทัศน์ เงินหมื่น ขอให้ทบทวนมติ ครม. โดยกล่าวถึงผลกระทบต่างๆที่เกิดขึ้น

22 เม.ย.2532 

ราษฎร อ.โขงเจียม และพิบูลฯ 600 คน เดินทางมาชุมนุมประท้วงการสร้างเขื่อนปากมูลที่ บริเวณวิทยาลัยครูอุบลราชธานี มีการถือป้ายคัดค้านเช่น ‘แก่งสะพือคือพิบูลฯ เขื่อนปากมูลมาทำลาย’ ‘แก่งสะพือเกิดมาเห็นโลด กฟผ.ใจโหดมาทำลาย’ ….ในวันนี้เป็นการนัดมาชี้แจงของ กฟผ. ต่อกลุ่มคัดค้านแต่มิได้มีการชี้แจงแต่อย่างใด เนื่องจาก กฟผ.ว่าจ้างคนมามากกว่าที่ตกลงกันไว้

7 พ.ค.2532 

กลุ่มนิโอพิเนียน ซึ่งเป็นกลุ่มพ่อค้าข้าราชการเชิญ กฟผ.มาชี้แจงให้ข้อมูล กรณีเขื่อนปากมูล ที่หงษ์ฟ้าภัตตาคาร โดยนายสุพิน ปัญญามาก ผอ.ประชาสัมพันธ์ กฟผ. กล่าวว่าจะมีหมู่บ้านถูกน้ำท่วม 13 หมู่บ้าน,วัด 5 แห่ง,โรงเรียน 5 แห่ง และยืนยันว่าจะไม่มีการระเบิดแก่งต่างๆ ในลำน้ำมูล และกล่าวว่าจะมีการสร้างเขื่อนขวางลำน้ำรวม 4 เขื่อน เขื่อนปากมูลเป็นเขื่อนที่ 4 แต่ถูกยกขึ้นมาสร้างก่อน

19 พ.ค.2532 

มีการจัดตั้งคณะกรรมการรณรงค์คัดค้านเขื่อนปากมูล(กคข.) โดยตัวแทนชาวบ้านหาดคูเดื่อ , พิบูลสงคราม, สท. พิบูลมังสาหาร,สสส.อีสาน,กลุ่มนักกฎหมายจังหวัดอุบลฯ,พ่อค้า โดยมีนายไพฑูรย์ ชอบเสียง เป็นประธาน

24 พ.ค.2532 

กคข. จัดพิมพ์และแจกจ่ายใบปลิว ‘ท่านทราบอะไรบ้างเกี่ยวกับเขื่อนปากมูล’

31 พ.ค.2532

วิทยุ ปชส.จังหวัดอุบลฯ รายงานหลังข่าว 07.00 น.กรณีผู้ว่าราชการจังหวัดออกมาพูดว่า การชุมชุมที่จะมีขึ้นที่ อ.พิบูลฯ ในวันนี้กระทำโดยผู้ไม่หวังดี ขอประชาชนอย่าหลงเชื่อไปฟัง

11 มิ.ย.2532 

มีการชุมนุมและอภิปรายปัญหาเขื่อนปากมูลที่บริเวณแก่งสะพือ

12 มิ.ย.2532 

ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ เดินทางไปชี้แจงกรณีเขื่อนปากมูลพร้อมกับกลุ่ม สส.อีสาน

16 มิ.ย.2532 

ที่ศาลากลาง จ.อุบลฯ มีการประชุมร่วมระหว่าง สส.ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เจ้าหน้าที่ กฟผ.กอ.รมน. และกรรมการ และกรรมการ กคข. การชี้แจงของ รมต.เฉลิมและกฟผ. ไม่ชัดเจน และรมต. ไม่รับฟังการชี้แจงของฝ่ายค้าน จึงมีการวอล์คเอาท์การประชุม

21 มิ.ย.2532

ที่ อ.โขงเจียม การชี้แจงของ รมต.เฉลิม อยู่บำรุง คณะกฟผ. และสส.บางคน ไม่เป็นที่พอใจของชาวบ้านและนายอำเภอโขงเจียมไม่อนุญาติให้ชาวบ้านซักถามทำให้ชาวบ้านไม่พอใจโห่ไล่ให้ไปสร้างเขื่อนที่อื่น และลุกออกจากที่ประชุมก่อนการชี้แจงจบ

5 ก.ย.2532

ที่ อ.พิบูลมังสาหาร การชี้แจงของคณะ รมต.เฉลิม ทำให้ชาวบ้านกว่า 3,000 คน ไม่พอใจมาก จนทำให้นายอร่าม สมสวย ผู้สื่อข่าวเดลินิวส์ ประจำ อ.พิบูลฯ กระโดดขึ้นเวทีกล่าวว่า ท่าน รมต.ใจแคบ ทำให้ รมต.เฉลิม แย่งไมค์จากนายอร่ามทันที ชาวบ้านที่อยู่ข้างล่างพากันโห่ไล่ ทส.ของรมต.เฉลิม จึงตะโกนท้าชาวบ้านยิง ปลัดอำเภอพิบูลมังสาหารคนหนึ่ง จึงกล่าวออกไปว่า ‘ไปท้าชาวบ้านทำไมเขาไม่มีอาวุธ มาท้าผมดีกว่า ผมสิมีปืน’ เกิดความชุลมุนชั่วครู่ รมต.เฉลิม จึงได้ปิดเวที

2 พ.ย.2532

วิทยุ ปชส.อุบลฯ รายงานว่าวันที่ 11 รมต.เฉลิม มาชี้แจงเรื่องเขื่อนประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วย และต้องการให้สร้างเขื่อน เหตุการณ์เป็นไปด้วยความเรียบร้อย

30 ม.ค.2533

- นสพ. Bangkok post รายงานว่าการชี้แจงเรื่องเขื่อนปากมูลของคณะ รมต.เฉลิม เกิดการวอล์คเอาท์ที่ศาลากลางและการโห่ไล่ของชาวบ้านที่ อ.โขงเจียมและ อ.พิบูลฯ

- นสพ.มติชน ,เดลินิวส์ , วัฏจักร ลงข่าวเหตุการณ์ รมต.เฉลิม ชี้แจงเขื่อนปากมูลและถูกฝ่ายค้านวอล์คเอาท์ มีการใช้ท่าทีแสดงอำนาจต่อชาวบ้าน ทำให้เกิดความไม่พอใจรุนแรงมากขึ้น

- สถานีโทรทัศน์ช่อง 3 และช่อง 9 อสมท. ออกรายการข่าวว่าการชี้แจงของ รมต.เฉลิมเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและประชาชนอุบลราชธานีสนับสนุนให้มีการสร้างเขื่อนปากมูล

- กคข.โดยนายไพฑูรย์ ชองเสียง และแม่ใหญ่ต่อม นาจาน ตัวแทนเข้ายื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรี ขอให้รัฐบาลและสื่อมวลชนของรัฐวางตัวเป็นกลางและรับฟังเสียงประชาชน

- กลุ่มนักศึกษาอีสาน 17 จังหวัด ม.รามคำแหงเข้ายื่นหนังสือร้องเรียนต่อ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี ขอให้ทบทวนและระงับโครงการเขื่อนปากมูล

- ราษฏร อ.โขงเจียมและอ.พิบูลฯ 200 คน เดินทางไปวางหรีดประนาม นักจัดรายการ ‘ข่าวบ้านเฮา’ ที่สถานีวิทยุประชาสัมพันธ์อุบลฯ เนื่องจากผู้จัดรายการดังกล่าวออกอากาศโจมตีผู้ค้านเขื่อนว่าเป็นผู้ไม่หวังดีต่อบ้านเมือง ขัดขวางความเจริญเป็นเครื่องมือของมือที่สาม

- มีการทำลายบอร์ดนิทรรศการ ‘ความรู้เรื่องเขื่อนปากมูลและผลกระทบต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม’ ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณแก่งสะพือ

11-14 ก.พ.2533

ราษฎรจากอ.โขงเจียมและ อ.พิบูลฯประมาณ 2,000 คน ชุมนุมที่แก่งสะพือและเคลื่อนตัวไปที่ศาลากลางจังหวัดอุบลฯเพื่อยื่นหนังสือประท้วง และเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวน และระงับโครงการเขื่อนปากมูล ผ่านนายสายสิทธิ์ พรแก้ว ผวจ.อุบลฯการชุมนุมได้ ดำเนินไป 3 วัน 3 คืน ทางจังหวัดได้รายงานเหตุการณ์ที่บิดเบือนไปยังกระทรวงมหาดไทย ทำเนียบรัฐบาลและสื่อมวลชน มีการจ้างเกณฑ์ราษฎรจากอำเภอต่างๆ มาเป็นม๊อบสนับ สนุนเพื่อให้เกิดการปะทะฝ่ายค้าน การตัดน้ำ ไฟ บริเวณที่ชุมนุม มีการนำลวดหนาม กำลัง ทสปช. ตำรวจ ทหาร พร้อมอาวุธสงครามมาล้อมรอบกลุ่มผู้ชุมนุม มีใบปลิวโจมตีกล่าวหาผู้คัดค้านว่าเป็นคอมมิวนิสต์

14 ก.พ.2533

ที่ชุมนุมได้รับแจ้งจากนายอนุวรรต์ วัฒนพงศ์ศิริ รมต.ประจำสำนักนายกฯ ตกลงยินยอมที่จะทบทวนโครงการเขื่อนปากมูลใหม่ ผู้ชุมนุมจึงสลายตัว

15 ก.พ.2533

นายอนุวรรต์ วัฒนพงศ์ศิริ ได้ส่งตัวแทนยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาลอีกครั้งเพื่อให้ระงับโครงการเขื่อนปากมูล

17 มี.ค.2533

นายไชยศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ์ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และนายสายสิทธิ์ พรแก้ว ผวจ.อุบลฯ ได้เรียกประชุมสส.,สจ. ที่ภัตตาคารทวีผล เพื่อขอให้ลงชื่อสนับสนุนเขื่อนปากมูล นายสุทัศน์ เงินหมื่น ปฏิเสธที่จะร่วมลงชื่อ

21 มี.ค.2533

ศ.นพ.ประเวศ วะสี และศ.เสน่ห์ จามริก พร้อมด้วยคณะในนามสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา ได้เดินทางดูพื้นที่สร้างเขื่อนที่บ้านหัวเหว่ อ.โขงเจียม แต่ถูกนายสายสิทธิ์ พรแก้ว และทางจังหวัดพยายามกีดกันการพบปะระหว่าง 2 นักวิชาการกับชาวบ้าน ด้วยการช่วงชิงเสนอข้อมูลและโต้แย้งการแสดงความคิดเห็นตลอดเวลา

23 มี.ค.2533

ชาวตลาด อ.พิบูลฯ ประมาณ 150 คน เดินทางไปยังที่ว่าการอำเภอ เพื่อประท้วงการหลอกเกณฑ์จ้างคนมาสนับสนุนเขื่อน

25 มี.ค.2533

ราษฎรของ 2 อำเภอ ได้ทราบข่าวว่าจะมีการเกณฑ์ชาวบ้านในอำเภออื่นๆ สนับสนุนการสร้างเขื่อนที่ทำเนียบรัฐบาลในวันที่ 27 มี.ค.ราษฎร 500 คน ได้ชุมนุมกันที่หน้าศาลเจ้าพ่อพะละงุม บริเวณแก่งสะพือ เพื่อทำพิธีสาปแช่งนักการเมืองที่มีผลประโยชน์

27 มี.ค.2533

ที่ทำเนียบรัฐบาล นายไชยศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ์ ได้นำคณะสส.,สจ.ประมาณ 30 คน เข้าพบ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้เร่งรัดสร้างเขื่อนปากมูลซึ่งนายกฯ ได้ตอบว่ารัฐบาลตั้งใจว่าจะสร้างแน่นอน

30 มี.ค.2533

ที่จังหวัดอุบลราชธานี บริเวณศาลากลางจังหวัด ราษฎร 3,000 คน นำโดยกำนัน และผู้ใหญ่บ้าน ชุมนุมกันเพื่อสนับสนุนให้มีการสร้างเขื่อนปากมูล โดยตั้งเวทีอภิปรายอยู่ 1 ชั่วโมง พร้อมทั้งยื่นหนังสือถึงนายกฯ ผ่านผู้ว่าฯให้เร่งรัฐบาลอนุมัติโครงการโดยได้รับความสะดวกและเตรียมการทุกอย่าง จากข้าราชการบนศาลากลางกลุ่มเยาวชนพิบูลมังสาหาร และพ่อค้าแม่ค้าในตลาดพิบูลฯ ประมาณ 150 คน ยื่นหนังสือต่อหัวหน้าปฏิบัติงานชั่วคราว กฟฝ. จ.อุบลฯให้ กฟผ. ย้ายออกจากพื้นที่ อ.พิบูลฯเพื่อเห็นแก่ความสงบสุขของประชาชน เนื่องจาก กฟผ. ได้สร้างความเดือดร้อนและความแตกแยกในหมู่ประชาชนด้วยการบิดเบือนข้อเท็จจริง โดยการร่วมมือกับข้าราชการและนักการเมืองจ้างเกณฑ์คนนอกพื้นที่ตบตารัฐบาลว่าประชาชนต้องการเขื่อนปากมูล

2 เม.ย.2533

ตัวแทนราษฏร 250 คนจาก 2 อำเภอ ได้ทูลเกล้าถวายฎีกาในหลวงขอพึ่งบารมีในการระงับเขื่อนปากมูล

15 เม.ย.2533

นายอธิชัย บุญประสิทธิ์ และนายทองคำ สมบูรณ์ ตัวแทนชาวบ้านได้ถูกนายไชยศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ์ สั่งลูกน้องทำร้ายร่างกาย ในการอภิปราย ‘ฝ่าเศรษฐกิจเมืองอุบลฯ’ ที่โรงแรมปทุมรัตน์เนื่องจากไม่พอใจที่นายทองคำ ลุกขึ้นถามเกี่ยวกับการช่วยเหลือราษฏรที่จะถูกอพยพจากพื้นที่สร้างเขื่อนปากมูล

19 เม.ย.2533

นายศิริวัฒน์ ไกรสินธุ์ นายกองค์การนักศึกษา ม.รามคำแหง ได้ยื่นหลักฐานและเรียกร้องต่อพล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ให้พิจารณาปลดนายไชยศิริ

24 เม.ย.2533

หน้าทำเนียบ นายสนิท จันทรวงศ์ และนายชาตรี พิริยกิจไพบูลย์ สส.อุบลฯ ได้นำ สจ.,กำนัน,ผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้าน ประมาณ 400 คน เดินทางมาให้กำลังใจ นายไชยศิริ ที่ตกเป็นข่าวทำร้ายร่างกายราษฎร พร้อมทั้งเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งรัดการสร้างเขื่อนปากมุลให้จงได้

30 เม.ย.2533

นายไพบูลย์ เฮงสุวรรณ นายกสโมสรนักศึกษา ม.เชียงใหม่ และนายกนิษฐ์ บุญทราพงศ์ ผู้ประสานงานคณะกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อม 16 สถาบัน และตัวแทนชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากหลายเขื่อน ได้ร่วมกันแถลงข่าวคัดค้านการสร้างเขื่อนต่างๆที่มีอยู่ และเรียกร้องให้รัฐบาลและ กฟผ. รับผิดชอบโดยตรงต่อข้อผิดพลาดต่างๆที่สร้างมาแล้ว ก่อนที่จะอนุมัติให้มีการสร้างเขื่อนต่อไป

14 พ.ค.2533

ชาวบ้าน 2 อำเภอจากอ.พิบูลฯและโขงเจียม ประมาณ 30 คน ได้ชุมนุมกันที่แก่งสะพือ ประกาศคัดค้านการอนุมัติโครงการเขื่อนปากมูลที่จะนำเข้าที่ประชุม ครม. ในวันที่ 15 พ.ค. 2533

15 พ.ค.2533

- ครม.มีมติอนุมัติงบประมาณ 3,880 ล้านบาท ให้ กฟผ.ดำเนินโครงการเขื่อนปากมูล

- กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และชาวบ้านจำนวนหนึ่ง นำช่อดอกไม้มอบแก่ นายไชยศิริ และนายอนุวรรต์ ที่มีการสนับสนุนให้สร้างเขื่อน

16-17 พ.ค.2533

ชาวบ้าน 700 คน ชุมนุมที่แก่งสะพือ ประกาศไม่ยอมรับมติ ครม.นายสายสิทธิ์ พรแก้ว สั่งให้หน่วยปฏิบัติการพิเศษสลายม๊อบภายใน 24 ชั่วโมง

18 พ.ค.2533

กลุ่มผู้คัดค้านได้เพิ่มขึ้น และเคลื่อนขบวนไปที่บ้านหัวเห่ว จุดหัวงาน เพื่อทำพิธีทางศาสนาและก่อตั้งศาลเพียงตา เพื่อบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ช่วยปกป้องแม่น้ำมูลและสลายตัวไป

12 ก.พ.2534

ครม.มีมติให้ กฟผ.สามารถเข้าทำประโยชน์ในอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ เพื่อสร้างเขื่อนปากมูลและโรงไฟฟ้าพลังน้ำเป็นพื้นที่ 125 ไร่

23 ก.พ.2534

รัฐประหาร

19 มี.ค.2534

ตัวแทนชาวบ้านยื่นจดหมายคัดค้านการสร้างเขื่อนปากมูล พร้อมทั้งรายชื่อราษฎร 12,000 ราย ต่อตัวแทนธนาคารโลกประจำประเทศไทยสำนักงานกรุงเทพฯ

20 มี.ค.2534

ตัวแทนชาวบ้านยื่นจดหมายคัดค้านการสร้างเขื่อนปากมูล พร้อมทั้งรายชื่อราษฎร 12,000 ราย ต่อนายอานันท์ ปันยารชุน นายกรัฐมนตรี ในที่ประชุม ‘นายกผู้ด้อยโอกาสทางสังคม’ ที่ทำเนียบรัฐบาล ในวันเดียวกันได้ยื่นหนังสือให้กับคณะ รสช.ด้วย

15 พ.ค.2534

กฟผ.เริ่มลงมือก่อสร้างเขื่อน โดยการรื้อศาลเพียงตา

21 พ.ค.2534

ชาวบ้าน 1,000 คน รวมตัวกันที่สะพานตุงลุง อ.โขงเจียม ห่างจากตัวเขื่อน 9 กม. ด้วยความโกรธที่ กฟผ. กระทำการลบหลู่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านเคารพ ในการชุมนุมได้มีการเรียกร้องให้ กฟผ. เปิดเผยข้อมูลที่แท้จริง เกี่ยวกับพื้นที่ที่จะถูกน้ำท่วมและให้ตั้งคณะกรรมการ 4 ฝ่าย ที่ประกอบด้วยตัวแทนชาวบ้าน ฝ่ายรัฐบาล กฟผ.และนักวิชาการ

22 พ.ค.2534

นักศึกษา 5 คน ที่ได้เข้าสังเกตการณ์ชุมนุมของชาวบ้าน ถูกเชิญตัวไปยังที่ว่าการ อ.โขงเจียม นายอำเภอได้ชี้แจงว่าการชุมนุมครั้งนี้ผิดกฎอัยการศึก และสั่งให้นักศึกษาทั้งหมดออกจากพื้นที่โขงเจียมโดยด่วน

24 พ.ค.2534

คณะกรรมการอนุรักษืทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อม 16 สถาบัน องค์การนักศึกษามหาวอทยาลัยธรรมศาสตร์และโครงการฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ ได้ร่วมกันแถลงข่าวชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการชุมนุม ของชาวบ้านและเรียกร้องให้รัฐบาลเปิดเผยข้อมูลผลกระทบที่แท้จริงออกมา

25 พ.ค.2534

ที่สะพานตุงลุง เจ้าหน้าที่ตำรวจและทหาร ได้ตั้งด่านตรวจเพื่อกักเสบียงอาหารที่จะส่งมาให้ชาวบ้านและห้ามทุกคนผ่านด่าน

26 พ.ค.2534

- ตัวแทนองค์กรพัฒนาเอกชนและชาวบ้าน 12 ตำบล ริมฝั่งแม่น้ำมูล ได้ทำหนังสือเรียกร้องให้ นายอานันท์ ปันยารชุนชะลอการสร้างเขื่อนไว้ก่อน และเรียกร้องให้เปิดเผยผลกระทบที่แท้จริงจากการสร้างเขื่อน

- การชุมนุมได้ยืดเยื้อเป็นวันที่ 5 ชาวบ้านได้ทำพิธีสาปแช่ง กฟผ.

27 พ.ค.2534

คณะกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อม 16 สถาบัน(คอทส.) ได้แถลงข่าวเรียกร้องให้มีการแก้ปัญหาโดยการตั้งคณะกรรมการจากฝ่ายต่างๆ และเรียกร้องให้รัฐบาลรับประกันความปลอดภัยให้กับชาวบ้านที่ชุมนุมอยู่

28 พ.ค.2534

- นายชาติสง่า โมลีชาติ รอง ผวจ.อุบลฯได้ขอให้ยุติการชุมนุม

- มีการยิงลูกหินจากภายนอกเข้ามาใส่ที่ชุมนุมในเวลากลางคืน

29 พ.ค.2534

กฟผ. เริ่มระเบิดหินในบริเวณหัวงาน บ้านราษฎรส่วนหนึ่งได้รับความเสียหาย การชุมนุมยังดำเนินต่อไป

30 พ.ค.2534

กลุ่มโขงเจียมผู้รักถิ่น ออกใบปลิวแจกจ่ายในที่ชุมนุมโจมตีนักศึกษาว่าเป็นพวก ‘ ลัทธิเนรคุณ’ ‘เดรัจฉานวิชา’ และกล่าวว่าถึงเวลาแล้วที่พวกเราจะต้องสั่งสอนให้นักศึกษากลุ่มนี้ได้รู้สำนึก’

31 พ.ค.2534

กฟผ.และข้าราชการที่เกี่ยวข้อง ได้เดินทางไปที่บ้านตุงลุง อ.โขงเจียม เพื่อทำการจ่ายเงิน 5.6 ล้านบาท ให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบ 4 ราย

1 มิ.ย.2534

ที่กระทรวงมหาดไทย นายเที่ยว บรรเทา ตัวแทนชาวบ้านและนักศึกษา ได้เข้ายื่นหนังสือต่อ พล.อ.อิสระพงศ์ หนุนภักดี รมต.เพื่อขอให้กระทรวงมหาดไทยคุ้มครองความปลอดภัยให้แก่ผู้ชุมนุม

- ชาย 10 คน ขว้างปามูลควายที่บรรจุในถุงพลาสติกเข้าในที่ชุมนุมและขู่ว่าจะกลับมาอีก

- กลางดึก ชายกลุ่มหนึ่งได้ระดมยิงปืนและขว้างปาลูกหินเข้าใส่ที่ชุมนุม

3 มิ.ย.2534

ชาวบ้าน 800 คน มุ้งหน้าไปบริเวณหัวงานเขื่อน แต่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจสกัด การเจรจาไม่เป็นผล มีการปิดสะพานตุงลุงครึ่งชั่วโมง

- ที่ชุมนุมส่งตัวแทนชาวบ้าน 150 คน ไปเจรจากับรัฐบาลที่กรุงเทพฯ

4 มิ.ย.2534

ตัวแทนชาวบ้านยื่นหนังสือต่อรัฐบาลที่หน้าทำเนียบ ตัวแทนชาวบ้าน 6 คน ได้เข้าพบนายไพจิตร เอื้อทวีกุล รมต.ประจำสำนักนายกฯ เพื่อเจรจาปัญหาต่างๆ นายไพจิตร ได้รับปากที่จะแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ภายใน 2 เดือน แต่ข้อเรียกร้องให้ชะลอโครงการไม่สามารถทำได้ ยกเว้นหากผลการสำรวจจำนวนครอบครัวเกินกว่า 1,000 ครอบครัว จะทบทวนทันที

14 มิ.ย.2534

สามารถตกลงรายชื่อคณะกรรมการ 4 ฝ่าย

4 ส.ค.2534

โครงการฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าาฯและสมาคมสิทธิและเสรีภาพของประชาชนจัดสัมมนา ‘ วิเคราะห์รายงานการศึกษาผลกระทบจากการสร้างเขื่อนปากมูล’ สรุปว่าผลกระทบในด้านต่างๆ มีข้อผิดพลาด ประชาชนไม่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจและเสนอให้ระงับการก่อสร้างไว้ก่อน

14 ส.ค.2534

กฟผ. ได้แถลงข่าวว่า จ่ายเงินทดแทนไปแล้ว 46 ล้านบาท มีราษฎรได้รับผลกระทบเพียง 248 ครอบครัว

19 ส.ค.2534

นายแพทย์สันตศิริ ศรมณี ที่ปรึกษาโครงการฯด้านสาธารณสุขของธนาคารโลก ชี้แจงว่าการระบาดของโรคพยาธิใบไม้ในเลือดมีโอกาสน้อย

นายธีรวุฒน์ เถาว์ทิพย์ นศ.แพทย์ ม.ขอนแก่น แถลงข่าวโต้นายแพทย์สันตศิริ ว่ามีข้อมูลยืนยันได้ว่าโอกาสเกิดโรคพยาธิใบไม้ในเลือดมีสูง

18-25 ส.ค.2534

คณะกรรมการประสานงานนักศึกษาอีสาน(กป.นอ.)จัดขบวนรณรงค์พิทักษ์ลำน้ำมูลจากนครราชสีมาไปอุบลฯ ถูกทางตำรวจกล่าวหาว่าชาวบ้านที่เผยแพร่ข้อมูลที่ปลายทาง อ.พิบูลฯเป็นลาวอพยพและนักศึกษา เป็นคอมมิวนิสต์

26 ส.ค.2534

นายฟิลลิป แอนเนซ ผู้แทนธนาคารโลกประจำประเทศไทย ได้แถลงว่า ธนาคารโลกจะพิจารณาอนุมัติเงินกู้ในวันที่ 10 ก.ย.และจะตัดสินใจให้กู้แน่นอน

28 ส.ค.2534

คอสท.และกป.นอ.ยื่นหนังสือถึง รมต.มหาดไทยให้ตรวจสอบพฤติกรรมของนายสายสิทธิ์ พรแก้ว ที่ใช้อำนาจมิชอบ

คอสท. วางหรือประท้วงนายฟิลลิป แอนเนซ ที่แสดงท่าทางสนับสนุนเขื่อนอย่างออกหน้า

2 ก.ย.2534

คอสท.รณรงค์เผยแพร่ข้อมูลที่อนุสาวรีย์ชัยฯ และสถานีขนส่งหมอชิต

4 ก.ย.2534

คณะกรรมการประสานงานองค์กรสาธารณสุขพื้นฐาน(คปอส.) ได้จัดสัมมนา ‘เขื่อนกับปัญหาสาธารณสุข’ ที่ห้องประชุม รพ.สงฆ์ สรุปได้ว่าเขื่อนปากมูลการศึกษาผลกระทบทางด้านสาธารณสุขยังน้อย โอกาสเกิดโรคพยาธิใบไม้ในเลือดสูงและยังไม่มีการศึกษาปัญหาสาธารณสุขในด้านอื่นๆ มีข้อเสนอให้ระงับการก่อสร้าง และให้มีการศึกษาผลกระทบให้รอบคอบเสียก่อน

6 ก.ย.2534

นักศึกษา 69 องค์กรทั่วประเทศ ประชุมกรณีเขื่อนปากมูลมีมติร่วมกันให้รัฐบาลระงับการก่อสร้างเขื่อนปากมูล และให้ธนาคารโลก ยกเลิกการให้เงินกู้

7 ก.ย.2534

ตัวแทนชาวบ้านค้านเขื่อนปากมูลยื่นหนังสือถึง นายลิวอิสที่ เพรสติน ประธานธนาคาร โลกให้พิจารณาระงับเงินกู้ เพราะ กฟผ. ไม่มีการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง และในวันเดียวกันนักศึกษาจำนวน 22 คน อดข้าวประท้วงต่อคณะกรรมการบริหารธนาคารโลก ชาวบ้านประท้วงอยู่หน้าสำนักงานธนาคารโลกประเทศไทย 200 คน การประท้วงดำเนินไป 3 วัน

10-11 ก.ย.2534

คณะกรรมการบริหารธนาคารโลก ตัดสินใจเลื่อนการพิจารณาให้เงินกู้โครงการเขื่อนปากมูลออกไป จนกว่าการประชุมผู้ว่าการธนาคารโลก จะเสร็จสิ้น โดยจะเดินทางมาหาข้อมูลในพื้นที่และพบชาวบ้าน

12 ก.ย.2534

นักศึกษาและชาวบ้าน 200 คน ชุมนุมหน้าที่ทำการธนาคารโลก นักศึกษา 18 คน อดอาหารประท้วง

17 ก.ย.2534

ธนาคารโลกเลื่อนการพิจารณาการให้เงินกู้ออกไป

23 ก.ย.2534

- นายกอานันท์ ปันยารชุน ให้สัมภาษณ์ว่า เขื่อนปากมูลมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย ประชาชนส่วนน้อยเท่านั้นที่ไม่เข้าใจ

- นายไพจิตร เอื้อทวีกุล กล่าวว่าจะเตรียมข้อมูลเพื่อออกชี้แจงกับประชาชนทางโทรทัศน์

- คอสท.มอบไม้ปั่นหูให้กับนายกฯที่รับฟังข้อมูลของ กฟผ.ฝ่ายเดียว

-ธนาคารโลกให้เลื่อนการพิจารณาการให้เงินกู้ออกไปชั่วคราว โดยจะออกพื้นที่เพื่อสำรวจ

- ฝ่ายรัฐบาลไทยประกาศไม่รอเงินกู้จากธนาคารโลกและจะสร้างเขื่อนต่อไป

- ดร.สุรพล สุดารา กล่าวว่าการทำงานของคณะกรรมการ 4 ฝ่าย ยังไม่เสร็จสิ้น นายกฯอานันท์ ยังไม่ได้ข้อมูลที่แท้จริง

13 ต.ค.2534

คณะกรรมการ 4 ฝ่าย นำผลสรุปเสนอต่อ นายไพจิตร เอื้อทวีกุล ระบุมีพื้นที่น้ำท่วม 1,100 แปลง รวม 903 ครอบครัว เป็นที่อยู่อาศัย 248 ครอบครัว ที่ทำกิน 655 ครอบครัว รอบพื้นที่ 5,700 ไร่ ซึ่งรายงานเดิมของ กฟผ. ระบุเพียง 400 ครอบครัว นายไพจิตร ได้ตำหนิ กฟผ. ที่ไม่ยอมเปิดเผยข้อมูลตั้งแต่แรก กฟผ. แก้ตัวว่าตัวเลขที่เคยระบุไม่ได้รวมครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากที่ทำกินเข้าไปด้วย (ที่จริงแล้วคณะกรรมการ 4 ฝ่าย ยังไม่มีการสรุป ตัวเลขที่นำเสนอกล่าวอ้าง โดยนายสุพิณ ปัญญามาก)

กฟผ.ได้ประชาสัมพันธ์โครงการอย่างหนักทั้งทางวิทยุ โทรทัศน์ และโฆษณาในหนังสือพิมพ์ กล่าวว่า เขื่อนปากมูลเป็นเพียงฝาย

ผู้บริหารธนาคารโลก พบชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ เพื่อรับฟังข้อมูลและความคิดเห็น

มีการประชุมธนาคารโลกในกรุงเทพฯ ปัญหาเขื่อนปากมูลได้รับการพูดถึงกันมากที่สุด

กลุ่มกรีนพีช ออกแถลงการณ์โจมตี ธนาคารโลก ที่ให้เงินกู้แก่โครงการพัฒนาต่างๆ โดยไม่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะกรณีเขื่อนปากมูล ที่ไม่สนใจผลสรุปการวิจัยของยูเรดที่ระบุว่า ผลได้ไม่คุ้มการลงทุนและการสูญเสียสิ่งแวดล้อม

นายสุธี สิงห์เสน่ห์ รมต การคลัง กล่าวว่าธนาคารโลกน่าจะทำตามหลักการที่ตกลงกัน ไม่ควรไปสนใจกับเสียงคัดค้านจากองค์กรภายนอก

นายไพจิตร เอื้อทวีกุล ยืนยันว่าโครงการเขื่อนปากมูลจะไม่มีการล้มเลิกอย่างเด็ดขาด ถ้าไม่ได้เงินกู้จากธนาคารโลกก็สามารถจะหาได้จากที่อื่น

14-17 ต.ค.2534 

-ชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการเขื่อนปากมูล เข้าประชุมร่วมกับผู้แทนจากธนา คารโลก บางประเทศที่ห้องประชุมศูนย์สารนิเทศ จุฬาลงกรณืมหาวิทยาลัย มีการให้ข้อมูลและแลกเปลี่ยนความเห็นท่ามกลางผู้สื่อข่าวต่างประเทศจำนวนมากที่มาทำข่าวการประชุมธนาคารโลกในประเทศไทย

- ธนาคารโลกให้เลื่อนการพิจารณาการให้เงินกู้ออกไปชั่วคราว โดยจะออกพื้นที่เพื่อทำการสำรวจ ฝ่ายรัฐบาลไทยประกาศไม่รอเงินกู้จากธนาคารโลกและจะสร้างเขื่อนต่อไป

