ประวัติพันธุ์บางแก้ว
คอก พี.เอฟ. บางแก้ว
                            
                                     
การฝึกขั้นพื้นฐาน
                   
                                                                                                   
          การเรียนรู้ของสุนัขและการฝึกให้สุนัขเรียนรู้การเข้าสังคม                                                      

            
การเรียนรู้สังคมในช่วง   15- 90วัน เป็นช่วงเวลาอันสำคัญสำหรับลุกสุนัข เริ่มตั้งแต่เมื่อตามองเห็นเป็นต้นไป ลูกสุนัขจะเริ่มเรียนรู้ในสิ่งต่างๆที่เปลี่ยนแปลงไปรอบๆตัว ดังนั้นการสร้างสุขภาพจิตที่ดีควรเป็นไปในช่วงนี้ สำหรับช่วงการเรียนรู้ของลูกสุนัขมีดังนี้
             
ระยะแรก คือตั้งแต่สุนัขเริ่มลืมตาหรือ  15-60 วัน ในช่วงนี้ลูกสุนัขจะเริ่มเรียนรู้ตั้งแต่พื้นฐานของความเป็นสุนัข เช่น การเรียนรู้ ความเหนือกว่า ความด้อยกว่า โดยเฉพาะการได้เล่นกันระหว่างแม่และพี่น้องตัวอื่นๆ และในช่วงนี้เองลูกสุนัขก็ควรที่จะต้องรู้จักและมีความคุ้นเคยกับคนอื่นบ้างโดยเฉพาะกับเด็กๆ ซึ่งในช่วงอายุไม่เกิน  45 วัน ไม่ควรปล่อยลูกสุนัขออกจากคอกในช่วงนี้ เมื่ออายุเข้าใกล้  60  วัน สุนัขจะเริ่มรู้สึกผูกพันกับถิ่นที่อยู่น้อยลง ซี่งในช่วงนี้เป็นช่วงที่เหมาะสมที่สุดในการย้ายไปสู่บ้านใหม่ของลูกสุนัข
           
ระยะที่สอง คือ ช่วง 60-90 วัน เป็นช่วงที่สุนัขเริ่มย้ายไปอยู่ที่ใหม่ บ้านใหม่กับเจ้าของใหม่ ซึ่งเจ้าของใหม่ควรที่ให้เวลามากเป็นพิเศษ เพราะในระยะนี้ควรได้เรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ที่แตกต่างจากเดิม และช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดในการเรียนรู้ แล้วพยายามให้มีความคุ้นเคยกับคน สัตว์ และสถานที่ในบ้านแล้ว เจ้าของควรที่จะพาลูกสุนัขออกนอกบริเวณบ้าน ตามสถานที่ต่างๆ เพื่อให้ลุกสุนัขได้ฝึกการมีส่วนร่วมในสังคม ซึ่งก็จะทำให้สุนัขมีพฤติกรรมและอารมณ์ที่ไม่ก้าวร้าวและไม่กลัว และให้มีการเรียนรู้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และควรจะค่อยเป็นค่อยไปในการสอนลุกสุนัข
          
การสอนให้สุนัขเชื่อฟังคำสั่งขั้นพื้นฐาน
สุนัขเป็นสัตว์ที่มีความเฉลียวฉลาด มีไหวพริบและมีความจำดี สามารถฝึกให้เชื่อฟังคำสั่งได้ง่าย สุนัขที่ผ่านการสอนจะเป็นสุนัขที่น่ารักและมีคุณค่ามากขึ้น และสุนัขเองก็จะมีความสุขมากขึ้น เนื่องจากมีสัญชาตญาณในการที่จะได้รับการเอาใจใส่และใกล้ชิดเจ้าของอยู่แล้ว และนอกจากนี้ยังทำให้สุนัขอยู่ร่วมในสังคมมนุษย์ได้ดียิ่งขึ้น หลักในการฝึกมีดังนี้
           1.      มีขั้นตอนในการฝึกที่แน่นอน จากง่ายๆไปหายาก
           2.   ใช้เวลาฝึกในระยะสั้นๆ ในตอนเริ่มต้น เช่น ไม่ควรเกิน 10 นาที ต่อครั้ง โดยมีการพักช่วงละ 5-10 นาที
           3.   อย่าทำให้การฝึกเป็นสิ่งที่น่าเบื่อสำหรับสุนัขในระยะเริ่มต้น อย่าดุหรือลงโทษจนสุนัขกลัวจนลนลาน และหากทำให้เป็นเรื่องสนุกสนานสำหรับสุนัขได้ก็จะเป็นการดี
           4.การออกคำสั่งให้สุนัขทำตามต้องคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงและต้องไม่ทำให้สุนัขสับสน
           5.ให้รางวัลสุนัขทันทีและทุกครั้งที่สุนัขปฏิบัติตามคำสั่งได้ถูกต้อง รางวัลที่ได้อาจเป็นตั้งแต่คำชม เช่น “ดีมาก” หรือสัมผัส เช่นใช้มือตบเบาๆ บริเวณลำคอหรือลำตัว
           6.แก้ไขทันทีที่สุนัขทำผิด การแก้ไขคือการลงโทษเป็นการลบล้างพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนาของสุนัขออกไป การแก้ไขหรือห้ามใช้คำพูดดุนิยมใช้คำว่า “ไม่” ออกเสียงสั้นๆ หนักและดัง ถ้าทำหน้าดุประกอบด้วยก็จะมีผลมากขึ้นในทางจิตวิทยาเพราะสุนัขมีความสามารถอ่านหน้าตา ท่าทางของเจ้าของได้ดีเท่ากับการอ่านระดับเสียง หรืออาจลงโทษโดยการกระตุกสายจูง ห้ามทำโทษสุนัขโดยการทุบตีหรือทำให้สุนัขเจ็บปวด จนเกินเหตุ เพราะสุนัขจะกลัวและเกลียดการฝึก
                 
                   จากเรื่องของพฤติกรรมและอารมณ์ของสุนัขนั้นต้องมีสองส่วนประกอบกันคือเรื่องของพันธุกรรมและการเรียนรู้
ของสุนัขฉะนั้นเรื่องพันธุกรรมผู้เขียนเองอยากแนะนำให้ผู้เลี้ยงพยายามหาแหล่งซื้อจากคอกหรือฟาร์มที่เชื่อถือได้และมี
ประวัติและรูปถ่ายสายเลือดที่แน่นอนเพื่อลดปัญหาความก้าวร้าวของสุนัขส่วนเรื่องการเรียนรู้การมีสังคมนั้นเจ้าของสุนัขเอง
ควรมีส่วนร่วมในการสอนหรือปรับพฤติกรรมของสุนัขตามแต่ท่านต้องการแต่ถ้าท่านมีเจตนาที่ดีในการพัฒนาสุนัขและอยาก
ให้สุนัขของท่านนั้นมีความเป็นมิตรกับทุกคนและแสนรู้ท่านอาจจะมีความรู้ในการฝึกดังผู้เชี่ยวชาญแต่อาจจะเสียเวลาเปล่า
ก็เป็นได้ ถ้าสุนัขของท่านมีพันธุกรรมที่ไม่ดีมาก่อน ฉะนั้นจากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นก็สอดคล้องกับข้อความนี้คือ “สุนัขดี (พันธุกรรมดี) มีการเรียนรู้ดี (ฝึก) ทุกสิ่งทุกอย่างก็ดีได้ดั่งใจปรารถนา”
Pease contact our kennel with question or comment  or by mobile no. 06-8897639