ประเภท ลักษณะ ที่มา โทษ ภูมิคุ้มกัน แหล่งรักษา กฎหมาย หน้าแรก
 
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522

 ด้วยเหตุที่ปัจจุบันมียาเสพติดหลายประเภท ได้แพร่ระบาดเข้ามาในประเทศไทย มีทั้งประเภทที่ผลิตไว้เองในประเทศ และที่ลักลอบเข้ามาตามชายแดน จึงจำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายกำหนดประเภทของยาเสพติดให้ครอบคลุม เพื่อที่อำนาจแก่ เจ้าหน้าที่ของรัฐในการดำเนินการตามกฎหมายกับผู้กระทำความผิด ตามกฎหมายฉบับนี้ได้ควบคุมการใช้ยาเสพติดให้โทษ โดยกำหนดความผิดและโทษสำหรับยาเสพให้โทษประเภทต่าง ๆ และใหคำจำกัดความว่า ยาเสพติดให้โทษ หมายถึง

ยาเสพติดให้โทษ หมายความถึง
1. สารเคมีหรือวัตถุชนิดใดๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใดๆ แล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจ ในลักษณะสำคัญ เช่น ต้องเพิ่มขนาดการเสพเรื่อยๆ มีอาการถอนยาเมื่อขาดยา มีความต้องการเสพ ทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงอยู่ตลอดเวลาและสุขภาพโดยทั่วไปจะทรุดโทรมลง
2. พืชหรือส่วนของพืช ที่เป็นหรือให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ หรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ
3. สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษ

ประเภทและชื่อยาเสพติดให้โทษ

ประเภท1ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง ไม่เป็นประโยชน์ทางการแพทย์ เช่น เฮโรอีน (HEROIN), แอมเฟตามีน (AMPHETAMINE), เมทแอมเฟตามีน (METHAMPHETAMINE), แอลเอสดี (LSD), เอคส์ตาซี (ECSTASY) หรือ MDMA เป็นต้น

ประเภท2ยาเสพติดให้โทษทั่วไป เช่น ฝิ่น (OPIUM), มอร์ฟีน (MORPHINE), โคคาอีนหรือโคเคน (COCAINE), โคเดอีน (CODEINE), เมทาโดน (METHADONE) เป็นต้น

ประเภท3ยาเสพติดให้โทษที่มีลักษณะเป็นต้นตำรับยาและมียาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ผสมอยู่ด้วย เช่น COSOME, ILVICO SYRUP, ยาแก้ไอโคดิล (CODYL COUGH LINCTUS)

ประเภท4สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดในโทษประเภท 1 หรือประเภท 2 ได้แก่ อาเซติคแอนไฮไดรด์ (ACETICANHYDRIDE), อาเซติลคลอไรด์ (ACETYL CHLORIDE), เอทิลิดีนไดอาเซเตด (ETHYLIDINEDIACETATE), ไลเซอร์จิค อาซิค (LYSERGIC ACID)

ประเภท5ยาเสพติดให้โทษที่มิได้เข้ามาอยู่ในประเภท 1 ถึงประเภท 4 ได้แก่ กัญชา พืชกระท่อม พืชฝิ่น (ซึ่งหมายความรวมถึงพันธุ์ฝิ่น เมล็ดฝิ่น กล้าฝิ่น ฟางฝิ่น) และพืชเห็ดขี้ควาย
 
 

