นกเจ้าฟ้าหญิงศิรินธร
กลับไปหน้าแรก HOME
แมวลายหินอ่อน
สมเสร็จ
กระซู่
กรูปรี
เก้งหม้อ
ควายป่า
นกกระเรียน
กวางผา นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร เป็นนกในวงศ์นกนางแอ่นชนิดใหม่ล่าสุดของโลก และเป็นนกชนิดแรกที่ค้นพบใหม่โดยคนไทย ทำการศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบและจำแนกตัวอย่างต้นแบบโดยคนไทยและตั้งชื่อวิทยาศาสตร์โดยคนไทย โดยได้อันเชิญพระนามของเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรเทพรัตนสุดา ( พระยศในขณะนั้น ) มาตั้งเป็นชื่อชนิดของนกที่พบใหม่นี้คือ “ Sirintarae ”
            นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรถูกพบครั้งแรกโดย คุณกิตติ ทองลงยา นักวิทยาศาสตร์ไทย ตำแหน่งภัณฑารักษ์ สัตว์มีกระดูกสันหลังบนบก ศูนย์รวมวัสดุอุเทศแห่งประเทศไทย สถาบันวิจัยศาสตร์ประยุกต์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2511 โดยได้นกตัวอย่างแรกนี้ปะปนมากับนกนางแอ่นชนิดอื่น ๆ ที่ชาวบ้านจับมาขายจากบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งในครั้งนั้นสามารถเก็บรวบรวมนกจากแหล่งเดิมจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ในปีเดียวกัน ได้นกตัวอย่างต้นแบบในการศึกษาวิเคราะห์ทั้งหมดรวม 10 ตัว ภายหลังจากการถูกค้นพบแล้ว มีรายงานพบนกที่ถูกจับมาขายอีก 2 ครั้ง ต่อมาในปี 2515 ได้พบนกจำนวน 2 ตัว และครั้งสุดท้ายพบเพียง 1 ตัวในปี 2521 นับจากนั้นยังไม่มีรายงานการพบเห็นอย่างเป็นทางการหรือถูกดักจับได้อีกจนถึงปัจจุบัน
ละมั่ง
แรด
พะยูน
เลียงผา
เนื้อสมัน
นกกระแต้วแล้วท้องดำ
ลักษณะทั่วไปของนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรต่างไปจากนกนางแอ่นทั่ว ๆ ไป แต่มีรูปร่างคล้ายและจำแนกอยู่ร่วมสกุลเดียวกับนกนางแอ่นเทียมคองโก ( pseudochelidon eurystomina ) ซึ่งเป็นนกนางแอ่นที่มีถิ่นที่อยู่เฉพาะในแถบลุ่มแม่น้ำคองโก ประเทศซาอีร์ ตอนกลางของทวีปแอฟริกาตะวันตกเท่านั้น ส่วนลักษณะที่แตกต่างกันเด่นชัด ได้แก่ สีขนตามตัวทั่วไปเป็นสีดำออกเหลืองเขียวหรือน้ำเงินเข้มบริเวณหน้า ผากมีขนสีดำคล้ายกำมะหยี่ ขอบตาขาว ตา และม่านตาเป็นสีขาว มีสีชมพูเรื่อ ๆ เป็นวงในม่านตา แข้งและขาสีชมพู บริเวณสะโพกสีขาว ขนหางสั้นมนกลม ขนหางคู่กลางมีแกนยื่นออกมาคล้ายหางบ่วงเห็นชัดเจน และขนบริเวณใต้คอเป็นสีน้ำตาลอมดำ
           ขนาดของนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร วัดจากจงอยปากถึงโคนหางยาวประมาณ 15 เซนติเมตร จัดเป็นนกนางแอ่นขนาดใหญ่ และจากลักษณะที่มีวงสีขาวรอบตา ทำให้ดูคล้ายตาโปนพองออกมา ชาวบ้านจึงเรียกชื่อว่า “ นกตะพอง ”

มีรายงานว่าการพบตัวเพียงแห่งเดียวที่บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ ในช่วงฤดูหนาวเดือนพฤษจิกายน – มีนาคม จัดเป็นนกเฉพาะถิ่น 1 ใน 2 ชนิดของไทย
นิสัยทั่วไปของนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรค่อนข้าง เชื่องไม่ปราดเปรียว และชอบชอบเกาะนิ่งอยู่กับพื้นซึ่งแตกต่างกับนกนางแอ่นชนิดอื่น ๆ ในช่วงฤดูหนาวมักพบเห็นอยู่ปะปนกับฝูงนกนางแอ่นบ้าน นกกระจาบและนกกระจาบปีกอ่อนตมพงอ้อและดงต้นสนุ่นตามแหล่งน้ำตื้น ๆ ไม่มีรายงานการพบเห็นหรือจับตัวได้ในช่วงฤดูร้อน จึงคาดว่านกฟ้าหญิงสิรินธรจะอพยพมาหากินตามแหล่งน้ำตื้นใกล้ชายฝั่งในช่วงฤดูหนาว ทำให้ถูกดักจับด้วยตาข่ายได้เนือง ๆ จากหลักฐานข้อมูลที่ได้กล่าวไว้ว่า นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรเป็นนกเฉพาะถิ่นของบึงบอระเพ็ดในช่วงฤดูหนาว
            การจับคู่ผสมพันธ์และทำรังวางไข่ของนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร ไม่ทราบแน่นอน แต่ทราบว่าน่าจะคล้ายกับนกนางแอ่นเทียมคองโกของแอฟริกา ซึ่งมีการจับคู่ผสมพันธุ์และทำรังวางไขาในช่วงฤดูร้อน โดยจะทำรังไข่โดยการขุดรูตามพื้นหาดทราย หรือหาดทรายบนเกาะกลางน้ำ ซึ่งมีพบอยู่มากทางตอนเหนือของบึงบรเพ็ดขนากของรุรังลึก 1-2 เมตร วางไข่ชุดละ 2-3 ใบ
  ภายหลังจากที่ไม่มีการพบเห็นนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรใน บึงบอระเพ็ดมาเป็นเวลา 15 ปีทำให้เชื่อว่า นกชนิดนี้อาจสูญพันธุ์ไปจากบึงบอระเพ็ด ซึ่งหมายถึงสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยและจากโลกไปแล้วหรืออาจจะยังหลงเหลืออยู่บ้าง แต่ก็น้อยมาก ทั้งนี้มีสาเหตุมารจากนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรเป็นนกโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่ค่อนข้างน้อย แล้วยังถูกล่าหรือถูกดักจับไปพร้อมนกนางแอ่นชนิดอื่น ๆ ประกอบกับแหล่งที่อยู่อาศัยถูกทำลายไปโดยการประมงและการเปลี่ยนแปลงของหนองบึงเป็นนาข้าวหรือทุ่ง เลี้ยงสัตว์ รวมถึงการควบคุมน้ำในบึเพื่อการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ล้วนส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตและการอยู่รอดของนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรเป็นอย่างยิ่ง