ณ
จุดเกิดเหตุ ไม่ว่าใครถูกใครผิด 15,000 บาท จ่ายทันทีคุ้มครองสูงสุด
80,000 บาท ต่อคน
ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535
ประชาชนทุกคนที่ได้รับอุบัติเหตุจากรถ
จะได้รับการ ชดใช้ค่าเสียหาย และได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร่งด่วน
ไม่ว่าผู้ประสบภัย
จะเป็นใคร อยู่ที่ไหนในรถ หรือนอกรถ เป็นผู้ขับขี่ หรือผู้โดยสาร
เจ้าของรถ คนเดินถนน
หากได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจาก อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากรถ จะได้รับการชดใช้ค่าเสีย
หายตามความเป็นจริง แต่ไม่เกินจำนวนตามที่ กฎหมายกำหนด แต่ไม่รวมถึงทรัพย์สิน
ที่เสียหายเช่นการประกันภัยภาคสมัครใจ
"ซ่อมคน แต่ไม่ซ่อมรถ"
มีแน่ ๆ 15,000 บาท
ทุกคนไม่ใช่แต่เฉพาะบุคคลที่ 3
ผู้ประสบภัยทุกคน จะได้รับการชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นจากบริษัทที่ทำประกันภัยไว้
หรือจากบริษัท
กลางหรือจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย แล้วแต่กรณี ภายใน 7 วัน นับแต่ร้องขอรับการชดใช้
(แต่เอกสารต้องพร้อม) โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ถูกผิด
1.)จำนวนเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท สำหรับค่ารักษาพยาบาลผู้ประสบภัย
2.)จำนวน 15,000 บาท สำหรับค่าปลงศพของผู้ประสบภัย
3.)ทั้งสองจำนวนรวมกัน สำหรับผู้ประสบภัยที่ถึงแก่ความตายหลังการรักษาพยาบาล
(ไม่เกิน 30,000บาท) ค่าเสียหายเบื้องต้นต้องร้องขอภายใน18
0วันนับแต่วันเกิดเหตุ
เพิ่มความคุ้มครองสูงสุดถึง 80,000บาท
หลังการพิสูจน์ความถูกผิดแล้วผู้ประสบภัยจากรถ จะได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อรวมกับ
ค่าเสียหายเบื้องต้นแล้ว ไม่เกิน 50,000 บาท กรณีความเสียหายต่อร่างกายหรืออนามัย
และจำนวน
80,000 บาท สำหรับการเสียชีวิต หรือสูญเสียอวัยวะหรือพิการอย่างถาวร
เจ็บจากไหนจึงได้จาก
กองทุนเงินทดแทน (ซึ่งกองทุนฯจ่ายเฉพาะค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น)
เจ็บจากไหนจึงได้เงินจากกองทุนเงินทดแทน
1.)เกิดอุบัติเหตุจากรถที่ไม่มีประกัน พ.ร.บ.และเจ้าของรถไม่ยอมจ่ายค่าเสียหาย
2.)เกิดจากรถที่ถูกลัก,ชิงหรือปล้นทรัพย์ และเจ้าของรถได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบ
สวนแล้ว
3.)ไม่มีผู้แสดงตนเป็นเจ้าของรถ และรถคันนั้นไม่มีประกันภัย
4.)ไม่ทราบรถคันใดก่อให้เกิดความเสียหาย (ชนแล้วหนี)
5.)บริษัทประกันภัยไม่จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นหรือจ่ายไม่ครบถ้วน
6.)ได้รับบาดเจ็บ หรือเสียชีวิตจากรถที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องทำประกันภัยตามพ.ร.บ.คุ้มครอง
ผู้ประสบภัยจากรถ
เอกสารประกอบการร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นหรือค่าสินไหมทดแทน
การร้องขอรับค่าเสียหายจากบริษัท ต้องกรอกรายละเอียดตามความเป็นจริง
คือชื่อที่อยู่ วันเดือนปี
