ผู้บังคับบัญชา
  บทความ
  แจ้งเบาะแสอาชญากรรม
  เหตุด่วน...เหตุร้าย
  สถิติอาชญากรรม
  บัญชีหมายจับ
  ข่าวการจับกุมคดีสำคัญ
  ตรวจสอบรถถูกยึด
  ภาพกิจกรรมตำรวจปาด
  กต.ตร.สภ.อ.สุไหงปาดี
  การ์ตูนตำรวจ
  เครื่องแบบเฮฮา
  รู้ไว้ได้ประโยชน์
  ฎีกาน่ารู้
  เที่ยวสุไหงปาดี,นราธิวาส
  กฎหมายไทย600ฉบับ
  คู่มือประชาชน
  หลักการจำคนร้าย
  วิธีป้องกันรถหาย
  แนะวิธีอดบุหรี่
  สถานบำบัดยาภาคใต้
  อ่านข่าว,ฟังข่าวไทย
  ท่องเที่ยวทั่วไทย (sabuy)
  หางานทำ (jobsdb)
  ค้นหาเว็บกับsiamguru
  ค้นหาเว็บกับgoogle
  Web site อื่นๆน่าสนใจ
ลงสมุดเยี่ยม Guestbook
Webmaster
ระฆังห่วงใย จากใจ นายกรัฐมนตรี

 

 

......ชาวสุไหงปาดี ร่วมใจกันต่อต้านภัยยาเสพติด........ เหตุด่วนเหตุร้ายทุกท้องที่ โทร.191 .....ดับเพลิงทุกท้องที่ โทร.199 .....ดับเพลิง อำเภอสุไหงปาดี โทร.0-7365-1184 .....รถหายแจ้ง ศปร.ตร.โทร.1192....ตำรวจทางหลวง โทร.1193.... ศปร.ภ.จว.นราธิวาสโทร.073-511028...

 

 
 
สถานีตำรวจภูธรอำเภอสุไหงปาดี เลขที่ 414 ถ.สุขาภิบาล 6 ต.ปะลุรู อ.สุไหงปาดี จว.นราธิวาส 96140

 

 

 

 

