chotto
Global Moderator


เป็นสมาชิก: 12 มิ.ย. 2002
ข้อความ: 513
ที่อยู่: kalasin

ข้อความแสดงความคิดเห็น: 23 ก.ค. 2003 17:55 น    เรื่อง: ผู้ว่า CEO เริ่ม 1 ตุลาคม 2546 ทั่วประเทศ อ้างมาตอบ

การขยายผลระบบบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบมติคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ในการประชุมครั้งที่ 6/2546
วันที่ 3 กรกฎาคม 2546 เรื่อง การขยายผลระบบบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ ที่ได้เห็นชอบเกี่ยวกับแนวทางการ
บริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ และให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป เพื่อให้การขยายผลระบบบริหารงาน
ดังกล่าวบรรลุผลตามนโยบายของรัฐบาล ทั้งนี้ การแต่งตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการในครั้งแรก ให้กระทรวง
มหาดไทยสรรหาร่วมกับสำนักงาน ก.พ. และ ก.พ.ร. และนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป ซึ่งประกอบด้วยแนวทางสำคัญ
4 แนวทาง ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเสนอ ดังนี้
1. แนวทางการสรรหาและแต่งตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ
1.1 ระบบการสรรหาเป็นระบบเปิดกว้าง โดยในระยะแรกจะดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
22 เมษายน 2546 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2546 โดยกลั่นกรองจากข้าราชการระดับสูง (ระดับ
9 - 10) ทั้งหมดที่มีอยู่ในภาพรวมของทุกส่วนราชการ (ยกเว้นกระทรวงมหาดไทย) สำหรับระยะต่อไปจะเป็นการสรรหา
บุคคลที่อยู่ภายนอกราชการด้วย โดยนำระบบบริหารงานบุคคลสำหรับตำแหน่งนักบริหารที่มีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์มาใช้
1.2 กำหนดให้มีคณะกรรมการสรรหาและคณะกรรมการคัดเลือกโดยการแต่งตั้งของนายกรัฐมนตรี
2. แนวทางการมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัด
กำหนดแนวทางในการมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดใน 3 ด้าน
2.1 ด้านการสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ และการปฏิบัติราชการหรือการดำเนินการอื่น ๆ
2.2 ด้านการบริหารงานบุคคล
2.3 ด้านการบริหารงบประมาณ
อนึ่ง เพื่อให้การมอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจสามารถบริหารราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผล จำเป็นที่จะต้องดำเนินการใน 2 เรื่อง ดังนี้
1) ให้ ก.พ.ร. ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการมอบอำนาจต่อไป
2) เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดได้รับมอบอำนาจแล้วต้องจำแนกว่าเรื่องใดเป็นงานบริหารในลักษณะงานประจำ หรือเป็นงานบริหารเชิงยุทธศาสตร์ โดยในส่วนที่เป็นงานบริหารในลักษณะงานประจำควรมอบอำนาจให้รองผู้ว่าราชการจังหวัดหรือหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบต่อไป เพื่อผู้ว่าราชการจังหวัดจะได้มีเวลาในการบริหารเชิงยุทธศาสตร์ได้อย่างมประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
3. การบริหารงานแบบบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด
