อาญา

http:www.oocities.org/thailegal ศูนย์รวมความรู้ทางด้านกฎหมายไทย Update everyweek

<Home> <Webboard> <Guestbook> <Condition> <About Me>
 <
แพ่งและพาณิชย์> <อาญา> <วิธีพิจารณาความแพ่ง> <วิธีพิจารณาความอาญา> <คำคม>
 <
Education> <Legal Word> <Coffee Break><The Rule of Law>

 

เรียกค่าไถ่

            ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 313 บัญญัติว่า "ผู้ใดเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่

            (1) เอาตัวเด็กอายุไม่เกิน 15 ปีไป

            (2) เอาตัวบุคคลอายุกว่า 15 ปีไป โดยใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ใช้กำลัง

ประทุษร้าย ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการอื่นใด หรือ

            (3) หน่วงเหนี่ยวหรือกักขังบุคคลใด

            ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สามหมื่นบาทถึง

สี่หมื่นบาท หรือจำคุกตลอดชีวิต หรือประหารชีวิต

            ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคแรกเป็นเหตุให้ผู้ถูกเอาตัวไป ผู้ถูกหน่วงเหนี่ยว

หรือผู้ถูกกักขังนั้นรับอันตรายสาหัส หรือเป็นการกระทำโดยทรมาน หรือโดยทารุณ

โหดร้าย จนเป็นเหตุให้ผู้ถูกระทำนั้นรับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ผู้กระทำต้องระวาง

โทษประการชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต

            ถ้าการกระทำความผิดนั้นเป็นเหตุให้ผู้ถูกเอาตัวไป ผู้ถูกหน่วงเหนี่ยว หรือ

ผู้ถูกกักขังนั้นถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต"

            มาตรา 1(13) บัญญัติว่า "ค่าไถ่" หมายความว่า ทรัพย์สินหรือประโยชน์

ที่เรียกเอาหรือให้เพื่อแลกเปลี่ยนเสรีภาพของผู้ถูกเอาตัวไป ผู้ถูกหน่วงเหนี่ยว

หรือผู้ถูกกักขัง

            ศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับเรื่องการหน่วงเหนี่ยวกักขังตัวผู้เสียหาย

ไว้เพื่อให้ผู้เสียหายชำระหนี้ทางแพ่ง เป็นคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7742/2542 

ว่า

            ผู้เสียหายเบิกความรับว่า ผู้เสียหายเคยเป็นหนี้ค่าจ้างก่อสร้างอาคาร

จำเลยที่ 1 และผู้เสียหายได้สั่งจ่ายเช็คชำระหนี้ให้จำเลยที่ 1 แต่ธนาคารปฏิเสธ

การจ่ายเงินตามเช็คดังกล่าว ต่อมาผู้เสียหายได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้จำนวน

50,000 บาท และนางสาว จ. ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้จำนวน 150,000 บาท

ให้แก่จำเลยที่ 1 และต่อมาวันที่ 4 มกราคม 2538 ผู้เสียหายได้ทำหนังสือสัญญา

กู้ยืมเงินจำนวน 150,000 บาท ให้แก่จำเลยที่ 1 ไว้ นอกจากนี้นางสาว จ. พยาน

โจทก์เบิกความตอบคำถามค้านรับว่า เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามที่เช็คที่

ผู้เสียหายสั่งจ่าย ผู้เสียหายและพยานได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้จำเลยที่ 1 ไว้ 

จำเลยที่ 1 เคยไปทวงเงินพยานที่โรงเรียน ส. ประกอบกับตามจดหมายเอกสาร

หมาย จ.2 ซึ่งผู้เสียหายเขียนไปถึงนางสาว จ. มีข้อความว่า "คุณแม่ครับ ช่วยใช้

หนี้ให้ ป. (ชื่อเล่นของผู้เสียหาย) ด้วย ทั้งหมด 300,000 บาท เพราะเจ้าหนี้เขา

ไม่ยอมแล้ว..." แสดงให้เห็นได้ว่าขณะเกิดเหตุผู้เสียหายยังคงเป็นหนี้จำเลยที่ 1

และผู้เสียหายไม่สามารถชำระหนี้ให้จำเลยที่ 1 ได้ การที่จำเลยทั้งสองกับพวก

ร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังตัวผู้เสียหายไว้ก็เพื่อให้ผู้เสียหายชำระหนี้ให้แก่จำเลย

ที่ 1 โดยจำเลยทั้งสองเชื่อว่าสามารถกระทำได้ ดังนั้น ประโยชน์ที่จำเลยที่ 1 

เรียกร้องให้ผู้เสียหายและนางสาว จ. ชำระหนี้ จึงไม่ใช่ค่าไถ่ตามความหมาย

ในบทนิยามคำว่า "ค่าไถ่" ตาม ป.อ. มาตรา 1(13) การกระทำของจำเลยทั้งสอง

จึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 313 วรรคสอง

            หมายเหตุ คดีนี้ ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลยทั้งสองคนละ 37 ปี 6

เดือน แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้ยกฟ้องความผิดตาม ป.อ. มาตรา 313

วรรคสอง และให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 310 วรรคสอง ประกอบ

มาตรา 297 จำคุกคนละ 2 ปี และศาลฎีกาพิพากษายืน

(คำพิพากษาศาลฎีกาของสำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ เล่มที่ 12 หน้า 70)

 

 

Webmaster : Thailegal
more information,contact : thailegal@yahoo.com
Copyright(c)2000,Thailegal,All Right Reserved