เนื้อสมัน
กลับไปหน้าแรก HOME
แมวลายหินอ่อน
สมเสร็จ
กระซู่
กรูปรี
เก้งหม้อ
ควายป่า
สมัน ถือได้ว่าเป็นกวางพื้นเมืองเฉพาะถิ่นของไทย เพราะพบเพียงแห่งเดียวในโลก เฉพาะในบริเวณที่ราบลุ่มภาคกลางของประเทศ เป็นกวางที่มีรูปร่างและเขาสวยงามมากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก แต่ได้ถูกล่าสิ้นพันธุ์ไปจากประเทศไทยและโลก ในปี พ.ศ. 2481 หรือเมือประมาณ 1 ชั่วคนมานี่เอง ทิ้งไว้แต่เรื่องราวในอดีตและเขาที่สวยงาม แต่ก็มีเหลือเขาอยู่ในประเทศไทยน้อยมาก เนื่องจากถูกชาวต่างชาติ ที่รู้ถึงคุณค่าของสัตว์ที่หามาไม่ได้อีกแล้วกว้านซื้อไปเก็บสะสมใว้ในพิพิธภัณฑ์ต่างประเทศเป็นจำนวนมากนอกจากนั้นส่วนหนึ่งได้ถูกคนไทยทำลายไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการ เช่น เอาเขามาทำเป็นด้ามมีด หรือเอาไปบด ต้มเคี้ยวเข้าเครื่องยาจีน เป็นต้น
การจำแนกและการตั้งชื่อสมันของศาสตราจารย์ไบรท์ ตั้งชื่อตามวกุล Rucervus ขแงกว่าพรุ ( Swamp Deer , Rucervus duvauceli ) ของอินเดีย ซึ่งมีชื่อตามภาษาพื้นเมืองว่า บาราซิงห์ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกันมาก
นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร
นกกระเรียน
กวางผา
ละมั่ง
แรด
พะยูน
เลียงผา
นกกระแต้วแล้วท้องดำ
สมันเป็นสัตว์จำพวกกวางที่มีกีบเท้าเป็นคู่ เท้าแต่ละข้างมีนิ้วเท้าเจริญดี 2 นิ้ว พัฒนารูปร่างเป็นกีบนิ้วเท้าแข็งขนาดเท่า ๆ กัน 2 กีบ กระเพาะอาหารพัฒนาไปมี 4 ตอน รวมทั้งกระเพาะพัก เพื่อย่อยอาหารจำพวกพืชโดยเฉพาะ มีต่อมน้ำตาเป็นแอ่งที่หัวตา ไม่มีถุงน้ำดี และที่สำคัญคือ มีเขาบนหัวที่เรียกว่าเขากวาง เฉพาะในตัวผู้
เขากวางหรือ Antlers เป็นลักษณะเขาที่มีเฉพาะในสัตว์จำพวกกวาง เป็นเขาต้นมี 2 ข้างเป็นคู่ขนาดเท่า ๆ กัน ลำเขามีการแตกกิ่งก้าน จำนวนกิ่งก้านและรูปทรงของเขาขึ้นกับชนิดกวาง มีการผลัดเขาเป็นประจำทุกปี
เขาของสมัน เป็นลักษณะเด่นสวยงามแตกต่างไปจากเขากวางทั่ว ๆ ไป กิ่งเขาหน้า ( Brow tine ) หรือกิ่งรับหมายาวโค้งและงอน ทอดลากมาข้างหน้าทำมุมยกประมาณ 60 องศากับใบหน้า ขนาดของกิ่งรับหมาโดยเฉลี่ยแล้วยาวประมาณ 30 เซนติเมตรปลายกิ่งรับหมามักจะแตกเป็นง่ามเขา 2 แขนง ซึ่งเป็นลักษณะที่ไม่ค่อยจะพบเห็นในกวางชนิดอื่น