3.1 แนวทางจัดกลุ่มจังหวัด
1) ความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
2) ความเกี่ยวเนื่องทางเศรษฐกิจ การผลิต การค้าและการลงทุนเพื่อมูลค่าเพิ่ม และการได้เปรียบ
ในการแข่งขันรวมกัน
3) ยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาเร่งด่วนร่วมกันของประเทศ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างจังหวัด
3.2 การจัดกลุ่มจังหวัดเป็น 20 อนุภูมิภาค ซึ่งเป็นตัวแบบที่ศึกษาในเชิงความสัมพันธ์ทางด้าน
เศรษฐกิจ สังคม และภูมิศาสตร์ จึงจำเป็นที่จะต้องมีการทบทวนการกำหนดกลุ่มจังหวัดให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของชาติ จึงมอบให้สำนักงาน ก.พ.ร. ไปปรึกษาหารือกับกระทรวงมหาดไทย สำนักนายกรัฐมนตรี และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องรวมทั้งสถาบันภาคเอกชน เพื่อกำหนดกลุ่มจังหวัดให้เป็นที่ยอมรับของทุกภาคส่วน หากการกำหนดกลุ่มจังหวัดไม่สอดคล้องกับเขตตรวจราชการ และเขตกำกับการปฏิบัติราชการของรองนายกรัฐมนตรีก็ให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
และกระทรวง กรม ปรับเขตตรวจราชการให้สอดคล้องกับกลุ่มจังหวัดต่อไป
3.3 แนวทางการดำเนินการ ให้ ก.พ.ร. ดำเนินการในลักษณะโครงการทดลอง 2 - 3 กลุ่มจังหวัด และให้มีการติดตามประเมินผลและนำเสนอคณะรัฐมนตรีในต้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2548
4. กรอบแนวทางในการกำกับการปฏิบัติราชการในส่วนภูมิภาคของรองนายกรัฐมนตรี
4.1 กำหนดให้มี “คณะกรรมการกำกับการติดตามการปฏิบัติราชการในส่วนภูมิภาค” ซึ่งปรับเปลี่ยนจากการประชุมร่วมของรองนายกรัฐมนตรี และให้สำนักเลขานุการอำนวยการและประสานการกำกับการปฏิบัติราชการในภูมิภาค (ส.อปภ.) ซึ่งเป็นหน่วยงานในสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี มาเป็นศูนย์กลางในการประสานราชการเกี่ยวกับการกำกับการปฏิบัติราชการของรองนายกรัฐมนตรี
4.2 ให้สำนักนายกรัฐมนตรีปรับเปลี่ยนกลไกของระบบตรวจราชการโดยการปรับกลไกคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งปรับบทบาทของผู้ตรวจราชการระดับสำนักนายกรัฐมนตรี และปรับกลไกการตรวจราชการในระดับกระทรวง และระดับกรม
4.3 ให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณเพื่อสำรองกรณีฉุกเฉิน โดยให้แต่งตั้งคณะทำงานคณะหนึ่งทำหน้าที่พิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมและความจำเป็นในการใช้จ่ายเงินของแผนงาน โครงการต่าง ๆ เพื่อประกอบการพิจารณาของนายกรัฐมนตรีแต่ละท่านในการอนุมัติการใช้จ่าย
4.4 ให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นผู้รับผิดชอบในการวางระบบข้อมูลที่จะใช้ในการเชื่อมต่อข้อมูลข่าวสารระหว่างศูนย์ปฏิบัติการของนายกรัฐมนตรี (PMOC) ศูนย์ปฏิบัติการของกระทรวง (MOC) และศูนย์ปฏิบัติการของกรม (DOC) และให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารร่วมกับกระทรวงมหาดไทยรับผิดชอบในการเชื่อมต่อข้อมูลเกี่ยวกับการกำกับการปฏิบัติราชการในส่วนภูมิภาคของรองนายกรัฐมนตรีระหว่างศูนย์ปฏิบัติการของจังหวัด (DOC) กับสวนราชการต่าง ๆ

