เด็กช่างกลบังคับเอาเสื้อฝึกงานนักศึกษาต่างสถาบัน
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 339 บัญญัติว่า
"ผู้ใดลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย
เพื่อ
(1)
ให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือการพาทรัพย์นั้นไป
(2)
ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้น
(3)
ยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้
(4)
ปกปิดการกระทำความผิดนั้น
หรือ
(5) ให้พ้นจากการจับกุม
ผู้นั้นกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบปี
และปรับ
ตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสองหมื่นบาท
ถ้าความผิดนั้นเป็นการกระทำที่ประกอบด้วยลักษณะดังที่บัญญัติไว้ในอนุมาตราหนึ่ง
อนุมาตราใดแห่งมาตรา
335
หรือเป็นการกระทำต่อทรัพย์ที่เป็นโค
กระบือ เครื่องกล
หรือเครื่องจักรที่ผู้มีอาชีพกสิกรรมมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรม
ผู้กระทำ
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงสิบห้าปี
และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสามหมื่น
บาท
ถ้าการชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ
ผู้กระทำต้องระวางโทษ
จำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี
และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาท
ถ้าการชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส
ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่
สิบห้าปีถึงยี่สิบปี
และปรับตั้งแต่สามหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาท
ถ้าการชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต
หรือจำคุกตลอดชีวิต"
นักศึกษาช่างกลขู่เข็ญบังคับเอาเสื้อฝึกงานจากนักศึกษาต่างสถาบันกัน
เพื่อแสดง
ความกล้าและความสามารถให้รุ่นพี่ดู
จะมีความผิดฐานใดบ้าง
ศาลฎีกาได้วินิจฉัย
ไว้ในคำพิพากษาฎีกาที่
507/2543 ว่า
จำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมในทันใดภายหลังเกิดเหตุ
และให้การในวันเดียว
กันนั้นว่า จำเลยและ ต.
ตกลงกันว่าหากพบเห็นนักศึกษาต่างโรงเรียนก็ให้แย่งเสื้อ
ตัวที่นักศึกษาของสถาบันนั้นมาให้ได้
โดยไม่ปรากฏข้อความใดว่าจำเลยไม่มีเจตนา
ประสงค์ต่อทรัพย์
ทั้งพฤติการณ์ที่แสดงว่าจำเลยไม่มีเจตนาเช่นนั้น
จำเลยก็มิได้
กล่าวอ้างไว้
ตรงกันข้ามจำเลยกลับนำชี้ที่เกิดเหตุและแสดงท่าให้เจ้าพนักงานตำรวจ
ถ่ายรูปไว้ประกอบคำรับสารภาพหลังจากรับทราบข้อกล่าวหาว่ากระทำผิดฐานชิงทรัพย์
ชั้นพิจารณาจำเลยก็มิเคยหยิบยกประเด็นขาดเจตนาลักทรัพย์ขึ้นแถลงต่อศาล
คำรับสารภาพชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนของจำเลยนั้นเชื่อว่าจำเลยกระทำด้วยความ
สมัครใจและตามความเป็นจริง
เพราะจำเลยถูกจับกุมแทบจะทันใดภายหลังเกิดเหตุ
จึงไม่อาจคิดหาข้อแก้ตัวเพื่อหลีกเลี่ยงความผิดได้ทัน
ทั้งตามพฤติการณ์ที่จำเลยจับ
เสื้อช๊อปของผู้เสียหายไว้ขณะที่พูดขอเสื้อ
ครั้นถูกปฏิเสธจำเลยจึงล้วงมีดคัทเตอร์
ออกมาจากกระเป๋ากางเกง
เมื่อผู้เสียหายถูกพวกของจำเลยต่อย
จำเลยก็เข้าชกต่อย
ผู้เสียหายจนกระทั่งได้เสื้อช๊อปของผู้เสียหายมา
เข้าลักษณะเป็นการคุกคามขู่เข็ญ
ให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายแก่กายหากผู้เสียหายไม่ยอมตามที่จำเลยต้องการ
ผู้เสียหาย ถอดเสื้อช๊อปให้จำเลยเพราะกลัวว่าจะถูกทำร้ายอีก
จึงมิใช่การให้ทรัพย์ด้วยความ
สมัครใจ
แต่เป็นไปเพราะอยู่ใต้อำนาจบังคับของจำเลย
