เก้งหม้อ
กลับไปหน้าแรก HOME
แมวลายหินอ่อน
สมเสร็จ
กระซู่
กรูปรี
ควายป่า
นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร
นกกระเรียน
ก้งหม้อค้นพบครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2432 โดย Leonardo Fea เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์สถานเมือง เจนัว ประเทศอิตาลี เป็นซากเก้งที่ได้จากแถบ Thagata Juva ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ของเทือกเขา Mulaiyit ในเขตตะนาวศรีของประเทศพม่า จึงได้ส่งตัวอย่างเก้งนี้ให้นักวิทยาศาสตร์ 2 ท่าน จากผลการตรวจสอบพบว่ามีลักษณะต่างจากเก้งชนิดอื่นอย่างเห็นได้ชัด จึงได้ชื่อทางวิทยาศาสตร์เป็น Cervurus feae Thomas and Doria 1989
ต่อมาในปี พ.ศ. 2506 Healtenorht ได้มีการตรวจสอบพบว่าชื่อสกุล Cerverus ตั้งชื่อซ้ำกับสกุล Muntiacus Rafinesque 1815 ซึ่งได้แพร่หลายกันมาก่อน จึงเสนอให้เปลี่ยนมาเป็น Muntiacus feae ( Thomas and Diria 1989 )
เก้งหม้อจัดอยู่ในสัตว์จำพวกกวางแท้ เนื่องจากมีกีบเท้าเป็นคู่ เท่าแต่ละข้างมีนิ้วเท้าเจริญดี 2 นิ้ว กระเพราะอาหารมี 4 ตอนทำให้สามารถสำรอกอาหารจากส่วนกระเพาะพักที่ย่อยไม่ละเอียด ขึ้นมาเคี้ยวใช่องปากให้ละเอียดได้อีก ลักษณะเขาเก้งหม้อและเขาชนิดอื่น ต่างจากกวางส่วนใหญ่ซึ่งจัดอยู่ในสกุล Cervus จึงถูกแยกออกไปรวมไว้ในสกุล Muntiacus โดยพิจารณาจากลักษณะเฉพาะ คือ ลักษณะเขาบนหัว ตัวเล็กสั้น แต่ฐานเขา ( Pedicel ) ยาวมาก ตัวผู้มีเขี้ยวขนาดใหญ่และยาวโค้งที่ขากรรไกรบน กระดูกดั้งจมูกยกเป็นสันสูง จมูกของเก้งจึงเห็นนูนเป็นสันขึ้นมา ไม่เรียบอย่างจมูกกวางทั่ว ๆ ไป
กวางผา
ละมั่ง
แรด
พะยูน
เลียงผา
เนื้อสมัน
นกกระแต้วแล้วท้องดำ
รูปร่างลักษณะทั่วไปของเก้งหม้อคล้ายกับฟานหรือเก้งธรรมดา ( Common Barking Deer , Muntiacus muntjak ) มีขนาดตัวไล่เลี่ยกัน ขนาดตามตัวสั้นเกรียนและละเอียดนุ่ม ดั้งจมูกเป็นสันยาว มีแอ่งน้ำตาขนาดใหญ่ขอบแอ่งเป็นสันยกสูงอยู่บริเวณหัวตา ตัวผู้มีเขี้ยวขนาดใหญ่และยาวโค้งที่ขากรรไกรบน ใช้เป็นอาวุธต่อสู้ป้องกันตัวเองได้ ลักษณะเขาบนหัว ตัวเขาสั้น แต่ฐานยาวมากและมีขนหุ้มเต็มด้วย ช่วงโคนของฐานเขาแต่ละข้างจะยาวทอดเห็นเป็นรูปสันนูนลงไปตามความยาวของใบหน้า
ลักษณะเด่นเฉพาะเก้งหม้อ รูปร่างของเขาเก้งฟานคือ เป็นเขาสั้น ๆ มี 2 กิ่ง กิ่งหน้าสั้น กึ่งหลังยาว แต่โดยเฉลี่ยแล้วเขามีขนาดเล็กและสั้นกว่า ลักษณะเขามีกิ่งหน้าหรือกิ่งรับหมาแตกไปข้างหน้าเป็นกิ่งสั่น ๆ ดูคล้ายกับเป็นกิ่งแขนงของลำเขา ซึ่งยาวกว่าและแตกไปด้านหลัง บริเวณหน้าผากระหว่างสันของของฐานขาทั้งคู่จะมีพู่ขนเป็นกระจุยยาวสีดำตล้ำ นอกจากนี้สีขนตามตัว ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญเฉพาะของเก้งหม้อและแตกต่างไปจากเก้งฟานเด่นชัด
ขนาดของเก้งหม้อ ขนาดตัวยาวประมาณ 88 เซนติเมตร หางยาวประมาณ 10 เซนติเมตร ช่วงขาหลังยาวประมาณ 23 เซนติเมตร น้ำหนักตัวประมาณ 22 กิโลกรัม

ศูนย์กลางการกระจายพันธุ์ของเก้งหม้ออยู่ในแถบเทือกเขาตะนาวศรี บริเวณรอบต่อพรมแดนไทย – เมียนม่าร์ เขตการกระจายพันธุ์มีอยู่ในแถบภาคใต้ของเมียนม่าร์ บริเวณเมืองหวาย เมย อัมเฮิร์สท์ และท่าท่อน ส่วนในประเทศไทยพบว่าในแถวภาคตะวันตก ตั้งแต่เขตจังหวัดตาก ใต้ลงมาถึงจังหวัดราชบุรีและต่อลงมาถึงเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานีแถบแหลมมาลายู
สัยของเก้งบ้านชอบอาศัยอยู่ตามป่าดิบชื้นรกทึบตามเขาสูง ไม่ค่อยชอบ อยู่ป่าโปร่งหรือทุ่งโล่งอย่างเก้งฟาน ชาวบ้านบางคนจึงเรียกว่า “ เก้งดง “ มักพบอาศัยอยู่ตามลำพังตัวเดียว ชอบออกหากินตามทุ่งโล่งในตอนกลางคืน อาหารได้แก่ ใบไม้ต่าง ๆ หน่อไม้ หญ้าและลูกไม้ตามพื้นป่า พฤติกรรมความอยู่นอกจากนี้ยังไม่ทราบแน่นอน แต่คาดว่าน่าจะคล้ายคลึงกันกับฟาน ระยะตั้งท้องประมาณ 6 เดือน ออกลูกท้องละ 1 ตัวนิ
เนื่องจากเก้งเป็นสัตว์ที่ชอบออกหากินในตอนกลางวัน เนื้อมีรสชาติดี เป็นที่นิยมของพวกพรานป่า เก้งหม้อจึงถูกล่าได้ง่าย แต่สาเหตุสำคัญที่ทำให้ประชากรของเก้งลดน้อยลงอย่างรวดเร็วคือ เก้งหม้อมีขอบเขตการกระจายพันธุ์จำกัดอยู่ตามป่าดิบทึบตามเขาสูง ไม่สามารถปรับตัวอาศัยถูกบุกรุกทำลายเปลี่ยนเป็นพื้นที่เกษตรกรรมหรือการเก็บกักน้ำเหนือเขื่อนขนาดใหญ่ ทำให้จำนวนเก้งหม้อน้อยลงและสูญพันธุ์ไปแล้วในหลายพื้นที่ แตกต่างจากเก้งฟาน ซึ่งสามารถมีชีวิตรอดแพร่ขยายพันธุ์ได้อย่างกว้างขวาง