บทความเรื่องอำนาจการจับของตำรวจตั้งแต่ 11 ต.ค.45
  • บทความการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญว่าด้วยการจับกุมและควบคุมของตำรวจ
    โดย พ.ต.ท.สมศักดิ์ ณ โมรา รอง ผกก.(สส.)สภ.อ.สุไหงปาดี
    เมื่อ ๕ ตุลาคม ๒๕๔๕ เพิ่มเติม เมื่อ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๔๕
    +++++++++++++++++++
  • เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าตั้งแต่วันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๔๕ นี้ ผลของรัฐธรรมนูญมาตรา
    ๒๓๗ และ ๓๓๕(๖) ทำให้ ป.วิอาญา มาตราที่เกี่ยวข้องกับการจับกุม การออกหมายจับ
    ควบคุมหรือคุมขังผู้ต้องหาในคดีอาญา สิ้นผลบังคับใช้เนื่องจากขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ
    และยังมิได้มีการแก้ไข ป.วิอาญา ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแต่อย่างไรก็ตามตัวรัฐธรรมนูญ
    มาตรา ๒๓๗ เองก็เป็นกฎหมายวิธีสบัญัติไปในตัว ได้กำหนดแนวทางปฏิบัติไว้กว้างๆ ที่
    จะต้องมีการตีความกันไปต่างๆนาๆ ลองมาอ่านมาตรา ๒๓๗ กันดูและช่วยกันพิจารณาว่า
    ผู้เขียนมีความเห็นถูกต้องหรือไม่ เพื่อพวกเราจะได้ปฏิบัติหน้าที่กันด้วยความสบายใจว่าจะ
    ไม่ถูกฟ้องร้องว่าปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ แต่หากพวกเราตำรวจหยุดการจับกุมความผิด
    อาญาเสียแล้ว ผู้ร้ายจะฮึกเหิม สร้างความวุ่นวายให้แก่ประชาชนได้ เป็นหน้าที่ของพวกเราที่ยังคงต้องปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นตำรวจผู้ปฏิบัติต้องปลอดภัยด้วยประการทั้งปวงด้วย
  • "มาตรา ๒๓๗ ในคดีอาญาการจับกุมและคุมขังบุคคลใดจะกระทำมิได้ เว้นแต่มีคำสั่งหรือ
    หมายของศาล หรือผู้นั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้า หรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่นให้จับได้โดย
    ไม่มีหมาย ตามที่กฎหมายได้บัญญัติ โดยผู้ถูกจับกุมจะต้องได้รับการแจ้งข้อกล่าวหาและ
    รายละเอียดแห่งการจับโดยมิชักช้า กับจะต้องได้รับโอกาสแจ้งให้ญาติหรือผู้ซึ่งผู้ถูกจับไว้
    วางใจได้ทราบในโอกาสแรก และผู้ถูกจับซึ่งยังถูกควบคุมอยู่ต้องถูกนำตัวศาลภายในสี่สิบ
    แปดชั่วโมง นับแต่เวลาที่ผู้ถูกจับถูกนำตัวไปถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวน เพื่อศาล
    พิจารณาว่ามีเหตุที่จะต้องคุมขังผู้ถูกจับกุมไว้หรือไม่ เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัยอย่างอื่นตามที่
    กฎหมายบัญญัติ
  • หมายจับหรือหมายขังบุคคลจะออกได้ต่อเมื่อ
    (๑)มีหลักฐานตามสมควรว่าผู้นั้นน่าจะได้กระทำความผิดอาญาร้ายแรงที่มีอัตราโทษ ตาม
    ที่กฎหมายบัญญัติ หรือ
    (๒)มีหลักฐานตามสมควรว่าผู้นั้นน่าจะได้กระทำความผิดอาญา และมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้นั้น
    จะหลบหนี หรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่อเหตุอันตรายประการอื่นด้วย"