การมอบอำนาจด้านการบริหารงานบุคคลให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทำหน้าที่ CEO
คณะรัฐมนตรีพิจารณาการมอบอำนาจด้านการบริหารงานบุคคลให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทำหน้าที่ CEO
ตามที่
สำนักงาน ก.พ. สำนักพัฒนาระบบจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทนเสนอ แล้วมีมติให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด (ยกเว้นกรุงเทพมหานคร) ใช้การบริหารงานแบบบูรณาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2546 เป็นต้นไป


โดยกำหนดวิธีดำเนินการเพื่อเพิ่มความสามารถการบริหารกำลังคนของจังหวัด ดังนี้
1. สำนักงาน ก.พ. จะมีหนังสือเวียนแจ้งส่วนราชการ เรื่อง การมอบอำนาจการบริหารงานบุคคลให้
ผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ (เพิ่มเติม) เช่น การสรรหา (การสอบบรรจุ) บุคคลในพื้นที่ได้เองเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่ยิ่งขึ้น เป็นต้น ซึ่งจะได้พิจารณาในรายละเอียดการมอบอำนาจต่อไป
2. กำหนดให้มีคณะกรรมการยุทธศาสตร์กำลังคน มีหน้าที่จัดทำฐานข้อมูลกำลังคนของจังหวัด กำหนดยุทธศาสตร์การบริหารกำลังคนตามผลการประเมินสถานภาพจังหวัด การวางแผนและการบริหารกำลังคน รวมทั้งการพัฒนากำลังคน
3. แต่งตั้งให้มีรองผู้ว่าราชการจังหวัดกำกับดูแลภารกิจด้านกำลังคนในภาพรวมของจังหวัด (Chief Human Resource Officer : CHRO) ซึ่งรวมถึงภารกิจด้านการรักษาระบบคุณธรรม การส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม
4. ส่งเสริมให้เกิดการทำงานร่วมกันเป็นทีม และเน้นการทำงานตามพันธกิจ
5. ส่งเสริมการประสานความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในพื้นที่
สำหรับการสร้างกลไกเพื่อสนับสนุนการมอบอำนาจด้านการบริหารงานบุคคล มีดังนี้
1. ให้มีการบริหารจัดการกำลังคนในพื้นที่ โดยจัดตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์กำลังคนของจังหวัดตามข้อ 2 เพื่อประเมินสถานภาพและกำหนดยุทธศาสตร์การใช้กำลังคนด้วยการสนับสนุนจากหน่วยงานกลาง และผู้ทรงคุณวุฒิใน
การให้คำปรึกษาในด้านต่าง ๆ โดยมีองค์ประกอบ ดังนี้
1) ผู้ว่าราชการจังหวัด : ประธาน
2) รองผู้ว่าราชการจังหวัด(ด้านกำลังคน) : รองประธาน
3) หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด : กรรมการ
4) ภาคเอกชน : กรรมการ
5) หัวหน้าสำนักงานจังหวัด : เลขานุการฯ
2. ให้มีการบริหารจัดการกำลังคนในลักษณะการใช้ทรัพยากรร่วมกันเป็นกลุ่มภารกิจ โดยจัดแบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านความมั่นคง และด้านการบริหาร
3. จัดการบริหารงานในแต่ละกลุ่มภารกิจให้เป็นแบบเน้นพันธกิจ (Mission Approach) เพื่อให้สามารถระดมทรัพยากรและสรรพกำลังมาปฏิบัติงานสำคัญได้ โดยมอบหมายให้รองผู้ว่าราชการจังหวัดรับผิดชอบกลุ่มภารกิจ และหน่วยงานเจ้าของเรื่องทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการ เช่น การปราบปรามยาเสพติด ให้สำนักงาน ป.ป.ส. และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นเลขานุการร่วม เป็นต้น

การสนับสนุนจากสำนักงาน ก.พ. ประกอบด้วย
1. สำนักงาน ก.พ. จะสนับสนุนและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับจังหวัด โดยจัดทีมงานพัฒนาการบริหารงานบุคคลออกไปให้คำปรึกษาแนะนำการบริหารงานบุคคล ช่วยพัฒนาระบบงานด้านการบริหารงานบุคคลให้แก่จังหวัดรวมทั้งจัดเตรียมคู่มือ แนวทาง หลักเกณฑ์ ระเบียบปฏิบัติ ฯลฯ ที่เกี่ยวข้อง ในลักษณะข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือช่วยปฏิบัติงานของจังหวัด ตลอดจนสร้างกลไกการให้คำปรึกษาจากส่วนกลาง (Online - Hotline) โดยตรง
2. ให้การสนับสนุนด้านการพัฒนากำลังคนที่เกี่ยวข้องกับภารกิจด้านการบริหารงานบุคคล การปรับเปลี่ยนทัศนคติของเจ้าหน้าที่ให้สอดรับกับการบริหารงานแบบบูรณาการ การสร้างสำนึกรับผิดชอบของข้าราชการในเชิง
คุณธรรมและจริยธรรม
3. ช่วยสนับสนุนการวางระบบฐานข้อมูล ระบบงานเอกสาร การจัดเก็บ และการรายงานด้านการบริหารงานบุคคลของจังหวัดให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน

จาก http://www.thaigov.go.th/news/cab/46/cab22jul46.doc

_________________
........มีด Swiss Army ทำได้หลายอย่างก็จริง แต่ไม่ดีซักอย่าง.......
ขึ้นไปข้างบน
รายละเอียดส่วนตัวของผู้ใช้ ส่งข้อความส่วนตัว เยี่ยมเว็บ MSN Messenger
บุคคลทั่วไป






ข้อความแสดงความคิดเห็น: 23 ก.ค. 2003 20:43 น    เรื่อง: อ้างมาตอบ

74รองผวจ.สอบคัดเลือกผู้ว่าฯซีอีโอ



ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 22 ก.ค. ที่กระทรวงมหาดไทย มีการสอบประเมินสมรรถนะหลักในการบริหาร โดยมีรองผู้ว่าฯ 74 คน ที่เข้าหลักเกณฑ์ทั้งในเรื่องอายุราชการ ขั้นเงินเดือน และประสบการณ์ในการออกปฏิบัติหน้าที่ในท้องถิ่น เพื่อรองรับการแต่งตั้งดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯซีอีโอ โดยช่วงเช้าเป็นการสอบแบบประเมินโดยสำนักงาน ก.พ. ซึ่งข้อสอบดังกล่าวจะเป็นข้อสอบประเภทจิตวิทยา เพื่อประเมินว่าผู้เข้าทดสอบมีบุคลิกลักษณะใด สามารถทำงานร่วมกับคนอื่นได้หรือไม่ มีลักษณะนิสัยอย่างไร ส่วนช่วงบ่าย เป็นการสอบวิสัยทัศน์ในการบริหารงาน มีนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช ปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธาน

โดยการสอบแบ่งเป็น 2 รุ่น คือรุ่นแรกจะเป็นผู้ที่มีอาวุโสสูงจำนวน 40 คน ทำการสอบในภาคบ่าย และรุ่น 2 อีก 34 คน จะทำการสอบอีกครั้งในวันที่ 24 ก.ค. นี้ ซึ่งเปิดโอกาสให้รองผู้ว่าฯแสดงวิสัยทัศน์ได้ไม่จำกัด คาดว่าการสอบจะเสร็จสิ้นในเวลา 22.00 น. เมื่อทำการสอบวิสัยทัศน์แล้วจะนำข้อมูลมาประกอบการพิจารณาเพื่อแต่งตั้งผู้ว่าฯซีอีโอให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 15 ส.ค.นี้

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา รมว.มหาดไทย ให้สัมภาษณ์หลังการประชุมครม. ว่า การคัดเลือกผู้มาเป็นรองผู้ว่าฯ ผู้ว่าฯซีอีโออาจต้องการพิจารณาคัดเลือกเอง แต่บางจังหวัดจะใช้แนวคิดนี้ตั้งแต่นี้เป็นต้นไป คืออาจจะขอโอนจากบุคคลภายนอก เนื่องจากบางจังหวัดอาจต้องการรองผู้ว่าฯ ที่เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยวหรือด้านความมั่นคง ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการสรรหาผู้ที่อยู่ในหลักเกณฑ์ ซึ่งแต่ละบุคคลได้เขียนวิสัยทัศน์ส่งเข้ามา คณะกรรมการต้องอ่านวิสัยทัศน์ของแต่ละคนก่อน จากนั้นอาจจะต้องมีการสัมภาษณ์โดยก.พ.และ ก.พ.ร. เชื่อว่าเดือนส.ค.จะสามารถคัดเลือกได้ทันเวลา

เมื่อเวลา 15.00 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ต.ศิธา ทิวารี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ครม.เห็นชอบการขยายผลการบริหารจังหวัดแบบบูรณาการ(ซีอีโอ) โดยมี 4 แนวทาง คือ 1.การสรรหาและแต่งตั้งผู้ว่าฯ ซีอีโอ แบ่งเป็น 3 ระยะ โดยระยะที่ 1 กลั่นกรองจากข้าราชการในกระทรวงมหาดไทยก่อน ระยะที่ 2 ตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นไปให้กลั่นกรองจากข้าราชการระดับ 9 และ 10 จากทุกกระทรวง และระยะที่ 3 การสรรหาบุคลภายนอกระบบราชการ ให้นำระบบบริหารงานบุคคลสำหรับตำแหน่งนักบริหารที่มีความสำคัญเชิงยุทธศษสตร์มาใช้และกำหนดให้มีคณะกรรมการสรรหา และคณะกรรมการคัดเลือกจากการแต่งตั้งของนายกรัฐมนตรี