แหล่งที่อยู่อาศัยของสมันเคยมีในแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ภาคกลางของประเทศ มีศูนย์กลางการกระจายพันธุ์อยู่ในแถบกรุงเทพและหัวเมืองโดยรอบ ขอบเขตการกระจายพันธุ์มีตั้งแต่จังหวัดสมุทรปราการ ขึ้นเหนือไปจนถึงจังหวัดสุโขทัย ด้านตะวันออกไปจนถึงนครนายกและฉะเชิงเทรา ด้านตะวันตกกระจายไปจนถึงจังหวัดสุพรรณบุรีและกาญจนบุรี นอกจากนี้ยังมีนักวิทยาศาสตร์บางท่านสันนิษฐานว่า สมันน่าจะเคยมีในประเทศลาวและภาคใต้ของจีนด้วย แต่ไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัดได้ จึงกล่าวได้ว่า สมันเป็นพืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่นของประเทศไทยเพียงแห่งเดียวในโลก

ปกติแล้วสมันชอบอาศัยอยู่ตามป่าทุ่ง ตามที่ราบลุ่มแม่น้ำ ไม่ชอบอาศัยอยู่ตามป่ารกทึบหรือที่ป่าโคกอย่างกวางผาหรือละมั่ง เนื่องจากเกะกะเขาบนหัว ซึ่งกิ่งรับหมายาวและทำมุมแหลมกับใบหน้า และกิ่งก้านเขาซึ่งบานเป็นสุ่ม ทำให้สมันไม่สามารถมุดรกได้ เพราะกิ่งก้านเขาจะไปขัดหรือเกี่ยวพันกับกิ่งไม้หรือเถาวัลย์ได้ มักอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงครอบครัว เล็ก ๆ ประกอบด้วยต้วผู้ 1 ตัวตัวเมียและลูก 2-3 ตัวออกหากินตามท้องทุ่งโล่งริมน้ำในช่วงเย็นค่ำจนถึงเข้า ตอนกลางวันมักหลบแดดและซ่อนตัวอยู่ตามป่าละเมาะหรือพงหญ้าสูง ๆ และมักอาศัยรวมถิ่นปะปนกับเนื้อทรายได้เสมอ ๆ
นิสัยของสมันที่ได้ศึกษาจากสวนสัตว์ต่างประเทศพบว่า ค่อนข้างจะคุ้นคนได้ง่าย อากับกิริยาต่าง ๆ เช่นการยกหัวและท่วงท่าเดินดูสง่า คึกคนอง ชอบปะลองท้าทายกับกวางชนิดอื่น ที่ตัวโตกว่า เสียงร้องแหลมสั้น ๆ คล้าย ๆ เสียงหวีดหรือเสียงร้องของเด็ก ๆ
สาเหตุการใกล้จะสูญพันธุ์ มาจากการถูกล่าโดยไม่มีการควบคุม และธรรมชาติของสมันในธรรมชาติ ซึ่งอาศัยอยู่ได้ในทุ่งโล่งตามที่ราบลุ่ม ไม่มีที่หลบซ่อน โดยเฉพาะในช่วงฤดูน้ำหลาก สมันส่วนใหญ่จะถูกกักอยู่ตมที่ดอนหรือเกาะเล็ก ๆ กลางน้ำ ทำให้สมันถูกฆ่าตายครั้งละมาก ๆ ประกอบกับในยุคนั้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 ประเทศไทยได้มีการติดต่อทำการค้ากับต่างประเทศ สินค้าออกที่สำคัญคือข้าวทำให้คนไทยมีการตื่นตัวเรื่องการทำนา จึงมีการบุกพื้นที่ลุ่มภาคกลางเปลี่ยนเป็นไร่นาทั่ว ส่งผลให้สมันไม่มีแหล่งที่อยู่อาศัยและถูกฆ่าตายจนหมดสิ้นภายในเวลาไม่กี่ปีต่อมา