HOME | |||||||||||||||||
แมวลายหินอ่อน | |||||||||||||||||
สมเสร็จ | |||||||||||||||||
กระซู่ | |||||||||||||||||
กรูปรี | |||||||||||||||||
เก้งหม้อ | |||||||||||||||||
ควายป่า | |||||||||||||||||
ลักษณะสีสันของเพศผู้
และเพศเมียจะแตกต่างกัน โดยนกกระแต้วแล้วเพศผู้ บริเวณหัวและท้ายทอยจะมีสีน้ำเงินแกมฟ้าสีสดใส
ตัดกับใบหน้าและหน้าผาก ซึ่งมีสีดำสนิท คอสีขาวครีมอกส่วนบนเป็นแถบสีเหลืองสด
อกส่วนล่างจะมีสีดำเป็นมัน ท้องและก้นสีดำ สีข้างและข้างลำตัวเป็นสีเหลือง
และมีลายสีดำสั้นๆ คาดเป็นบั้งๆ ตลอดแนวลำตัวด้านบนสีน้ำตาลแกมเหลือง ปีกเป็นสีน้ำตาลเข้มกว่าลำตัวเล็กน้อย
หางและขนคลุมทางด้านบนเป็นสีฟ้าอมเขียวราวกับสีของเครื่องประดับประเภทหยก กลางหางเป็นสีดำเรียบๆ
ขาเป็นสีชมพูเรื่อๆ ปากเป็นสีดำ ส่วนนกแต้วแล้วเพศเมีย ลักษณะเด่นก็คือ หัวและท้ายทอยสีน้ำตาลเหลือง
บริเวณหัว ตา หลังตา และขนคลุมหูสีดำ คอสีเหลืองครีม บริเวณส่วนล่างของลำตัวมีสีขาวอมเหลืองและมีลายสีดำสั้นๆ
คาดตามขวางของ ลำตัว ส่วนหาง ด้านบนของลำตัว ปีกและส่วนอื่นๆ คล้ายเพศผู้ แต่เพศเมียแต่เพศเมียจะมีขนาดย่อมกว่าเพศผู้เล็กน้อยโดยทั่วไปนกกระแต้วแล้วท้อวดำมีขนาดความยาวประมาณ
22 ซ.ม. เป็นนกที่มีขนาดเล็ก ลำตัวอ้อนป้อม หัวโต ขาแข็งแรง หางสั้น เวลาหากินชอบกระโดอยู่ตามพื้นป่า
และ ส่งเสียงร้องไปด้วย |
|||||||||||||||||
นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร | |||||||||||||||||
นกกระเรียน | |||||||||||||||||
กวางผา | |||||||||||||||||
ละมั่ง | |||||||||||||||||
แรด | |||||||||||||||||
พะยูน | |||||||||||||||||
เลียงผา | |||||||||||||||||
เนื้อสมัน | |||||||||||||||||
นกกระแต้วแล้วท้องดำเป็นนกที่มีเขตการกระจายพันธุ์ค่อนข้างจำกัด
อยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 7-12 เหนือ พบได้ทางตอนไต้สุดของพม่า แถบเทือกเขาตะนาวศรี
ในประเทศไทยเคยพบบตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ถึงจังหวัดตรัง |
|||||||||||||||||
นกกระแต้วแล้วท้องดำชอบอาศัยอยู่ตามป่าซึ่งอยู่ในระดับต่ำ
ชอบอยู่ตามลำพังไม่รวมกลุ่ม เดินและกระโดดหากินอยู่บนพื้นดินการทำรังวางไข่และเลี้ยงดูลูกอ่อน
นกกระแต้วแล้วท้องดำล้วนสร้างรังบนต้นไม้ที่มีหนามแหลมโดยรังสูงจากพื้นดินประมาณ
1-2.5 เมตร ลักษณะของตัวรัง มีรูปร่างกลมป้านคล้ายลูกบอลขนาดย่อมๆมีทางเข้าออกอยู่ทางด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว
