รายงานสถานการณ์ร้อน : วิเคราะห์จุดอ่อน ผู้ว่า ซีอีโอคิดใหม่สไตล์ทักษิณ

ใน.วันที่ 1 ต.ค. ที่จะถึงนี้ สังคม ไทยจะมีผู้ว่าซีอีโอ ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายการบริหารแบบใหม่ ของนายกฯซีอีโอที่ชื่อว่า
 พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งผู้ว่าซีอีโอจะมีอำนาจเบ็ดเสร็จทั้งการอนุมัติ อนุญาต แต่งตั้ง โยกย้ายข้าราชการภายในจังหวัด
หากฟังอำนาจหน้าที่ ของผู้ว่าซีอีโอก็พอจะว่าผู้ว่าซีอีโอจะล้มเหลวหรือพัฒนาต่อไปดังนี้คือ
          1.การให้ผู้ว่าซีอีโอมีอำนาจเบ็ดเสร็จโดยไม่ มีองค์กรใดในจังหวัดตรวจสอบ จะเกิดปัญหาขึ้น หรือไม่ เพราะการ ตรวจสอบจะสามารถป้องกับการคอร์รัปชันได้เพราะต้องไม่ลืมว่าข่าวที่การคอร์รัปชันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ม
ีมากนั้นมาจากการตรวจกันเองภายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
          2.การที่ไม่ให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายในการพัฒนาจังหวัดจะเกิดปัญหาหรือไม่ เพราะ
ในทางปฏิบัติจริงผู้ว่าซีอีโอก็ไม่ได้เป็นผู้กำหนด แต่ส่วนกลางจะเป็นผู้กำหนดแทน ซึ่งเป็นลักษณะคล้าย ๆ กับการปกครอง
จังหวัดที่มีข้าหลวงประจำจังหวัดเป็นหัวหน้าปกครองเมื่อ 100 ปีที่แล้ว โดยที่ประชาชนไม่ต้องมีปากเสียง

            3.เมื่อเป็นระบบสั่งการผู้ว่าซีอีโอจะไม่สามารถออกไปพบประชาชนเหมือนผู้ที่มาจากการเลือกตั้งเพื่อสอบถาม
ความต้องการของประชาชนได้เพราะมีงานประจำที่ต้องสนองตอบงานที่รัฐบาลสั่ง โดยกลัวว่าถ้าทำไม่ได้จะถูกโยกย้าย
หรือถูกลงโทษ
          4.การที่ผู้ว่าซีอีโอสามารถอยู่ในจังหวัดนั้น ๆ 3 ปี จะสามารถกำหนดนโยบายได้อย่างไรเพราะเมื่อเปลี่ยนคน
นโยบายก็อาจจะเปลี่ยน ซึ่งตรงนี้แตกต่างจากผู้ที่มาจากการเลือกตั้งที่มีวาระที่แน่นอน นโยบายชัดจนเพราะหาก ประชาชนพอใจเลือกเข้ามาก็เท่ากับว่าให้การสนับสนุนนโยบาย
           5.การที่ผู้ว่าซีอีโอไม่ใช่คนพื้นที่ พอย้ายเข้ามาก็ต้องใช้เวลาศึกษาเรียนรู้ ซึ่งลักษณะอย่างนี้เกิดขึ้นวนเวียนมา
เป็นเวลา 100 ปีแล้ว ถือเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ประเทศพัฒนาช้าเนื่องจากใช้ระบบรวมศูนย์และใช้ข้าราชการเป็นผู้นำ
          6.การให้ผู้ว่าซีอีโอมีอำนาจในการบริหารงบประมาณนั้น จะเกิดปัญหาขึ้นหรือไม่เพราะต้องไม่ลืมว่า ยิ่งมีอำนาจ เบ็ดเสร็จเท่าไรโอกาสที่มีการคอร์รัปชันก็จะมีมากเท่านั้น ซึ่งตรงนี้น่าเป็นห่วงว่าใครจะตรวจสอบ ควบคุม อยากเสนอ ให้รัฐบาลน่าจะให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบเพราะองค์กรส่วนท้องถิ่นก็เป็นตัวแทน
จากประชาชนเหมือนกัน
          7.การมอบอำนาจในการอนุมัติ อนุญาตก็ใช่ว่าจะทำให้การทำงานรวดเร็วและเกิดประสิทธิภาพเพราะถ้างาน เร็วจริง หน่วยงานต่าง ๆ ก็น่าจะมอบ อำนาจให้หัวหน้าส่วนราชการของกรมในจังหวัดนั้น เช่นงานของกระทรวง อุตสาหกรรมก็ให้อุตสาหกรรมจังหวัด กรมที่ดินก็ให้ที่ดินจังหวัด ซึ่งเร็วกว่าผ่าน ผู้ว่าซีอีโอเสียอีก อีกทั้งหัวหน้า ส่วนราชการเหล่านี้มีความรู้ ความชำนาญมากกว่า ผู้ว่าซีอีโอเสียอีก ดังนั้นการมอบอำนาจเพื่อให้งานเร็วจึงไม่น่า จะเป็นจริงเท่าไร
          8.ผู้ว่าซีอีโอจะสนองความต้องการที่หลากหลายของประชาชนได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพหรือไม่ เพราะความต้องการที่แท้จริงผู้ที่รู้ดีที่สุดคือ คนในท้องที่ที่ประชาชนเลือกมาเองมากกว่า
             ฉะนั้น ท้ายที่สุดแล้ว ผู้ว่าซีอีโอจะเกิดปัญหาขึ้นหรือไม่ ทางที่ดีรัฐบาล ควรหันมาให้ความสำคัญกับการ กระจายอำนาจและควรจัดรูปแบบจังหวัดบาง จังหวัด เช่น ภูเก็ต สงขลา นนทบุรี เชียงใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับ รัฐธรรมนูญมาตรา 78 ที่บัญญัติให้มีการพัฒนาจังหวัดที่มีความพร้อมให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่
จึงต้องติดตามดูกันต่อไปว่า จะเป็นไปอย่างที่รัฐบาลประกาศไว้หรือไม่.

http://www.dailynews.co.th/politics/82576.html