- นายอภิลาส โอสถานนท์ ปลัดสำนักนายกฯ และเจ้าหน้าที่ กฟผ. นำคณะผู้บริหารธนาคารโลกดูพื้นที่โครงการโดยการเข้าฟังการสรุป ที่เขื่อนสิรินธร มีสื่อมวลชนและตัวแทนชาวบ้านขอเข้าพบคณะผู้บริหารฯ แต่เจ้าหน้าที่ กฟผ.กีดกันไว้ได้ เมื่อขบวนเดินทางไปถึงแก่งตะนะมีชาวบ้าน 100 คน นกป้านสนับสนุนเขื่อน นำโดยนายเสวก บรรเทา กำนัน ต.บ้านชาติ และกล่าวโจมตีผู้คัดค้านว่าไม่ใช่คนในพื้นที่ ถูกจ้างมา นางกิมบุ่ง จอมคำสิงห์ ได้โต้กลับ มีการถกเถียงและนายเสวก ได้ตบนางกิมบุ่ง 2 ครั้ง ก่อนที่จะถูกแยกออกจากกัน ต่อจากนั้นคณะฯ ได้เดินทางไปดูการก่อสร้างที่หัวงานในขณะที่ผู้แทนจากอเมริกา แคนาดา และเยอรมัน แยกตัวออกมาเพื่อเดินทางไปพบชาวบ้านประมาณ 600 คน ที่แก่งสะพือ มีการบายศรีสู่ขวัญและชาวบ้านแสดงความคิดเห็นขอร้องธนาคารโลกยกเลิกเงินกู้ ในขณะที่ผู้แทนมีทีท่ารับฟังชาวบ้าน นายอภิลาส โอสถานนท์ ได้กล่าวหาว่าฝ่ายคัดค้าน คัดค้านอย่างหัวชนฝา ไม่มีประโยชน์ที่จะพูดคุยด้วย และกล่าวว่ากลุ่มกรีนพีช เป็นผู้ให้เงินมาประท้วง โดยระบุว่าให้คนละ 40 บาทต่อวัน ส่วนหัวหน้าจะได้ 400-600 บาท

18 ต.ค.2534 

ตัวแทนธนาคารโลกจาก 10 ประเทศ พื้นที่สำรวจข้อมูลและพบชาวบ้านตามที่ได้สัญญากับชาวบ้านไว้ เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2534 ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชาวบ้าน 1,000 คน ชุมนุมกันที่บริเวณแก่งสะพือ อ.พิบูลมังสาหาร ทำพิธีบายศรีสู่ขวัญต้อนรับตัวแทนจากธนาคารโลก และมอบของที่ระลึกโดยตัวแทนจากประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ให้คำสัญญาว่าจะไม่อนุมัติเงินกู้ให้กับโครงการเขื่อนปากมูลอย่างเด็ดขาด

25 ต.ค.2534

 นายไพจิตร เอื้อทวีกุล เข้าพบ รมต.การคลัง เพื่อเจรจาเตรียมหาแหล่งเงินกู้ใหม่

ธนาคารโลกอนุมัติเงินกู้ 22 ล้านดอลลาร์ ให้แก่โครงการเขื่อนปากมูล ตัวแทนอเมริกา แถลงคัดค้านโครงการฯที่ วอชิงตัน

10 ธ.ค.2534 

ที่ประชุมธนาคารโลกอนุมัติเงินกู้รัฐบาลไทยจำนวน 22 ล้านเหรียญหรือ 567 ล้านบาท ด้วยมติไม่เป็นเอกฉันท์ โดยมีประเทศใหญ่ๆ คือสหรัฐอเมริกา ,เยอรมันและออสเตรเลีย ได้โหวตไม่อนุมัติและประเทศอังกฤษงดออกเสียง

11 ธ.ค.2534 

คอทส. ประท้วงการให้เงินกู้ของธนาคารโลกโดยการเผาดอลลาร์ประท้วงที่หน้าสำนักงานในกรุงเทพฯ

12 ธ.ค.2534

 ตัวแทนชาวบ้านยื่นหนังสือประนามประเทศที่ลงมติให้เงินกู้แก่โครงการ และเรียกร้องให้ประเทศเหล่านั้นรับผิดชอบต่ออนาคตของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเขื่อนปากมูล

14 ธ.ค.2534 

ตัวแทน คอทส.เรียกร้องให้ไพจิตรชี้แจงกรณีเพิ่มงบประมาณก่อสร้างเขื่อนปากมูลจาก 3,880 ล้านบาท เป็น6,600 ล้านบาท

12 ม.ค.2535

 โครงการอนุรักษืลุ่มน้ำมูลร่วมกับNGO กลุ่มสิ่งแวดล้อม และนักวิชาการจัดสัมมนาวิพากษ์เขื่อนปากมูลครั้งใหญ่โดยเชิญนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญทางด้านประมงและชีววิทยา มาเปิดเผยผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและนิเวศน์วิทยา

14 มี.ค.2535

 ฝ่ายอนุรักษืแถลงว่าการสร้างเขื่อนปากมูลมีการระเบิดแก่งคันเห่วซึ่งเป็น 1 ใน 16 แก่ง ธรรมชาติในลุ่มน้ำมูล พร้อมทั้งหัวเขื่อนมีการค้นพบซิลาจารึก อายุเก่าแก่ราว 1,200-1,300 ปี นอกจากนี้ต้นทุนการก่อสร้างเพิ่มจาก 3,880 ล้านบาท เป็น 6,600 ล้านบาท นายศรีศักดิ์ วัลลิโภดม นักวิชาการโบราณคดี ม.ศิลปากร ระบุว่าบริเวณลำน้ำมูลยังไม่มีการศึกษาทางโบราณคดีอย่างจริงจังมาก่อน การสร้างเขื่อนอาจจะเป็นการทำลายแหล่งประวัติศาสตร์สำคัญของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

5-7 มี.ค.2535

 ตัวแทน คอทส. สื่อมวลชน โครงการอนุรักษ์ลุ่มน้ำมูล ลงพื้นที่เขื่อนปากมูลพบมีการระเบิดแก่งคันเห่ว ซึ่งอยู่ในอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะจริง วิศวกรโครงการเขื่อนปากมูลยอมรับว่ามีการระเบิดแก่งคันเห่ว เพื่อทำร่องระบายน้ำมาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2534 โดยให้เหตุผลว่าเป็นไปตามแผนที่ออกไว้แล้ว

เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะกล่าวว่าไม่ทราบมาก่อนว่าจะมีการระเบิดและกฟผ. ไม่ได้แจ้งว่าจะมีการระเบิดแก่ง บอกแต่เพียงว่าขอใช้พื้นที่อุทยานเพื่อทำประโยชน์ชั่วคราว

กลุ่มคัดค้านระบุว่า เป็นการผิดสัญญาของ กฟผ. ที่ยืนยันว่าการสร้างเขื่อนปากมูลจะไม่เกิดผลกระทบสิ่งแวดล้อม

12 มี.ค.2535

 นายไพโรจน์ สุวรรณกร อดีตอธิบดีกรมป่าไม้ยืนยันพื้นที่ระเบิดแก่งหินอยู่ในเขตอุทยานจริง ขณะที่นายไพจิตร เอื้อทวีกุล บอกยังไม่ได้รับรายงานและไม่ทราบเรื่องนี้มาก่อน ส่วน กฟผ. ยอมรับต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรกว่ามีการระเบิดแก่งหินจริง แต่เป็นแก่งหินใต้น้ำ ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแหล่งโบราณ

13 มี.ค.2535

 นายแก้วสรร อติโพธิ์ นักกฎหมาย มธ.ระบุ ระเบิดแก่งในอุทยานผิดกฎหมายอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 ตามมาตรา 16 และ 22 ชาวบ้านผู้เสียหายสามารถฟ้อง กฟผ. กับ รมต.เกษตรผู้รับผิดชอบได้ และแนะให้ชาวบ้านฟ้องศาลใช้มาตรการชั่วคราวเพื่อบังคับให้ กฟผ. ระงับการทำลายชั่วคราวเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริง

16 มี.ค.2535

 ตัวแทนชาวบ้านปากมูล และ คอทส. 200 คน รวมตัวชุมนุมที่หน้าทำเนียบรัฐบาลเรียกร้องให้ นายไพจิตร เอื้อทวีกุล รมต.ประจำสำนักนายกฯ ผู้รับผิดชอบโครงการเขื่อนปากมูล ชี้แจงกรณีระเบิดแก่งในเขตอุทยานฯ และเรียกร้องให้นำปัญหาเข้า ครม. เพื่อสังให้ยุติการระเบิดแก่งทันที ทางด้าน กฟผ.ส่งเจ้าหน้าที่เข้าชี้แจงข้อมูลต่อนายไพจิตร โดยยืนยันว่ากระทำถูกต้องตามกฎหมายทุกอย่าง ในขณะที่นักศึกษาและชาวบ้านเริ่มทำการอดข้าวประ ท้วงการระเบิดแก่งแล้ว รมว.เกษตรกล่าวว่าถ้า กฟผ. ละเมิดกม.จริง จะต้องมีการพิจารณาใน ครม. เพราะเป็นหน่วยงานรัฐ

17 มี.ค.2535

 การประชุม ครม. นัดสุดท้ายของรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน ในวันเดียวกัน กฟผ. จัดแถลงข่าวร่วมกับ กรมป่าไม้ กรมศิลปากร และสำนักงานสิ่งแวดล้อมแห่งชาติในประเด็นการลงทุนเพิ่มขึ้น โบราณคดี การระเบิดแก่งและผลต่อพันธุ์ปลา

ผู้อำนวยการกองอุทยานแห่งชาติตัวแทนกรมป่าไม้ยืนยันว่า การระเบิดแหก่งเป็นการปรับปรุงให้พื้นที่อุทยานดีขึ้น ซึ่งทำได้ตามกฏหมาย และไม่เป็นอันตรายต่อพันธุ์ปลาในบริเวณนั้นแต่อย่างใด

ผู้อำนวยการกองโบราณคดี ตัวแทนกรมศิลปากรกล่าวว่าการสร้างเขื่อนกระทบโบราณสถาน 1 แห่ง ที่เพิ่งค้นพบเท่านั้น

หน้าทำเนียบฯ ผู้อดข้าวประท้วงเพิ่มจำนวนเป็น 26 คน และมีนักวิชาการลงชื่อคัดค้านการระเบิดแก่ง 24 คน

ที่ประชุม ครม. นัดสุดท้าย เลิกเวลาประมาณ 21.00 น. ไม่มีการพูดถึงกรณีเขื่อนปากมูล

18 มี.ค.2535 

ตัวแทนชาวบ้านเข้าพบตัวแทนกรมป่าไม้ เพื่อชี้แจงปัญหาการระเบิดแก่ง แต่ไม่สามารถให้ความกระจ่างแก่ชาวบ้านได้ รองอธิบดีกรมป่าไม้ปิดการประชุม โดยไม่ฟังเสียงชาวบ้าน ชาวบ้าน 200 คน ชุมนุมอยู่หน้ากรมป่าไม้ 4 ชั่วโมง โดยมีประชาชนที่ผ่านไปมาบริจาคอาหารและน้ำแสดงความเห็นใจ

หลังจากนั้นชาวบ้าน 200 คน ได้เคลื่อนขบวนไปที่กระทรวงยุติธรรมเพื่อสักการะพระบรมรูปกรมหลวงราชบุรีดำรงฤทธิ์ บิดาวงการกฎหมายไทย และกล่าวคำปฏิญาณว่า เมื่อตัวแทนรัฐและกฎหมายไม่สามารถเป็นที่พึ่งของประชาชนได้จะกลับไปต่อสู้เพื่อรักษาแม่น้ำมูลไว้ด้วยสองมือของชาวบ้านเอง จะไม่กลับมากรุงเทพฯ อีก แล้วเดินทางกลับอุบล ราชธานี

29 เม.ย.2535

 ชาวบ้านจำนวน 200 คน ได้เดินเท้าไปยังหัวงานสร้างเขื่อน เพื่อเรียกร้องให้ กฟผ.ยุติการระเบิดแก่งคันเห่ว ในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ เพราะทำให้ปลาจากแม่น้ำโขงไม่ขันมายังลำน้ำมูล จนปลาลดปริมาณลงอย่างมาก แต่ได้รับการชี้แจงจากนายประสิทธิ์ ศรีแสงเชื้อ หัวหน้าการก่อสร้างเขื่อนปากมูล ชี้แจงว่าต้องระเบิดแก่งต่อไปตามนโยบายรัฐบาล หากน้ำท่วมที่ดินชาวบ้านสูงกว่า 108 เมตร กฟผ. จะจ่ายค่าชดเชยให้ หลังจากนั้นชาวบ้านได้ไปที่ สภอ.โขงเจียม เข้าแจ้งความกับตำรวจให้ดำเนินคดีกับ กฟผ. ในข้อหา ลักลอบทำลายแก่งคันเห่ว ในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ

13-14 ส.ค.2535

 ชาวบ้านจำนวนประมาณ 1,000 คน จาก 5 อำเภอ ในจ.อุบลฯ คือโขงเจียม สิรินธร พิบูลฯ ตาลสุม กิ่งอ.คอนมดแดง และชาวบ้านในเขตเทศบาลพิบูลมังสาหาร ได้รวมตัวกันที่เชิงสะพาน

27 ก.พ.2536

 09.00 น. ชาวบ้านจำนวนประมาณ 100 คน เริ่มชุมนุม ที่บริเวณตลาดอำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี และเดินรณรงค์เรียกร้องให้มีการทำสัญญาประกัน ผลกระทบที่จะเกิดจากเขื่อนปากมูลผ่านหมู่บ้านต่างๆ ริมฝั่งซ้ายของแม่น้ำมูลลงไปตามลำน้ำ โดยนอนพักในหมู่บ้านทรายมูล

28 ก.พ.2536

 10.00 น. ชาวบ้านเดินทางจากบ้านทรายมูล และแจกแถลงการณ์ เรียกร้องให้ทำสัญญาประชาคม จนถึงบ้านวังสะแบงใต้ จำนวนชาวบ้านเพิ่มขึ้นเป็น 200 คน

11.30 น. ได้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธร และเจ้าหน้าที่อาสาสมัครจังหวัดอุบลฯ(อส.) จำนวน 30 นายได้นำรถยนต์มาขวางกั้นถนนบนถนนสายพิบูล-โขงเจียม ชาวบ้านได้พักค้างคืนที่บ้านวังสะแบงใต้

1 มี.ค.2536

 08.30 น. ชาวบ้านเพิ่มเป็น 300-400 คน เดินทางถึงบ้านหัวเห่วประมาณ 15.00 น. และได้พักที่บ้านหัวเห่วบริเวณที่ติดกับหัวงานเขื่อนปากมูล

2 มี.ค.2536

11.30 น. ชาวบ้านประมาณ 500 คน เดินเท้าเข้าบริเวณหัวงานเขื่อนปากมูล มีเจ้าหน้าที่ตำรวจและ อส.ประมาณ 100 คน สกัดกั้น แต่ไม่สามารถสกัดกั้นชาวบ้านได้ ในขณะเดียวกันก็เกิดการชุลมุน ได้มีเจ้าหน้าที่จากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) เข้าทำร้ายร่างกายชาวบ้าน

14.00 น. ชาวบ้านได้เข้าไปที่สะพานข้ามเชื่อมหัวงานเขื่อน และยึดสะพานเป็นที่พักและชุมนุม

กทม.นักศึกษาคอทส. เข้ายื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้รัฐบาลเปิดเวทีไต่สวนสาธารณะ

3 มี.ค.2536

 มีการตั้งด่านของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และ อส. 3 จุด คือ บ้านวังสะแบงใต้ ปากทางเข้าบ้านหัวเห่ว และทางเข้าหัวงานเขื่อน เพื่อสกัดชาวบ้านไม่ให้ร่วมชุมนุม

- นักศึกษาคอทส. ชุมนุมที่หน้าทำเนียบทวงคำตอบจากรัฐบาลชวน

4 มี.ค.2536

 - นักศึกษา สนนท. โดย น.ส.กรุณา บัวคำศรี รองเลขาธิการฯแถลงเรียกร้องให้รัฐบาลและนายชวนหันมาสนใจปัญหาประชาชนไม่ใช่ไปวุ่นอยู่กับแต่เรื่องหุ้นขึ้น หุ้นตก และแสดงความเป็นห่วงเรื่องความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้น และเรียกร้องให้รัฐบาลให้หลักประกันว่าจะไม่ใช่ความรุนแรงกับชาวบ้าน

มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าฯ โดยนายสุรพล ดวงแข ,โครงการฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ โดยนายศรีสุวรรณ ควรขจร แถลงข่าวเปิดโปงข้อบกพร่องของเขื่อนปากมูล โดยเฉพาะการศึกษาผลกระทบ(EIA) ของเขื่อนปากมูลนี้ยังถือว่ามีข้อบกพร่องมาก

- 10.30 น. ชาวบ้านกลุ่มสนับสนุนเขื่อน เดินทางมายังจุดที่ชาวบ้านชุมนุมเกิดการโต้เถียงประมาณ 1 ชั่วโมง ชาวบ้านกลุ่มสนับสนุนจึงเดินทางกลับ

- 15.00 น. ชาวบ้านเคลื่อนจากหัวสะพานตะวันตก ไปทางฝั่งตะวันออก มีเจ้าหน้าที่ตำรวจ ตำรวจตระเวนชายแดน 22 (ตชด.22) และ อส.ประมาณ 200 นาย พร้อมสุนัขตำรวจ 5 ตัว เข้าตรึงไว้บริเวณหัวงานฝั่งขวา ได้มีเจ้าหน้าที่ กฟผ. นำท่อซีเมนต์เข้าขวางไว้ด้วย ชาวบ้านได้ตกลงพักค้างคืนที่หัวสะพาน

- 20.00 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจยศ พ.ต.ท. ได้ตบหน้าคนขับรถที่ถูกว่าจ้างให้มาส่งนักข่าวจาก อ.พิบูลฯ

- ตั้งแต่ประมาณ 10.00 น. เจ้าหน้าที่ กฟผ. นำรถติดเครื่องขยายเสียง 2 คัน เปิดเพลงรบกวนการอภิปรายของผู้ชุมนุมทั้งวัน

5 มี.ค.2536 

- นักศึกษาชุมนุมต่อที่หน้าทำเนียบเรียกร้องให้นากฯชวน และ รมต.สาวิตต์รับผิดชอบกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น

- นายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่าจะไม่ให้ใช้ความรุนแรง

- 13.00 น. สื่อมวลชนรายงานว่า ผู้ว่าการ กฟผ. ได้เดินทางไปถึงที่ทำการของ กฟผ. และร่วมประชุมกับผู้ว่า.อุบลฯ ว่า เพื่อสลายการชุมนุม

- 14.00 น. ได้มีเฮลิคอปเตอร์ 1 ลำ มีตรา บช.ภ. 2 บินวนเหนือที่ชุมนุม1 รอบ และพยุงตัวต่ำเหนือสะพานที่ชุมนุมประมาณ 10 นาที

-18.00 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภอ.โขงเจียม แจ้งสื่อมวลชนว่าจะมีการใช้กำลังสลายการชุมนุม ภายในค่ำนั้นมีการนำชาวบ้าน 2 คน และเด็ก 1 คน ที่ต้องการเข้าร่วมชุมนุมไปกักตัวไว้ที่ สภอ.โขงเจียม

-19.00 น. มีการปล่อยข่าวว่าชาวบ้านที่ชุมนุมจับ ตชด. จำนวน 5 คน เป็นตัวประกัน

 กทม.นักศึกษาเผาหุ่นนายชวนและ รมต.สาวิตต์

 มี.ค.2536 

01.00 น.พล.ต.ต.แหลมทอง ญาณอุบล ผช.ผบช.ภ.2และพ.ต.อ.เสริมศักดิ์ แก้วกันทา

รองผบก.ภ.5 อุบลฯ ได้เข้าบริเวณที่ชุมนุมเพื่อขอรับข้อเสนอของชาวบ้าน เพื่อไปนำเสนอให้นายประสิทธิ์ดำรงชัย ผู้ตรวจสำนักนายก และกลับมาแจ้งผู้ชุมนุมว่าไม่มีอำนาจการตัดสินใจ

07.30 น. นางแก้ว เชื่องดี ถูก สวญ.สภอ.โขงเจียม ตีผลักตกแม่น้ำมูลและกันไม่ให้ขึ้นฝั่ง

สื่อมวลชนรายงานว่า 09.00 น. ผวก.กฟผ. ผวจ.อุบลฯ ผช.ผบช.ภ.2 และนายอำเภอโขงเจียม ได้ประชุมหารือแก้ปัญหาสลายการชุมนุด้วยวิธีสันติ

 ตอนเช้า นายสุทัศน์ เงินหมื่น รมช.มหาดไทย ได้เดินทางไปยังขอนแก่น มีรายงานว่ามีการประชุมลับที่โรงแรมใหญ่แห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น

 14.20 น. ผวจ.อุบลฯ ได้เข้าไปในชุมนุมทักทายชาวบ้านเล็กน้อย แล้วเดินทางออกไปยังที่ทำการเขื่อน แต่หนังสือพิมพ์มติชน ระบุว่า ผวจ. ได้ไปเจรจากับชาวบ้านแต่การเจรจาไม่เป็นผล จึงเดินทางกลับ

 18.00 นง นายสุทัศน์ เงินหมื่น สส.อิสระ สมชัย ได้เดินทางโดยเฮลิคอปเตอร์ไปถึงที่เขื่อนสิรินธร

 18.30 น. คณะของนายสุทัศน์ พร้อมกับผวจ. อุบลฯ ผวก กฟผ. และหัวหน้าตำรวจอุบลฯ ได้เดินทางไปยังที่ชุมนุม นายสุทัศน์ ได้กล่าวกับชาวบ้านว่ามาเยี่ยมเพราะเป็นห่วงในฐานะ สส.อุบลฯ ชาวบ้านได้ขอร้องให้นายสุทัศน์ประสานกับ รมต.สาวิตต์ โพธิวิหค และได้รอรับฟังคำตอบอยู่ที่ชุมนุม ซึ่งนายสุทัศน์ ตอบตกลง ชาวบ้านที่ชุมนุมได้ขอร้องไม่ให้ปิดเสบียงอาหาร ปิดกั้นการชุมนุม และขอไม่ให้ใช้ความรุนแรง การพูดคุยใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ชาวบ้านมีความเชื่อมั่นว่าจะไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้น

 10.00น. ชาวบ้านบ้านหนองชาต ต.คำเขื่อนแก้ว อ.สิรินธร นำโดยอดีตกำนันเสวก บรรเทา ได้นำชาวบ้านจำนวนประมาณ 150 คน หลายคนมีสภาพมึนเมาเดินทางมาทางฝั่ง อ.สิรินธร มายังที่ที่ทำการของ กฟผ. และเป็นบริเวณกองบัญชาการชั่วคราวของส่วนราชการ ขณะนั้นมีเจ้าหน้าที่ตำรวจประมาณ 300 นาย ทาง สวญสภอ.สิรินธรได้เข้ามาแจ้งแก่ที่ชุมนุมว่าชาวบ้านกลุ่มนี้อยู่ในสภาพมึนเมาประมาณ 30 คน

 12.00 น.กลุ่มอดีตกำนันเสวก เดินทางออกไปจากหัวงานเขื่อน 

13.00 น. ชาวบ้านประมาณ 30 คน พร้อมเสบียงอาหาร 2 คันรถได้เดินทางออกจาก อ.พิบูลฯ ไปยังที่ชุมนุม แต่เดินทางไปถึงเชิงสะพานข้ามแม่น้ำมูลฝั่งขวาห่างจากอ.พิบูลฯ ประมาณ 1 กิโลเมตรก็ถูกสกัด สวญ.สภอ. พิบูลฯ ได้ขอร้องว่าอาจจะเกิดอันตรายกับกลุ่มกำนันเสวก ขอให้งดการเดินทางแต่มีการต่อรองขอไปเพียง 13 คน สวญ.สภอ.พิบูลฯ จึงติดต่อไปที่หัวหน้าตำรวจอุบลฯ เพื่อขออนุญาตใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง จึงเดินทางไปได้ตามที่ร้องขอ การเดินทางยังถูกตรวจค้น ทั้งด่านที่บ้านวังสะแบงใต้ และด่านปากทางเข้าหมู่บ้านหัวเห่ว ใช้เวลาด่านละครึ่งชั่วโมง

18.00 น. ชาวบ้านกลุ่มกำนันเสวก จำนวนประมาณ 100 คน ได้ปรากฏตัวที่บริเวณที่ทำการของกฟผ. ฝั่ง อ.สิรินธรห่างจากหัวสะพานที่ชาวบ้านกลุ่มชุมนุมๆอยู่ ประมาณ 300 เมตร ได้มีเสียงโห่ร้องและได้บุกเข้ามาเรื่อยๆ มีกำลังเจ้าหน้าที่ประมาณ 200-300 คน สกัดกั้น สวญ.สภอ.สิรินธร ได้เข้าแจ้งต่อฝ่ายชุมนุมว่าไม่ต้องเป็นห่วง กำลังตำรวจจะไม่ยอมให้กลุ่มกำนันเสวกเข้ามาเป็นอันขาด

 21.00 น. ชาวบ้านกลุ่มกำนันเสวกบุกประชิดเข้ามาห่างจากหัวสะพาน 50 เมตร และเรียกร้องให้ชาวบ้านที่ชุมนุมออกไปจากสะพาน เจาหน้าที่ตำรวจจึงได้เปิดให้มีการเจรจากันระหว่างชาวบ้าน ตัวแทนชาวบ้าน ฝ่ายละ 3 คน เข้าเจรจาระหว่างกลางทั้งสองกลุ่มขณะนั้นระหว่างชาวบ้านทั้งสองกลุ่มมีเจ้าหน้าที่ประมาณ 200 – 300 นาย การเจรจามีข้อสรุปว่าให้กลุ่มผู้ชุมนุมออกจากสะพานก่อน 06.00 น. ของวันที่ 7 ในขณะที่เจรจากลุ่มกำนันเสวกก็ได้บุกประชิดเข้ามาห่างจากที่ชุมนุม 30 เมตร เมื่อตัวแทนกำนันเสวกกลับไปชี้แจงก็ไม่ได้รับการยอมรับจากกลุ่ม และได้เริ่มมีการยิงหนังสะติ๊ก ขว้างปาก้อนหินเข้าผู้ชุมนุมที่อยู่บนสะพาน หลังจากนั้น สวญ.สภอ.สิรินธร และหัวหน้าตำรวจอุบลฯได้มาแจ้งกับผู้ชุมนุมว่า ไม่สามารถสะกัดกั้นกลุ่มนายเสวกได้แล้วและขอให้กลุ่มผู้ชุมนุมถอยออกจากสะพานไปโดยทันทีขณะนั้นมีกำลังตำรวจประมาณ 50 นาย เข้ารื้อเต้นท์ของผู้ชุมนุม

 22.30 น. ได้มีการแจ้งจากฝ่ายชุมนุมถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ต่อนายสุทัศน์ เงินหมื่น ที่บ้านพักในจังหวัดอุบลฯ ของนายสุทัศน์

 23.00 น. กลุ่มผู้ชุมนุมที่ส่วนใหญ่เป็นคนแก่ ได้ถอยออกจากสะพานมุ่งหน้าสู่บ้านหัวเห่ว ส่วนทางด้านหัวสะพานฝั่ง อ.สิรินธร กลุ่มนายเสวก ก็ได้บุกเข้ามาพร้อมกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ ตชด.22 และ อส.นับร้อยนาย ได้บุกเข้าตีกลุ่มเยาวชนที่เป็นการ์ดป้องกันด้วยกระบอง และทำลายอุปกรณ์ประกอบอาหารต่างๆ และเสบัยงอาหารแห้งของผู้ชุมนุมขณะนั้นมีการฉายดวงไฟแรงสูงเข้าใส่ผู้ชุมนุม กลุ่มผู้ชุมนุมได้ถอยกลับบ้านหัวเห่ว เมื่อ

 เวลา 24.00 น. สถานีโทรทัศน์ช่อง 7 รายงานข่าวด่วนโดยไม่มีภาพว่า มีการสลายการชุมนุม เนื่องจากกลุ่มผู้ชุมนุมได้บุกเข้าจะยึดคลังแสง

 บนสะพาน กำลัง ตชด.22 เข้าตรึงพื้นที่ในขณะที่เจ้าหน้าที่ กฟผ. เข้าเก็บเศษหินและสิ่งที่ตกค้างบนสะพานทางกลุ่มนายเสวกได้นำเหล้ามาดื่มฉบลองที่ริมหัวงาน ฝั่ง อ.สิรินธร นายเสวกได้กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่าจะฆ่านักศึกษาทุกคน

 ทางด้านบ้านหัวเห่วทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ปิดล้อมหมู่บ้าน พร้อมทั้งนำรถดับเพลิง 4 คัน ถอยประชิดหมู่บ้านพร้อมทั้งส่องไฟแรงสูงเข้าไปเจ้าหน้าที่ตำรวจยังคงระดมขว้างปาก้อนหินและยิงหนังสะติ๊กเข้าไปในหมู่บ้านโดยมี สวญ.สภอ.โขงเจียม ซุ่มตะโกนขู่ชาวบ้านตลอดเวลา

 องค์กรพัฒนาเอกชน 215 องค์กรแถลงข่าวประนามรัฐบาลที่ปล่อยให้มีการสลายการชุมนุมด้วยความรุนแรงที่หอประชุมสารนิเทศจุฬาฯ

 กำลังเจ้าหน้าที่หลายร้อยคนพร้อมอาวุธสงครามได้เข้าตรึงพื้นที่สะพานและหัวงานเขื่อน

 7 มี.ค.2536

 01.00 น. เจ้าหน้าที่นำโดย ร.ต.ท.สยุมภู ได้ควบคุมตัวนายประสิทธิพร กาฬอ่อนศรี ที่ฝั่ง อ.โขงเจียม ไปสอบสวนที่สำนักงานของ กฟผ. ฝั่งอ.สิรินธร จนถึงเช้าจึงปล่อยตัวโดยไม่ได้ตั้งข้อหาใดๆ เมื่อนายประสิทธิพรกลับออกมาได้แจ้งให้ สวส.สภอ. โขงเจียมตามหารถจักรยานยนต์ที่ถูกยึดไปพร้อมกันตอนถูกควบคุมตัวจนได้พบรถที่ถูกยึดมาจอดอยู่ที่โรงผสมปูน บริเวณหัวงานเขื่อน ฝั่ง อ.โขงเจียม เมื่อนายประสิทธิพรและเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ได้นำพามาได้ตรวจค้นย่ามที่แขวนอยู่บนคันเร่งได้พบว่ามีกล้องถ่ายรูป 2 ตัวและวิทยุเทปอีก 1 เครื่อง หายไป นายประสิทธิพรจึงได้กลับเข้าไปแจ้งความไว้ที่ สภอ.โขงเจียม ในเวลา 09.30 น. โดยมี ร.ต.ท.คมสันต์ จรัสศรี เป็นผู้รับแจ้งความ

02.30 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ควบคุมตัวชาวบ้าน 2 คน พร้อมรถกระบะ 2 คัน มาสอบปากคำที่สำนักงานของ กฟผ. ที่ฝั่ง อ.สิรินธร โดยไม่ได้ตั้งข้อหาส่วนรถที่ถูกยึดนำไปไว้ที่ สภอ.โขงเจียม

09.00 น. ได้มีการโทรศัพท์ไปยังนายสุทัศน์ เงินหมื่น เพื่อรายงานสิ่งที่เกิดขึ้น แต่พบว่านายสุทัศน์ ได้แถลงข่าวโทรทัศน์ช่อง 3 โดยมี ผวจ.อุบลฯอยู่ด้วย

12.00 น. ผวจ.อุบลฯ พร้อมทั้งนายภิญโญ ทุมมานนท์ ได้แถลงข่าวที่ที่ทำการของกฟผ. บริเวณหัวงานเขื่อน ยืนยันว่าชาวบ้านปะทะกัน ฝ่ายผู้ชุมนุมมีการจับคนแก่มัดเอาเสื่อคลุมไม่ให้หนื มีการเตรียมน้ำมันราด เพื่อจุดไฟเผาสะพานและกล่าวว่าเป็นพฤติกรรมที่โหดร้ายเช่นเดียวกับในสงคราม

12.00 น. นักศึกษาจากคณะกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อม 16 สถาบัน และสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ได้ชุมนุมที่หน้าทำเนียบรัฐบาลเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาล ให้หลักประกันแก่ชาวบ้านและเปิดเวทีไต่สวนสาธารณะในประเด็นเรื่องการระเบิดแก่ง เรื่องพันธุ์ปลา เรื่องเงินทุนที่เพิ่มขึ้น พร้อมกันนี้ทาง สนนท.ได้ประนามการใช้ความรุนแรงในการสลายการชุมนุม มีนักศึกษาประมาณ 100 คน และจะรอฟังคำตอบที่หน้าทำเนียบจนกว่าจะได้คำตอบ

8 มี.ค.2536 

9.00 น. นักศึกษาจากคณะกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสภาพแวดล้อม 16 สถาบัน และสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ยังคงชุมนุมอยู่หน้าทำเนียบเพื่อรอคำตอบตามข้อเรียกร้อง

10.00 น. ได้มีการประชุมร่วมนักศึกษาทั่วประเทศ ทั้งหมด 77 องค์กร เพื่อแสดงประชามติเรื่องเขื่อนปากมูล โดยมีข้อสรุปว่า รัฐบาลจะต้องทำตามข้อเรียกร้องของชาวบ้าน และเปิดเวทีไต่สวนสาธารณะเรื่องเขื่อนปากมูลและขอประนามการใช้ความรุนแรง ในการสลายการชุมนุม และเรียกร้องให้มีการนำตัวตำรวจที่ใช้ความรุนแรงมาดำเนินคดี ทั้งนี้ได้มีการยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรีด้วย

9 มี.ค.2536

 9.00 น. นักศึกษาได้ทำการชุมนุมต่ออีกเป็นวันที่ 3 โดยมีชาวบ้านจากเขื่อนปากมูลประมาณ 100 คน ขึ้นมาร่วมชุมนุมและยื่นข้อเรียกร้องให้รัฐบาลให้หลักประกันแก่ชาวบ้าน และตั้งอนุญาโตตุลาการ เพื่อแก้ไขข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้นโดยมีเลขาส่วนตัวนายกมารับข้อเสนอแต่ไม่สามารถตกลงกันได้

10.00 น. ได้มีการเปิดเวทีให้ข้อมูลแก่ประชาชนที่หน้าทำเนียบ และแจกแถลงการณ์ชี้แจงปัญหาที่เกิดขึ้น

