ชื่อวิทยาศาสตร์ | : Bos sauveli (Urbain),1937) |
อันดับ | : Artiodactyla |
วงศ์ | : Bovidae |
ข้อมูลจำเพาะ | กูปรีเป็นสัตว์จำพวกวัวป่าที่ค้นพบใหม่ที่สุดของโลกเมื่อ 60ปี มานี้เอง ผู้ค้นพบคือ Achille
Urbain อดีตผู้อำนวยการสวนสัตว์กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เป็นบุคคลแรกที่ได้ทำการศึกษา
วัวป่าชนิดนี้อย่างเป็นทางการ โดยเริ่มจากได้รับหัววัวสตัฟฟ์มาจากทางภาคเหนือของกัมพูชา
ต่อมาได้รับลูกวัวตัวผู้ที่มีเขาลักษณะประหลาดเหมือนกันมาอีก 1 ตัวจับได้จากป่าทางภาคเหนือ
ของกัมพูชาเช่นกัน ได้นำมาเลี้ยงเพื่อที่จะทำการศึกาาที่สวนสัตว์กรุงปารีสในเดือนมกราคม
ค.ศ. 1937 อีก 3ปีต่อมา ลูกวัวเสียชีวิตก่อนที่จะเจริญเต็มวัย ทำให้การศึกษาขาดช่วงไม่สมบูรณ์
มากนัก
กูปรี (Kouprey) เป็นชื่อเรียกในภาษาเขมรที่ใช้เรียกลูกวัวป่าของศาสตราจารย์ Urbain ส่วนวัว
ป่าตัวโต ๆสีเข้มคล้ำ คนเขมรส่วนใหญ่นิยมเรียกว่า Kouproh ซึ่งเพี้ยนเป็นภาษาไทยว่า โคไพร
ความหมายของชื่อเรียกทั้ง 2ชื่อนี้มีความหมายเหมือนกันคือ วัวป่า ส่วนคนลาวจะเรียกสัตว์ชนิดนี้
ว่า "วัวบา"
เนื่องจากกูปรีมีลักษณะบางอย่างคล้ายกับวัวแดง กระทิง วัวบ้าน รวมทั้งควายป่าซึ่งล้วนมีถิ่นปะปน
กัน เช่นมีหนอกหลังดูคล้ายกระทิง มีเหนียงคอห้อยคล้ายวัวพื้นบ้าน ส่วนหัวและนิสัยคล้ายควายป่า
ทำให้นักวิทยาศาสตร์บางท่านเชื่อกันว่าเป็นวัวพันธุ์ผสมระหว่าวัวแดงกับวัวบ้าน กูปรีถูกจำแนกไว้
ในสกุลเดียวกับกระทิง วัวแดง และจามรี
กูปรีเป็นสัตว์กีบคู่ เท้าทั้ง 4มีนิ้วกลาง 2นิ้ว พัฒนาเปลี่ยนแปลงรูปร่างเป็นกีบนิ้วใหญ่และแข็งแรง
รองรับปลายนิ้ว 2กีบเท่า ๆกัน ทำให้วิ่งได้เร็วและรับน้ำหนักตัวมาก ๆ กูปรีเป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องที่กิน
พืชเป็นอาหาร มีกระเพาะอาหาร 4ตอน ทำให้สามารถสำรอกอาหารจากกระเพาะพักขึ้นมารเคี้ยวให้
ละเอียดในช่องปากได้ใหม่ ช่วยในการย่อยอาหารที่มีกากและเส้นใยได้อย่างมีประสิทธิภาพ กูปรีจัด
อยู่ในพวกวัวป่าแท้ ๆ สกุลเดียวกับวัวแดงและกระทิงด้วยมีลักษณะเหมือนกันคือ ตัวโต โคนขาใหญ่
ปลายขาเรียว หางยาว ปลายหางเป็นพู่ขน มีเขา 2ข้างบนหัวทั้งตัวผู้และตัวเมีย เป็นเขากลวงแบบ
"Homs" ขนาดเท่า ๆ กันโคนขาใหญ่และเรียว เปลือกนอกเป็นปลอกเขาแข็งสวมทับแกนกระดูกเขา
ที่งอกติดอยู่กับกะโหลกศรีษะ เป็นเขาชุดเดียวที่มีอยู่ตลอดชีวิต ขาทั้งสี่ข้างตั้งแต่แข็งลงไปถึงกีบ
นิ้วเป็นสีขาวคล้ายใส่ถุงเท้า
|
