กวางผา
กลับไปหน้าแรก HOME
แมวลายหินอ่อน
สมเสร็จ
กระซู่
กรูปรี
เก้งหม้อ
ควายป่า
กวางผาถูกค้นพบครั้งแรก ปี พ.ศ.2368 ในแถบเทือกเขาหิมาลัย ประเทศเนปาลแต่เดิมมีการจำแนกสัตว์จำพวกกวางผาออกเป็น 2 ชนิด คือกวางผาโกราล ซึ่งเป็นกวางผาชนิดที่รู้จักกันครั้งแรก ขนตามตัวสีเทาแกมเหลือง และมีการกระจายพันธุ์ในแถบไซบีเรีย ใต้ลงมาถึงภาคเหนือของประเทศไทย อีกชนิดหนึ่งคือ กวางผาแดง เป็นกวางผาชนิดที่มีขนตามตัวสีแดงสด และมีถิ่นกำเนิดแถบธิเบตลงมาถึงประเทศเมียนมาร์
ปัจจุบันได้มีการตรวจสอบ พิจารณารูปร่างลักษณะและเขตการกระจายพันธุ์ พบว่ากวางผาในบางแหล่งมีความแตกต่างกันเด่นชัด จำแนกได้เป็น 5 ชนิด ไม่รวมเลียงผา คือ กวางผาโกราล หรือกวางผาต้นแบบ เป็นกวางผาในแถบเทือกเขาหิมาลัย บริเวณประเทศเนปาล ภูฐาน สิกขิม อินเดีย และปากีสถาน กวางผาญี่ปุ่นเป็นกวางผาที่พบบนเกาะออนซู ชิโกกุ และกิวซิว ของญี่ปุ่น กวางผาแดง กวางผาไต้หวัน เป็นกวางผาที่จำแนกออกจากกวางผาญี่ปุ่น มีพบบนเกาะไต้หวัน และชนิดที่ 5 คือ กวางผาจีน เป็นกวางผาที่มีเขตการกระจายพันธุ์ในแถบตอนเหนือของทวีป เอเชียลงมาถึงภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศไทย
นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร
นกกระเรียน
ละมั่ง
แรด
พะยูน
เลียงผา
เนื้อสมัน
นกกระแต้วแล้วท้องดำ
กวางผาเป็นสัตว์จำพวกเดียวกับแพะในวงศ์ย่อย Caprinae เช่นเดียวกับเลียงผา คือ ไม่มีหนวดเครายาวที่คางอย่างแพะ ลำเขาสั้น ปลายเขาโค้งไปข้างหลัง และมีต่อมเปิดที่กีบนิ้วเท้า รูปร่างคล้ายเลียงผาแต่ขนาดเล็กกว่ามาก ลำคอเรียวเล็ก หางยาวและเขาสั้นกว่า ใบหน้าเว้าเป็นแอ่งไม่แบนราบอย่างเลียงผา ต่อมเปิดระหว่างตากับจมูกเป็นรูเล็กมาก กระดูกดั้งจมูกยื่นออกแยกจากส่วนกระโหลกศีรษะชิ้นหน้าติดอยู่แต่ เฉพาะส่วนฐานกระดูกจมูก ส่วนกระดูกดั้งจมูกของเลียงผาจะยื่นออกเฉพาะส่วนปลาย ท่อนโคนจมูกเชื่อมต่อเป็นชิ้นเดียวกับกระดูกกระโหลกศีรษะ
ลักษณะรูปร่างของกวางผาดูคล้ายคลึงกับเลียง ผาย่อขนาดเล็กลงเกือบเท่าตัว สีขนตามตัวเป็นสีน้ำตาลแกมเทาไม่ดำอย่างเลียงผา ขนตามตัวชั้นนอกเป็นเส้นยาวหยาบ มีขนชั้นในเป็นเส้นละเอียดนุ่ม ซึ่งจะไม่มีพบในเลียงผา ระหว่างโคนเขาทั้ง 2 ข้างไปถึงหลังใบหูมีกระจุกขนเป็นยอดแหลมสีน้ำตาลเข้มชัดเจนถัดต่อมา บริเวณหลังและสะโพกมีแผงขนยาวคล้ายอานม้าบางๆสีเทา กลางหลังมีแถบขนสีดำพาดยาวตามแนวสันหลังไปจดโคนหาง หางสั้นเป็นพวงสีเข้มดำ ขนใต้คางและอกแผ่นสีน้ำตาลอ่อน เห็นเป็นแถบลาย จางๆ บริเวณแผ่นอก สีขนช่วงโคนขาเข้มกว่าช่วงปลายขาลงไปถึงกีบเท้า เขาสั้นสีดำเป็นรูปกรวยแหลมปลายเขาเรียวแหลมโค้งไปด้านหลังเล็กน้อย โคนเขาใหญ่มีรอยหยักเป็นวงๆ รอบเขาชัดเจน โดยทั่วไปแล้วสีขนของกวางผาตัวเมียจะอ่อนกว่าตัวผู้ เขาสั้นเล็กและมีรอยหยักรอบโคนเขาไม่ลึกชัดเจนอย่างอย่างเขาของตัวผู้