16.00 น.ชาวบ้านได้ยื่นหนังสืออีกครั้ง เพื่อยืนยันข้อเรียกร้องอีกครั้งแก่เจ้าหน้าที่รับเรื่องราวร้องทุกข์

10 มี.ค.2536 

ไม่มีการเจรจา

11 มี.ค.2536

 มีการเจรจาแต่ยังไม่ได้ข้อสรุป

12 มี.ค.2536

 13.00 น. มีการเปิดเวทีเรื่องเขื่อนปากมูลที่ห้องประชุม อบจ.1 โดยมีตัวแทนชาวบ้านได้แสดงความคิดเห็นถึงความรู้สึกที่ผ่านมา และมีตัวแทนชาวบ้านจากเขื่อนเชี่ยวหลาน แก่งกรุง สลัม มารับฟังและให้กำลังใจ

16.00 น. มีพิธีบายศรีสู่ขวัญเพื่อให้กำลังใจกับชาวบ้านในการต่อสู้ต่อไป

13 มี.ค.2536

13.00น.นักศึกษาจากคอทส.ได้ทำการรณรงค์เรื่องเขื่อนปากมูลที่บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิและหน้ามาบุญครอง เพื่อให้ข้อมูลและข้อเท็จจริงเรื่องเขื่อนปากมูลและยืนยันข้อเรียกร้อง

ชาวบ้านและนักศึกษาชุมนุมต่อที่หน้าทำเนียบเพื่อเรียกร้องหลักประกันตามข้อเสนอของชาวบ้าน 6 ข้อ

13.00 น. ตัวแทนชาวบ้าน นักศึกษา องค์กรพัฒนาเอกชน 11 คน เข้าเจรจากับผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิต โดยมี สส. อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ(โฆษกคณะรัฐมนตรีเป็นผู้แทนจากรัฐบาลร่วมเจรจา) การประชุมไม่สามารถหาข้อยุติลงได้

14 มี.ค.2536

 การชุมนุมยังคงดำเนินต่อไป มีการขุดคุ้ยเรื่องรัฐมนตรีสาวิตต์ โพธิวิหค มีผลประโยชน์ร่วมกับบริษัทที่ขายเทคโนโลยีให้กับการไฟฟ้า

15 มี.ค.2536 

17.00 น.มีการเปิดเจรจาแต่ไม่มีข้อยุติ

16 มี.ค.2536 

การชุมนุมยังดำเนินต่อไป

17.00 น. มีการเปิดเจรจาแต่ไม่มีข้อยุติ

17 มี.ค.2536

 การชุมนุมยังดำเนินต่อไป

18 มี.ค.2536

 13.00 น.มีการเปิดการเจรจาโดยมีนายอาคม เอ่งฉ้วน (รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง) ผู้แทนรัฐบาลเข้าร่วมเจรจา

การเจรจาสามารถตกลงกันได้ เมื่อเวลา 23.00 น. โดยนายอาคม เอ่งฉ้วน ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจไว้เป็นหลักฐานข้อตกลงโดยสรุปมีดังนี้

1.ให้ กฟผ.ทำหนังสือข้อตกลง 5 ข้อ ดังนี้

ข้อ1.กฟผ.จะดำเนินการจัดทำแผนที่และประกาศเขตบริเวณที่น้ำท่วมถึง ระดับ 108 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลางในเขตโครงการ ให้แก่สาธารณชนและผู้เสียหายได้รับทราบอย่างชัดเจนภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้ตกลงกัน

ข้อ2. กฟผ. จะดำเนินการชดใช้ค่าเสียหาย ค่าที่ดิน และค่ารื้อถอนในที่ดินที่ผู้เสียหายครอบครองและทำประโยชน์ตามความเป็นจริงรวมทั้งค่าเสียหายในสิ่งปลูกสร้าง ต้นไม้หรือทรัพย์สินอย่างอื่นอันถูกน้ำท่วมตามประกาศในข้อ 1 ให้แก่ผู้เสียหาย โดยชดใช้ราคาตามท้องตลาดและอย่างเป็นธรรม

ข้อ3. กฟผ.จะดำเนินการ

3.1สำหรับราษฎรที่มีภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านหัวเห่วก่อนการก่อสร้างที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนปากมูลที่ต้องการที่อยู่อาศัยใหม่ กฟผ.จะดำเนินการตามข้อ 2 เฉพาะที่อยู่อาศัยและเป็นไปตามความสมัครใจแต่ละราย

3.2 กฟผ. จะดำเนินการจัดสร้างบ้าน จัดสรรที่ดิน ที่อยู่อาศัย และที่ทำนา หรือที่ทำกินให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบโดยที่นาหรือที่ทำกิน ต้องมีความเหมาะสม มีแหล่งน้ำสาธารณูปโภคและอยู่ใกล้เคียงกับที่อยู่อาศัยเดิมในกรณีที่ กฟผ. ไม่สามารถจัดหาที่ดินให้ได้ กฟผ.ยินดีให้ผู้ได้รับผลกระทบไปหาที่ดินที่มีสภาพใกล้เคียงกับที่เดิมเพื่อการปลูกสร้างที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน โดย กฟผ.จะเป็นผู้จ่ายเงินให้ ตามจำนวนเนื้อที่ที่ได้รับผลกระทบจริงแต่ไม่เกิน 10 ไร่ ตามราคาท้องตลาดหรือราคาประเมินตามความเหมาะสม

ส่วนกรณีที่ดินที่ได้รับผลกระทบไม่เต็มแปลงและที่ดินส่วนที่เหลือใช้ประโยชน์ไม่ได้ กฟผ.จะรับซื้อที่ดินดังกล่าว ตามหลักเกณฑ์ของ พรบ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์

ข้อ 4. กฟผ.จะดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วยตัวแทนชาวบ้าน นักวิชาการที่ชาวบ้านเสนอ ผู้แทนจากกรมประมง และตัวแทนจาก กฟผ. เพื่อศึกษาและสำรวจผลกระทบจากอาชีพประมง ในระหว่างก่อสร้าง ในบริเวณโครงการ(ตั้งแต่แก่งตะนะถึงแก่งสะพือ) และกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการช่วยเหลือและชดใช้ผู้ได้รับผลกระทบตามความเหมาะสม และให้รายงานการศึกษาผลกระทบต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

 ข้อ 5. ถ้าปรากฏว่ามีโรคพยาธิในเลือดเกิดขึ้น อันเนื่องมาจากการก่อสร้างเขื่อนปากมูล กฟผ.จะรับผิดชอบในค่ารักษาพยาบาลให้แก่ผู้เสียหายทุกคน ตลอดจนค่าใชช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาทางด้านสาธารณสุข

 2.ให้สำนักนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามผลกระทบโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนปากมูล ขึ้นมา 1 คณะ โดยมีองค์ประกอบดังนี้

ผู้แทนการไฟฟ้าฯ 3 คน

นักวิชาการที่การไฟฟ้าเสนอ 1 คน

ผู้แทนชาวบ้าน 3 คน

นักวิชาการที่ชาวบ้านเสนอ 1 คน

กรรมการทั้ง 8 คนคัดเลือกประธานจากบุคคลภายนอก ที่มีความเป็นกลางมาเป็นประธาน 1 คน

19 มี.ค.2536

คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมรัฐสภา จัดสัมมนาเรื่องโครงการเขื่อนปากมูลกับผลกระ ทบด้านสิ่งแวดล้อม ที่ห้องประชุม อาคารB รัฐสภา ผลการประชุมไม่สามารถหาข้อสรุปที่ชัดเจนได้

25 มี.ค.2536

14.00 น. มีการประชุมร่วม 3 ฝ่าย (ครั้งที่ 1) โดยมีนายอาคม เอ่งฉ้วน เป็นประธานชั่วคราวในที่ประชุม ไม่สามารถตกลงกันในเรื่องผู้ที่จะมาเป็นประธานได้

 30 มี.ค.2536

13.00 น. มีการประชุมร่วม 3 ฝ่าย(ครั้งที่ 2) โดยมีนายอาคม เอ่งฉ้วนเป็นประธานชั่วคราวในที่ประชุม มีแนวโน้มว่าจะได้นายแพทย์ชูชัย ศุภวงศ์(เลขาธิการแพทย์สภา) โดยนายอาคมได้ประสานกับนายสมบูรณ์ มณีนาวา เป็นที่เรียบร้อยแล้วแต่ผู้แทนการไฟฟ้าติดขัดเรื่องความชอบธรรมของผู้แทนชาวบ้าน จึงได้ตกลงกันในที่ประชุมว่าให้ผู้แทนชาวบ้านหารายชื่อ ที่อยู่ และรายเซ็นชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบเซ็นต์รับรองความชอบธรรมมาที่ประชุมจึงจะดำเนินการต่อให้

6 เม.ย.2536 

09.00 น. ชาวบ้านจาก 3 อำเภอ คืออ.พิบูลมังสาหาร อ.โขงเจียม อ.สิรินธร ได้ทำพิธีบายศรีสู่ขวัญขึ้รนที่แก่งสะพือ มีชาวบ้านมาร่วมพิธีประมาณ 1,000 คน ในงานได้มีการลงชื่อรับรองผู้แทนชาวบ้านทั้ง 3 คน และนักศึกษาจากคณะกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อม 16 สถาบัน (คอทส.) รวมทั้งสหพันธ์นิสิตนักศึกษาภาคอีสาน รวม 73 คน ลงทำแบบสำรวจผลกระทบจากโครงการเขื่อนปากมูล

7 เม.ย.2536 

ตัวแทนนักศึกษาจาก(คอทส.)และ สนนท. 73 คน ได้แยกกันลงพื้นที่ตามหมู่บ้านต่างๆ เพื่อทำแบบสำรวจเพิ่มเติม

18 เม.ย.2536

 กรรมการชาวบ้านประชุมเพื่อกำหนดท่าทีต่อไป(ครบรอบ 1 เดือน นับแต่วันที่ได้มีการลงนามร่วมกันที่ ทำเนียบรัฐบาล)

มิถุนายน 2536

 ชาวบ้านจากบ้านหัวเหว่ยื่นข้อเรียกร้องต่อศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ อ.โขงเจียม

กรกฎาคม 2536 

ชาวบ้านจากบ้านห้วยแคน ตุงลุง ดอนสวรรค์ วังสะแบงใต้ รวมตัวกันยื่นข้อเรียกร้องที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ อ.โขงเจียม

สิงหาคม 2536 

ชาวบ้านจากบ้านห้วยไฮ คันเปือย ทราบมูล คันลึม ท่าเสียว ปากบุ่ง สุวรรณวารี รวมตัวกันยื่นข้อเรียกร้องที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ อ.โขงเจียม

2 กันยายน 2536 

กำนันเสวกและชาวบ้านหนองชาด ได้รวมตัวกันที่สถานีตำรวจภูธร อ.เมือง เพื่อทวงถามและกดดันให้ตำรวจจับกุม นส.วนิดา ว่าทำให้ทรัพย์สินของ กฟผ.เสียหายและทำการปลุกระดมชาวบ้านให้กระด้างกระเดื่องต่อรัฐ

28 กันยายน 2536 

รมต.สาวิตต์ มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาช่วยเหลือราษฎรผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนปากมูล โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน กรรมการอื่นๆ ก็มาจากข้าราชการทั้งสิ้น หน้าที่หลักๆของคณะกรรมการคือ กำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติในการช่วยเหลือราษฎร ที่ได้รับผลกระทบ

11 ตุลาคม 2536 

นายไมตรี ไนยะกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลฯ ในฐานะประธานกรรมการพิจารณาช่วยเหลือราษฎรฯ ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้น 16 คณะ โดยมีข้าราชการในท้องที่และเจ้าหน้าที่เป็นกรรมการทั้งสิ้นโดยไม่มีชาวบ้านเข้าไปมีส่วนร่วมเลย โดยมีคณะกรรมการดังนี้คือ

คณะอนุกรรมการสำรวจที่ดินและทรัพย์สิน จำนวน 3 คณะ ในเขต อ.โขงเจียม พิบูลมังสาหาร สิรินธร โดยมีปลัดอำเภอของแต่ละท้องที่เป็นประธาน เฉพาะคณะนี้จะมีกำนันและผู้ใหญ่บ้านในท้องที่เป็นกรรมการด้วย

คณะอนุกรรมการตรวจสอบและคำนวณเงินค่าทดแทนทรัพย์สินใน 3 อำเภอโดยมีนายอำเภอเป็นประธาน

คณะอนุกรรมการจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินและทรัพย์สิน ในทั้ง 3 อำเภอ โดยมีนายอำเภอเป็นประธาน

คณะอนุกรรมการเลือกพื้นที่และจัดราษฎรเข้าอยู่ในที่จัดสรรและพิจารณาแก้ไขผลกระทบ โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน

คณะอนุกรรมการส่งเสริมเกษตรและอาชีพ โดยนายอำเภอท้องที่เป็นประธาน

คณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์ โดยมีรองผู้ว่าฯเป็นประธาน

คณะอนุกรรมการตรวจสอบ คิดตามและประเมินผลด้านสิ่งแวดล้อมมีรองผู้ว่าเป็นประธาน

คณะอนุกรรมการสำรวจและศึกษาผลกระทบด้านอาชีพประมงมี ผอ.ศูนย์พัฒนาประ มงน้ำจืด จ.อุบลฯ เป็นประธาน 

12 ตุลาคม 2536 

ชาวบ้าน 3 อำเภอ รวม 17 หมู่บ้าน ได้รวมตัวกันประมาณ 400 กว่าคน เดินรณรงค์เผยแพร่ข้อมูลและยื่นหนังสือถึงผู้ว่าฯอุบลราชธานี มีข้อเรียกร้องหลักๆคือ กรณีที่น้ำล้อมรอบหมู่บ้านให้ถือว่าน้ำท่วม ต้องอพยพและชดใช้ การจัดสรรที่ดินและการชดใช้อย่างเป็นธรรมโดยชาวบ้านได้เสนอรายละเอียดด้วยว่าจะต้องดำเนินการให้เสร็จก่อนเขื่อนเสร็จ กรณีที่น้ำท่วมเกินกว่าที่ กฟผ.สำรวจหลังจากที่เขื่อนสร้างเสร็จรัฐบาลต้องชดใช้เช่นกัน

18 ตุลาคม 2536 

ชาวบ้านหัวเห่วกว่า 200 คน ได้หมุนเวียนกันเข้าไปบริเวณแก่งที่ กฟผ. ระเบิดแก่งและนั่งอยู่เพื่อไม่ให้มีการระเบิดแก่ง แต่ กฟผ.ก็ยังระเบิดแก่งต่อไปโดยใช้ตาข่ายคลุมบริเวณระเบิด ส่วนชาวบ้านที่เหลือ 14 หมู่บ้านก็ได้ยื่นข้อเรียกร้องให้ กฟผ.แก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนก่อนจึงจะยอมให้ระเบิดแก่งต่อไปได้

ตุลาคม 2536

ชาวบ้านปากมูลร่วมกับชาวบ้านที่มีปัญหาความเดือดร้อนอีก 9 ปัญหา ชุมนุมกันที่ อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาของเกษตรกร

3 พฤศจิกายน 2536 

รัฐบาลและตัวแทนชาวบ้าน 9 ปัญหาเซ็นสัญญาโดยรัฐบาลจะตั้งอนุกรรมการ เพื่อแก้ไขปัญหาภายใน 30 วัน และชาวบ้านยอมยุติการชุมนุม โดยมีตัวแทนรัฐบาลคือ นายเฉลิม พรหมเลิศ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานที่ประชุม พล.ต.อ.มนัส ครุฑไชยันต์ รองเลขาธิการนายกฯฝ่ายการเมือง พล.ต.อ.ประทิน สันติประภพ รองอธิบดีกรมตำรวจ รักษาการแกทนอธิบดีกรมตำรวจและผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และตัวแทนชาวบ้านอีก 6 คน

2 ธันวาคม 2536 

กฟผ.ได้ทำการระเบิดแก่งทำให้ก้อนหินมาตกห่างจากจุดที่ชาวบ้านนั่งอยู่เพียง 2-3 เมตร

3 ธันวาคม 2536 

กฟผ. ได้เตรียมมาเจาะหินเพื่อใส่ระเบิดในสถานที่ที่ใกล้เข้ามาอีก นางสัมฤทธิ์ เวียงจันทร์ และตัวแทนชาวบ้านอีก 3 คน จึงได้เข้าไปเจรจาขอให้อย่าเพิ่งระเบิดเพราะกลัวว่าก้อนหินจะกระเด็นมาโดนชาวบ้านเข้า แต่เจ้าหน้าที่บริษัทอินเตอร์ปลาสเตอร์ซึ่งเป็นผู้รับเหมาการระเบิดบอกว่าถ้ามีคนเจ็บหรือตายให้ไปเรียกค่าเสียหายที่ กฟผ. ได้ กฟผ.เตรียมจ่ายให้อยู่แล้วแต่ไม่เกินรายละ 30,000 บาท บริษัทมีหน้าที่ระเบิดตามคำสั่งของ กฟผ. ชาวบ้านได้เข้าไปนั่งในบริเวณแก่งเพื่อไม่ให้ กฟผ. ทำการระเบิดได้ แต่ในที่สุด กฟ.ก็ระเบิดโดยไม่ได้คำนึงถึงความปลอดภัยของชาวบ้าน

นายเสวก บรรเทา อดีตกำนันตำบลเขื่อนแก้วเข้าร้องเรียนต่อ พ.ต.ท.วิชัย ประทุมพร สวญ.สภ.อ.สิรินธร ให้ผลักดันชาวบ้านกลุ่มที่คัดค้านออกไป มิเช่นนั้นจะนำชาวบ้านที่ต่อต้านกลุ่มคัดค้านเข้ามาผลักดัน

4 ธันวาคม 2536 

สภอ.สิรินธร มีหมายเรียกตัวนายสมัย ขลุ่ยแก้ว ราษฎรบ้านหัวเห่ว ไกรณีพนักงานของบริษัทอินเตอร์ปลาสเตอร์ได้รับบาดเจ็บ

ผู้ใหญ่บ้านหนองจิกและหนองชาด อ.สิรินธร จ.อุบลฯ กระจายเสียงเรียกประชาชนทั้งสองหมู่บ้านออกมาชุมนุมสนับสนุนเขื่อนปากมูลโดยจะได้รับเงินคนละ 60 บาทและข้าวห่อ และมาชุมนุมอยู่ที่เขื่อนปากมูลฝั่งสิรินธร ตรงข้ามกับที่ชาวบ้านชุมนุมคัดค้าน และใช้ปืนลูกซองยิงขู่เข้ามาในกลุ่มผู้ชุมนุมที่ขัดขวางการระเบิดแก่ง แต่ไม่มีใครบาดเจ็บ

นายอำเภอโขงเจียมเรียกร้องให้ผู้ชุมนุมทั้งสองกลุ่มยุติการชุมนุม ในวันที่ 5 ธันวาคม 2536 เพื่อถวายเป็นพระราชสักการะแด่ในหลวง ชาวบ้านจึงยุติการชุมนุม

5 ธันวาคม 2536 

นส.วนิดาและนายทองเจริญ สีหาธรรม ได้เดินทางไปแจ้งความที่ สภอ.โขงเจียม เพื่อดำเนินคดีกับกลุ่มกำนันเสวก ซึ่งใช้ปืนลูกซองยิงเข้ามาในที่ชุมนุม ขณะให้ปากคำ พ.ต.ท.อนุรัตษ์ รัตนอุบล สวญ สภอ.โขงเจียม ได้นำหมายจับที่ออกมาตั้งแต่เดือนมีนาคม 2536 มาแสดงและจับกุมทั้งสองคนในข้อหา

1.ร่วมกันเกินกว่า 10 คนขึ้นไปก่อความไม่สงบ

2.บุกรุกสถานที่ราชการในยามวิกาล

3.ดูหมิ่นผู้อื่นในการกระจายข่าว ป่าวร้อง

โดยข้อหาดังกล่าว กฟผ.เป็นผู้แจ้งความไว้ เมื่อชาวบ้านทราบว่าแกนนำทั้ง 2 คนถูกควบคุมตัวอยู่ที่อสภ.โขงเจียม จึงได้พยายามหาหลักทรัพย์ไปประกันตัว

6 ธันวาคม 2536 

อ.ก่อเกียรติ ภูเขาทอง ประธาน สสส.ภาคอีสาน และนายนิกร วีสเพ็ญ ผู้จัดการ สสส. ใช้ตำแหน่งข้าราชการประกันตัวแกนนำทั้ง 2 คน

นักศึกษาคอทส. 20 คน เดินรณรงค์เรื่องเขื่อนปากมูลที่ท้องสนามหลวง หลังจากนั้นไปยื่นหนังสือต่อพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รมว.มหาดไทย โดยให้พล.ต.อ.ประทิน สันติประภพ รักษาการอธิบดีกรมตำรวจมารับแทน เรียกร้องให้ปล่อยตัวแกนนำโดยไม่มีความผิดใดๆ ให้ดำเนินคดีกับกลุ่มของนายเสวก ในข้อหาเดียวกัน

นักศึกษา คอทส. 30 คนไปยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อให้ยุติการระเบิดแก่ง ส่งผู้มีอำนาจตัดสินใจไปเจรจากันชาวบ้าน และดูแลความสงบในที่ชุมนุมโดยไม่ใช้ความรุนแรง

นายบำรุง คะโยธา สกยอ. เรียกร้องผ่านสื่อให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ และลงโทษนายเสวก บรรเทา ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ และประนามการใช้วิธีจัดตั้งประชาชนใช้ความรุนแรงต่อประชาชน

นายสามารถ ภู่ไพบูลย์ ฝ่ายอพยพและจัดกรรมสิทธิ์ของกฟผ. ประสานไปยังนายโคทม อารียา โครงการพัฒนาสันติวิธีในสังคมไทย ขอเปิดเจรจากับชาวบ้าน โดยมีผู้ว่าฯอุบลฯและตัวแทนชาวบ้าน 7 คน เข้าเจรจาที่ห้องประชุมอำเภอโขงเจียม ในวันที่ 8 ธ.ค.2536 เวลา 9.30 น.

7 ธันวาคม 2536 

ชาวบ้าน 100 กว่าคนยังชุมนุมอยู่ที่บ้านหัวเห่ว และเตรียมชาวบ้านที่จะเข้าเจรจาในวันที่ 8 ธ.ค.2536

ชาวบ้านทำพิธีบายศรีสู่ขวัญให้ 2 แกนนำ ด้าน กฟผ.ไม่มีการระเบิดแก่ง แต่มีการเจาะหินเพื่อต่อสายเตรียมระเบิด

14 ตุลาคม 2537

ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากเขื่อนปากมูล ประมาณ 2,000 คน ชุมนุมขอความเป็นธรรมโดยมีข้อเรียกร้องต่อคณะกรรมการพิจารณาแก้ไขผลกระทบจาโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนปากมูล ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี นายนิธิศักดิ์ ราชพิตร เป็นประธาน ดังนี้

ขอให้จ่ายค่าทดแทนการประมงในช่วงระยะเวลาก่อสร้างเขื่อนจนถึงปัจจุบัน ที่ส่งผลกระทบต่อการทำอาชีพประมง เป็นจำนวนเงิน 35,000 บาท/ครอบครัว/ปี ระยะเวลา 3 ปี

ขอให้จัดที่ดินทำกินให้กับชาวประมงที่ไม่มีที่ดินทำกิน 10 ไร่/ครอบครัว

ขอให้ยกเลิกหลักเกณฑ์การชดเชยของคณะอนุกรรมการการสำรวจและศึกษาผลกระทบด้านอาชีพประมง เพราะไม่ได้ให้ความเป็นธรรมต่อชาวประมงผู้เดือดร้อน

ขอให้ยกเลิกคำสั่งที่ 4/2537 เรื่องแต่งตั้งคณะอนุกรรมการสำรวจและศึกษาผลกระทบด้านอาชีพประมงโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนปากมูล

ขอให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาผลกระทบอาชีพประมง ที่มีตัวแทนชาวประมงที่เดือดร้อนเป็นอนุกรรมการร่วมด้วยครึ่งหนึ่ง โดยมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาเพื่อยุติความขัดแย้งอย่างสิ้นเชิงโดยเร็ว

ขอให้พิจารณาทบทวนวิธีการนำ พรบ.ประมง 2490 มาปฏิบัติต่อประชาชน เพราะวิธีการเช่นนี้ถือว่าเป็นการกลั่นแกล้งประชาชนผู้เดือดร้อนอยู่แล้วจากการก่อสร้างเขื่อนปากมูล

แต่ผู้ว่าฯติดราชการจึงมอบหมายให้รองผู้ว่าฯรับเรื่องไว้

15 ตุลาคม 2537 

- ได้มีการสั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจและอส. ตั้งด่านสกัดและตรวจบัตรประชาชนชาวบ้าน เพื่อสกัดกั้นการเข้าร่วมการชุมนุม

ชาวบ้านปักหลักชุมนุมอยู่ที่ศาลากลางจังหวัด เพื่อรอฟังคำตอบ เพราะเกรงว่าเรื่องจะเงียบเหมือนที่เคยได้ส่งตัวแทนมายื่น 5-6 ครั้ง จำนวนผู้ชุมนุมเพิ่มขึ้นเป็น 3,000 คน

มีตัวแทนชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากเขื่อนสิรินธร ประมาณ 200 คน มาให้กำลังใจในการเรียกร้องความเป็นธรรมของชาวบ้านปากมูล

ทางจังหวัดได้มีการล่ามโซ่ปิดประตูศาลากลางจังหวัดปิดกั้นการเข้าร่วมของชาวบ้านที่ทยอยมาสมทบ โดยให้เหตุผลว่าเพื่อรักษาความปลอดภัย และป้องกันมือที่สาม รวมทั้งตัดน้ำ ตัดไฟ ห้ามใช้ห้องน้ำในศาลากลาง จนทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมต้องปืนข้ามรั้วออกไปใช้ห้องน้ำที่วัด ที่อยู่ใกล้ๆ

16 ตุลาคม 2536 

- การชุมนุมยังดำเนินต่อไป มีการให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน มาชักชวนลูกบ้านกลับ โดยปล่อยข่าวว่าจะมีการจ่ายค่าชดเชยให้แน่ๆ และมีรถของ กฟผ.คอยรับชาวบ้านส่งกลับ

- เลขาธิการสมัชชาเกษตรกรรายย่อยภาคอีสาน นายบำรุง คะโยธา และกรรมการสมัชชาฯ เข้าเยี่ยมและให้กำลังใจในการต่อสู้ของชาวบ้านปากมูล และเรียกร้องให้รัฐบาลใช้ความจริงใจ เร่งแก้ไขปัญหา ไม่ใช่โยนกันไปโยนกันมา หรือเตะถ่วงให้ชาวบ้านหมดแรงไปเอง ซึ่งไม่ใช่ทางออกที่ดีแน่

- มีตัวแทนชาวบ้าน จากบ้านห้วยขะยุง อ.วารินชำราบ จ.อุบลฯ ประมาณ 100 คน มาให้กำลังใจและได้ยื่นเสนอปัญหาเรื่องที่ดินทำกินของหมู่บ้านห้วยขะยุงให้ผู้ว่าฯ ช่วยดำเนินการแก้ไขด้วย

17 ตุลาคม 2537 

- ผู้ว่าราชการจังหวัดเรียกประชุมส่วนราชการจังหวัดทุกหน่วยงาน แต่ไม่อนุญาตให้กลุ่มผู้ชุมนุมรวมทั้งสื่อมวลชนเข้าสังเกตการณ์แต่อย่างใด

- มีแถลงการณ์สนับสนุนการเรียกร้องของชาวบ้านปากมูล และประณามการทำงานของ กฟผ.ที่ไม่รับผิดชอบปล่อยให้ปัญหาเรื้อรังมาจนถึงวันนี้ โดยกลุ่มเครือข่ายเกษตรกรภาคเหนือ

- นายสาวิตต์ โพธิวิหค รมต.ประจำสำนักนายกฯ ผู้รับผิดชอบ กฟผ. ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า “ตนได้มอบอำนาจให้คณะกรรมการจังหวัดไปหมดแล้ว”

18 ตุลาคม 2536 

- ผู้ว่าราชการจังหวัด นายนิธิศักดิ์ ราชพิตร ให้สัมภาษณ์วิทยุเนชั่นว่า”อำนาจที่ รัฐมนตรีสาวิตต์ มอบหมายนั้นไม่ได้ระบุอำนาจในเรื่องงบประมาณ ดังนั้นอำนาจที่แท้จริงจึงน่าจะเป็นผู้ว่าการไฟฟ้าฯหรือรมต.สาวิตต์ ผมเปรียบเสมือนนายไปรษณีย์เท่านั้น”

- กลุ่มผู้ชุมนุมเริ่มอ่อนเพลีย และมีชาวบ้านล้มป่วยลงเป็นจำนวนมาก

- มีรถพยาบาลจากโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ มาอำนวยความสะดวกให้

19 ตุลาคม 2537 

- ผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย นายสมบูรณ์ มณีนาวา เปิดแถลงข่าวที่ที่ทำการไฟฟ้าบางกรวย ว่า”กฟผ.พร้อมจะทำตามมติของคณะกรรมการจังหวัดฯ และยืนยันว่าหลักการในการชดเชยเป็นธรรมแล้ว”

- กลุ่มผู้ชุมนุมล้มป่วยเป็นจำนวนมาก

- ประชาสงเคราะห์จังหวัดได้นำผ้าห่มมาแจกกลุ่มผู้ชุมนุม 500 ผืน

20 ตุลาคม 2537 

- กลุ่มชาวบ้านผู้ชุมนุมได้ส่งตัวแทน 5 คน นำโดยนายเคน ไชยโกฎิเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนร่วมกับสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ที่สำนักกลางนักเรียนคริสเตียน(สนค.) โดยได้นำหลักฐานใบแสดงผลการจ่ายค่าชดเชยของ กฟผ. ที่อ้างว่าเป็นธรรมเสนอต่อสื่อมวลชน เช่น

- นายทองคำ สมโคตร ได้รับค่าชดเชยในช่วง 2 ปีหกเดือน เป็นเงินรวมทั้งสิ้น 81 บาท

- น.ส.โกศล ชัยคำ ได้รับค่าชดเชยในช่วง 2 ปี หกเดือน เป็นเงินรวมทั้งสิ้น 67 บาท

- นายถิน พูลไชย ได้รับค่าชดเชยในช่วง 2 ปีหกเดือน เป็นเงินรวมทั้งสิ้น 175 บาท

- รวมทั้งได้แถลงโต้ข้อกล่าวหาที่ว่า ชาวบ้านจะเผาศาลากลาง เผาโรงเรียน หรือปิดถนนว่าไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ยืนยันชุมนุมด้วยความสงบไม่ใช้ความรุนแรง แต่จะชุมนุมต่อไปจนกว่าจะได้รับความเป็นธรรม

- เลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย(สนนท.)นายบุญเลิศ วิเศษปรีชา แถลงว่า”ขอให้ รมต.สาวิตต์ ผู้มีอำนาจดูแล กฟผ. แสดงความรับผิดชอบเร่งแก้ไขปัญหาให้ชาวบ้าน หยุดพฤติกรรมปลิ้นปล้อนโยนกลองให้ข้าราชการประจำเสียที ใช้ความจริงใจและความกล้าหาญอย่าหนีปัญหา จึงจะหาข้อยุติได้ นักศึกษาจะยืนหยัดร่วมกับชาวบ้านในการเรียกร้องความเป็นธรรมอย่างถึงที่สุด”

21 ตุลาคม 2537 

กลุ่มผู้ชุมนุมได้ทำความสะอาดบริเวณศาลากลางจังหวัด เพื่อเตรียมการถวายบังคมพระบรมรูป ร.5 ที่ทางจังหวัดจะได้จัดขึ้นในวันที่ 23 ตุลาคม ที่จะถึง

22 ตุลาคม 2537 

ตัวแทนสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.)จำนวน 30 คน นำโดยนายบุญเลิศ วิเศษปรีชา เลขาธิการ สนนท. เข้าพบนายกรัฐมนตรี ที่บ้านพัก ซอยหมอเหล็ง “ ขอให้นายกฯเร่งแก้ไขปัญหา เพราะชาวบ้านชุมนุมมา 9 วันแล้ว รมต.สาวิตต์ ที่รับผิดชอบ กฟผ. ก็ไม่รับผิดชอบ เดินทางไปพักผ่อนต่างประเทศแล้ว ขอให้นายกฯใช้ความกล้าหาญในการแก้ไขปัญหาไม่ใช่รอกลไกราชการที่ไม่สามารถแก้ปัญหาได้เต๊ะถ่วงไปเรื่อยๆ”

นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี ได้เรียกผู้บริหารการไฟฟ้า(กฟผ.) และนายอารีย์ วงศ์อาระยะ เข้าพบและกล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า “ เรื่องนี้ตนได้เคยกำชับให้นายสาวิตต์ ดูแลเป็นพิเศษอยู่แล้ว และมีคณะกรรมการจังหวัดที่มีผู้ว่าฯ เป็นประธานมีอำนาจอยู่แล้วตนเสียดายที่ผู้ใหญ่ในการไฟฟ้าไม่ค่อยเอาใจใส่เรื่องนี้เท่าที่ควร”

23 ตุลาคม 2537 

กลุ่มผู้ชุมนุมเข้าร่วมพิธีถวายบังคมพระบรมรูป ร.5 ที่หน้าศาลากลาง และยืนยันที่จะชุมนุมอย่างสงบต่อไปจนกว่าจะได้รับคำตอบ(จำนวนประมาณ 1,500 คน)

นสพ.หลายฉบับพาดหัว”สนนท.บุกพบชวน ร้องให้แก้ไขปัญหาปากมูล เพราะนายสาวิตต์ หลบไปต่างประเทศอีกแล้ว” “ชวนจวกบอร์ด กฟผ.ไม่เอาใจใส่ที่จะแก้ปัญหา”

