HOME | |||||||||||||||||
แมวลายหินอ่อน | |||||||||||||||||
สมเสร็จ | |||||||||||||||||
กระซู่ | |||||||||||||||||
กรูปรี | |||||||||||||||||
เก้งหม้อ | |||||||||||||||||
ควายป่า | |||||||||||||||||
นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร | |||||||||||||||||
เลียงผาพบครั้งแรกบนเกาะสุมาตรา
ประเทศอินโดนีเซียในปีพ.ศ.2342 จึงได้รับการตั้งชื่อตามแหล่งที่พบครั้งแรก
โดย J.M. Bechstein จัดรวมไว้สกุลเดียวกับแอนติโลปของอินเดีย คือ Antilope
sumatraensis ต่อมาได้มีการจำแนกเลียงผาออกตั้งเป็นสกุลใหม่ คือ Capricornis
sumatraensis (Bechstein,1799) โดยพิจารณาจากลักษณะขนาดของเขา กระดูกดั้งจมูก
ต่อมเปิดที่อยู่ระหว่างแต่ในปัจจุบันได้มีการพิจารณาแล้วเห็นว่า ลักษณะที่แตกต่างกันดังกล่าวนั้นไม่เด่นเพียงพอที่จะจำแนกเป็นสกุลใหม่จึงได้จัดรวม
เลียงผาเข้าไว้ในสกุลเดียวกับพวกกวางผาซึ่งมีรูปพรรณสัณฐานคล้ายคลึงกัน คือ
Naemorhedus H. Smith, 1827 เนื่องจากเป็นสกุลที่ตั้งขึ้นก่อน ชื่อวิทยาศาสตร์ของเลียงผาที่ถูกต้องจึงใช้เป็น
Naemorhedus sumatraensis(Bechstein,1799) เลียงผาเป็นสัตว์กีบคู่อยู่ร่วมวงศ์เดียวกับวัว ควาย และแพะ ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีเขาแบบHornsทั้งตัวผู้และตัวเมีย เขาเป็นคู่เหมือนกันทั้ง 2 ข้าง ลักษณะเป็นเขากลวง ไม่มีการแตกกิ่งเขาเปลือกนอกเป็นปลอกเขาแข็งสวมทับบนแกนเขา ซึ่งเป็นกระดูกที่งอกติดกับกะโหลกศีรษะ ตัวเขาโตขึ้นได้เรื่อยๆ ตามอายุขัยและมีชุดเดียวตลอดชีวิต ไม่มีการผลัดเขาชุดใหม่ทุกปีอย่างพวกกวางโคนเขาจึงมีรอยหยัก เป็นวงๆ รอบเขาแบบพาลี ของเขาวัว เขาควาย จำนวนของวงรอยหยักจะเพิ่มมากขึ้นตามอายุของเจ้าของ เลียงผามีชื่อเรียกต่างๆ กันไปตามท้องถิ่นหลายชื่อ ได้แก่ เยืองเป็นชื่อเรียกที่รู้จักกันในแถบจังหวัดเพชรบุรี โครำหรือกูรำ เป็นชื่อเรียกขานกันในแถบจังหวัดประจวบคีรีขันธ์และภาคใต้ ส่วน เลียงผา เดิมใช้เรียกกันในแถบภาคกลาง จังหวัดราชบุรีและเพชรบุรี ปัจจุบันใช้ชื่อนี้เป็นชื่อเรียกเป็นทางการ |
|||||||||||||||||
นกกระเรียน | |||||||||||||||||
กวางผา | |||||||||||||||||
ละมั่ง | |||||||||||||||||
แรด | |||||||||||||||||
พะยูน | |||||||||||||||||
เนื้อสมัน | |||||||||||||||||
นกกระแต้วแล้วท้องดำ | |||||||||||||||||
รูปร่างของเลียงผาคล้ายกวางผาและแพะ
ลำตัวสั้น ช่วงขายาว ขนตามตัวสีดำ เส้นขนค่อนข้างยาวและหยาบ มีแผงคนคอและสันหลังยาว