ที่เกิดเหตุ หมายเลขทะเบียนรถ ชื่อบริษัทประกัน เลขที่กรมธรรม์ และจำนวนค่าเสียหายเบื้องต้น
ประกอบกับเอกสารดังนี้
1.)ใบเสร็จรับเงินหรือใบแจ้งหนี้ของโรงพยาบาล
2.)สำเนาบัตรประจำตัว ประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน
3.)กรณีเสียชีวิต สำเนาใบมรณบัตร และหลักฐานความเป็นทายาทของผู้ขอรับเงิน
4.)สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน
5.)สำเนาทะเบียนรถ
6.)หลักฐานกรมธรรม์ทุกชนิดที่มี
รถที่ได้รับการยกเว้นตามกฎหมายไม่ต้องทำประกันภัย
1.)รถสำหรับพระมหากษัตริย์ฯ,ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์,รถสำนักพระราชวัง
2.)รถของส่วนราชการทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น
ผู้มีหน้าที่ทำประกันภัย ตาม พ.ร.บ.คุมครองผู้ประสบภัยจากรถ
คือเจ้าของรถ หรือผู้มีสิทธิครอบครองรถตามสัญญาเช่าซื้อ
รถที่ต้องทำประกันคือรถทุกชนิดซึ่งเดินด้วย
กำลังเครื่องยนต์ และรวมถึงรถพ่วงของรถคันนั้นด้วย แต่ไม่รวมถึงรถไฟ
และรวมถึงรถที่จดทะเบียน
จากต่างประเทศด้วย ตลอดระยะเวลาที่นำมาใช้ชั่วคราวอยู่ในประเทศไทย
กรมธรรม์มีอายุ 1 ปี
และต้องทำก่อนสิ้นอายุกรมธรรม์
ไม่ทำประกันต้องรับผิดชอบเอง แถมมีโทษตามกฎหมาย
เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถตามสัญญาเช่าซื้อไม่ทำประกัน ต้องระวางโทษ
ปรับไม่เกิน
10,000 บาท ผู้ไม่ใช่เจ้าของรถนำรถที่ไม่ทำประกันไปใช้
ระวางโทษเช่นเดียวกัน และหาก
เป็นเจ้าของไม่ทำประกัน และนำรถไปใช้ด้วยจะมีโทษปรับถึง 2 กระทง
และกรณีไม่ติดเครื่อง
หมายประกันภัยไว้ที่รถ ปรับไม่เกิน 1,000 บาท เจ้าของรถที่ไม่ทำประกันภัย
หากเกิด อุบัติเหตุ
ต้องจ่ายค่าเสียหายเอง หากไม่จ่ายกองทุนทดแทนฯจะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้ก่อน
และ
เรียกเก็บจากเจ้าของรถในภายหลังพร้อมเงินเพิ่ม
20 %
กรมธรรม์ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม
2543
แม้ผู้ขับขี่ไม่มีใบอนุญาตขับรถหากเป็นรถที่ทำประกันไว้เมื่อเกิดอุบัติเหตุคนขับก็ยังได้รับค่า
เสียหายเบื้องต้น
ท่านรู้หรือไม่ บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
จำกัด เป็นใคร
บริษัทกลางเกิดขึ้นโดยผลของ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ฉบับที่
3 พ.ศ.2540 มาตรา
10 ทวิ ให้จัดตั้งขึ้นโดยให้บริษัทประกันภัยทั้งหลายถือหุ้นตามสัดส่วนของกรมธรรม์
เพื่อแก้ไขปัญหาบริษัทประกันภัยไม่ยอมจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นหรือค่าสินไหมทดแทน
หรือจ่ายล่าช้า ขณะนี้มีการจัดตั้งขึ้นครบทุกจังหวัดแล้ว สำหรับ
จว.นราธิวาส โทร.073-522348-9
บริษัทกลางจะจ่ายสินไหมฯตาม พ.ร.บ.ฯแทนบริษัทประกันภัยสำหรับความเสียหายที่เกิดจาก
อุบัติเหตุทั้งรถยนต์และรถจักรยานยนต์ แต่การรับประกันภัยตาม
พ.ร.บ.ฯเฉพาะรถจักรยานยนต์
ส่วนสำนักงานกองทุนเงินทดแทน จว.นราธิวาส
ตั้งอยู่ที่ สำนักงานประกันภัย จว.นราธิวาส
*****เขียนโดย...พ.ต.ท.สมศักดิ์
ณ โมรา รอง ผกก.(สส.)สภ.อ.สุไหงปาดี 22
มกราคม 2544*****
|