24 ตุลาคม 2537 

คณะกรรมการพิจารณาช่วยเหลือราษฎรผู้ได้รับผลกระทบ จากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนปากมูล ซึ่งมีนายนิธิศักดิ์ ราชพิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธานได้เปิดการเจรจากับกลุ่มผู้ชุมนุมเป็นครั้งแรก โดยมีหัวหน้าส่วนราชการต่างๆ ที่เป็นกรรมการร่วมอยู่ด้วยอีก 17 คน ตัวแทนชาวบ้าน 14 คน นำโดยนายทองเจริญ ศรีหาธรรม แต่ไม่สามารถหาข้อสรุปได้ หลังจากยุติการเจรจา ในวันเดียวกันผู้ว่าได้เรียกประชุมกรรมการอีกครั้ง ในเวลา 21.00 น. และมีมติออกมาว่าให้คงค่าชดเชยไว้เท่าเดิม แต่ให้เงินช่วยเหลือแก่ผู้ที่ได้รับค่าชดเชยที่ได้ต่ำกว่า 10,000 บาท ให้ปรับเป็น 10,000 บาททุกคน ต่อ 3 ปี ส่วนคนที่ได้ค่าชดเชยมากกว่า 10,000 บาท ก็ให้ได้เท่าเดิมหลังจากกรรมการฯ ได้มีมติดังกล่าวกลุ่มผู้ชุมนุมได้ประกาศไม่ยอมรับมติเพราะถือว่าไม่เป็นธรรม เมื่อเฉลี่ยแล้วตกวันละ 9 บาท 13 สตางค์ เท่านั้น และกรรมการชาวบ้านได้มีมติร่วมกันว่า ให้ยกเลิกกรรมการชุดดังกล่าวนี้ ให้แต่งตั้งกรรมการชุดใหม่ที่มีชาวบ้านร่วมอยู่ด้วยครึ่งหนึ่ง และเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลงมาแก้ไขปัญหา เพราะกรรมการจังหวัดไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ พร้อมทั้งยืนยันที่จะชุมนุมอย่างสันติต่อไป

25 ตุลาคม 2537 

คณะกรรมการจังหวัดฯประกาศมติและให้ประชาชนไปรับเงินช่วยเหลือที่อำเภอ ในขณะที่กลุ่มผู้ชุมนุมประกาศไม่รับมติดังกล่าว และยืนยันที่จะชุมนุมต่อไป กลุ่มผู้ชุมนุมได้ทำการเผาหุ่น กฟผ. และคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขุดนี้ด้วย

คณะกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อม 16 สถาบัน(คอทส.)นำไหปลาร้าเปล่าไปมอบให้ผู้ว่าการไฟฟ้า ฯที่บางกรวย โดยมีนายยงยุทธ บุญยประภัทสร รองผู้ว่าการฯลงมารับและนายสมิทธิ ธนานิธิโชติ ผู้ประสานงาน คอทส. กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า “ คอทส. ได้นำเอาไหปลาร้าเปล่าๆ มามอบให้ผู้ว่าการการไฟฟ้าฯ เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจให้กับ กฟผ.ว่าขณะนี้ไม่มีปลาในแม่น้ำมูลแล้ว กฟผ. ในฐานะเจ้าของโครงการเขื่อนปากมูลควรแสดงความรับผิดชอบ อย่าเตะถ่วงปัญหา และถ้าปัญหาแค่นี้ไม่สามารถแก้ไขได้ กฟผ. ก็ไม่ควรริอ่านที่จะจัดทำโครงการอื่นๆ อีก” และขอมอบตำแหน่งอาชญากรทางสังคมและสิ่งแวดล้อมให้กับ กฟผ.ด้วย

26 ตุลาคม 2537 

กลุ่มชาวบ้านผู้ชุมนุมได้จัดพิธีบายศรีสู่ขวัญขึ้น เพื่อเป็นการเรียกขวัญและกำลังใจในการต่อสู้ต่อไป เพราะชาวบ้านได้ล้มป่วยเป็นจำนวนมาก

รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.)นายพิชัย รัตนพล ได้ลงไปประสานงานระหว่างผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลฯและกลุ่มผู้ชุมนุม แต่ก็ยังไม่มีความคืบหน้า

นายสุทัศน์ เงินหมื่น รมช.มหาดไทย กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า “ เรื่องนี้ผมได้ติง กฟผ.มาตลอดเวลา การไฟฟ้าน่าจะให้ความสนใจมากกว่านี้ ท่านนายกก็เป็นห่วงเรื่องนี้มาก”

นายสาวิตต์ โพธิวิหค รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า “ไม่ได้หนีปัญหาแต่ไม่เห็นด้วยที่รัฐมนตรีต้องลงไปแก้ปัญหาในพื้นที่ ไม่ใช่หน้าที่รัฐมนตรี เมื่อสร้างเขื่อนสร้างเสร็จแล้วไช่ว่าจะทอดทิ้งชาวบ้าน ตนได้สั่งให้ กฟผ. และคณะกรรมการฯดูแลอยู่แล้ว”

27 ตุลาคม 2537 

ณ ที่ว่าการอำเภอทั้ง 3 อำเภอ มีการเริ่มจ่ายเงินให้กับชาวบ้าน โดยมีชาวบ้านบางส่วนไปรับเงินทั้ง 3 อำเภอ ประมาณ 400 คน จากทั้งหมดประมาณ 1,700 คน

การชุมนุมของชาวบ้านยังดำเนินต่อไปอย่างสงบ และได้จัดพิธีกรรมสืบชะตาแม่น้ำ

28 ตุลาคม 2537 

ตัวแทนชาวบ้าน 5 คน นำโดยนายสุเทพ พรหมโยธิน เข้ายื่นหนังสือขอความเป็นธรรมต่อนายนิพนธ์ วิสิทธิ์ยุทธศาสตร์ ประธานกรรมาธิการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน ที่รัฐสภา ในประเด็นการประเมินค่าชดเชยที่กรรมการจังหวัดฯ มีมติออกมาให้ชาวบ้านเฉลี่ยประมาณวันละ 9 บาท 13 สตางค์ และประเด็นการปิดกั้นการชุมนุม

ประธานกรรมาธิการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน แถลงต่อสื่อมวลชนว่า “เรื่องเขื่อนปากมูลนี้ยืดเยื้อมานาน ทางกรรมาธิการฯ ได้ลงไปรับรู้สภาพปัญหาในพื้นที่มาครั้งหนึ่งแล้วและได้ทำความเห็นเสนอต่อรัฐบาลไปแล้ว ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำอะไรกันอยู่ ปล่อยให้ปัญหายืดเยื้อมาจนถึงทุกวันนี้ ส่วนในเรื่องค่าชดเชยนั้นตนเห็นว่าค่าชดเชยต่ำมากตกวันละ 9 บาท ในความเป็นจริงชาวบ้านคงไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ และกรรมาธิการฯจะได้เรียกผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลในวันที่ 3 พ.ย.นี้ เพื่อจะได้ประมวลความเห็นเสนอต่อรัฐบาลต่อไป”

29 ตุลาคม 2537 

มีข่าวว่าจะมีการสลายการชุมนุมแพร่สะพัดทั่วไปในตัวเมืองอุบลฯ

30 ตุลาคม 2537 

มีการประสาน อสม. ทสปช. ให้มาชุมนุมขับไล่ชาวบ้านปากมูลออกจากศาลากลาง

31 ตุลาคม 2537 

ตัวแทนชาวบ้าน 7 คน นำโดยนายทองเจริญ สีหาธรรม เข้ายื่นจดหมายเปิดเผนึกถึงนายกรัฐมนตรี ผ่านกองรับเรื่องราวร้องทุกข์ กองบริการประชาชน โดยขอให้นายกรัฐมนตรี กำชับให้รัฐมนตรีที่รับผิดชอบเข้ามาดูแลปัญหาด้วย เพราะขณะนี้กรรมการจังหวัดไม่มีอำนาจในการแก้ไขปัญหาแล้ว พร้อมทั้งได้ยื่นรายชื่อชาวบ้านที่เดือดร้อน จำนวน 2,390 ครอบครัวด้วย

ตัวแทนชาวบ้านนำโดยนางลำดวน เสละทอง เข้ายื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัดให้ทบทวนการพิจารณาการจ่ายค่าชดเชย เพราะทางชาวบ้านมีความเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม และทางตัวแทนชาวบ้านเสนอให้จัดตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจที่มีตัวแทนชาวบ้านร่วมด้วย

ที่สนามทุ่งศรีเมืองมีประชาชนชุมนุมให้กำลังใจผู้ว่าราชการจังหวัด 10,000 คน นำโดยรองประธานชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน มีการกล่าวปราศรัยโจมตีชาวบ้านปากมูลว่าขัดขวางการทำงานของทางราชการและก่อให้เกิดความไม่สะดวกกับการติดต่อราชการ

3 พฤศจิกายน 2537 

กรรมาธิการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนของสภา ได้จัดประชุมเรื่องปัญหาการชุมนุมของชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนปากมูล ซึ่งมีการชุมนุมอยู่ที่หน้าศาลากลางจังหวัดอุบลฯเป็นวันที่ 21 แล้ว โดยกรรมาธิการพิจารณาถึงปัญหาการจ่ายเงินค่าชดเชย ซึ่งสรุปว่าทางกรรมาธิการจะเร่งประมวลสรุปข้อเสนอแนะแนวทางต่อรัฐบาล และจะทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี โดยไม่ต้องผ่านรมต.สาวิตต์ เพราะกรรมาธิการได้เชิญรมต.สาวิตต์หลายครั้งแล้วแต่ไม่เคยมา

9 พฤศจิกายน 2537 

ตัวแทนชาวบ้านเข้ายื่นหนังสือขอความเป็นธรรมต่ออดีตนายกชาติชาย ชุณหะวัณ ให้ช่วยดูแลปัญหา ในฐานะเป็นรัฐบาลช่วงอนุมัติโครงการเขื่อนปากมูล และเคยให้คำมั่นสัญญากับชาวบ้านว่าจะรับผิดชอบ ให้ชาวบ้านมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และจะให้การชดเชยเป็นธรรมที่สุด

14 พฤศจิกายน 2537 

ชาวบ้านประมาณ 2,000 คน และคณะกรรมการชาวบ้านได้มีการประชุมกันและลงมติว่าจะทำการเดินเท้ามุ่งสู่ อ.โขงเจียม อันเป็นที่ตั้งเขื่อนปากมูล เพื่อเรียกร้องกับทุกคนทุกคนทั้งนายกรัฐมนตรี สส. นักวิชาการและคนอุบลราชธานี เพราะชาวบ้านได้ทำการเรียกร้องมาเป็นเวลา 1 เดือน เต็มแล้วแต่ก็ยังไม่ได้รับความยุติธรรมแต่อย่างใด ซึ่งชาวบ้านจะเดินอย่างสงบ เป็นระเบียบ และจะไม่ปิดกั้นการสัญจรแต่อย่างไร และจะแจกแถลงการณ์บอกเล่าเหตุผลของการเรียกร้องและความจำเป็นที่จะต้องเดินแก่คนอุบลราชธานี

คณะกรรมการชาวบ้านได้ออกแถลงการณ์ขอขอบคุณผู้ว่าราชการจังหวัด และเจ้าหน้าที่ทุกคน ที่ให้การดูแลมาโดยตลอด

นอกจากนี้คณะกรรมการชาวบ้านได้ออกแถลงการณ์ประณามนายภิญโญ ทุมมานนท์ ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ไทยรัฐที่เขียนข่าวในลักษณะให้ร้ายและทำลายภาพพจน์ของการชุมนุม(ไทยรัฐ วันที่ 10 พ.ย.2537) โดยอ้างคำสัมภาษณ์ของแหล่งข่าว โดยไม่มีข้อเท็จจริงแต่ประการใด และเรียกร้องให้บรรณาธิการนสพ.ไทยรัฐทำการตรวจสอบจรรยาบรรณของนายภิญโญ ทุมมานนท์ ว่าสมควรที่จะเป็นนักข่าวต่อไปหรือไม่

15 พฤศจิกายน 2537 

ชาวบ้านประมาณ 2,000 คน ยังคงเดินเท้าต่อไปอย่างสงบ โดยไม่มีเหตุการณ์รุนแรงแต่อย่างไร โดยเดินทางมาเป็นระยะทาง 15 กิโลเมตรแล้ว ชาวบ้านบางส่วนเริ่มมีอาการอ่อนล้าและเพลียเนื่องจากอากาศที่ร้อนจัด แต่ชาวบ้านทั้งหมดก็ยังยืนยันที่จะเดินเท้าต่อไปจนกว่าจะได้รับความยุติธรรม

16-21 พฤศจิกายน 2537 

ขบวนชาวบ้านเดินร้องทุกข์ผ่านหมู่บ้านต่างๆ ตามถนนสายอุบล-พิบูล-โขงเจียม

22 พฤศจิกายน 2537 

ขบวนชาวบ้านเดินทางถึง อ.โขงเจียม(ห่างจากหัวงานเขื่อนปากมูล 8 กิโลเมตร)และประกาศจะใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดภายใน 3 วัน ถ้ารัฐบาลหรือผู้มีอำนาจยังไม่แก้ไขปัญหา

25 พฤศจิกายน 2537 

ภายหลังครบกำหนด 3 วัน ที่ชาวบ้านรอคำตอบจากรัฐมนตรีสาวิตต์ แต่ก็ไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด คณะกรรมการชาวบ้านจึงมีมติให้เคลื่อนขบวนไปยังหัวงานเขื่อนปากมูล

26 พฤศจิกายน 2537 

คณะกรรมการชาวบ้านฟื้นฟูชีวิตและลุ่มน้ำ ได้ทำจดหมายถึงรัฐมนตรีสาวิตต์อีกครั้งหนึ่ง เพื่อร้องขอให้รัฐมนตรีมารับฟังเหตุผลของชาวบ้านบ้าง โดยได้ยื่นผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดนายนิธิศักดิ์ ราชพิตร

27 พฤศจิกายน 2537 

ขบวนของชาวบ้านได้ตั้งริ้วขบวน โดยใช้ยุทธการเสือตอมุ่งหน้าเข้าสู่หัวงานเขื่อนปากมูล ฝ่าด่านรั้วลวดหนามเข้าไปได้ แต่ยังไม่ถึงสันเขื่อน โดยทาง กฟผ.ได้นำรถสิบล้อมาจอดขวางทางเข้าสันเขื่อนไว้ขบวนของชาวบ้านจึงได้หยุดอยู่แค่บริเวณฝั่งชายขอบสันเขื่อน และเรียกร้องให้รัฐมนตรีสาวิต ลงมาแก้ไขปัญหาโดยเร่งด่วน และประกาศยืนยันจะไม่ทำลายทรัพสินของทางราชการโดยจะชุมนุมอย่างสงบและสันติรอผู้มีอำนาจในการตัดสินใจลงมาแก้ไขปัญหา

28 พฤศจิกายน 2537 

- การชุมนุมของชาวบ้านเริ่มเผชิญหน้ากันกับเจ้าหน้าที่ของทางราชการ

- เจ้าหน้าที่ กฟผ. ได้แจ้งความกับ สภ.อ.โขงเจียม ให้จับกุมแกนนำ 13 คน ข้อหาบุกรุกและทำลายทรัพย์สิน

29 พฤศจิกายน 2537 

- การชุมนุมยังเผชิญหน้ากันทั้งสองฝ่าย

- มีการสร้างสถานการณ์เผากองขยะไม้ใกล้ๆ ที่ชุมนุม โดยคนงานของบริษัทรับเหมาก่อสร้างเขื่อน แต่ไม่มีเหตุการอะไรบานปลาย

30 พฤศจิกายน 2537

- ชาวบ้านทั้งหมด 2,000 คน ได้ลงชื่อขอมอบตัวสู้คดี และปฏิเสธทุกข้อหา และพร้อมที่จะให้จับกุมทุกเมื่อ

-นายสมบูรณ์ มณีนาวา ผู้ว่าการไฟฟ้าฯ แถลงข่าวว่าจะลงไปเจรจากับผู้ชุมนุม

1 ธันวาคม 2537 

- ชาวบ้านประกาศใช้อหิงสาในการต่อสู้เรียกร้อง โดยการยึดหลักสัจจะและนั่งตากแดดตั้งแต่ 09.00-15.00 น. เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ปัญหา จำนวน 49 คน เท่ากับจำนวนรัฐมนตรี

- ชาวบ้านแถลงข่าวว่า หากนายสมบูรณ์ ผู้ว่า กฟผ.จะลงมาเพื่อเจรจาเรื่องกองทุนระยะยาวเพื่อฟื้นฟูชาวบ้านนั้น ไม่ต้องลงมา เพราะชาวบ้านยังยืนยันในข้อเรียกร้องเดิมคือ 35,000 บาทต่อครอบครัวต่อปี กองทุนฟื้นฟูนั้น กฟผ.จะต้องทำอยู่แล้วเพราะเขื่อนปากมูลได้ทำลายทรัพยากรธรรมชาติอันเป็นพื้นฐานการดำรงชีวิตไปหมดแล้ว

- มีการจัดสัมมนา “การประเมินผลกระทบทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษาการชดเชยอาชีพประมงเขื่อนปากมูล” ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มี ศ.นพ.ประเวศ วะสี ปาฐกถานำ มีนักวิชาการเข้าอภิปรายจำนวนมาก วิจารณ์การประเมินผลกระทบของรัฐ ว่ามีข้อบกพร่องมากและไม่คำนึงถึงทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมเท่าที่ควร นายสาวิตและกฟผ.ได้เข้าชี้แจงเรื่องกองทุนระยะยาว

2 ธันวาคม 2537 

- ชาวบ้านนั่งตากแดดเพิ่มเป็น 79 คน เท่าจำนวน สส. พรรคประชาธิปัตย์ เพื่อยืนยันข้อเรียกร้อง

5 ธันวาคม 2537

- ชาวบ้านเขื่อนปากมูล แถลงข่าวประนามการใช้ความรุนแรงในการสลายการชุมนุมของชาวบ้านเขื่อนสิรินธรและเรียกร้องให้หาตัวผู้กระทำผิด

12 ธันวาคม 2537

เนื่องจากกองทุนการชุมนุมของชาวบ้านเขื่อนปากมูลเริ่มเหลือน้อย ชาวบ้านจึงจัดตั้งกลุ่มอาชีพ โดยมีกลุ่มหินลับมีด และจักสาน เพื่อหาเงินเข้ากองทุน

13 ธันวาคม 2537

นายปลอดประสพ สุรัสวดี อธิบดีกรมประมง ได้ไปพบชาวบ้านและบอกว่าจะขุดบ่อปลาให้ โดยไม่เกี่ยวกับการเจรจาต่อรองอะไร ซึ่งชาวบ้านยินดีรับ

15 ธันวาคม 2537 

ชาวบ้านได้เข้าไปปลดเครื่องเสียงของ กฟผ. ที่ส่งเสียงก่อกวนผู้ชุมนุมมาเป็นเวลานานหลายวัน แต่ไม่มีเหตุการณ์รุนแรงใดๆ

หลังจากนายปลอดประสพ กลับไป ได้มีการออกข่าวว่าชาวบ้านพอใจข้อเสนอของนายปลอดประสพและเลิกการชุมนุม ชาวบ้านจึงแถลงขาวเพื่อยืนยันข้อเรียกร้องเดิม

 

สรุปสถานการณ์

การชุมนุมเรียกร้องขบวนคนทุกข์

สมัชชาคนจน

๑๐ ธันวาคม ๒๕๓๘ - ๒๖ มีนาคม - ๒๓ เมษายน ๒๕๓๙

ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ - ศูนย์ สอข. โขงเจียม - หน้าทำเนียบรัฐบาล

๑๐ ธ.ค. ๒๕๓๘

การประชุมสมัชชาคนจน ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกอบด้วยตัวแทน ๕ เครือข่ายอันได้แก่๑.เครือข่ายปัญหาป่าไม้ ที่ดิน รวมทั้งเครือข่ายปัญหาหนี้สินเกษตรกร,๒.เครือข่ายปัญหาเรื่องเขื่อน,๓.เครือข่ายปัญหาโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมและโครงการของราชการต่าง ๆ, ๔.เครือข่ายปัญหาชุมชนแออัด สลัม, ๕.เครือข่ายปัญหาแรงงานและผู้ป่วยจากการทำงาน กว่า ๕๐๐ คน และเพื่อนจากต่างชาติอีก ๑๐ ประเทศกว่า ๒๐ คน ได้ร่วมประชุมปรึกษาหารือแลกเปลี่ยนปัญหาความทุกข์ยาก ความเดือดร้อนต่าง ๆ ของแต่ละกลุ่ม แล้วส่งตัวแทนไปประชุมหารือกันต่อที่ จ.อุบลราชธานี

๑๑-๑๔ ธ.ค. ๒๕๓๘

การประชุม สมัชชาคนจน ณ ศูนย์สาธารณสุข อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี ได้ระดมความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งความเป็นธรรม ท้ายสุดได้ระดมข้อเรียกร้องจัดทำเป็นเอกสารกว่า ๖๐ หน้า เพื่อนำเสนอต่อฝ่ายบริหารที่มีอำนาจในการแก้ไขปัญหา และได้มีมติ จัดตั้ง สมัชชาคนจน ขึ้น เพื่อเป็นจุดรวมในการรณรงค์เคลื่อนไหวในข้อเรียกร้องของกลุ่มสมาชิกสมัชชาคนจน

๑๕ ธ.ค. ๒๕๓๘ 

สมัชชาคนจนกว่า ๓๐๐ คน ได้เป็นตัวแทนในการมายื่นหนังสือ ต่อประธานที่ประชุมอาเซี่ยน ซัมมิต โดยได้ตั้งริ้วขบวนจากหัวลำโพง เดินเท้าไปยังโรงแรมโอเลียนเต็ล แต่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจกว่า ๑,๐๐๐ คน สกัดไว้ ไม่สามารถเข้าถึงที่ประชุมอาเซี่ยนซัมมิต และไม่มีผู้ใดลงมารับหนังสือข้อเรียกร้องของทางสมัชชาคนจน สมัชชาคนจนจึงได้อ่านคำประกาศ ปฏิญญาปากมูล และได้ยื่นข้อเรียกร้องผ่านสื่อมวลชน เพื่อผ่านไปยังประธานที่ประชุมอาเซี่ยนซัมมิต ซึ่งก็คือนายบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรีไทยนั่นเอง

๑๖ ม.ค. ๒๕๓๙  

หนึ่งเดือนต่อมา ไม่มีท่าทีจากฝ่ายรัฐบาล ว่าจะมีการแก้ไขปัญหาหรือการดำเนินการจากทางรัฐบาลแต่อย่างใด สมัชชาคนจน จึงมีมติให้ส่งตัวแทนกว่า ๓๐๐ คน มายื่นหนังสือข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลอีกครั้งที่หน้าทำเนียบรัฐบาล ในครั้งนี้ เลขาธิการนายกรัฐมนตรีนายเดช บุญหลง ได้มารับหนังสือข้อเรียกร้องของทางสมัชชาคนจนและรับปากว่าจะเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาให้โดยเร่งด่วน

๑๗ ก.พ. ๒๕๓๙  

สองเดือนต่อมา ปัญหาไม่คืบหน้า สมัชชาคนจนจึงมีมติส่งตัวแทนกว่า ๑๐๐ คนมาติดตามปัญหาและฟ้องร้องต่อสาธารณชนผ่านสื่อมวลชนและได้ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาล และตัวแทนบางส่วนได้ไปเยี่ยมชาวบ้าน บ้านโพธิ์เขียว จ.สุพรรณบุรี ที่ถูกไล่ที่โดยราชการเพื่อสร้างโครงการศูนย์ราชการแห่งที่ ๒ จ.สุพรรณบุรี ขณะที่มีสถานการณ์ตรึงเครียดในพื้นที่ โดยทางราชการได้ทำการถมดินในที่นาของชาวบ้านจนเกือบจะมีการปะทะกันกับตำรวจกว่า ๕๐๐ นาย แต่ในที่สุดก็ได้มีคำสั่งจากส่วนกลางให้ถอนกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจออก เหตุการณ์จึงผ่อนคลายลง

๑-๒ มี.ค. ๒๕๓๙  

ในโอกาสการประชุม อาเซ็ม ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติ สมัชชาคนจนมีมติให้ส่งตัวแทนกว่า ๓๐๐ คนมายื่นหนังสือร้องทุกข์ และหนังสือข้อเรียกร้องต่อประธานที่ประชุมอาเซ็ม แต่กลับถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจนับ ๑,๐๐๐ นายล้อมสกัดอยู่ที่ สวนลุมพินี และอีกกลุ่มหนึ่งถูกสกัดอยู่ที่ สี่แยกคลองเตย ในการเคลื่อนขบวนได้มีการปะทะกันเล็กน้อย เจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับกุมแกนนำผู้ชุมนุม ๔ คน ไปที่โรงเรียนพลตำรวจบางเขน โดยอ้างว่าเชิญตัวไปสอบสวน

-ในช่วงบ่ายวันที่ ๑ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้บุกจับแกนนำผู้ชุมนุมอีก ๘ คน โดยยัดเยียดข้อหาไม่พกบัตรประชาชน และปรับคนละ ๕๐ บาท แล้วปล่อยตัวออกมาในที่สุด

-ในครั้งนี้รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี นายจองชัย เที่ยงทำ ได้มารับข้อเรียกร้องและสัญญาว่าจะเร่งแก้ไขปัญหาให้อย่างเร่งด่วน โดยได้ลงนามในสัญญาไว้เป็นหลักฐาน

๒๖ มี.ค. ๒๕๓๙  

สมัชชาคนจนมีมติให้ตัวแทนกว่า ๓๐๐ คน มาตามความคืบหน้าของปัญหาที่ได้ยื่นไว้แล้ว ที่ทำเนียบรัฐบาล แต่ไม่เป็นผล จึงได้มีการยื่นหนังสือและแถลงข่าวอย่างเป็นทางการ ถึงความจำเป็นของสมัชชาคนจนที่จะต้องจัดชุมนุมใหญ่เพื่อกดดันให้รัฐบาลเร่งแก้ไขปัญหาให้

๒๗ มี.ค. ๒๕๓๙  

ชาวบ้านกว่า ๓๐๐ คน จากปัญหาเขื่อนโป่งขุนเพชร เขื่อนลำคันฉู เขื่อนลำแซะ รวมตัวกันที่หน้าวัดเบญจมบพิตร เนื่องจากบริเวณข้าง กพ. มีกลุ่มผู้ชุมนุมจากโรงงานปิยะวัตการยางชุมนุมอยู่

๒๘ มี.ค. ๒๕๓๙  

ชาวบ้านกลุ่มอื่น ๆ เริ่มทยอยเข้าสมทบ เริ่มจัดเพิงที่อยู่อาศัยหุงหาอาหารเตรียมการชุมนุมอย่างยืดเยื้อ ช่วงกลางดึกมีชาวบ้าน สีคิ้ว เมืองคง จ.นครราชสีมาเข้าสมทบอีกกว่า ๗๐๐ คน

๒๙ มี.ค. ๒๕๓๙  

ชาวบ้านจากกลุ่มปัญหาเขื่อน เขื่อนสิรินธร จ.อุบลฯ เข้าร่วมสมทบกว่า ๑,๕๐๐ คนและชาวบ้านจากกลุ่มปัญหาป่าไม้ที่ดินเดินทางมาเข้าร่วมชุมนุมกว่า ๑,๐๐๐ คน

๓๐ มี.ค. ๒๕๓๙  

เช้ามืดชาวบ้านจากกลุ่มปัญหาเขื่อน เขื่อนสิรินธรและเขื่อนปากมูลกว่า ๒,๐๐๐ คนเข้าร่วมสมทบ เขื่อนแก่งเสือเต้น จากบ้านสะเอียบ ดอนแก้ว ดอนชัย จ.แพร่ ประมาณ ๓๐๐ คน และ กลุ่มปัญหาต่าง ๆ จาก ๕ เครือข่ายทยอยเข้าร่วมสมทบ ทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ ๘,๐๐๐ คน และเริ่มมีการตั้งเวทีปราศรัยอย่างเป็นทางการ โดยจัดตั้งเวทีกระจายเสียงไปจนถึงท้ายซอยหน้าวัดเบญฯ มีตัวแทนกลุ่มปัญหาต่าง ๆ ขึ้นปราศัยสะท้อนปัญหาและประนามความไม่จริงใจในการแก้ไขปัญหาของรัฐบาล

- สมัชาคนจน ประกาศการชุมนุมใหญ่อย่างเป็นทางการ ออกแถลงการณ์ ฉบับที่ ๑ เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจต่อสาธารณชน ให้ทราบถึงความจำเป็นในการจัดการชุมนุมใหญ่ และเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีมาเป็นประธานในการเจรจา เพราะจากประสบการณ์ชาวบ้านเห็นว่าที่ผ่านมารัฐบาลไม่มีความจริงใจในการแก้ไขปัญหา และคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นหลายต่อหลายชุด ไม่มีอำนาจในการตัดสินใจและไม่ดำเนินการ การแก้ไขปัญหาจึงไม่คืบหน้า

- สมัชชาคนจน ประกาศเจตนารมย์ในการต่อสู้ เพื่อชี้ให้เห็นถึงเป้าประสงค์ในการชุมนุม มีการจัดทำเอกสาร รวบรวมข้อเรียกร้องปัญหา ๗ ข้อ จาก ๕ เครือข่ายปัญหา และประกาศเจตนารมย์ว่าจะสู้จนถึงที่สุด และต้องมีการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมอีกด้วย

- รัฐบาลส่งตัวแทน คือนายจองชัย เที่ยงธรรม มาหว่านล้อมให้ชาวบ้านกลับในท่าทีที่อ้างว่าเป็นกันเอง โดยตะโกนใส่ชาวบ้านว่า มึงไม่เข้าใจกูแล้วจะให้กูช่วยอย่างไร ชาวบ้านจึงตะเพิดไล่นายจองชัยออกไปจากที่ชุมนุม เพราะนายจองชัยเคยรับปากมาครั้งหนึ่งแล้ว แต่ปัญหากลับไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด นอกจากจะไม่มีอำนาจแล้วยังใช้ท่าทีที่ก้าวร้าว ต่อกลุ่มผู้ชุมนุม ชาวบ้านจึงไล่ออกจากที่ชุมนุม

๓๑ มี.ค. ๒๕๓๙  

ชาวบ้านกลุ่มปัญหาต่าง ๆ ทยอยเข้าสมทบจนผู้ชุมนุมเพิ่มขึ้นเป็นกว่าหมื่นคนบรรยากาศการชุมนุมเป็นไปด้วยความวุ่นวาย ชาวบ้านบางส่วนต้องทยอยไปอาบน้ำที่น้ำพุบริเวณสะพานมัฆวาน ใน กพ. และตามวัดต่าง ๆ

- สมัชชาคนจน ได้จัดริ้วขบวนกว่า ๑๐,๐๐๐ คน เดินเท้าจากทำเนียบรัฐบาลไปสักการะพระแก้วมรกต ที่วัดพระแก้วมรกต สนามหลวง โดยทางเจ้าหน้าที่ตำรวจกว่า ๒๐๐ นาย คอยอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้และเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เนื่องจากว่าเป็นวันอาทิตย์ด้วย

- สมัชชาคนจนออกแถลงการณ์ฉบับที่ ๒ ชี้แจงลำดับขั้นตอนที่ได้ทำการร้องทุกข์ต่อรัฐบาลมาหลายต่อหลายครั้ง แต่กลับไม่ได้รับการแก้ไข จึงต้องมีการจัดชุมนุมใหญ่ขึ้น

- ขณะที่ นายสุวิทย์ คุณกิติ รมว.เกษตรฯ ได้ไปเป็นประธานในการเลือกตั้ง เลขาธิการสมัชชาเกษตรกรรายย่อยภาคอีสานที่ จ.ขอนแก่น โดย สมาชิกนับหมื่นคนได้เลือกให้ นายนคร ศรีวิพัฒน์ เป็นเลขาธิการ สกย.อ. คนใหม่แทนนาย บำรุง คะโยธา ที่ได้ลาออกไปเมื่อ ๖ เดือนที่ผ่านมา พร้อมกันนี้ นายสุวิทย์ คุณกิตติ ได้ปราศรัยชี้แจงความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาของ สกย.อ. จนเป็นที่พอใจแก่สมาชิก สกย.อ. ในระดับหนึ่ง สกย.อ. จึงมีมติไม่เคลื่อนไหวกำลังพลในช่วงนี้ จะให้โอกาสรัฐบาลอีกระยะหนึ่ง ส่วนการชุมนุมของสมัชชาคนจนที่หน้าทำเนียบนั้น สกย.อ. ขอเอาใจช่วยและถ้ามีการใช้กำลังกับผู้ชุมนุม สกย.อ. จะเคลื่อนพลมาสนับสนุนสมัชชาคนจนทันที

๐๑ เม.ย. ๒๕๓๙  

สมัชชาคนจนได้แถลงข่าว เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลงมาแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง เพราะปัญหาต่าง ๆ ของกลุ่มปัญหาในเครือข่าย สมัชชาคนจน นั้น เกี่ยวข้องกับหน่วยราชการหลายกระทรวง ซึ่งจำเป็นที่จะต้องอาศัยอำนาจของนายกรัฐมนตรี จึงจะสามารถบัญชาหลายหน่วยงานหลายกระทรวงได้

- ขณะที่นายกรัฐมนตรี นายบรรหาร ศิลปอาชา ได้ให้สัมภาษณ์เสียงแข็งว่าจะไม่เจรจากับกลุ่มผู้ชุมนุม และได้สั่งการให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเร่งแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในจังหวัดของตน อย่าให้ราษฎรเข้ามาในกรุงเทพ มิฉะนั้นถือว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง

