วิธีมาตรฐานสำหรับการวิเคราะห์ (Standard Operating Procedure)
Biochemical Oxygen Demand (BOD)
โดยวิธี 5 Days Incubation และ Azide Modification
ปริมาณของออกซิเจนที่แบคทีเรียใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำภายใต้สภาวะที่มีอากาศ(Biochemical Oxygen Demand (BOD) คือ ค่าบีโอดีบ่งบอกถึงปริมาณความสกปรกของน้ำในรูปของปริมาณออกซิเจนที่ต้องการ เมื่อน้ำนั้นถูกปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ การหาค่า BOD5 จะเป็นการหาออกซิเจนที่แบคทีเรียใช้ไปภายใต้การควบคุมอุณหภูมิที่ 20 oC เป็นเวลา 5 วัน
1. ขอบข่ายการทดสอบ
วิธีนี้ใช้ได้กับการทดสอบตัวอย่างน้ำเสียจากชุมชนและน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม โดยถ้าจำเป็นจักต้องมีการทำ (seeding) และ (pretreatment)ที่เหมาะสม
2. ค่าที่รายงานผล(detection limits)
Minimum detection limit เท่ากับ 2 mg/l
3. รายละเอียดการประกันคุณภาพ(quality assurance criteria)
3.1 QA limit ของ %ผลต่าง(relative percent difference) สำหรับ การวิเคราะห์ซ้ำ(duplicate analysis) เท่ากับ 15%
3.2 ค่า BOD ของตัวอย่าง QC (Glucose-Glutamic acid) ควรมีค่า 198 ± 30.5 mg/l
3.3 ผลต่างของปริมาณ DO0 และ DO5 ต้องมีค่าอย่างน้อย 2 mg/l
3.4 ปริมาณ DO5 ต้องมีค่าอย่างน้อย 1 mg/l
3.5 ผลต่างของปริมาณ DO0 และ DO5 สำหรับ Blank ของน้ำเจือจางต้องมีค่าไม่มากกว่า 0.2 mg/l สำหรับกรณีที่เติมน้ำเชื้อ ความแตกต่างของ DO สำหรับ Blank ควรจะอยู่ระหว่าง 0.6 และ 1.0 mg/l
4. หลักการวิธีทดสอบ
สำหรับตัวอย่างที่ทำการทดสอบ ถ้าจำเป็นให้ทำการเจือจางในสัดส่วนที่เหมาะสมและให้มีปริมาณของจุลินทรีย์ที่เพียงพอ และอาจต้องมีการเติมอากาศเพื่อปรับปริมาณของออกซิเจนละลายน้ำในน้ำตัวอย่าง แล้วนำไปหาปริมาณของออกซิเจนที่ละลายน้ำ จากนั้นนำตัวอย่างไปเก็บไว้ในตู้ควบคุมอุณหภูมิที่ 20 oC ในที่มืด เป็นเวลา 5 วัน แล้วจึงนำตัวอย่างมาหาปริมาณของออกซิเจนละลายน้ำที่เหลืออยู่ ค่า BOD หาได้จากปริมาณของออกซิเจนที่ลดลง
ในการทดสอบหาออกซิเจนละลายน้ำใช้วิธี Winkler (azide modification) โดยเติมสารละลาย Manganese Sulfate แล้วตามด้วยสารละลาย Alkali-Iodide-Azide ออกซิเจนละลายน้ำจะทำปฏิกริยากับ Manganese ได้ตะกอนสีแดงของ Manganese dioxide และภายใต้สภาวะที่เป็นกรด Iodide จะทำปฏิกริยากับ Manganese dioxide ได้เป็น Iodine จากนั้นไตรเตรต(titrate) หา Iodine ด้วย สารละลายมาตรฐาน Sodium thiosulfate
