วิธีมาตรฐานสำหรับการวิเคราะห์ (Standard Operating Procedure)
ของแข็งแขวนลอย (Suspended Solids, SS)
โดยวิธี Gravimetric และ อบที่ 103-105 oC
ของแข็งทั้งหมด (total solids) หมายถึง สารที่เหลืออยู่เป็นตะกอนภายหลังจากที่ผ่านการระเหยด้วยไอน้ำและทำให้แห้งที่อุณหภูมิ 103 - 105 oC สิ่งที่กลายเป็นไอไปได้ก็จะสูญไป เหลือเพียงตะกอนของสารที่มีในน้ำตัวอย่างเท่านั้น ตะกอนที่คงเหลือนั้นมีทั้งสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ ของแข็งทั้งหมดประกอบด้วย ของแข็งแขวนลอย (total suspended solids) คือส่วนที่ค้างอยู่บนกระดาษกรอง (2.0 m m pore size) และของแข็งละลายน้ำ (total dissolved solids) คือส่วนที่ผ่านกระดาษกรอง
การหาค่าของแข็งแขวนลอยนั้นเกิดข้อผิดพลาดง่ายถ้าใช้ตัวอย่างน้อย ดังนั้นควรใช้ตัวอย่างในการกรองให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ สำหรับน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วหรือมีความสกปรกน้อยอาจต้องใช้ถึง 1 l
1. ขอบข่ายการทดสอบ
วิธีนี้ใช้ได้กับตัวอย่างน้ำผิวดินและน้ำเสีย
2. รายละเอียดการประกันคุณภาพ(quality assurance criteria)
2.1 QA Limit สำหรับการวิเคราะห์ซ้ำเท่ากับ 10%
2.2 ปริมาณตะกอนบนกระดาษกรองหลังจากนำไปอบแห้งแล้วควรมีค่าอยู่ระหว่าง 2.5-200 mg
3. หลักการ
กรองน้ำตัวอย่างที่ผสมเป็นเนื้อเดียวกันผ่านกระดาษกรอง GF/C (glass-fiber filter) ที่ทราบน้ำหนัก แล้วนำกระดาษกรองพร้อมตะกอนที่ค้างอยู่ด้านบนไปอบที่อุณหภูมิ 103-105 oC จนได้น้ำหนักคงที่ น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นคือปริมาณของของแข็งแขวนลอย
4. สิ่งรบกวน
แยกตะกอนขนาดใหญ่ที่ลอยน้ำหรือจมน้ำอยู่ที่ไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของตัวอย่างออก
ควรเก็บตัวอย่างด้วยขวดแก้วหรือขวดพลาสติก ในกรณีที่ไม่สามารถวิเคราะห์ตัวอย่างได้ทันที ให้แช่เย็นตัวอย่างที่อุณหภูมิที่ 4 oC โดยไม่ต้องเติมสารใด ๆ และสามารถเก็บไว้ได้นานไม่เกิน 7 วัน
6.1 กระดาษกรองใยแก้ว GF/C เส้นผ่าศูนย์กลาง 4.7 cm
6.2 อุปกรณ์ชุดกรอง
6.4 เตาอบที่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ 103 - 105 oC
6.5 โถทำแห้ง (Desiccator) พร้อมสารดูดความชื้น
6.6 เครื่องชั่งอย่างละเอียดที่สามารถชั่งได้ละเอียดถึง 0.0001 g
6.7 กระดาษอะลูมิเนียม เพื่อทำเป็นภาชนะสำหรับใส่กระดาษกรอง
6.8 กระบอกตวง(cylinder)
6.9 คีมหนีบ (forceps)
7.1 การเตรียมกระดาษกรอง
7.1.1 นำกระดาษกรองไปใส่ในถ้วยกระดาษอลูมิเนียมที่ทำรหัสไว้
7.1.2 อบถ้วยกระดาษอลูมิเนียมพร้อมกระดาษกรองที่อุณหภูมิ 103 105 oC เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ทิ้งให้เย็นใน โถทำแห้ง (desiccator) แล้วชั่งหาน้ำหนักถ้วยอลูมิเนียมพร้อมกระดาษกรอง
7.1.3 เก็บถ้วยอลูมิเนียมพร้อมกระดาษกรองไว้ในโถทำแห้งจนกว่าจะนำมาใช้
7.2 การวิเคราะห์
7.2.1 เลือกตัวอย่างอย่างน้อย 10% ของจำนวนตัวอย่างทั้งหมด สำหรับการวิเคราะห์ซ้ำ
7.2.2 เลือกปริมาตรตัวอย่างน้ำสำหรับนำไปกรองที่จะให้ค่าของแข็งแขวนลอยโดยประมาณ 2.5-200 mg กรณีที่เก็บตัวอย่างแช่เย็นไว้ ให้ทำให้ตัวอย่างมีอุณหภูมิเท่าอุณหภูมิห้องก่อน
7.2.3 ใช้คีมหนีบ คีบกระดาษกรองที่ทราบน้ำหนักในโถทำแห้ง มาวางลงบนกรวยในชุดกรอง ซึ่งต่อเข้ากับเครื่องดูดอากาศโดยให้ด้านขรุขระของกระดาษกรองอยู่ด้านบน
7.2.4 ใช้น้ำกลั่นฉีดกระดาษกรองให้เปียก และให้ถูกดูดติดแน่นกับกรวย
7.2.5 เขย่าตัวอย่างน้ำให้เข้ากันดี แล้วเทตัวอย่างใส่กระบอกตวงครั้งเดียวให้ได้ปริมาตรใกล้เคียงกับที่ต้องการ แล้วจดบันทึกปริมาตรที่เทได้
7.2.6 เทตัวอย่างใส่ชุดกรอง เปิดเครื่องดูดอากาศ
7.2.7 ใช้น้ำกลั่นฉีดล้างของแข็งที่อาจติดอยู่ข้างกระบอกตวง และชุดกรองจนหมดและรอจนกว่ากระดาษกรองจะแห้ง
7.2.8 ปิดเครื่องดูดอากาศ ใช้คีมหนีบคีบกระดาษกรองใส่ถ้วยอะลูมิเนียมอันเดิม
7.2.9 นำไปอบในตู้อบที่อุณหภูมิ 103 105 oC เป็นเวลา 1 ชั่วโมง
7.2.10 ทิ้งให้เย็นเท่าอุณหภูมิห้องในโถทำแห้ง แล้วชั่งหาน้ำหนักถ้วยอลูมิเนียมพร้อมกระดาษกรองใหม่
7.2.11 ให้ทำข้อ 12 - 13 ซ้ำอีกจนกระทั่งได้น้ำหนักคงที่ คือ น้ำหนักที่ชั่ง 2 ครั้งแตกต่างกันไม่มากกว่า 0.0005 g หรือ มีการสูญเสียน้ำหนักน้อยกว่า 4% ของน้ำหนักครั้งแรก
8. การคำนวณ
ของแข็งแขวนลอย (SS), mg/l = (B A)*1,000
ปริมาตรของตัวอย่างที่ใช้, ml
A = น้ำหนักถ้วยอลูมิเนียมพร้อมกระดาษกรอง, mg
B = น้ำหนัก(ที่ชั่งได้ค่าน้อยที่สุด)ถ้วยอลูมิเนียมพร้อมกระดาษกรองและตัวอย่าง, mg