๐๒ เม.ย. ๒๕๓๙

 ในช่วงเช้ามืดมีฝนตกลงมา ทำให้ผู้ชุมนุมกว่าหมื่นคนเปียกปอน และมีท่าทางที่อิดโรย มีคนเฒ่า คนแก่หลายคนเริ่มมีอาการตัวร้อนเป็นไข้ แต่ สมัชชาคนจน ยังชุมนุมอย่างสงบ มีการปราศรัยโจมตีรัฐบาลที่ไม่สนใจแก้ไขปัญหาให้ผู้ทุกข์ยาก สลับกับการปราศรัยชี้แจงสภาพปัญหาต่าง ๆ ของแต่ละกลุ่ม

- สมัชชาคนจน ได้ทำจดหมายถึงนายกรัฐมนตรี ยืนยันว่ามีความจำเป็นที่นายกรัฐมนตรีต้องลงมาแก้ไขปัญหาเอง เพราะเป็นผู้มีอำนาจสูงสุด สามารถสั่งการได้ทุกกระทรวง

- สมัชชาคนจนได้จัดแถลงข่าว ณ บริเวณที่ชุมนุม โต้ข้อกล่าวหาที่นายกรัฐมนตรีอ้างว่าปัญหาหมักหมมมานาน ต้องใช้เวลาในการแก้ไขปัญหาและอ้างว่าตนไม่ได้รับรู้กับปัญหาที่ผ่านมา ซึ่งถือว่าเป็นการปัดความรับผิดชอบ ทางสมัชชาคนจนได้ให้เวลากับทางรัฐบาล ๓ วันในการจัดทีมเจรจาที่มีอำนาจเต็มมาเจรจากับตัวแทนสมัชชาคนจน

-การประชุมคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีได้แจ้งให้คณะรัฐมนตรีทราบถึงเรื่องการชุมนุม ของสมัชชาคนจน ที่หน้าทำเนียบรัฐบาล และได้มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี ๒ ท่านลงมาเจรจากับกลุ่มผู้ชุมนุม โดยมอบหมายให้รองนายกนายเชาวลิต ยงใจยุทธ รับผิดชอบกลุ่มผู้ชุมนุมในปัญหาด้านแรงงาน และมอบหมายให้รองนายก นายมนตรี พงษ์พานิช รับผิดชอบเรื่องสมัชชาคนจน รวมทั้งนายกรัฐมนตรียังได้รับปากต่อหน้าสื่อมวลชนว่า เมื่อรองนายกทั้งสองท่านเจรจาหาข้อยุติได้แล้ตนจะเป็นคนให้คำมั่นสัญญาเอง

๐๓ เม.ย. ๒๕๓๙  

สมัชชาคนจน ได้ส่งตัวแทนกว่า ๕,๐๐๐ คน ไปยื่นหนังสือต่อรัฐสภา โดยมี สส.กลุ่มเพื่อนประชาชนกว่า ๑๐ คนลงมารับหนังสือและร่วมขึ้นปราศรัยให้กำลังใจต่อผู้ชุมนุม และรับว่าจะนำเรื่องปัญหาของสมัชชาคนจนเข้ายื่นเป็นญัตติด่วนให้ทางสมาชิกสภาผู้แทนระดมความคิดหาทางออกเสนอต่อคณะรัฐมนตรีอีกต่อหนึ่ง

- สมัชชาคนจน ทำจดหมายถึง สส. ทั้ง ๓๙๑ คน ผ่านประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยมี สส.กลุ่มเพื่อนประชาชน กว่า ๑๐ คนลงมารับเรื่อง

- สภาผู้แทนได้เลื่อนญัติด่วน ปัญหาการชุมนุมเรียกร้องของ สมัชชาคนจน ขึ้นมาพิจารณา โดย สส.ส่วนใหญ่กว่า ๒๐ คน ได้ลุกขึ้นอภิปรายในปัญหาของสมัชชาคนจนเป็นเวลากว่า ๓ ชั่วโมง ประธานสภาผู้แทนจึงขอมติให้ทำความเห็นแนวทางการแก้ไขปัญหาเสนอไปยังคณะรัฐมนตรี ที่ประชุมเห็นชอบด้วยคะแนนที่เป็นเอกฉันท์

- นายมนตรี พงษ์พานิช รองนายกรัฐมนตรี และนายสุวิทย์ คุณกิตติ รมต.เกษตร ได้ขึ้นชี้แจงต่อสภาฯ ว่า รัฐบาลมิได้ทอดทิ้งกลุ่มผู้ชุมนุมอย่างที่เป็นข่าวและกำลังหารือกับส่วนราชการทุกส่วนอยู่เพื่อเร่งแก้ไขปัญหาให้กับทางสมัชชาคนจนอย่างเต็มที่อยูแล้ว

๐๔ เม.ย. ๒๕๓๙  

การชุมนุมของสมัชชาคนจนยังดำเนินไปอย่างเข้มข้น มีกลุ่มปัญหาต่าง ๆ เข้ามาสมทบจนสถานที่ชุมนุมคับแคบไปถนัดตา มีการปราศรัยประเด็นปัญหา ขี้แจงความทุกข์ยากต่าง ๆ ของกลุ่มปัญหาอย่างต่อเนื่อง

- การเจรจาระหว่าง สมัชชาคนจน กับ รัฐบาล ได้เริ่มขึ้นเป็นวันแรก โดยมีนายมนตรี พงษ์พานิช เป็นประธานโดยมีตัวแทนสมัชชาคนจนกว่า ๑๒๐ คนและตัวแทนราชการหน่วยต่าง ๆ อีกกว่า ๑๐๐ คน ร่วมหารือกัน ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ในเบื้องต้นจึงได้มีการแบ่งกลุ่มปัญหาออกเป็น ๔ กลุ่ม คือ กลุ่มปัญหาเขื่อน มีนายยิ่งพันธ์ มนะสิการ รมต.กระทรวงวิทยาศาสตร์ ฯ เป็นประธานกลุ่มปัญหาป่าไม้-ที่ดิน มีนายสุวิทย์ คุณกิตติ รมต.กระทรวงเกษตร ฯ เป็นประธาน กลุ่มปัญหาโครงการพัฒนาของรัฐ มี พล.ต.ศรชัย มนตรีวัต รมช.มหาดไทย เป็นประธาน และกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสลัม มีนายเสนาะ เทียนทอง รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน ผลการเจรจาสรุปดังนี้

1.กลุ่มปัญหาเขื่อน ไม่สามารถเจรจาคืบหน้าได้ เนื่องจากว่า นายยิ่งพันธ์ ประธานที่ประชุมไม่ยอมรับข้อเรียกร้องของชาวบ้านเขื่อนสิรินธร ซึ่งเป็นปัญหาแรกที่เสนอเข้าสู่การพิจารณา โดยอ้างว่าไม่มีอำนาจการตัดสินใจต้องตั้งอนุกรรมการเพื่อพิจารณานำข้อเรียกร้องเสนอต่อ ครม.ก่อน ทำให้สมัชชาคนจนต้องยุติการเจรจาเนื่องจากพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่มีประโยชน์อันใดที่จะเจรจากับฝ่ายรัฐบาลที่ไม่มีอำนาจ ทั้ง ๆ ที่การเปิดการประชุม นายมนตรี พงษ์พานิช รองนายก ฯ ได้กล่าวยืนยันว่า ตัวแทนรัฐบาลที่เจรจา มีอำนาจเต็มที่สามารถตัดสินใจได้เลย

ข้อเรียกร้องของสมัชชาคนจนในกลุ่มปัญหาเขื่อนก็ คือ ทางรัฐบาลจะต้องส่งผู้แทนที่มีอำนาจเต็มมาเจรจากับสมัชชาคนจนเท่านั้น ไม่ใช่ส่งตัวแทนที่เป็นเพียงบุรุษไปรษณีย์เช่นนายยิ่งพันธ์

2.กลุ่มปัญหาป่าไม้-ที่ดิน สมัชชาคนจนได้หยิบยกประเด็นปัญหาสีคิ้วเป็นประเด็นแรกในการเจรจา ใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง ผลปรากฏว่าไม่สามารถเจรจาต่อไปได้เนื่องจากที่ประชุมขาดตัวแทนจากกระทรวงการคลังที่ดูแลรับผิดชอบกรมธนารักษ์ ทำให้ฝ่ายรัฐบาลไม่สามารถตัดสินใจได้ สมัชชาคนจนจึงขอปิดการประชุม

ข้อเรียกร้องของสมัชชาคนจนในกลุ่มปัญหาป่าไม้-ที่ดิน ก็คือ องค์ประกอบของฝ่ายรัฐบาลจะต้องมีตัวแทนที่สามารถตัดสินใจได้ การเจรจาระหว่างสมัชชาคนจนกับรัฐบาลจึงจะเกิดขึ้นต่อไป

3.กลุ่มปัญหาโครงการพัฒนาของรัฐและสลัม ฝ่ายรัฐบาลได้ยอมรับข้อเรียกร้องของสมัชชาคนจน โดยปัญหาทุ่งดอนแต้ว จะมีการฟังผลในวันที่ 5 เม.ย. เวลา 14.00 น โครงการพัฒนาด่านช่องเม็ก ทางผู้ว่าฯ อุบลรับไปดำเนินการภายใน 30 วัน และกลุ่มบ้านโพธิ์เขียวรวมทั้งสลัมจะเปิดเจรจาอีกครั้งในวันที่ 5 เมษายน เช่นกัน

4.กลุ่มปัญหาผู้ป่วยจากแรงงาน ฝ่ายรัฐบาลยอมรับข้อเรียกร้องในการตั้งกรมอาชีวเวชศาสตร์ และมูลนิธิสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของแรงงานแห่งประเทศไทย ยกเว้นประเด็นการจ่ายค่าทดแทนเนื่องจากการเจ็บป่วยจากการทำงานยังหาข้อสรุปไม่ได้ โดยทางฝ่ายรัฐบาลอ้างว่าข้อเรียกร้องที่ให้ผู้ป่วยสามารถขอรับความช่วยเหลือค่าเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานได้เลยถ้ามีใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งโดยไม่มีการเรียกเก็บหลักฐานประวัติ แต่นายเสนาะ อ้างว่าผิดกฎหมาย ทำให้มีการตกลงกันว่าจะเปิดการเจรจาอีกรอบหนึ่งในวันที่ 9 เมษายน เวลา 14.00 น.

สมัชชาคนจน ได้ประชุมภายหลังการเจรจาสรุปได้ว่า ในกลุ่มปัญหาโครงการพัฒนาของรัฐและสลัมและกลุ่มปัญหาผู้ป่วยจากการทำงานจะดำเนินการเจรจาต่อไปตามข้อตกลงเพื่อให้เกิดความคืบหน้าในการเจรจา แต่สำหรับกลุ่มปัญหาเขื่อนและกลุ่มปัญหาป่าไม้-ที่ดิน จะไม่เปิดการเจรจาใด ๆ ตราบใดที่ไม่มีการเปลี่ยนตัวแทนฝ่ายรัฐบาลในกลุ่มปัญหาเขื่อนที่มีอำนาจเต็มแทนนายยิ่งพันธ์ และไม่มีตัวแทนหน่วยงานที่สามารถตัดสินใจได้ในกลุ่มปัญหาป่าไม้-ที่ดิน ทั้งนี้เพื่อให้การเจรจามีผลในทางปฎิบัติได้อย่างแท้จริง ไม่ใช่การเตะถ่วงเวลาดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นมาโดยตลอด

๐๕ เม.ย. ๒๕๓๙  

สมัชชาคนจน ได้ออกแถลงการฉบับที่ ๓ เรียกร้องให้รัฐบาลจริงใจในการเจรจาแก้ไขปัญหาสมัชชาคนจน ส่งผู้มีอำนาจเต็มมาเจรจา ในท่าทีที่เป็นมิตร จากผลการเจรจาอย่างเป็นทางการระหว่างสมัชชาคนจนกับตัวแทนรัฐบาลที่เกิดขึ้นในวันที่ 4 เมษายน ไม่ค่อยคืบหน้านัก สมัชชาคนจนในกลุ่มปัญหาเขื่อน จึงเรยกร้องให้ทางรัฐบาลจะต้องส่งผู้แทนที่มีอำนาจเต็มมาเจรจากับสมัชชาคนจนเท่านั้น ส่วนข้อเรียกร้องของสมัชชาคนจนในกลุ่มปัญหาป่าไม้-ที่ดิน คือ องค์ประกอบของฝ่ายรัฐบาลจะต้องมีตัวแทนที่สามารถตัดสินใจได้ การเจรจาระหว่างสมัชชาคนจนกับรัฐบาลจึงจะเกิดขึ้นต่อไป และเรียกร้องให้ตัวแทนจากกระทรวงการคลังเข้าร่วมเจรจาด้วย มิฉะนั้นที่ประชุมก็จะไม่สามารถหาข้อยุติได้ เพราะเรื่องเกี่ยวข้องกับกระทรวงการคลังด้วย และพร้อมกันนี้ได้ประนามท่าทีของนายจองชัย เที่ยงธรรม ที่แสดงอำนาจบาตรใหญ่ มองเห็นสมัชชาคนจนเป็นผู้มาขอนั่นขอนี่ สมัชชาคนจนขอชี้แจงให้พี่น้องประชาชนได้ทราบว่า สมัชชาคนจน กว่าหมื่นคนที่มาชุมนุมเรียกร้องอยู่ขณะนี้ มาทวงสัญญาที่รัฐบาลต่าง ๆ ได้ให้คำมั่นสัญญาไว้ และเป็นสิทธิอันชอบธรรมที่เราจะเรียกร้อง ไม่ไช่มาร้องขออย่างที่นายจองชัยเข้าใจ นายจองชัยต้องเข้าใจว่าชาวบ้านไม่ได้มาขอทาน แต่มาทวงสิทธิ ทวงหนี้ที่รัฐได้สร้างขี้น และนายจองชัยควรแสดงท่าทีที่เหมาะสมกับการเป็นผู้แทนราษฎรผู้ทรงเกียรติ มิไช่คนเก็บกดหรือตี๋กร่าง

-ตัวแทนกลุ่ม สภาแรงงานนำโดยนายสมศักดิ์ โกไสสุข และคณะ ได้มาเยี่ยมให้กำลังใจกลุ่มผู้ชุมนุม และได้มอบข้าวสารจำนวน ๓๐ กระสอบ เพื่อเป็นเสบียงในการชุมนุม และหารการเจรจาไม่เป็นผล กลุ่มสภาแรงงาน ๓๔ องค์กรจะเข้าร่วมเคลื่อนไหวร่วมกับสมัชชาคนจนอย่างแน่นอน

๐๖ เม.ย. ๒๕๓๙  

สมัชชาคนจน กว่าหมื่นคน ได้จัดริ้วขบวนไปสักการะพระบรมรูป ร๕ เนื่องในวันจักกรี และได้จัดริ้วขบวนรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมศานุวงศ์ ที่เสด็จพระราชดำเนินผ่านบริเวณที่ชุมนุม

- สมัชชาคนจน ได้จัดทำ จดหมายเปิดผนึก ถึง นายกรัฐมนตรี ชี้แจงอุปสรรคปัญหาในการเจรจา เพื่อให้นายกรัฐมนตรีรับทราบและมีบรรชามอบอำนาจให้กับรัฐมนตรีต่าง ๆ ที่มาเป็นประธานชุดเจรจา ชุดต่าง ๆ เพื่อความคืบหน้าและความเข้าใจอันดีต่อกัน

๐๗ เม.ย. ๒๕๓๙  

- สมัชชาคนจนนับหมื่นคนยังชุมนุมอย่างสงบ มีการปราศัย และจัดเวทีอภิปรายกลางแจ้ง ในขณะที่ตัวแทนการเจรจาก็ได้มีการซักซ้อมการเจรจากันอย่างเข้มข้น รวมทั้งยังได้จัดที่ อสม.เข้าทำความสะอาดวัด และบริเวณที่ชุมนุมอย่างเอาจริงเอาจัง

- สมัชชาคนจน ได้ออกแถลงการฉบับที่ ๔ ชี้แจงประเด็นปัญหาที่ติดขัดในการเจรจา อันเนื่องมาจากประธานชุดเจรจาเรื่องเขื่อนอ้างว่าเรื่องนี้ไม่มีอำนาจตัดสินใจต้องปรึกษา ครม. ก่อน และชุดป่าไม้ที่ดินมีองค์ประกอบผู้รับผิดชอบเข้าเจรจาไม่ครบ

- กลุ่มสมัชชาเกษตรทางเลือก ได้มาให้กำลังใจ และรวบรวมข้าวของมามอบให้ รวมทั้งเงินสดอีกหมื่นกว่าบาท และตัวแทนสมัชชาเกษตรทางเลือกได้ขึ้นกล่าปราศัยให้กำลังใจสมัชชาคนจนให้ต่อสู้ให้ถึงที่สุด

- ช่วงเวลาประมาณ ๒๑.๐๐ น. นายกรัฐมนตรี นายบรรหาร ศิลปอาชา ได้ลงมาเยี่ยมราษฎรที่ชุมนุมอยู่หน้าทำเนียบรัฐบาล ได้สร้างความยินดีต่อผู้เข้าร่วมชุมนุมนับหมื่นในนามสมัชชาคนจนเป็นอย่างยิ่ง การไถ่ถามถึงความเป็นอยู่ การเจ็บไข้ได้ป่วย รวมไปจนถึงกรณีปัญหาของแต่ละกลุ่ม ได้สร้างความเชื่อมั่นให้กับชาวบ้านผู้ร่วมชุมนุมว่า ในไม่ช้าปัญหาต่าง ๆ คงจะได้รับการแก้ไข แต่ก็ไม่ได้ขึ้นปราศัยหรือรับปากว่าจะก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมแต่อย่งใด เพียงแต่บอว่าให้กลับบ้านไปก้อนแล้วจะดูแลปัญหาให้ และยังได้ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนว่า บางคนที่มาก็ไม่รู้เรื่องอะไร ลูกบอกให้มาก็มา

๐๘ เม.ย. ๒๕๓๙  

การชุมนุมของ สมัชชาคนจนยังดำเนินไปอย่าสงบ ผู้เฒ่า ผู้แก่ ล้มป่วยลงเป็นอย่างมาก ขณะที่ทางรัฐบาลได้ประสานมายังกลุ่มผู้ชุมนุมว่า นายกมีบัญชาให้เริ่มเจรจากันอีกทั้ง ๔ กลุ่ม ในวันรุ่งขึ้น โดยยินดีที่จะแก้ไขอุปสรรคปัญหาบางประการตามที่ทางสมัชชาคนจนได้แจ้งไป

- สมัชชาคนจน ได้ออกแถลงการณ์ ฉบับที่ 5 ประกาศเตรียมจัดสงกรานต์ หากเจรจาไม่คืบหน้า จากบทเรียนหลายต่อหลายครั้ง ของสมัชชาคนจนและกลุ่มเครือข่ายปัญหาต่าง ๆ ได้ประสบพบมา การตั้งคณะกรรมการ แล้วให้ชาวบ้านผู้ชุมนุมกลับไปก่อนนั้น ไม่สามารถสร้างความมั่นใจให้กลุ่มผู้ชุมนุมในนามสมัชชาคนจนได้ เราเห็นว่าปัญหาจะคลี่คลายได้ก็ต่อเมื่อ

1.ต้องมีชุดเจรจาที่ครบองค์ประกอบ และมีอำนาจเต็มในการตัดสินใจ รวมทั้งมีความจริงใจในการแก้ไขปัญหา

2.ชุดเจรจาฝ่ายรัฐบาล ต้องมีทัศนะคติที่ดี เข้าใจในปัญหาของชาวบ้าน และมีจิตใจที่เป็นธรรม รวมถึงการให้ชาวบ้านที่เป็นเจ้าของปัญหาได้มีส่วนร่วมในการพิจารณาแก้ไขปัญหา

3.การแก้ไขปัญหาในประเด็นต่างๆ จะต้องมีการกำหนดระยะเวลาการดำเนินการ มีกระบวนการ แผนงาน รวมทั้งงบประมาณ ในการดำเนินการอย่างชัดเจน

4.เมื่อชุดเจรจาได้พิจารณาหาข้อยุติได้แล้ว ต้องมีมติ มีคำสั่ง รวมทั้งต้องมีการสั่งการเป็นลายลักษณ์อักษร อย่างชัดเจน และต้องนำเรื่องเข้าครม. เพื่อให้ครม.มีมติรับรอง เห็นชอบ หรืออนุมัติ

5.ต้องมีการติดตาม ตรวจสอบ ความคืบหน้า ให้ต่อเนื่อง จนสามารถเห็นถึงการบรรลุผลที่เกิดขึ้น

ดังนั้น สมัชชาคนจน จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องชุมนุมรอฟังผลการเจรจา เพื่อติดตามความคืบหน้าของกระบวนการทั้ง 5 ขั้นตอนดังกล่าวมาแล้ว

- สมัชชาคนจน ได้เชิญชวนพี่น้องประชาชน เตรียมร่วมฉลองงานมหาสงกรานต์ หากการเจรจาไม่คืบหน้า ที่หน้าทำเนียบรัฐบาล โดยจะได้จัดให้มีทั้ง พิธีกรรมทางศาสนา การรดน้ำผู้เฒ่าผู้แก่ งานวัฒนธรรมสี่ภาค การละเล่นพี้นบ้าน และการรดน้ำดำหัวตามประเพณี ทั้งนี้ เราขอเชิญ ฯพณฯนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีมาร่วมงานด้วย โดยจะจัดส่งหนังสือเชิญที่เป็นทางการในวันต่อไป

๐๙ เม.ย. ๒๕๓๙  

ตัวแทนสมัชชาคนจนกว่า ๑๒๐ คน ได้เข้าร่วมเจรจากับตัวแทนฝ่ายรัฐบาลอีครั้ง ที่ทำเนียบรัฐบาล ได้ข้อสรุปคร่าว ๆ ดังนี้

๑.กลุ่มเขื่อน

ประธานการประชุม คือ นายยิ่งพันธ์ มนะสิการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม โดยมีหน่วยงานราชการที่สำคัญคือ อธิบดีกรมชลประธาน สำนักงบประมาณ ร่วมการเจรจาด้วย

ประเด็นแรก ที่ประชุมมีมติร่วมกันคือเรื่องหลักการใหญ่ ๆ ที่เสนอมารัฐบาลรับได้

ประเด็นที่สอง ตัวแทนสมัชชาคนจนได้เสนอหลักการในการพิจารณาค่าชดเชย โดยให้ยึดหลักตามมติคณะรัฐมนตรีลงวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๓๒ ซึ่งมีสาระสำคัญคือ ในการก่อสร้างเขื่อนให้จ่ายค่าชดเชยแก่ชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อน โดยพิจารณาจากการครอบครองทำกินจริงเป็นหลัก โดยพิสูจน์จากหลักฐานอ้างอิงอื่นๆ โดยไม่คำนึงถึงว่าชาวบ้านจะมีเอกสารสิทธิ์หรือไม่ เช่น ถ้าอาศัยอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติจริง แม้โดยไม่มีเอกสารสิทธิ์ก็จะได้รับการทดแทน เป็นต้น

ตัวแทนฝ่ายรัฐได้ยอมรับข้อตกลงนี้ตามที่ตัวแทนสมัชชาคนจนเสนอ อย่างไรก็ตาม มีประเด็นปัญหาเกิดขึ้นคือ รัฐบาลอ้างว่ามติคณะรัฐมนตรีในปี ๒๕๓๒ ดังนั้นรัฐบาลจะจ่ายค่าชดเชยให้เฉพาะเขื่อนที่สร้างหลังปี ๒๕๓๒ เท่านั้น ไม่จ่ายย้อนหลัง ดังนั้นจะไม่ครอบคลุมกรณีของเขื่อนสิรินธร

ขณะที่ตัวแทนฝ่ายสมัชชาคนจน ยืนยันว่า กฎหมายที่เป็นคุณสามารถบังคับใช้ย้อนหลังได้

ที่ประชุมเสนอให้ส่งเรื่องให้ คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความ

ประเด็นที่สาม ค่าเสียโอกาสจากการสร้างเขื่อน ประเด็นนี้ตัวแทนฝ่ายรัฐอ้างว่าไม่มีระเบียบฉบับใดที่อนุญาตให้จ่ายค่าเสียโอกาสได้

ตัวแทนสมัชชาคนจน จึงเสนอให้หาที่ดินทดแทน ครอบครัวละ ๑๕ ไร่

ต่อมาในการเจรจาภาคบ่าย ซึ่งมี นายบุญพันธ์ แขวัฒนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นประธานแทนนายยิ่งพันธ์ นายบุญพันธ์ได้หยิบประเด็นนี้ขึ้นมาหารือว่าจะสามารถหาที่ดินทดแทนให้ได้หรือไม่ ทางฝ่ายสมัชชาคนจนจึงเสนอว่า ให้รัฐหาที่ดินทดแทนให้ ในกรณีที่หาที่ดินให้ไม่ได้ หรือหาที่ดินให้ได้จำนวนหนึ่งไม่ครบตามจำนวนที่กำหนด ก็ให้จ่ายเป็นเงินทดแทน

นายบุญพันธ์เสนอให้ กฟผ.ไปหารือการจ่ายค่าชดเชย

อย่างไรก็ตาม ในชั้นบันทึกรายงานเพื่อสรุปในภาคบ่ายทางสำนักงบประมาณได้แย้งในสิ่งที่สมัชชาคนจนได้สรุปผลการพิจารณา ขณะที่ประธานที่ประชุมคือ นายบุญพันธ์อ้างว่าตนเองไม่ได้อยู่ในการจาในภาคเช้าจึงไม่อาจสรุปการเจรจาได้ จึงให้พิจารณาอีกครั้งในวันรุ่งขึ้น (วนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์ รายงาน)

๒.กลุ่มโครงการพัฒนาของรัฐ และปัญหาชุมชนแออัด

ประธานการประชุมคือ พลตรีศรชัย มนตริวัตร รมช.มหาดไทย

๒.๑ กรณีศูนย์ราชการ บ้านโพธิ์เขียว ชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบได้ยินยอมที่จะลดท่าทีลง โดยยอมที่จะโยกย้ายออกจากพื้นที่ที่ทราชการประสงค์จะใช้ก่อสร้างศูนย์ราชการ แต่รัฐบาลต้องหาที่ดินชดเชยใหม่ที่เป็นธรรม ดังนั้นที่ประชุมจึงสรุปให้ตัวแทนชาวบ้าน และผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ลงไปดูพื้นที่ในวันเดียวกันนั้น

อย่างไรก็ตาม ครั้นตัวแทนชาวบ้านเดินทางถึงจังหวัดสุพรรณบุรี ผู้ว่าฯกลับไม่ได้พาไปดูที่ดินตามที่ได้ตกลงกันไว้ แต่กล่อมให้ชาวบ้านกลับบ้านเลิกการชุมนุมแทน

๒.๒ กรณีโรงงานกำจัดกากสารเคมีเจนโก้ อ.ปลวกแดง จ.ระยอง ความคืบหน้าในขณะนี้ทางรัฐบาลยอมย้ายที่ตั้งโรงงานไปที่อื่นแล้ว แต่ยังใช้เป็นที่กลบฝังขยะอยู่ที่เดิม ซึ่งชาวบ้านยืนยันที่จะคัดค้าน

ในการเจรจา ตัวแทนรัฐอ้างว่า ขณะที่ยังไม่มีเพียงพอที่จะตัดสินใจในเรื่องนี้ได้ จึงให้กระทรวงวิทยาศาสตร์ดำเนินการศึกษาเรื่องนี้ภายใน ๗ วัน โดยขอให้ส่งข้อมูลพรุ่งนี้ วันที่ ๑๖ ให้นัดกันครั้งแรก ที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ โดยเรื่องทั้งหมดให้สรุปไม่เกิน ๑๐ วัน ถ้าศึกษาแล้วมีข้อสรุปชัดเจนว่าจะไม่มีผลกระทบจึงจะสร้างได้

๒.๓ กรณี บุรีรัมย์

ผลการเจรจาคืบหน้าระดับหนึ่ง ให้มีการพิสูจน์สิทธิ์ในระดับพื้นที่

๒.๔ กรณีนิคมทหารผ่านศึก ตัวแทนฝ่ายทหารยินยอมที่จะอะลุ้มอะหล่วย ให้ประชาชนได้ใช้พื้นที่ร่วมกันได้ สำหรับรายละเอียดให้เจรจาในระดับพื้นที่อีกครั้งหนึ่ง

๒.๕ นิคมอุตสาหกรรมคำสมิง กิ่งอ.คำสมิง จ.อุบลราชธานี

ผลการเจรจาเป็นไปตามข้อเรียกร้องโดยผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เตรียมเสนอยกเลิกโคนิคมอุตสาหกรรมโดยกล่าวว่า“ไม่เห็นด้วยในการตั้งนิคมอุตสาหกรรมติดริมน้ำและเป็นต้นน้ำที่อยู่เหนือเขื่อนเก็บน้ำปากมูล”

๒.๔ โครงการพัฒนาด่านช่องเม็ก อ. จ.อุบลราชธานี

ผลการเจรจาผู้ว่าราชการยอมรับที่จะแก้ไขปัญหาให้เสร็จภายใน ๓๐ วัน โดยจะกันพื้นที่ของราษฎรออก ในส่วนที่มีการรุกล้ำพื้นที่ไปแล้วให้จ่ายค่าชดเชย สำหรับการออกเอกสารสิทธิ์ให้ใช้หลักใหญ่ตามกระบวนการพิสูจน์สิทธิ์การถือครองที่ดินว่า ราษฎรครอบครองที่ดินทำกินมาก่อนที่รัฐจะประกาศพื้นที่ทับหรือไม่

- ตกลงกันแนวเขตบ้านเหล่าอินทร์แปลง อ.สิรินธรออกจากผังโครงการ-ที่อยู่อาศัย

- ที่ดินทำกิน กรณีโครงการทับที่ดินจะชดเชยให้

- ตั้งคณะกรรมการร่วมชุดใหม่โดยมีตัวแทนจากทั้งสองฝ่ายเข้าร่วม ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน ๓๐ วันนับแต่วันนี้ )

ในส่วนปัญหาชุมชนแออัด

ประธานการประชุมคือ พลตรีศรชัย มนตริวัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

ผลการเจรจามีความคืบหน้าที่เป็นรูปธรรมมากพอสมควร หลายปัญหาได้ข้อยุติบนโต๊ะเจรจา เรื่องที่ไม่สามารถยุติได้คือ กรณีปัญหาชุมชนแออัดคลองเตย เนื่องจากเป็นปัญหาที่ยืดเยื้อมานาน

กรณีโฮปเวลล์ ชาวบ้านที่อยู่ในแนวเวนคืน เสนอข้อเรียกร้องให้ชดเชย ๑๐๐,๐๐๐ บาท สำหรับบ้านหลังใหญ่ และ๕๐,๐๐๐ บาท สำหรับบ้านหลังเล็ก แต่ผลการเจรจาไม่ได้ข้อสรุป ตัวแทนโฮปเวลล์ ซึ่งเป็นชาวต่างประเทศ บอกว่าชาวบ้านเป็นผู้บุกรุก อยู่แล้ว จะจ่ายค่าชดเชยให้ ๒๐๐ บาท ต่อตารางเมตร (ประมาณ ๘,๐๐๐ บาทต่อหนึ่งหลัง) ให้เท่านั้น ผลการเจรจาไม่ได้ข้อสรุป แต่พลตรีศรชัยสั่งการให้ไปหาข้อยุติให้ได้ภายในวันที่ ๓๐ เมษายนนี้ และในระหว่างนี้ไม่ให้มีการไล่รื้อเด็ดขาด

สำหรับข้อเรียกร้องในระดับนโยบายยังไม่มีการเจรจา

๓.กลุ่มปัญหาป่าไม้ที่ดิน

๓.๑ กรณีปัญหาที่ดินอ.สิคิ้ว และ.คง จ.นครราชสีมา

ผลการเจรจา ได้ข้อตกลงตามที่ตัวแทนสมัชชาคนจนเรียกร้องในสาระสำคัญ คือ

๑) ในกรณีชาวบ้านจำนวน ๑,๓.. ราย ที่มีเอกสารสิทธ์อยู่แล้ว ให้ทางราชการกันที่ราชพัสดุออกและออกเอกสารสิทธิ์ให้ตามประมวลกฏหมายที่ดิน

๒) ในกรณีชาวบ้านจำนวน ๘,.... ราย ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ให้ใช้ภาพถ่ายดาวเทียมปี ๒๔๙๕ พิสูจน์การถือครองที่ดิน ถ้าราษฎรอยู่ก่อนให้ออกเอกสารสิทธิ์ให้เช่นเดียวกับข้อ ๑) แต่ถ้าราษฎรอยู่หลังปี ๒๔๙๕ ให้ออกเอกสารสิทธิ์ สปก.๔-๐๑ให้ โดยขณะนี้ให้ออก สปก.๔-๙๘ ให้ก่อน (สปก.๔-๙๘ คือเอกสารที่ออกให้ระหว่างการเตรียมการออกสปก.๔-๐๑ เปรียบเสมือนกับบัตรเหลืองในกรณีการทำบัตรประชาชน)

อย่างไรก็ตาม มีปัญหาก็คือ ชาวบ้านบางส่วนไม่ได้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม จึงไม่มีคุณสมบัติเป็นเกษตรกร จะมีปัญหาไม่สามารถออกสปก.๔-๐๑ให้ได้

๓.๒ กรณีที่ดิน กิ่งอ.ซำสูง จ.ขอนแก่น

การเจรจาวันนี้ตัวแทนฝ่ายรัฐเสนอให้มีการลงพื้นที่พิสูจน์ที่ดิน แต่ทางสมัชชาคนจนเสนอให้นำแผนที่มาพิจารณา ที่สาธารณะประโยชน์ โสกตุกหลุก ว่าเป็นพื้นที่เดียวกับที่ราชการกล่าวอ้างและขับไล่ชาวบ้านหรือไม่ โดยจะพิจารณาให้ได้ข้อสรุปในวันที่ ๑๑ เมษายนนี้