5. การเก็บรักษาตัวอย่าง
ทำการวิเคราะห์หาค่า BOD ทันทีหลังจากเก็บตัวอย่าง ในกรณีที่ไม่สามารถวิเคราะห์ตัวอย่างได้ภายใน 2 ชั่วโมง ให้เก็บตัวอย่างไว้ที่อุณหภูมิ 4 oC และวิเคราะห์ตัวอย่างภายใน 24 ชั่วโมง ตัวอย่างที่แช่เย็นไว้ให้ปรับอุณหภูมิของตัวอย่างให้ได้ประมาณ 20 oC ก่อนนำมาวิเคราะห์
6. ข้อควรระวัง
หลังจากที่ล้างขวด BOD ให้สะอาดแล้ว ก่อนนำมาใช้ให้ Rinse ด้วยน้ำกลั่นที่ต้มให้เดือด เพื่อกำจัดสารอินทรีย์ที่ตกค้าง และคว่ำให้เย็นและแห้งก่อนนำมาใช้
7. เครื่องมือและอุปกรณ์
7.1 ขวด BOD ขนาด 250-300 ml พร้อมจุกปิดสนิทแบบ ground joint ส่วนใหญ่ใช้ขวดที่ทำพิเศษเพื่อการหาออกซิเจนละลายน้ำโดยเฉพาะ
7.2 ตู้ควบคุมอุณหภูมิ หรือ Water bath ซึ่งควบคุมอุณหภูมิได้ที่ 20 ± 1 oC และต้องมืดเพื่อป้องกันการสังเคราะห์แสงของสาหร่ายในตัวอย่าง
7.3 อุปกรณ์สำหรับเติมอากาศในน้ำ
7.4 ปิเป็ต(pipets)
7.5 กระบอกตวง(cylinder)
7.6 อุปกรณ์สำหรับการไตรเตรต (titrate)
7.7 ขวดวัดปริมาตร(volumetric flasks)
8. สารเคมี
8.1 สารละลาย Phosphate Buffer
นำสาร KH2PO4 มา 8.5 g สาร K2HPO4 มา 21.75 g สาร Na2HPO4.7H2O มา 33.4 g และสาร NH4Cl มา 1.7 g ละลายสารทั้งหมดในน้ำกลั่นประมาณ 500 ml แล้วเติมน้ำกลั่นจนได้ปริมาตร 1 l ค่า pH ของสารละลายนี้ควรจะประมาณ 7.2 โดยไม่ต้องปรับ
8.2 สารละลาย Magnesium Sulfate
นำสาร MgSO4. 7H2O มา 22.5 g ละลายในน้ำกลั่นแล้วเติมน้ำกลั่นจนได้ปริมาตร 1 l
8.3 สารละลาย Calcium Chloride
นำสาร CaCl2 มา 27.5 g ละลายในน้ำกลั่น แล้วเติมน้ำกลั่นจนได้ปริมาตร 1 l
8.4 สารละลาย Ferric Chloride
นำสาร FeCl3 . 6H2O มา 0.25 g ละลายในน้ำกลั่น แล้วเติมน้ำกลั่นจนได้ปริมาตร 1 l
8.5 สารละลายกรดและด่าง 1 N เพื่อใช้ในการปรับค่า pH ของตัวอย่างให้เป็นกลาง
8.6 สารละลาย Sodium Sulfite
นำสาร Na2SO3 มา 1.575 g ละลายในน้ำกลั่น 1000 ml สารละลายนี้ไม่อยู่ตัว ต้อง เตรียมในวันที่จะใช้
8.7 สารป้องกันการเกิด Nitrification : 2chloro-6-(trichoromethyl) pyridine
8.8 สารละลาย Glucose-Glutamic acid
อบ Glucose (reagent grade) และ Glutamic acid (reagent grade) ที่อุณหภูมิ 103 oC เป็นเวลา 1 ชั่วโมง แล้วนำ Glucose มา 150 mg และ Glutamic acid มา 150 mg ละลายในน้ำกลั่น แล้วเติมน้ำกลั่น จนได้ปริมาตร 1 l สารละลายนี้เก็บไว้ในตู้เย็นได้ 3 สัปดาห์
