HOME | ||||||||||||||
แมวลายหินอ่อน | ||||||||||||||
สมเสร็จ | ||||||||||||||
กระซู่ | ||||||||||||||
กรูปรี | ||||||||||||||
เก้งหม้อ | ||||||||||||||
ควายป่า | ||||||||||||||
นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร |
ละอองหรือละมั่งเป็นสัตว์จำพวกกีบคี่ ( Even - toed Ungulate
) อันเดียวกันกับวัวควาย เนื่องจากเท้ามีนิ้วเท้าเจริญดีข้างละ 2 นิ้ว คือนิ้วที่
3 และนิ้วที่ 4 พัฒนาไปเหมาะสำหรับการเคลื่อนที่รวดเร็วและรับน้ำหนักตัวมาก
ๆ ได้ ปลายนิ้วและเล็บเปลี่ยนรูปเป็นกีบนิ้วแข็งขนาดใหญ่เท่ากัน 2 กีบ ลักษณะเป็นกีบนิ้วยาวปลายเรียวแหลม
ละอองหรือละมั่งจัดอยู่สัตว์จำพวกกวาง ซึ่งเป็นสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกแรกที่มีเขาบนหัว
ลักษณะเขาเป็นคู่แบบ Antlers หรือที่เรียกว่าเขากวาง สัตว์จำพวกกวางและจำพวกกีบคู่ทั่ว
ๆ ไปจะไม่มีเขี้ยวและฟันหน้าบนเป็นซี่ ๆ ใช้ร่วมกับฟันหน้าล่างเล็มกัดพวกใบพืชใบหญ้า
คล้ายเคียวตัดหญ้า โดยทั่วไปจะมีถุงน้ำตาเป็นแอ่งลึกขนาดใหญ่บริเวณหัวตา
ตัวเมียจะเต้านม 4 เต้าไม่มีถุงน้ำดี
|
|||||||||||||
นกกระเรียน | ||||||||||||||
กวางผา | ||||||||||||||
แรด | ||||||||||||||
พะยูน | ||||||||||||||
เลียงผา | ||||||||||||||
เนื้อสมัน | ||||||||||||||
นกกระแต้วแล้วท้องดำ | ||||||||||||||
ลักษณะเด่นของละออง หรือละมั่ง เป็นกวางขนาดค่อนข้างใหญ่
ตัวเล็กและเพรียวบางกว่ากวางป่า ซึ่งเป็นกวางที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของไทย เส้นขนตามตัวละเอียดอย่างแน่นอย่างขนเก้ง
สีน้ำตาลแกมเหลือง ช่วงคอยาว ใบหูกางใหญ่ โดยเฉลี่ยแล้วตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย
มีเส้นขนรอบคอหยาบยาว และสีขนตามตัวเข้มคล้ำกว่า ลูกเกิดใหม่จะมีแต้มจุดขาว
ๆ ตามตัว เมื่อโตขึ้นจะจางหายไป
ลักษณะของเขาของละมั่งตัวผู้ มีลักษณะเฉพาะต่าง ไปจากเขาของกวางไทยชนิดอื่น ๆ เขากิ่งหน้าหรือ กิ่งรับหมายาวโค้งทอดไปบนหน้าผาก ทำมุมแคบกับสันหน้าผาก ปลายกิ่งเรียวแหลม ดูคล้ายกวางที่มีหน้าผากจึงได้ชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Brow antlered Deer ขนาดของละมั่งในประเทศไทยขนาดตัว 1.5-1.7 เมตร หางยาว 0.22-0.25 เมตร ส่วนสูงช่วงไหล่ 1.2-1.3 เมตร ใบหูยาว 0.15-0.17 เมตร น้ำหนัก 95-150 กิโลกรัม |
||||||||||||||
เขตการกระจายพันธุ์ของละมั่ง มีพบในแถบตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย
เมียนม่าร์ ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม และเกาะไหหลำของประเทศจีน ไม่พบแพร่กระจายลงทางใต้
แถบภาคใต้ของไทย ตลอดแหลมมาลายู ทั้งนี้ละมั่งชนิดพันธุ์พม่ามีพบในแถบประเมศเมียนม่าร์และภาคตะวันตกของไทย
