HOME | ||||||||||||
แมวลายหินอ่อน | ||||||||||||
สมเสร็จ | ||||||||||||
กระซู่ | ||||||||||||
กรูปรี | ||||||||||||
เก้งหม้อ | ||||||||||||
ควายป่า | ||||||||||||
นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร | ||||||||||||
กวางผา | ||||||||||||
เป็นนกขนาดใหญ่ รูปร่างคล้ายนกกระสา คอยาว ขายาว จงอยปากยาวตรงปรายเรียวแหลมแตกต่างกันเด่นชัดที่ขนปีกบินกลางปีก (Secondaries) ยาวคลุมเลยปลายขนหาง ส่วนขนปีกบินกลางของนกกระสาจะสั้นกว่า คลุมไม่ถึงปลายขนหางส่วนใหญ่ขนของลำตัวเป็นสีเทา แต่ขนปลายปีกสีค่อนข้างดำ คอตอนบนและหัวเป็นหนังเปลือยเปล่าสีแดง ไม่มีขน ตอนหน้าผากและตอนบนของหัวนั้นเป็นหนังสีเขียวอ่อนๆข้างแก้มและท้ายทอย ผิวหนังเป็นสีแดงเข้ม ม่านตาสีเหลืองเข้ม ปากสีดำแกมเขียว แข้งและนิ้วเท้าสีชมพูเรือๆ นกที่อายุยังน้อยมีขนอุยสีน้ำตาลที่หัวและคอด้วย ขนาดลำตัวมีความยาวประมาณ 152 ซ.ม.สูงราว150 ซ.ม. เป็นนกที่สูงและใหญ่ที่สุดในประเทศไทย | ||||||||||||
ละมั่ง | ||||||||||||
แรด | ||||||||||||
พะยูน | ||||||||||||
เลียงผา | ||||||||||||
เนื้อสมัน | ||||||||||||
นกกระแต้วแล้วท้องดำ | ||||||||||||
นกกระเรียนไทยในสมัยก่อนเป็นนกที่พบเห็นได้ประปราย ตามทุ่งนาแทบทุกภาคของประเทศไทย ชอบอาศัยหากินตามพื้นที่ชุ่มน้ำเช่น หนอง บึง ทุ่งนา ทุ่งหญ้าที่น้ำขัง ทุ่งหญ้าโล่งๆในบางครั้งพบหากินตามชายฝั่งของแม่น้ำด้วย เหตุที่นกกระเรียนชอบอาศัยและเดินหากินในที่โล่งๆ ไม่ขึ้นไปเกาะต้นไม้อย่างนกอื่นๆ เพราะไม่มีนิ้วเท้าหลังเพื่อใช้ประโยชน์ในการเกาะ จึงเป็นนกที่ไม่สามารถเกาะบนต้นไม้ได้ ต้องใช้ชีวิตอยู่บนที่โล่ง ในขณะที่กระแสการพัฒนาพื้นที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้แหล่งอาศัยหากินเปลี่ยนแปลงสภาพ จากพื้นที่ชุ่มน้ำไปสู่พื้นที่เพื่อการเกษตรพื้นที่ อุตสาหกรรมพื้นที่เมือง เป็นต้น จึงทำให้ประชากรของนกถูกจำกัดบริเวณในการหากินหรือย้ายแหล่งหากินไปในถิ่นอื่น | ||||||||||||
นกกระเรียนไทยซึ่งเข้าใจว่าสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทย
เป็นนกประจำถิ่นของประเทศไทยเป็นนกที่ชอบไปไหนมาไหนเป็นฝูงใหญ่ ฝูงนกกระเรียนไทยจะบินเป็นแถวรูปตัววี
(V) หรือบางทีก็เป็นแถวหน้าหระดาน โดยนกที่บินนำหน้าจะส่งเสียงร้องเพื่อเตือนให้นกตัวอื่นๆบินอยู่ในแถวหรือบินจับกลุ่มไว้
เสียงร้องจะดังมาก ตามปกตินกกระเรียนไทยจะบินสูงมาก แต่จะสูงมากน้อยขนาดไหนนั้นขึ้นอยู่กับทิศทางของลม
ในเวลาบินคอนกกระเรียนไทยจะยืดยาวออกไปข้างหน้าและขายื่นไปข้างหลัง เช่นเดียวกับพวกนกกระสา
ในบางครั้งมันก็พากันบินร่อนเป็นวงกลมอีกด้วย นกกระเรียนไทยจะกระพือปีกลงช้าๆ