8.9 สารละลาย Manganous sulfate (DO#1)
นำสาร MnSO4.4H2O มา 480 g หรือสาร MnSO4.2H2O มา 400 g หรือสารMnSO4.H2O มา 364 g ละลายในน้ำกลั่น กรอง แล้วเติมน้ำกลั่นจนได้ปริมาตร 1 l สารละลายที่เตรียมได้ไม่ควรให้สีกับน้ำแป้ง เมื่อนำไปเติมลงไปในสารละลาย Potassium iodide (KI) ที่มีสภาพเป็นกรด
8.10 สารละลาย Alkali-Iodide-Azide (DO#2)
นำสาร NaOH มา 500 g (หรือสาร KOH 700 g) และสาร NaI มา 135 g (หรือสาร KI 150 g) ละลายในน้ำกลั่น แล้วเติมน้ำกลั่นจนได้ปริมาตร 1 l หลังจากนั้นนำสาร NaN3 มา 10 g ละลายในน้ำกลั่น 40 ml แล้วนำไปเติมในสารละลายที่เตรียมขึ้น
8.11 กรด H2SO4 เข้มข้น (DO#3)
8.12 น้ำแป้ง
ละลาย Soluble Starch 2 g และ Salicylic acid 0.2 g ลงในน้ำกลั่นปริมาตร 100 ml ที่ทำให้ร้อน
8.13 สารละลายมาตรฐาน Potassium bi-iodate (0.025 N)
ละลาย KH(IO3)2 812.4 mg ในน้ำกลั่น แล้วทำให้เจือจางเป็น 1 l
8.14 สารละลายมาตรฐาน Sodium thiosulfate (0.025 N)
นำสาร Na2S2O3.5H2O มา 6.205 g ละลายในน้ำกลั่น แล้วเติม NaOH 6N จำนวน 1.5 ml หรือสาร NaOH จำนวน 0.4 g แล้วเติมน้ำกลั่นจนได้ปริมาตร 1 l ให้ทำการ Standardize สารละลายนี้ด้วยสารละลาย bi-iodate ที่ทราบความเข้มข้นแน่นอน
9. ขั้นตอนการวิเคราะห์
9.1 วิธีการหาโดยตรง
ในกรณีที่ตัวอย่างมีค่า BOD ไม่เกิน 7 mg/ส ไม่จำเป็นต้องเจือจางตัวอย่าง ส่วนใหญ่จะได้แก่น้ำจากแม่น้ำลำคลอง ให้วิเคราะห์ตัวอย่างตามขั้นตอนต่อไปนี้
9.1.1 ปรับอุณหภูมิตัวอย่างให้ได้ประมาณ 20 oC
9.1.2 เติมอากาศให้ตัวอย่างมีปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำใกล้จุดอิ่มตัว
9.1.3 เติมตัวอย่างในขวดBOD จำนวน 2 ขวด
9.1.4 วิเคราะห์หาปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำในขวดที่ 1 ทันที
9.1.5 นำขวดที่ 2 เข้าเก็บในตู้ควบคุมอุณหภูมิที่ 20 oC เป็นเวลา 5 วัน
9.1.6 หลังจาก 5 วัน วิเคราะห์หาปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำที่เหลืออยู่ในขวดที่ 2
9.2 วิธีการที่ต้องเจือจางตัวอย่าง
วิธีนี้ใช้กับตัวอย่างที่มีความสกปรกสูง โดยมีค่าBOD มากกว่า 7 mg/l ซึ่งถ้าไม่เจือจางตัวอย่าง แบคทีเรียจะใช้ออกซิเจนจนหมดก่อนเวลา 5 วัน ทำให้ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำมีค่าเท่ากับศูนย์ จึงไม่สามารถหาค่าBODได้
9.2.1 การเตรียมน้ำเจือจาง
