HOME | |||||||||||||||
กระซู่เป็นสัตว์จำพวกแรด
เนื่องจากมี นอ ซึ่งเป็นเขาที่เกิดจากการรวมตัวของเส้นขนจนแข็งติดอยู่บนดั้งจมูก
ไม่มีแกนขาที่เป็นส่วนของกระโหลกศรีษะ ลักษณะเป็นเขาหรือนอเดี่ยว ถึงแม้กระซู่จะมีนอ
2 นอ แต่นอทั้ง 2 มีขนาดไม่เท่ากัน เรียงเป็นแถวอยู่บนดั้งจมูก ต่างจากเขาของวัว
ควาย ซึ่งเป็นเขาคู่ขนาดเท่า ๆ กัน ตัวเขากลางสวมทับบนแกนกระดูกเขาบนกระโหลกศรีษะ
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของกระซู่ที่ใช้อย่างเป็นทางการในปัจจุบัน ใช้ชื่อสกุล Dicerorhinus ซึ่งตั้งขึ้นโดย Gloger ในปี ค.ศ. 1841 ส่วนชื่อสกุลที่มีการใช้ซ้ำ ๆ กัน คือ Didermocerus ซึ่งเป็นชื่อสกุลที่ตั้งขึ้นก่อนนั้นเป็นชื่อที่ใช้ในทางการค้า ไม่ได้ตั้งขึ้นตามอนุกรมวิธาน จึงไม่ได้รับการยอมรับ ดังนั้นชื่อทางวิทยาศาสตร์ของกระซู่ตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติสงวนคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ที่ใช้เป็น Didermocerus Sumatrensis จึงไม่ถูกต้องตามหลักการใช้ชื่อทางวิทยาศาสตร์ |
|||||||||||||||
กระซู่เป็นภาษากะเหรี่ยงที่เรียกแรดที่มี2นอกระซู่เป็นสัตว์จำพวก
แรดที่มีขนาดเล็กที่สุดลักษณะ ทั่วไปคล้ายแรด คือมีลำตัวล่ำใหญ่ ขาทั้ง 4
ข้างสั้นใหญ่ เท้ามีกีบนิ้วแข็งข้างละ 3 นิ้ว ตาเล็ก ใบหูใหญ่ตั้งตรง แตกต่างกันที่ขนาดของตัวกระซู่จะเล็กกว่าหนังตามตัวบางกว่าไม่มีลายเป็นตุ่มหรือเม็ดมีหนังเป็นพับ
ข้ามหลังบริเวณด้านหลังของหัวไหล่พับเดี่ยว ส่วนของแรดมี 3 พับชัดเจน มีขนตามตัวและขอบใบหูดกกว่า
โดยเฉพาะช่วงอายุน้อย ๆ ครั้นเมื่ออายุมากขึ้นขนตามตัวอาจหลุดร่วงไปบ้าง
เหนือโคนหางขึ้นไปถึงบริเวณสะโพกจะปรากฏรอย สันนูนของกระดูกหางชัดเจน และที่สำคัญคือ
กระซู่มีนอ 2 นอ เรียงเป็นแถวบนสันดั้งจมูกนออันหน้ายาวกว่านออันหลัง ขนาดของนออันหน้ายาวประมาณ
25 เซนติเมตร ส่วนนออันหลังยาวเพียงประมาณ 10 เซนติเมตร นอหน้าของกระซู่เมียมักเล็กกว่า
แต่ยาวกวานอตัวผู้ นอตัวผู้มักใหญ่กว่า แต่สั้นกว่านอตัวเมีย นอกจากนี้ กระซู่เมื่อโตเต็มวัย
จะมีฟันหน้ากรามล่าง 2 ซี่ ส่วนแรดจะมีฟันหน้ากรามล่าง 4 ซี่
ขนาดของกระซู่ ส่วนสูงที่ไหล่ 1.0 1.4 เมตร ขนาดตัว 2.4 2.6 เมตร หางยาว 0.65 เมตร น้ำหนักตัว 900 1,000 กิโลกรัม |
|||||||||||||||
เขตการกระจายพันธุ์ของกระซู่
แต่เดิมค่อนข้างกว้างกว่าแรดชนิดอื่น ๆ มักพบตั้งแต่แถบรัฐอัสสัมของอินเดีย
บังคลาเทศ ประเทศในแถบเอเวียตะวันออกเฉียงใต้ สุมาตรา และบอร์เนียว แต่ไม่มีพบในชวาปัจจุบันประชากรของกระซู่ในป่าธรรมชาติมีเหลืออยู่น้อยมาก
และกระจัดกระจายเป็นกลุ่มเล็ก ๆ อยู่หางไกลกันมาก แห่งสำคัญที่ยังมีกระซู่อยู่ได้แก่
ประเทศมาเลเซีย สุมาตราและบอร์เนียว คาดว่ามีกระซู่อยู่รวมกันไม่ถึง 200
ตัว นอกจากนี้คาดว่ายังมีกระซู่อยู่ในประเทศเมียนม่าร์ และลาวบ้าง
