แรด
กลับไปหน้าแรก HOME
แมวลายหินอ่อน
สมเสร็จ
กระซู่
กรูปรี
เก้งหม้อ
ควายป่า
นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร
แรดเป็นพวกสัตว์กับคี่ คือมี “ นอ ” มีนิ้วที่ปลายนิ้วพัฒนารูปร่างไปเป็นกีบนิ้วแข็งข้างละ 3 กีบ กีบกลางขนาดใหญ่ กีบข้างทั้ง 2 กีบขนาดเล็กกว่า แตกต่างจากกีบเท้าของพวกวัว ควายแบะกวาง ซึ่งเป็นพวกกีบคู่ ขนาดเท่ากัน
                 ลักษณะเด่นของแรดมี “ นอ ” ซึ่งเกิดจากการเรียงตัวอัดแน่นของเส้นขนจึงแข็งเป็นเขาต้น ไม่มีแกนกระดูก เป็นเขาเดี่ยวติดอยู่กึ่งกลางของกระดูกดั้งจมูก ต่างจากเขาของวัวควายและกวาง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระดูกและกระโหลกศรีษะมี 2 อันดับคู่ แรดจึงได้ชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Rhiniceros ซึ่งหมายความว่าสัตว์ที่เขาที่จมูก
นกกระเรียน
กวางผา
ละมั่ง
พะยูน
เลียงผา
เนื้อสมัน
นกกระแต้วแล้วท้องดำ
แรดหรือแรดชวามีรูปร่างลักษณะคล้ายกับแรดอินเดียและจัดว่าอยู่ในสกุลเดียวกัน ทั้งนี้สันนิษฐานว่าน่าจะมีบรรพบุรุษร่วมกันหรือใกล้เคียงกันมาก ครั้นต่อมาจึงได้มีวิวัฒนาการแยกจากกันไปตามสภาพถิ่นที่อยู่ กลายเป็นต่างชนิดกันอย่างถาวรเมื่อประมาณต้นศตวรรษที่ 19 นี่เอง
              ลักษณะของแรด ลำตัวล่ำหนา ขาสั้นใหญ่ เท้ามีนิ้วเท้าลักษณะเป็นกีบนิ้วแข็งข้างละ 3 กีบ ลักษณะรอยเท้าคล้ายรอยเท้าช้าง แต่มีรอยกีบข้างละ 3 กีบ รอยกีบปกติกลมไม่แหลมอย่างรอยเท้าสมเสร็จตาเล็กคล้ายตาหมูใบหูตั้งตรงผิวหนังตามตัวหนามากมีลายเป็นตุ่มเม็ดขนาดเท่าปลายนิ้วทั้งตัวและย่นเป็นรอยพับข้ามหลัง3 พับที่ด้านหน้าของหัวไหล่ด้านหลังของหัวไหล่และสะโพก และมีรอยที่โคนขาหน้าอีก 1 พับทำให้ดูคล้ายสวมเกราะหนัง ขนตามตัวมีน้อยประปรายหางไม่มีรอยสันนูนของโคนหางที่สะโพกอย่างแรดอีนเดียและกระซู่ริมฝีปากบนยื่นเป็นจะงอยแหลมขยับเขยืนได้ใช้ดึงรั้งยอดไม้สูงๆ ใส่ปากกกินได้ มีฝันหน้าที่กรามล่าง4 ซี่ (ส่วนกระซู่มีฝันหน้ากรามล่าง 2ซี่) แรดตัวผู้จะมีนอยาว ขนาดของนอเฉลี่ยประมาณ 15 เซนติเมตรส่วนตัวเมียส่วนใหญ่จะมีนอโผล่ไห้เห็นเป็นปุ่มนูนเท่านั้น ซึ่งต่างจากแรดอินเดียที่มีคอยาวคล้ายคลึงกันทั้ง2เพศ
            ขนาดของแรด ส่วนสูงที่ไหล่ 1.6-1.75 เมตร ขนาดตัว 3.0-3.2 เมตร หางยาว 0.7 เมตร น้ำหนักตัว 1,500 –2,000 กิโลกรัม