จำเลยได้ไปซึ่งเสื้อช๊อปของ
ผู้เสียหายแล้วจึงหยุดขู่เข็ญ
พร้อมกับลงจากรถโดยสารคันเกิดเหตุ
อันเป็นเครื่อง
แสดงเจตนาว่าจำเลยประสงค์ต่อเสื้อช๊อปเป็นสำคัญ
จำเลยจึงมีความผิดฐานชิงทรัพย์
ส่วนที่จำเลยอ้างว่ากระทำไปเพราะต้องการแสดงความกล้าและความสามารถให้รุ่นพี่
ของจำเลยเห็นนั้น
เป็นเพียงมูลเหตุจูงใจที่ชักนำให้จำเลยตัดสินใจกระทำความผิด
ไม่มีผลให้จำเลยพ้นจากความรับผิดไปได้
อุทาหรณ์ของผู้ที่ต้องการแสดงความกล้าและความสามารถเพื่อให้รุ่นพี่ยอมรับ
ผลคือ
ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลย
2 ปี 6 เดือน
ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาพิพากษายืน
(คำพิพากษาศาลฎีกาของสำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ปี 2543 เล่ม 1 หน้า 143)
อนึ่ง
เคยมีคำวินิจฉัยกรณีการขู่เข็ญให้นักศึกษาต่างสถาบันถอดเสื้อฝึกงานและ
แหวนรุ่นให้
ซึ่งศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้ในคำพิพากษาศาลฎีกาที่
2753/2539 ว่า
จำเลยกับพวกขึ้นไปบนรถโดยสารประจำทางบังคับขู่เข็ญให้ผู้เสียหายถอดเสื้อฝึกงาน
และแหวนรุ่นทำด้วยเงินซึ่งมีราคาเล็กน้อย
จำเลยกับพวกกระทำไปเป็นการแสดง
อำนาจบาตรใหญ่ด้วยความคะนองเพื่อให้ผู้เสียหายซึ่งเป็นนักศึกษาต่างสถาบันที่มี
เรื่องทะเลาะวิวาทกับสถาบันของจำเลยเห็นว่าเป็นคนเก่งพอที่จะรังแกคนได้
ตามวิสัยวัยรุ่นที่มีความประพฤติไม่เรียบร้อยเท่านั้น
มิใช่มุ่งหมายเพื่อจะได้ประโยชน์
จากทรัพย์
จึงไม่เป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์
แต่เป็นความผิดต่อเสรีภาพตาม
ป.อ. ม.309 วรรคแรก
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความผิดฐานปล้นทรัพย์ตามที่โจทก์ฟ้อง
จึง
ต้องลงโทษตามที่พิจารณาได้ความ
ส่วนเสื้อฝึกงานและแหวนเงินจำเลยไม่มีสิทธิ
ยึดถือไว้
ต้องคืนแก่ผู้เสียหาย
หลังจากถอดเสื้อฝึกงานและแหวนเงินแล้วกลุ่มเพื่อน
ของจำเลย 3 คน
ได้ชกต่อยผู้เสียหาย
จากนั้นจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายในระยะ
1 ฟุต
แต่ผู้เสียหายยกขาและแขนขึ้นปิดป้องไว้
และกระสุนปืนถูกกระดุมเสื้อซึ่งเป็น
แผ่นเหล็ก
เห็นเหตุให้ไม่ถูกอวัยวะส่วนสำคัญ
ถือได้ว่าจำเลยใช้ปืนยิงโดยมีเจตนาฆ่า
แต่การกระทำไม่บรรลุผล
จึงมีความผิดตาม ป.อ. ม.288,80
และ ม.371
(คำพิพากษาศาลฎีกาของสำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ปี 2539 เล่ม 5 หน้า 169)
ปัญหาว่า
คำพิพากษาฎีกาที่ 507/2543
กลับหลักคำพิพากษาศาลฎีกาที่
2753/2539
หรือไม่ เห็นว่า
พฤติการณ์แห่งคดีของทั้งสองคดีแตกต่างกัน
คือ คดีปี 2543 ปรากฏ
ข้อเท็จจริงว่าได้มีการตกลงว่าจะแย่งเสื้อฝึกงาน
และเมื่อได้เสื้อฝึกงานแล้วจำเลยก็
กลับไปโดยมิได้ทำการอย่างอื่นอีกอันจะแสดงให้เห็นว่าเสื้อฝึกงานที่ได้ไปเป็นเพียง
พยานหลักฐานที่จะให้รุ่นพี่และเพื่อนเห็นว่าได้ไปทำการข่มเหงนักศึกษาต่างสถาบัน
มาแล้ว
ศาลฎีกาจึงเห็นว่าจำเลยมีความประสงค์ต่อทรัพย์
แต่คดีปี 2539 ปรากฏ
ข้อเท็จจริงว่าหลังจากจำเลยได้เสื้อฝึกงานและแหวนแล้วยังใช้อาวุธปืนยิง
พยาน
หลักฐานจึงบ่งชี้ว่าจำเลยกระทำไปเพื่อต้องการข่มเหงนักศึกษาต่างสถาบันมากกว่า
ความประสงค์ต่อทรัพย์
โดยจะนำเสื้อฝึกงานและแหวนเงินไปเป็นหลักฐานแก่รุ่นพี่
และเพื่อนว่าทำมาแล้วเท่านั้น
ข้อเท็จจริงทั้งสองคดีจึงแตกต่างกัน
น่าจะไม่ใช่การ
กลับหลักแต่อย่างใด
ดังที่ท่าน สมศักดิ์
เอี่ยมพลับใหญ่
ได้บันทึกไว้ในหมายเหตุ
ท้ายคำพิพากษาฎีกาที่
507/2543
Thailegal
24/11/43
|