|
Mechanical
Desktop 6
Mechanical Desktop เป็นซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์ซึ่งใช้สำหรับงานออกแบบและสร้างแบบจำลองของชิ้นส่วนเครื่องจักรกล(Part
modeling)ซึ่งใช้พารามิเตอร์ควบคุมการขึ้นรูปชิ้นส่วน 3 มิติและสามารถนำชิ้นส่วนต่างๆ
ไปประกอบเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างภาพประกอบ แยกชิ้นส่วน(Part assembly) และเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง(Check
Interference)ระหว่างชิ้นส่วนแต่ละชิ้นที่ประกอบกันในแอสเซมบลี ก่อนที่จะนำชิ้นส่วนต่างๆ
เข้าสู่ขบวนการผลิต และยังสามารถสร้างแบบแปลน 2 มิติ(Drawing)แสดงด้าน Top,
Front, Side, Isometric, Section View, Auxilliary View, Broken View สร้างแบบแปลนแสดง
Parts Lists และ Balloons ชี้ไปยังชิ้นส่วนต่างๆ ได้อย่างสะดวก
การขึ้นรูปพาร์ท 3 มิติที่ใช้ใน Mechanical
Desktop แบ่งออกเป็น 2 แบบคือ Feature-based paramatic solid modeling และ
Non-Uniform Rational B-Spline(NURBS) surface modeling วิธีการขึ้นรูปพาร์ท
3 มิติใน MDT ที่นิยมใช้ก็คือ Feature-based paramatic solid modeling เพราะสามารถใช้พารามิเตอร์ซึ่งอาจเป็นตัวเลขหรือสมการเข้าไปควบคุมขนาดและรูปทรงของชิ้นส่วน
ทำให้สะดวกใน การแก้ไขเปลี่ยนแปลง และยังสามารถใช้ตารางตัวเลขเข้าไปควบคุมขนาดของชิ้นส่วนเดียวแต่มีหลายๆ
ขนาด ข้อดีในการใช้ MDT ก็คือหากมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงพาร์ทใด จะมีการอับเดทพาร์ทนั้นในทั้งโหมด
Assembly และในโหมด Drawing ด้วยโดยอัตโนมัติ นอกจากนี้ หากมีการแก้ไขพาร์ทหนึ่งที่ประกอบกับในแอสเซมบลี
เราก็สามารถกำหนดให้มีการเปลี่ยนแปลงใน พาร์ทอีกชิ้นหนึ่งที่ประกอบ กันในแอสเซมบลีสัมพันธ์กันโดยอัตโนมัติ
ตัวอย่าง เช่น หากมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเส้นผ่าศูนย์กลางของเพลา เส้นผ่าศูนย์กลางของ
แบริ่งซึ่งพาร์ทอีกชิ้นหนึ่งซึ่งรองรับเพลาก็จะเปลี่ยนแปลงโดยอัตโนมัติ เป็นต้น
ส่วน NURBS surface modeling ใน MDT ยังไม่เป็นพาราเมตริก
ฟีเจอร์ใหม่ของ MDT6
- สามารถแก้ไขขนาดของชิ้นส่วน เพียงดับเบิ้ลคลิกบน
Dimension ที่ต้องการ เมื่ออยู่ในโหมด Sketch
- หลังจากที่นำ Solid model จาก AutoCAD หรือจากไฟล์
.sat, .iges, .step แปลงให้เป็น Base feature เพื่อสร้างพาร์ทใหม่และ ได้เพิ่ม
ฟีเจอร์ต่างๆ เข้าไปแล้ว เรายังสามารถย้อนกลับไปแก้ไขขนาดและรูปทรงของ
Solid model โดยสามารถคลิกขวาบนพาร์ทบน Desktop browser แล้วเลือกคำสั่ง
Edit ก็จะปรากฏทูลบาร์ Base Editing State (เป็นคำสั่ง Solid editing ของ
AutoCAD นั่นเอง) และจะปรากฏโซลิดที่ใช้เป็นเบสฟีเจอร์ของพาร์ทนั้น ฟีเจอร์อื่นๆ
จะถูก Suppress ไม่ให้ปรากฏชั่วคราวจนกว่าจะแก้ไขโซลิด เรียบร้อยแล้ว ฟีเจอร์ต่างๆ
ก็จะอับเดทไปด้วยโดยอัตโนมัติ
- มีคำสั่งใหม่ Assist/Customize/Physical Material List ช่วยให้เราสามารถสร้าง
Materials ซึ่งสามารถกำหนดคุณสมบัติ ทางกายภาพของวัสดุ อาทิ เช่น Density,
Young's Modulus, Possion's Ratio, Yield Strength และอื่นๆ ขึ้นมาใช้งานได้ด้วย
ตนเอง เราสามารถนำวัสดุที่สร้างขึ้นไปใช้ในการคำนวณด้วยคำสั่ง Part/Part/Mass
Properties หรือ Assembly/Analysis/Mass Properties
- ไดอะล็อค Mass Properties ได้รับการปรับปรุงใหม่ใช้งานสะดวกกว่าเดิม
เนื่อจากในขณะที่ปรากฏไดอะล็อค สามารถคลิกขวา บนไอะล็อค แล้วเลือกคำสั่ง
Pan, Zoom, 3DOrbit โดยไม่ต้องออกจากไดอะล็อค
- มี Feature Exchange Add-on Utility ซึ่งสามารถแปลงโซลิดที่สร้างจาก
AutoCAD หรือแปลงโซลิดที่นำมาจากซอฟท์แวร์อื่นๆ (.sat, .step, .iges) ให้กลายเป็นพาราเมตริกโซลิด(Feature-driven
paramatric solid)ซึ่งโปรแกรมจะสร้างฟีเจอร์ต่างๆ บน Desktop browser ให้โดยอัตโนมัติ
อนึ่ง หลังจากติดตั้ง MDT แล้ว เราจะต้องติดตั้ง Feature Exchange Add-on
Utility จากแผ่น CD-ROM ของ MDT ลงบนฮาร์ดดิสค์ด้วย จึงจะสามารถ ทดลอง
ใช้ ฟีเจอร์นี้ได้ภายในระยะเวลา 30 วัน ฟีเจอร์นี้ทำให้ เราสามารถ แลกเปลี่ยนข้อมูล
ระหว่างโปรแกรมต่างๆ อาทิ เช่น Solid works, Solid Edge, Pro/Engineer
ได้ อย่างสะดวก เพราะว่าเรายังคงสามารถใช้ฟีเจอร์ต่างๆ เปลี่ยนแปลงขนาดและรูปทรงของโซลิดใน
MDT ได้
-
Thread Feature ใหม่ซึ่งยอมให้เราสร้างเกลียวแบบใช้พารามิเตอร์ควบคุมลงบนผิวหน้าภายในหรือ
ผิวหน้าภายนอกของ ทรงกระบอก ได้ เนื่องจากเกลียวที่สร้างขึ้นบนพาร์ทเป็นพาราเมตริก
ดังนั้น เมื่อใดที่มีการแก้ไขเกลียวในโหมด Part Modeling ก็จะมีการอับเดท
รายละเอียดของ เกลียวในโหมด Drawing ด้วยโดยอัตโนมัติ เราสามารถเลือกเกลียว
มาตรฐาน หรือกำหนดขนาดด้วยตนเองได้ นอกจากนี้ ยังสามารถควบคุมจุดเริ่มต้นออฟเซต(Starting
offset) ความยาวเกลียว (Length) พิกัดสวม(Class/Fit)ได้อีกด้วย
- ยังมีอับเดทเพิ่มเติมต่อไป....
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.autodesk.com
|