1) ตวงน้ำกลั่นตามปริมาตรที่ต้องการใช้
2) เติมสารละลาย Phosphate Buffer, Magnesium Sulfate, Calcium Chloride และ Ferric Chloride อย่างละ 1 ml ต่อ น้ำกลั่น 1l
3) เติมอากาศอย่างน้อย 4 ชั่วโมงเพื่อเพิ่มออกซิเจนที่ละลายน้ำ
4) ปรับอุณหภูมิให้ได้ 20 oC
5) เติมน้ำเชื้อ (seed) ถ้าจำเป็น โดยปกติแล้วถ้าเป็นน้ำเชื้อจากน้ำเสียชุมชนจะใช้น้ำเชื้อ 2 ml ต่อน้ำเจือจาง 1 L
9.2.2. การเติมน้ำเชื้อ (seeding)
ตัวอย่างจำเป็นต้องมีจุลินทรีย์ ที่สามารถย่อยสลายสารอินทรีย์ได้ในปริมาณที่เพียงพอ น้ำเสียชุมชน น้ำที่ผ่านการบำบัดแบบชีวภาพและยังไม่มีการฆ่าเชื้อหรือเติมคลอรีน และน้ำผิวดินจะมีปริมาณของจุลินทรีย์ที่เพียงพอ แต่ตัวอย่างบางประเภทมีปริมาณจุลินทรีย์ไม่เพียงพอ เช่น น้ำเสียจากโรงงานบางประเภท น้ำเสียที่ผ่านการฆ่าเชื้อ น้ำเสียที่มีอุณหภูมิสูงหรือน้ำเสียที่มีความเป็นกรดหรือด่างสูง เป็นต้น สำหรับน้ำเสียประเภทเหล่านี้จำเป็นต้องเติมน้ำเชื้อลงในน้ำเจือจางด้วย น้ำเชื้อที่ใช้สามารถใช้น้ำเสียชุมชน โดยนำมาตั้งทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้องอย่างน้อย 1 ชั่วโมง แต่อย่าให้นานเกิน 36 ชั่วโมง แล้วนำส่วนที่ใสมาใช้เป็นน้ำเชื้อ
การควบคุมน้ำเชื้อ(seed control) คือการวิเคราะห์ค่าBODของน้ำเชื้อที่ใช้เติมลงในน้ำเจือจาง ค่าที่ได้จะนำไปใช้คำนวณภายหลัง
9.2.3. การจัดการขั้นต้นกับตัวอย่าง
1) ตัวอย่างที่มีความเป็นกรดหรือด่างให้ปรับให้เป็นกลางโดยมีค่า pH อยู่ระหว่าง 6.5 ถึง 7.5 ด้วย H2SO4 หรือ NaOH โดยปริมาณของกรดหรือด่างที่เติมไม่ควรมากกว่า 5% ของปริมาตรตัวอย่าง
2) ตัวอย่างที่มีสารประกอบคลอรีนตกค้าง : ถ้าเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงตัวอย่างที่มีสารคลอรีนตกค้าง โดยเก็บตัวอย่างก่อนที่จะผ่านเข้าขบวนการฆ่าเชื้อด้วยคลอรีน ถ้าตัวอย่างผ่านการฆ่าเชื้อด้วยคลอรีนแล้วตรวจไม่พบสารคลอรีนตกค้างให้เติมน้ำเชื้อในน้ำเจือจางด้วย ถ้าพบปริมาณคลอรีนตกค้างให้กำจัดคลอรีนก่อนและเติมน้ำเชื้อในน้ำเจือจางด้วย
3) ตัวอย่างที่มีสารพิษ : น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมบางประเภท เช่น โรงงานชุบโลหะ จะมีโลหะที่เป็นสารพิษอยู่ ตัวอย่างประเภทนี้จำเป็นต้องได้รับการศึกษาและบำบัดเป็นกรณีพิเศษ
4) ตัวอย่างที่มีปริมาณออกซิเจนละลายน้ำเกินจุดอิ่มตัว : ตัวอย่างที่มีค่าออกซิเจนละลายน้ำมากกว่า 9 mg/L ที่อุณหภูมิ 20 oC ให้ลดปริมาณออกซิเจนลงมาจนถึงจุดอิ่มตัว โดยการเติมตัวอย่างไม่ต้องเต็มขวดแล้วเขย่า หรือ โดยการเติมอากาศ