  • ขอแยกตัวบทเป็นข้อๆเพื่อเข้าใจได้ง่ายขึ้นว่า รัฐธรรมนูญวางหลักในการคุ้มครองสิทธิเสรี
    ภาพของบุคคลไว้ว่า การจับกุมและการคุมขังบุคคลทำไม่ได้ แต่มีข้อยกเว้น ๓ ประการคือ
    ๑.บุคคลนั้นทำความผิดซึ่งหน้า (ความผิดซึ่งหน้าคือความผิดที่เห็นกำลังกระทำอยู่ หรือกระทำ
    ผิดมาแล้วสดๆร้อนๆตามป.วิอาญามาตรา ๘๐)
    ๒.มีหมายหรือคำสั่งศาล
    ๓.มีกฎหมายบัญญัติให้ทำได้ (ขณะนี้ยังไม่มี)
  • เมื่อจับได้โดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญแล้ว เจ้าพนักงานผู้จับ ต้องปฏิบัติต่อไปดังนี้ (ปฏิบัติทั้ง ๓ ข้อ
    จะละเลยข้อใดข้อหนึ่งไม่ได้)
    ๑.แจ้งข้อกล่าวหาและรายละเอียดแห่งการจับ (หมายถึงรายละเอียดที่กล่าวหาว่าเขาต้องหาว่าทำ
    ผิดอย่างไร ที่ไหน เมื่อใด ใครเป็นผู้เสียหาย พอสมควรที่เขาสามารถเข้าใจได้) ให้ผู้ถูกจับทราบ
    โดยไม่ชักช้า (ถ้าไม่มีเหตุอื่นเช่นผู้ถูกจับไม่เมา ไม่อาละวาด หรือไม่สลบ หรือไม่เมายาบ้าจนฟัง
    ไม่รู้เรื่อง ก็ควรอธิบายให้ทราบทันทีในโอกาสแรก ทางปฏิบัติที่ดีที่สุด คือเขียนบันทึกการจับกุมในบริเวณที่จับกุมและเขียนไปให้ชัดว่าแจ้งข้อกล่าวหาและรายละเอียด
    แห่งการจับให้ผู้ต้องหาทราบและเข้าใจแล้ว ผู้ให้การว่า......และให้ผู้ถูกจับลงชื่อไว้) และ
    ๒.แจ้งญาติหรือบุคคลที่ผู้ถูกจับไว้วางใจ (ทางใดก็ได้ เช่นทางโทรศัพท์ ให้คนไปบอกฯลฯ โดย
    ผู้จับหรือพนักงานสอบสวนก็ได้ ทางที่ดีเขียนไปในบันทึกการจับกุมเลยว่าได้แจ้งให้...........
    ญาติของผู้ต้องหาทราบการจับกุมแล้ว) ในโอกาสแรกที่สามารถแจ้งได้(ไม่ได้บังคับให้แจ้งทันที
    แต่ให้แจ้งในโอกาสแรกที่สามารถแจ้งได้ เพราะหากผู้ต้องหาไม่บอกชื่อที่อยู่ที่สามารถติดต่อ
    ได้ก็ไม่สามารถแจ้งได้ หรือกรณีผู้ต้องหาหรือผู้ถูกจับไม่มีญาติเลยก็ไม่รู้จะแจ้งใครเหมือนกัน) และ
    ๓.นำตัวผู้ถูกจับและยังถูกควบคุมตัวอยู่ ไปศาลภายใน ๔๘ ชั่วโมง นับแต่ถึงพนักงานสอบสวน (ได้มีการตีความกันว่าพนักงานสอบสวนท้องที่มีการจับ ไม่จำเป็นต้องเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับ
    ผิดชอบ ดังนั้นข้อนี้ต้องระวัง ถ้าหากจะนำตัวไปไม่ทันต้องขออำนาจศาลให้ออกหมายขังท้องที่ที่
    จับเสียก่อน แล้วค่อยขอโอนการควบคุมไปภายหลัง ซึ่งเป็นวิธีปฏิบัติที่ยุ่งยากพอสมควร) เพื่อให้ศาลพิจารณาว่าผู้นั้นสมควรถูกควบคุมต่อไปหรือไม่ ประเด็นนี้ผู้ไปยื่นคำร้องต่อศาลควรเป็นพนักงานสอบสวนทั้งๆกฎหมายไม่ได้กำหนด ) และมีข้อยกเว้นตามที่กฎหมายบัญญัติ(ซึ่งขณะนี้ยังไม่มี)
  • การออกหมายจับ (อำนาจของศาลเพียงผู้เดียว) รัฐธรรมนูญกำหนดเหตุที่จะออกได้ไว้ ๒ ประการ
    (อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้) ดังนั้นต่อไปนี้ (ตั้งแต่วันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๔๕ คดีที่รู้ตัวผู้กระทำผิด
    ไม่ว่าเหตุจะเกิดขึ้นก่อนหรือหลัง ๑๑ ตุลาคม ๒๕๔๕ จะต้องรวบรวมพยานหลักฐานให้ได้มากที่
    สุดแล้วขอให้ศาลออกหมายจับ ซึ่งจะต้องมีรายละเอียด ชื่อ ที่อยู่ ตำหนิรูปพรรณที่ชัดเจนพอ
    สมควรที่ศาลจะออกหมายจับได้)
