ปาราชิก
เกี่ยวกับการสละสมณเพศหรือการลาสิกขาบทจากการเป็นพระภิกษุ
ตามพระธรรมวินัยนั้น
ต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่า
บุคคลนั้นต้องเป็นพระภิกษุ
และต้องอาบัติปาราชิกสี่ข้อใดข้อหนึ่ง
แม้จะ
ไม่กล่าวลาสิกขาบทก็ถือว่าขาดจากความเป็นพระภิกษุทันทีเมื่อความผิดสำเร็จ
(ตามพระไตรปิฎก
ภาษาไทย
ฉบับหลวง
เล่ม 1
ข้อที่ 10-300)
ปาราชิกสี่
คือ
1.
เสพเมถุน
2.เอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ตั้งแต่
5
บาสกขึ้นไป
3.
ฆ่ามนุษย์
4.
อวดอุตริมนุษสธรรมอันไม่มีในตน
การบอกลาสิกขาบทตามพระธรรมวินัยองค์ประกอบ
2 ประการคือ
1.
บุคคลนั้นมี
"การกระทำเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง"
หมายความว่า
ไม่ประสงค์เป็นพระภิกษุอีกต่อไป
มีอาการเบื่อหน่ายเพศสมณะ
ประสงค์จะเป็นคฤหัสถ์
(ตามพระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับหลวง
เล่ม 1
ข้อที่
30)
2.
มีการเปล่งวาจาให้ผู้อื่นทราบว่าตนเองมีเจตนาลาสิกขาบทจริง
การกล่าวนั้นต้องชัดเจน
ไม่กำกวม
ไม่มีข้อแม้
ไม่ใช่เพราะถูกบังคับ
มิฉะนั้นจะยังไม่ขาดจากความเป็นพระภิกษุ
(ตามพระไตร
ปิฎกภาษาไทย
ฉบับหลวง
เล่ม 1
ข้อที่ 30 และ 31)
การกล่าวเพราะฟุ้งซ่าน
เพราะไม่เข้าใจ
กล่าวเล่น ๆ
ไม่ขาดจากความเป็นพระภิกษุ
(ตามพระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับหลวง
เล่ม 1
ข้อที่ 32)
แต่อย่างไรก็ตาม
การวินิจฉัยคดีของศาลที่เคยปฏิบัติมา
มักจะวินิจฉัยคำว่า
"สละสมณเพศ"
ในรูปแบบของการแต่งกายเท่านั้นว่า
เมื่อจำเลยยินยอมเปลื้องสบงจีวรออก
ถือว่าจำเลยลาสิกขาบทแล้ว
โดยไม่ได้วินิจฉัยลึกไปถึงขั้นตอนการลาสิกขาบทตามพระธรรมวินัยข้างต้น
เช่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
1798/2542
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
4499/2539
(สรุปย่อมาจากหมายเหตุท้ายคำพิพากษาศาลฎีกาของสำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
เล่ม 4
หน้า
178-180
โดยท่านประคอง
เตกฉัตร)
|