5) การป้องกันการเกิด nitrification : ถ้าต้องการป้องกันความผิดพลาดของค่าBODจากการเกิด nitrification ให้เติม 2-chloro-6- (trichloro methyl) pyridine (TCMP) จำนวน 3 mg ในขวดBOD ขนาด 300 ml ก่อนปิดจุกหรือเติมในน้ำเจือจาง ให้มีความเข้มข้นสุดท้าย เท่ากับ 10 mg/l
9.2.4. การทำ Blank
นำน้ำเจือจางมาเทใส่ขวดBOD 6 ขวด นำ 3 ขวดไปวิเคราะห์หา DO ทันที และ 3 ขวดที่เหลือไปเก็บไว้ในตู้ควบคุมอุณหภูมิที่ 20 oC เป็นเวลา 5 วัน แล้วนำไปหา DO
9.2.5. การทำตัวอย่าง QC
1) เลือกตัวอย่างน้ำเสียชุมชนมา 1 ตัวอย่างใช้เป็นน้ำเชื้อ(seed) โดยนำมา 10 ml ใส่ลงไปในกระบอกตวง 1000 ml
2) เติม สารละลาย Glucose-Glutamic acid จำนวน 20 ml
3) เติมน้ำเจือจางจนได้ปริมาตร 1000 ml
4) กวนสารละลายในกระบอกตวงให้เข้ากันด้วยแท่งกวน
5) ค่อยๆ เทสารละลายในกระบอกตวงใส่ขวดBOD 3 ขวด พยายามอย่าให้มีฟองอากาศ
6) ขวด 1 นำไปหา DO ทันที
7) ขวด 2 และ 3 นำไปเก็บในตู้ควบคุมอุณหภูมิที่20oCเป็นเวลา5วันแล้วจึงนำไปหา DO
9.2.6. การทำ Duplicate
ให้ทำ Duplicate สำหรับตัวอย่างน้ำที่ใช้ทำ QC โดยเจือจางตัวอย่างให้ได้ 1000 ml แล้วเทใส่ขวดBOD 3 ขวดนำไปหา DO ทันที 1 ขวด แล้วนำ 2 ขวดที่เหลือไปเก็บในตู้ควบคุมอุณหภูมิที่ 20 oC เป็นเวลา 5 วัน แล้วจึงนำไปหาค่า DO
9.2.7. การเจือจางตัวอย่าง
การเจือจางตัวอย่างสามารถทำได้ 2 วิธี คือ การเจือจางในกระบอกตวง และการเจือจางโดยตรงในขวดBOD สำหรับการเจือจางโดยตรงในขวดBOD ถ้าใช้ตัวอย่างน้อยกว่า 0.5 ml ให้เจือจางตัวอย่างเบื้องต้นก่อน
1) เติมอากาศให้ตัวอย่างประมาณ 2 นาที
2) กำหนดปริมาณการเจือจางตัวอย่าง โดยส่วนใหญ่กำหนด 3 ช่วง ให้ครอบคลุมค่าBODที่ประเมินไว้ การเจือจางที่ดีควรให้ผลของ DO ที่เวลา 5 วัน มีค่าอย่างน้อย 1 mg/l และปริมาณของ DO ที่ลดลงหลังจากเวลา 5 วัน ควรมีค่าอย่างน้อย 2 mg/l การหาค่า CODของตัวอย่าง ซึ่งสามารถรู้ผลภายในเวลา ประมาณ 2 ชั่วโมง สามารถช่วยในการเลือกช่วงที่จะเจือจางตัวอย่างได้ โดยส่วนใหญ่ค่า BOD จะมีประมาณ 60% ของค่าCOD หรืออาจจะประเมินจากประเภทของตัวอย่าง ดังนี้
น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม ให้เจือจาง น้อยกว่า 1.0%
น้ำเสียชุมชน ให้เจือจาง 1 ถึง 5%
น้ำที่ผ่านการบำบัดทางชีวภาพ ให้เจือจาง 5 ถึง 25%
