HOME | ||||||||||||||
กรูปรีเป็นสัตว์จำพวกวัวป่าที่ค้นพบใหม่ล่าสุดของโลกเมื่อประมาณ
60 ปีมานี้เองโดยศาสตร์ตราจารย์ Achille Urbain อดีตผู้อำนวยการสวนสัตว์กรุงปารีส
( Paris Vincennes Zoo ) ประเทศฝรั่งเศษ เป็นบุคคลแรกที่ได้ทำการศึกษาวัวป่าชนิดนี้อย่างเป็นทางการ
เริ่มต้นจากได้รับหัววัวสตั๊ฟที่มีเขาลักษณะประหลาดไม่เหมือนกับเขาวัวทั่ว
ๆ ไป จากสัตวแพทย์ ดร. M.Sauvel ที่ได้หัวสัตว์นี้จากทางภาคเหนือของกัมพูชา
ต่อมาได้รับลูกวัวตัวผู้ที่มีเขลักษณะประหลาดเหมือนกัน 1 ตัวจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ซึ่งจับได้จากป่า Tchep ทางภาคเหนือของกัมพูชา จึงได้ทำการส่งไปเลี้ยงดูและทำการศึกษาที่สวนสัตว์หรุงปารีส
ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1937 อีก 3 ปีต่อมา ลูกวัวตัวนี้ได้เสียชีวิตไปก่อนที่จะโตเต็มวัย
ทำให้การศึกษาและข้อมูลที่ได้รับเกี่ยวกับวัวเขาประหลาดนั้นมีไม่มากนัก
กูปรีหรือ Kouprey เป็นชื่อเรียกในภาษาเขมรที่เรียกลูกวัวป่าของศาสตราจารย์ Urbain ส่วนวัวป่าตัวโต ๆ สีเข้มคล้ำ คนเขมรส่วนใหญ่นิยมเรียกว่า Kouproh ซึ่งน่าจะเรียกเพี้ยนไปเป็นภาษาไทยว่า โครไพร หมายความว่า วัวป่า ส่วนคนลาวเรียกเรียกกรูปรีว่า วัวบา |
||||||||||||||
ลักษณะรูปร่างของกรูปรี
มีหนอกหลังเป็นสันกล้ามเนื้อบาง ๆ ไม่โหนกหนาอย่างหนอกหลังของกระทิง มีเหนียงคอเป็นแผ่นหลังห้อยยานอยู่ใต้คอ
คล้ายวัวบ้านพันธุ์เซบูของอินเดียแต่จะห้อยยาวมากกว่าโดยเฉพาะกรูปรีตัวผู้มีอายุมาก
ๆ เหนียงคอจะห้อยยาวเกือบติดพื้นดิน ใช้แกว่งโบกไปมาช่วยระบายความร้อนได้เช่นเดียวกับหูช้าง
ดั้งจมูกบานใหญ่มีรอยเป็นบั้ง ๆ ตามขวางชัดเจน รูจมูกกว้างเป็นรูปเลื่อยวงเดือน
ใบหูแคบสั้น ไม่มีสันหระบังหน้าหน้าผากอย่างกระทิงและวัวแดง ใบหน้าของกรูปรีจึงด฿เรียบแบบวัวบ้าน
หางยาว ปลายหางมีพู่ขนดกหนา สีขนตามตัวส่วนมากเป็นสีเทาในกรูปรีตัวเมีย และเป็นสีดำในตัวผู้
ส่วนลูกอายุน้อย ๆสีขนตามตัวจะเป็นสีน้ำตาลอ่อนคล้ายลูกวัวแดง เมื่ออายุมากขึ้น
อายุประมาณ 4 5 เดือน สีขนตามตัวของตัวเมียจะเปลี่ยนเป็นสีเทาหรือสีขี้เถ้า
ส่วนตัวผู้สีจะดำคล้ำขึ้นตามอายุ
ขนาดของของกรูปรี โดยเฉลี่ยแล้วตัวผู้จะใหญ่และหนักกว่าตัวเมียมาก ขนาดตัวพอ ๆ กับกระทิง แต่สูงใหญ่กว่าวัวแดง ความยาวของช่วงลำตัวถึงหัว 2.10 2.22 เมตร ความสูงที่ไหล่ 1.71 1.90 เมตร หางยาว 1 1.1 เมตร ถือได้ว่าเป็นวัวป่าที่หางยาวที่สุดของไทย น้ำหนักตัว 700 900 กิโลกรัม |