ความผิดและอัตราโทษ


ฐานความผิด ยาเสพติดให้โทษประเภท 1 ยาเสพติดให้โทษประเภท 2
ผลิต นำเข้า ส่งออก - จำคุกตลอดชีวิต (ม.65)
- กระทำเพื่อจำหน่าย ประหารชีวิต (ม.65)
- มีปริมาณสารบริสุทธิ์ ตั้งแต่ยี่สิบกรัมขึ้นไป ถือว่ากระทำเพื่อจำหน่าย (ม.15) 
- จำคุกหนึ่งปีถึงสิบปี และปรับหนึ่งหมื่นบาท ถึงหนึ่งแสนบาท (ม.68)
- กรณีมอร์ฟีน ฝิ่นหรือโคคาอีน จำคุกยี่สิบปีถึงจำคุกตลอดชีวิต และปรับสองแสนบาทถึงห้าแสนบาท (ม.68) 
จำหน่าย ครอบครองเพื่อจำหน่าย - มีปริมาณสารบริสุทธิ์ ไม่เกินหนึ่งร้อยกรัม จำคุกห้าปีถึงจำคุกตลอดชีวิต และปรับห้าหมื่นบาท ถึงห้าแสนบาท (ม.66)
- มีปริมาณสารบริสุทธิ์ เกินหนึ่งร้อยกรัม จำคุกตลอดชีวิต หรือประหารชีวิต (ม.66) 
- จำคุกหนึ่งปีถึงสิบปี และปรับหนึ่งหมื่นบาท ถึงหนึ่งแสนบาท (ม.69)
- กรณีมอร์ฟีน ฝิ่น หรือโคคาอีน มีปริมาณสารบริสุทธิ์ เกินหนึ่งร้อยกรัม จำคุกห้าปีถึงจำคุกตลอดชีวิต และปรับห้าหมื่นบาทถึงห้าแสนบาท หากมีปริมาณสารบริสุทธิ์ ไม่เกินหนึ่งร้อยกรัม จำคุกสามปีถึงยี่สิบปี และปรับสามหมื่นบาท ถึงสองแสนบาท (ม.69) 
ครอบครอง - จำคุกหนึ่งถึงสิบปี และปรับหนึ่งหมื่นบาท ถ ึงหนึ่งแสนบาท (ม.68)
- มีปริมาณสารบริสุทธิ์ ตั้งแต่ยี่สิบกรัมขึ้นไป ถือว่าครอบครองเพื่อจำหน่าย (ม.15) 
- จำคุกไม่เกินห้าปีและปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท (ม.69)
- มีบริมาณสารบริสุทธิ์ ตั้งแต่หนึ่งร้อยกรัมขึ้นไป ถือว่าครอบครองเพื่อจำหน่าย (ม.17) 
เสพ - จำคุกหกเดือนถึงสิบปี และปรับห้าพันบาทถึงหนึ่งแสนบาท (ม.91)  - จำคุกหกเดือนถึงสิบปี และปรับห้าพันบาทถึงหนึ่งแสนบาท (ม.91) 
ใช้อุบายหลอกหลวง ขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้ายให้ผู้อื่นเสพ - จำคุกสองปีถึงยี่สิบปี และปรับสองหมื่นบาท ถึงสองแสนบาท (ม.93)
- กระทำโดยมีอาวุธ หรือโดยร่วมกันกระทำความผิด ตั้งแต่สองคนขึ้นไป จำคุกสี่ปีถึงสามสิบปี และปรับสี่หมื่นบาท ถึงสามแสนบาท (ม.93)
- กระทำต่อหญิง หรือผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ประหารชีวิต (ม.93) 
- จำคุกหนึ่งปีถึงสิบปี และปรับหนึ่งหมื่นบาท ถึงหนึ่งแสนบาท (ม.93)
- กรณีมอร์ฟีน หรือโคคาอีน ต้องระวางโทษ เพิ่มกึ่งหนึ่ง (ม.93)
- กระทำโดยมีอาวุธ หรือโดยร่วมกันกระทำความผิด ตั้งแต่สองคนขึ้นไป จำคุกสองปีถึงสิบห้าปี และปรับสองหมื่นบาท ถึงหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท (ม.93)
- กระทำต่อหญิง หรือผู้ไม่บรรลุนิติภาวะ จำคุกสามปีถึงจำคุกตลอดชีวิต และปรับสามหมื่นบาท ถึงห้าแสนบาท (ม.93) 
ยุยง ส่งเสริมให้ผู้อื่นเสพ - จำคุกหนึ่งปีถึงห้าปี และปรับหนึ่งหมื่นบาทถึงห้าหมื่นบาท (ม.93 ทวิ)  - จำคุกหนึ่งปีถึงห้าปี และปรับหนึ่งหมื่นบาทถึงห้าหมื่นบาท (ม.93 ทวิ) 
ฐานความผิด ยาเสพติดให้โทษประเภท 3 ยาเสพติดให้โทษประเภท 4
ผลิต นำเข้า - จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ม.70)
- ปลอม จำคุกสามปีถึงยี่สิบปี และปรับสามหมื่นบาท ถึงสองแสนบาท (ม.82)
- ผิดมาตรฐาน หรือเสื่อมคุณภาพ จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ม.84)
- ที่ต้องขึ้นทะเบียนตำรับยา แต่มิได้ขึ้นทะเบียน หรือที่ถูกสั่งเพิกถอนทะเบียน จำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ม.86) 
- จำคุกหนึ่งปีถึงสิบปี และปรับหนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท (ม.73) 
ส่งออก จำหน่าย - จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ม.71)
- ปลอม จำคุกสามปี ถึงยี่สิบปี และปรับสามหมื่นบาทถึงสองแสนบาท กรณีจำหน่าย จำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท (ม.82, ม.83)
- ผิดมาตรฐานหรือเสื่อมคุณภาพ จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ กรณีจำหน่าย จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ม.84, ม.85)
- ที่ต้องขึ้นทะเบียนตำรับแต่มิได้ขึ้น ทะเบียนหรือที่ถูกสั่งเพิกถอนทะเบียน จำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกิน ห้าหมื่นบาท กรณีจำหน่าย จำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินสามหมื่นบาท (ม.86, ม.87) 
- จำคุกหนึ่งปีถึงสิบปี และปรับหนึ่ง หมื่นบาท ถึงหนึ่งแสนบาท (ม.73) 
ครอบครองเพื่อจำหน่าย ไม่เป็นความผิด  - จำคุกหนึ่งปีถึงสิบปี และปรับหนึ่งหมื่นบาท ถึงหนึ่งแสนบาท (ม.74) 
ครอบครอง ไม่เป็นความผิด  - จำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท (ม.74)