    ๑.ความผิดอาญาร้ายแรงอัตราโทษตามที่กฎหมายกำหนด มีหลักฐานน่าเชื่อว่าผู้นั้นกระทำผิด(ซึ่งขณะนี้ยังปฏิบัติตามข้อนี้ไม่ได้เพราะกฎหมายยังไม่ได้กำหนด แต่ทราบว่าผู้เสนอร่างกฎหมายได้เสนอความผิดอาญาร้ายแรงไว้ที่ต้องมีอัตราโทษสูงกว่า ๓ ปี หมายถึงคดีทุกคดีที่ขึ้นศาลจังหวัดหรือศาลอาญานั่นเอง ต่ำกว่า ๓ ปี คดีที่ต้องขึ้นศาลแขวง ต้องเข้า
    หลักเกณฑ์ในข้อ ๒) (และในเรื่องมีหลักฐานเชื่อแน่ว่าผู้นั้นกระทำผิด หลักฐานไม่ถึงกับฟังให้ปราศ
    จากข้อสงสัยที่จะลงโทษได้ แค่มีมูลที่เชื่อได้ว่าผู้นั้กระทำผิดก็น่าเพียงพอแล้ว)
    ๒.คดีอาญาทั่วไป ขอให้ศาลออกหมายจับได้จะต้องมีเหตุประกอบด้วย ๒ กระการคือ
    ๒.๑ มีหลักฐานตามสมควรว่าผู้นั้นน่าจะกระทำผิดอาญา (ไม่ว่าอัตราโทษเท่าใดก็ตาม) และ
    ๒.๒ มีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้นั้นจะหลบหนี หรือ ยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือ ก่อเหตุอันตรายประการอื่น
  • เมื่ออ่านรัฐธรรมนูญแล้ว เกิดข้อกังขาหลายประการ คือ
    ๑. นอกจาก ป.วิอาญา ว่าด้วยการจับและคุมขังและออกหมายจับเดิมซึ่งขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญสิ้น
    สภาพบังคับแล้ว ในคดีศาลแขวง และคดีที่ขึ้นศาลคดีเด็กและเยาวชน ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความ
    อาญาในศาลแขวง และวิธีพิจารณาความอาญาในศาลเด็ก ที่ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ จะสิ้นสภาพบังคับ
    ไปด้วยหรือไม่ ผู้เขียนเห็นว่ารัฐธรรมนูญมาตรา ๒๓๗ ดังกล่าวใช้บังคับในทุกคดี ตราบใดที่ ป.วิอาญา,
    ป.วิแขวง และ ป.วิเด็ก ยังไม่การแก้ไขให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ
    ๒. คดีศาลแขวงที่ผู้ต้องหารับสารภาพซึ่งปกติฟ้องภายใน ๔๘ ชั่วโมงอยู่แล้วไม่มีปัญหาในทางปฏิบัติ แต่ถ้าผู้ต้องหาปฏิเสธในชั้นสอบสวนก็ต้องถือปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญเช่นกัน ส่วนในคดีศาลเด็ก ก็ยังต้อง
    นำตัวไปส่งสถานพินิจฯใน ๒๔ ชั่วโมง อยู่เช่นเดิมทางปฏิบัติไม่ทางขัดกับรัฐธรรมนูญ
    ๓. หมายจับเดิมที่เคยออกโดยชอบโดยตำรวจหรือฝ่ายปกครอง เป็นอันใช้ไม่ได้แล้วใช่หรือไม่ มีความ
    เห็นเป็นสองทาง ทางแรกโดยสภาทนายความเห็นว่ารัฐธรรมนูญมาตรา ๒๓๗ นี้ออกมาเพื่อเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติในกระบวนการยุติธรรมตามแบบเดิมไปโดยสิ้นเชิง และยังให้เวลา
    เตรียมตัวถึง ๕ ปี หมายจับที่เคยออกมาโดยตำรวจหรือฝ่ายปกครองและยังจับกุมผู้ต้องหาไม่ได้จนถึง
    วันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๔๕ ย่อมสิ้นผลบังคับไปโดยปริยาย หากยังไม่ขาดอายุความและพนักงานสอบสวนยังต้องการจับกุมบุคคลเหล่านั้นมาดำเนินคดี ต้องนำพยานหลักฐานไปแสดงต่อศาลเพื่อให้ศาลออกหมายจับได้ภายในอายุความที่ยังเหลืออยู่เท่านั้น ความเห็นที่สองหมายจับที่เคยออกโดยชอบด้วยกฎหมายยังไม่สิ้นสภาพเป็นหมายจับ แต่เมื่อพบตัวก็จับ