ส้วนชนิดพันธุ์ไทยมีการกระจายในประเทศอินโดจีน ไหหลำ ละภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย
ประเทศไทยจึงได้ถือว่าเป็นศูนย์กลางของพันธุ์ละมั่ง แต่เดิมเคยมีชุกชุมตามป่าโปร่งเกือบทุกภาคยกเว้นภาคใต้ ต่อมาในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา ละมั่งถูกล่าจนสูญพันธุ์ไปหมดเกือบทุกแหล่ง ปัจจุบันคากว่าคงเหลืออยู่ในเขาพนมดงรัก ชายแดนไทย กัมพูชา ซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดพันธุ์ไทย และบริเวณเทือกเขาตะนาวศรี ชายแดนไทย เมียนม่าร์ |
||||||||||||||
ความเป็นอยู่ตามธรรมชาติของละมั่ง ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่
ในอดีตยังมีฝูงละมั่งชุกชุมทั่วไป มีรายงานพบฝูงละมั่งขนาดใหญ่ประมาณ 50
ตัว แต่ในปัจจุบันเนื่องจากสภาพของสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป และจำนวนของละมั่งละลงอย่างมาก
จึงพบแต่ละมั่งตัวเดียวหรือฝูงเล็ก ๆ โดยทั่วไปแล้วชอบอาศัยอยู่ตามป่าเต็งรัง
ป่าโปร่งหรือป่าทุ่งใกล้ ๆหนองน้ำ ตอนกลางวันที่อากาศร้อน ๆ
ละมั่งจะหลบไปอยู่ตามใต้ร่มไม้ชายป่า ถ้าเป็นตัวผู้ขนาดใหญ่ซึ่งขี้ร้อนกว่า มักนอนแช่ปลักโคลนตามหนองน้ำอย่างพวกควาย ปกติไม่ชอบอาศัยอยู่ตามป่ารกทึบ โดยเฉพาะตัวผู้นิสัยการกินอาหารของละมั่งคล้ายกับพวกวัว ปกติชอบกินหญ้าและลูกไม้ต่าง ๆ ตามพื้นที่ทุ่งโล่งหรือป่าโปร่ง ไม่ค่อนชอบกินใบไม้มากนัก ฤดูผสมพันธุ์ของละมั่งไทยในธรรมชาติ พบอยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ส่วนละมั่งที่เพาะเลี้ยงอยู่ ตามส่วนต่าง ๆ มักจะไม่มีฤดูผสมพันธุ์ที่แน่นอน แต่ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-มิถุนายน ระยะตั้งท้องนาน 254-244 วันออกลูกครั้งละ 1 ตัว ลูกแรกจะมีลายจุดสีขาว ๆ ตามตัว โตขึ้นจึงค่อย ๆ จางไป |
||||||||||||||
สาเหตุสำคัญที่ทำให้ประชากรของละมั่งในธรรมชาติลดน้อยลงจนใกล้จะสูญพันธุ์
มากกว่าการถูกล่า และป่าที่เป็นที่อยู่อาศัยถูกทำลายไป ทั้งนี้เนื่องจากเขาและเนื้อของละมั่งมีราคาสูง
เป็นที่ต้องการของนักสะสมซากสัตว์ป่า ประกอบกับนิสัยของละมั่งที่ชอบอาศัยอยู่ตามทุ่งโล่งหรือป่าโปร่ง
มักเป็นพื้นที่แรก ๆ ที่จะถูกบุกรุกเปลี่ยนเป็นพื้นที่เกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัยทำให้ประชากรของละมั่งในธรรมชาติลดน้อยลงกระจักกระจายเป็นกลุ่มเล็กกลุ่มน้อย
ไม่สมารถแพร่กระจายพันธุ์เป็นปกติตามธรรมชาติได้
ปัจจุบันมีการนำเอาละมั่งมาเพาะเลี้ยงเพื่อเลี้ยงขยายพันธุ์ในสวนสัตว์ ฟาร์มปศุสัตว์ต่าง ๆ และหน่วยงานเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าของกรมป่าไม้ ได้อย่างแพร่หลายแต่ส่วนใหญ่เป็นละมั่งพันธุพม่าหรือทามีน มีละมั่งพันธุ์ไทยน้อยมาก |
||||||||||||||