หัวโต ใบหูใหญ่กางชี้คล้ายหูลา ไม่มีขนเคราที่คางอย่างแพะ คู่เขาบนหัวแต่ละข้างค่อนข้างสั้น
ลักษณะเป็นเขากลม โคนขาใหญ่ ปลายเรียวแหลมโค้งไปข้างหลังเล็กน้อย ขนาดเขาตัวผู้เท่าที่เคยมีรายงานยาวที่สุดข้างละ
28 เซนติเมตร ส่วนเขาของตัวเมียเล็กและสั้นกว่ามาก ขนาดตัวของเลียงผา วัดจากหัวถึงโคนหางประมาณ 1.5 เมตร หางยาวประมาณ 0.15เมตร ความสูงวัด ถึงไหล่ประมาณ 85-140 กิโลกรัม |
|||||||||||||||||
ถิ่นกำเนิดของเลียงผามีพบในแถบแคว้นปัญ
จาบและแคชเมียร์ทางภาคเหนือของอินเดียและเขาหิมาลัยต่ำลงมาถึงรัฐอัสสัมทางภาคตะวันออก
ภาคใต้ของจีน เมียนมาร์ แถบประเทศ อินโดจีน ไทย มาเลเซีย และสุมาตรา ในประเทศไทยเคยมีพบอยู่ตามเขาหินปูนสูงชันเกือบทุกภาค ยกเว้นแถบที่ลุ่มภาคกลาง แต่ในปัจจุบันประชากรส่วนใหญ่ของเลียงผายังคงมีเหลืออยู่ตามเขาหินปูนในเขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่าและอุทยานแห่งชาติบางแห่งเท่านั้น |
|||||||||||||||||
เลียงผาชอบอยู่ตามลำพังตัวเดียวตามหน้าผาหรือภูเขาหินปูนที่แห้งแล้ง
เป็นป่าโปร่งหรือป่ารวก เนื่องจากเลียงผาและสัตว์จำพวกแพะ มีความสามารถในการปีนป่ายหรือกระโดดไปตามหน้าผาชันและขรุขระได้ดีมาก
ทั้งยังสามารถปีนต้นไม้ที่งอกยื่นออกไปตามหน้าผาได้อีกด้วย นอกจากนี้เลียงผายังสามารถว่ายน้ำได้ดี
ตอนกลางวันมักชอบหลบซ่อนตัวอยู่ตามเพิงหินที่มีพุ่มไม้หนาหรือถ้ำ ตื้นๆ เพื่อกำบังแดดหรือฝน
จะออกเที่ยวหากินตามที่โล่งตอนกลางคืน เช้าและเย็น กินพวกใบไม้ ยอดไม้เป็นอาหารหลัก ฤดูจับคู่ผสมพันธุ์ของเลียงผาพบอยู่ในช่วงประมาณ เดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ระยะตั้งท้องประมาณ 7 เดือน ออกลูกท้องละ 1 ตัว ลูกจะอยู่กับแม่ประมาณ 1 ปี จึงจะแยกไปอาศัยอยู่ตามลำพัง อายุยืนประมาณ 10 ปี |
|||||||||||||||||
โดยธรรมชาติของเลียงผา ซึ่งมีอวัยวะรับสัมผัสดีทั้งหู ตา และจมูก อีกทั้งมีถิ่นที่อยู่ตามเขาสูงชันที่คนและสัตว์อื่นทั่วๆไปไม่สามารถอยู่ได้ ศัตรูของเลียงผาจึงมีน้อย แต่ด้วยนิสัยที่ชอบอกมายืนนั่งริมหน้าผาโล่งจึงเป็นเป้าให้ถูกยิงได้ง่าย ประกอบด้วยความเชื่อที่ว่า น้ำมันเลียงผามีสรรพคุณเป็นยารักษากระดูก ทำให้เลียงผาถูกล่ากันอย่างมากมาย นอกจากนี้การระเบิดภูเขาหินปูนหรือการทำเกษตรกรรมตามลาดเขาทำให้แหล่งที่อยู่อาศัยของเลียงผาลดน้อยลง ต้องหลบหนีย้ายถิ่นที่อยู่ใหม่จนถูกฆ่าตายในที่สุด | |||||||||||||||||