    และควบคุมตัวไม่ได้ ทางปฏิบัติ ตร.ได้สั่งการให้สำรวจว่าคดีแต่ละท้องที่ซึ่งพนักงานสอบสวนมีความเห็น
    สั่งฟ้องผู้ต้องหาไว้แล้ว อัยการได้มีคำสั่งฟ้องและสั่งให้ได้ตัวผู้ต้องหามาด้วยวิธีหนึ่งวิธีใด ให้หัวหน้างาน
    สอบสวน รวบรวมพยานหลักฐานขอให้ศาลออกหมายจับ ส่วนคดีอื่นๆให้ทะยอยรวบรวมขอให้ศาลออก
    หมายจับ (ท้องที่ สภ.อ.สุไหงปาดี ได้ตรวจสอบแล้ว ทุกคดี ที่พนักงานสอบสวนสั่งฟ้องผู้ต้องหาส่งสำนวน
    การสอบสวนให้อัยการ อัยการยังไม่สั่งคดี จนกว่าจะได้ตัวผู้ต้องหา)
    ๔.การฝากขังผู้ต้องหาตามกฎหมายเดิม ยังถือปฏิบัติได้อยู่อีกหรือไม่ มีความเห็นว่ายังทำได้ ทาง
    ปฏิบัติเมื่อนำตัวไปศาลใน ๔๘ ชั่วโมง พนักงานสอบสวนต้องนำพยานหลักฐานไปแสดง ให้ศาลเชื่อตามสมควรว่าผู้นั้นกระทำผิดเห็นควรควบคุมตัวไว้ระหว่างสอบสวน โดยถ้ายังสอบสวนตัวผู้
    ต้องหาไม่เสร็จก็ให้ศาลออกหมายขัง แล้วนำตัวไปสอบสวนต่อกี่วัน หรือฝากขังไว้กี่วัน อยู่ในดุลพินิจ
    ของศาล แต่ขณะนี้ศาลใช้ธรรมเนียมในการปฏิบัติ คือจะออกหมายขังครั้งละ ๑๒ วัน โดยล้อการฝาก
    ขังเดิม (เว้นแต่ภายหลังกฎหมายออกมาก็ปฏิบัติตามนั้น)
  • สรุป ตำรวจต้องเตรียมรับสภาพให้ได้ และปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญโดยเคร่งครัด
    ขณะนี้ ทางประธานศาลฎีกาได้ออกระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการว่าด้วยการออกหมายจับและหมายค้น และระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการว่าด้วยการออกหมายขังแล้ว ซึ่งพนักงานสอบสวนก็ต้องถือปฏิบัติให้
    สอดคล้องกันด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งแบบพิมพ์คำร้องหมายจับ คำร้องหมายค้น หมายจับและหมายค้น
    ซึ่งพนักงานสอบสวน ก็ต้องใช้แบบพิมพ์เหล่านี้ไปยื่นต่อศาล และเป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนหรือผู้ยื่นคำร้องขอออกหมายจับและหมายค้นจะต้องพิมพ์ไป
    ให้เรียบร้อย ก่อนยื่นต่อศาล เพราะเมื่อศาลเห็นชอบศาลจะเพียงลงนามเท่านั้น
    โดยสรุปเจ้าพนักงานตำรวจทุกระดับชั้น รวมทั้งพนักงานสอบสวน ควรปฏิบัติดังนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงการ
    ถูกฟ้องร้องว่าปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
    ๑.ยังจับผู้กระทำผิดอาญาได้อยู่ตามปกติในความผิดซึ่งหน้าในที่สาธารณะ และความผิดซึ่งหน้าในที่ระโหฐานที่ทำการตรวจค้นตามหมายค้นของศาล (ไปศึกษาเรื่องความผิด
    ซึ่งหน้าให้ดี ตาม ป.วิ อาญา ม.๘๐ รวมทั้งเรื่องราษฎรผู้เสียหาย ยังมีอำนาจจับความผิดซึ่งหน้าบาง
    ประการอยู่ด้วย ในกรณีราษฎรจับกุมผู้ต้องหาเอง เมื่อนำตัวมาส่งก็นับ ๔๘ ชั่วโมง นับแต่ถึงพนักงาน
    สอบสวนเช่นกัน)
    ๒.จับผู้ต้องหาตามหมายหรือคำสั่งของศาลได้ไม่ว่าหมายหรือคำสั่งศาลนั้น จะออกมาก่อนหรือหลัง
    ๑๑ ตุลาคม ๒๕๔๕
    ๓.จับตามที่ผู้เสียหายชี้ให้จับ และตามที่ผู้ต้องหามาปรากฏตัวต่อหน้าพนักงานสอบสวน ไม่ได้อีกต่อไปแล้ว