สลับกับกระพือปีกขึ้นอย่างรวดเร็ว มมันไม่ชอบร่อนนอกจากในเวลาที่จะลงพื้นดิน นกกระเรียนไทยมักจะร้องบ่อยในช่วงฤดูผสมพันธุ์ และในขณะบินข้ามถิ่น เสียงร้องดังก้องและได้ยินได้ในระยะไกล ในขณะบินเสียงร้องอันดังก้องนี้จะเป็นตัวในการควบคุมนกแต่ละตัวให้บินได้โดยไม่แตกจากฝูง ส่วนในเวลาที่มันกำลังหากินบนพื้นดิน บางครั้งก็ส่งเสียงร้องเหมือนกัน โดยทั่วๆ ไป นกกระเรียนไทยจะผสมพันธุ์กันในระหว่างเดือนกรกฎาคม-กันยายน ซึ่งตรงกับฤดูฝนนกกระเรียนไทยเป็นนกที่หวงแหนแหล่งผสมพันธุ์ของมันมาก และจะกลับมายังแหล่งผสมพันธุ์เดิมของมันยกเว้นแหล่งผสมพันธุ์จะถูกทำลายจนหมดสภาพไปแล้ว นกกระเรียนไทยจะวาไข่ครั้งละประมาณ 2 ฟอง แต่บางครั้งก็ฟองเดียว มีน้อยครั้งที่จะวางไข่ถึง 3 ฟอง ไข่มีลักษณะรูปไข่ยาว สีขาวแกมฟ้าหรือเขียวอ่อน บางทีไม่มีจุด บางทีมีจุดสีน้ำตาลหรือม่วงจางๆ ไข่ยาวเฉลี่ย 101.1 มม. กว้าง 63.8 มม. หนักประมาณ 120-170 กรัม ระยะเวลาในการกกไข่จะอยู่ในช่วงระหว่าง 28-30 วัน ถึงแม้จะวางไข่ครั้งละประมาณ 2 ฟอง แต่จะรอดตายเพียงครั้งเดียว ลูกนกจะได้รับการเลี้ยงดูจากพ่อนกประมาณ 2.5-3 เดือน ลูกนกจึงจะเริ่มบินได้ นกกระเรียนไทยจะโตเต็มวัยและเริ่มจับคู่ผสมพันธุ์เมื่ออายุประมาณ 3-5 ปี การทำรัง นกกระเรียนไทยจะทำรังบนพื้นดินด้วยหญ้าแห้งและใบไม้มากองสุมกันขนาดใหญ่ กว้างประมาณ 60-240 ซ.ม. โดยมีที่กำบังมิดชิดและยากที่จะเข้าถึงได้ง่าย เพราะอยู่บนพื้นดินกลางหนอง บึงหรือมีน้ำแฉะๆ ล้อมรอบ ทั้งนกตัวผู้และนกตัวเมียจะช่วยกันทำรังและเลี้ยงดูลูกอ่อน ลูกนกจะอยู่กับพ่อแม่นกประมาณ 9 เดือน จึงจะแยกออกไปหากินเอง พอถึงฤดูผสมพันธุ์ลูกนกจะกลับมารวมฝูงอีกครั้งหนึ่ง |
||||||||||||
นกกระเรียนไทยได้สูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยนานมาแล้ว
ปัจจุบันนกกระเรียนไทยได้ถูกให้จัดให้เป็นสัตว์ป่าสงวน ตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า
พ.ศ.2535 ซึ่งเป็นหนึ่งใน สิบห้าชนิดสัตว์ป่าสงวนของไทย ทั้งนี้เพราะคนสมัยก่อนได้ล่ายิงกันมาก
รวมทั้งถิ่นที่อยู่อาศัยของมันก็ถูกคุกคาม จนกระทั่งไม่สามารถดำรงชีวิตและอาศัยอยู่ได้
โดยได้หายสาปสูญไปจากประเทศไทยกว่า 20 ปีมาแล้ว ปัจจุบันกรมป่าไม้ได้พยายามนำนกกระเรียนไทยกลับสู่ ถิ่นเดิมของมันในประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง โดยความริเริ่มของมูลนิธิสากลเพื่อการอนุรักษ์นกกระเรียน(International Crane Foundation) หรือ ICF แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ร่วมกับกรมป่าไม้ โดยมีการศึกษาและขยายพันธุ์ตามโครงการอนุรักษ์นกกระเรียนที่เขตห้ามล่า สัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำบางพระ จังหวัดชลบุรี หากการศึกษาขยายพันธุ์ ได้นกกระเรียนเป็นจำนวนมาก กรมป่าไม้มีโครงการนำ นกกระเรียนไทยเหล่านั้นไปปล่อยตามแหล่งเดิม ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นแหล่งอาศัยและหากินตามธรรมชาติ เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ |
||||||||||||