น้ำแม่น้ำที่เน่าเสีย ให้เจือจาง 25 ถึง 100%
สำหรับช่วงของค่าBODที่สัมพันธ์กับสัดส่วนการเจือจางนั้นแสดงไว้ในตารางข้างล่าง
ตารางที่ 1 ช่วงของค่า BOD กับวิธีการเจือจางต่างๆ ของตัวอย่าง*
Using Percent mixtures |
By direct pipetting into 300-ml bottles |
||
% mixture |
Range of BOD |
ml |
Range of BOD |
0.01 |
20,000-70,000 |
0.02 |
30,000-105,000 |
0.02 |
10,000-35,000 |
0.05 |
12,000-42,000 |
0.05 |
4,000-14,000 |
0.10 |
6,000-21,000 |
0.1 |
2,000-7,000 |
0.20 |
3,000-10,500 |
0.2 |
1,000-3,500 |
0.50 |
1,200-4,200 |
0.5 |
400-1,400 |
1.0 |
600-2,100 |
1.0 |
200-700 |
2.0 |
300-1,050 |
2.0 |
100-350 |
5.0 |
120-420 |
5.0 |
40-140 |
10.0 |
60-210 |
10.0 |
20-70 |
20.0 |
30-105 |
20.0 |
10-35 |
50.0 |
12-42 |
50.0 |
4-14 |
100 |
6-21 |
100 |
0-7 |
300 |
0-7 |
*ข้อมูลจาก : Chemistry for Environmental Engineering, Sawyer and McCarty, 3rded., p.424
สำหรับการเลือกช่วงเจือจางนั้น ให้ประมาณค่าBODของตัวอย่างก่อน เช่น ประมาณว่าตัวอย่างมีค่าBODเท่ากับ 500 mg/l จากตารางแนะนำให้เจือจางตัวอย่าง 1% สำหรับBODที่มีค่าอยู่ระหว่าง 200 ถึง 700 mg/l จากนั้นให้เลือกเจือจางตัวอย่างอีก 2 ช่วง ที่มากกว่าและน้อยกว่า 1% อยู่ 1 ขั้น คือ 0.5% และ 2.0% ช่วงของBODที่ทำการเจือจางจะเป็น 100 ถึง 1400 mg/l ซึ่งน่าจะครอบคลุมค่าBODของตัวอย่างและสามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นจากการประมาณขั้นต้น
3) เทตัวอย่างในปริมาณที่ต้องการลงในกระบอกตวง 1 l
4) เติมน้ำเจือจางลงไปจนปริมาตรได้ 700 ml
6) กวนตัวอย่างให้เข้ากันดีด้วยแท่งกวน
7) ค่อยๆ เทตัวอย่างลงในขวดBOD จำนวน 2 ขวด พยายามอย่างให้เกิดฟองอากาศ เพราะจะถือว่า DO ของตัวอย่างทั้ง 2 ขวด มีค่าเท่ากัน ปิดจุกหล่อน้ำ ใส่ฝาครอบ
8) นำตัวอย่างไปเก็บไว้ในตู้ควบคุมอุณหภูมิที่ 20 oC 1 ขวด ขวดที่เหลือนำไปวิเคราะห์หาค่า DO ทันที ด้วยวิธี Azide Modification
ในกรณีที่หาค่า DO โดยใช้วิธี Membrane Electrode ให้เตรียมตัวอย่างขวดเดียว และหาค่า DO เริ่มต้นก่อน แล้วจึงปิดฝาอย่าให้มีฟองอากาศในขวด หล่อน้ำ แล้วนำไปเก็บในตู้ควบคุมอุณหภูมิ
9.2.8. การหาค่า DO เริ่มต้นและสุดท้าย
การหาค่า DO สามารถทำได้ 2 วิธี คือวิธี Winkler (azide modification) และ วิธี Membrane Electrode