ขนาดของกวางผาไทย ขนาดตัวประมาณ 80-120 เซนติเมตร หางยาว 7-20 เซนติเมตร ใบหูยาว 10-14 เซนติเมตร ความสูงที่ไหล่ 50-70 เซนติเมตร น้ำหนักตัวประมาณ 22-35 กิโลกรัม ขนาดของเขาแต่ละข้างมักยาวไม่เท่ากัน แต่โดยเฉลี่ยความยาวของเขาแต่ละข้างประมาณ 13 เซนติเมตร ขนาดวัดรอบโคนเขาประมาณ 7 เซนติเมตร
กวางผาพันธุ์ ไทยเป็นชนิดเดียวกับกวางผาจีน มีศูนย์กลางการกระจายพันธุ์อยู่ในแถบประเทศจีนแพร่กระจายออกไปในเกาหลี แมนจูเรีย และแถบอัสซูริ (Ussuri) ของประเทศรัสเซีย ใต้ลงมาในแถบภาคตะวันออกของประเทศเมียนมาร์ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
ปัจจุบันมีรายงานแหล่งที่พบกวางผาในประเทศไทยอยู่ใน บริเวณเทือกเขาต้นน้ำปิง ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอมก๋อยและแม่ตื่น จังหวัดเชียงใหม่และตาก และเทือกเขาบริเวณเขตห้ามล่าสัตว์ป่าแม่เลา แม่แสะ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยเชียงดาว
กวางผามีสายตาดีมาก การใช้ชีวิตส่วนใหญ่อาศัยการมองดูมากกว่าใช้การดมกลิ่นหรือการฟังเสียงอย่างสัตว์กินพืชทั่วๆไป เวลา พบเห็นสิ่งแปลกปลอมหรือสงสัยมักจะแสดงท่าขยับใบหูไปมา ยกขาหน้าโขกกับพื้นและส่งเสียงพ่นออกมาทางจมูก แต่ถ้าตกใจจะกระโดดตัวลอยวิ่งหนีและส่งเสียงร้องแหลมสั้นๆเป็นระยะๆถึงแม้กวางผาจะ ชอบอาศัยอยู่ตามหน้าผาสูงชัน แต่พบว่ากวางผาสามารถว่ายน้ำได้ดีด้วย
ฤดูผสมพันธุ์ของกวางผาอยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ระยะตั้งท้องประมาณ 6 เดือน ออกลูกท้องละ 1 ตัว อายุวัยเจริญพันธุ์ประมาณ 2-3 ปี อายุยืนประมาณ 8-10 ปี
เนื่องจากสภาพถิ่นที่อยู่ อาศัยของกวางผาเป็นหน้าผาสูงชันที่สัตว์ทั่วๆไปไม่สามารถอาศัยอยู่ได้แต่แหล่งที่อยู่มีอยู่จำกัดอยู่ตาม เขาสูงเป็นบางแห่งของจังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน และตาก ประกอบกับมีนิสัยอยู่รวมกันเป็นฝูงและมีอาณาเขตครอบครองที่แน่นอน ทำให้ถูกพรานชาวเขา ตามล่าได้ง่าย โดยดูจากร่องรอยการกินอาหารและกองมูลที่ถ่ายทิ้งไว้ อีกทั้งบริเวณที่เป็นแหล่งที่อยุ่ของกวางผาเป็นถิ่นที่อยู่ของพวกชาวเขาเผ่าต่างๆ ซึ่งมีการบุกรุกทำไร่เลื่อนลอยมาโดยตลอด ทำให้กวางผาไม่มีที่อยู่อาศัยต้องหลบหนีไปอยู่แหล่งอื่นและถูกฆ่าตายไปในที่สุด นอกจากนี้ความเชื่อที่ว่าน้ำมันกวางผามีสรรพคุณใช้เป็นยาสมานกระดูกที่หักได้เช่นเดียวกับน้ำมัน เลียงผา ทำให้กวางผาถูกฆ่าตายเพื่อเอาน้ำมันอีกสาเหตุหนึ่งด้วย
ปัจจุบันกรมป่าไม้สามารถเพาะขยายพันธุ์กวางผาไทยได้สำเร็จ แต่เนื่องจากมีพ่อ-แม่พันธุ์เพียงคู่เดียว สถานการณ์ความอยู่รอดของกวางผาไทย จึงยังอยู่ในขั้นน่าวิตกเป็นอย่างยิ่ง