|
|
|
การสร้าง
|
การทำแบบ(Template)
สำหรับตัดปีกโฟม |
ประวิช 7/5/45 |
|
ตอนนี้จะว่าถึงการทำแผ่นแบบของ
Airfoil (airfoil template) เพื่อใช้ในการตัดปีกโฟม
ขั้นแรกจะต้องหาแบบ airfoil ที่จะมาทำแบบ โดยทั่วไปหน้าตา airfoil จะมีให้ในแปลนเครื่องบินที่เราจะสร้าง
เมื่อได้ airfoil แล้วให้นำแปลนส่วนนั้นไปถ่ายเอกสาร เพื่อนำ airfoil มาทำแบบ
อีกวิธีคือถ้าเรารู้ว่า airfoil นั้นเป็นเบอร์อะไร เราสามารถวัดระยะ chord
(คือระยะจากชายหน้าปีกถึงชายหลังปีก) จากแบบ แล้วนำไปใส่ในโปรแกรมที่วาด(Plot)
รูปแบบ airfoil ดังรูปที่ 1
|
รูปที่1
วัสดุ อุปกรณ์ ต่างๆ ในการทำ Template และ Template แบบ 2 ชิ้น |
ต่อมาคือ หาสิ่งที่จะนำมาทำเป็นแบบ มีวัสดุหลายอย่างที่ใช้ทำเป็นแบบได้ เช่น
ไม้ฉลุ แผ่นไม้เทียม(กระดาษอัด) อลูมิเนียม หนา 3-5 มม.สำหรับไม้ และ 1-2 มม.สำหรับอลูมิเนียม
เป็นต้น (เพื่อนนักบินบางท่านเคยบอกว่าไม้บัลซ่าก็ใช้ทำได้) เมื่อได้วัสดุที่ต้องการแล้ว
ให้นำ airfoil มาแปะติดด้วยกาวแท่งติดกระดาษ จากนั้นใช้เลื่อยฉลุ ตัดเป็นรูป
airfoil ตามที่ต้องการ เวลาสร้างแบบต้องสร้างสองชุดคือ ชุดหนึ่งสำหรับโคนปีก(Wing
Root) อีกชุดสำหรับปลายปีก(Wing Tip) จากนั้นใช้กระดาษทรายเบอร์ 200 ขัดขอบให้เรียบ
ตามด้วยเบอร์ 400 เพื่อให้เรียบสนิท เวลาขัดต้องเอามือลูบเป็นระยะจนกระทั้งไม่พบการสะดุดของขอบที่ตัดเป็นอันใช้ได้
(ถ้ามีรอยสะดุดอยู่เวลาตัดโฟม อาจทำให้เกิดรอยสะดุดบนโฟมได้) จากนั้นขัดขอบด้านข้างของแบบเล็กน้อย
|
ขัดขอบให้มน ช่วยลดการสะดุด |
เพื่อลดโอกาสสะดุดให้น้อยลง อาจใช้เทียนไขขัดที่ขอบเพื่อไม่ให้ฝืด
|
การสะดุดที่เกิดบนโฟม |
เมื่อเรียบร้อยแล้วทำการเจาะรูที่แบบเพื่อให้ตะปูยึดแบบติดกับโฟม สัก 4-5 รู
โดยขนาดของรู้ใหญ่กว่าเส้นผ่าศูนย์กลางของตะปูเล็กน้อย การสร้างแบบ airfoil
มีแนวทางการสร้างสองแบบคือ การตัดเป็นแบบชิ้นเดียว กับการทำเป็นแบบสองชิ้น
โดยแบบสองชิ้น ชิ้นที่หนึ่งตัดขอบผิวโฟมด้านบน และชิ้นที่สองใช้ตัดผิวโฟมด้านด้านล่าง
(ดูรูปที่ 1) ทั้งสองแบบมีข้อดีข้อเสียต่างกัน แบบชิ้นเดียวนั้นสะดวก และประหยัด
เพราะเวลาสร้างแบบจะใช้ สองอัน คือที่โคนและที่ปลายอีก
|
Template แบบชิ้นเดียว |
ส่วนแบบสองชิ้นจะต้องทำแบบที่สำหรับโคนปีกหนึ่งคู่ ปลายปีกอีกหนึ่งคู่ เวลาตัดต้องเปลี่ยนแบบด้วย
ส่วนข้อดีของแบบสองชิ้นคือ แบบจะมีฐานเวลาตัดโฟมจะให้ความแม่นยำกว่าแบบชิ้นเดียว
เหตุผลเพราะเวลาตัดโฟมจะต้องออกแรงกดลงบนแบบ กรณีที่เป็นแบบชิ้นเดียวอาจทำให้แบบเลื่อนลง
ผลทำให้ airfoil ของปีกเพี้ยนไป แต่บางคนที่มีมือที่เที่ยงก็สามารถตัดปีกด้วยนี้ได้ดี
ส่วนแบบสองชิ้นเนื่องจากมีฐานดังนั้นแรงกดจึงไม่มีผลมากนัก นอกจากนี้ถ้าตัดปีกโดยจะบุผิวปีกด้วยไม้บัลซ่า
จะต้องตัดขอบแบบออกไปเท่ากับความหนาของไม้บัลซ่าดังรูป
|
ความหนาระหว่างเส้นปะสีชมพู กับเส้นทึบสีดำ จะเท่ากับความหนาของไม้บัลซ่า
(โดยทั่วไปจะใช้ไม้หนา 1.5 มม.) เวลาทำแบบ ให้ตัดตามแนวเส้นทึบ |
สุดท้ายการสร้างแบบควรกำหนดตัวเลขแบ่งส่วนความยาวออกเป็น 10 ส่วน (ดังรูปที่
1) เพราะเวลาตัดปีกบางครั้งต้องใช้คนตัดสองคนช่วยกัน ตัวเลขจะช่วยให้คนสองคนตัดแบบด้วยความเร็วเท่าๆ
กัน
|
|
|