    ๔.กรณีผู้ต้องหาที่มีหมายจับของตำรวจอยู่(กรณียังไม่มีการแก้ไขเป็นหมายจับของศาล) มอบตัว พนักงานสอบสวนจะแจ้งข้อกล่าวหาโดยไม่ทำการควบคุมตัวได้หรือไม่ มีความเห็นเป็นสองทาง จากการสอบถามผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดนราธิวาส ท่านบอกว่าทำไม่ได้เพราะการแจ้งข้อหาคือ
    การจับเช่นกัน
    ๕.ต่อไปเมื่อพนักงานสอบสวนรับคดีแล้วโดยยังไม่สามารถหาพยานหลักฐาน เพื่อให้ศาลออกหมาย
    จับได้ หากผู้ต้องหามามอบตัว พนักงานจะรับมอบตัวได้หรือไม่ เป็นสิ่งที่น่าคิด
    ๖.ชั้นพนักงานสอบสวน ยังสามารถให้ประกันตัวได้อยู่เช่นเดิม ซึ่งต้องให้ประกันไปจากพนักงานสอบสวน
    ก่อน ๔๘ ชั่วโมง เมื่อให้ประกันไปแล้ว ไม่ต้องไปยื่นคำร้องขอฝากขังเพราะไม่มีความจำเป็นที่ศาลจะต้อง
    ออกหมายขัง คดีศาลเด็กก็นำตัวส่งสถานพินิจเช่นเดิม ศาลแขวง หากผู้ต้องหาให้การปฏิเสธ ก็ต้องมีการ
    ผัดฟ้องเช่นเดิม ไม่ว่าผู้ต้องหาจะประกันหรือไม่ประกันชั้นพนักงานสอบสวน
    ๗.เดิมผู้จับมักจะเขียนบันทึกการจับกุมกันที่สถานีตำรวจ เมื่อนำตัวผู้ถูกจับมาส่งพนักงานสอบสวน ต่อไปนี้ควรเขียนกันที่เกิดเหตุที่จับผู้ต้องหาได้เท่านั้น เพราะในบันทึกการจับกุมจำเป็นต้องเขียนให้ชัด
    เรื่องการแจ้งข้อกล่าวหา และรายละเอียดแห่งการจับให้ผู้ต้องหาทราบโดยไม่ชักช้า เว้นแต่มีเหตุจำเป็น
    เขียนที่เกิดเหตุจับกุมไม่ได้เท่านั้น
    ๘.หมายจับเดิมที่ยังไม่ขาดอายุความ หยุดจับไปชั่วคราวจนกว่าจะมีการแก้ไขเป็นหมายจับของศาลเท่านั้น
    ๙.นำตัวไปศาลใน ๔๘ ชั่วโมง นับแต่ผู้ถูกจับถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวน มีการตีความกันว่าคำว่า
    พนักงานสอบสวน ไม่จำเป็นต้องเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบคดีนั้น กรณีจับกุมตามหมายจับศาล
    จังหวัดเชียงใหม่ พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบคือพนักงานสอบสวน สภ.อ.เมืองเชียงใหม่ แต่ผู้ต้องหามา
    ถูกจับที่ ท้องที่ สภ.อ.สุไหงปาดี ทางปฏิบัติตามระเบียบของ ตร.ต้องนำตัวมาลง ปจว.ในท้องที่ที่ถูกจับกุม
    ตัว ๔๘ ชั่วโมงเริ่มนับทันที จะไปนับเมื่อนำตัวผู้ต้องหาไป สภ.อ.เมืองเชียงใหม่ ไม่ได้ ถ้าคิดว่าจะเดินทาง
    ไม่ทันทางปฏิบัติ ยื่นคำร้องให้ศาลจังหวัดนราธิวาส ออกหมายขังเสียก่อน แล้วค่อยมีการโอนผู้ต้องหาไป
    เขตอำนาจศาลจังหวัดเชียงใหม่ เป็นสิ่งน่าคิดว่า เมื่อจับผู้ต้องหาได้แล้ว ถ้าเป็นตำรวจจากเชียงใหม่ จับ
    แล้วเดินทางไปส่งพนักงานสอบสวน สภ.อ.เมืองเชียงใหม่ได้เลยโดยไม่ต้องลง ปจว.ที่ สภ.อ.สุไหงปาดี
    ๔๘ ชั่วโมง จะนับตั้งแต่ถึงพนักงานสอบสวน สภ.อ.เมืองเชียงใหม่ จะเป็นการชอบหรือไม่ ใครจะเป็นหนู
    ทดลองยาบ้าง ผู้เขียนอยากทราบ


    *************************

 
 
If you have comments or questions regarding this web site, please send E-mail to
theSungaipadee Police Department at the following: padee3@yahoo.com Unless otherwise noted,
all material is copyright @ 2000. The Sungaipadee Police Department. All rights reserved.