ชิงทรัพย์
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 339 บัญญัติว่า
"ผู้ใดลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย
เพื่อ
(1)ให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือการพาทรัพย์นั้นไป
(2)ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้น
(3)ให้ยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้
(4)ปกปิดการกระทำความผิดนั้น
หรือ
(5)ให้พ้นจากการจับกุม
ผู้นั้นกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบปี
และปรับ
ตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสองหมื่นบาท
ถ้าความผิดนั้นเป็นการกระทำที่ประกอบด้วยลักษณะดังที่บัญญัติไว้ในอนุมาตราหนึ่ง
อนุมาตราใดแห่งมาตรา 335
หรือเป็นการกระทำต่อทรัพย์ที่เป็นโค
กระบือ เครื่องกล
หรือเครื่องจักรที่ผู้มีอาชีพกสิกรรมมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรม
ผู้กระทำต้องระวางโทษ
จำคุกตั้งแต่สิบปีถึงสิบห้าปี
และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสามหมื่นบาท
ถ้าการชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ
ผู้กระทำต้องระวางโทษ
จำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี
และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาท
ถ้าการชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส
ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่
สิบห้าปีถึงยี่สิบปี
และปรับตั้งแต่สามหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาท
ถ้าการชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต
หรือจำคุกตลอดชีวิต"
ความผิดฐานชิงทรัพย์นั้นจะต้องประกอบด้วยความผิดฐานลักทรัพย์
และต้องมีการ
ใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย
หมายความว่า
การใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายจะต้องไม่
ขาดตอนไปจากการลักทรัพย์
ถ้าขาดตอนไปแล้วก็จะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
กับฐานทำร้ายร่างกาย
แต่ไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์
ความผิดฐานลักทรัพย์สำเร็จ
กับความผิดฐานลักทรัพย์ขาดตอนนั้น
แตกต่างกัน
ตามแนวคำวินิจฉัยของศาลฎีกาจะยึดถือการเคลื่อนย้ายทรัพย์เป็นความผิดฐาน
ลักทรัพย์สำเร็จ
แต่หลังจากความผิดลักทรัพย์สำเร็จแล้ว
แต่ระหว่างที่พาทรัพย์นั้น
ไปก็อาจทำให้เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ได้ถ้ามีการใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญ
ว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย
ขณะลักทรัพย์
คนร้ายไม่ได้ใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลัง
ประทุษร้าย
แต่ขณะหลบนี้ได้ยื้อแย่งไม้กวาดกับผู้เสียหายจะเป็นความผิดลักทรัพย์
หรือชิงทรัพย์
ศาลฎีกาได้วินิจฉัยเป็นคำพิพากษาศาลฎีกาที่
602/2543 ว่า
การที่จำเลยที่
1
ยื้อแย่งไม้กวาดจากผู้เสียหายที่
2 และเหวี่ยงกันไปมา
โดยจำเลยที่ 1
ทำหน้าตาและส่งเสียงข่มขู่จะทำร้ายผู้เสียหายที่
2 และการเหวี่ยงไปมาขณะแย่ง
ไม้กวาดเป็นเหตุให้ข้อมือของผู้เสียหายที่
2 ได้รับบาดเจ็บ
ถือได้ว่าเป็นการใช้
กำลังประทุษร้ายอันเป็นกรณีที่ต่อเนื่องกับการที่จำเลยทั้งสองเข้าไปลักทรัพย์
ในบ้านของผู้เสียหาย ทั้งนี้
เพื่อสะดวกแก่การพาทรัพย์นั้นไป
และเพื่อให้พ้นจาก การจับกุม
จึงเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์
(คำพิพากษาศาลฎีกาของสำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ปี 2543 เล่ม 2 หน้า 121)
เปรียบเทียบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
2399/2518
จำเลยลักไก่ไปจากผู้เสียหาย
ต่อมา 1 ชั่วโมง
ผู้เสียหายตามไปพบจำเลยกับไก่ที่กระท่อมของ
จ. ห่างจากที่เกิดเหตุ 100 เส้น
จำเลยถือเหล็กแหลมจ้องมาทางผู้เสียหาย
การลักทรัพย์ขาดตอนแล้ว
ไม่เป็นชิงทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
1453/2519 คนร้ายลักกระบือไป 2 ตัว
ผู้เสียหายตามไป
ในคืนนั้นระยะทาง 7 กิโลเมตร
พบคนร้ายจูงกระบืออยู่
คนร้ายยิงปืน 1 นัด
แล้วหนีไป การลักทรัพย์ขาดตอนแล้ว
ไม่เป็นชิงทรัพย์
Thailegal
10/12/43
|