- สิบกิโลกรัมขึ้นไปถือว่า ครอบครองเพื่อจำหน่าย 
เสพ ไม่เป็นความผิด  ไม่เป็นความผิด 
ใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้าย ให้ผู้อื่นเสพ - จำคุกหนึ่งปีถึงสิบปี และปรับหนึ่งหมื่นบาท ถึงหนึ่งแสนบาท (ม.93)
- กระทำโดยมีอาวุธ หรือโดยร่วมกันกระทำความผิด ตั้งแต่สองคนขึ้นไป จำคุกสองปีถึงสิบห้าปี และปรับสองหมื่นบาท ถึงหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท (ม.93)
- กระทำต่อหญิง หรือผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ จำคุกสามปีถึงจำคุกตลอดชีวิต และปรับสามหมื่นบาท ถึงห้าแสนบาท (ม.93) 
- จำคุกหนึ่งปีถึงสิบปี และปรับหนึ่งหมื่นบาท ถึงหนึ่งแสนบาท (ม.93)
- กระทำโดยมีอาวุธ หรือโดยร่วมกันกระทำความผิด ตั้งแต่สองคนขึ้นไป จำคุกสองปีถึงสิบห้าปี และปรับสองหมื่นบาท ถึงหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท (ม.93)
- กระทำต่อหญิง หรือผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ จำคุกสามปีถึงจำคุกตลอดชีวิต และปรับสามหมื่นบาท ถึงห้าแสนบาท (ม.93) 
ยุยง ส่งเสริม ให้ผู้อื่นเสพ ไม่เป็นความผิด  ไม่เป็นความผิด 
ฐานความผิด
ยาเสพติดให้
โทษประเภท 5
ทั่วไป กรณีพืชกระท่อม
ผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย ครอบครองเพื่อจำหน่าย  - จำคุกสองปีถึงสิบห้าปี และปรับสองหมื่นบาท ถึงหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท (ม.95)  - จำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกิน สองหมื่น (ม.75) 
ครอบครอง - จำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท (ม.76)
- สิบกิโลกรัมขึ้นไป ถือว่าครอบครองเพื่อจำหน่าย (ม.76) 
- จำคุกไม่เกินหนึ่งปีและปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ม.76)
- สิบกิโลกรัมขึ้นไป ถือว่าครอบครองเพื่อจำหน่าย (ม.76) 
เสพ - จำคุกไม่เกินหนึ่งปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท (ม.92)  - จำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท (ม.92) 
ใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ใช้กำลัง ประทุษร้ายให้ผู้อื่นเสพ - จำคุกหนึ่งปีถึงสิบปี และปรับหนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท (ม.93)
- กระทำโดยมีอาวุธ หรือโดยร่วมกันกระทำความผิด ตั้งแต่สองคนขึ้นไป จำคุกสองปีถึงสิบห้าปี และปรับสองหมื่นบาท ถึงหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท (ม.93)
- กระทำต่อหญิง หรือผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ จำคุกสามปีถึงจำคุกตลอดชีวิต และปรับสามหมื่นบาทถึงห้าแสนบาท (ม.93) 
- จำคุกหนึ่งปีถึงสิบปี และปรับ หนึ่งหมื่นบาทถึง หนึ่งแสนบาท (ม.93)
- กระทำโดยมีอาวุธ หรือโดยร่วมกันกระทำความผิด ตั้งแต่สองคนขึ้นไป จำคุกสองปีถึงสิบห้าปี และปรับสองหมื่นบาท ถึงหนึ่งแสน ห้าหมื่นบาท (ม.93)
- กระทำต่อหญิง หรือผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ จำคุกสามปีถึง จำคุกตลอดชีวิต และปรับสามหมื่นบาท ถึงห้าแสนบาท (ม.93) 
ยุยง ส่งเสริม ให้ผู้อื่นเสพ - จำคุกไม่เกินหนึ่งปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท (ม.93 ทวิ)  - จำคุกไม่เกินหนึ่งปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท (ม.93 ทวิ) 
ข้อควรจำ

1. หากกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้อีก ในระหว่างที่ยังต้องรับโทษอยู่ หรือภายในห้าปีนับแต่วันพ้นโทษ ให้ศาลเพิ่มโทษอีกกึ่งหนึ่ง ของโทษที่กำหนดสำหรับความผิดครั้งหลัง (ม.97)

2. กรรมการและพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ หรือข้าราชการ หรือพนักงานองค์การ หรือหน่วยงานของรัฐ ผู้ใดผลิต จำหน่าย นำเข้า หรือส่งออก ซึ่งยาเสพติดให้โทษ หรือสนับสนุนในการกระทำความผิดดังกล่าว ต้องระวางโทษเป็นสามเท่า ของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น (ม.100)

3. หากผู้เสพยาเสพติดให้โทษ ได้สมัครขอรับการบำบัดรักษาในสถานพยาบาล ก่อนความผิดจะปรากฎต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ โดยปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับที่กำหนด ให้ได้รับการยกเว้นโทษ (ม.94)

ย้อนกลับหน้ากฎหมาย
 

กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

จัดทำโดย...นายไชยา  เฉลียวพงษ์  อาจารย์ 1 โรงเรียนปากคาดพิทยาคม อำเภอปากคาด จังหวัดหนองคาย