||||||||||||||
เขตการกระจายพันธุ์ของกรูปรี
พบอยู่ในแถบภาคใต้ของลาวภาคเนือและภาคตะวันตกของกัมพูชาภาคตะวันตกของเวียดนาม
และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ตามแนวชายแดนไทย กัมพูชา ในประเทศไทยเคยมีกูปรีอาศัยอยู่ตามป่าแถบเทือกเขาพนมดงรักบริเวณจังหวัดสุรินทร์ ศรีษะเกษ บุรีรัมย์ อุบลราชธานีและนครราชสีมา ซึ่งเป็นจังหวัดชายแดนซึ่งติดต่อกับกัมพูชา ต่อมาได้ลดน้อยลงจนมีรายงานการพบกรูปรีอย่างเป็นทางการครั้งสุดท้าย จำนวน 6 ตัว ในปี พ.ศ. 2491 ต่อมาก็ได้มารายงานการพบเห็นตามคำบอกเล่าของพรานป่าพื้นบ้าน คาดว่ากรูปรีจะเป็นกรูปรีที่ย้ายถิ่นไปตามชายแดนไทย กัมพูชา |
||||||||||||||
พฤติกรรมความเป็นอยู่ของกรูปรีส่วนใหญ่คล้ายกับพวกสัตว์เคี้ยวเอื้องทั่วไป
คือชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ขนาดของฝูงกรูปรีในอดีตมีถึง 30-40 ตัว มีตัวเมียอวุโสและอายุมากที่สุดเป็นผู้นำฝูงปกติชอบหากินตามป่าโปร่งหรือป่าโคกที่มีทุ่งหญ้าแล่งน้ำอุดมสมบูรณ์
ไม่ค่อนอยู่ตามป่าดิบทึบหรือป่าเขาสูง ๆ ชอบกินหญ้า ต่างๆ เป็นอาหารหลักมากกว่าใบไม้ ฤดูผสมพันธุ์ของกรูปรีเท่าที่ทราบอยู่ในช่วงเดือนเมษายน ระยะตั้งท้องประมาณ 9 เดือน ออกลูกท้องละ 1 ตัว ลูกกรูปรีแรกเกิดจะมีสีขนเป็นสีน้ำตาลคล้ายลูกวัวแดง จนอายุประมาณ 4-5 เดือน สีขนจะเริ่มเปลี่ยนไป ขนตัวเมียจะเปลี่ยนเป็นสีดำขี้เถ้า ตัวผู้ขนจะเริ่มขั้นเป็นสีดำที่บริเวณคอ ไหล่ และสะโพกก่อน ส่วนบริเวณท้องจะเป็นสีขาว เมื่ออายุมากขึ้นจะเป็นสีดำทั้งตัว |
||||||||||||||
เปรียบเทียบกับสัตว์จำพวกวัวป่าด้วยกัน
สถานการณ์ความอยู่รอดของกรูปรีอยู่ในขั้นวิกฤติที่สุดมราสวาเหตุสำคัญคือการถูกล่า
คนพื้นเมืองชอบล่ากรีเพราะเนื้ออร่อย ตัวใหญ่ หนังและเขาราคาดี และยังเชื่อว่ากระดูกที่หนอกหลังของกรูปรี
และกระทิง นำมาบดละเอียดผสมกับเหล้ากินแล้วร่างกายแข็งแรง และยังช่วยให้ร่างกายอบอุ่นอีกด้วย ในประเทศไทย นับจากรายงานว่า กรูปรีฝูงสุดท้ายจำนวน 6 ตัว ที่ป่าดงอีจาน จังหวัดบุรีรัมย์ ถูกฆ่าตายหมดในปี พ.ศ. 2491 นับจากนั้นมา จึงมีรายงานจากพรานพื้นบ้านว่า พบเห็นกรูปรีอพยพหนีน้ำท่วมในช่วงฤดูฝน เข้ามาในแถบเขาพนมดงรัก อำเภอขุขันธุ์ จังหวัดศรีษะเกษ เมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2525 จำนวน 5-6 ตัว แต่ไม่สามารถตรวจสอบยืนยันแน่ขัดได้ คาดว่ากรูปรีฝูงนั้นได้หนีกลับไปฝั่งกัมพูชาในช่วงฤดูแล้ง และไม่ได้กลับมาให้เห็นอีกเลย |
||||||||||||||