คดีปกครองเพื่อความเป็นธรรมในสังคม
ศาลปกครองเป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญ
พ.ศ.2540 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครอง
พ.ศ.2542 ให้ทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีปกครอง
ซึ่งเป็นข้อพิพาทระหว่างเอกชนฝ่ายหนึ่ง
กับหน่วยงานทางการปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอีกฝ่ายหนึ่งหรือเป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วย
งานทางการปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกัน อันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่
ทั้งนี้เพื่อคุ้ม
ครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน และปกป้องประโยชน์ของส่วนรวมให้ได้ดุลยภาพกัน
เพื่อวาง
บรรทัดฐานให้การปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานทางการปกครอง และเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นไปโดย
ถูกต้องตามกฎหมาย
โครงสร้างและเขตอำนาจของศาลปกครอง
ศาลปกครองแบ่งออกเป็น 2 ชั้นศาล คือศาลปกครองสูงสุด และศาลปกครองชั้นต้น
สำหรับศาล
ปกครองชั้นต้นก็ยังมีศาลปกครองกลาง และศาลปกครองในภูมิภาคต่างๆ ซึ่งกระจัดกระจายอยู่
ตามภูมิภาคทั่วประเทศ 16 แห่ง
ศาลปกครองสูงสุด
ตั้งอยู่ที่ 195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ชั้น 31-37 ถนนสาทรใต้ เขตสาทร กทม.10120
โทร
02-6701200-64 มีเขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
ศาลปกครองกลาง
ตั้งอยู่ที่ 195
อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ชั้น 31-37 ถนนสาทรใต้ เขตสาทร กทม.10120 โทร
02-6701200-64
มีเขตอำนาจตลอดท้องที่ กทม.,นครปฐม,นนทบุรี,ปทุมธานี,ราชบุรี,สมุปราการ
สมุทรสาคร,และ จว.อื่นที่ยังไม่เปิดทำการศาลปกครองในภูมิภาค
ศาลปกครองในภูมิภาค
ทยอยเปิดทำการจนครบ 16 แห่ง สำหรับศาลปกครอง จว.สงขลา มีเขตอำนาจในท้องที่
จว.ตรัง,
พัทลุง,สงขลา,และสตูล
อำนาจหน้าที่ของศาลปกครอง
ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษา คดีปกครอง
ซึ่งได้แก่คดีในลักษณะดังต่อไปนี้
1.คดีพิพากทว่าการกระทำทางการปกครองอันได้แก่กฎหรือคำสั่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย
2.คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางการปกครอง เช่นสัญญาสัมปทาน สัญญาจ้างก่อสร้างถนนหรือสะพาน
3.คดีพิพาทเกี่ยวกับละเลยต่อหน้าที่ หรือการปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควรของหน่วยงานทางการปกครอง
หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ
4.คดีพิพาทเกี่ยวกับการทำละเมิดทางการปกครองหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางการปกครอง
หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ
5.คดีพิพาทอื่นๆ อันได้แก่คดีที่กฎหมายกำหนดให้ทางราชการต้องฟ้องศาล หากประสงค์จะบังคับให้
บุคคลต้องกระทำหรือละเว้นกระทำการใด หรือคดีที่กฎหมายกำหนดไว้เฉพาะให้อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง
การฟ้องคดีปกครอง
ถือหลักความเรียบง่ายและสะดวก ไม่มีค่าใช้จ่ายให้เป็นภาระแก่คู่กรณี โดยการฟ้องคดีส่วนใหญ่ไม่ต้องเสีย
ค่าธรรมเนียมศาล เส้นแต่ในคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของทางราชการ
หรือคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง จะมีค่าธรรมเนียมศาลในอัตราร้อยละ
2.5 ของทุนทรัพย์ แต่ทั้งนี้
ไม่เกิน 200,000 บาท และในคดีจะมีทนายความด้วยหรือไม่ก็ได้
เงื่อนไขในการฟ้องคดี
เพื่อให้การฟ้องคดีเป็นสาระบบและสามารถแก้ไขความเดือดร้อนของผู้ประสงค์ฟ้องคดีได้อย่างแท้จริง
กฎหมายได้กำหนดเงื่อนไขในการฟ้องไว้ 4 ประการ คือ
1.ผู้มีสิทธิฟ้อง ต้องเป็นผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนเสียหายหรืออาจเดือดร้อนเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้
จากการกระทำหรืองดเว้นการกระทำ ของหน่วยงานทางการปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ
หรือต้องเป็นผู้ที่
มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสัญญาทางการปกครอง
2.ระยะเวลาการฟ้องคดี โดยทั่วไปต้องฟ้องคดีภายใน
90 วันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการป้องคดี
แต่ถ้าเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางการปกครองหรือละเมิดทางการปกครอง ต้องฟ้องภายใน
1 ปี
3.คำฟ้อง ไม่มีแบบโดยเฉพาะและไม่จำเป็นต้องใช้แบบฟอร์มใดๆของศาล
เพียงแต่ต้องทำเป็นหนังสือ
ใช้ถ้อยคำสุภาพ ระบุชื่อ ที่อยู่ พร้อมลงลายมือชื่อผู้ฟ้องคดี ระบุชื่อหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยว
ข้อง ระบุการกระทำอันเป็นเหตุแห่งการฟ้องคดีให้มีเนื้อหาที่เข้าใจได้ว่าผู้ฟ้องเดือดร้อนเสียหายจากเรื่อง
อะไรอย่างไร พร้อททั้งระบุคำขอว่าต้องการให้ศาลปกครองพิพากษาหรือสั่งอย่างไร
4.การขอให้แก้ไขเยียวยาความเดือดร้อนในเบื้องต้น หากเรื่องที่จะนำมาฟ้องมีกฎหมายกำหนดว่าจะต้อง
มีการแก้ไขความเดือดร้อนในเรื่องนั้นๆตามขั้นตอนหรือวิธีการใด ก็จะต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นก่อน
การยื่นคำฟ้อง
ถ้าเป็นคดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครองชั้นต้นให้ถือหลักภูมิลำเนาของผู้ฟ้องคดีหรือต่อศาลที่มูล
คดีเกิดขึ้น ถ้าเป็นศาลปกครองสูงสุด ให้ยื่นต่อศาลปกครองสูงสุดโดยตรง(ในระหว่างภูมิภาคใดศาล
ปกครองยังไม่เปิด ยื่นต่อศาลปกครองกลางแทนได้)
********ข้อมูลจากศูนย์สารสนเทศ สำนักงานศาลปกครอง*************
*****************โดย พ.ต.ท.สมศักดิ์ ณ โมรา*****************
|