สินค้าประเภทอันตราย หมายถึง วัตถุหรือสิ่งของที่โดยคุณสมบัติของมันเองก่อให้เกิดอันตราย
ต่อสุขภาพของมนุษย์ ความปลอดภัย หรือทรัพย์สินได้ การขนส่งทางอากาศกระทำได้โดยจำกัดปริมาณ
การบรรจุตามวิธีการบรรจุที่ระบุไว้ในระเบียบปฏิบัติว่าด้วยการขนส่งสินค้าอันตราย ซึ่งการจัดประเภท
ของสินค้าอันตรายถูกกำหนดจากลักษณะของความอันตรายของสารนั้น ทั้งนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 9
ประเภท ดังนี้


Class 1: วัตถุระเบิด




วัตถุระเบิด จำแนกออกเป็น 6 ชนิดดังนี้
1.1 สารที่ก่อให้เกิดอันตรายจากการระเบิดอย่างรุนแรง
1.2 สารที่ก่อให้เกิดอันตรายโดยการกระจายของสะเก็ดเมื่อเกิดการระเบิด
1.3 สารที่ก่อให้เกิดอันตรายจากเพลิงไหม้และตามด้วยการระเบิด
1.4 สารที่การระเบิดไม่มีการกระจายของสะเก็ด ผลของการระเบิดจำกัดเฉพาะในหีบห่อ
1.5 สารที่ไม่ไวต่อการระเบิด แต่เมื่อเกิดการระเบิดจะเกิดอันตรายอย่างรุนแรง
1.6 สารที่เฉื่อยต่อการระเบิด ซึ่งผลจากการระเบิดไม่รุนแรง

Class 2: ก๊าซอัด



ก๊าซอัด จำแนกออกเป็น 3 ชนิดดังนี้
2.1 ก๊าซไวไฟ
2.2 ก๊าซไม่ไวไฟ
2.3 ก๊าซพิษ


Class 3: ของเหลวไวไฟ



Class 4: ของแข็งไวไฟ



ของแข็งไวไฟ จำแนกออกเป็น 3 ชนิดดังนี้
4.1 สารที่ลุกไหม้ได้เองจากการเสียดสี หรือปฏิกิริยาของสารเอง
4.2 สารที่ลุกไหม้ได้เองเมื่อสัมผัสกับอากาศ
4.3 สารที่ลุกไหม้ได้เองเมื่อสัมผัสกับน้ำหรือความชื้น


Class 5: สารออกซิไดส์และสารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์



สารออกซิไดส์และสารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์ จำแนกออกเป็น 2 ชนิดดังนี้
5.1 สารออกซิไดส์ซึ่งจะช่วยให้สารอื่นติดไฟได้โดยการให้ออกซิเจน
5.2 สารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์ซึ่งสามารถลุกไหม้ได้เมื่อได้รับความร้อนหรือการเสียดสี


Class 6: สารพิษและสารเชื้อโรค



สารพิษและสารเชื้อโรค จำแนกออกเป็น 2 ชนิดดังนี้
6.1 สารที่เป็นพิษเมื่อหายใจ, กลืนกิน หรือสัมผัส
6.2 จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคกับมนุษย์และสัตว์


Class 7: สารกัมมันตรังสี



Class 8: สารกัดกร่อน



Class 9: สารอันตรายอื่นๆ


.....ผู้ส่งจะต้องติดต่อหน่วยงานสินค้าขาออกก่อนที่จะส่งสินค้าที่เป็นอันตรายล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วัน
โดยส่งเอกสารสำคัญต่างๆที่เกี่ยวข้อง มีรายละเอียดต่างๆ ดังต่อไปนี้

  1. ชนิดวัตถุ หมายเลขวัตถุอันตราย (ถ้ามี) ชื่อโดยทั่วไป และทางวิชาการของวัตถุนั้น
  2. จำนวนน้ำหนักสุทธิของสิ่งของนั้น ต่อภาชนะบรรจุภายใน จำนวนภาชนะบรรจุภายในต่อหีบห่อ
  3. จำนวนหีบห่อ และน้ำหนักรวมของวัตถุนั้น ต่อรายการสินค้า
  4. ลักษณะการบรรจุ และวัสดุที่ใช้ทำภาชนะบรรจุภายใน และหีบห่อภายนอก
  5. ชื่อ และ หมายเลขโทรศัพท์ ผู้รับ ผู้ส่ง ที่รับผิดชอบโดยตรงเกี่ยวกับการขนส่งวัตถุอันตราย

โดยผ่านทางเครื่องโทรสาร หมายเลข 535-5512 หรือ 535-5218 เพื่อทางหน่วยงานสินค้าขาออก
ทำการขึ้น telex เพื่อขออนุมัติสินค้าที่เป็นอันตรายขึ้นเครื่อง
ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้รับทราบก่อนที่
จะทำการขนส่งขึ้นเครื่อง และผู้ส่งจะต้องมีใบ Shipper 's Declaration for Dangerous Goods
แสดงพร้อมสินค้าที่เป็นวัตถุอันตราย ที่บรรจุอยู่ภายในกล่องที่ UN รับรองมาตรฐาน ผู้ขนส่งสามารถ
ปฏิเสธการรับสินค้าที่เป็นวัตถุอันตรายขึ้นเครื่อง หากตรวจพบว่าไม่ตรงตามกฏระเบียบว่าด้วยสินค้า
ที่เป็นสินค้าอันตรายที่บรรทุกโดยทางเครื่องบิน และผู้ส่งจะต้องเสียค่าธรรมเนียมสำหรับการขนส่ง
สินค้าที่เป็นวัตถุอันตราย 700 บาท ต่อ 1 AWB.

 

      ตรวจสอบเที่ยวบินสำหรับการขนส่งสินค้าที่เป็นอันตรายทางอากาศ
     ภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาคใต้

  สอบถามข้อมูลการขนส่งสินค้าวัตถุที่เป็นอันตรายทางอากาศเพิ่มเติมที่หมายเลข 535-2078 และ
535-4819 ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง

2544 ลิขสิทธิ์ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) - ฝ่ายการพาณิชย์สินค้าและไปรษณียภัณฑ์