น.ต.ศิธา กล่าวว่า 2.มอบอำนาจให้ผวจ.ใน 3 ด้าน คือ ด้านการสั่งการ อนุญาตและการปฏิบัติราชการ , ด้านการบริหารงานบุคคลและด้านการบริหารงบฯ โดยให้คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ(ก.พ.ร.)ไปร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการมอบอำนาจให้ผวจ. เพื่อให้งานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 3.การบริหารงานเชิงยุทธศาสตร์ในกลุ่มจังหวัด ซึ่งต้องเชื่อมโยงทั้งด้านเศรษฐกิจ การผลิต และ 4.การกำกับการปฏิบัติราชการในส่วนภูมิภาคของรองนายกฯ ซึ่งต้องจัดให้มีคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานในส่วนภูมิภาคด้วย โดยให้สำนักงานเลขาธิการอำนวยการประสานการกำกับราชการในส่วนภูมิภาค(สอปภ.) เป็นหน่วยงานหลักในการติดตาม

http://www.matichon.co.th/khaosod/khaosod.php
ขึ้นไปข้างบน
บุคคลทั่วไป






ข้อความแสดงความคิดเห็น: 05 ส.ค. 2003 18:30 น    เรื่อง: อ้างมาตอบ

ครม.คลอดแล้ว!!ผู้ว่าซีอีโอ

ภูมิ สาระผล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีผลการประชุมแถลงผลการประชุม คณะรัฐมนตรี โดยมีการโยกย้ายข้าราชการระดับ 10 ทั้งหมด 54ราย

เรื่องแรกคือการแต่งตั้งเลขาธิการ ก.พ. คณะรัฐมนตรีได้รับทราบการแต่งตั้งนายสีมา สีมานันท์ รองเลขาธิการ ก.พ. ให้เป็นเลขาธิการ ก.พ. แทนนายบุญปลูก ชายเกตุ ที่จะเกษียณอายุราชการในวันที่ 1 ต.ค. นี้

เรื่องการแต่งตั้งข้าราชการะดับ 10 ของกระทรวงมหาดไทย


กระทรวงมหาดไทยจะมีตำแหน่งว่างลงเนื่องจากข้าราชการเกษียณอายุราชการและการลาออกจากราชการในวันที่ 1 ต.ค. นี้ จำนวน 24 ตำแหน่ง กระทรวงมหาดไทย โดยคณะกรรมการบริหารงานบุคคลระดับสูง และคณะกรรมการพิจารณาจึงได้คัดเลือกข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่ง ซึ่งได้เสนอต่อที่ประชุมครม. เพื่อพิจารณาดังนี้

อนุมัติการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญดำรงตำแหน่งระดับ 10 พร้อมสับเปลี่ยนทดแทนในคราวเดียวกันจำนวน 54 รายและให้ความเห็นชอบให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งระดับ 10 ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีลักษณะบริหารอยู่ปฏิบัติหน้าที่เดิมต่อไปได้อีกไม่เกิน 1 ปีจำนวน 2 ราย ได้แก่

1. นายประสงค์ พิทูรกิจจา ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2539 เสนอติดต่อขอขยายเวลาดำรงตำแหน่งเป็นครั้งที่ 4 เป็นกรณีพิเศษ
2. นายเกษมศักดิ์ แสนโภชน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2542 เสนอขอต่อเวลาดำรงตำแหน่งเป็นครั้งที่ 1 ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2546 เป็นต้นไป

ส่วนรายชื่อที่ ครม. พิจารณาอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการระดับ 10 จำนวน 54 คน เพื่อนำความกราบบังคมทูลทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ มีดังต่อไปนี้