ขั้นตอนการหา
DO โดยวิธี Winkler (azide modification)
1) เทน้ำที่หล่อจุกขวดตัวอย่างออก
2) เปิดจุก เติมสารละลาย Manganese sulfate (DO#1) 1 ml โดยขณะเติมให้ปลายปิเป็ต(pipet)
อยู่ใต้ผิวน้ำ
3) เติมสารละลาย Alkali-Iodide-Azide (DO#2) 1 ml โดยให้ปลาย ปิเป็ต(pipet) อยู่ใต้ผิวน้ำขณะเติม
4) ปิดจุกโดยอย่าให้มีฟองอากาศภายในขวด คว่ำขวดไปมาหลาย ๆ ครั้งเพื่อให้สารผสมกัน
5) ตั้งทิ้งไว้ให้ตกตะกอนจนได้ปริมาณน้ำใส เกินครั้งหนึ่งของขวด
6) เติมกรด H2SO4 เข้มข้น(DO#3) 1 ml โดยให้กรดค่อย ๆ ไหลลงไปข้าง ๆ คอขวด ปิดจุกคว่ำขวดขึ้นลงหลายครั้งจนกระทั่งตะกอนละลายหมด
7) ตวงปริมาตร 201 ml นำไป ไตรเตรต(titrate) กับสารละลายมาตรฐาน sodium thiosulfate
(0.025 N) จนได้สีเหลืองอ่อน
8) เติมน้ำแป้ง 2-3 หยดจะได้สีน้ำเงินเข้มทำการไตรเตรตต่อไปจนกระทั้งสีน้ำเงนหายไปปริมาตรของสารละลายมาตรฐาน
Sodium thiosulfate ที่ใช้จะเทียบเท่ากับปริมาณของออกชิเจน(DO)ของน้ำตัวอย่างโดยมีหน่วยเป็น
mg/l
10. การคำนวณ
10.1 กรณีไม่มีการเติมน้ำเชื้อในน้ำเจือจาง
BOD = DO0 DO5
P
โดยที่ BOD5 = ค่า BOD ที่ระยะเวลากักเก็บตัวอย่าง 5 วันมีหน่วยเป็น mg/l
DO0 = ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำในตัวอย่างที่หาได้ทันที, mg/l
DO5 = ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำในตัวอย่างหลังจากเก็บไว้เป็นเวลา 5 วัน, mg/l
P = สัดส่วนปริมาณของตัวอย่างที่ใช้เจือจาง โดยคิดปริมาณทั้งหมดเป็น 1 ส่วน
10.2 กรณีเติมน้ำเชื้อในน้ำเจือจาง
BOD5 =
โดย BOD5 = ค่า BOD ที่ระยะเวลากักเก็บตัวอย่าง 5 วัน, mg/l
DO0 = ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำในตัวอย่างที่หาได้ทันที, mg/l
DO5 = ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำในตัวอย่างหลังจากเก็บไว้เป็นเวลา 5 วัน, mg/l
P = สัดส่วนปริมาณของตัวอย่างที่ใช้เจือจาง โดยคิดปริมาณทั้งหมดเป็น 1 ส่วน
B1 = DO ของ seed control ก่อนนำเข้าตู้ควบคุมอุณหภูมิ, mg/l
B2 = DO ของ seed control หลังจากเก็บไว้ 5 วัน
f = อัตราส่วนน้ำเชื้อในตัวอย่างที่เจือจางกับใน seed control
11. การรายงานผล
รายงานผลค่า BOD เป็นเลขจำนวนเต็มมีหน่วยเป็น mg/l
12. เอกสารอ้างอิง
วิธีการทดสอบนี้ยึดหลัก (followed) วิธีที่ 5210 B ของ Standard Method for the Examination of Water and Wastewater, 18th edition, 1992. APHA, AWWA, WEF.