ลักษณะเด่น | กูปรีจะมีหนอกหลังเป็นสันกล้ามเนื้อบาง ๆ ไม่โหนกหนาอย่างหนอกหลังของกระทิง มีเหนียงคอเป็น
แผ่นหนังห้อยยานอยู่ใต้คอคล้ายวัวบ้านพันธุ์เซบูอินเดีย แต่จะห้อยยาวมากกว่า โดยเฉพาะกูปรีตัวผู้
ที่มีอายุมากเหนียงคอจะห้อยยาวเกือบติดพื้นดิน ใช้แกว่งโบกไปมาช่วยระบายความร้อนได้เช่นเดียว
กับหูช้าง ดั้งจมูกบานใหญ่มีรอยเป็นบั้ง ๆตามขวางชัดเจน รูจมูกกว้างเป็นรูปเสี้ยววงเดือน ใบหู
แคบสั้น ไม่มีสันกระบังหน้าที่หน้าผากอย่างกระทิงและวัวแดง ใบหน้าของกูปรีดูเรียบเหมือนวัวบ้าน
ปลายกางมีพู่ขนดกหนา กูปรีตัวเมียจะมีสีขนตามตัวส่วนมากเป็นสีเทา ส่วนตัวผู้จะมีสีดำ ถ้าเป็นลูก
อ่อนจะมีสีน้ำตาลคล้ายวัวแดง
รูปทรงของการตีวงของเขากูปรีไม่เหมือนกับเขาของกระทิง วัวแดงหรือวัวบ้านทุกพันธุ์ แต่จะคล้าย
เขาของจามรี วัวป่าพื้นเมืองแถบเอเซียกลางและทิเบต ลักษณะเป็นเขาบิดอย่างเห็นได้ชัดเจนทั้งของ
ตัวผู้และตัวเมีย แต่ขนาดของรูปทรงต่างกัน ขนาดเขาของกูปรีตัวผู้มีลำเขาใหญ่ยาวมาก โคนเขาใหญ่
และโค้งนูนออก แต่ตัวเมียมีรอยหยักตามขวางที่เรียกว่า "พาลี" แต่ไม่เห็นเป็นบั้ง ๆ ลำเขาแต่ละข้างตี
วงโค้งกว้างลาดมาข้างหน้าปลายเขาวกบิดชี้ขึ้น แต่ไม่บิดเป็นเกลียวอย่างปลายเขาของตัวเมีย เขา
ของกูปรีตัวเมียจะสั้นกว่าเขาของตัวผู้เกือบเท่าตัว เขาจะตีวงออกแคบ ๆ ลาดลงมาด้านหน้า แล้วบิด
เวียนชี้ขึ้นคล้ายเป็นเกลียว
|
การกระจายพันธุ์ | การกระจายพันธุ์ของกูปรีจะคล้ายกับสัตว์เคี้ยวเอี้องทั่วไปคือชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ประมาณ
30-40ตัว มีตัวเมียอาวุโสและอายุมากที่สุดเป็นผู้นำ บางทีตัวใหญ่ก็จะไปรวมเป็นกลุ่ม ไม่เหมือนกับ
กระทิงหรือวัวแดงซึ่งชอบอยู่แบบสันโดษ
กูปรีมักจะใช้ชีวิตส่วนใหญ่หากินและพักผ่อนอยู่ตามโปร่งหรือป่าโคก และมีทุ่งหญ้าที่มีดินโป่ง หนอง
น้ำที่อุดมสมบูรณ์ ไม่ชอบอยู่ตามป่าทึบหรือเขาสูง ๆกูปรีสามารถหากินร่วมกับสัตว์เคี้ยวเอื้องชนิด
อื่น ๆได้โดยเฉพาะวัวแดงและฝูงกระทิง หรือแม้แต่ควายป่า
นิสัยของกูปรีอย่างหนึ่งที่ไม่เหมือนกับวัวแดงหรือกระทิงคือ การเอาเขาขวิดกับต้นไม้ตามเส้นทางเดิน
ผ่าน หรือขวิดเนินขอบแอ่งดินโป่งหรือแอ่งน้ำ หรือขวิดคุ้ยพื้นดินตามห้วยเพื่อหาน้ำหรือดินโป่ง ทำให้
พรานสามารถที่จะแกะรอยของกูปรีได้ไม่ยากนัก
การผสมพันธุ์ของกูปรีจะอยู่ในช่วงเดือนเมษายน ระยะตั้งท้องประมาณ 9เดือน ออกลูกท้องละ 1ตัว
ก่อนคลอดลูกกูปรีตัวเมียจะแยกตัวออกจากฝูงไปหาที่คลอดลูกและเลี้ยงลูกตามลำพังประมาณ
1เดือน ก่อนที่จะพาลูกกลับมาเข้าฝูงตามเดิม |