ประเทศไทยคาดว่าจะยังมีกระซู่หลงเหลืออยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียวและอุธยาน แห่งชาตื น้ำหนาว จังหวัดชัยภูมและเพชรบูรณ์ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว จังหวัดจันทบุรี เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองนาคา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสง จังหวัดระนองและสุราษฎร์ธานี และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา บาลา จังหวัดยะลา ซึ่งเป็นตามแนวพรมแดนไทย มาเลเซีย และเชื่อว่าจะเป็นหลักฐานที่ยังมีกระซู่เหลืออยู่ได้มากที่สุด ส่วนแหล่งอื่น ๆ ที่กล่าวมาไม่มีหลักฐานยืนยันเป็นทางการว่ายังคงมีกระซู่เหลืออยู่แน่นอนหรือไม่ |
|||||||||||||||
ปกติแล้วกระซู่ชอบที่จะอาศัยอยู่ตามป่าลุ่มและรกทึบ
ไม่ชอบอยู่ที่โล่งหรือป่าโปร่งโดยไม่จำเป็นแต่ภาวะการณี่ถูกรบกวนจากการพัฒนาด้านต่าง
ๆ บีบให้กระซู่ต้องหลีกหนีขึ้นไปอยู่ตามป่าเขาสูงถึงระดับประมาณ 2,000 เมตรได้
แต่ครั้นถึงฤดูฝนมักจะกลับลงมาหากินตามป่าล่าง นิสัยของกระซู่ชอบอาศัยอยู่ตามลำพังคล้ายแรด
ตัวเมียมักจะมีถิ่นที่อาศัยและอาณาเขตถือครองที่มีขนาดใหญ่ มีขอบเขตแน่นอน
ส่วนตัวผู้ชอบย้ายที่อยู่เที่ยวหากินไปตามลำน้ำ โป่ง หรือตามด่านเก่า ๆ ไปเรื่อย
ๆ นาน ๆ จึงย้อยกลับทางเดิม ชอบนอน แช่ปลักโคลนและชอบใช้ นอหน้าขวิดแทงตามขอบปลัก
จึงสังเกตุได้ง่ายว่าเป็นปลักของกระซู่หรือสัตว์ชนิดอื่น เช่นหมูป่า สายตาของกระซู่นั้นไม่ดีจะมองเห็นภาพได้ชัดเจนในระยะใกล้
ๆ แต่จมูกและหูไวต่อประสาทสัมผัสดีมาก เมื่อถูกรบกวนมักจะวิ่งหนีและอาจขู่เสียงสั้น
ๆ ไปด้วย แต่หากจวนตัวหนีไม่ทัน กระซู่จะวิ่งไล่ขวิดด้วยนอหน้าอย่างดุร้ายทันที
ชอบออกหากินในตอนกลางคืน อาหารได้แก่ ใบไม้ ยอดไม้ เถาเครือต่าง ๆ รวมทั้งลูกไม้ที่ร่วงหล่นตามพื้นป่าแต่ไม่ชอบกินหญ้าเช่นเดียวกับแรด เคยมีผู้พบว่า กระซู่ใช้นอหน้าขวิดฉีกเปลือกไม้เพื่อกินไส้ในได้ด้วย ฤดูผสมพันธุ์ของกระซู่พบอยู่ในช่วงเดือนกรกฎาคม ตุลาคม ระยะตั้งท้องประมาณ 7 8 เดือน ซึ่งสั้นกว่าระยะตั้งท้องของแรดชนิดอื่น ๆ ซึ่งนานประมาณ 16 เดือน ทั้งนี้สันนิษฐานว่า ระยะตั้งท้องของสัตว์จะแปรตามขนาดของสัตว์ โดยเฉลี่ยแล้วน้ำหนักตัวของกระซู่นั้นจะน้อยกว่าแรดชนิดอื่นอยู่ประมาณครึ่งหนึ่ง ระยะตั้งท้องจึงสั้นกว่าแรดชนิดอื่นอยู่ครึ่งหนึ่งอีกด้วย ออกลูกท้องละ 1 ตัว ลูกแรกเกิดจะมีขนยาวทั้งตัว น้ำหนักประมาณ 25 กิโลกรัม กระซู่จะมีอายุยืนยาวประมาณ 33 ปี |
|||||||||||||||
จากความเชื่อที่ว่า นอและส่วนต่าง
ๆของกระซู่เช่นเลือดหนังของกระซู่มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงชั้นเลิศ และรักษาโรคต่าง
ๆ ได้ครอบจักรวาล อีกทั้งยังมีราคาสูงมาก ราคานอแรดไทยต่อกิโลกรัมประมาณ
120,000 บาท ทำให้กระซู่กลายถูกล่าอยู่เนือง ๆ ประกอบกับนิสัยและจำนวนของกระซู่
ซึ่งมีน้อยมาก และกระจัดกระจายกันมาก จนไม่มีโอกาสจับคู่ผสมพันธุ์ หรือแลกเปลี่ยนพันธุกรรม
เพื่อรักษาเผ่าพันธุ์กระซู่ตามธรรมชาติได้
|
|||||||||||||||