1.นายชัยฤกษ์ ดิษฐอำนาจ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา ให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง
2.นายสาโรช คัชมาตย์ พ้นจากตำแหน่ง อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
3.นายพงศ์พโยม วาศภูติ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ให้ดำรงตำแหน่ง กรมการส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น
4. นายพีรพล ไตรทศาวิทย์ พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการ ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์
5. นายวรสิทธิ์ โรจนพานิช พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวงให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธ์
6. นายโกเมศ แดงทองดี พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา
7. นายนิวัตน์ สวัสดิแก้ว พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรี
8. นายภุชงค์ รุ่งโรจน์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง
9. นายวิจิตร วิชัยสาร พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี
10. นายธีระบูลย์ โพบุคดี พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดตากให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง
11. นายสวัสดิ์ ศรีสุวรรณดี พ้นจากตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดตาก
12. หม่อมหลวงประทีป จรูญโรจน์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการ
13. นายธีระ โรจนพรพันธ์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี
14. นายสุรพล ภาษิตนิรันดร์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง
15. นายสุขุมรัตน์ สาริบุตร พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวลำภู ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี
16. นายอมรพันธ์ นิมานันท์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี
17. นายสมศักดิ์ บุญเปลื้อง พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่
18. นายประกิต กันยาบาล พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง
19. นายวิจารณ์ ไชยนันทน์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง
20. นายเจตน์ ธนวัฒน์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น
21. นายอมรทัต นิรัติศยกุล พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง
22. นายอำนวย สงวนนาม พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่
23. นายสมพร ใช้บางยาง พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา
24. นายชนินทร์ บัวประเสริฐ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี
25. นายสุรพล กาญจนะจิตรา พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการ
26. นายสมศักดิ์ แก้วสุทธิ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
27. นายวิทย์ ลิมานนท์วราไชย พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม
28. นายนพพร จันทรถง พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด
29. นายประชา เตรัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง
30. นายสุวัฒน์ ตันประวัติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง
31. นายบุญช่วย เกิดสุคนธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง
32. นายก้องเกียรติ อัครประเสริฐกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง
33. นายพลวัต ชยานุวัชร รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี
34. นายอุดมศักดิ์ อัศวรางกูร รองอธิบดีกรมการปกครอง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต
35. นายพระนาย สุวรรณรัฐ รองผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรี
36. นายอานนท์ พรหมนารถ รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล
37. นายถนอม ส่งเสริม รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ
38. นายวิชม ทองสงค์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส
39. นายจารึก ปริญญาพล รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวลำภู
40. นายบวร รัตนประสิทธิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา
41. นายพนัส แก้วลาย รองผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง
42. นายสุกิจ เจริญรัตนกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย
43 นายประจักษ์ สุวรรณภักดี รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง
44. นายนเรศ จิตสุจริตวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง
45. นายพรเทพ พิมลเสถียร รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร
46. นายกิติพงษ์ สุนานันท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี
47. นายบุณยสิทธิ์ สุวรรณรัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา
48. นายสำเริง เชื้อชวลิต รองผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดเลย
49. นายเสนอ จันทรา รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี
50. นายทรงพล ทิมาศาสตร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี
51. นายปริญญา อุดมทรัพย์ รองอธิบดีกรมการปกครองให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี
52. นายนิคม เกิดขันหมาก รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม
53. นายวินัย มงคลธารณ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง
54. นายประชา เตรัตน์ พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวงให้ดำรงตำแหน่งนักปกครอง 10 สำนักงานปลัดกระทรวง
55. นายสมพงษ์ อนุยุทธพงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรี ให้ดำรงตำแหน่งตรวจราชการกระทรวง

ทั้งนี้ลำดับที่ 1-53 ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.?2546 และลำดับที่ 54,55 ตั้งแต่วันที่ 2 ต.ค. 2546เป็นต้นไป

http://www.manager.co.th/Politics/PoliticsView.asp?NewsID=4691963173746

http://www.pharmacafe.com/phpbb/viewtopic.php?t=2997&sid=a0386455468bfe53deac5016dba84ca6


Powered by phpBB 2.0.4 © 2001, 2002 phpBB Group