เขตการกระจายพันธุ์ของแรดหรือแรดชวาในอดีต มีพบในบังคลาเทศ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ลงไปถึงสุมาตราและชวา ปัจจุบันเชื่อว่าแรดชนิดน้ำได้สูธพันธุ์ไปจากแผ่นดินของทวีปเอเชียแล้ว ในประเทศไทยได้มีรายงานพบแรดอาศัยอยู่ตามป่าดิบบริเวณเทือกเขาตะนาวศรี และทางภาคใต้บริเวณจังหวัดตรัง กระบี่ พังงาและระนอง แต่ได้เชื่อว่าได้สูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยแล้วเช่นกัน
            ปัจจุบันยังคงมีแรดหลงเหลืออยู่ในธรรมชาติแต่เพียงแห่งเดียวในโลก ที่อุทยานแห่งชาติอุดจง คูลอน (Udjung Kulon National Park) ทางปลายสุดภาคตะวันออกของเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ประมาณ 50 ตัวส่วนที่มีรายงายการพบแรดทางตอนใต้ของเวียดนาม 10-15 ตัว ยังไม่มีหลักฐานยืนยันเป็นทางการแน่นอน
แหล่งที่อยู่อาศัยของแรดเป็นป่าดิบชื้น ระดับพื้นราบไปถึงเขาสูงกว่า 1,000 เมตรได้ ปกติชอบอยู่ตามป่าร่มชื้น มีแหล่งน้ำสำหรับแช่ปลักโคลนหรือแช่น้ำเล่นในตอนกลางวัน สายตาของแรดไม่ดี แต่ประสาทรับกลิ่นและฟังเสียงดีมาก จึงมีนิสัยขี้หวาดระแวง ประกอบกับชอบอาศัยอยู่ตัวเดียวตามลำพังภายในพื้นที่ครอบครองของตน ซึ่งมีขนวาดกว้างประมาณ 7-10 กิโลเมตร ตารางกิโลเมตร โดยมีการถ่ายข้อมูลหรือพ่นปัสสาวะสีแดง ๆ ไปตามพุ่มไม้ เป็นการแสดงอาณาเขตหวงห้าม ทำให้ดูว่านิสัยของแรดนั้นดุร้าย
              อาหารของแรดได้แก่ ใบไม้ ยอดอ่อน เครือเถาต่าง ๆ และไม้ที่หล่นตามพื้นป่า ไม่ชอบกินหญ้า มีการพบเห็นว่า แรดจะดันต้นไม้เล็ก ๆ ล้มลงเพื่อกินใบและยอดอ่อน นอกจากนั้นแรดยังสามารถอดน้ำได้เป็นวัน ๆ ขณะเดินหาแหล่งน้าใหม่
              แรดผสมพันธุ์ได้ตลอดปี ไม่มีฤดูผสมพันธุ์แน่นอน วัยเจริญพันธ์ของตัวผู้อายุประมาณ 6 ปี ส่วนตัวเมียอายุประมาณ 3 ปีขึ้นไป แรดตัวเมียจะมีระยะเป็นสัดประมาณ 46-48 วัน ระยะตั้งท้องประมาณ 16 เดือน ออกลูกท้องละ 1 ตัว ลูกแรดมีนอตั้งแต่แรกเกิด แม่จะดูแลเลี้ยงดูลูกนานประมาณ 2 ปี ลูกจึงแยกไปอาศัยอยู่ตามลำพัง

สาเหตุที่ทำให้แรดสูญพันธุ์ไปจากแผ่นดินใหญ่ของเอเชีย คือการถูกล่าเพื่อเอานอ และส่วนต่าง ๆ เช่น หนัง เลือดและกระดูก ซึ่งมีราคาสูงมาก เนื่องจากมีคำเชื่อที่ว่ามีสรรพคุณเป็นยาบำรุงร่างกายและเพิ่มประสิทธิภาพทางเพศได้ แต่จากการตรวจวิเคราะห์ทางแพทย์นั้นไม่มีรายงานว่ามีสรรพคุณดังกล่าว ประกอบกับแรดมีอัตราการขยายพันธุ์ที่ต่ำมาก เนื่องจากผสมพันธุ์ได้ยาก ระยะตั้งท้องนานและออกลูกได้เพียงท้องละ 1 ตัวเท่านั้น นอกจากนี้การทำลายป่าดิบชื้น โดยเฉพาะตามที่ราบต่ำ ซึ่งเป็นแหล่งที่แรดชอบอาศัยอยู่ ถูกทำลายหมดไปกลายเป็นพื้นที่เกษตรกรรม หรือที่อาศัยของคน ซึ่งแรดไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ สาเหตุสำคุญเหล่านี้ล้วนเป็นผลทำให้แรด สูญพันธุ์ไป