๓.๓ กรณีห้วยดอนหญ้า ตัวแทนผู้รู้ข้อมูลของสมัชชาคนจนมิได้เข้าร่วมการเจรจา และมีข้อมูลผิดพลาดจึงขอยกไว้ก่อน

๓.๔ กรณีบ้านเขากระโดง รัฐมนตรีช่วยเนวิน ชิดชอบรัฐบาลไปพิจารณาในพื้นที่

๔.กลุ่มผู้ป่วยจากการทำงาน

ประธานการประชุมคือ นายเสนาะ เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

สืบเนื่องจากการเจรจาในวันที่ ๔ เมษายน ที่ให้กลุ่มผู้ป่วยส่งใบรับรองแพทย์แก่คณะกรรมการแพทย์ ในวันนี้ ตัวแทนกลุ่มผู้ป่วยชี้แจงว่า จะไม่ส่งใบรับรองแพทย์ให้ เนื่องจากแพทย์ของกระทรวงยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาชีวเวชศาสตร์ ตัวแทนกลุ่มผู้ป่วยจึงเสนอให้รัฐบาลดำเนินการให้แพทย์ไปจดทะเบียนกับ แพทย์สภา เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเสียก่อน จึงจะส่งใบรับรองแพทย์ให้

ข้อเสนอเรื่องการตั้งกรมอาชีวเวชศาสตร์ ทางรัฐบาลยอมรับในหลักการแต่ขณะนี้เรื่องยังค้างอยู่ที่ คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ข้อเสนอเรื่องการตั้งสถาบัน ที่ประชุมยอมรับขั้นหลักการ

ปัญหาที่ติดค้างอยู่ก็คือ การจ่ายค่าทดแทนของกองทุนทดแทน ตัวแทนรัฐอ้างว่าขอเสนอของกลุ่มผู้ป่วยขัดกับระเบียบดังกล่าว ดังนั้นตัวแทนสมัชชาคนจนจึงขอไปศึกษาระเบียบดังกล่าวก่อน

อย่างไรก็ตาม ข้อสรุปของหมวดนี้ยังมีข้อปัญหาติดขัดคือไม่มีการกำหนดเงื่อนเวลาที่ชัดเจน

-ในวันเดียวกัน ภรรยานายกรัฐมนตรี นางแจ่มใส ศิลปอาชา และบุตรสาว สส.กาญจนา ศิลปอาชา ได้มาเยี่ยมกลุ่มผู้ชุมนุม และรับว่าจะจัดหาข้าวสาร น้ำสะอาด และรถสุขามาเพิ่มให้

- สมัชชาคนจน แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนยืนยันว่า จะชุมนุมกันอย่างสงบ รอฟังผลการเจรจาต่อไปจนกว่าจะได้ข้อยุติ อย่าได้ตีความว่า การที่นายกลงมาเยี่ยมแล้วพูดจาสองสามคำ จับไม้จับมือชาวบ้าน แล้วจะทำให้ชาวบ้านใจอ่อนยอมกลับไปทั้งที่ยังไม่มีข้อยุติ ไม่มีหลักประกัน สมัชชาคนจน ยืนยันในเจตนารมย์เดิมว่า เราจะเดินทางกลัยภูมิลำเนาของเราก็ต่อเมื่อ การเจรจามีข้อยุติที่เป็นที่พอใจของทั้งสองฝ่าย และมีหลักประกันที่หนักแน่นเพียงพอเท่านั้น

๑๐ เม.ย. ๒๕๓๙ 

สมัชชาคนจน ชุมนุมอย่างสงบ ผลัดเปลี่ยนกันปราศรัยในประเด็นปัญหาต่าง ๆ รอผลชุดเจรจาที่กำลังดำเนินคืบหน้าไปเรื่อย ๆ

การชุมนุมของสมัชชาคนจน ย่างเช้าสู่วันที่ ๑๒ ยังไม่มีท่าทีว่าจะหาข้อสรุปร่วมกันกับรัฐบาลได้ การเจจาอย่างเป็นทางการยุติลง มีเพียงการหารือกันอย่าไม่เป็นทางการเท่านั้น

- นางแจ่มใส ศิลปอาชา และสส.กาญจนา ศิลปอาชา ได้ให้ตัวแทนนำข้าวสารเหนียวมามอบให้กลุ่มผู้ชุมนุม จำนวน ๒๐ กระสอบปุ๋ย

๑๑ เม.ย. ๒๕๓๙  

สมัชชาคนจน ออกแถลงการณ์ ฉบับที่ ๖ ยืนยันข้อเรียกร้องต้องมีแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เป็นรูปธรรม และมีหลักประกันที่ชัดเจน ตอบโต้กระแสข่าวที่ทางรัฐบาลพยายามออกมาพูดว่าเรื่องทั้งหมดจบแล้วและขอให้ชาวบ้านไปก่อน โดยการให้สัมภาษณ์ของนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล โฆษกรัฐบาล และช่วงท้ายได้ประนามนายสมัคร สุนทรเวชที่ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนว่า กลุ่มผู้ชุมนุมถูกหลอกมา

๑๒ เมษายน ๒๕๓๙

 สมัชชาคนจน ได้ออกแถลงการณ์ ฉบับที่ ๘ เรียกร้องให้รัฐบาลหยุดเล่นเกมส์ ขอหลักประกันที่หนักแน่น ยืนยัน นายกรัฐมนตรี ต้องลงนาม , ครม. ต้องรับรองผลการเจรจา เตรียมมาตรการ ยุทธการแม่น้ำร้อยสายไหลล้อมทำเนียบ จากการที่รัฐบาลตีรวนจะไม่นำข้อตกลงเข้าสู่ ครม. เพื่อให้ ครม. รับรอง โดยอ้างว่า จัดเตรียมวาระไม่ทัน

- การชุมนุมของสมัชชาคนจน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องชุมนุมต่อไป และขอเตือนรัฐบาลหยุดเกมส์หลอกลวงตบตาประชาชน หยุดการแบ่งแยกและทำลายคนจน เราเหล่าคนจนมีความจริงใจต่อกันเราสัญญากันตั้งแต่เริ่มต้นแล้วว่า ตราบใดที่ปัญหาทุกปัญหาของพวกเรายังไม่ได้รับการแก้ไข เราจะอยู่ร่วมกันตลอดไป เราจะเอาความจริงใจของเหล่าหมู่คนจนตามหาความจริงใจในการแก้ไขปัญหาจากรัฐบาล และในวันอังคารที่จะถึงนี้ถ้าหาข้อตกลงในการเจรจา , หลักประกันในข้อตกลง ยังไม่คืบหน้า ยุทธการแม่น้ำร้อยสายไหลล้อมทำเนียบ ก็จะเริ่มขึ้น การเข้ามาของเหล่าคนจนเพื่อถามถึงความจริงใจของรัฐบาลจะเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ

๑๓ เม.ย. ๒๕๓๙  

สมัชชาคนจน จัดมหาสงกรานต์ ฉลองการขึ้นปีใหม่แบบไทย ๆ โดยมีการทำบุญเลี้ยงพระ รดน้ำผู้สูงอายุที่อยู่ในที่ชุมนุม โดยมีคุญยายน้อย ร่วงปัญญา อายุ ๑๐๑ ปี ซึ่งถือว่าอาวุโสสูงสุดในที่ชุมนุม จากนั้นได้มีการประกวด เทพีคนจน โดยมีผู้เข้าร่วมที่อายุ ๕๐ ปีขึ้นไปกว่า ๒๐ คน และได้มีการตัดสินให้ ชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนเรื่องที่ดินทำกิน อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา อายุ ๖๑ ปี เป็นเทพีสมัชชาคนจน ต่อจากนั้นมีการประกวดเทพีสงกรานต์ที่อายุ ๑๐ - ๕๐ ปี ตัวแทนจากชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนจากกรณีการจะสร้างเขื่อนโป่งขุนเพชร จ.ชัยภูมิ อายุ ๑๔ ปี

- หลังจากนั้นขบวนคนจน ได้จัดริ้วขบวนแห่นางสงกรานต์ ไปรอบ ๆ บริเวณที่ชุมนุม และกลับเข้ามาร่วมงานรื่นเริง และรดน้ำดำหัวกันอย่างสนุกสนาน

- ในช่วงบ่าย ตัวแทนกลุ่มปัญหาต่าง ๆ กว่า ๒๐ คน ได้ขึ้นอ่านแถลงการณ์ ฉบับที่ ๘บนเวที สมัชชาคนจนเรียกร้องให้รัฐบาลหยุดเล่นเกมส์ ขอหลักประกันที่หนักแน่น ยืนยัน นายกรัฐมนตรี ต้องลงนาม , ครม. ต้องรับรองผลการเจรจา เตรียมเปิด ยุทธการแม่น้ำร้อยสายไหลล้อมทำเนียบ และยืนยันร่วมกันต่อสู้จนถึงที่สุด หลังจากนั้นได้มีงานวัฒนธรรม ๔ ภาค ดนตรี การแสดงละครของกลุ่มมะขามป้อม และหมอลำ จนถึงเที่ยงคืน

- ในช่วงดึก ได้มีพายุฝนกระหน่ำลงมา ทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมเปียกปอน ข้าวสารอาหารแห้ง ข้าวของเปียกไปหมด ผู้ชุมนุมบางส่วนโดยเฉพาะคนเฒ่าคนแก่ได้ขอเข้าไปพักในโรงอาหารของ ก.พ.

๑๔ เมษายน ๒๕๓๙  

การชุมนุมของสมัชชาคนจน ได้ดำเนินมาเป็นวันที่ ๑๖ ผู้ชุมนุมมีอาการอ่อนล้า และป่วยกันเป็นจำนวนมาก รถพยาบาล และพยาบาลต้องมาเฝ้ารอรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง

- สมัชชาคนจนได้ออกแถลงการณ์ ฉบับที่ ๙ เรียกร้องให้รัฐบาลยุติดำเนินนโยบายแบ่งแยกแล้วทำลาย เนื่องจากมีกระแสข่าวว่ารัฐบาลไม่สามารถนำเรื่องทั้งหมดเข้าครม.ได้ ต้องแยกเป็นเรื่องๆ เข้า และขอให้กลุ่มที่ปัญหายุติแล้วกลับบ้านไปก่อน สมัชชาคนจนเห็นว่า วิธีการดังกล่าว เป็นแผนการณ์ที่จะทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมถูกแยกเป็นส่วน ๆ จึงได้มีมติยืนยันต่อสู้ร่วมกันจนถึงที่สุด

- ในช่วงบ่ายได้มีฝนตกลงมาอย่างหนักทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมล้มป่วยกัยเป็นจำนวนมาก แต่ทุกคนยังยืนยันแม้จะต้องชุมนุมกันอีกนานแสนนานก็จะพร้อมใจกันสู้ต่อไป ขณะที่ทางเจจ้าหน้าที่ ก.พ. ได้ขอให้ชาวบ้านที่เข้าไปอาศัยหลบฝนออกจากบริเวณโรงอาหารเพราะหัวหน้ามาตรวจและสั่งให้ผลักดันออกไป

- คืนวันที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๓๙ ชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาที่ดินทำกิน อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา ได้กินยาตาย กลุ่มผู้ชุมนุมได้นำส่งโรงพยาบาล

๑๕ เมษายน ๒๕๓๙  

สมัชชาคนจนออกแถลงการณ์ ฉบับที่ ๑๐ ยืนยันเจตนารมณ์การชุมนุมโดยสงบสมัชชาเข้าใจว่าปัญหาต่างๆ ที่เรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขนั้นเป็นปัญหาสำคัญ และมีรายละเอียดที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เราจึงได้ให้โอกาสแก่รัฐบาลในการที่จะดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องและเป็นธรรมในเวลาอันสมควร เราไม่มีเจตนาที่จะกดดันหรือบีบบังคับใดๆ ทั้งสิ้น แต่ที่ต้องชุมนุมรอคอยอยู่จนกว่าจะมีมติ ครม. นั้น เพราะมีความจำเป็นที่จะต้องมีหลักประกันอันมั่นคงในการแก้ไขปัญหาแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล และเพื่อยืนยันความบริสุทธิ์ใจของสมัชชาคนจนที่จะร่วมมือกับ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐบาลในการแก้ไขปัญหา และด้วยความเชื่อมั่นในเจตนาดีของ ฯพณฯ สมัชชาคนจนจะได้มอบดอกไม้เพื่อเป็นกำลังใจแด่ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี ใน วันอังคารที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๓๙ เวลา ๐๙.๐๐ น. ณ ทำเนียบรัฐบาล

๑๖ เมษายน ๒๕๓๙  

พ่อแหลว นาคูณ ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนสิรินธร เสียชีวิตที่โรงพยาบาลรามาธิบดี จากสาเหตุระบบหายใจล้มเหลว อันเนื่องมาจากโรคปอดบวม

- สมัชชาคนจน แถลงข่าวการเสียชีวิตอย่างไม่คาดฝันของนักสู้ผู้อาวุโส แสดงความเสียใจและประกาศเจตนาสืบสานการต่อสู้ของพ่อแหลวให้ถึงที่สุด ประกาศสะดุดีนักสู้ผู้อาวุโสที่เป็นแบบอย่างในการอุทิศตัวในการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งความเป็นธรรม

- สมัชชาคนจนแถลงข่าว จัดส่งตัวแทนเข้าร่วมประชุมเครือข่ายชาวนาโลก ที่ประเทศเม็กซิโก วันที่ ๑๖-๒๒ เมษายน ๒๕๓๙ ทางสมัชชาคนจน จึงได้มีมติจัดส่งตัวแทน เพื่อไปร่วมประชุมเครือข่ายดังกล่าว เป็นจำนวน ๒ คน ได้แก่ นายบำรุง คะโยธา ที่ปรึกษาสมัชชาคนจน และนายนิติรัตน์ ทรัพย์สมบูรณ์ ที่ปรึกษาสมัชชาคนจน เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนประสพการณ์แต่ละภูมิภาค แลกเปลี่ยนบทเรียนและแนวทางการเคลื่อนไหว ตลอดจนถึงการประสานงานเครือข่ายระดับประเทศ ระดับทวีป และระดับโลก เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แห่งสำนึกของชาวไร่ ชาวนา คนยากคนจน ผู้ถูกกดขี่เอารัดเอาเปรียบ ผู้ด้อยโอกาสทั้งมวล

- สมัชชาคนจน ออกแถลงการณ์ฉบับที่ ๑๑ เรียกร้องความจริงใจในการแก้ปัญหาคนจนของรัฐบาล โดยในเวลา ๙.๐๐ น. ตัวแทนสมัชชาคนจนได้เข้าพบนายกรัฐมนตรีเพื่อมอบดอกไม้ให้กำลังใจในการแก้ไขปัญหา ฯ พณฯ นายกฯ ได้ออกมารับดอกไม้และรับว่าจะจัดทำแนวทางและรายละเอียดการแก้ไขปัญหาให้แล้วเสร็จภายในวันศุกร์นี้ และนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ในวันจันทร์ที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๓๙

- สมัชชาคนจนขอเรียกร้องให้ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี แสดงท่าที่ที่ชัดเจนในการแก้ไขปัญหา และการนำผลการเจรจาเข้าสู่การพิจารณาของครม. ในวันจันทร์ที่ ๒๒ เมษายน ต้องเป็นการพิจารณาเพื่อลงมติแก้ไขปัญหาที่มีแนวทางการดำเนินการที่ชัดเจน มีหน่วยงานรับผิดชอบ มีงบประมาณดำเนินการและมีกำหนดระยะเวลาการดำเนินการที่ชัดเจน

- นอกจากนี้ได้มีกระแสข่าวการลอบสังหารผู้นำจากผู้ที่ต้องการให้สถานการณ์การชุมนุมแก้ไขปัญหาของคนจนลุกลามเป็นประเด็นทางการเมือง สมัชชาคนจนขอเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการยับยั้งการพยายามกระทำการดังกล่าวของคณะบุคคลผู้ไม่หวังดีอย่างเด็ดขาดและโดยทันที เนื่องจากความรุนแรงจะก่อให้เกิดปัญหาแก่ทุกฝ่าย และจะทำให้ความพยายามแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์เป็นไปไม่ได้

- สมัชชาคนจนขอยืนยันว่า การชุมนุมของคนจนหน้าทำเนียบเป็นการชุมนุมเพื่อการแก้ไขปัญหาอย่างสันติ และได้ดำเนินการชุมนุมบนพื้นฐานของการสร้างความเข้าใจ และความร่วมมือกับรัฐบาลในการแก้ไขปัญหามาโดยตลอด

๑๗ เมษายน ๒๕๓๙

สมัชชาคนจน จัดพิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับพ่อแหลว นาคูณ ที่เสียชีวิตท่าม กลางการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งความเป็นธรรม โดยนิมนต์พระ ๙ รูป สวดอภิธรรมในที่ชุมนุม

- สมัชชาคนจน แถลงข่าวการจากไปของนักสู้สามัญชนยืนยันสานต่อเจตนารมย์พ่อแหลว นาคูณเพื่อให้ได้มาซึ่งความเป็นธรรม และจะไม่ใช้การตายของพ่อแหลว เป็นเงื่อนไขในการกดดันรัฐบาล

- สำนักนายยกรัฐมนตรี ได้ออกคำชี้แจง เรื่อง การดำเนินการของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของกลุ่มผู้ชุมนุม ๔ ข้อ ลงวันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๓๙ โดยชี้แจงว่ารัฐบาลได้ดำเนินการอย่างเต็มที่แล้ว ทั้งนี้ จะมีการนำข้อสรุปของทั้ง ๔ กลุ่มเรียนให้นายกรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบและนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาในวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๓๙ นี้ (ครม.นัดพิเศษอันเนื่องมาจากนายกรัฐมนตรีจะเดินทางไปต่างประเทศ ประเทศบลูไน ในวันที่ ๒๒ นี้)

- ชุดเจรจาในเรื่องโรงงานกำจัดการกอุตสาหกรรมเจนโก้ ทั้งสองฝ่ายลงดูพื้นที่ ที่ อ.ปลวกแดง จ.ระยอง พร้อมสื่อมวลชน แต่การเจรจายังไม่สามารถตกลงกันได้

- การเจรจาในเรื่องโพธิ์เขียว ยังไม่สามารถหาข้อยุติได้

- นายเดช บุญหลง เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษต่อสื่อมวลชนว่า กรณีโพธิ์เขียว ชาวบ้านพูดไม่รู้เรื่อง ต้องใช้มาตรการทางศาลฟ้องขับไล่ ขณะที่ชาวบ้านยืนยันขออยู่ที่เดิมและเรียกร้องให้รัฐบาลออกเอกสารสิทธิให้

- สมัชชาคนจนออกแถลงการณ์ ฉบับที่ ๑๒ ชี้แจงเรื่องคนทุกข์หลังเขื่อน ขอทวงหนี้จากการเสียสละ เพราะจากการที่สมัชชาคนจนได้จัดการชุมนุม เพื่อแก้ไขปัญหาของกลุ่มต่าง ๆ ขณะนี้รัฐบาลและผู้เกี่ยวข้องมีความเข้าใจว่า การที่จะจ่ายค่าชดเชยให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนเป็นเรื่องที่ไม่มีเหตุผล และไม่เป็นธรรมกับประชาชนผู้ต้องเสียภาษีให้กับรัฐ ทางสมัชชาคนจนขอเรียนชี้แจงข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้

๑.เขื่อน เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะการให้ไฟฟ้าและน้ำแก่ภาคเมืองและภาคธุรกิจอุตสาหกรรม ซึ่งได้ก่อให้เกิดการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจโดยรวม ทำให้รัฐสามารถเก็บภาษีอากรได้เป็นจำนวนมหาศาล ความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและภาษีอากรเหล่านี้เป็นผลโดยตรง จากการเสียสละของพี่น้องประชาชนในชนบท ที่ต้องสูญเสียหมู่บ้าน ที่ดินทำกินและทรัพย์สินถูกน้ำท่วม

ดังนั้นจึงเป็นความชอบธรรมอย่างยิ่งที่รัฐจะต้องคืนกำไร เพื่อชำระหนี้ชดเชยความเสียหาย ให้กับผู้เสียสละซึ่งกำลังตกทุกข์ได้ยากอยู่ในขณะนี้

๒.ผู้เสียสละหลังเขื่อนได้ทนทุกข์ทรมานมาเป็นเวลากว่า ๒๐ ปี แต่รัฐบาลไม่เคยดำเนินการเพื่อบรรเทาทุกข์ หรือชดเชยความเสียหายให้สมกับที่ได้เคยให้สัญญาไว้กับพวกเขาว่า จะช่วยให้ชีวิตของพวกเขามีสภาพที่ดีขึ้นกว่าเดิม การเรียกร้องค่าชดเชยทรัพย์สินและผลกระทบจากการสูญเสียอาชีพของสมัชชาคนจน เป็นข้อเรียกร้องที่สมเหตุสมผลอย่างยิ่ง และเป็นภาระหน้าที่โดยตรงของรัฐบาลที่ต้องดำเนินการชดเชย

๓.สมัชชาคนจนขอยืนยันว่า หาก มติ ครม.ไม่มีความชัดเจน และขาดแนวทางการปฎิบัติที่จะสามารถดำเนินการได้อย่างเป็นจริงและต่อเนื่อง ในเรื่องการจ่ายค่าชดเชยที่เป็นธรรม สมัชชาจำเป็นที่จะต้องชุมนุมเพื่อเรียกร้องให้เกิดการแก้ไขปัญหานี้ต่อไปอีก จนกว่ารัฐบาลจะเข้าใจปัญหาและดำเนินการแก้ไขอย่างเป็นธรรม

๑๘ เมษายน ๒๕๓๙

สมัชชาคนจนออกแถลงการณ์ ฉบับที่ ๑๓ กลไกรัฐออกอาการเบี้ยวผลเจรจา จากการเจรจาของกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงาน โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายเสนาะ เทียนทอง ) เป็นประธาน ได้มีข้อตกลงเป็นที่ยุติกันว่าในระหว่างที่ทางรัฐบาลดำเนินการให้เป็นไปตามข้อตกลง ทางรัฐจะดำเนินการช่วยเหลือผู้ป่วยทั้ง ๑๐ คน โดยไม่ต้องส่งประวัติผู้ป่วยไปให้กระทรวงแรงงานฯ เพราะผู้ป่วยทั้ง ๑๐ ได้รับการวินิจฉัยโรคและยังมีใบรับรองแพทย์จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอาชีวเวชศาสตร์แล้ว แต่เมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๓๙ กระทรวงแรงงานฯได้ดำเนินงานขอประวัติผู้ป่วยจากแพทย์ผู้ตรวจรักษาอีก อันเป็นการละเมิดข้อตกลงบนโต๊ะเจรจา เป็นการกระทำการแทรกแซง บิดเบือน และทำลายผลการเจรจา รวมทั้งทำลายและท้าทายเกียรติภูมิและศักดิ์ศรีของประธานการเจรจา คือฯพณฯ รมว.สาธารณสุข แสดงให้เห็นว่าจริงๆแล้ว ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุขควบคุมดูแลกลไกของรัฐได้หรือไม่ เพราะขณะที่ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรียืนยันว่ารัฐบาลมีความตั้งใจจริงและจริงใจในการแก้ไขปัญหานั้น เจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงานฯ ก็กระทำการสวนทางกับคำมั่นสัญญาของรัฐบาล

- ในวันเดียวกัน สมัชชาคนจนออกแถลงการณ์ ฉบับที่ ๑๔ กลไกรัฐ ออกอาการเบี้ยวผลเจรจา ๒ คำชี้แจงเรื่อง การดำเนินการของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของกลุ่มผู้ชุมนุม ของสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๓๙ ความว่า “รัฐบาลโด้ให้ความสำคัญกับปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่มาชุมนุมอย่างจริงจัง ... บางเรื่องมีข้อกฎหมายและระเบียบปฏิบัติที่มีขั้นตอนที่ต้องกระทำ .... รัฐบาลจะดำเนินการแก้ไขปัญหาเหล่านี้และติดตามดูแลอย่างจริงจัง เพื่อให้ความเดือดร้อนของประชาชนได้รับการแก้ไขปัญหาบนพื้นฐานของความเข้าใจในปัญหา และดำเนินการร่วมกันกับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนโดยตรง”

- ในวันเดียวกันกับการออกคำชี้แจงของสำนักนายกรัฐมนตรี หน่วยงานราชการซึ่งเป็นกลไกการปฎิบัติงานของรัฐบาลได้ปฎิเสธและไม่ยอมปฎิบัติตามผลการตกลงในเรื่องที่ได้มีข้อสรุปและแนวทางการปฎิบัติไปแล้วเช่น

- สมัชชาคนจนขอเรียกร้องให้รัฐบาลกำกับ และควบคุมการปฏิบัติงานของกลไกรัฐ และผู้รับผิดชอบการแก้ไขปัญหา ให้ดำเนินการตามข้อตกลงอย่างเคร่งครัด ไม่เช่นนั้นสมัชชาคนจนก็ไม่อาจมั่นใจได้ว่า ผลการเจรจาจะได้รับการปฏิบัติที่เป็นจริง

๑๙ เม.ย. ๒๕๓๙  

สมัชชาคนจนออกคำประกาศ การรวมพลังสร้างสรรค์หมู่บ้านคนจน โดยให้เหตุผลว่า จากการที่พวกเรา “คนจนผู้ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาของรัฐ” ทั่วทั้งประเทศ ได้มารวมตัวกันชุมนุมแก้ไขปัญหาและทวงสัญญาจากรัฐบาล ในนาม “สมัชชาคนจน” เราได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน ร่วมตากแดด ตากฝน นอนกลางดินกินกลางถนนมานานร่วมเดือน และด้วยความรัก ความสามัคคี และการยืนหยัดต่อสู้ด้วยใจจริงของคนยากคนจนทุกคน

๒๐ เม.ย. ๒๕๓๙  

สมัชชาคนจนออกคำประกาศจัดตั้งหมู่บ้านคนจน การรวมพลังในครั้งนี้ มิใช่การมาร้องขอความเมตตาหรือบีบบังคับต่อรัฐบาล แต่เป็นการรวมพลังเพื่อแสดงความทุกข์ สร้างความเข้าใจถึงสาเหตุแห่งปัญหา และแสวงหาแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกับรัฐบาล บนพื้นฐานการต่อสู้ด้วยสันติวิธี บัดนี้คนจนจากทุกสารทิศจะได้ร่วมกันสถาปนาสถานที่แห่งนี้เป็น หมู่บ้านคนจน เพื่อตั้งถิ่นฐานชุมชนแห่งความสมานฉันท์ของคนจน ซึ่งจะรวมพลังกันต่อสู่ฟันฝ่าอุปสรรคจนกว่าปัญหาจะได้รับการแก้ไข

- สมัชชาคนจน จัดริ้วขบวนเดินทางไปสักการะศาลเจ้าพ่อหลักเมือง บันดาลดลคนจนให้พ้นทุกข์ บรรดาคนจนซึ่งเดินทางมาจากทั่วทุกสารทิศ ได้มารวมตัวกันที่บริเวณหน้าทำเนียบรัฐบาล ตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๓๙ จนถึงปัจจุบัน เพื่อแสดงความทุกข์ยากที่ครอบครัวและชุมชนประสบอยู่ให้ปรากฎและเป็นที่เข้าใจของสาธารณชนและคณะรัฐบาล เพื่อแสวงหาแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกันระหว่างรัฐบาลและประชาชนผู้เดือดร้อน

- สมัชชาคนจนทำจดหมาย เรื่อง ขอให้ถอนฟ้องกรณีผู้นำชาวบ้านถูกดำเนินคดีโดยไม่เป็นธรรม ถึงฯพณฯ นายกรัฐมนตรี นายบรรหาร ศิลปอาชา เนื่องจากการดำเนินการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมของชาวบ้านผู้ได้รับความเดือดร้อนจากโครงการก่อสร้างเขื่อนปากมูลและโครงการเขื่อนสิรินธร ตั้งแต่ในสมัยรัฐบาลชุดที่แล้ว ผู้นำของชาวบ้านได้ถูกเจ้าหน้าที่ของรัฐแจ้งข้อหาและดำเนินคดีอย่างไม่เป็นธรรม โดยมีรายละเอียด คือกรณีเขื่อนปากมูล ผู้นำชาวบ้าน ๒ คน ได้แก่ นางสาววนิดา คันติวิทยาพิทักษ์ และนายทองเจริญ สีหาธรรม ถูกแจ้งข้อหาบุกรุกสถานที่ราชการเมื่อปลายปี ๒๕๓๗ และในปีเดียวกันเมื่อชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนสิรินธรได้ชุมนุมกันเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้รัฐบาลช่วยแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของชาวบ้าน และได้ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจสลายการชุมนุมด้วยความรุนแรง แต่ทว่าชาวบ้านและนักศึกษารวม ๑๒ คน กลับถูกเจ้าหน้าที่ของรัฐตั้งข้อหาฉกรรจ์ กระทั่งบัดนี้คดียังอยู่ในระหว่างการไต่สวนในชั้นศาล จึงขอความเป็นธรรมจาก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ได้โปรดสั่งการให้อัยการถอนฟ้องในคดีทั้งสอง เนื่องจากจำเลยการแจ้งจับและส่วนกรณีเขื่อนสิรินธร ได้เคลื่อนไหว เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมจากรัฐบาลให้ช่วยเหลือชาวบ้าน

๒๑ เม.ย. ๒๕๓๙  

สมัชชาคนจนออกแถลงการณ์ ฉบับที่ ๑๕ เราจะอดทนรอคอยด้วยความเชื่อมั่นสมัชชาคนจนจึงใคร่เรียกร้องให้รัฐบาลได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคดังกล่าวอย่างจริงจังและโปรดกรุณานำข้อตกลงเข้าสู่การพิจารณาในคณะรัฐมนตรีเพื่อมีมติและให้มีผลในทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม ในวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๓๙ สมัชชาคนจนจะอดทนและรอคอยด้วยความเชื่อมั่นในความดีความงามและความรักที่มีอยู่ในหัวใจของทุกคน

๒๒ เม.ย. ๒๕๓๙

 คณะรัฐมนตรี ได้จัดให้มีการประชุม ครม. นัดพิเศษ อันเนื่องมาจาก นายกรัฐมนตรีมีภาระกิจต้องเดินทางไปประเทศบรูไน และอินโดนีเซีย จึงได้มีการนำ วาระข้อตกลงระหว่างสมัชชาคนจนกับรัฐบาล เข้าพิจารณาใน ครม. ใช้เวลากว่า ๓ ชั่วโมง จึงมีมติออกมา ๑๘ หน้า ตรงตามที่ได้ตกลงกันไว้

-สมัชชาคนจน ขอเวลาตรวจสอบมติ ครม. ๑๕ นาที เพื่อตรวจทานมติ ครม. ว่าตรงตามข้อตกลงที่ได้ตกลงกันหรือไม่ ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับ นายกรัฐมนตรีเป็นอย่างมาก เนื่องจากว่าต้องรีบไปต่างประเทศ แต่ในที่สุดก็ยุติได้ด้วยดี

-สมัชชาคนจนออกคำประกาศขอบคุณ องค์กรพันธมิตร สื่อมวลชน และผู้ให้ความอนุเคราะห์ ในนามของพี่น้องคนยากคนจนทุกคน

-ในวันเดียวกัน สมัชชาคนจนออกประกาศเจตนารมณ์คนจน ๒๘ วันแห่งการรอคอยด้วยความทรหดอดทนของบรรดาคนจนผู้ทุกข์ยาก เพื่อให้รัฐบาลได้ลงมือแก้ไขปัญหาตามคำมั่นสัญญาที่เคยให้ไว้ว่าจะทำให้ชีวิตของประชาชนมีสภาพดีขึ้น บัดนี้คณะรัฐมนตรีภายใต้การนำของฯพณฯ นายกรัฐมนตรีนายบรรหาร ศิลปอาชา ได้มีมติให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาตามหลักการและแนวทางการปฏิบัติ ตามข้อตกลงที่ได้เจรจากับสมัชชาคนจน เพื่อเริ่มต้นการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมด้วยท่าทีและจิตใจที่สร้างสรรค์

-สมัชชาคนจน จัดพิธีบายสีสู่ขวัญ ผูกเสี่ยว อันเนื่องจากต้องอำลาจากกัน หลังจากชุมนุมร่วมกันมาเกือบเดือน โดยมีตัวแทนรัฐบาล คือ นายยิ่งพันธ์ มนะสิการ รมว.กระทรวงวิทยาศาสตร์ ฯ , นายจองชัย เที่ยงธรรม รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี , นายสรอรรถ กลิ่นปทุม รมช.สาธารณสุข (มาแทนนายเสนาะ เทียนทอง รมว.สาธารณสุข) , พลตำรวจเอกประชา พรหมนอก ในฐานะผู้ประสานงานการแก้ไขปัญหา , นายสุรัศพันธุ์ ดุลย์จินดา ผู้ช่วยเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฐานะข้าราชการประจำ,และเจ้าหน้าที่ตำรวจชั้นผู้ใหญ่หลายนาย รวมทั้งเจ้าหน้าที่สำนักนายกรัฐมนตรีอีกหลายคน