ตัวรังสร้างจากเศษใบไม้แห้งและกิ่งไม้เล็กๆ โดยภายในรังบุด้วยรากไม้เล็กๆ หรือเส้นใยนุ่มๆ
จากใบไม้ ส่วนภายนอกมีหนามจากต้นไม้ที่มันทำรังเป็นเกราะคุ้มภัยอีกชั้นหนึ่ง
ต้นไม้ที่พบว่านกแต้วแล้วท้องดำใช้ทำรัง ได้แก่ ต้นระกำ กอหวาย หรือต้นชิง
ซึ่งขึ้นริมลำธารเล็กๆ ทำให้เป็นการสะดวกที่พ่อแม่นกจะหาอาหารมาเลี้ยงลูก การวางไข่ของนกแต้วแล้วท้องดำวางไข่ครั้งละประมาณ
3-4 ฟอง ไข่มีละกษณะสีขาวนวล แต้มด้วยจุดสีน้ำตาลเล็กๆ โดยทั่วไปนกแต้วแล้วท้องดำจะเริ่มจับคู่ผสมพันธุ์ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงกรกฎาคม
ระยะของการกกไข่ยังไม่ชัดเจน แต่คาดว่าอยู่ระหว่าง 10-14 วัน โดยทั้งพ่อและแม่ช่วยกันกกไข่
เมื่อไข่ฟักออกเป็นตัว พ่อแม่นกจะทำลายเปลือกไข่โดยกินเสียทั้งหมด เพื่อเป็นการอำพรางศัตรู
เพียงหนึ่งสัปดาห์ลูกนกเริ่มมีขนเป็นเส้นกลมๆ สีเทาดำอยู่ทั่วทั้งตัว เมื่ออายุได้
14 วัน ขนจะขึ้นเต็มตัว จากการศึกษาพบว่าลูกนกจะออกจากรังเมื่ออายุประมาณ 15-16
วัน อาหารของนกกระแต้วแล้วท้องดำ ได้แก่ ไส้เดือน ตัวอ่อนของแมลง แมลงต่างๆ หอยทาก กบ ปลวก เป็นต้น นกแต้วแล้วท้องดำมีอุปนิสัยชอบทำรังใกล้ลำธารที่มีดินอ่อนนุ่ม ซึ่งทำให้ง่ายต่อการหาอาหารและอาหารอุดมสมบูรณ์กว่าบริเวณที่ดอน นกแต้วท้องดำจะกระโดดอย่างคล่องแคล่วไปตามพื้นดินแล้วใช้ปากจิกหรือพริกใบไม้เพื่อหาอาหาร หรือใช้ปากขุดเพื่อหาไส้เดือน โดยจิกคาบเหยื่อใหม่พร้อมเหยื่อเก่าไว้ในปากจนกระทั่งเต็มปาก จึงจะนำกลับมาป้อนให้ลูก |
|||||||||||||||||
เนื่องจากนกแต้วแล้วท้องดำเป็นนกที่หายาก และเป็นนกที่พบได้เฉพาะถิ่นจึงทำให้นักนิยมเลี้ยงนกอยากได้ไว้มาครอบครอง และทำให้ราคานกแต้วแล้วท้องดำพุ่งสูงขึ้น ยิ่งราคาแพงก็ยิ่งมีผู้เสาะแสวงหามาไว้ครอบครอง เพราะว่าเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ และมีสีสันสวยงาม นอกจากนี้การทำลายถิ่นที่อยู่อาศัย เช่น การตัดไม้ทำลายป่า เพราะว่าระบบนิเวศของนกแต้วแล้วท้องดำ เป็นป่าดงดิบต่ำ ซึ่งเป็นพื้นที่เหมาะอย่างยิ่งในการทำงานเกษตร เช่น สวนปาล์มน้ำมัน สวนยางพารา เพราะสภาพพื้นดินมีความอุดมสมบูรณ์ส่งผลให้เกิดการแผ้วถางยึดถือครอบครองถิ่นที่อยู่อาศัยของนกเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางนอกจากนั้นโครงการพัฒนาต่างๆ เช่น การสร้างเขื่อน ตัดถนน หรือพัฒนาในการตั้งถิ่นฐานเป็นเมืองของมนุษย์ ก็ล้วนเป็นสาเหตุของการทำให้นกอยู่ในภาวะล่อแหลมใกล้สูญพันธุ์แทบทั้งสิ้น นอกจากนี้ก็มีศัตรูในธรรมชาติ เช่น งู หนู หรือสัตว์ผู้ล่าอื่นๆ | |||||||||||||||||