๒๓ เม.ย. ๒๕๓๙  

สมัชชาคนจนออกคำประกาศเจตนารมณ์ มหกรรมทวงสัญญา สมัชชาคนจน ยี่สิบเก้าวัน ยี่สิบเก้าคืน การชุมนุมอย่างสงบและสันติ โดยยึดถือแนวทางการต่อสู้แบบอหิงสา สันติวิธี เอาความอดทน ความยากลำบาก หยาดเหงื่อ หยาดน้ำตา และชีวิตเข้าแลก เพื่อให้ได้มาซึ่งความถูกต้อง ชอบธรรม และเป็นธรรม ท่ามกลางการถูกกล่าวหาต่าง ๆ นานาว่า เป็นม็อบรับจ้างบ้าง ม็อบการเมืองบ้าง ม็อบล้มรัฐบาลบ้าง แต่กาลเวลาก็ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า การชุมนุมอย่างสงบของเราได้สร้างบรรทัดฐานแห่งความถูกต้อง สร้างความเข้าใจต่อสาธารณชน สร้างความเข้าใจให้กับรัฐบาลและผู้มีอำนาจ ให้ได้เห็นถึงความเดือดร้อน ความทุกข์ยาก ที่เกิดจากการพัฒนาที่ผิดแนวทาง สร้างความเข้าใจอันดีในหมู่คนจน ผู้ซึ่งถือได้ว่าเป็นกระดูกสันหลังของชาติ คนที่เป็นคนกลุ่มใหญ่ที่ยังถูกทอดทิ้ง ขาดการเอาใจใส่ดูแลอย่างเป็นธรรม ในที่สุดการอดทนรอคอยของเราก็เริ่มเป็นมรรค เป็นผล เมื่อรัฐบาล ฯพณฯ นายบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรี ได้ลงมาสัมผัสปัญหา รับรู้ปัญหาด้วยตัวเอง ได้ลงมาเยี่ยมชาวบ้านในที่ชุมนุมถึงสองครั้งสองครา การได้สัมผัส รับรู้อารมณ์ความรู้สึกของชาวบ้านที่มาชุมนุม ทำให้ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ได้มีโอกาสเข้าใจปัญหามากขึ้นและนำพามาซึ่งการแต่งตั้งชุดเจรจาทั้งสี่ชุด หาข้อสรุปในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน ทั้งรัฐบาลและประชาชน นับเป็นนิมิตหมายที่ดีและเป็นบรรทัดฐานใหม่ที่ผู้มีอำนาจควรยึดถือเป็นแบบอย่าง ในวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๓๙ ฯพณฯ นายบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดนี้ ได้สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ ร่วมกับพี่น้องสมัชชาคนจนนับหมื่นคน โดย ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้ลงนามรับรองข้อตกลงทั้งหมด และนำข้อตกลงดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาในคณะรัฐมนตรี เพื่อเป็นการยืนยันและแสดงถึงความจริงใจของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐบาล

- สมัชชาคนจน ประกาศยุติการชุมนุม ทำพิธีอำลา และเดินทางกลับภูมิลำเนา ด้วยรถบัส กว่า ๑๒๐ คัน ที่ทางรัฐบาลจัดหาให้

- กรรมการสมัชชาคนจน แถลงจัดตั้ง กรรมการติดตามความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาที่ได้ตกลงกับรัฐบาลไว้ โดยมีกรรมการ ๒๗ คน จาก ๕ เครือข่ายปัญหา รวมทั้งที่ปรึกษา ตัวแทนจากนักศึกษาและสื่อมวลชน เพื่อเข้าร่วมเป็นกรรมการร่วมกับรัฐบาล โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และเพื่อดำเนินการประสานงานภายในของสมัชชาคนจนเอง

1 พฤษภาคม 2539 

- ตัวแทนสมัชชาคนจน ได้เข้าประชุมร่วมกับทีมสำนักเลขาธิการ คณะรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อหารือถึงแนวทางการตั้ง “คณะกรรมการกำกับดูแลและติดตามการดำเนินงานตามผลการเจรจาและมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 22 เมษายน 2539” โดยให้ทั้งสองฝ่ายเสนอตัวแทนเข้าร่วมเป็นกรรมการฝ่ายละ 10 คน

4-5 พฤษภาคม 2539

 - กรรมการสมัชชาคนจน 28 คน ประชุมหารรือถึงความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งคัดเลือกตัวแทน 10 คน เสนอเข้าเป็นกรรมการร่วมกับรัฐบาล ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน

9 พฤษภาคม 2539

 - กองเลขาของสมัชชาคนจน ประชุมเพื่อวางแนวทางและแบ่งภาระหน้าที่ในการทำงานร่วมกัน เพื่อหนุนเสริมการทำงานการติดตามแก้ไขปัญหาให้มีประสิทธิภาพ

14 พฤษภาคม 2539 

- นายบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรี ได้ลงนามในคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 62/2539 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลและติดตามการดำเนินงานตามผลการเจรจาและมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 22 เมษายน 2539 โดยมีกรรมการร่วมระหว่างตัวแทนสมัชชาคนจน กับตัวแทนภาครัฐ ฝ่ายละ10 คน และกรรมการเลขานุการอีกฝ่ายละ 1 คน ประธานอีก 1 คน รวมเป็น 23 คน

16-17 พฤษภาคม 2539

 - สมัชชาคนจน จัดประชุมสมัชชาคนจนสัญจร ครั้งที่ 1 ที่ โรงเรียนหนองน้ำใส อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา โดยมีกรรมการสมัชชาคนจน 28 คน พบปะกับชาวบ้านในเขต อ.สีคิ้วกว่า 300 คน รายงานความคืบหน้าจากพื้นที่ และเสนอมาตรการ แนวทางการแก้ไขปัญหา เพื่อให้ตัวแทน 10 คนเข้าประชุมร่วมกับรัฐบาล

22-23 พฤษภาคม 2539 

- ที่ปรึกษาสมัชชาคนจนร่วมหารือกับคณะกรรมการชาวบ้านคัดค้านเขื่อนรับร่อ จ.ชุมพร ลงพื้นที่ดูสภาพพื้นที่อพยพ ซึ่งพบว่าพื้นที่ดังกล่าวมีชาวบ้านในละแวกนั้นจับจองไว้หมดแล้ว และเพื่อประสานกิจกรรมในพื้นที่ เตรียมงานทำบุญแม่น้ำ

26 พฤษภาคม 2539 

- สมัชชาคนจน จัดประชุมตัวแทนสมัชชาคนจน 10 คน เพื่อซักซ้อมความเข้าใจในปัญหา จัดวางลำดับความสำคัญเร่งด่วน เพื่อนำเสนอในการประชุมร่วมกับกรรมการฝ่ายรัฐบาล ที่จะมีขึ้นในวันที่ 27 กรกฎาคม นี้

27 พฤษภาคม 2539 

- การประชุมครั้งที่ 1 ของคณะกรรมการกำกับดูแลและติดตามการดำเนินงานตามผลการเจรจาและมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 22 เมษายน 2539 สมัชชาคนจนส่งตัวแทน 10 คน เข้าร่วมประชุมกับตัวแทนฝ่ายรัฐ ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีนายมนตรี พงษ์พานิช รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้รับคำสั่งแต่งตั้งจากนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในที่ประชุม ผลการประชุมไม่คืบหน้าเท่าที่ควร

2 มิถุนายน 2539

 - แกนนำชาวบ้าน บ้านโพธิ์เขียว ต.ทับตีเหล็ก อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี ถูกจับ 9 คน ในข้อหาบุกรุกที่สาธารณประโยชน์,ข้อหาขัดขวางการจับกุม และข้อหาหมิ่นประมาทเจ้าพนักงานแต่ได้มีการประกันตัวออกมาในคืนวันเดียวกัน

5 มิถุนายน 2539 

-สมัชชาคนจน และชาวบ้านบ้านโพธิ์เขียว มายื่นหนังสือขอความเป็นธรรม ต่อนายกรัฐมนตรี ผ่านกองรับเรื่องราวร้องทุกข์ ทำเนียบรัฐบาล และยื่นหนังสือต่อประธานกรรมาธิการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน รัฐสภา โดยมีนายวิทยา แก้วภราดัย รับเรื่องไว้ โดยมีข้อเรียกร้อง 4 ข้อ คือ 1.ยืนยันในสิทธิของชาวนาในการทำนาบนที่ดินบรรพบุรุษ 2.ให้เจ้าหน้าที่คืนอุปกรณ์ในการทำนาที่เจ้าหน้าที่ยึดไป 3.ให้สอบสวนนายสุชาติ ดาวเรือง หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการพิเศษที่เข้าจับกุมชาวบ้าน 4.ให้ย้ายนายใหญ่ โรจน์สุวนิกร นายอำเภอเมืองสุพรรณบุรี ที่วางตัวไม่เป็นกลางและใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม

15-16 มิถุนายน 2539 

- สมัชชาคนจน จัดประชุมสมัชชาคนจนสัญจร ครั้งที่ 2 ที่ศาลาวัดบ้านหนองบอน อ.ปลวกแดง จ.ระยอง ภายหลังจากประชุมร่วมกับตัวแทนฝ่ายรัฐ เมื่อวันที่ 27 ที่ผ่านมา โดยมีกรรมการสมัชชาคนจน 28 คน และชาวบ้าน อ.ปลวกแดงกว่า 200 คน เพื่อรับฟังความคืบหน้า อุปสรรคปัญหาจากพื้นที่ ร่วมกันระดมความคิดและเปลี่ยนประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาในประเด็นต่าง ๆ

26 มิถุนายน 2539 

- สมัชชาคนจน และชาวบ้าน บ้านโพธิ์เขียว เข้าให้ข้อเท็จจริงต่อกรรมาธิการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน เพื่อติดตามความคืบหน้ากรณีแกนนำชาวบ้านถูกจับกุม 9 คน

1 กรกฎาคม 2539 

- สมัชชาคนจน และกรรมการชาวบ้าน บ้านโพธิ์เขียว ต.ทับตีเหล็ก จ.สุพรรณบุรี ยื่นหนังขอเข้าทำนาในพื้นที่ ต่อ กองรับเรื่องราวร้องทุกข์ ทำเนียบรัฐบาล

2 กรกฎาคม 2539 

- สมัชชาคนจน และแกนนำในเขตอีสานเหนือ จัดประชุมเตรียมการต้อนรับการลงพื้นที่ของนายกรัฐมนตรี ที่ อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา ซึ่งนายกรัฐมนตรีจะมาลงพื้นที่ในวันที่ 4 กรกฎาคม เพื่อซักซ้อมแกนนำและชาวบ้านในการนำเสนอทางออกและการซักถาม

3 กรกฎาคม 2539 

- สมัชชาคนจน และแกนนำในเขตอีสานใต้ จัดประชุมเตรียมการต้อนรับการลงพื้นที่ของนายกรัฐมนตรี ที่ อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี ซึ่งนายกรัฐมนตรีจะมาลงพื้นที่ในวันที่ 4 กรกฎาคม เพื่อซักซ้อมแกนนำและชาวบ้านในการนำเสนอทางออกและการซักถาม

4 กรกฎาคม 2539 

- สมัชชาคนจน ต้อนรับการลงพื้นที่ของนายกรัฐมนตรี และร่วมประชุมติดตามความคืบหน้าในการแก้ไชปัญหาสมัชชาคนจน โดยในช่วงเช้า ที่หอประชุมศาลาประชาคม อ.เมือง ต่อจากนั้นได้ร่วมกันลงพื้นที่เขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี โดยมีชาวบ้านให้การต้อนรับกว่า 3,000 คน และในช่วงบ่าย ได้ร่วมประชุมติดตามความคืบหน้าการแก้ไขปัญหา ที่ ศาลากลาง จ.นครราชสีมา สรุปโดยรวมปัญหาสมัชชาคนจนยังไม่บรรลุผล แต่นายกรัฐมนตรีก็ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่เร่งการดำเนินการแก้ไขปัญหาในทุกเรื่อง

15 กรกฎาคม 2539 

- การประชุมครั้งที่ 2 ของคณะกรรมการกำกับดูแลและติดตามการดำเนินงานตามผลการเจรจาและมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 22 เมษายน 2539 สมัชชาคนจนส่งตัวแทน 10 คน เข้าร่วมประชุมกับตัวแทนฝ่ายรัฐ ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีนายมนตรี พงษ์พานิช รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้รับคำสั่งแต่งตั้งจากนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในที่ประชุม

19-21 กรกฎาคม 2539 

- สมัชชาคนจน จัดประชุมสมัชชาคนจนสัญจร ครั้งที่ 3 ที่ ทุ่งดอนแต้ว บ้านหนองรี อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ เพื่อตามสภาพปัญหาของแต่ละพื้นที่ และระดมความคิดหาแนวทางการแก้ไขปัญหาในแต่ละประเด็นแต่ละพื้นที่

- ในการประชุม สมัชชาคนจนเห็นร่วมกันว่า รัฐบาลเตะถ่วงปัญหา โดยเฉพาะกลไกราชการในพื้นที่มักจะประวิงเวลา อ้างกฎระเบียบ อ้างว่าไม่มีงบประมาณ ไม่มีกำลังคนในการดำเนินการแก้ไขปัญหา โยนกันไปมา ปัญหาต่าง ๆ ของสมัชชาคนจนจึงไม่บรรลุผล

- สมัชชาคนจน มีมติร่วมให้ส่งตัวแทน 500 คน มาระดมความคิดและยื่นข้อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจน ในวันที่ 23 สิงหาคม 2539 ต่อ นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล

22 กรกฎาคม 2539 

- แกนนำชาวบ้าน ในส่วนคณะกรรมการชาวบ้านคัดค้านเขื่อนโป่งขุนเพชร นายจุน บุญขุนทดแกนนำชาวบ้าน บ้านห้วยทับนาย ต.โคกสะอาด อ.หนองบัวระเหว จ.ชัยภูมิ ถูกสังหารโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภอ. หนองบัวระเหว จ.ชัยภูมิ เสียชีวิตคากุญแจมือ และในเวลาต่อมาพลตำรวจอนุเชษ ผู้ยิงได้เข้ามอบตัวที่ สภอ.เมือง จ.ชัยภูมิ

25 กรกฎาคม 2539

 - สมัชชาคนจน ยื่นหนังสือขอความเป็นธรรม ต่อ นายกรัฐมนตรี ผ่านกองรับเรื่องราวร้องทุกข์ ทำเนียบรัฐบาล กรณีการสังหารนายจุน บุญขุนทด แกนนำชาวบ้านค้านเขื่อนโป่งขุนเพชร บ้านห้วยทับนาย จ.ชัยภูมิ ถูกยิงเสียชีวิตคากุนแจมือ หลังจากนั้นได้ไปยื่นหนังสือต่ออธิบดีกรมตำรวจ ที่กรมตำรวจ และไปยื่นหนังสือต่อประธานกรรมาธิการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน รัฐสภา

- สมัชชาคนจน ร่วมกับองค์กรพันธมิตร จัดสัมมนา เรื่อง “1 ปีรัฐบาลเจ้าพ่อ : จุดจบประเวียนถึงบรรหาร” ที่ ห้อง 102 คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ทวงถามถึงคนบงการสังหารครูประเวียน บุญหนัก ที่ยังลอยนวลอยู่ โดยล่าสุดอัยการจังหวัดเลย สั่งไม่ฟ้องนายสุรัตน์ ทิมสุวรรณ เจ้าของโรงโม่หินเจ้าปัญหา ในเขตบ้านผาน้อย ในวันเดียวกัน ได้จัดให้มีการแถลงข้อเท็จจริงและขอความเป็นธรรมกรณีการสังหารนายจุน โดยบิดา ภรรยาและบุตรของนายจุนด้วย

31 กรกฎาคม 2539 

- สมัชชาคนจน และญาติในครอบครัวนายจุน บุญขุนทด รวมทั้งชาวบ้านบ้านห้วยทับนาย เข้าให้ข้อเท็จจริง ต่อ กรรมาธิการฯ ที่รัฐสภา

2 สิงหาคม 2539

 - คณะกรรมการตำรวจที่อธิบดีกรมตำรวจแต่งตั้ง ได้ลงพื้นที่เพื่อประสานงานการดำเนินคดี กรณีการเสียชีวิตนายจุน บุญขุนทด ที่บ้านห้วยทับนาย อ.หนองบัวระเหว จ.ชัยภูมิ

6-7 สิงหาคม 2539

- คณะทำงานกลุ่มปัญหาป่าไม้ที่ดิน ของสมัชชาคนจน ประชุมที่ จ.ขอนแก่น เพื่อสรุปแนวทาง มาตรการ การแก้ไขปัญหาป่าไม้ที่ดิน จัดทำเป็นเอกสารเสนอต่อนายกรัฐมนตรีในวันที่ 13 สิงหาคม 2539

11 สิงหาคม 2539 

- คณะทำงานกลุ่มปัญหาเขื่อน,คณะทำงานกลุ่มปัญหาโครงการของรัฐและปัญหาชุมชนแออัด รวมทั้งคณะทำงานกลุ่มแรงงานสารพิษ ของสมัชชาคนจน ประชุมที่ กรุงเทพมหา นคร เพื่อสรุปแนวทาง มาตรการ การแก้ไขปัญหา เพื่อจัดทำเป็นเอกสารเสนอต่อนายกรัฐมนตรีในวันที่ 13 สิงหาคม 2539

12 สิงหาคม 2539 

- สมัชชาคนจนร่วมกับองค์กรพันธมิตร จัดเวทีระดมความคิดเห็นมองทิศทาง แนวทาง ขบวนการประชาชน ที่ กรุงเทพมหานคร

13 สิงหาคม 2539 

- ในช่วงเช้า ที่หอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตัวแทนสมัชชาคนจนกว่า 700 คน จาก 47 ปัญหา ร่วมกับองค์กรพันธมิตร จัดเวทีประชาชน ระดมความคิดเห็นและสะท้อนปัญหา รวมทั้งการวิเคราะห์อุปสรรคการแก้ไขปัญหาสมัชชาคนจน สรุปแนวทางการแก้ไขปัญหาเป็นเอกสารเพื่อนำเสนอต่อนายกรัฐมนตรี

- ในช่วงบ่าย ตัวแทนสมัชชาคนจนกว่า 700 คน จาก 47 ปัญหา ร่วมกับองค์กรพันธมิตร จัดริ้วขบวนเดินจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไปยื่นแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อนายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล

********************************************

ลำดับเหตุการณ์การเคลื่อนไหวของสมัชชคนจน : รัฐบาลชวน 2

15-16 พฤศจิกายน 2540 

สมัชชาคนจนจัดประชุมพ่อครัวใหญ่สมัชชาคนจน สรุปประเมินท่าทีต่อการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลใหม่ ภายใต้การนำของนายชวน หลีกภัย เพื่อวางมาตรการในการเคลื่อนไหวในการแก้ไขปัญหา

17 พฤศจิกายน 2540 

ตัวแทนพ่อครัวใหญ่สมัชชาคนจนกว่า 200 คนขอเข้ายื่นหนังสือถึงนายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี ขอคำยืนยันในการสานต่อการแก้ไขปัญหาสมัชชาคนจน 121 กรณี เพื่อรับรองผลการเจรจา 38 ครั้ง รับรองมติ คณะรัฐมนตรี 9 มติ ( 4,11,18,25,ก.พ.2540, 11,18 มี.ค.2540,1,17,29,เม.ย.2540 ) โดยผ่านการประสานกับเลขาธิการนายกรัฐมนตรี นายนิพนธ์ พร้อมพันธ์ กลับปรากฏว่าไม่มีตัวแทนฝ่ายรัฐบาลส่งคนมารับหนังสือแต่อย่างใด ดังนั้น เอกสารประกอบข้อเรียกร้องหนากว่า 500 หน้า จำนวน 2 เล่มจึงถูกวางไว้หน้าประตูทำเนียบ การเผชิญหน้าครั้งนี้ เริ่มส่อเค้าประวัติศาสตร์ความล้มเหลวในอดีตของรัฐบาลชุดนี้ต่อเอาใจใส่ในการแก้ไขปัญหาคนจนอีกครั้ง

03 ธันวาคม 2540 

ภายใต้การประสานงานผ่านเลขานุการส่วนตัวนายกรัฐมนตรี นายอลงกรณ์ พลบุตร ตัวแทนสมัชชาคนจนประมาณ 80 คน ได้เข้าพบเพื่อเจรจายื่นหนังสือ ขอคำยืนยันในการสานต่อปัญหาอีกครั้งโดยนายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีมาเป็นประธานที่ประชุม หากแต่เจรจาเพื่อขอทราบนโยบายที่ชัดเจนในครั้งก็ยังคงได้รับคำตอบที่ไม่ชัดเจนเช่นเดิม นายกรัฐมนตรีกล่าวเพียงกว้างว่าๆ ตนเองเพียงมารับเรื่องเพื่อรับทราบข้อเรียกร้องและจะสั่งการให้รัฐมนตรีและข้าราชการที่เกี่ยวข้องพิจารณาและนำเรื่องเข้าเสนอต่อไป โดยจะแต่งตั้งให้มีคณะกรรมการประสานงานฝ่ายราชการ และตัวแทนสมัชชาคนจน เพื่อประสานงานต่อไป

17 ธันวาคม 2540 

- ภายหลังรัฐบาลได้แต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานราชการกับตัวแทนสมัชชาคนจน ประกอบด้วยนายอำนวย ปะติเส รองเลขาธิการสำนักนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง นางลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์และนายอลงกรณ์ พลบุตร เป็นกรรมการ และตัวแทนฝ่ายสมัชชาคนจน ภายหลังจากการประสานงานของคณะกรรมการชุดนี้ภายใต้การยืนยันเพื่อให้รัฐบาลสานต่อการแก้ไขปัญหาตามข้อเสนอของสมัชาคนจน ในที่สุดรัฐบาลได้นำเรื่องการแก้ไขปัญหาสมัชชาคนจนทั้งหมดเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2540

30 ธันวาคม 40 

คณะรัฐมนตรีโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เสนอเรื่องการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนมาเพื่อให้ ครม.พิจารณาเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2540 ครม.ได้ประชุมปรึกษาแล้วลงมติเห็นชอบดังนี้

1.ในหลักการเห็นควรจัดโครงสร้างองค์กรแก้ไขปัญหาในรูปแบบเดิม โดยมอบให้หน่วยงานรับผิดชอบดำเนินงานแต่งตั้งคณะกรรมการ และคณะทำงานต่างๆ โดยประสานกับผู้แทนเกษตรกรที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับปรุงองค์ประกอบต่อไป

2.มาตรการตามมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน และอยู่ในระหว่างการดำเนินการของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องให้คงดำเนินการต่อไป

3.การจัดตั้งองค์กรเพื่อบริหารให้เป็นไปตามข้อ1.เห็นควรให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 15 วันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบหลักการแก้ไขปัญหาตามแนวทางนี้และให้มีการเปิดประชุมครั้งแรกภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้มีการแต่งตั้ง

โดยภายหลังจากการรับทราบมติ ครม.ดังกล่าวแล้ว ตัวแทนพ่อครัวใหญ่สมัชชาคนจน ซึ่งมารอรับทราบการประชุม ครม.ได้พิจารณาร่วมกันแล้วเห็นว่า มติ.ครม.30 ธ.ค.2540 มีลักษณะกว้างๆ คลุมเครือไม่ชัดเจนและอาจเป็นอุปสรรคต่อการแก้ไขปัญหาในระยะยาวได้เนื่องจากไม่ได้ระบุความชัดเจนว่ารัฐบาลจะใช้มติครม.วันไหนในการแก้ไขปัญหาที่เหลือ 103 กรณี โดยเสนอให้ฝ่ายประสานงานนำความคิดเห็นดังกล่าวเข้าหารือกับฝ่ายประสานงานภาครัฐบาลเพื่อปรับปรุง มติครม.ดังกล่าวให้มีแนวทางที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น และให้เร่งแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามการแก้ไขปัญหาสมัชชาคนจนชุดใหญ่โดยเร็ว

20 มกราคม 41 

-สมัชชาคนจนได้จัดการประชุมพ่อครัวใหญ่ขึ้นอีกครั้งเมื่อวันที่ 18 -20 มกราคม 2541 ณ ห้องประชุมบ้านมนังคศิลาเพื่อติดตามความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาโดยได้ย้ำข้อเสนอ ยืนยันข้อเรียกร้องเดิม สรุปความคิดเห็นเสนอต่อตัวแทนฝ่ายรัฐบาลผ่านทางคุณอำนวย ปะติเส รองเลขาธิการสำนักนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง

06 กุมภาพันธ์ 41 

-การประชุมครั้งแรกของ คณะกรรมการประสานงานการติดตามการแก้ไขปัญหาสมัชชาคนจน ซึ่งมีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ตัวแทนสมัชชาคนจนซึ่งตระหนักต่ออุปสรรคอันเกิดจากความไม่ชัดเจนใน มติ.ครม. 30 ธ.ค. 2540 จึงเสนอให้ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องนี้เป็นลำดับแรกเพื่อขอทราบนโยบายจากนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ซึ่งก็ปรากฏว่า นายกฯ ก็ยังไม่พิจารณาว่าจะยืนยันตามข้อเสนอเดิม ทั้งๆ กรรมการฝ่ายสมัชชาคนจนได้ย้ำถึงปรากฏการณ์ปัญหาในการประชุมกรรมการชุดต่างๆ ก่อนหน้านี้ซึ่งกรรมการฝ่ายราชการได้แข็งข้อไม่ยอมปฏิบัติตามผลการเจรจาและมติ ครม.เดิม เช่น กรณีปัญหาป่าไม้ ที่กรมป่าไม้ประกาศใช้มติ ครม.วังน้ำเขียว วันที่ 22 เม.ษ.2540 ในการแก้ปัญหาแทนมติ ครม.เดิมของสมัชชาคนจน คือวันที่ 29 เม.ษ. 2540 การประชุมนัดแรกส่อเค้าความล้มเหลวอีกครั้ง เมื่อนายกฯ ไม่ยอมตัดสินใจในประเด็นข้อเสนอต่างๆ ซึ่งผ่านการตกลงมาแล้ว หากแต่นายกฯ โยนกลับไปให้กรรมการชุดต่างๆ ประชุมเพื่อพิจารณาหรือเจรจากันใหม่อีกครั้งหนึ่ง ภายใน 7 วัน และเมื่อนายกฯ ไม่สามารถอยู่ประชุมได้ตลอด โดยให้นายวัฒนา อัศวเหม รมช.กระทรวงมหาดไทยเป็นประธานแทนซึ่งเจ้าตัวประกาศว่าตนเองไม่ได้มีอำนาจใดๆ ในการตัดสินใจ ดังนั้นการประชุมนัดแรกจึงสิ้นสุดลงโดยไม่มีความคืบหน้าที่เป็นรูปธรรมใดๆ มากกว่าการนัดประชุมครั้งต่อไปในวันที่ 5 มีนาคม 2541

04 มีนาคม 41

-กองเลขาฝ่ายราชการและสมัชชาคนจนได้ประชุมเพื่อสรุปอุปสรรคการแก้ไขปัญหาถึงความล้มเหลวในการประชุม ครั้งที่ 1/2541 ของคณะกรรมการประสานงานติดตามการแก้ไขปัญหาสมัชชาคนที่ห้องประชุมสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้าทำเนียบรัฐบาล ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2541 ที่ผ่านมา ปรากฏการณ์ที่สะท้อนให้เห็นความจริงใจในการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลชวน หลีกภัย ได้ระดับหนึ่ง ทั้งที่ได้มีการเตรียมการล่วงหน้ามากกว่าหนึ่งเดือน นับตั้งแต่มีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2540 ปีที่ผ่านมา ความจริงใจในการแก้ไขปัญหาสมัชชาคนจน ได้รับการตอกย้ำอีกครั้งเมื่อนายกรัฐมนตรี นายชวน หลีกภัย ซึ่งเป็นประธานในที่ประชุม ได้ให้ไว้ในที่ประชุมคณะกรรมการประสานงานเพื่อติดตามการแก้ไขปัญหาสมัชชาคนจน ครั้งที่ 1/2541 ที่ห้องประชุมสีเขียว ทำเนียบรัฐบาล แต่ความจริงใจของนายกรัฐมนตรีจะมิอาจเป็นจริงได้ตราบใดที่รัฐบาลยังไม่มีแนวนโยบายที่ชัดเจนไม่มีการปฎิบัติที่เป็นรูปธรรม ที่ไม่ไช่แต่เพียงลมปากหรือวาทะอันสวยหรู

06 มีนาคม 41 

-การประชุมคณะกรรมการประสานงานติดตามการแก้ไขปัญหาสมัชชาคนครั้งที่ 2 ณ ห้องประชุมสีเขียว ทำเนียบรัฐบาล เกิดขึ้นท่ามกลางการคัดค้านการกระทำของรัฐบาลชุดปัจจุบันที่ดำเนินการจับกุมอาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ซึ่งประท้วงคำสั่งของนายกฯ ที่ให้ ปตท.ดำเนินการก่อสร้างโครงการท่อส่งก๊าซไทย-พม่าต่อไปทั้งๆ ที่ผลการศึกษาของคณะกรรมการชุดอานันท์ ปันยารชุน สรุปถึงโครงการนี้ว่าไม่มีความโปร่งใสและขาดความชอบธรรมหลายประการ เป็นเหตุให้อาจารย์สุลักษณ์ได้เข้าปิดป่าบริเวณป่าห้วยเขย่ง โดยเรื่องนี้สมัชชาคนจนเห็นว่าการละเมิดสิทธิมนุษยชนตามกฏหมายรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อย่างร้ายแรง จึงขอเจรจาเรื่องนี้ต่อนายกฯ ด้วย หากแต่นายกฯ กล่าวว่าเรื่องไม่อยู่ในวาระการประชุมจึงไม่ขอเจรจาในเรื่องนี้ ซึ่งการประชุมครั้งที่สองนี้ก็ยังคงเป็นไปแบบเดิมๆ นายกฯ ไม่กล้าตัดสินใจและโยนเรื่องกลับไปให้ราชการ กรรมการชุดต่างๆ กลับไปพิจารณาเหมือนเดิมอีกครั้งทั้งๆ เรื่องเพื่อพิจารณาทุกเรื่องดำเนินการแล้วเสร็จในกรรมการชุดต่างๆ รอให้กรรมการชุดใหญ่ตัดสินเท่านั้น

06-08 มีนาคม 41 

-สมัชชาคนจน ร่วมกับ องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรประชาธิปไตยกว่า 50 องค์กรจัดงานมหกรรมประชาชนกู้ชาติ ออกร้านขายสินค้าเกษตรกรรรมราคาถูกที่บ้านมนังคศิลา เพื่อแสดงเจตนารมณ์ในการมีส่วนร่วมกู้วิกฤติเศรษกิจ โดยนำสินค้าจากชนบทมาขายในราคาย่อมเยา ไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลางและไม่มุ่งแสวงกำไรมากจนเกินไป ดั่งคำขวัญที่ว่า “เงินทองเป็นของมายา ข้าวปลาเป็นของจริง”

24 มีนาคม 41 

-รัฐบาลนายชวนละเมิดข้อตกลงอีกครั้ง เมื่อคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติงบประมาณการออกแบบการก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น จ.แพร่ โดยการนำเข้าเป็นวาระจร ในวันที่ 24 มีนาคม อนุมัติงบประมาณ 94 ล้านบาท เพื่อออกแบบรายละเอียดการก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น เป็นการลักไก่ หมกเม็ด และผิดข้อตกลงที่รัฐบาลได้มีมติ ครม. รับรองการแก้ไขปัญหาสมัชชาคนจน ซึ่ง รัฐบาล โดยนายกรัฐมนตรี (นายชวน หลีกภัย) ได้ลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามมติ ครม. วันที่ 29 เมษายน 2540 เพื่อแก้ไขปัญหาเขื่อนยังไม่สร้าง 4 เขื่อน โดยมี ศ.นิคม จันทรวิฑูรย์ เป็นประธาน ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินการพิจารณาโครงการและจัดกระบวนการให้ประชาชนมีส่วนร่วมรวมทั้งการเตรียมจัดประชาพิจารณ์

จาก 9 พ.ย. 40 - 5 มี.ค. 41 ของรัฐบาลชวน สมัชชาคนจนยังไม่ได้ประกาศและไม่มีการเคลื่อนไหวชุมนุมใหญ่แต่อย่างใด ทั้งนี้เพื่อให้กลไกต่างๆ ตามข้อเสนอของรัฐบาลให้สามารถทำงานได้ จนในที่สุด การแก้ไขปัญหาไม่มีความคืบหน้าใดๆ มากกว่าการละเมิดข้อตกลง และเตะถ่วงเพื่อไม่แก้ไขปัญหาไปแบบไม่มีอนาคต จึงจำเป็นต้องชุมนุมย่อย เพื่อติดตามความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหา และเพื่อติดตามตรวจสอบว่าด้วยเหตุอันใดรัฐบาลจึงละเมิดข้อตกลงที่ได้สัญญาไว้กับสมัชชาคนจน

05 เมษายน 41 

-สมัชชาคนจนกว่า 3,000 คน เดินทางมารอคอยการพิจารณาของ ครม. ในวันที่ 7 เม.ย.2541 เรื่องการจ่ายค่าชดเชยให้แก่ราษฎรกลุ่มเขื่อนสิรินธร และกลุ่มเขื่อนปากมูล และการอนุมัติงบประมาณโครงการนำร่องเพื่อเกษตรกรรมยั่งยืน 950 ล้าน รวมทั้งการที่รัฐบาลจะได้มีการเสนอให้มีการทบทวนมติ ครม.ที่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาพื้นที่ป่าไม้ 17และ29 เม.ย.2540 โดยชุมนุมอย่างสงบที่บ้านมนังคศิลา ซึ่งเป็นสถานที่ที่รัฐบาลประกาศให้ใช้เป็นศูนย์ประสานกับสมัชชาคนจน หากแต่ปรากฎว่าสื่อมวลชนทั้งโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์หลายฉบับลงข่าวว่าการชุมนุมของ สคจ.จะทำลายสถานที่ประวัติศาสตร์แห่งนี้ สมัชชาคนจนจึงย้ายการชุมนุมไปยังถนนข้างกระทรวงศึกษาธิการ

07 เมษายน 41 

-ตามข้อตกลงร่วมระหว่างกับตัวแทนรัฐบาลกับ สคจ.ว่าจะเสนอเรื่องตามข้างต้นเข้าสู่การพิจารณาของ ครม. กลับปรากฎว่าไม่มีการนำเข้าแม้แต่เรื่องเดียว ในการประชุมคณะกรรมการประสานงานติดตามการแก้ไขปัญหาสมัชชาคนจนครั้ง 3/2541 ในวันที่ 8 เม.ย.2541 ซึ่งมีนายพิชัย รัตตกุล เป็นประธานแทนนายกฯที่อ้างว่าติดธุระแต่กลับไปถ่ายรูปกับกลุ่มชาวบ้านจากพังงาที่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฐ์ นำมา การประชุมครั้งนี้นายพรเทพ เตชะไพบูลย์ อ้างว่าติดขัดปัญหาเชิงเทคนิค โดยยืนยันว่าจะนำเสนอให้ทันการพิจารณาของ ครม.ในวันที่ 21 เม.ย.2541 รวมทั้งเรื่องโครงการนำร่องฯ

13-15 เมษายน 41 

-สมัชชาคนจนจัดงานเฉลิมฉลองเทศกาลสงกรานต์ ที่บ้านมนังศิลาโดยส่งกำหนดต่างๆ ให้สื่อมวลชนทราบ กลับปรากฏว่า ทีวีบางช่องกลับเสนอข่าวว่าสมัชชาคนจนเตรียมจุดบั้งไฟยิงเข้าทำเนียบ ซึ่งเป็นกิจกรรมของกลุ่มสมัชชาลุ่มน้ำมูล การขว้างปาของเสียโดยกลุ่ม สกอ. ก็ถูกเสนอว่าเป็นการกระทำของ สคจ.เช่นเคย

21 เมษายน 41 

-สมัชชาคนจน ได้ชุมนุมอย่างสงบบนทางทางเท้าหน้าสำนักงานข้าราชการพลเรือน (กพ.) และฝั่งประตูทำเนียบรัฐบาล โดยไม่มีการขว้างปาและบุกคลองเปรมประชากรแต่อย่างใด ดังนั้นการประชุม ครม.ในวันที่ 21 เมษายน 2541 เพื่อรอคอยคำตอบผลการพิจารณาของ ครม.อยู่หน้าบริเวณทำเนียบรัฐบาลอีกครั้งตั้งแต่เวลา 10.00 น.และเสร็จสิ้นลงเวลาประมาณ 17.00 น. เมื่อนายพรเทพ เตชะไพบูลย์ ในฐานะรัฐมนตรีผู้ผิดชอบกรณีเขื่อนที่สร้างแล้วทั้งหมดได้กลับมาชี้ผลของผล ครม.ต่อสมัชชาคนจนกรณีดังกล่าวดังนี้

1.กรณีเขื่อนลำคันฉู ซึ่งได้มีการจ่ายเงินให้กับผู้ที่ได้รับกระทบความเดือดร้อนแล้วเกือบทั้งหมด เหลือเพียงรายเดียว ซึ่งพบว่าเป็นความผิดพลาดทางด้านเอกสารของกระทรวงเกษตรฯที่พิมพ์ตัวเลขผิดพลาดในกรณีที่ระบุที่ดิน 14 ไร่ แต่ได้พิมพ์เพียง 4 ไร่ ครม.ไม่มีมติและไม่ได้พิจารณาแต่กระทรวงเกษตรฯ ขอรับเรื่องไปปฏิบัติตามมติเดิม

2.กรณีการพิจารณาเงิน 1,200 ล้านบาท เพื่อจัดหาที่ดินให้กับชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากกรณีเขื่อนสิรินธร ครอบครัวละ 15 ไร่ ซึ่งอยู่ในกองทุนสงเคราะห์เกษตรฯ ตามติ ครม. 2 ก.ย. 40 ซึ่ง ครม. ได้พิจารณาตามหลักกฏหมาย และจากการหารือของคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ ซึ่งจะเป็นผู้ตัดสินในการใช้เงินกองทุนดังกล่าว และจะต้องพิจารณากับคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องซึ่งมีมติเห็นชอบการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนตามมติคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกรประชุมครั้ง 2/2541 เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2541 ดังนี้

1.1 ไม่ควรจ่ายค่าชดเชยหรือค่าทดแทนซ้ำซ้อน หรือย้อนหลัง เนื่องจากจะทำให้มีการเรียกร้องของเขื่อนที่สร้างเสร็จไปแล้วตามมาอีกมากมาย ซึ่งจะทำให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาของรัฐบาลไม่รู้จบ

1.2 การจ่ายเงินค่าชดเชยหรือทดแทนควรจ่ายให้เฉพาะเขื่อนที่สร้างใหม่ในอนาคตเท่านั้น

1.3 เนื่องจากปัจจุบันการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อน อิงพระราชบัญญัติเวนคืนที่ดินและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องเป็นหลักอยู่แล้วซึ่งการจ่ายค่าชดเชยเงินทดแทน เช่นจ่ายค่าต้นไม้ ค่าบ้าน ค่าที่ดิน ตลอดจนการจัดที่ให้เข้าทำกิน ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติเหมาะสมชัดเจนและเป็นธรรมอยู่แล้ว ดังนั้นเห็นควรใช้กฏหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์และมติคณะรัฐมนตรีที่มีอยู่แล้วช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อน

1.4 สำหรับการดำเนินการจ่ายค่าชดเชยและค่าทดแทนนั้นหน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้องที่จะดำเนินการเอง โดยนำเรื่องที่ผ่านความเห็นชอบจาก ครม.แล้วเบิกจ่ายต่อกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรเพื่อนำไปจ่ายค่าชดเชยหรือค่าทดแทน อย่างไรก็ตามคณะฐมนตรีมีข้อสังเกตุว่ามติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 ก.ย. 2540 ซึ่งอนุมัติและให้ดำเนินการตามที่กระทรวงการคลังเสนอนั้น ได้กำหนดในการพิจารณาจัดสรรเงินดังกล่าวเป็นไปตามมาตรา 11 วรรค 2 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเกษตรกร พ.ศ.2517 ด้วยซึ่งอาจมีปัญหาในข้อกฏหมายว่าจะสามารถจัดสรรเงินดังกล่าวตาม ข้อ 1.4 และตามข้อเรียกร้องได้เพียงใด จึงขอให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พิจารณากำหนดแนวทางในการดำเนินการให้สอดคล้องกับกฏหมายด้วย

2.ในกรณีทีมีเกษตรกรร้องเรียนว่าได้รับความเดือดร้อนจากเขื่อนที่ได้สร้างเสร็จไปแล้วให้คณะกรรมการติดตามการแก้ไขปัญหากลุ่มเขื่อน ซึ่งแต่งตั้งตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 50/2541 ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2541 ตรวจสอบพิสูจน์หากคณะกรรมการดังกล่าวเห็นว่าได้รับความเดือดร้อนอย่างแท้จริงให้แจ้งผลการพิจารณาของคณะกรรมการให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อพิจารณาดำเนินการให้ความช่วยเหลือเป็นรายๆ ต่อไป นายพรเทพ เตชะไพบูลย์ รมช.กระทวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้กล่าวเพิ่มเติมรายละเอียดต่อไปว่า กรณีเขื่อนสิรินธร ครม.เห็นว่างบประมาณ 1,200 ล้านในกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรไม่สามารถดำเนินการจ่ายได้เนื่องจากความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่า พรบ.กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ.2517 มาตรา 11 วรรค 2 ไม่เปิดโอกาสให้ดำเนินการจ่ายเงินกองทุนให้กับราษฎรที่เดือดร้อนได้ โดยนายพรเทพกล่าวเพิ่มเติมว่า การพิจารณาช่วยเหลือให้กระทรวงเกษตรฯ เป็นกระทรวงในการดำเนินการในรูปแบบต่างๆ เช่น แนวทางเกษตรกรรมแนวใหม่ เงินสงเคราะห์เกษตรกรในรูปปัจจัยการผลิต เช่น ให้ปุ๋ย , วัว , ควาย ,ให้เช่าหรือให้กู้ เป็นต้น โดยยึดหลักความถูกต้อง ยุติธรรม ความเสมอภาคและอิงหลักกฏหมายเป็นสำคัญ ส่วนกรณีเขื่อนปากมูลก็ให้หลักการเดียวกัน นายพรเทพกล่าวว่า นายกรัฐมนตรีได้พูดว่า “ที่ผ่านๆ มาเราเคยเดินเลี้ยวๆ กันมา วันนี้ต้องเดินกันตรงๆ แล้วและขอให้สมัชชาคนจนใจเย็นๆ เห็นใจรัฐบาลและให้เวลาคณะกรรมการชุดใหม่ได้มีเวลาทำงาน ซึ่งสามารถดำเนินการได้ทันทีนับจากมีมติ ครม.ในวันนี้”

22 เมษายน 41 

-ตัวแทนสมัชชาคนจนได้ไปชุมนุมหน้ากระทรวงเกษตรฯ เพื่อไปเรียกร้องให้ นายวิรัช รัตนเศรษฐ์ รมช.และนายปองพล อดิเรกสาร รมว.เกษตรฯ ลงนามในหนังสือเสนอโครงการนำร่องฯ เข้าสู่การพิจารณาของครม.ตามข้อตกลงซึ่งถูกเลื่อนมาโดยตลอดทั้งที่กระทรวงเกษตรฯเองก็เห็นชอบ

23 เมษายน 41 

-ศ.น.พ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส ได้ให้สัมภาษณ์ที่ทำเนียบรัฐบาล ว่า การเมืองยุคต่อไป ควรเป็นเรื่องคุณภาพมี 3 ลักษณะใหญ่ เรียกว่า 3 เอช คือ 1.Honesty ความซื่อสัตย์ 2.Heart มีหัวใจเพื่อคนจน ถ้าไม่มีก็ไปไม่รอด และ 3.Head ต้องมีสมองที่ใหญ่ เข้าใจตั้งแต่เรื่องชนบทไปจนถึงเรื่องเศรษฐกิจโลก ศ.น.พ.ประเวศ ได้ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมว่า “ที่ว่ารัฐบาลประชาธิปัตย์ยังไม่ดีพอนั้น ถ้าคะแนนเป็น 3 อย่างมากได้ 1.5 เรื่องความซื่อสัตย์ได้ 1 คะแนน แต่เรื่องหัวใจเพื่อคนจนไม่แน่ใจจะให้เท่าไหร่ส่วนเอชที่3(สมอง)อาจเข้าใจเรื่องต่างประเทศแต่เรื่องชนบทยังขาดอยู่ก็ให้0.5รวมแล้วได้ 1.5 คะแนน”

09-10 พฤษภาคม 41 

-สมัชชาคนจนร่วมกับองค์กรพันธมิตรจัดงานเสวนาโต๊ะกลม เรื่อง ปัญหาพื้นที่ป่าไม้กับแนวทางการจัดการทรัพยากรท้องถิ่น และผลกระทบจาก ไอ เอ็ม เอฟ ต่อการแก้ไขปัญหาคนจน ที่ห้องประชุมชั้น 4 ตึกเอนกประสงค์ ม.ธรรมศาสตร์ และร่วมกันจัดตั้งเป็นเครือข่ายแนวร่วมประชาชนกู้ชาติ

12 พฤษภาคม 41 

-ภายหลังจากรัฐบาลถูกวิจารณ์ว่าโอบอุ้มคนรวย ไม่สนใจคนจน รัฐบาลเมขลาทองคำ คณะรัฐมนตรีจึงเข็นโครงการเงินกู้เพื่อชนบท หรือโครงการลงทุนเพื่อสังคม โดยอ้างว่าเพื่อช่วยคนจน โดยใช้เงินกู้จากธนาคารโลก กองทุนเพื่อความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจโพ้นทะเล(โออีซีเอฟ) และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเซีย(เอดีบี) ราว 700 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 28000 ล้านบาท คน อ้างว่าช่วยคนว่างงานในชนบทผ่านทางระบบราชการ เหลืองบประมาณ 100-200 ล้านบาท จัดสรรผ่านธนาคารออมสินให้องค์กรเอกชน ดำเนินการ มติ ครม.ดังกล่าว จึงเป็นเพียงการสร้างกระแสทางจิตวิทยาเพื่อการสร้างภาพของรัฐบาล เพราะอีกไม่นานประชาชนก็จะต้องรับรู้ข้อเท็จจริง ทั้งนี้ การจัดสรรงบประมาณผ่านกระทรวง ทบวง กรม เป็นที่ทราบกันดีถึงการไร้ประสิทธิภาพ การคอร์รัปชั่น ซึ่งไม่มีทางไม่ถึงมือประชาชนอย่างแน่นอน ในขณะที่รัฐบาลรับปากจะนำเรื่องโครงการนำร่องฯ เข้าสู่การพิจารณาของ ครม. สคจ.ทำกิจกรรมนั่งสมาธิเรียกร้องรัฐบาลขอใจให้คนจนหน้ากระทรวงศึกษาธิการ ในขณะที่กลุ่มสมัชชาลุ่มน้ำมูลใช้ผู้หญิงนุ่มกระโจมอกปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ก็สื่อมวลชนรายงานว่าเป็นกิจกรรมของสมัชชาคนจน และเช่นเคย ครม.ไม่มีการพิจารณาโครงการนำร่องฯ โดยไม่มีเหตุผลใดอธิบาย

13 พฤษภาคม 41 

-ตัวแทนสมัชชาคนจน ประมาณ 300 คน เดินทางไปแสดงเจตนารมณ์ คัดค้านสัญญาทาสและออกแถลงการณ์ไม่ยอมรับการลงนามสัญญาทาส ไอ เอ็ม เอฟ จงหยุดละเมิดอธิปไตยของไทย เรียกร้องกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ให้มีธรรมรัฐมีคุณธรรม โปร่งใส ยุติธรรมต่อรัฐบาลไทยและประเทศลูกหนี้ และจงยุติการละเมิดอธิปไตยของคนไทย ที่ทำการธนาคารแห่งประเทศไทย

14 พฤษภาคม 41 

-การประชุมคณะกรรมการประสานงานติดตามการแก้ไขสมัชชาคนจนครั้งที่ 4/2541 ห้องประชุมสีเทาทำเนียบรัฐบาล สคจ. ยื่นข้อเรียกร้องให้รัฐบาลตัดสินใจปัญหาทั้งหมดของสมัชชาคนจน โดยสรุปปัญหาและอุปสรรคนำเสนอต่อคณะกรรมการประสานงานติดตามการแก้ไขปัญหาสมัชชาคนจน ดังนี้

1.ปัญหาอันเกิดจาก มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2540 มีความไม่ชัดเจน ดังที่สมัชชาคนจนได้ตั้งข้อสังเกตไว้แล้วตั้งแต่ต้น ได้นำพามาซึ่งอุปสรรคปัญหาในการทำงานร่วมกัน ก่อให้เกิดความเห็นแย้ง ความเห็นที่สวนทางกันจากแนวทางเดิมที่ทำกันมา

2.ปัญหาอันเกิดจาก นโยบายรัฐบาลที่ไม่มีความชัดเจน ในการแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชนทั้งประเทศอย่างเป็นระบบ โดยจะต้องใช้นโยบายทางการเมืองที่จะต้องยึดความเดือดร้อนของประชาชนอยู่เหนือหลักกฏหมายหรือระเบียบกลไกข้าราชการต่างๆ เพื่อกำชับให้ข้าราชการที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามมติหรือข้อตกลง การที่รัฐบาลไม่มีนโยบายที่ชัดเจนทำให้เกิดความล่าช้าในการแก้ไข และการยึดหลักกฏหมาย กลไกข้าราชการคืออุปสรรคสำคัญที่รัฐบาลนี้ยังไม่มีการปรับเปลี่ยน เช่น กรณีการช่วยเหลือระยะสั้น การจ่ายค่าชดเชยกรณีโครงการพัฒนาของที่บกพร่องต่างๆ กรณีหนี้สินเกษตรกรต่อ ธกส.ให้พักการผ่อนชำระหนี้ของเกษตรกรอย่างน้อย 3-5 ปี หรือยุติการไล่รื้อ หยุดผลักไสเกษตกรออกจากที่ทำกินกรณีมีข้อพิพาทกับรัฐ หรือหยุดไล่ราษฎรออกจากแหล่งชุมชนแออัด เป็นต้น

3.การไม่ตัดสินใจในการแก้ไขปัญหา ทั้งที่ๆ คณะกรรมการประสานงานชุดนี้มีอำนาจในการพิจารณาตัดสินใจในกรณีที่มีความเห็นแตกต่างกัน และสั่งการให้คณะกรรมการชุดกลุ่มปัญหาต่างๆ ไปดำเนินการปฏิบัติ ซึ่งบางเรื่องที่คณะกรรมการชุดย่อยดูแลรายละเอียด ได้เสนอเรื่องให้กรรมการประสานงานเพื่อติดตามการแก้ไขปัญหาสมัชชาคนจนตัดสินใจ เช่น เรื่องโครงการใต้สะพาน มีข้อสรุปที่จะต้องจัดหางบประมาณให้กับการเคหะฯ เพื่อนำไปแก้ไขปัญหา ก็ไม่มีการตัดสินใจกลับโยนเรื่องกลับไปให้พิจารณาใหม่อีก โครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนเพื่อเกษตรกรรายย่อยที่คณะกรรมการชุดย่อยที่มีตัวแทนทั้งส่วนราชการ สมัชชาคนจน และรัฐบาล ร่วมกันวางแผนมาหนึ่งปีเต็ม มีแผนงาน แผนปฏิบัติการชัดเจน แต่กรรมการก็ไม่ตัดสินใจขอยื้อเวลาออกไปอีก

4.ปัญหาอันเกิดจากการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงเดิมและละเมิดมติ คณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาสมัชชาคนจน เช่น กรณีมติ ครม. 21 มีนาคม 2541 กรณีคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติวาระทราบจร เรื่องที่ 7 เมื่อวันที 24 มีนาคม 2541 เรื่อง อนุมัติงบประมาณก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ (โครงการแก่งเสือเต้น) ในการออกแบบ การก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น จ.แพร่ โดยการนำเข้าเป็นวาระจร การอนุมัติงบประมาณดังกล่าวเป็นการกระทำผิดข้อตกลงร่วมระหว่างรัฐบาลกับสมัชชาคนจน โดยมีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 21/2541 เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2541 ลงนามโดยนายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามมติ คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2540 กรณีเขื่อนที่ยังไม่ได้ดำเนินการก่อสร้าง 4 เขื่อน คือ โครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น จ.แพร่ เขื่อนรับร่อท่าแซะ จ.ชุมพร เขื่อนลำโดมใหญ่ จ.อุบลฯ และเขื่อนโป่งขุนเพชร จ.ชัยภูมิ รับรองการแก้ไขปัญหาสมัชชาคนจน ซึ่งมี ศ.นิคม จันทรวิฑูรย์ เป็นประธาน โดยในการพิจารณาความเหมาะสมของโครงการจะต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วม ขณะนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินการพิจารณาโครงการและจัดกระบวนการให้ประชาชนมีส่วนร่วม รวมทั้งอยู่ในระหว่างการเตรียมจัดประชาพิจารณ์ด้วย กรณีร่าง พรบ.จัดตั้งสถาบันคุ้มครองสุขภาพและความปลอดภัยในสถานประกอบการ ร่างพรบ.ฉบับนี้ในสมัยรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธได้แต่งตั้งคณะกรรมการโดยมีทุกฝ่ายร่วมยกร่างฯ เป็นเวลา 7 เดือนจึงแล้วเสร็จ หากแต่ในขั้นตอนการเสนอเข้า ครม.กลับปรากฏว่ากระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมกลับนำร่างของกระทรวงซึ่งร่างโดยราชการฝ่ายเดียวเข้าเสนอ ครม. สคจ.คัดค้านการนำร่างกระทรวงเข้าสู่การพิจารณา และให้นำร่างเดิมที่ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมให้ที่ประชุมพิจารณาปรากฏว่า ประธาน(นายกฯ) กลับเห็นด้วยต่อร่างของกระทรวงแรงงานฯ โดยให้ไปพิจารณาปรับเปลี่ยนตามร่างกระทรวงฯ โดยให้คณะกรรมการชุดเดิมไปร่วมพิจารณากันใหม่อีกครั้ง หรือ กรณีการไม่จ่ายเงินค่าชดเชยให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากเขื่อนสิรินธรตามมติครม.21 เม.ย. 2541 เป็นต้น

17 พฤษภาคม 41 

-สมัชชาคนจน ส่งตัวแทน 300 คนเข้าร่วมงานรำลึก 6 ปีพฤษภาประชาธรรม ที่ห้องประชุม LT 1 คณะนิติศาสตร์ ม.ธ. และที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ในวันเดียวกันสมัชชาคนจนออกแถลงการประณามการปราบปรามนักศึกษาประชาชน ของประธานาธิบดีซูฮาโต้ และเรียกร้องให้รัฐบาลเผด็จการซูฮาโต้ ออกจากตำแหน่ง ยุติการเข่นฆ่านักศึกษาประชาชน และคืนอำนาจให้กับประชาชน

18 พฤษภาคม 41 

-สมัชชาคนจน ส่งตัวแทน 300 คน ไปประท้วงและร่วมแถลงข่าวคัดค้านรัฐบาลซูฮาร์โต ใช้กำลังปราบปรามนักศึกษาประชาชน ที่สถานทูตอินโดนีเซีย ถ.เพชรบุรี และกลับมาร่วมงานรำลึก 6 ปี พฤษภาประชาธรรม ที่โรงแรมรัตนโกสินทร์

-ดร.ธีรยุทธ บุญมี ได้วิพากษ์วิจารณ์โดยนิยามรัฐบาลนี้ว่า เป็นรัฐบาลเกาเหลามีแต่น้ำไม่มีเนื้อ ที่ระบุเช่นนั้นก็เพราะว่า รัฐบาลเกาเหลาไม่ใส่เนื้อนี้ เนื่องจากรัฐบาลไม่มีนโยบายที่ชัดเจนในการแก้ไขปัญหาทางสังคมรวม รวมทั้งการส่งเสริมการปฏิรูปการเมืองการผลักดันเนื้อหารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน จึงไม่น่าแปลกใจว่า การแก้ไขปัญหาสมัชชาคนจนโดยรวมจึงมีแต่ถดถอย ล่าช้า หลัง ครม.มีมติเมื่อ 30 ธันวาคม 2540 สิ่งที่ตามมาจึงมีแค่การแต่งตั้งคณะกรรมการ 14 คณะ ประชุม 44 ครั้ง แต่ไม่มีอะไรคืบหน้า ภายใต้กลไกระบบราชการที่ไร้ประสิทธิภาพ การแก้ไขปัญหาคนจนจึงไม่มีอะไรมากไปกว่า การสาดโคลนทางการเมือง ใส่ร้ายป้ายสี ข้อเสนอของ อ.ธีรยุทธ บุญมี ในการปฏิรูประบบการจัดเก็บภาษี อาทิ ภาษีที่ดิน ภาษีทรัพย์สิน ภาษีสินค้าฟุ่มเฟือย เป็นข้อเสนอที่สมัชชาคนจนมีความเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะภาษีที่ดิน และเป็นข้อเสนอของสมัชชาคนจนที่เรียกร้องต่อรัฐบาล อันจะเป็นการป้องกันการผูกขาดการถือครองที่ดิน ไม่ปล่อยที่ดินให้รกร้างโดยไม่ทำประโยชน์ รวมทั้งการหารายได้เข้ารัฐ

19 พฤษภาคม 2541 

-สมัชชาคนจนส่งตัวแทนร่วมแถลงข่าว แนวร่วมประชาชนกู้ชาติ คัดค้าน พรก. 4 ฉบับ ที่ ห้องจารุพงษ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

21 พฤษภาคม 2541 

-สมัชชาคนจน ประมาณ 1,000 คน เดินทางไปคัดค้าน พรก. 4 ฉบับ ที่หน้ารัฐสภา และออกแถลงการณ์ อย่ามัวแต่แก้ไขปัญหาคนรวยทอดทิ้งคนจน เร่งแก้ไขปัญหาเขื่อนสิรินธร

24-25 พฤษภาคม 2541 

-สมัชชาคนจน ส่งตัวแทนชาวบ้าน 10 คน เข้าร่วมการอบรม เรื่อง GOBALLIZATION ; ASIA ECONOMIC CRYSIS ที่ ชั้น 7 ตึกเอนก โดยมีวิทยากรผู้เชียวชาญด้านเศรษฐกิจเอเชีย บรรยายให้ข้อมูลผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากวิกฤติเศรษฐกิจต่อเอเชีย และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับคนจนในเอเชีย

27 พฤษภาคม 2541 

-การหารือระหว่างตัวแทนรัฐบาลกับสมัชชาคนจน ส่อแววเหลว เมื่อปลัดกระทรวง อธิบดีกรมต่างๆ อยากช่วยแก้ไขปัญหา แต่ไม่มีระเบียบที่จะช่วยเหลือชาวบ้านได้ อีกทั้งฝ่ายการเมืองก็ยืนยันให้ทำตามกฎระเบียบที่ล้าหลัง ในวันเดียวกัน สมัชชาคนจน ออกบทความเรื่อง “6 เดือนรัฐบาลชวน สอบตก การแก้ไขปัญหาคนจน” ชี้ให้เห็นถึงความไม่จริงใจในการแก้ไขปัญหาของรัฐบาล “ใจดำ” ภายใต้การนำของพรรคประชาธิปัตย์ โดยนายชวน หลีกภัย สมัชชาคนจน เรียกประชุมพ่อครัวใหญ่ หารือท่าทีของรัฐบาลและประเมินสถานการณ์ทางการเมืองและสภาพความเป็นอยู่รวมทั้งสภาพดินฟ้าอากาศที่เริ่มเข้าสู่ฤดูฝน การอยู่ก็ยากลำบากอีกทั้งยังเป็นฤดูการผลิตของชาวบ้านต้องเตรียมลงนา ลงสวน ทำการผลิต

28 พฤษภาคม 2541 

-การหารือระหว่างตัวแทนรัฐบาล กับ สมัชชาคนจน ส่อแววเหลวชัดเจนมากขึ้น เมื่อปลัดกระทรวง อธิบดีกรมต่างๆ ยืนยันจะแก้ไขปัญหาได้ต้องแก้ไขกฎหมาย แก้ระเบียบต่างๆ อีกมากมาย ขณะที่ฝ่ายการเมืองก็ยืนยันให้ทำตามกฎระเบียบที่ล้าหลัง จึงไม่สามารถช่วยเหลืออะไรได้เลย สมัชชาคนจนเรียกประชุมพ่อครัวใหญ่ ตัดสินใจทบทวนมาตรการการชุมนุม

29 พฤษภาคม 2541 

-สมัชชาคนจน ออกแถลงการณ์ ประกาศพักรบ กลับบ้าน สะสมกำลัง เสบียง เตรียมกลับมาใหม่ โดยมีเนื้อหาสำคัญยืนยันการเรียกร้องความเป็นธรรมต่อไป การชุมนุมย่อย ติดตามการแก้ไขปัญหาสมัชชาคนจน กรณีเขื่อนสิรินธร นับแต่วันที่ 5 เมษายน 2541 จนถึงวันนี้ ไม่ประสบผลสำเร็จในทางรูปธรรมแต่อย่างใด เมื่อรัฐบาลใจดำ ภายใต้การนำของนายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีแห่งพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ตอบสนองต่อการแก้ไขปัญหาสมัชชาคนจน ทั้งที่รัฐมนตรีที่รับผิดชอบการแก้ไขปัญหาในกลุ่มเขื่อน นายพรเทพ เตชะไพบูลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ได้พาคณะกรรมการที่รับผิดชอบแก้ไขปัญหากลุ่มเขื่อนที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง ลงพื้นที่สำรวจสภาพปัญหาเขื่อนสิรินธร และได้ข้อสรุปว่าชาวบ้านเดือดร้อนจริง อีกทั้งที่ดินที่จัดให้ในนิคมลำโดมน้อยนั้น ก็เป็นหินลูกรังไม่สามารถทำการเกษตรได้ สมควรให้การช่วยเหลือชาวบ้าน แต่คณะรัฐมนตรีภายใต้การนำของนายชวน หลีกภัย มีมติไม่ให้ช่วยเหลือชาวบ้าน เพราะอ้างว่าไม่สามารถนำเงินกองทุนช่วยเหลือเกษตรกรที่รัฐบาลที่แล้วอนุมัติงบประมาณไว้ 1,200 ล้านบาท มาจัดหาที่ดินให้กับชาวบ้านที่เดือดร้อนจากเขื่อนสิรินธรได้ เนื่องจากขัดระเบียบของกองทุน การติดตามการแก้ไขปัญหาในครั้งนี้ สมัชชาคนจนได้พยายามหลายวิถีทาง เพื่อที่จะบอกกล่าวให้เห็นถึงความเดือดร้อนของชาวบ้านเขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี อย่างถึงที่สุดแล้ว หากแต่ว่าด้วยกฎระเบียบ กฎหมาย ที่ล้าหลัง และรัฐบาลประชาธิปัตย์ ใช้นโยบายเอากฎระเบียบ กฎหมายที่ล้าหลังเป็นตัวตั้ง จึงนำพามาซึ่งการที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจนได้ อีกทั้งยังไม่มีความพยายามที่จะแก้ไข กฎระเบียบที่ล้าหลังที่ว่ามาแล้ว กลับยังอาศัยความได้เปรียบในการใช้อำนาจรัฐรังแกประชาชน ใช้ความลำเอียงทางนโยบาย ไม่แก้ไขปัญหาประชาชนคนยากคนจน ขณะที่ พรก. 5 ฉบับ เพื่อคนรวย กลับได้รับการผลักดันและออกเป็นกฎหมายเร่งด่วนเพื่อประโยชน์ของชาติเอกชนผู้กู้หนี้มาทำให้ชาติล้มละลาย สมัชชาคนจน ขอยืนยันว่า จะไม่ยอมจำนนต่อความลำเอียงทางนโยบายและกฎหมายเหล่านี้ จะต่อสู้กับความไม่เป็นธรรมเหล่านี้ต่อไป หากแต่ว่าเป็นการไร้ประโยชน์ที่จะร้องขอต่อรัฐบาลใจดำ ที่ไม่ยอมรับฟังความทุกข์ร้อนของประชาชนคนยากคนจน ดังนั้นสมัชชาคนจนจะกลับมา

-21.00 น. สมัชชาคนจน ออกเดินทางกลับภูมิลำเนา เก็บความเจ็บปวด และน้ำตา ท่ามกลางสายฝนที่ตกลงมาอย่างหนัก กับข้อสัญญาต่อกันว่า แล้วจะกลับมา

31 พฤษภาคม 2541 

-สมัชชาคนจน ออกแถลงการณ์ประณามการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ ของ ประเทศอินเดีย และประเทศปากีสถาน และสมัชชาคนจน ขอประณามประเทศที่สะสมอาวุธนิวเคลียร์ ทั้งในยุโรปและอเมริกา ที่ทำตัวแบบมือถือสาก ปากถือศีล พร่ำบ่นถึงแต่สันติภาพขณะที่ประเทศตนเองกลับสะสมอาวุธนิวเคลียร์ไว้อย่างไร้ยางอาย ไม่เคารพต่อสิ่งที่ตนเองได้แสดงออกว่ามุ่งหวังสันติสุข อีกทั้งยังทำตัวเป็นผู้พิทักษ์สันติภาพของโลกโดยอีกด้านหนึ่งกลับสะสมอาวุธนิวเคลียร์ไว้อย่างมหาศาล ด้วย

10-21 มิถุนายน 2541 

สมัชชาคนจนร่วมกับแนวร่วมประชาชนกู้ชาติ 30 องค์กร อาทิ คณะกรรมการณรงค์เพื่อประชาธิปไตย(ครป.) สมาพันธ์ประชาธิปไตย สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย(สนนท.) ศูนย์ประสานงานเคลื่อนไหวแรงงาน คณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 กลุ่มเพื่อประชาชน เครือข่ายเดือนตุลา และองค์กรอื่น แถลงข่าวเข้าร่วมและสนับสนุนการเรียกร้องของคณะกรรมการประสานงานองค์กรประชาชนอีสาน(คปอ.) เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลประกาศพักการชำระหนี้เกษตรกร และเร่งออกกฎหมายฟื้นฟูชีวิตเกษตรกร ในวันที่ 24 มิถุนายน 2541 ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า

มีนาคม 2542 

สมัชชาคนจนประกาศเจตนารมย์ชุมนุมใหญ่โดยไม่มีกำหนด ที่ริมสันเขื่อนปากมูล อ.โขงเจียม จ.อุบล จัดตั้งเป็นหมู่บ้านแม่มูนมั่นยืน

ธันวาคม 2542 

คณะธรรมชาติยาตราครั้งที่ 1 สมัชชาคนจน ร่วมกับกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม จัดงาน”สิบปีแห่งการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตชุมชนลุ่มน้ำมูล” ในโอกาสครบรอบ 10 ปีการสร้างเขื่อนปากมูล

มกราคม 2543 

ชาวบ้านแม่มูนมั่นยืน 1,2,3 ปฏิบัติการสันติวิธีขึ้นรถไฟโดยไม่จ่ายค่าโดยสารเข้ากรุงเทพฯทั้งขาไปและกลับจำนวน 1,000 คน เพื่อรณรงค์บอกข่าวความทุกข์ยากที่เกิดขึ้นจากโครงการพัฒนา

กุมภาพันธ์ 2543 

คณะกรรมการเขื่อนโลก(WCD)ประชุมสรุปผลการศึกษาเขื่อนปากมูล ที่โรงแรมSCปาร์ค กรุงเทพฯ โดยมีชาวบ้านปากมูล จำนวน 20 คน และตัวแทนฝ่ายต่างๆ เข้าร่วมรับฟังและแสดงความคิดเห็น

มีนาคม 2543 

ชาวบ้านปากมูล จัดกิจกรรมวันหยุดเขื่อนโลก ทำพิธีสืบชะตาแม่น้ำโขง และทำบุญครบรอบ 1 ปี การชุมนุมหมู่บ้านแม่มูนมั่นยืน

เมษายน 2543 

สมัชชานักวิชาการเพื่อคนจน มหาวิทยาลัยเที่ยวคืน จัดสัมมนา “คนจนกับทางอ0อกของสังคมไทย”ที่หมู่บ้านแม่มูนมั่นยืน

..........................................